[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 15:50:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๒๙ พระมหาฉัตตชาดก : ฉัตตฤๅษียึดอำนาจ  (อ่าน 974 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 สิงหาคม 2563 16:19:27 »



พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๒๙ พระมหาฉัตตชาดก
ฉัตตฤๅษียึดอำนาจ

          พระเจ้าพรหมทัตเจ้าแห่งกรุงพาราณสี ยกพลทหารทั้งกองทัพไปตีนครสาวัตถี แล้วจับพระเจ้าโกศลขังคุกไว้
          พระโอรสของพระเจ้าโกศลมีพระนามว่าฉัตตกุมาร พระองค์ทรงหนีรอดจากการโจมตีครั้งนั้น แล้วได้ไปศึกษาเล่าเรียนไตรเพทและศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ ในเมืองตักสิลา ทรงเที่ยวศึกษาไปทุกสำนักจนถึงปัจจันตคามแห่งหนึ่ง ในป่าแห่งนั้นมีพระฤๅษี ๕๐๐ รูปตั้งอาศรมอยู่
          ฉัตตกุมารมีความคิดอยากจะศึกษาหาความรู้จากสำนักฤๅษีแห่งนี้ จึงตัดสินใจออกบวช
          และด้วยความเก่งกล้าสามารถของฉัตตกุมาร จึงได้เลื่อนขั้นเป็นอาจารย์ของบรรดาฤๅษีเหล่านั้น
          วันหนึ่งฉัตตกุมารฤๅษีได้ถามคณะฤๅษีว่า ทำไมพวกท่านถึงอยู่แต่ถิ่นกันดารอย่างนี้ ไม่ชอบอยู่ในถิ่นเจริญบ้างหรือ
          คณะฤๅษีตอบว่า “ไม่กล้าไปเพราะกลัวจะถูกถามปัญหาหรือกล่าวคำอนุโมทนา หรือแม้แต่กล่าวมงคลต่างๆ เมื่อกล่าวไม่ได้ก็จะถูกตำหนิติเตียน”
          ฉัตตกุมารจึงกล่าวว่า “ไม่ต้องกลัวหรอก ที่พวกท่านกล่าวมานั้น เราทำเป็นหมดแล้ว”
          จากนั้นก็พากันเข้าเมืองพาราณสีไป
          เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้ยึดเมืองพาราณสีและแคว้นโกศลได้แล้วก็ทรงตั้งคนของพระองค์เป็นข้าหลวงให้ดูแลเมืองสาวัตถี รับสั่งให้เอาทรัพย์บรรจุใส่ตุ่มโลหะฝังไว้ในอุทยานที่เมืองพาราณสี
          พระราชารับสั่งให้คณะฤๅษีเข้าพักในพระราชอุทยาน
          เช้าวันรุ่งขึ้นพระราชาทรงเห็นคณะฤๅษีออกบิณฑบาตเกิดความเลื่อมใส จึงนิมนต์ให้ไปฉันอาหารในท้องพระโรง
          ฉัตตกุมารฤๅษีเฉลียวฉลาดในการตอบปัญหาและอนุโมทนา
          พระราชาเกิดพอพระทัยมากจึงทูลนิมนต์คณะฤๅษีพักอยู่ในอุทยานต่อไป
          เนื่องจากความเชี่ยวชาญเรื่องมนต์ของฉัตตกุมาร เมื่อร่ายมนต์จึงรู้ว่ามีขุมทรัพย์ของพระบิดาตนเองฝังอยู่ในอุทยานแห่งนี้ จึงตัดสินใจบอกความจริงแก่คณะฤๅษีว่า แท้จริงแล้วตนเป็นพระโอรสของพระเจ้าโกศล ขณะนี้ตนกำลังจะยึดราชสมบัติคืนจากพระเจ้าพรหมทัต แล้วกลับไปครองเมืองตามเดิม
          จึงถามคณะฤๅษีว่า “พวกท่านเห็นด้วยไหม”
          ฤๅษีทั้งคณะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “เราเห็นด้วยกับท่าน”
          จากนั้น ฉัตตฤๅษีได้ช่วยกันทำกระสอบเพื่อที่จะเอาไปใส่สมบัติ พอตกดึกได้ช่วยกันขุดขุมทรัพย์มาใส่กระสอบแล้วนำเอาหญ้ามาใส่ไว้ในตุ่มแทน จากนั้นทรงรีบออกเดินทางในคืนนั้น พอถึงเมืองสาวัตถีได้จับข้าหลวงขังคุกไว้แล้วทรงยึดราชสมบัติและช่วยกันซ่อมแซมประตูเมือง ป้อมค่าย อย่างแน่นหนาแข็งแรง เพื่อป้องกันข้าศึก จากนั้นพระองค์ก็ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อไป
          เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทราบข่าวเรื่องคณะฤๅษีขนขุมทรัพย์ไปจนหมด พระองค์ทรงรู้สึกเสียดาย และทรงเศร้าพระทัยเป็นอย่างมาก ได้แต่พร่ำเพ้อว่า “หญ้าของใครหนอ”
          อำมาตย์คนสนิทเห็นแล้วสงสาร คิดหาทางให้พระราชามีสติกลับมาเหมือนเดิม จึงกราบทูลว่า พระองค์จะมัวแต่พร่ำเพ้อถึงหญ้า ว่าผู้ใดกันเป็นผู้นำมาถวายพระองค์ พระองค์ทรงมีพระราชภารกิจอีกมากมาย พระเจ้าข้า
          พระราชาทรงตรัสว่า “ฉัตตฤๅษีผู้เป็นพรหมจารี เป็นพหูสูต เราให้ที่พักอาศัยแก่เขาแท้ๆ เหตุไฉนเขากลับลักเอาทรัพย์ของเราไปจนหมด เหลือไว้แต่หญ้าในตุ่มแทน”
          อำมาตย์จึงกราบทูลว่า “การที่ฉัตตฤๅษีขนเอาทรัพย์ของพระบิดาตน เอาหญ้าใส่ตุ่มไว้แทนแล้วหนีไป ก็เปรียบเหมือนกับผู้ถือเอาทรัพย์ของตนไปหมด ไม่ถือเอาของที่ไม่ใช่ของตนไป ใยพระองค์จะมาร่ำไห้เสียใจอยู่ทำไมกัน
          พระราชายังทรงตรัสอีกว่า “นี่ไม่ใช่นิสัยของผู้มีศีลและประพฤติพรหมจรรย์เขาทำกัน แต่เป็นนิสัยของคนพาลต่างหาก”
          เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้ระบายออกมาแล้ว ความเศร้าโศกเสียใจก็หายไปจากพระทัย พระองค์จึงกลับมาครองราชย์โดยธรรมต่อไป
   
 
ธรรมนิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ถ้าของนั้นไม่ไช่ของเรา สักวันเจ้าของเขาจะมาเอาคืน”
“คนที่ดีแท้จะไม่กล้าทำเลว”


พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
น นิกตฺยา ธนํ หเร
ไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง (๒๗/๖๐๓) 

คัดจาก : หนังสือ พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ / จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย สถาบันบันลือธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑ เตมียชาดก : พระเตมีย์
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 3 2228 กระทู้ล่าสุด 27 เมษายน 2563 20:22:08
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๒ มังสชาดก : วาทะธรรมของพรานป่า
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 701 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2563 21:04:16
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๓ นันทิวิสาลชาดก : โคเจ้าปัญญา
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 1274 กระทู้ล่าสุด 04 พฤษภาคม 2563 19:08:50
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๑๙ เภริวาสชาดก : ช่างตีกลองกับบุตรชาย
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 712 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2563 20:06:56
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๒๐ วัณณุปถชาดก : ความเพียรของพ่อค้า
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 1500 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2563 20:09:53
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.313 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กันยายน 2566 17:08:17