[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 20:09:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่นี่ "แม่ลาน้อย" มนต์เสน่ห์เมืองแห่งขุนเขา จ.แม่ฮ่องสอน  (อ่าน 1068 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 มีนาคม 2564 20:39:24 »




ที่นี่ "แม่ลาน้อย" มนต์เสน่ห์เมืองแห่งขุนเขา
อำเภอแม่ลาน้อย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศรวมเขตตำบลแม่ลาหลวงของอำเภอขุนยวม กับตำบลแม่ลาน้อย ของอำเภอแม่สะเรียง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ จึงได้รับอนุมัติให้แยกตำบลแม่ลาหลวงออกเป็นตำบลแม่โถและแยกตำบลแม่ลาน้อยออกเป็นตำบลท่าผาปุ้ม รวม ๔ ตำบล และเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ จึงได้มีพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย เป็นอำเภอแม่ลาน้อย ต่อจากนั้นมาก็ได้มีการจัดตั้งตำบลเพิ่มขึ้นอีก ๒ ตำบล คือ ตำบลห้วยห้อมและตำบลแม่นาจาง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ และ ๒๕๒๖ ตามลำดับ และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ก็ได้แยกตำบลแม่ลาหลวงออกเป็นอีก ๑ ตำบล คือ ตำบลสันติคีรี และเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ได้รับอนุมัติให้แยกตำบลแม่นาจางออกเป็นตำบลขุนแม่ลาน้อย รวมมีพื้นที่ทั้งหมด ๘ ตำบล และปัจจุบันจัดตั้งเป็นอำเภอชั้นที่  ๔

อำเภอแม่ลาน้อยเป็นอำเภอที่โอบล้อมด้วยภูเขา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอนระยะทาง ๑๓๔ กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑,๓๓๗ ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ป่าและภูเขาสูงร้อยละ ๙๑ และเป็นพื้นที่ราบเชิงเขา ร้อยละ ๙ ของพื้นที่  มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ทิศตะวันตกติดต่อกับเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และสหภาพพม่า พื้นที่กว่าร้อยละ ๘๐ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ยวมฝั่งซ้าย และป่าสงวนแห่งชาติแม่ยวมฝั่งขวา

ลักษณะภูมิอากาศ : แม่ลาน้อยมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี อยู่ที่ ๒๒ องศาเซลเซียส และมีช่วงฤดูฝนยาวนานประมาณ ๕ เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน มี ๓ ฤดู ได้แก่
๑.ฤดูฝน เริ่ม เดือนพฤษภาคม - กันยายน
๒.ฤดูหนาว เริ่ม เดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
๓.ฤดูร้อน เริ่ม เดือนมีนาคม - เมษายน

แต่เดิมท้องที่อำเภอแม่ลาน้อย เป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าลวะหรือละว้า ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามสองฝั่งลำน้ำ ๒ สาย ที่ไหลมาจากเทือกเขาเดียวกัน ลำน้ำสายหนึ่งไหลผ่านตำบลแม่ลาหลวง เป็นลำน้ำสายใหญ่ ในขณะที่อีกสายหนึ่งไหลผ่านตำบลแม่ลาน้อย เป็นสายเล็ก  ชาวลวะเรียกชื่อแม่น้ำสายใหญ่ว่า “ลวะหลวง” และเรียกสายเล็กว่า “ลวะน้อย” ต่อมาชาวลวะอพยพไปทำมาหากินในถิ่นอื่น  ชาวไทใหญ่หรือ “เงี้ยว” จึงได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งรกรากทำมาหากินแทนที่ของชาวลวะ  ชาวไทยใหญ่เรียกชาวลวะว่า “ลา” ในที่สุด ลำน้ำสายใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของตำบลแม่ลาหลวงจึงถูกเรียกว่า “ลำน้ำแม่ลาหลวง” ส่วนสายเล็กถูกเรียกว่า “ลำน้ำแม่ลาน้อย” ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านที่เป็นตำบลแม่ลาน้อยในปัจจุบัน

ประชากรแม่ลาน้อย ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา ประมาณร้อยละ ๗๖.๑๕ ของประชากรทั้งหมด โดยชนเผ่ากะเหรี่ยง มีประชากรมากที่สุด คือประมาณร้อยละ ๖๐รองลงมาได้แก่ชนลั๊วะ ร้อยละ ๑๓.๕๘ และชนเผ่าม้ง ร้อยละ ๐.๘ และชาวไทยใหญ่ ประมาณร้อยละ ๑๒.๑๗ และชาวไทย (ไทยล้านนา) ประมาณร้อยละ ๑๑.๖๘  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำไร่ ทำสวน ทำไม้ และทำเหมืองแร่

วัดที่สำคัญในอำเภอแม่ลาน้อย ได้แก่ วัดแม่ลาน้อย ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่ลาน้อย และวัดศรีลาภา ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่ลาหลวง

แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอำเภอแม่ลาน้อย ได้แก่ ถ้ำและน้ำตกดาวดึงส์ ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งรวงทอง  ถ้ำแม่หุ ตั้งอยู่ที่บ้านหมาก  บ่อน้ำร้อนแม่หุ ตั้งอยู่ติดกับเหมืองแร่ เอส.พี.ไมน์นิ่ง ทางฝั่งลำห้วยแม่หุ หมู่บ้านละว้าและหมู่บ้านลวะ แม่ละอูบ ตำบลห้วยล้อม  บ้านกะเหรี่ยงห้วยล้อม อยู่ห่างจากบ้านแม่ละอูบประมาณ ๔ กิโลเมตร


ข้อมูลเรียบเรียงจาก - สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์เผยแพร่
- เว็บไซต์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน้อย
- เว็บไซต์ วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแม่ลาน้อย หลักยึดเหนี่ยวจิตใจชาวแม่ลาน้อย






ย่านถนนคนเดิน "กาดไต" แม่ลาน้อย


ศาลากลางบ้าน ในสมัยก่อนพ่อค้าจากถิ่นต่างๆ จะนัดพบกันและนำสินค้ามาวางขาย ณ บริเวณนี้




แม่ลาน้อยอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ธรรมชาติ บ้านเรือนชาวบ้านส่วนใหญ่มักปลูกสร้างด้วยไม้สัก
ซึ่งไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลก


นาขั้นบันไดที่อำเภอแม่ลาน้อย หลังฤดูเก็บเกี่ยว


ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองแม่ลาน้อย


"ถั่วลายเสือ" ถั่วลิสงที่มีเปลือกหุ้มด้านนอกเป็นลายเสือ สินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีรสหวานมัน
(ภาพนี้ถ่ายที่บริเวณท้องที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน - เล่าเรื่องแม่ลาน้อย แต่มีภาพถ่ายจากอำเภอสบเมยแทรกเข้ามาหนึ่งภาพ)







Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤศจิกายน 2565 20:46:43 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0 Chrome 107.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2565 17:12:20 »


ภาพมุมสูง การจำลองเขาวงกต ในงานประเพณีปอยหมั่งกะป่า วัดแม่ลาน้อย ประจำปี ๒๕๖๕
ขอขอบคุณ
Fb.วัดแม่ลาน้อย (ที่มาภาพประกอบ)



งานประเพณีปอยหมั่งกะป่า หรืองานบุญเขาวงกต อำเภอแม่ลาน้อย
งานบุญประเพณีของชาวไทใหญ่ ประจำปี ๒๕๖๕

คำว่า “หมั่งกะป่า” แปลว่า “เขาวงกต” เป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทำให้หลงทางได้ โดยปริยายหมายถึง วกวนหาทางออกไม่ได้.

งานประเพณีปอยหมั่งกะป่า หรืองานบุญเขาวงกต เป็นงานบุญประเพณีของชาวแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ได้อนุรักษ์สืบสานและดำรงไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของบรรพชน ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาในมหาเวสสันดรชาดก พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยหยิบยกเอาเรื่องราวตอนหนึ่งที่พระเวสสันดรเสด็จออกมาจากเมืองสีพี มาทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าเขาวงกต ซึ่งเส้นทางที่จะเข้าไปหาพระเวสสันดรนั้น มีทางเข้าออกซับซ้อนวกวน อาจทำให้หลงทางได้ ถ้าผู้ใดจะเข้าไปหาหากไม่มีบุญแล้ว จะไม่สามารถเข้าไปถึงอาศรมพระเวสสันดรได้ จะหลงทางไปมา อยู่ในป่าเขาวงกตนั่นเอง

งานประเพณีปอยหมั่งกะป่าของอำเภอแม่สะเรียง โดยปกติจะจัดเป็นประจำทุกปี (ในสามปีที่ผ่านมางดจัดงาน เนื่องจากสถานการณ์โควิด ๑๙) และในปี ๒๕๖๕ กำหนดจัดงาน ณ วัดแม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ในระหว่างวันที่ ๓-๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ถือเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน) หรือวันลอยกระทง เป็นวันสุดท้ายของงานประเพณี

การจำลองเขาวงกต (ปอยหมั่งกะป่า) มีการจำลองจำนวนปราสาท สำหรับเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่พระพุทธรูปประจำวันเกิด ประกอบด้วย
     ๑. ปราสาทประจำวันอาทิตย์
     ๒. ปราสาทประจำวันจันทร์
     ๓. ปราสาทประจำวันอังคาร
     ๔. ปราสาทประจำวันพุธ
     ๕. ปราสาทประจำวันพฤหัสบดี
     ๖. ปราสาทประจำวันศุกร์
     ๗. ปราสาทประจำวันเสาร์
     ๘. ปราสาทประจำวันราหู
     ๙. อีกหนึ่งหลัง เป็นการจำลองปราสาทของพระพุทธเจ้า ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของเขาวงกต

ในมหาเวสสันดรกล่าวได้ว่าทิศทั้งสี่ของเขาวงกตนี้จะมีหนองดอกบัวทั้ง ๔ ด้าน ดังนั้นในการจัดทำหมั่งกะป่า หรือ เขาวงกตนั้น ศรัทธาชาวพุทธดั่งเช่นชาวขุนยวมจะสร้างประสาท ๔ หลัง แทนหนองดอกบัว ส่วนประสาทหลังกลาง ซึ่งเป็นหลังที่ ๕ และสูงกว่าหลังอื่นๆ นั้น สมมุติเป็นอาศรมของพระเวสสันดร สำหรับชาวบ้านเมืองปอน ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนชาวไตที่เก่าแก่และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไตอย่างเหนียวแน่นชุมชนหนึ่งนิยมสร้างประสาท ๙ หลัง ตั้งไว้บริเวณเขาวงกตที่สร้างขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า ประสาทหลังใหญ่ ๑ หลังที่ตั้งไว้ตรงกลางแทนอาศรมของพระเวสสันดร สำหรับประสาทอีก ๘ หลัง สร้างจำลองตามประวัติและความเชื่อตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการจำลองประสาทมหาวิหาร ๘ หลัง ที่เศรษฐีในสมัยนั้นสร้างถวายแด่พระพุทธเจ้า โดยจำลองเหตุการณ์ มาสร้างเป็นพุทธบูชา ซึ่งตามพุทธประวัติได้กล่าวไว้

ปราสาทเขาวงกต ประกอบด้วย
    หลังที่ ๑ เชตวรรณ์มหาวิหาร    ตั้งอยู่ในกรุงสาวัตถี ในครั้งที่พระพุทธเจ้ายังไม่ปรินิพพาน เป็นวัดที่มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิก สร้างถวาย
    หลังที่ ๒  บุพผารามมหาวิหาร ตั้งอยู่ในชนบทแห่งกรุงพาราณสี  นางวิสาขามหาอุบาสิกา สร้างถวาย
    หลังที่ ๓  เวฬุวรรณ์มหาวิหารตั้งอยู่ในชนบทแห่งกรุงราชคฤ พระเจ้าพิมพิสาร สร้างถวาย
    หลังที่ ๔  มหาวรรณ์มหาวิหาร    ตั้งอยู่ในกรุงปาฏลีบุตร จิตตะมหาเศรษฐี สร้างถวาย
    หลังที่ ๕  เมกกะทายะวรรณ์มหาวิหาร    ตั้งอยู่ในป่าติดกับดินแดนแห่งกรุงมันลานคร  นันฑิยะมหาเศรษฐี สร้างถวาย
    หลังที่ ๖  กัณฑารมมหาวิหาร อยู่ในกรุงเวสาลี  โชติกะมหาเศรษฐีสร้างถวาย
    หลังที่ ๗  กุสินารามหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงโกสัมพี กากะวรรณะมหาเศรษฐี สร้างถวาย
    หลังที่ ๘  นิโครธารามมหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะ สร้างถวาย

นอกจากนี้ประสาท ๗ ใน ๘ หลังดังกล่าว ศรัทธาชาวเมืองปอน ยังได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งเป็นพระประจำวันไว้ในซุ้มประสาท เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้นมัสการบูชาพระประจำวันเกิดของตนเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเองอีกด้วย ปอยหมั่งกะป่า หรือ ประเพณีเขาวงกต นิยมจัดขึ้นในเดือน ๑๒ ระหว่างวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจัดขึ้นในช่วงขึ้น ๑๓ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ โดยถือเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำเป็นวันสุดท้ายของงาน ประเพณีต่างๆ ของชาวไต จะไม่สูญหายหากชุมชนตระหนักถึงคุณค่าการอนุรักษ์รักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ยึดมั่นปฏิบัติ ส่งผลต่อการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะทำสังคมอยู่เย็นเป็นสุข    



ขบวนแห่นางนพมาศของงานประเพณีปอยหมั่งกะป่า อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


พระอุโบสถ วัดแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


พระพุทธรูปศิลปะไทใหญ่ วัดแม่ลาน้อย


ซุ้มประตูทางเข้าเขาวงกตจำลอง


ปราสาทของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ตรงกลางของเขาวงกตจำลอง
ปราสาทมียอดแหลมขึ้นไปหนึ่งยอดเรียกว่า “กยองยอด” ตั้งไว้บนสถานที่ยกพื้น
ด้านหน้ามีที่สำหรับจุดเทียน วงกระทงข้าวพระพุทธ และวางดอกไม้บูชา  



ลักษณะเขาวงกต ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกป็นราชวัตร ติดตั้งไว้สองทางเดินที่คดเคี้ยวไปมา
โดยทำทางเดิน(ลักษณะช่องทางบังคับ) เข้าไปหาปราสาทที่ตั้งไว้ตรงกลางและมุมต่างๆ ในเขาวงกต



สามารถออกจากเขาวงกต กลับมาถึงบ้านอย่างปลอดภัย นับว่าเป็นผู้มีบุญคนหนึ่ง


เวทีการแสดง ภายในบริเวณงาน "เขาวงกต และลอยกระทง" วัดแม่ลาน้อย


กระทงประกวดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแม่ลาน้อย










p1


p2


p3


p4


p5


p6


p7


p8


p9
p1 - p9 เป็นภาพการแสดงศิลปะไทใหญ่



ฆ้องราง เครื่องดนตรีชิ้นสำคัญสำหรับตีประกอบการแสดงศิลปะไทใหญ่












ที่นี่ แม่ลาน้อย


แหล่งข้อมูลอ้างอิง :  
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- fb. วัดแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 พฤศจิกายน 2565 21:08:46 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 เมษายน 2566 19:43:31 »

สะพานแขวนบ้านวังคัน อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ที่บ้านวังคัน อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสะพานแขวนทอดข้ามแม่น้ำยวม และที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
อีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่ลาน้อย  โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งระดับน้ำของแม่น้ำยวมไม่สูงมาก  จะมีประชาชนหลั่งไหล
พากันมาพักผ่อน ชื่นชมกับธรรมชาติและขุนเขา ล้อมวงรับประทานอาหาร และเล่นน้ำคลายร้อนในลำน้ำยวม

บริเวณนี้ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา เพื่อขยายพันธุ์หรือเพิ่มปริมาณจำนวนสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ให้มีความสมดุลกับธรรมชาติ  น้ำที่นี่ใสสะอาด สามารถมองเห็นพื้นดินใต้ท้องน้ำได้ชัดแจน นักท่องเที่ยวจึงเห็นฝูงปลา
หลากหลายพันธุ์แหวกว่ายไปมาให้ชมอย่างเพลิดเพลิน




สะพานแขวนบ้านวังคัน ทอดข้ามระหว่างหมู่บ้านวังคันและสำนักงานอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฯ สร้างโดยใช้ลวดสลิง
ยึดไว้เพื่อรับน้ำหนักของสะพาน สามารถข้ามได้เฉพาะคนเดิน จักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์เท่านั้น ชาวบ้านบริเวณนั้นให้
ข้อมูลว่า สะพานนี้สร้างเป็นครั้งที่สาม ก่อนหน้านี้สะพานได้ถูกกระแสน้ำพัดขาดลอยไปกับกระแสน้ำในช่วงฤดูฝน
สะพานปัจจุบันจึงสร้างให้สูงกว่าระดับผิวน้ำในช่วงฤดูฝนเพียง ๒ เมตรเท่านั้น










ลองจินตนาการดูว่าในฤดูฝน แม่น้ำยวมมีระดับต่ำกว่าพื้นสะพานประมาณ ๒ เมตรเท่านั้น ปริมาณน้ำจะมหาศาลขนาดไหน




แสงแดดแผดจ้าเริ่มลาลับขอบฟ้า "ที่นี่...แม่ลาน้อย" ความเย็นเริ่มปกคลุมมาแทนที่ แม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน


รถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะที่ใช้สัญจรไป-มากันมากบนสะพานแห่งนี้
และต้นไม้ที่อยู่ใต้สะพานทั้งหมด คือ "แม่น้ำยวม" ในช่วงฤดูฝน





ภูมิปัญญาชาวบ้าน
"ตะกร้า" ภาชนะสานโปร่งสำหรับใส่จาน-ชาม หรือสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน ทำด้วยการนำหวาย หรือไม้ไผ่ หรือวัสดุอื่นๆ
มา "จัก" หรือ "เรียด" ให้เป็นเส้น แล้วสานด้วยการสอดขัดกันเป็นรูปทรงต่างๆ ตามการใช้สอย



อาหาร น้ำ เครื่องดื่ม มีขายที่ริมฝั่ง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2566 10:54:31 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
"ถ้ำแก้วโกมล" วนอุทยานแก้วโกมล ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 985 กระทู้ล่าสุด 13 มีนาคม 2564 19:37:39
โดย Kimleng
สายน้ำมิอาจขวางกั้น "สะพานชูตองเป้" สะพานไม้พลังแห่งศรัทธา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 655 กระทู้ล่าสุด 31 ตุลาคม 2564 19:28:39
โดย Kimleng
[ไทยรัฐ] - "ลาสต์ ไอดอล" ส่ง "EGAO" ปล่อยMV "หน้ากากน้ำตา" ได้ "คลัง-คูณคลัง" ก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 966 กระทู้ล่าสุด 09 กุมภาพันธ์ 2565 11:34:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - ฝุ่น PM2.5 เช้านี้ พบ "เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน" เกินค่ามาตรฐาน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 282 กระทู้ล่าสุด 19 มีนาคม 2565 13:00:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
"พระธาตุกองมู" ศาสนสถานศิลปะไทใหญ่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 231 กระทู้ล่าสุด 03 ธันวาคม 2565 21:34:45
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.407 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 19:34:26