[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 13:17:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้าวจี่ กับความเชื่อในทางพุทธศาสนา  (อ่าน 1248 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2564 20:13:03 »



"ข้าวจี่"



ข้าวจี่

ข้าวจี่ เป็นอาหารพื้นบ้านของภาคอีสานและภาคเหนือ ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรี นำไปย่างบนเตาถ่านไฟอ่อนพอเกรียม นำมาชุบไข่ผสมน้ำตาลอ้อย แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น

ทางภาคเหนือ มีข้าวจี่เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ไม่นิยมทำเป็นก้อนกลมหรือชุบไข่ แต่จะนำข้าวเหนียวทาน้ำมันหมู เกลือ และอาจสอดใส้น้ำพริกตาแดงหรือใช้ทาภายนอกก็ได้ เดือนสี่ทางภาคเหนือซึ่งตรงกับราวๆ เดือนมกราคมของภาคกลาง (การนับเดือนของทางภาคเหนือจะเร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน) จะนำข้าวจี่กับข้าวหลามไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญข้าวจี่ข้าวหลาม

ข้าวจี่อีกชนิดหนึ่งของทางภาคเหนือ เป็นการอุ่นข้าวเหนียวเปล่า มักจะทำกินกันตอนน้ำท่วม โดยการนำข้าวเหนียวสุกที่เหลือจากมื้อก่อนหน้า (เรียกว่า ข้าวเย็น) มาเสียบไม้ ปั้นแผ่ให้บาง ปิ้งไฟพอเกรียมนิดหน่อยให้อุ่นหอม นิยมกินกับปลากระดี่ที่ควักไส้แล้วเสียบไม้ตากแห้ง (เรียกว่า ฮ้าแห้ง หรือ ปลาร้าแห้ง) ปิ้งไฟให้กรอบเกรียม นำมาโขลกป่นให้ละเอียด ผสมเกลือป่นเล็กน้อย หากเป็นเกลือเม็ดก็โขลกให้ป่นพร้อมปลาไปเลย เก็บใส่กระปุกไว้เป็นกับข้าวได้นาน การจี่ในภาษาเหนือจะไม่เหมือนกับภาษากลาง ซึ่งแบบภาคกลางจะหมายถึงการนาบอาหารกับกระทะ ในภาษาเหนือจะเรียก นาบ 

ประเทศลาวก็มีอาหารที่เรียกว่าข้าวจี่เช่นกัน ที่หลวงพระบางข้าวจี่คือขนมปังแท่งยาวๆ แบบฝรั่งเศส นำมาผ่าซีก เสร็จแล้วนำไปใส่เครื่องเคียงต่างๆ เช่น แตงกวา ไข่เจียวตัดเป็นเส้นๆ หมูยอ หมูหย็อง (คนลาวเรียกหมูฝอย) และปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ข้าวจี่ของลาวจะต่างจากข้าวจี่ทางภาคเหนือและอีสานของไทย


มูลเหตุของพิธีกรรม เนื่องมาจากสมัยพุทธกาล มีนางทาสชื่อปุณณทาสี ได้นําแป้ง ข้าวจี่ (แป้งทําขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางคิดว่า ขนมแป้งข้าวจี่เป็นขนมของผู้ต่ำต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ ทําให้นางปิติดีใจ ชาวอีสานจึงเอาแบบอย่างและพากันทําแป้งข้าวจี่ถวายพระมาตลอด อีกทั้งเนื่องจากในเดือนสามอากาศของภูมิภาคอีสานกําลังอยู่ในฤดูหนาว ในตอนเช้าผู้คนจะใช้ฟืนก่อไฟผิงแก้หนาวชาวบ้านจะเขี่ยเอาถ่านออกมาไว้ด้านหนึ่งของกองไฟ แล้วนําข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลม โรยเกลือวางลงบนถ่านไฟแดงๆ นั้นเรียกว่า ข้าวจี่ ซึ่งมีกลิ่นหอม ผิวเกรียมกรอบน่ารับประทาน ทําให้นึกถึงพระภิกษุสงฆ์ผู้บวชอยู่วัดอยากให้ได้รับประทานบ้าง จึงเกิดการทําบุญข้าวจี่ขึ้น ดังมีคํากล่าวว่า "เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา" (พอถึงปลายเดือนสามภิกษุก็คอยปั้นข้าวจี่ ถ้าข้าวจี่ไม่มีน้ำอ้อยยัดไส้ เณรน้อยเช็ดน้ำตา)

ชาวอีสานรวมถึงชาวลาวที่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เชื่อว่า การถวายข้าวจี่นั้นจะได้อนิสงส์มาก จึงพากันยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า “บุญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม” จัดอยู่ในช่วงเดือนปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์

พอถึงวัดนัดหมายทําบุญข้าวจี่ ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะจัดเตรียมข้าวจี่ตั้งแต่ตอนย่ำรุ่งของวันนั้นเพื่อให้ข้าวจี่สุกทันใส่บาตรจังหัน นอกจากข้าวจี่แล้วก็จะนํา "ข้าวเขียบ" (ข้าวเกรียบ) ทั้งที่ยังไม่ย่างเพื่อให้พระเณรย่างกินเองและที่ย่างไฟจนโป่งพองใส่ถาดไปด้วย พร้อมจัดอาหารคาวไปถวายพระที่วัด ข้าวจี่บางก้อนผู้เป็นเจ้าของได้ยัดไส้ด้วยน้ำอ้อย แล้วทาด้วยไข่ เพื่อให้เกิดรสหวานหอมชวนรับประทาน ครั้นถึงหอแจกหรือศาลาโรงธรรมพระภิกษุสามเณรทั้งหมดในวัดจะลงศาลาที่ญาติโยมที่มารวมกันอยู่บนศาลาก่อน แล้วประธานในพิธีเป็นผู้อาราธนาศีล พระภิกษุให้ศีล ญาติโยมรับศีล แล้วกล่าวคําถวายข้าวจี่ จากนั้นก็จะนําข้าวจี่ใส่บาตรพระซึ่งตั้งเรียงไว้เป็นแถวเท่าจํานวนพระเณร พร้อมกับถวายปิ่นโต สํารับกับข้าวคาวหวาน เมื่อพระฉันจังหันเทศน์เสร็จแล้วก็ให้พร ญาติโยมรับพรเป็นเสร็จพิธี


ขอขอบคุณเว็บไซต์วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี และสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ที่มาข้อมูล)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ข้าวจี่ อาหารแซ่บอีสานที่ไม่ธรรมดา
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 464 กระทู้ล่าสุด 29 พฤศจิกายน 2564 21:02:09
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.298 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 01:36:18