[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 18:06:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไตเรื้อรัง  (อ่าน 887 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.135 Chrome 84.0.4147.135


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 สิงหาคม 2563 00:45:28 »



โรคไตเรื้อรัง

http://sriphat.med.cmu.ac.th/Public/images/uploads/imgupload-1474268897.jpg
โรคไตเรื้อรัง


โดยทั่วไปเมื่อคนเราอายุมากกว่า 30 ปี ไตจะเริ่มทำงานลดลงหรือเสื่อมลงตามธรรมชาติ โดยเฉลี่ยทำงานลดลงร้อยละ 1 ต่อปี  ในกรณีที่ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วหรือหยุดทำงานทันที เรียกว่า ไตวายเฉียบพลัน ซึ่งการทำงานของไตอาจกลับมาเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ทันท่วงที  แต่ถ้าไตเสื่อมลงอย่างช้าๆ ต่อเนื่อง หรือมีความผิดปกติของไตเกินกว่า 3 เดือน เราจะเรียกว่า โรคไตเรื้อรัง



สาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่


        1.  เป็นโรคเรื้อรังอยู่เดิม เช่น เบาหวาน , ความดันโลหิตสูง , โรคเอสแอลอี (โรคพุ่มพวง) , โรคเกาต์ , นิ่วในไต

        2.  ผลข้างเคียงจากยาและสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือที่มักเรียกกันว่ายาแก้อักเสบ , ยาแก้ปวดข้อ , ยาลดความดันโลหิตบางชนิด , ยาปฏิชีวนะ และรวมถึงยาลดความอ้วนบางตัว

        3.  กรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรคถุงน้ำในไต

เบาหวาน เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด ที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย



การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรัง


ระยะที่ 1   การทำงานของไตยังคงปกติหรือมากกว่าร้อยละ 90  แต่ตรวจพบความผิดปกติของไต เช่น ปัสสาวะมีตะกอนผิดปกติ หรืออาจพบโปรตีนมากกว่าปกติในปัสสาวะ  แพทย์มักบอกว่าเริ่มตรวจพบความผิดปกติของไต

ระยะที่ 2   ไตทำงานเหลือร้อยละ 60-90                เรียกว่า  ไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น

ระยะที่ 3   ไตทำงานเหลือร้อยละ 30-60         เรียกว่า  ไตเรื้อรังระดับปานกลาง

ระยะที่ 4   ไตทำงานเหลือร้อยละ 15-30        เรียกว่า  ไตเรื้อรังค่อนข้างมาก

ระยะที่ 5   ไตทำงานเหลือน้อยกว่าร้อยละ 15      เรียกว่า  ไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

แพทย์จะเป็นผู้แบ่งระยะของโรคและบอกแก่ผู้ป่วย โดยทำการเจาะตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ รวมไปถึงการอัลตราซาวด์ดูลักษณะของไต



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.135 Chrome 84.0.4147.135


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2563 00:47:57 »



อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง     

   โรคไตเรื้อรังเป็นภัยเงียบ ซึ่งมักไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจน จนกระทั่งเมื่อไตเสื่อมมากแล้ว อย่างไรก็ตามมี อาการสำคัญบางอย่างที่อาจเป็นสัญญาณเตือน ว่าท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ และควรไปพบแพทย์

อาการเริ่มต้นของโรคไต

1. อาการปัสสาวะแสบขัดที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ปกติมักจะพบในเพศหญิง แต่หากพบในเพศชายอาจต้องไปตรวจเพิ่มเติมว่ามีโรคนิ่วระบบไต หรือความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะอื่นๆ หรือไม่ 

2.อาการปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งแรง ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุดกลางคัน บ่งบอกถึงว่ามีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโตในเพศชาย หรือมดลูกหย่อนในเพศหญิง

3.ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ  ในคนปกติเมื่อเรานอนหลับ 6-8 ชั่วโมง มักจะไม่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ หรืออาจตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางคืนได้ 1-2 ครั้ง เนื่องจากในตอนกลางคืน ไตจะดูดกลับน้ำมากขึ้น ทำให้การขับปัสสาวะลดลง แต่ในคนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ไตจะดูดกลับน้ำได้ไม่ดี ทำให้ต้องลุกมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ อีกโรคที่ทำให้มีอาการนี้ คือ เบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะไตเรื้อรังเช่นกัน

4.ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ เลือด หรือขุ่นกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกว่ามีเลือดปน หรือมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ สาเหตุ เช่น มีนิ่ว , ไตอักเสบ หรือเนื้องอกทางเดินปัสสาวะ

5.อาการบวมรอบตา บวมหน้า บวมเท้า อาการบวมที่หน้าสังเกตได้ง่ายเวลาตื่นนอน ส่วนเท้าบวมอาจพบเมื่อเข้าช่วงบ่าย หรือยืนนานๆ ใช้มือกดที่เท้าหรือหน้าแข้งจะมีรอยบุ๋ม อาการบวมนี้อาจพบได้ในโรคหัวใจ โรคตับหรือโรคไต

เมื่อเริ่มเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ไตจะเริ่มขับน้ำและของเสียออกทางปัสสาวะไม่ได้ตามปกติ ทำให้เริ่มมีอาการต่างๆ เช่น


          - รู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ง่วงซึม สับสน เนื่องจากมีของเสียในร่างกายมากขึ้น

 - เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียจากภาวะซีด เนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนสร้างเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ

 - บวมในตำแหน่งต่างๆ เช่น เปลือกตา ข้อเท้า เท้า หน้าแข้ง เนื่องจากไตกำจัดน้ำส่วนเกินออกไม่ได้ เมื่อมีน้ำสะสมในร่างกายมากขึ้น จะเกิดภาวะน้ำท่วมปอดและหายใจลำบาก

 - ความดันโลหิตสูง ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อ่อนเพลีย และเป็นโรคหัวใจได้

หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง



การชะลอการเสื่อมของไต

            - ดูแลโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุของไตเรื้อรัง เช่น ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับไม่เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท ควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในช่วง 80-120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร(มก./ดล.) หรืออย่างน้อยต้องไม่เกินกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร(มก./ดล.) รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในโรคที่เป็นเรื้อรัง เช่น ไตเสื่อมจากเอสแอลอี นิ่ว หรือถุงน้ำในไต

            -  พักผ่อนให้เพียงพอ (อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน)

            -  หลีกเลี่ยงความเครียด

            -  ดื่มน้ำบริสุทธิ์สะอาดให้เพียงพอ วันละ 1.5 - 2 ลิตรต่อวัน การดื่มน้ำบาดาลอาจทำให้เกิดโรคนิ่วได้ แต่ต้องระวังการดื่มน้ำมากเกินไป อาจทำให้ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ แต่ถ้าไตไม่ดีและเริ่มบวม แพทย์จะแนะนำให้เริ่มจำกัดน้ำ

            -  การดูแลเรื่องอาหาร ลดทานอาหารเค็ม ลดอาหารมัน ลดโปรตีน ลดทานผักผลไม้ (แพทย์จะอธิบายแก่ผู้ป่วยในแต่ละระยะเอง)

            -  การออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นพิเศษ คือ การออกกำลังกายชนิดต่อเนื่อง เช่น การเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค การยกน้ำหนัก (แต่ไม่ควรหนักเกินไป) ออกกำลังกายประมาณวันละ 30-60 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ไม่ควรออกกำลังกายจนเหนื่อยถึงขั้นไม่สามารถพูดเป็นคำๆได้ ควรออกกำลังช่วงเช้าหรือเย็น และควรหยุดออกกำลังกายเมื่อรู้สึกเหนื่อย หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก รู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะ แน่นท้อง ตะคริว เวียนศีรษะ จะเป็นลม

            -  ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วนเกินไป

            -  หลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อไต เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ถ้าใช้ติดต่อกันก็อาจจะทำให้ไตเสื่อมได้ ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (ยาแก้อักเสบ แก้ปวดข้อ) ยาอื่นๆ เช่น พวกสมุนไพรบางอย่าง

            -  หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

            -  หลีกเลี่ยงยาเสพติด เฮโรอีน โคเคน ยาอี (เอคสตาซี) กัญชา

            -  เพศสัมพันธ์ไม่ได้เป็นข้อห้าม แต่การเป็นโรคไตเรื้อรังอาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง

            -  หยุดสูบบุหรี่

            -  หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ

            -  ระวังอย่าให้เกิดท้องเสีย ถ้ามีท้องเสียควรทานน้ำให้พอ

            -  อย่าหลงคำโฆษณาชวนเชื่อ


          - ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาตัวใหม่ๆ เสมอ

   ที่มา นพ.ณัฐพล  เลาหเจริญยศ  อายุรแพทย์โรคไต
         ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาสิทยาลัยเชียงใหม่

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.243 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มีนาคม 2567 06:53:54