[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 เมษายน 2567 06:26:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง  (อ่าน 544 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.183 Chrome 86.0.4240.183


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2563 11:33:27 »


โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง

                กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบของปัสสาวะ รูปร่างคล้ายบัลลูน อยู่หลังกระดูกหัวหน่าวภายในอุ้งเชิงกราน และอยู่หน้ามดลูกของผู้หญิง ส่วนผู้ชาย อยู่หน้าต่อทวารหนัก ผนังของกระเพาะปัสสาวะประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบส่วนใหญ่ มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 300-350 ซี.ซี. ทำให้รู้สึกอยากปวดปัสสาวะมาก ผนังกล้ามเนื้อของปัสสาวะจะบีบตัวให้มีการปัสสาวะผ่านทางหลอดปัสสาวะออกสู่ภายนอกจนหมดในเวลาไม่เกิน 30 วินาที โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบบริเวณหลอดปัสสาวะเลย ในคนปรกติถ้าดื่มน้ำวันละ 1500-2000 ซี.ซี. (ประมาณ 8-10 แก้ว) จะปัสสาวะประมาณวันละ 3-5 ครั้ง หลังเข้านอนจะไม่ตื่นมาปัสสาวะเลย

อาการปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 5 ครั้งใน 24 ชั่วโมง) อย่าเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพราะอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้


               1. ไตขับปัสสาวะมากกว่าปรกติ จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดื่มน้ำมาก รับยาขับปัสสาวะเนื่องจากเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ส่งผลให้ปัสสาวะที่มากักเก็บในกระเพาะปัสสาวะเต็มเร็ว จึงปัสสาวะบ่อยกว่าปรกติ (มากกว่า 5 ครั้ง ต่อวัน) และอาจต้องตื่นมาปัสสาวะหลังเข้านอนแล้วประมาณไม่เกิน 2 ครั้ง ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีปริมาณปัสสาวะแต่ละครั้งเท่าคนปกติ (ประมาณ 350-500 ซี.ซี.) เมื่อตรวจปัสสาวะจะไม่พบการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุข้างต้น
               2. มีความผิดปรกติที่กระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะได้นาน ปวดปัสสาวะเร็ว บางคนอาจปัสสาวะทุก 1 หรือ 2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือปวดปัสสาวะหลังนอนหลับแล้วตอนดึกก่อนถึงเช้าทุกคืน ๆ มากกว่า 2 ครั้ง ครั้งละน้อยกว่าปกติ (ไม่ถึง 300 ซี.ซี.) เกิดจาก
                   2.1 กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบมากในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว (อายุ 30-40 ปี) เนื่องจากมีการอักเสบในช่องคลอดบ่อย ๆ มีตกขาวมากกว่าปกติ ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้ากระเพาะปัสสาวะง่ายเพราะหลอดปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย อาจพบมีรูเปิดหลอดปัสสาวะตีบแคบด้วยในบางคน ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งมีอาการปัสสาวะบ่อย ครั้งวันละน้อย ๆ อาจเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ/บริเวณท้องน้อย หรือมีอาการปัสสาวะไม่สุด ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะพร้อมรักษาอาการตกขาวในช่องคลอด หรือขยายรูเปิดหลอดปัสสาวะด้วยจึงจะหายขาด
                   2.2 กระเพาะปัสสาวะเล็ก ขยายตัวไม่ได้ เนื่องจากถูกฉายแสงรักษามะเร็งของปากมดลูก เป็นวัณโรคกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะชั้นกล้ามเนื้อขยายเพื่อเก็บปัสสาวะมากไม่ได้ หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ในมดลูก หรือหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 6 เดือน มดลูกจะกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เก็บปัสสาวะได้ไม่มาก จึงทำให้ปัสสาวะบ่อย
                   2.3 มีสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ก้อนนิ่ว เนื้องอกขนาดใหญ่ อาจทำให้ปัสสาวะบ่อย แต่พบน้อยมากในผู้หญิง
              3. มีความผิดปรกติทางจิตใจ เช่น ภาวะเครียดจากงาน กลัวโรคภัยไข้เจ็บ มีปัญหาครอบครัว ผู้ป่วยส่วนมากมักจะปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ เมื่อหลับแล้วจะไม่ตื่นมาปัสสาวะอีก เนื่องจากไม่มีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ
              4. ประสาทควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะมีความผิดปรกติ ทำให้ผนังกล้ามเนื้อทำงาน บีบตัวบ่อย จำเป็นต้องตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วยเครื่องตรวจพิเศษ เพื่อตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

ดูแลสุขภาพอย่างไรห่างไกลโรคนี้

             1. พยายามอย่ากลั้นปัสสาวะนานเกิน 6 ชั่วโมงโดยไม่จำเป็น
             2. ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 6 - 8 แก้ว (ตั้งแต่เช้าถึงเข้านอน)
             3. ควรรักษาอาการตกขาวให้หายขาด
             4. ถ้าหากมีอาการปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อย ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ต้องไปพบศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะทันที

             หากพบว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีอาการผิดปกติดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ในรายที่เป็น ๆ หาย ๆ และเรื้อรัง ควรไปพบศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม โดยเฉพาะคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โอกาสที่จะเป็นโรคชนิดนี้ค่อนข้างสูง และหากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน


ศ.เกียรติคุณ นพ.ธงชัย พรรณลาภ
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภ.ศัลยศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.25 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 11 พฤศจิกายน 2566 07:51:43