[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 15:53:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของพระพุทธศาสนา พระธรรมเทศนาของพระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)  (อ่าน 929 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 เมษายน 2565 12:41:54 »



พระธรรมเทศนาเรื่อง
ความเป็นมาของพระพุทธศาสนา
ของ พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)
ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมเมธาภรณ์ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๑

ความว่า

“ความเป็นมาพระพุทธศาสนาต่อเนื่องกับบรรพชิต คือ ผู้บวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ประกาศพระพุทธศาสนา ในชั้นต้น ก็ทรงแสดงธรรมอันเป็นสัจจธรรมชั้นปรมัตถประโยชน์ ครั้นเมื่อมีผู้เลื่อมใสบวชขึ่นในพระพุทธศาสนามากเข้าและมีผู้ประพฤติไม่ดีไม่ชอบ ก็ทรงบัญญัติวินัยเป็นข้อห้ามไว้อีกส่วนหนึ่ง พระพุทธศาสนาจึงแยกออกเป็น ๒ คือ เป็นธรรม ๑ เป็นวินัย ๑  และเมื่อพระพุทธเจ้าจวนจะปรินิพพาน ก็ได้ตรัสว่า “โดยกาลล่วงไปแห่งรา ธรรมะและวินัยที่เราได้แสดงแล้ว ได้บัญญัติแล้ว เป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย”

เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ความทราบไปถึงสาวกที่อยู่ต่างถิ่น มีพระสาวกหมู่หนึ่งซึ่งรวมไปกับพระมหากัสสปได้ทราบการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็เศร้าโศกเสียใจร้องไห้ ส่วนพระที่เป็นพระอรหันต์ก็ได้ธรรมสังเวชคือความสลดใจเป็นไปตามธรรม แต่มีพระบวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง ชื่อ สุภัททะ กลับชอบใจ กล่าวห้ามปรามพระที่เศร้าโศกเสียใจว่า อย่าร้องไห้ อย่าเศร้าโศกเลย พระพุทธเจ้าปรินิพพานเสียดีแล้ว พ้นทุกข์พ้นร้อน เพราะยังไม่ปรินิพพาน ทรงแสดงว่า สิ่งนั้นควรทำสิ่งนั้นไม่ควรทำ พวกเราต้องจำใจทำตามเป็นการลำบากใจ พระพุทธเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว ไม่มีใครว่ากล่าวเราละ ทำได้ตามชอบใจ
พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวแล้วก็เกิดสังเวชว่า เพียงพระศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วันเท่านั้น ยังมีภิกษุที่เป็นบาปกล่าวล่วงเกินถึงเช่นนั้น แต่เพราะยังไม่เป็นเวลาสมควรที่จะพูดขึ้น ท่านก็เป็นแต่เพียงสั่งสอนพระทั้งหลายไม่ให้เศร้าโศกเสียใจร้องไห้ และชวนกันเดินทางมาถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ครั้นถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จแล้ว เมื่อพระมหาเถระประชุมกันอยู่ ท่านจึงเล่าเรื่องที่เป็นมาให้ฟังแล้วชักชวนกันทำสังคายนา

ในเรื่องสังคีติหรือสังคายนาแสดงว่า เมื่อทำปฐมสังคายนา พระมหากัสสปเป็นผู้ถวายพระวินัย พระอุบาลีเป็นผู้แก้ ด้วยถามว่าปฐมปาราชิก พระพุทธเจ้าบัญญัติที่ไหน และปรารภใคร เรื่องอะไร พระอุบาลีก็แก้ไปเป็นตอนๆ จนตลอดพระวินัย พระเถระที่ประชุมกันนั้นก็สวดขึ้นพร้อมๆ กัน ไปจนจบ เป็นอันท่องกันไปในเวลานั้น

ในส่วนพระธรรมซึ่งแยกเป็นพระสูตรและพระอภิธรรมหรือปรมัตถ์ ก็เช่นเดียวกัน แต่ว่าพระอานนท์เป็นผู้ทรงธรรม พระมหากัสสปจึงนิมนต์ให้พระอานนท์เป็นผู้แสดง ตามเรื่องสังคีติหรือสังคายนาก็เล่าไว้เหมือนกัน คือ พระมหากัสสปถามว่าพระสูตรนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ไหน และปรารภใคร แสดงว่าอย่างไร พระอานนท์ก็แก้ แต่ดูไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น พระอานนท์แสดงพระสูตรตั้งแต่ต้น ท่านจะจับสูตรไหนก็ตาม แสดงไปตอนหนึ่งให้ฟัง พระที่ประชุมกันอยู่ ก็ฟังแล้วก็พิจารณากันว่าถูกหรือไม่ถูก ถ้าถูกก็ท่องตามกันไป ถ้าไม่ถูกก็สอบสวนถามกันว่าอย่างไรถูก เมื่อตกลงกันว่าอย่างไรถูก แล้วก็สวดพร้อมๆ กันไป ท่องกันไปในเวลานั้นทีเดียว จบตอนหนึ่งๆ ก็ท่องตอนหนึ่งๆ

ต่อมาครั้งที่ ๒ พระวัชชีบุตร เกิดลดพระวินัยลงมาหาคน ที่ท่านอ้างว่าแสดงวัตถุ ๑๐ หย่อนวินัยลงมาให้พอประพฤติได้สะดวกมี ๑๐ อย่าง จึงเรียกว่า วัตถุ ๑๐ อยากจะรู้ไปดูในสังคีติได้เพราะพระธรรมและวินัยท่านจำได้ด้วยปากจนขึ้นใจ เมื่อมีพวกที่หย่อนต่อพระวินัย อดพระวินัยลงมาหาคนเสีย ก็หย่อนลงไปอีกชั้นหนึ่ง ถ้าปล่อยลงไปเช่นนั้น ก็จะหย่อนลงไปอีก แต่พระเถระครั้งกระนั้น มีพระยสเถระกากัณฑกบุตรเป็นต้น ไม่เห็นด้วย ไม่ยอมทำตามพวกที่หย่อนวินัยลงมาหาคน จึงชักชวนพระพวกที่เคร่งครัด ให้รวมกันเข้าทำสังคายนาอย่างที่กล่าวมาแล้ว คือให้ท่านผู้ชำนาญวินัย แสดงวินัยเป็นตอนๆ แล้วพระที่ประชุมกันว่าตามกันเป็นตอนๆ ไปจนจบพระวินัย แล้วให้แสดงธรรมเป็นตอนๆ ว่าตามกันไปจนจบ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็พิสูจน์ได้ว่า พระวินัยที่พระวัชชีบุตรหย่อนลงมาหาคน ผิดพระบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ใช้ไม่ได้ ท่านจึงกำจัดพระวัชชีบุตรออกจากหมู่จากพวก

ต่อมาก็ถึงสังคายนาครั้งที่ ๓ มีเรื่องแสดงว่าเดียรถีย์ปลอมบวชแยกออกเป็น ๒ ชนิด คือ เข้ามาบวชในหมู่ภิกษุนั่นเอง แต่ว่าเมื่อบวชแล้วไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติไปตามลัทธิเดิมของตัวบ้างเข้ามาปลอมตัวนุ่งห่มอย่างภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติตามลัทธิเดิมของตัวบ้าง พระโมคคัลลีบุตรเถระเป็นผู้เคร่งครัดในเวลานั้น เห็นไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ถูก จึงชักชวนพระเถระซึ่งเป็นผู้หนักอยู่ในธรรมวินัยให้ทำสังคายนาอีกคราวหนึ่ง วิธีทำก็ทำชนิดที่กล่าวมาแล้ว

ต่อจากตติยสังคายนา คือ สังคายนาครั้งที่ ๓ ออกไปทำที่ลังกา มีเรื่องที่ท่านเล่าไว้ว่า พระมหินท์ที่พระโมคคัลลีบุตรส่งออกไปประกาศศาสนาที่ลังกาไปบวชคนชาวลังกาได้มาก พระลังกาเล่าเรียนพระพุทธศาสนาจนถึงจำพระพุทธศาสนาได้ด้วยกันเป็นอันมาก ท่านจึงชักชวนกันให้ทำสังคายนาในลังกาให้ท่านองค์หนึ่งที่ทรงจำเป็นผู้ว่านำขึ้นแล้วพระองค์อื่นที่ประชุมกันก็ว่าตาม สังคายนาครั้งนี้ไม่มีเรื่องอะไร แต่ว่าท่านได้ทำสังคายนา ก็เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาว่า ตั้งมั่นแล้วที่ลังกาเพราะมีพระลังกาสามารถ จำพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายพระวินัย ทั้งฝ่ายธรรมจนถึงสามารถทำสังคายนาได้ นี่เรียกว่า สังคายนาครั้งที่ ๔ หรือจตุตถสังคายนา

ต่อจากนั้นไป พระเถระในรุ่นหลัง เห็นความทรงจำของคนเสื่อมทรามลง และประเทศลังกาเองก็ถูกข้าศึกรุกราน พวกทมิฬข้ามฟากมารบบ้าง เกิดกบฏในประเทศบ้าง เมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยลงคราวหนึ่ง ท่านก็ชวนกันจารึกพระพุทธศาสนา ลงเป็นตัวหนังสือในใบลาน แต่เมื่อพิจารณาดูก่อนที่จะจารลงไปเป็นตัวหนังสือในใบลาน ก็ต้องทำสังคายนา คือ ประชุมกันให้ท่านผู้ชำนาญว่านำขึ้น และพิจารณาสอบสวนจนเห็นว่าถูกต้องแล้ว ก็ว่าตามเป็นตอนๆ จนจบแล้วจึงจารลงเป็นตัวหนังสือ เรียกว่า สังคายนาครั้งที่ ๕ หรือปัญจมสังคายนา

ต่อจากนั้น สังคายนาไม่มี เพราะพุทธศาสนาปรากฏเป็นตัวหนังสือแล้ว ในประเทศไทยปรากฏพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงให้ชำระพระไตรปิฎก ก็เป็นแต่เอาหนังสือมาพิจารณาสอบสวนแล้วก็จารลงไป จนถึงในกระดาษเป็นหนังสือพิมพ์ นี่ไม่ใช่สังคายนาเป็นเพียงชำระหนังสือเท่านั้น กว่าจะจารึกพระพุทธศาสนาลงเป็นตัวหนังสือ พระพุทธศาสนาก็ล่วงไปกว่า ๔๕๐ ปี เมื่อเป็นเช่นนี้ก็น่าจะมีเรื่องที่มิใช่พระพุทธศาสนาปลอมเข้ามาอยู่ด้วย เช่น สูตรที่แสดงว่า พระราหูอมพระอาทิตย์ อมพระจันทร์ นี่มีในพระไตรปิฎกเหมือนกัน พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงธรรมชนิดนี้จึงสันนิษฐานได้ว่าปลอมเข้ามา แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังดีกว่าที่จะไม่จารึกลงไว้ ถ้าไม่จารึกลงไว้ จะเสื่อมสูญไปเท่าไรก็ไม่รู้”


ขอขอบคุณ เพจเล่าเรื่องวัดบวรฯ (ที่มาขอมูล/ภาพ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.308 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 6 ชั่วโมงที่แล้ว