[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 02:10:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: CT Scan กับ MRI ต่างกันอย่างไรกันแน่…กับการสแกนสมอง  (อ่าน 998 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.190 Chrome 88.0.4324.190


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 มีนาคม 2564 20:57:22 »



CT Scan กับ MRI ต่างกันอย่างไรกันแน่…กับการสแกนสมอง

https://www.phyathai.com/photo/article_2596654694.jpg
CT Scan กับ MRI ต่างกันอย่างไรกันแน่…กับการสแกนสมอง

เมื่อไหร่นะ…ที่จะต้องสแกนสมอง


       หากคุณมีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะกระโหลกร้าว เลือดไหลในสมอง หมดสติ ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ ตกจากความสูงมากกว่า 3 ฟุต หรือมาพบแพทย์ด้วยอาการดังต่อไปนี้

       1.มีอาการชัก
       2.ปวดหัวรุนแรง
       3.อาเจียนบ่อยครั้ง
       4.สมรรถภาพในการมองลดลง
       5.ตาดำข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง
       6.กดแล้วเจ็บที่บริเวณเหนือกระโหลก
       7.มีปัญหาการพูด การได้ยิน และการกลืน
       8.มีของเหลวหรือเลือดออกมาจากหูและจมูก
       9.กล้ามเนื้อใบหน้าหรือร่างกายข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง

CT Scan จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดลำดับแรกที่แพทย์จะเลือกใช้เพื่อประเมินสาเหตุของอาการผิดปกติ แต่หากคุณมีอาการข้างต้นต่อเนื่องมากกว่า 48 ชั่วโมงหลังได้รับบาดเจ็บ หรืออาการเหล่านั้นแย่ลง MRI อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

MRI ต่างจาก CT Scan อย่างไร

       ปัจจุบันการตรวจค้นหาความผิดปกติของอวัยวะภายในต่างๆ มีความก้าวหน้ามากขึ้น เทคโนโลยีการตรวจที่มีการใช้แพร่หลาย ก็คือ การตรวจด้วย CT (computerized tomography) และ MRI (magnetic resonance imaging) แม้การตรวจสองวิธีนี้ จะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีความแตกต่างหลายประการ ดังนี้


      1.CT scan ต้องใช้รังสี แต่ MRI ไม่ใช้รังสี
การตรวจ CT scan จะใช้วิธีการปล่อยลำแสง x-ray ผ่านลำตัวผู้รับการตรวจเพื่อให้เกิดเงาภาพบนฉากที่รองรับลำแสงที่อยู่อีกด้านหนึ่งของลำตัว ในขณะที่ MRI ใช้วิธีการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบตัวผู้รับการตรวจ และคอยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานในสนามแม่เหล็กนั้น โดยไม่มีการใช้ลำแสง x-ray โดยการสัมผัสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีผลกระทบกับสุขภาพ ดังนั้นการตรวจ MRI จึงมีความปลอดภัยมากกว่าการตรวจ CT

      2.MRI เหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่ออ่อน แต่ CT เหมาะกับการตรวจกระดูก
การตรวจ MRI อาศัยการตรวจจับการเคลื่อนที่ของโปรตอนของน้ำ ในระหว่างที่อยู่กลางสนามแม่เหล็ก ดังนั้นอวัยวะที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก เช่น เนื้อเยื่ออ่อน กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เนื้อสมอง ฯลฯ ก็จะสร้างสัญญาณให้ตรวจจับได้ดี ในขณะที่กระดูกซึ่งแทบจะไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ จะไม่สามารถสร้างสัญญาณให้ตรวจจับโดยเครื่อง MRI ได้ ดังนั้น หากต้องการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับกระดูก จึงควรเลือกตรวจด้วย CT scan

      3.CT ใช้เวลาในการตรวจสั้นมาก MRI ต้องใช้เวลานานกว่า
เครื่องตรวจ CT อาศัยการปล่อยลำแสงผ่านลำตัวผู้ตรวจไปพร้อมๆ กับการหมุนรอบตัวผู้รับการตรวจไปด้วย ระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนให้ครบรอบนั้น กินเวลาเพียง 1-2 วินาทีเท่านั้น ก็ได้ภาพรอบด้านของบริเวณนั้น ดังนั้น ระยะเวลารวมที่ต้องใช้ในการตรวจ CT จึงมักจะไม่เกิน 10-15 นาที ในขณะที่การตรวจด้วย MRI ต้องใช้เวลานานมากกว่า ซึ่งในบางครั้งอาจนานถึง 1 ชั่วโมงได้ และอาจสร้างปัญหาให้กับ ผู้เข้ารับการตรวจบางรายที่กลัวการอยู่ในที่แคบ (claustrophobia

      4.สารเพิ่มความชัดของภาพ (contrast media) ที่ใช้แตกต่างกัน
สำหรับการตรวจ CT ต้องมีการฉีดสารทึบแสงให้กับผู้ป่วยเพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพ ซึ่งสารทึบแสงมักจะเป็นชนิดที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน (iodine) และมีโอกาสทำให้เกิดพิษกับไตได้ จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษหากทำการตรวจ CT scan ในผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อนแล้ว ส่วนการตรวจ MRI นั้น สารเพิ่มความชัดของภาพ จะเป็น Gadolinium ไม่มีไอโอดีน (iodine) เป็นส่วนประกอบ จึงไม่ทำให้เกิดพิษกับไต อย่างไรก็ตาม สารที่ใช้ในการตรวจ MRI นั้น อาจทำให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังในระยะยาวได้ ซึ่งเรียกว่า Nephrogenic systemic fibrosis โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไต ที่วัดด้วยค่า glomerular filtration rate (GFR) น้อยกว่า 30 มล./นาที

     5.โลหะเป็นของต้องห้ามสำหรับ MRI
การตรวจ MRI ผู้รับการตรวจจะต้องเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กขนาดใหญ่ ดังนั้น หากมีโลหะทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กนั้นด้วย ก็อาจทำให้เกิดการเคลื่อนที่ และเป็นอันตรายได้ ดังนั้นโดยมากแล้ว การมีเครื่องมือทางการแพทย์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นโลหะในร่างกาย มักจะเป็นข้อห้ามสำหรับการตรวจ MRI ส่วนการตรวจ CT scan นั้น สามารถทำการตรวจในผู้รับการตรวจที่มีโลหะได้ เพียงแต่ภาพที่ได้อาจมีความเบลออยู่บ้าง เนื่องจากโลหะมักจะทึบและลำแสง x-ray ผ่านไม่ได้จึงมักปรากฎเงาบริเวณใกล้ๆ กับโลหะเหล่านี้ได้





     ศูนย์ระบบประสาทและสมอง
     รพ.พญาไท 3

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.246 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 04 กันยายน 2566 02:13:06