[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 07:54:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไอบีเอส โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน  (อ่าน 859 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.89 Chrome 84.0.4147.89


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 สิงหาคม 2563 21:55:58 »


โรคไอบีเอส โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน

           โรคไอบีเอส (IBS) หรือชื่อเต็มภาษาอังกฤษคือโรค Irritable Bowel Syndrome หรือในชื่อไทยคือโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคใหม่ แต่เป็นโรคที่มีมานานแล้วเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยาก อาการของโรคไม่มีความเฉพาะเจาะจง แพทย์จึงไม่ค่อยได้มีการวินิจฉัยโรคนี้ ในปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคไอบีเอสให้ชัดเจนขึ้น จึงมีการวินิจฉัยโรคนี้เพิ่มมากขึ้น

โรคไอบีเอสคือโรคอะไร

           โรคไอบีเอสหรือโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน เป็นโรคของลำไส้ที่ทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดการปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติทางพยาธิสภาพที่ลำไส้ เช่น ส่องกล้องตรวจลำไส้จะไม่มีอาการ อักเสบ ไม่มีแผล ไม่มีเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นต้น และการตรวจเลือดต่างๆ ก็ไม่พบความผิดปกติ รวมทั้งไม่มีโรคของอวัยวะอื่นๆที่จะมีผลให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น โรคไอบีเอสเป็นโรคเรื้อรัง มักเป็นๆหายๆหรืออาจเป็นตลอดชีวิต เป็นโรคที่ไม่ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมแม้จะเป็นมาหลายๆปี และไม่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่เป็นโรคที่สร้างความรำคาญและความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยอย่างมากได้ เนื่องจากผู้ป่วยจะวิตกกังวลว่าทำไมโรคไม่หายแม้ได้ยารักษา ทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และประสิทธิภาพของการทำงานลดลง

โรคไอบีเอสพบบ่อยหรือไม่

           ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปพบร้อยละ 10-20 ของประชากรในประเทศญี่ปุ่นพบร้อยละ 25 ของประชากร ในประเทศไทยมีข้อมูลค่อนข้างน้อยในการศึกษาเรื่องนี้ ข้อมูลที่มีอยู่คือพบได้ประมาณร้อยละ 7 ของประชากร แต่ถ้าศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย ที่มีอาการท้องเสียเรื้อรังแล้วมาพบแพทย์ จะพบว่าเป็นโรคไอบีเอสถึงร้อยละ 10-30 จากตัวเลขดังกล่าว ในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยไอบีเอสประมาณไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน ซึ่งอาจจะเป็นการประมาณที่ต่ำกว่าเป็นจริง เพราะว่าในรายที่มีอาการไม่มากอาจคิดว่าตนเองไม่ได้เป็นโรคนี้ พบว่ามีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ที่ไปพบแพทย์ เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นโรคร้ายแรง เช่น กลัวเป็นมะเร็ง มากกว่าที่จะไปพบแพทย์ เพราะความรุนแรงของโรค

โรคไอบีเอสพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จริงหรือไม่


           ในต่างประเทศ โดยทั่วไปพบโรคไอบีเอสได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ช่ายประมาณ 2:1 ถึง 4:1 สำหรับสาเหตุที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายนั้นยังไม่รู้สาเหตุที่แน่นอน สิ่งหนึ่งที่มีความแตกต่างกันคือผู้หญิง เมื่อมีอาการของโรคแม้จะไม่รุนแรง มักจะไปพบแพทย์มากกว่าผู้ชาย ส่วนข้อมูลในบ้านเราพบในผู้หญิงและผู้ชายจำนวนใกล้เคียงกันหรือพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย

โรคไอบีเอสพบบ่อยในวัยใด

           โรคไอบีเอสพบได้ทุกวัยตั้งแต่ในวัยรุ่นจนถึงวัยสูงอายุโดยพบได้บ่อยในคนวัยทงานคืออายุ เริ่มต้นเฉลี่ยระหว่าง 20-30 ปีและจะพบได้บ่อยไปจนถึงอายุ 60 ปี หลังอายุ 60 ปี จะพบน้อยลง และพบว่าโรคไอบีเอสมักพบได้บ่อยในคนที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมชั้นกลางถึงชั้นสูง

 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.89 Chrome 84.0.4147.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2563 21:58:46 »


จะรู้ได้อย่างไรว่าท่านเป็นโรคไอบีเอส


         ในคนปกติการถ่ายอุจจาระของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันมากบางคนจะถ่ายอุจจาระทุกวัน บางคนถ่ายอุจจาระเป็นบางวัน โดยทั่วไปถือว่าการถ่ายอุจจาระที่ปกติคือ การถ่ายอุจจาระ ไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน หรือไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะอุจจาระที่ปกติจะต้องเป็นก้อน แต่ต้องไม่แข็งเป็นลูกกระสุนหรือเหลวมากหรือเป็นน้ำ ต้องไม่มีเลือดปนและไม่มีปวดเกร็งท้องร่วมด้วย อาการปวดจะดีขึ้นหลังถ่ายอุจจาระพร้อมๆกับปวดท้อง ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระร่วมด้วย อาจเป็นท้องเสียหรือท้องผูกก็ได้ หรือเป็นท้องผูกสลับกับท้องเสีย ลักษณะอุจจาระจะเปลี่ยนไปเป็นก้อนหรือเหลวจนเป็นน้ำ ผู้ป่วยอาจถ่ายอุจจาระลำบากขึ้นต้องเบ่งมากหรืออาจรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระทันที กลั้นไม่อยู่ ผู้ป่าวยจะรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระบ่อยๆ แม้เพิ่งไปถ่ายอุจจาระมา มีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด จะมีการถ่ายเป็นมูกปนมากับอุจจาระมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีท้องอืดมีลมมากในท้อง เวลาถ่ายอุจจาระมักมีลมออกมาด้วย ผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้เป็นๆหาย รวมเวลาแล้วมักนานเกิน 3 เดือน ในช่วง 1 ปี ที่ผ่าน ส่วนใหญ่มักมีประวัติเป็นมานานหลายปี ถ้าผู้ป่วยมีอาการถ่ายเป็นเลือด มีไข้ ซีดลง มีอาการช่วงหลังเที่ยงคืน หรือมีอาการปวดเกร็งท้องมากตลอดเวลา

โรคไอบีเอสวินิจฉัยได้อย่างไร


         โรคไอบีเอสจะได้รับการวินิจฉัยก็ต่อเมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยแยกโรคอื่นๆแล้วหรือหาโรคอื่นที่จะอธิบายว่าเป็นสาเหตุของโรคไอบีเอสไม่ได้ในวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี แพทย์จะวินิจฉัยโรคไอบีเอสโดยอาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก และจะให้การรักษาไปก่อนโดยไม่จำเป็นต้องทำการสืบค้น สำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือผู้ที่มีอายุมากว่า 40 หรือ 50 ปี นอกจากแพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดแล้วจะทำการสืบค้น ได้แก่ ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ ตรวจเอกซ์เรย์ลำไส้ใหญ่ หรือ ส่องกล้องตรวจ ลำไส้ใหญ่ ซึ่งผลการตรวจร่างกายและการสืบค้นต่างๆจะต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 โรคไอบีเอสมีสาเหตุจากอะไร


        แม้โรคไอบีเอส จะเป็นโรคที่พบบ่อย และมีการศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้อย่างมากมานานแล้วก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน จากหบักฐานที่มีอยู่เชื่อว่ามีเหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไอบีเอสซึ่ง 3 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่

1. การบีบตัวหรือการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติซึ่งเป็นผลจากการหลั่งสารฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ผิดปกติ นำไปสู่อาการ ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก

2. ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น หลังกินอาหารซึ่งในคนปกติจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ในผู้ป่วยไอบีเอส จะมีการตอบสนองมากผิดปกติ มีการบีบตัวและเคลื่อนที่ของลำไส้มากขึ้นจนมีอาการปวดท้องและท้องเสียหรือท้องผูก เป็นต้น นอกจากอาหารแล้วตัวกระตุ้นอื่นที่สำคัญคือความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็มีส่วนหนุนเสริมให้มีอาการมากขึ้น

3. มีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของแกนที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความรู้สึก,ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง (brain-gutaxis) โดยเกิดจากความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานซึ่งมีหลายชนิดและทำหน้าที่แตกต่างกัน

โรคไอบีเอสกลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่

         โรคไอบีเอสไม่ใช่โรคมะเร็งและจะไม่กลายเป็นโรคมะเร็งแม้จะมีประวัติเป็นๆหายๆมานาน ยิ่งผู้ป่วยมีอาการมานานเป็นปีๆโอกาสเป็นโรคมะเร็งยิ่งน้อยมาก ที่ต้องระวังคือในผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการเปลี่ยนแปงไปจากเดิม หรือเพิ่งมามีอาการท้องเสียหรือท้องผูกหลังอายุ 40-50 ปี อาจมีโอกาสที่จะมีสาเหตุจากโรคมะเร็งลำไส้สูงขึ้นคือมีโรคมะเร็งลำไส้มาเกิดร่วมกับโรคไอบีเอส ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจและสืบค้นโดยแพทย์ให้รู้สาเหตุที่แน่นอน

โรคไอบีเอสรักษาหายขาดหรือไม่

         ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคไอบีเอส จึงไม่มียาที่ดีเฉพาะโรคนี้หรือการรักษาที่ได้ร้อยเปอร์เซนต์แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ เช่น ให้ยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผู้เป็นอาการเด่น หรือให้ยากแก้ท้องเสียถ้ามีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่น ให้ยาต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้เพื่อช่วยลดอาการปวดท้องดังนั้นการรักษาจึงยังไม่ได้ผลดี ผู้ป่วยจึงมีอาการเป็นๆหายๆมักไม่หายขาด

อาการและความเครียดมีผลต่อโรคไอบีเอสหรือไม่

         ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการหลังมื้ออาหารหรือเมื่อเครียด ซึ่งมีการศึกษาว่ามีหลักฐานยืนยันในเรื่องดังกล่าวปกติการกินอาหารจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 30 นาทีถึง 1 ชม. หลังอาหารแต่ในผู้ป่วยไอบีเอสจะมีการกระตุ้นให้มีการบีบตัวของลำไส้เร็วขึ้นและรุ่นแรงมากขึ้นจนมีอาการปวดท้องเกร็งและมีท้องเสียเกิดขึ้น ส่วนประกอบของอาหาร ได้แก่ ไขมัน ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากสัตว์ หรือพืช จะเป็นตัวกระตุ้นที่รุนแรงของการบีบตัวของลำไส้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ทุกชนิด หนังเป็ดหนังไก่ นม ครีม เนย น้ำมันพืช และอะโวคาโด อาหารที่มีกากหรือเส้นใย (fiber) จะช่วยลดอาการของไอบีเอสได้โดยจะทให้การบีบตัวหรือเกร็งตัวของลำไส้ลดลง นอกจากนี้กากหรือเส้นใยยังช่วยดูดน้ำไว้ในตัวอุจจาระ ทำให้อุจจาระไม่แข็งและถ่ายได้ง่ายขึ้น อาหารที่มีกากหรือเส้นใยสูง เช่น ขนมปังชนิด whole-grain cereal ถั่ว ผลไม้ และผัก เป็นต้น การกินอาหารที่มีกากหรือเส้นใยมาก จะทำให้มีท้องอืดมีแก๊สในท้องได้ แต่จะเป็นเฉพาะช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ต่อไปร่างกายจะปรับตัวได้เอง การกินอาหารควรกินทีละน้อยแต่กินให้บ่อยขึ้น ไม่ควรกินจนอิ่ม เพราะจะกระตุ้นให้มีอาการปวดท้องและท้องเสียได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน โดยกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง และน้ำตาลให้เพิ่มมากขึ้น

         นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด กาแฟ ของดอง น้ำอัดลมและยาบางชนิด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้นด้วย ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตั้นให้มีอาการเกร็งตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น จึงควรผ่อนคลายความเครียดทำจิตใจให้สบาย และพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ ถือเป็นส่วนสำคตัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยไอบีเอสด้วยส่วนหนึ่ง เนื่องจากโรคไอบีเอสมักมีแนวโน้มจะกลับมามีอาการอีกเมื่อได้รักษาให้ดีขึ้นแล้ว การปรับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตัวดังกล่าวแล้วควรทำไปตลอด ซึ่งนอกจากจะทำให้อาการลดลงแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการขึ้นใหม่และจะได้ไม่ต้องกินยามากอีกด้วย

การพยากรณ์ของโรคไอบีเอสเป็นอย่างไร


         โรคไอบีเอสเป็นโรคเรื้อรังเป็นๆ หายๆ จากการศึกษาติดตามผู้ป่วยประมาณ 4,600 คน เป็นเวลา 5-8 ปี พบว่าร้อยละ 74-95 ยังคงมีอาการอยู่เช่นเดิม จะเห็นได้ว่าโรคไอบีเอสเป็นโรคที่ไม่รุนแรงและไม่ทำให้ผู้ป่วยตาย ดังนั้นเมื่อท่านได้ไปพบแพทย์และได้รับการตรวจและทำการสืบค้นต่างๆ แล้วว่า ปกติแล้วแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอบีเอส ท่านควรมีความมั่นใจและเลิกวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง แต่โรคนี้จะเรื้อรัง บางรายอาจเป็นๆ หายๆ ไปตลอดชีวิต ซึ่งควรได้รับการติดตามโดยแพทย์เป็นระยะๆ ตลอดไป

 

รศ.นพ.อุดม คชินทร

ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.21 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 09 กุมภาพันธ์ 2567 20:03:44