[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:22:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๓ โสมทัตตชาดก : โสมทัตคนประหม่า  (อ่าน 578 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2564 20:05:57 »




พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๔๓ โสมทัตตชาดก
โสมทัตคนประหม่า

          ในอดีตกาล ในสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี รัฐกาสี
          ยังมีพราหมณ์ตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง อยู่ในรัฐกาสีนั้น ตระกูลนี้มีลูกชายหัวแก้วหัวแหวน ชื่อว่าโสมทัต
          เมื่อเจริญวัยพอสมควรแล้ว โสมทัตได้ไปศึกษาอยู่ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในเมืองตักสิลา เมืองแห่งการศึกษาในสมัยนั้น
          ครั้นเรียนสำเร็จเป็นบัณฑิตแล้ว โสมทัตก็เดินทางกลับบ้านได้พบเห็นฐานะทางบ้านยากจนลง ด้วยอิทธิพลของความผันผวนทางเศรษฐกิจของบ้านเมือง เขาจึงคิดกอบกู้ฐานะของทางบ้าน ด้วยการไปทำงานรับราชการอยู่ในเมืองหลวง
          โสมทัตทำงานดีจนเป็นที่โปรดปรานของพระราชา
          อยู่มาไม่นานบิดาของโสมทัตได้มาเยี่ยมเยียนเขาถึงเมืองหลวง และบอกให้ลูกชายทูลขอโคจากพระราชาสักตัวหนึ่ง เพราะโคที่บ้านที่มีสองตัวนั้น ตายไปเสียตัวหนึ่งแล้วยังเหลืออีกตัวเดียว
          โสมทัตบอกกับพ่อว่าให้พ่อขอเองเถอะ เพราะเขาเพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่นาน จะขอโน่นขอนี่เกรงจะไม่บังควร
          พ่อของโสมทัตบอกว่าตัวเองไม่กล้าขอ เพราะพูดไม่เป็น เดี๋ยวพูดผิดพูดถูกเข้าก็จะยุ่งกันใหญ่ โสมทัตบอกว่าไม่เป็นไร เขาจะสอนให้พูดเอง รับรองว่าไม่ผิดแน่ พ่อจึงต้องอยู่กับโสมทัตอีกหลายวัน
          ทุกๆ วันหลังจากเลิกงาน โสมทัตจะพาพ่อไปในที่สงบสงัด มัดหญ้าฟางเป็นฟ่อนๆ ตั้งไว้เป็นจุดๆ สมมุติว่าเป็นพระราชาบ้าง อุปภาระบ้าง เสนาบดีบ้าง จากนั้นก็ฝึกซ้อมบทพูดกับพ่อ
          โสมทัตพูดกับพ่อว่า
          “พ่อครับ! พอเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว พ่อต้องกราบทูลถวายพระพรว่า ขอพระองค์ทรงพระเจริญ จากนั้นก็กล่าวคำที่พ่อจะขอโค”
          “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้ามีวัวไถนาอยู่สองตัว แต่โคตัวหนึ่งตายไปเสียแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานวัวตัวที่สองด้วยเถิดพระเจ้าข้า”
          พราหมณ์พ่อของโสมทัตตั้งใจท่องทุกวัน ในที่สุดก็ว่าได้คล่องปาก โดยใช้เวลานานนับปีทีเดียว จึงบอกกับลูกชายว่าพ่อพร้อมจะเข้าเฝ้าแล้ว
          รุ่งขึ้นโสมทัตก็พาพ่อไปเข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต เมื่อถึงท้องพระโรงแล้ว พราหมณ์พ่อของโสมทัตได้กราบทูลพระราชา
          “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท   ! ขอพระองค์ทรงพระเจริญ”
          เขากราบทูลมาได้แค่นั้น พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงหันพระพักตร์ไปทางพราหมณ์ พร้อมกับตรัสถามว่า
          “โสมทัต! พราหมณ์หน้าตาคล้ายเจ้า เขาเป็นอะไรกับเจ้าหรือ?”
          โสมทัตกราบทูลว่า
          “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท! เป็นบิดาของข้าพระพุทธเจ้าเอง พระเจ้าข้า”
          พระราชาตรัสถามว่า
          “ลุงมาทำธุระอะไรที่นี่รึ”
          พอถูกซักไซ้ไล่เรียง พราหมณ์เริ่มรู้สึกประหม่าใจคอไม่เป็นปกติ ให้รู้สึกหวาดหวั่นสะทกสะท้านยังไงชอบกล เมื่อถูกถามถึงสาเหตุที่มา จึงรับทูลตามถ้อยคำที่ลูกชายสั่งสอนไว้ว่า
          “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท! ข้าพระพุทธเจ้ามีวัวใช้ไถนาอยู่ ๒ ตัว แต่วัวตัวหนึ่งตายไปเสียแล้ว ขอพระองค์ทรงโปรดรับวัวตัวที่สองไปด้วยเถิดพระเจ้าข้า”
          พระเจ้าพรหมทัตทรงสดับแล้ว ก็ทรงพระสรวล เพราะทรงทราบว่าพราหมณ์นี้จะต้องพูดผิดแน่ จึงตรัสเย้าโสมทัตว่า
          “โสมทัต! เห็นทีที่บ้านพ่อของเจ้า จะมีโคหลายตัวละซิ”
          โสมทัตกราบทูลว่า
          “ขอเดชะ! พระอาญามิพ้นเกล้า หากพระองค์พระราชทานให้แล้วก็จะมีมากจริงๆ พระเจ้าข้า”
          พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดปรานคำตอบของโสมทัตมาก ประกอบกับทรงโปรดปรานเขาที่ทำงานด้วยกับอาการ ๒ อย่าง คือ ได้กับไม่ได้ เพราะว่าการขอจะมีอาการอย่างนี้เป็นธรรมดา
 

ธรรมนิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“คนโง่จะสอนให้จดจำอะไรก็ยาก”
“การขอไม่มีใครชอบ ผู้ขอก็ลำบากใจ ผู้จะให้ก็ทุกข์ใจ”


พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโร
คนโง่ย่อมพร่าประโยชน์เสีย (๒๗/๑๕)

คัดจาก : หนังสือ พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ / จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย สถาบันบันลือธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๑๙ เภริวาสชาดก : ช่างตีกลองกับบุตรชาย
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 707 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2563 20:06:56
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๐ กายนิพพินทชาดก : ชายขี้โรคบวชไม่สึก
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 559 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2564 19:55:41
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๑ กัสสปมันติยชาดก : บิดาชรากับบุตรน้อย
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 623 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2564 19:58:21
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๒ ติตติรชาดก : ฤๅษีปากจัด
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 549 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2564 20:02:37
โดย Kimleng
พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ เรื่องที่ ๔๔ ธัมมัทรชาดก : ธรรมธัชบัณฑิต
ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
Kimleng 0 499 กระทู้ล่าสุด 11 มีนาคม 2564 18:33:29
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.325 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 25 ธันวาคม 2566 10:10:28