[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 22:11:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แม่สะเรียงในอ้อมกอดธรรมชาติแห่งขุนเขา อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน  (อ่าน 1265 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 มกราคม 2564 15:53:41 »





ต้นทางเข้าสู่ตัวอำเภอแม่สะเรียง เบื้องหน้าคือเส้นทางเข้าสู่ตัวจังหวัดเชียงใหม่
อำเภอแม่สะเรียงมีอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้มักจะมีหมอกลงในทุกฤดูกาล



แม่สะเรียงในอ้อมกอดธรรมชาติแห่งขุนเขา
อำเภอแม่สะเรียง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน

อำเภอแม่สะเรียง (Mae Sariang)  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๖๔ กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศตะวันตกตลอดแนวระยะทาง ๑๖๖ กิโลเมตร มีแม่น้ำสาละวินกั้นเขตแดนระยะทาง ๑๐๑ กิโลเมตร  

อำเภอแม่สะเรียง เป็นเมืองเล็กๆ ที่กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ สภาพพื้นที่ร้อยละ ๘๒ ของพื้นที่ทั้งหมดประกอบด้วยเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตกและถนนธงชัยตะวันออกที่สูงชันสลับซับซ้อน และธรรมชาติป่าไม้อันสมบูรณ์เขียวขจี  แม่สะเรียงจึงเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำยวม ในหุบเขาอันกว้างใหญ่

นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรมของชนเผ่าและประเพณีของท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ปอยส่างลอง ออกหว่า แห่เทียนเหง จึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากจะหลีกหนีความวุ่นวายของสังคมเมือง เข้าไปสัมผัสบรรยากาศและวัฒนธรรมอันงดงาม

อำเภอแม่สะเรียงเดิมชื่อ “เมืองยวม” หรือ “ยวมใต้”  ความตอนหนึ่งในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า เมืองยวมใต้มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านมาตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๗๗ เรียกชื่อว่า “เมืองยวมตะวันตกของเชียงใหม่”  ทว่า ในปี พ.ศ.๒๓๓๒ แม่สะเรียงเกือบจะเป็นเมืองร้าง ดังปรากฏในใบลานหนังสือยวนล้านนาว่า “...ขณะนั้น มีบ้านอยู่ประมาณ ๒๐๐ หลังคาเรือน ในจำนวน ๘ หมู่บ้าน เฉพาะในตัวเมืองมีคนอยู่ประมาณ ๑๐-๑๒ ครัวเรือนเท่านั้น เนื่องจากถูกพวกยางแดงรบกวนปล้นสะดมเป็นประจำ ทางการต้องนำลูกวัวไปแลกตัวเชลย โดยใช้วัว ๗ ตัว เพื่อแลกผู้ชาย ๑ คน และใช้วัว ๘-๑๐ ตัว แลกผู้หญิง ๑ คน (สินค้าส่งออกขณะนั้นมีเพียงวัวดำ ลูกน้ำ ดีบุก ครั่ง)...”  

อำเภอแม่สะเรียงได้รับการจัดตั้งเป็นเมือง โดยมีพ่อเมืองปกครอง ขึ้นตรงต่อเจ้าเมืองนครเชียงใหม่ตั้งแต่ก่อน พ.ศ.๒๔๔๑ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ ทางการได้เปลี่ยนฐานะจากเมืองเป็นบริเวณ โดยเรียกชื่อเมืองแม่สะเรียงเป็น “บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก” ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ ได้ยกฐานะจากบริเวณเชียงใหม่ตะวันตกขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า “อำเภอเมืองยวม” โดยอาศัยชื่อของลำน้ำยวม ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านอำเภอนี้

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ทางการได้ตัดคำว่าเมืองออก เรียกชื่อเพียงว่า “อำเภอยวม” จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๖๗ ทางการเห็นว่าชื่ออำเภอยวมไปพ้องกับอำเภอขุนยวม ซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “อำเภอแม่สะเรียง” ตามชื่อของแม่น้ำอีกสายหนึ่งที่ไหลผ่านตัวอำเภอ และให้ประโยชน์ในการเกษตรมากที่สุด นั่นคือแม่น้ำแม่สะเรียง




สัญลักษณ์โดดเด่นของอำเภอแม่สะเรียง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์แม่สะเรียง
(ภาพ) แปลนอาคารพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แม่สะเรียง สถาปัตยกรรมศิลปะไทใหญ่
Tai Yai


ผู้โพสต์ หน้าพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แม่สะเรียง หลังใหม่ (หลังเก่าสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง แต่ถูกไฟไหม้)


เจดีย์วัดจอมแจ้ง หรือ วัดพระธาตุจอมแจ้ง
อำเภอแม่สะเรียงเป็นดินแดนแห่งพระธาตุสี่จอม  (พระธาตุวัดจอมแจ้ง วัดจอมทอง วัดจอมมอญ และ วัดจอมกิตติ)  
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแม่สะเรียง เจดีย์ทั้งสี่องค์ตั้งอยู่บนดอย ทั้ง ๔ ทิศของเมืองแม่สะเรียง



กุฏิพระสงฆ์ วัดพระธาตุจอมแจ้ง


เกษตรกร ในไร่ข้าวโพดที่มีลำต้นอวบใหญ่ จากความสมบูรณ์ของผืนดินและแหล่งน้ำที่มีตลอดปี


ชาวแม่สะเรียงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร คือ ทำนา ทำสวน ทำไร่  ได้แก่ ปลูกข้าวเจ้าและข้าวเหนียว  
รองลงมาได้แก่ หอมแดง กระเทียม และปลูกพืชตระกูลถั่ว (ถั่วลิสง ถั่วเหลือง) งา ข้าวโพด กะหล่ำปลี และมันฝรั่ง
หมุนเวียนกันไป เพื่อให้ดินฟื้นตัว เป็นการช่วยรักษาสภาพดินตามหลักวิชาการ



วัดสุพรรณรังษี ในตัวอำเภอแม่สะเรียง สร้างตามศิลปะไทใหญ่


ประตูที่ใช้กันมาแต่โบราณ ปัจจุบันหาชมยาก
ประตูเฟี้ยม หรือประตูบานพับ เอกลักษณ์ของบ้านเรือน ร้านค้าในอำเภอแม่สะเรียง ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้จำนวนมาก
(มีลักษณะเป็นบานแคบๆ นำมาต่อกัน สามารถพับจัดเก็บได้สะดวก)



บ้านคหบดี หรือพ่อเลี้ยง ในอำเภอแม่สะเรียง สร้างด้วยไม้สักจากลุ่มน้ำสาละวินทั้งหลัง
บ้านเรือนในชนบทและชุมชนเมือง ส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ... แม่สะเรียงเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่อง
ไม้สัก ซึ่งมีมาก เห็นได้ตามภูเขาและข้างทางทีเป็นเส้นทางหลักจากจังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่แม่สะเรียง



ภาพเขียนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานในอำเภอแม่สะเรียง
มีทั้งชาวไทย จีน ไทใหญ่ ไทยวน กระเหรี่ยง ละว้า และชาวมุสลิม



ปูนปั้นรูปชาวปกากะญอ ติดประดับบ้านพักในอำเภอแม่สะเรียง


ตลาดแม่สะเรียงในยามเช้าตรู่














อั่วไก่ และอั่วปลา การพัฒนาสูตรอาหารให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของชาวแม่สะเรียง


นัยว่า ดั้งเดิมมีแต่ไส้อั่วหมู ไส้อั่วเนื้อ สับหรือบดปรุงตามสูตรที่ทำกันมาแต่โบราณ ยัดไสไส้แล้วนำไปย่างให้สุก


น้องเจ้าของสูตร ชาวแม่สะเรียงจึงทดลองใช้เนื้อไก่เลาะกระดูก และปลาดุกทั้งตัว (ควักไส้ออก) หมักกับส่วนผสมและเครื่องปรุง
ที่ทำไส้อั่ว หมักให้เครื่องปรุงซึมเข้าเนื้อ แล้วมัดด้วยตอกเป็นก้อนกลม นำไปย่างไฟถ่านอ่อนจนสุก



อาหารเย็นของเราในบ้านพัก กรมทหารพรานที่ ๓๖ แม่สะเรียง เย็นวันนั้น จึงมีทั้งอั่วไก่ อั่วปลา แสนอร่อย
พร้อมเจียวไข่ร้อนๆ 1 จาน เวลาทานโรยด้วยน้ำพริกกุ้งแห้งจากเมืองพม่า กับผัดผักกูดไฟแดงกรอบอร่อย
ที่มีเครื่องปรุงตามมีตามเกิดตามแต่จะหาได้ในครัว อีก 1 จาน



ผักกูดซื้อจากตลาดนัดยามเย็นข้างกรมทหารพราน ผักชนิดนี้มีมากมายตามริมธาร


สภาพ! หนาวไม่สร่าง น้องๆ เคยแต่อาศัยในเมืองหลวง อากาศร้อนๆ
พาขึ้นดอยไปอยู่ในที่พัก ปิดประตูหน้าต่างมิดชิด อุณหภูมิในบ้านประมาณ 15 องศา



ขนมครกเตาถ่าน ขนมหวานทางภาคเหนือโดยมากใช้กะทิกล่อง ความหอมมันจึงไม่เท่ากะทิสดที่หาได้ง่ายในภาคกลาง


งวม หรือ นวม หรือ หนามโก้ง  ผักขึ้นชื่อภาคเหนือ ให้รสเปรี้ยว เหมาะสำหรับทำอาหารประเภทยำ
ยำหนามโก้ง หรือยำงวม บางที่ก็เรียก “ส่า” ส่าหนามโก้ง ส่างวม
วิธีทำ ซอยบางๆ ซอยหอมแดงกับมะตามลงไปด้วย
ตำพริกแห้ง กระเทียม หอมแดง กะปิ เข้าด้วยกัน นำไปคั่วพอหอม เปิดปลากระป๋อง เอาแต่เนื้อลงคั่วกับพริกแกงให้หอม
ปรุงรสด้วยผงชูรส รสดี ปิดแก๊สพักไว้ให้เย็น เย็นได้ที่ก็เอาไปยำกับหนามโก้ง มะเขือเทศ และหอมแดงที่ซอยไว้

ขอขอบคุณ เจ้าของสูตร (ทหาร จาก กรมทารพรานที่ ๓๖ อำเภอแม่สะเรียง)


ของใช้ในชีวิตประจำวันของชาวแม่สะเรียง เรียกว่า “โก๋ย” (สานจากไม้ไผ่ ผ่าแล้วจักทำเป็นตอก)
สำหรับใส่พืชผัก ผลไม้ และสิ่งของจำเป็น ใช้ในชีวิตประจำวันของคนของคนไทใหญ่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน



ฝูงแพะเลาะเลาะเล็มหญ้าริมธารน้ำ ที่มีต้นน้ำจากป่าเขาที่ยังความสมบูรณ์
ให้ชาวแม่สะเรียงได้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี



ผู้โพสต์ ที่ร้านกาแฟสดในอำเภอแม่สะเรียง


นักท่องเที่ยวต่างชาติ ปั่นจักรยานรับอากาศบริสุทธิ์ เย็นสบายตามชุมชนชนบท


ที่บ้านเรือนแลดูสะอาดมีระเบียบ และส่วนใหญ่ปลูกพืช ผักไม้เลื้อยไว้ตามแนวรั้วที่ทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก


ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ทำให้ชาวแม่สะเรียงมีน้ำอุปโภคบริโภคทั้งปี


อากาศสดชื่น  ธรรมชาติงดงาม แหล่งน้ำสมบูรณ์  ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2564 19:08:42 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2564 18:31:49 »


ศาลพ่อเจ้าเทพสิงห์ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้ขนาดใหญ่นับร้อยปี
ในกรมทหารพรานที่ ๓๖ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน



ศาลนี้ตั้งอยู่ติดกันกับศาลพ่อเจ้าเทพสิงห์ ใน กรมทหารพรานที่ ๓๖ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน




ทหารในกรมทหารพราน ตั้งเครื่องสักการะบูชาพ่อเจ้าเทพสิงห์ จากวีรบุรุษผู้กลายเป็นเทพหรือเทพารักษ์
ที่ได้รับการเคารพนับถือเป็นอย่างมากจากเหล่าทหารในกรมทหารพรานและช่าวแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน


เทพสิงห์ วีรบุรุษผู้กล้าหาญแห่งเมืองยวมใต้

เชียงใหม่เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งพม่าและกรุงศรีอยุธยา หมายยึดครองเป็นทางผ่านในการกรีฑาทัพไปรบ  พม่าและกรุงศรีอยุธยาผลัดกันยึดครองมาโดยตลอด  จากยุคสมัยอันเกรียงไกร “บุเรงนอง” เข้ายึดเชียงใหม่ได้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๑๐๑ แล้วอีก ๑๐๓ ปีต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ยึดคืนเมื่อ พ.ศ.๒๒๐๔ ครั้น พ.ศ.๒๒๑๕ พระยาพุกาม ก็กรีฑาทัพกลับไปอีกและถูกกดขี่ข่มเหงเรื่อยมา จนถึง พ.ศ.๒๒๕๐ ชาวเมืองไม่มีแก่ใจทำมาหากิน เพราะได้มาเท่าไรก็มีคนมาเอาไปหมด โรคภัยไข้เจ็บก็คุกคาม เดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้า  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ไม่มีสัญลักษณ์ของความเป็นไทย มีแต่ “เสาหงส์” อันเป็นสัญลักษณ์ของพม่าและมอญ ไม่ว่าจะเป็นที่ เชียงแสน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง มีแต่ “เสาหงส์” และรูปสิงห์ ให้บาดตาไปหมด สุดที่คนรุ่นใหม่จะทนดูดายต่อไปได้ จึงร่วมแรงร่วมใจคบคิดช่วงชิงเมืองมาให้ได้

ต่อมา พ.ศ.๒๒๗๐ “เทพสิงห์” หนุ่มน้อยแห่งเมืองยวมใต้ (อำเภอแม่สะเรียง ในปัจจุบัน) รวบรวมสมัครพรรคพวก ได้แต่จำนวนร้อย  ไปตีเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ สามารถขับไล่กองกำลังอันเกรียงไกรอย่างห้าวหาญ  จับตัว “โป่มังแรนร่า” นายทัพใหญ่ของพม่านั่งบัลลังก์ครองเมืองเชียงใหม่ มาสำเร็จโทษ ที่เหลือก็กระจัดกระจายไปรวมกับพวกพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงแสน

“เทพสิงห์” ขึ้นรักษาเมืองเชียงใหม่ โดยยังคงให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่เป็นคนไทย (แต่ดำรงตำแหน่งขณะพม่ายึดครองนั้น) ยังคงดำรงตำแหน่งเดิมโดยหาเฉลียวใจไม่ว่า ในจำนวนนั้นมี “คนไทยใจทาส” ปะปนอยู่ด้วย คือ “พญาวังหางตั๋น” คนไทยใจพม่าที่ล้วงความลับฝ่ายใน แล้วนำไปวางแผนคบคิดกับฝ่ายพม่าในหัวเมืองอื่นๆ รวบรวมพลได้ ๔๐๐ คน เข้าปล้นเมืองเชียงใหม่ในยามราตรี “เทพสิงห์” ไม่ได้ระวัง “หอกข้างแคร่” จึงเสียทีต้องหนีกระเจิดกระเจิงไปอย่างบอบช้ำที่สุด  พญาวังหางตั๋น จึงไปกราบทูลความดีความชอบของตนเอาเมืองเชียงใหม่ให้ “พระเจ้าอังวะ” ถึงประเทศพม่า  ไม่ผิดอะไรกับ “พระยาจักรี” ที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย

“เทพสิงห์” เห็นเหลือกำลังที่จะชิงคืนมาได้โดยลำพัง จึงไปหารือกับ “เจ้าธรรมปัญโญ”  เจ้านครน่าน  เจ้าธรรมปัญโญ เห็นเป็นคนไทยด้วยกัน ประกอบกับความมุ่งหมายและผลงานที่ “เทพสิงห์” ชิงเมืองมาได้หลายครั้ง ทั้งๆ ที่มีกำลังพลน้อยนิด  จึงยกกำลังมาสมทบ แต่ความลับรั่วถึง “เจ้าองค์ดำ” คนต่างด้าวท้าวต่างเมืองที่ครองเชียงใหม่ในขณะนั้น จึงกรีฑาทัพออกไปซุ่มโจมตีที่ เวียงป่าซาง  “เจ้าธรรมปัญโญ” ต้องอาวุธในสนามรบ กองกำลังนครน่านจึงเสียขวัญเตลิดไป  ทำให้ “เทพสิงห์” ต้านกำลังโดยลำพังไม่ไหว ต้องแตกกระเจิงและหายสูบสูญไป สันนิษฐานว่าคงเสียชีวิตแล้ว เพราะมิฉะนั้นก็ต้องยกทัพกลับเข้ามาอีก เป็นที่รู้กันดีว่าถ้ายังมีชีวิตอยู่แล้วไม่กลับมาสู้ก็ไม่ใช่ “เทพสิงห์”

จากวีรกรรมของ “เทพสิงห์” ซึ่งถือว่าเป็นวีระบุรุษเมืองยวมใต้ (อำเภอแม่สะเรียง) ที่กล่าวข้างต้น  เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ “เทพสิงห์”  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ ๙) จึงได้พระราชทานนาม “เทพสิงห์” เป็นชื่อ “ค่ายเทพสิงห์” เป็นที่ตั้ง กองพันทหารราบที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๗ เมื่อ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๘ โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยหลวง ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง กรมทหารพรานที่ ๓๖ เป็นหนึ่งในกองกำลังเฉพาะกิจของกองทัพภาคที่ ๓ มีบทบาทด้านยุทธการและการข่าว การรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-พม่า การปราบปรามยาเสพติด การป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันภัยแล้ง การปฏิบัติการพารามอเตอร์  และมักได้รับการกล่าวถึงผ่านสื่อข่าวในการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า





เครื่องประดับหยก จำหน่ายในอำเภอแม่สะเรียง
ชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล  อำเภอแม่สะเรียง มี "หยก" อัญมณีอันล้ำค่าอยู่มาก
เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับพม่าซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแหล่งหยกคุณภาพสูงและมีปริมาณมากที่สุดในโลก



อำเภอแม่สะเรียงยังคงเต็มไปด้วยป่าไม้อันงดงามและสมบูรณ์






"หิว" มีโอกาสไปเยือนแม่สะเรียงคราวใด ต้องไปอุดหนุนโรตรีร้านนี้ ราคาไม่แพง..โรตีโรยนมข้นหวานกับน้ำตาลทราย ขาย 5 อัน 20 บาท
คนขายเป็นแขกขาว ขายโรตีจนมีเงินส่งลูกเรียนสูงๆ  บางคนส่งไปเรียนถึงต่างประเทศ



ถ่ายกับหมาน้อย
แม่สะเรียงเป็นอำเภอที่มีสถานที่สนใจอีกมากมาย ไปมาหลายครั้ง ตั้งใจจะโพสต์หัวข้อนี้ให้จบๆ ติดขัดตรงยังค้นรูปภาพประกอบไม่พบ
เพราะอยากโพสต์ "ศาลหลักเมืองแม่สะเรียง" ศาลหลักเมืองที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กุมภาพันธ์ 2564 10:50:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ครูบาผาผ่า ปัญญาวโร วัดผาผ่า อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1679 กระทู้ล่าสุด 13 ธันวาคม 2560 12:13:24
โดย ใบบุญ
ครูบาผาผ่า ปัญญาวโร วัดผาผ่า อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 684 กระทู้ล่าสุด 02 มกราคม 2563 15:37:09
โดย ใบบุญ
ศาลเจ้าพ่อเมืองหลวง พระเสื้อบ้านพระเสื้อเมือง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 941 กระทู้ล่าสุด 23 เมษายน 2565 15:56:14
โดย Kimleng
วัดอมราวาส วัดที่สร้างด้วยศิลปะพม่า/ไทใหญ่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 327 กระทู้ล่าสุด 10 ธันวาคม 2565 19:38:32
โดย Kimleng
วัดถ้ำพระ (ถ้ำเหง้า) อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 372 กระทู้ล่าสุด 22 กุมภาพันธ์ 2566 15:32:51
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.518 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 31 มีนาคม 2567 03:54:05