[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:40:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเชื่อเรื่องการสักยันต์  (อ่าน 780 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 ตุลาคม 2563 15:51:50 »




ความเชื่อเรื่องการสักยันต์

การสักยันต์มีมาแต่โบราณ มีวัตถุประสงค์หลักในเรื่องของความเชื่อทางไสยศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ สร้างความเชื่อมั่น และความศรัทธา ทำให้จิตใจมีความเข้มแข็ง

ยันต์บางลายมีความหมายในด้านเมตตามหานิยม ป้องกันภูตผีปีศาจ กันและแก้คุณไสย  บางลายเป็นตบะเดชะ มีอำนาจ อยู่ยงคงกระพัน คุ้มครองให้ปลอดภัย ป้องกันศาสตราวุธทั้งหลาย เป็นต้น  แตกต่างจากการสักลายในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นเรื่องความสวยงามหรือเพื่อเป็นศิลปะ

ขณะทำพิธีการสัก จะมีการอัญเชิญครูบาอาจารย์มาคุ้มครองรักษา ผู้สักจึงต้องมีความเคารพเชื่อฟัง มีคุณธรรมประจำใจ ต้องระลึกถึงทุกครั้งว่าตนมีครูบาอาจารย์ประจำกายอยู่

ในภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งเดิมเป็นอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง เหนือขึ้นไปจนถึงรัฐฉานในพม่า รวมถึงสิบสองปันนาและสิบสองจุไทในประเทศจีน การสักเป็นที่แพร่หลายทั่วไป

แต่การสักจะมีความแตกต่างกันและเรียกลักษณะการสักต่างกันไป เช่น สักตั้งแต่เอวถึงเข่า หรือสักทั้งตัวเว้นเพียงหน้าผากเรียกว่า ลาวพุงดำ หากเป็นการสักตั้งแต่หัวเข่าขึ้นถึงต้นขาส่วนบน เรียก ลาวพุงขาว

สมัยโบราณ ผู้ชายสักยันต์จะนุ่งผ้าต้อย โดยจะม้วนชายผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาซึ่งเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือการนุ่งผ้าโจงกระเบน คือดึงชายให้สูงร่นขึ้นไปเหนือเข่า

ว่ากันว่าผู้หญิงล้านนาจะเมินผู้ชายที่สะโพกขาว เพราะถือว่าเป็นคนขี้ขลาด ไม่สมเป็นชายชาตรี เมื่อผู้ชายคนใดนุ่งผ้าต้อยแล้วเห็นลายสักสีดำ จึงจะถือว่าเข้มขลังสมกับ สมกับเป็นชายชาตรี

สําหรับตำนานอันเป็นที่มาของประเพณีการสักของกลุ่มชนทั้งหลายบริเวณตอนเหนือนั้น พระอริยานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้เล่าไว้ว่า

เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันยกทัพมาแย่งชิงองค์พระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เพื่อนำไปจัดสร้างสถูป เจดีย์ บรรจุองค์พระสารีริกธาตุ ณ เมืองของตน

แต่กษัตริย์เมืองยูนนาน หนองแส แคว้นสิบสองจุไท มาในเวลาที่พระบรมสารีริกธาตุได้ถูกแจกจ่ายไปหมดแล้ว คงเหลือเพียงเถ้าถ่าน

กษัตริย์เมืองยูนนาน เมืองหนองแส ก็นำเถ้าถ่านนั้นกลับเมืองของตน แล้วพากันอธิษฐาน พระอังคารที่เกิดจากเถ้าถ่านก็แทรกซึมเข้าตามเนื้อ ตามตัว เกิดอิทธิฤทธิ์คงกระพันชาตรี มีกำลังเหมือนช้างสาร จึงเป็นเหตุให้เกิดการนิยมสักลายตามเนื้อตัวในเวลาต่อมา

สำหรับลวดลายที่ใช้ในการสักนั้น มีลายบัวพันกลีบ ลายอักขระที่เชื่อว่าเป็นคาถา ลายสัตว์ คือ เสือโคร่ง หงส์ สิงห์ มอม และรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์ ตามความเชื่อพุทธศาสนา

ซึ่งในปัจจุบันการสักยันต์ค่อยๆ เลือนหายไป เหลือแต่คนเฒ่าคนแก่อายุราว ๘๐ ปีขึ้นไปเท่านั้นที่ยังมีรอยสักบนขาติดตัว เพราะสักมาตั้งแต่สมัยยังหนุ่มๆ ส่วนหมอสัก หรือครูสัก ก็แทบไม่มีเหลืออยู่


อ้างอิง มติชนสุดสัปดาห์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.374 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 06 กุมภาพันธ์ 2567 22:14:19