[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 13:04:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสหายคนแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  (อ่าน 1563 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.135 Chrome 84.0.4147.135


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 สิงหาคม 2563 21:36:07 »



พระสหายคนแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาต์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยแพทย์ผู้ถวายการประสูติคือ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ ( Dr. W. Stewart Whittemore)

เช้าวันนั้น 86 ปีมาแล้ว นายแพทย์สจ๊วต วิทท์มอร์ จดจำเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ในวันพระบรมราชสมภพได้ทั้งหมด.. ดังที่บันทึกไว้ในวารสาร บอสตันโกลบ ฉบับปี พ.ศ. 2503.. คุณหมอทบทวนไว้ในวารสารความว่า… “พระองค์ทรงมีพระพลานามามัยดีเยี่ยม” “.. หม่อมแม่ของพระองค์ ทรงเป็นคนไข้ที่ยอดเยี่ยมไม่ทรงบ่นใดๆ..”

ในเวลานั้นนั้นคุณหมอมิอาจทราบได้เลยว่า พระนามภาษาอังกฤษ “baby Songkla” ในบัตรพระประสูติการของโรงพยาบาลเมาต์ ออเบิร์น ใน 19 ปีต่อมาจากนั้น ได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศสยาม พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่มีพระประสูติกาล ณ สหรัฐอเมริกา และได้ทรงครองราชบัลลังก์ต่อเนื่องยาวนานกว่า 67 ปี

วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงพยาบาลเมาต์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเสตส์ สหรัฐอเมริกา สถานที่ซึ่งเป็นที่ทรงพระราชสมภพ โอกาสนี้ได้พระราชทานของที่ระลึกแก่ “พระสหายคนแรก ” ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ นายแพทย์ผู้ถวายการประสูติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 และแก่นางพยาบาลทั้ง 4 คน คือ มิสซิส เลสลี่ เลตัน มิส เจนีเวียฟ เวลด้อน มิสซิสมาร์กาเร็ท เฟย์ และมิสรูธ แฮริงตัน

เหตุการณ์ในวันนั้นมีบันทึกอยู่ในหนังสือเรื่อง "เสด็จพระราชดําเนิน: สหรัฐอเมริกา พุทธศักราช ๒๕๐๓, ปากีสถาน พุทธศักราช ๒๕๐๕, และ สหพันธรัฐมลายา พุทธศักราช ๒๕๐๕" พระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิ มีความว่า

หมอชรา ดอกเตอร์ ดับบลิว.สจ๊วต วิตต์มอร์ ผู้ซึ่งถวายการประสูติ ที่ทรงพบครั้งแรกแล้วที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิดก่อนเสวยพระกระยาหารกลางวัน ได้รับพระราชทานหีบบุหรี่ถมทอง มีพระปรมาภิไธยข้างนอก และตัวหนังสือสลักไว้ข้างในว่า "ให้เพื่อนคนแรกของฉันดอกเตอร์ ดับบลิว.สจ๊วต วิตต์มอร์เพื่อเป็น token of affectionate sentiment" จะแปลให้ถูกใจก็ไม่สำเร็จ เลยลอกภาษาฝรั่งให้ "ยาย" อ่านเอาเอง

ตอนนี้หมอวิตต์มอร์มาคอยรับเสด็จอยู่ที่นี้พร้อมด้วยนางพยาบาล ๔ คน ผู้ช่วยของแกเมื่อครั้งกระโน้น นางพยาบาลทั้ง ๔ มีชื่อว่า มิสเวลด้อน มิสแฮริงตัน มิสซิสเฟย์ และมิสซิสเลตัน ๓ คนแรกยังเป็นนางพยาบาลอยู่ที่เมาวนท์ออเบินนั่นเอง ส่วนมิสซิสเลตันเก๋กว่าคนอื่น ไม่ได้แต่งนางพยาบาลอย่างอีก ๓ คนดอก แกแต่งตัวโก้สวมหมวกขนนกมีเวลคลุมลงมาที่หน้าผากก็ได้ ตลบขึ้นก็ได้ สวมสร้อยคอไข่มุก เดี๋ยวนี้มีตำแหน่งใหญ่โต เป็นถึงผู้อำนวยการของสมาคมศิษย์เก่าของนางพยาบาลเมืองนี้

นางพยาบาลทั้ง ๔ นี้เมื่อ ๓๒ ปีมาแล้วคงจะเป็นนางพยาบาลสาวๆ สำเร็จใหม่ๆ ตัวเล็กแบบบาง บัดนี้กลายเป็นนางพยาบาลแก่ๆ สวมแว่นตาหนา ตัวอ้วนๆ แต่ท่าทางยังตุ้งติ้งทั้ง ๔ คน เมื่อพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานตลับแป้งถมทอง มีพระปรมาภิไธยที่ฝาตลับแก่ทุกคน และตรัสคล้ายๆ ว่า "ต้องใช้บ้างนะ" คนหนึ่งก็เปิดฝาตลับแป้งขึ้นส่องกระจกในนั้น พลางทำตาหวานร้องว่า "จะใช้ตลอดชีวิต และจะนึกถึงท่านตลอดเวลา" อีกคนหนึ่งร้องว่า "You were such a nice baby!" พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงแย้มพระสรวญ มีพระราชดำรัสตอบว่า "I hope I have grow into something nice too" ตอนนี้ทั้ง ๔ คนก็รุมตุ้มเข้ามาใกล้พระองค์ ร้องว่า "Of course, of course." ดังลั่น เมื่อทั้ง ๒ พระองค์เสด็จเลยไปทรงทักทายกับคนอื่นแล้ว แม่แก่ทั้ง ๔ คนก็ยังคุยต่อไม่จบ เสียงแหลมเจี๊ยวทีเดียว หญิงอดไม่ได้ ก็เข้าไปยืนฟังใกล้ๆ ต่างคนร้องว่า "ท่านช่างดีเหลือเกิน" "น่ารักเหลือเกิน" What a nice boy! "ฉันจะไม่มีวันลืมวันนี้เลย"

มิสซิสเลตันนึกถึงความหลัง ก็ทำตาลอย บอกกับคนที่มาหยุดฟังแกว่า "ท่านเป็นทารกที่น่าเอ็นดูที่สุด พ่อแม่ของท่านทำตนเป็นคนธรรมดาๆ ไม่ชอบเป่าแตร ตีกลอง"

ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินออกจากบอสตัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นักหนังสือพิมพ์อเมริกันเข้าเฝ้าและพระราชทานสัมภาษณ์เป็นเวลานานอย่างไม่ถือพระองค์

ในช่วงหนึ่งของการพระราชทานสัมภาษณ์ นักหนังสือพิมพ์ได้กราบทูลถามความรู้สึกส่วนพระองค์ว่า “นี่เป็นการเสด็จฯ เยือนอเมริกาเป็นครั้งแรก….ทรงรู้สึกอย่างไรบ้าง?” มีพระราชดำรัสตอบว่า “ก็ตื่นเต้นที่ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเพราะข้าพเจ้าเกิดที่นี่ …..ที่เมืองบอสตัน”






https://img.tnews.co.th/userfiles/images/20161123-travel-doctor-whittmore-v001.jpg
พระสหายคนแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ภาพประกอบ

ภาพบน : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับดอกเตอร์ ดับบลิว.สจ๊วต วิตต์มอร์ ผู้ซึ่งถวายการประสูติ

ภาพล่าง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานของที่ระลึกแก่นางพยาบาลผู้ถวายพระประสูติกาลทั้ง 4 คน

โดย ชมรมประวัติศาสตร์สยาม


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.359 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มีนาคม 2567 07:06:05