[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 17:21:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาจาริยบูชาคุณ อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน  (อ่าน 4147 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2564 20:18:38 »



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน
พระราชทานน้ำสรงศพ พระราชทานผ้าไตรห่มสรีระสังขารหลวงปู่แหวน สุจิณโณ


อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่แหวน    สุจิณฺโณ
๒ กรกฎาคม

น้อมรำลึกวันครบรอบมรณภาพ ๓๖ ปี หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ  วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

หลวงปู่แหวน ท่านมีโรคประจำตัวคือ เป็นแผลเรื้อรังที่ก้นกบยาวประมาณ ๑ ซม. มีอาการคัน ถ้าอักเสบก็จะเจ็บปวดมาก และอีกโรคหนึ่งคือเป็นต้อกระจกนัยน์ตาด้านซ้าย เป็นต้อหินนัยน์ตาด้านขวา หมอได้เข้าไปรักษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งรักษาแล้วสุขภาพก็ยังแข็งแรงตามวัย แต่ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๙ ร่างกายเริ่มซูบผอม อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย ขาทั้ง ๒ เป็นตะคริวบ่อย ต่อมา พ.ศ.๒๕๒๐ สุขภาพทรุด ค่อนข้างซูบเหนื่อยอ่อน เวียนศีรษะถึงกับเซล้มลง และประสบอุบัติเหตุขณะครองผ้าจีวรในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งเป็นวันที่ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมา ส่งผลให้เจ็บบั้นเอวและกระดูดสันหลัง ลุกไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ รักษาอยู่เดือนหนึ่ง ก็หายเป็นปกติ แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้ว จึงมีอาการอาพาธมาโดยตลอด คณะแพทย์ก็คอยให้การรักษาด้วยดีเช่นกัน

จนกระทั่งในวันอังคารที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๘ เวลา ๒๑.๕๓ น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึง หลวงปู่แหวน ท่านได้ละร่างอันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการสงบ

สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๕ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๕๘

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กรกฎาคม 2564 19:51:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2564 19:51:11 »


หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา)ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ


อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
๗ กรกฎาคม

วันนี้วันที่ ๗ กรกฎาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่หลอด ปโมทิโต

รำลึก ๑๓ ปี อาจาริยบูชาคุณ พระอริยสงฆ์แห่งวัดสิริกมลาวาส

หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง องค์ท่านเคยอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

บทธรรมที่ท่านจดจำและบันทึกไว้เกี่ยวกับคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่นนั้นน่าศึกษามาก จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาของหลวงปู่หลอด มาเผยแพร่เพื่อน้อมเป็นสังฆานุสติและมรณานุสติครับ

“..ชีวิตนี้น้อยนัก แม้จะเชื่อหรือไม่เชื่อ กรรมที่กระทำแล้วไม่ว่า กรรมดีหรือกรรมชั่วย่อมให้ผลแก่จิตผู้กระทำทันที กรรมดีก็จะให้ผลดี กรรมชั่วก็จะให้ผลชั่ว ปัญญายะ ติตตีนัง เสฏฐัง อิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย ปัญญายะติตาตัง ปุริสังตัณหานะกุรุเตวะสัง คนอิ่มด้วยปัญญา ตัณหา เอาไว้ในอำนาจไม่ได้..” โอวาทธรรมคำสอนของพระครูปราโมทย์ธรรมธารา(หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ท่านถือกำเนิดตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๘ ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต.บ้านขาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู)

ท่านอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๙ ณ วัดธาตุหันเทาว์ และญัตติเป็นพระธรรมยุติ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๙ ณ วัดทุ่งสว่าง ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

...ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่หลอดจำพรรษาอยู่ที่ป่าช้าบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี หลังออกพรรษามีเพื่อนสมณะ ซึ่งเป็นชาวบ้านเชียง ได้มาชวนไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านเล่าว่า “อาตมาก็คิดหน้าคิดหลังล่ะ ใครทำผิดอะไร ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านทักท้วง และก็กลัวไม่กล้าไป คิดไปคิดมา ผิดก็ผิด ถูกก็ถูก ให้ท่านทักท้วงว่าไม่ดี ไม่ถูกต้องพระธรรมวินัย จะสึกก็สึกไปเลย ดีกว่าจะไปกินข้าวชาวบ้านเขา ไปหาท่านผิดพระวินัยตรงไหนอาบัติหนัก หรืออาบัติเบา จะได้สำรวมระวังแก้ไขต่อไป” ก็เดินจากอุดร สมัยนั้นออกจากวัดบ้านดงเย็น เดินทางมุ่งหน้าไปทางอำเภอสว่างแดนดิน สงครามอินโดจีนกำลังจะหยุด จากอำเภอสว่างแดนดิน ต่อรถยนต์ไปถึงสกลนครเที่ยงคืน ไปพักวัดป่าสุทธาวาสคืนหรือสองคืน พอได้กำลัง แล้วเดินทางต่อไปยังวัดป่าบ้านโคก ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านอยู่บ้านโคก แต่ก่อนก็อยู่วัดป่าสุทธาวาสเหมือนกัน เขานิมนต์ให้ไปจำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านโคก (ปัจจุบันคือ วัดป่าวิสุทธิธรรม อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) พอดีท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ (ซึ่งท่านเป็นชาวบ้านโคก ได้ไปประกาศศาสนาอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี) ท่านเป็นผู้รับผิดชอบด้านการจัดเสนาสนะ ที่พักที่วัดป่าบ้านโคก

พอเกือบสองทุ่ม พระภิกษุสามเณรทุกรูปก็ไปรวมกันที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อรับฟังการอบรมประจำวัน ขณะนั้นอาตมารู้สึกตื่นเต้นระทึกใจมาก เมื่อพระทุกรูปพร้อมกันแล้ว หัวหน้าคณะต่างๆ ก็รายงานตัวแทนลูกคณะ ต่อท่านพระอาจารย์มั่น หลังจากนั้นก็ถึงขั้นที่ฟังการอบรมสาระ หรือใจความที่ท่านพระอาจารย์มั่น นำมาแสดงคืนนั้นคือ ช่วงแรก ท่านเล่าประวัติของท่านเองโดยย่อ จากนั้นท่านก็อธิบายพุทธพจน์ที่ว่า... “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต สิ่งทั้งหลายล้วนมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตก็ตรัสบอกเหตุของสิ่งเหล่านั้นไว้”

โดยใจความของพระพุทธพจน์ข้อนี้ก็คือ ถ้าหมายถึงที่ตัวคนเราแล้ว เหตุทั้งหลายของคนเราก็ล้วนมาจากใจ ใจจึงเป็นมหาเหตุ ถ้าใจดี ใจสูง ใจประเสริฐ การทำ การพูด ก็พลอยดี และประเสริฐไปด้วย ดังนั้นจึงควรดูแลอบรมใจให้ดี เพื่อให้ใจเป็นเหตุแห่งพฤติกรรมที่ดี ถ้าปล่อยปละละเลยจิตใจ ชาตินี้ทั้งชาติก็สิ้นหวัง เอาดีอะไรไม่ได้เลย เพราะใจมีแต่จะไหลไปในทางที่ต่ำ ชีวิตก็มีแต่จะเสียหายเดือดร้อน ผู้ที่ปฏิบัติธรรมหรือผู้ที่รักตนทั้งหลาย ถ้าอยากให้ชีวิตก้าวหน้าแล้วจงคอยดูแลจิตใจของตนให้ดี

หลังจากประชุมเสร็จ หลวงปู่หลอดก็ได้เข้าไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น พร้อมกับได้กราบเรียนท่านถึงจุดประสงค์ที่มา ซึ่งท่านก็ได้สอบถามข่าวคราวว่า “เป็นอย่างไรบ้าง การออกไปวิเวก จิตใจเป็นอย่างไรบ้างดีไหม? มีอุปสรรคอะไรไหม? เป็นพระก็มีความลำบากอย่างนี้ พระพุทธองค์ท่านยิ่งลำบากกว่าหลายเท่า”

ข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
...หลวงปู่หลอด ได้ทบทวนถึงข้อวัตรปฏิบัติ ในยุคที่ได้เข้าไปรับการอบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านโคก ว่า “ท่านพระอาจารย์มั่น อบรมพระภิกษุสามเณร ประมาณสองทุ่ม จนถึงเที่ยงคืนทุกวัน วันไหนอาพาธ ท่านก็เว้นไป ข้อวัตรของท่าน คือ ถือธุดงควัตรฉันหนเดียว ฉันในบาตรตลอด บิณฑบาตไม่ขาด นอกจากอาพาธไปไม่ได้ จากนั้นล้างบาตรเสร็จ ไปถึงกุฏิก็เที่ยงวัน ท่านก็ไปพักผ่อนบ่ายสามโมงก็ออกมา บ่ายห้าโมงสรงน้ำ สองทุ่ม ขึ้นไปฟังเทศน์อบรมพระเณร มีหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ (ในปีนั้นท่านจำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านนามน แต่มาฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์มั่นทุกคืน)

หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งหลวงปู่กงมา เป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้กับภิกษุสามเณรที่ไปหา และเป็นผู้ดูแลจัดวาระ พระองค์ไหนควรปฏิบัติท่านพระอาจารย์ตอนเช้า บ่าย เย็น ท่านจัดวาระ บางทีท่านไม่สบายก็นวด ส่วนอาตมานั้นท่าน พระอาจารย์มั่นบอกว่า อาตมานี้ รูปธรรม นามธรรม คือไปนวดท่าน ท่านไม่สบายบอกว่า มืออาตมาร้อนเกินไป ให้องค์อื่นมานวด ให้ไปทำความสะอาดทางอื่น ทางด้านนอก ปัดกวาด เช็ดถู ทำความสะอาดศาลาเพื่อนำบาตรมาวางไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปฏิบัติอยู่อย่างนั้นในช่วงที่ท่านพระอาจารย์มั่นมาพักอยู่วัดป่าบ้านโคก ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ นั้น เท่าที่อาตมาจำได้ มีพระเณรที่พักอยู่ร่วมจำพรรษาด้วยกันคือ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์เนตร กนฺตสีโล, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส, พระอาจารย์มนู, พระอาจารย์คำดี (น้องชายหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร) พระอาจารย์บุญมา, เณรดี, เณรได

ระหว่างพรรษานี้ หลวงปู่หลอดเล่าว่า “อาตมาเกิดเป็นไข้มาลาเรียกำเริบ ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ให้ฉันยา ท่านให้ภาวนารักษาตัว ท่านเทศน์ว่า “อย่าไปยึดติด” ที่สุดอาตมาก็หายได้ด้วยกำลังของการภาวนา”ส่วนญาติโยมชาวบ้านโคกนั้น หลวงปู่หลอดกล่าวว่า “ในวันพระก็มีญาติโยมเข้าไปวัด แต่ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ค่อยเทศน์ ถึงแม้จะเทศน์ชาวบ้านก็ไม่รู้ นอกจากให้ระลึก “พุทโธ” ท่านย้ำแต่พระ สอนแต่พระ โยมเอาไว้ก่อน เพราะพระนี้เป็นหลักของพระพุทธศาสนา ท่านสอน จริงๆ จังๆ เล่ยล่ะ”

โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
...หลวงปู่หลอด ได้เล่าถึงการได้รับฟังโอวาทธรรม จากท่านพระอาจารย์มั่น ว่า “อาตมาเข้าไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ นั้น แต่ก่อนยังฟังเทศน์ไม่รู้เรื่อง อายตนะยังไม่รู้ ราคะ โทสะ โมหะ ยังไม่รู้เรื่องเลย มืดแปดด้าน การศึกษาน้อย ต้องศึกษาก่อน ภาวนาก็ยังไม่เป็น บวชมาตั้ง ๘ ปีแล้ว มันก็จริงนะสิ แต่อาศัยความอดทน ยังไม่รู้อายตนะ อายตนะ แปลว่า เครื่องต่อ ตาเห็นรูปมันก็ต่อแล้ว ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ภายใน ๖ ภายนอก ๖ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กายคู่กับสัมผัส ใจคู่กับอารมณ์ อารมณ์อะไรก็ดี ราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งในตอนที่อาตมาไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ยังพิจารณาธรรมได้ไม่แตกฉาน เพิ่งเรียนรู้ และเริ่มเข้าใจในเรื่องธรรมะ และความสงบ

ท่านสอนอยู่ ๓ เรื่อง หลักๆ คือ เรื่อง อายตนะ การพิจารณากาย และอานาปานสติ ท่านให้พิจารณาอานาปานสติกัมมัฏฐานเป็นหลักใหญ่ เพราะพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อานาปานสติ เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค หนทางนี้หนทางเดียวคือ ทางกายนี้ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ก็วนไปวนมา สับไปสับมาอยู่ในนี้ตลอด เพราะเป็นของเก่า ตาก็ของเก่า หูก็ของเก่า จมูกก็ของเก่า ลิ้นก็ของเก่า กายก็ของเก่า ใจก็ของเก่า ดูไปดูมา ฟังไปฟังมาทุกวัน ตั้งแต่มีรูปเกิดมา ใช้หกอย่างตลอดเลย

ท่านเทศน์ ย้ำหนักเลยเกี่ยวกับอายตนะ ในหนังสือว่า ไม้ชะงก หกพันง่า กะปอมก่า ขึ้นมื้อละฮ้อย ก็อายตนะ ๖ กะปอมถ้ามันออกทุกมื้อๆ กะปอมนั้นคือ ของปลอม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ของปลอม

นอกจากนั้น ท่านสอนให้พิจารณากายให้มาก เวลามีปัญหาท่านก็อธิบายพิจารณากาย ทำให้มากๆ ตั้งสติให้มากๆ เดี๋ยวมันรู้เอง ท่านว่าอย่างนั้น เกสา – ผม โลมา-ขน นะขา-เล็บ ทันตา-ฟัน ตะโจ-หนัง จะทำลายกิเลสตัณหา ก็เพราะพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ไม่ใช่ธรรมดานะ มันไม่ยอมให้พิจารณาหรอก ไอ้กิเลสมันไม่ยอม พอพิจารณากายมันผลักออกเลยไปเรื่องอื่นโน้น สติมันก็ขาดสิ ปรุงไปแต่เรื่องนั้นเรื่องนี้ พิจารณากายมันไม่ยอม ตั้งใจพิจารณากาย ความตั้งใจสู้มันไม่ได้ สู้กิเลสไม่ได้ มันเก่งกว่า เกสา-ผม โลมา-ขน นะขา-เล็บ ทันตา-ฟัน ตะโจ-หนัง ดึงลมหายใจเข้า-ออกพุทโธ กิเลสมันเล่นงานก่อนแล้ว หาเรื่องมาแล้วอารมณ์เก่าๆ น่ะ พวกเราต้องศึกษาทุกอย่าง ต้องศึกษาไม่ศึกษาไม่รู้ นี้เป็นหลักความจริง อย่างอายตนะ ถ้าไม่มีใครสอนก็ไม่รู้ อายตนะ คืออะไร อย่างศีล ๕ ขา ๒ แขน ๒ หัว ๑ ก็ ๕ แล้วจากท้องแม่เลย จะเป็นศีลต้องเว้นวิรัติเจตนาเป็นเครื่องเว้นเหมือนๆ กับอายตนะ ๖ ในโลกเหมือนกันหมด ราคะ โทสะ ก็เหมือนกัน ฝรั่งมังค่าก็เหมือนกัน อวิชชาเป็นคนตบแต่งให้ ท่านพระอาจารย์มั่นสอนเรื่องธรรมะให้ภาวนาลูกเดียว เดินจงกรม ถูกนิสัย อะไรก็เอา ถูกพุทโธก็เอา ถูกลมหายใจก็เอา แต่อย่าให้ขาดสติ ขาดสติไม่ได้

หลวงปู่หลอดเล่าว่า ในครั้งที่ไปพบท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านได้รับอุบายธรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ทำให้สติปัญญาสว่างไสวขึ้นมาก “อาตมาไม่ได้กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นมากนัก จะถามนิพพานเราก็ไม่ถึงอีก ท่านพูดมาก็ไม่รู้เรื่องอีก” ท่านบอกว่า “ปฏิบัติให้มากก็แล้วกัน จิตยังไม่สงบ ความสงบเรายังไม่มี พิจารณาอสุภะยังไม่เป็น” ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเทศน์ทุกคืน เกี่ยวกับกัมมัฏฐาน ๕ ว่า “อสุภะเป็นศัตรูกับราคะ” บางองค์มีนิสัยเร็ว ภาวนาได้ง่าย บางองค์ก็เล่าถวายท่านพระอาจารย์มั่นฟัง เกิดแสงอย่างนั้น เกิดแสงอย่างนี้ อาตมาไม่เป็น ท่านพระอาจารย์มั่นถามอาตมา “เป็นไหม? ท่านหลอด” หลวงปู่หลอดกราบเรียนถวาย “ยังไม่มีอะไรเลยขอรับ แจ้งก็ไม่แจ้ง สว่างก็ไม่สว่าง เย็นก็ไม่เย็น ร้อนก็ไม่ร้อน” ท่านพระอาจารย์มั่นบอกว่า “กัมมัฏฐานหัวตอ”

ท่านพระอาจารย์มั่น เทศนาต่อไปว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ที่เสด็จปรินิพพานผ่านไปแล้ว จนประมาณกาลไม่ได้ก็ดี หรือประมาณกาลได้ก็ดี พระองค์กับสาวกท่านที่เสด็จผ่านไปไม่กี่พันปีก็ดี ล้วนอุบัติขึ้น เป็นพระพุทธเจ้า และเป็นพระอรหันต์ จากกัมมัฏฐานทั้งหลาย มีกัมมัฏฐาน ๕ เป็นต้น ไม่มีแม้พระองค์เดียวที่ผ่านการตรัสรู้ธรรม โดยมิได้ผ่านกัมมัฏฐานเลย ต้องมีกัมมัฏฐานเป็นเครื่องซักฟอก เป็นเครื่องถ่ายถอนความคิด ความเห็น ความเป็นต่างๆ อันเป็นพื้นเพของจิต ที่มีเชื้อวัฏฏะจมอยู่ภายในให้กระจายหายสูญไปโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นกัมมัฏฐานจึงเป็นธรรมพิเศษในวงพระศาสนาตลอดมาและตลอดไป ท่านที่สมัครใจเป็นพระธุดงคกัมมัฏฐาน จำต้องเป็นผู้มีความอดทนต่อสิ่งขัดขวางต้านทานต่างๆ ที่เคย ฝังกาย ฝังใจจนเป็นนิสัยมานาน

ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านอบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรอยู่เสมอถึงเรื่องกัมมัฏฐาน ๕ และธุดงค์ ๑๓ เพราะท่านถือว่ามีความสำคัญมาก จะเรียกว่าเป็นเส้นชีวิตของพระธุดงคกัมมัฏฐานก็ได้ ใครที่เข้าไปรับการฝึกฝนอบรมกับท่าน ท่านจะต้องสอน “กัมมัฏฐาน” และ “ธุดงควัตร” เสมอ ถ้าเป็นหน้าแล้งท่านมักจะสอนให้ไปอยู่ตามรุกขมูลร่มไม้เสมอ “ผู้ปฏิบัติต้องเป็นคน กล้าหาญ อดทนคือ ทนต่อแดด ต่อฝน ทนต่อความหิวโหย ทนต่อความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งทางกาย วาจา ใจ” ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวอบรมเป็นประจำทุกวัน จนถึงเที่ยงคืนจึงเลิก

หลวงปู่หลอดจำพรรษาร่วมกับท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านโคก ตลอดพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๘๗ หลังออกพรรษาแล้วได้กราบลาท่านพระอาจารย์มั่น ออกเดินธุดงค์วิเวกบนเทือกเขาภูพาน พร้อมกับหลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส เพราะธรรมเนียมปฏิบัติกัมมัฏฐาน กับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น หลังจากอยู่อบรมธรรมกับองค์ท่านแล้ว ก็ต้องปลีกวิเวกออกธุดงค์เพื่อฝึกฝนตนเองในป่าในเขา ซึ่งท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวอบรมก่อนไปว่า “ไม่เคยมีใครบรรลุธรรม ด้วยการอยู่ไป กินไป นอนไปตามใจชอบ โดยไม่มีการฝึกจิตทรมานใจ” ใครจะไปวิเวกก็ไปได้ ให้พระองค์อื่นได้เข้ามา ออกพรรษาแล้วพระจะมามากมายเหลือเกิน พระรุ่นเก่าเอาไว้ ๓ องค์ก็พอ”

ท่านพระอาจารย์ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น และได้รับธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น ชนิดที่เรียกว่าเป็นธรรมอันล้ำค่าทีเดียว เมื่อออกจากสำนักของหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านพระอาจารย์หลอด ก็ได้ออกธุดงค์แสวงหาโมกขธรรมทั้งทางภาคอีสานและภาคเหนือ ได้พบครูบาอาจารย์เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ,ท่านพ่อลี ธัมมธโร ,หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ,หลวงปู่แว่น ธนปาโล และเพื่อนสหธรรมิกที่เป็นศิษย์ในสายหลวงปู่มั่น มากมาย

จำพรรษาวัดธรรมมงคลและสร้างวัดสิริกมลาวาส(วัดใหม่เสนานิคม)
...ในช่วงกลางปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลวงปู่หลอด ท่านตัดสินใจจะเข้าอยู่กรุงเทพฯ โดยการชักชวนของเพื่อนพรหมจรรย์ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมยากกันมา ในที่สุดหลวงปู่ก็ตัดสินใจเข้าอยู่จำพรรษาที่วัดธรรมมงคล พระโขนง กรุงเทพฯ กับเจ้าคุณวิริยังค์ ซึ่งในอดีต หลวงปู่เคยอยู่ด้วยที่วัดป่าบ้านโคกนามน ตำบลตองโขบ จังหวัดสกลนคร โดยขณะนั้นพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นประธานสงฆ์ ส่วนเจ้าอาวาสคือพระอาจารย์กงมา ส่วนวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เพิ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ หลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลวงปู่อยู่ที่วัดธรรมมงคลเพียง ๓ ปี พอปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้มีผู้ใจบุญถวายที่ดินจำนวน ๖ ไร่ กับอีก ๓๓ วา แก่พระเทพเจติยาจารย์ (ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ สิรินฺธโร) หลวงพ่อวิริยังค์จึงให้หลวงปู่มาช่วยสร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) ในที่ดังกล่าว และขอร้องให้มาอยู่ เดิมทีนั้นหลวงปู่ได้มาสร้างวัดสิริกมลาวาส ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๗ ท่านก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสามัญที่ “พระครูปราโมทย์ ธรรมธาดา” พร้อมกันนั้นท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสิริกมลาวาส โดยถูกต้อง

ต่อมาในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ท่านก็ได้รับการพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรพัดยศในทินนามเดิม คือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา ถึงแม้ว่าหลวงปู่ท่านจะไม่ค่อยถนัดในงานด้านคันถธุระมากนัก แต่ท่านก็ได้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่ตลอดมาจนเป็นที่ยอมรับของพระภิกษุสามเณรและฆราวาสทั่วไป ส่วนทางด้านวิปัสสนาธุระนั้น ท่านก็มิได้ทิ้ง คงส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกรรมฐานทุกวันในช่วงเวลาค่ำ หลังจากที่ได้สวดมนต์ทำวัตรเย็นกันเสร็จแล้ว โดยจะเริ่มในเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. เรื่อยไปจนถึงเวลา ๒๑.๐๐ น. โดยที่หลวงปู่ท่านจะเป็นผู้นำพาญาติโยมปฏิบัติธรรมทุกวัน เว้นแต่เหตุจำเป็นและอาพาธ ซึ่งเป็นความเมตตาอย่างหาประมาณมิได้โดยแท้

หลวงปู่หลอด ปโมทิโต มรณภาพ
เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒  ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร สิริอายุ ๙๓ ปี ๗ เดือน พรรษา ๗๒



เกศาธาตุหลวงปู่หลอด ปโมทิโต

อนุโมทนาบุญกุศลกับทุกๆท่าน
Cr.เพจพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2564 20:10:16 »


พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ หรือพุทธทาสภิกขุ)
วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จ.สุราษฎร์ธานี


อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๘ กรกฎาคม

วันนี้ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔  วันคล้ายวันมรณภาพพระธรรมโกศาจารย์  (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือรู้จักในนาม “พุทธทาสภิกขุ”

พุทธทาสภิกขุ เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี ๒๔๔๙ เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น “พุทธทาส” เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” และงานนิพนธ์อีกไม่น้อยกว่า ๓๕๐ เล่ม ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติคุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่ายมหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทยและต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย

 ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชชัยกวี พระเทพวิสุทธิเมธี และพระธรรมโกษาจารย์ ตามลำดับ นอกจากนี้มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในสาขาวิชาต่างๆ แด่ท่านอีกด้วย

นอกจากนี้พระพุทธทาสภิกขุ ยังได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกในวาระชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี ขององค์การยูเนสโกด้วย

พุทธทาสภิกขุ ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สิริรวมอายุ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น “พุทธทาสภิกขุ”















          ภาพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร และ “พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)”
          ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๓๒
          "...ขอประทานกราบสมเด็จพระสังฆราชหน่อยที่อุตส่าห์เสด็จมาเยี่ยมถึงวัด เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
          ทรงพยายามห้าม แต่ท่านไม่ยอม แล้วต่างคนก็ต่างกราบ พอท่านพุทธทาสกราบ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
          ก็บอกไม่ได้ๆ ต้องกราบกลับ...”




ร่างของท่านพุทธทาสภิกขุ ขณะถูกฌาปนกิจ ณ สวนโมกขพลาราม

ท่านพุทธทาสภิกขุได้ละสังขารกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ สิริรวมอายุ ๘๗ ปี นับได้ ๖๗ พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่าน รับมรดกความเป็น “พุทธทาส” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนา

และในปี พ.ศ.๒๕๔๘ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ก็ได้ประกาศยกย่องให้ท่าน “พุทธทาสภิกขุ” เป็นบุคคลสำคัญของโลก นับว่าเป็นอีกหนึ่งเกียรติประวัติที่ช่วยยืนยันว่า “พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย” อย่างแน่นอน

๑.กำเนิดแห่งชีวิต
ท่านพุทธทาสภิกขุ มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาดพุมเรียง ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้อง ๒ คน เป็นชายชื่อ ยี่เกย (ธรรมทาส) และเป็นหญิงชื่อ กิมซ้อย

บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพค้าขายของชำ เฉกเช่นที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดากลับเป็นเรื่องของความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่ชื่นชอบของบิดา

ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดาคือ ความสนใจในการศึกษาธรรมะอย่างลึกซึ้ง อุปนิสัยที่เน้นเรื่องความประหยัด ความละเอียดลออในการใช้จ่ายและการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือถึงชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขายแทนบิดาซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคลมปัจจุบัน

ครั้นท่านอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระตามคตินิยมที่วัดอุบล (วัดนอก) ไชยา ได้รับนามฉายาว่า “อินทปัญโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง ๓ เดือน แต่ความสนใจ ความซาบซึ้ง ความรู้สึกเป็นสุข สนุกในการศึกษา และเทศน์แสดงธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านขณะที่เป็นพระเงื่อมว่า มีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านตอบว่า “ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์มากที่สุด”

๒.อุดมคติแห่งชีวิต
พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อที่กรุงเทพฯ สอบได้นักธรรมเอก แล้วเรียนภาษาบาลี จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ระหว่างที่เรียนเปรียญธรรม ๔ ประโยคอยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออกไปจากตำราถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา อินเดีย และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือรูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนในพระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของพุทธศาสนิกชนในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่าพระพุทธศาสนาที่สอนที่ปฏิบัติกันนั้นคลาดเคลื่อนไปมากจากที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ

ท่านจึงตัดสินใจหันหลังให้กับการศึกษาของสงฆ์เวลานั้น กลับไชยาเพื่อศึกษาและทดลองปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านเชื่อมั่น โดยร่วมกับนายธรรมทาสและคณะธรรมทานจัดตั้งสถานปฏิบัติธรรม “สวนโมกขพลาราม” ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ จากนั้นท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมะอย่างเข้มข้น จนเชื่อมั่นว่าท่านมาไม่ผิดทาง และได้ประกาศใช้ชื่อนาม “พุทธทาส” เพื่อแสดงให้เห็นถึงอุดมคติสูงสุดในชีวิตของท่าน

๓.ปณิธานแห่งชีวิต
อุดมคติที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หาความรู้ทางธรรมะตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแต่ครอบคลุมไปถึงพระพุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้ที่กว้างขวางและลึกซึ้งนี้เอง ทำให้ท่านสามารถประยุกต์วิธีการสอนและปฏิบัติธรรมะได้อย่างหลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติที่สอดคล้องกับพื้นความรู้และอุปนิสัยของตนโดยไม่จำกัดชนชั้น เชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนก็คือ เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ ท่านจึงตั้งปณิธานไว้ ๓ ข้อ คือ
          ๑.ให้พุทธศาสนิกชน หรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน
          ๒.ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
          ๓.ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม

๔.ผลงานแห่งชีวิต
ตลอดชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านย้ำอยู่เสมอว่า “ธรรมะคือหน้าที่” เป็นการทำหน้าที่เพื่อความอยู่รอดทั้งฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณของมนุษย์ และท่านได้ทำหน้าที่ในฐานะทาสผู้ซื่อสัตย์ของพระพุทธเจ้า ผลงานหนังสือของท่านมีทั้งที่ท่านประพันธ์ขึ้นเอง งานที่ถอดจากการบรรยายธรรมของท่าน และงานแปลซึ่งท่านแปลจากภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับงานหนังสือนี้ ท่านเคยให้สัมภาษณ์กับพระประชา ปสนฺนธมฺโม ว่า “เราได้ทำสิ่งที่มันควรจะทำ ไม่เสียค่าข้าวสุกของผู้อื่นแล้ว เชื่อว่ามันคุ้มค่า อย่างน้อยผมกล้าพูดได้อย่างหนึ่งว่า เดี๋ยวนี้ไม่มีใครในประเทศไทยบ่นได้ว่า ไม่มีหนังสือธรรมะอ่าน ก่อนนี้ได้ยินคนพูดจนติดปากว่าไม่มีหนังสือธรรมะจะอ่าน เราก็ยังติดปาก ไม่มีหนังสือธรรมะจะอ่าน ตอนนี้บ่นไม่ได้อีกแล้ว”

ในระดับนานาชาติ ทุกมหาวิทยาลัยที่มีแผนกสอนวิชาศาสนาสากลทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือ ล้วนศึกษางานของท่าน หนังสือของท่านกว่า ๑๔๐ เล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ กว่า ๑๕ เล่มเป็นภาษาฝรั่งเศส และอีก ๘ เล่มเป็นภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ยังแปลเป็นภาษาจีน อินโดนีเซีย ลาว และตากาล็อก อีกด้วย

๕.เกียรติคุณแห่งชีวิต
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูอินทปัญญษจารย์ พระอริยนันทมุนี พระราชชัยกวี พระเทพวิสุทธิเมธี และพระธรรมโกศาจารย์ ตามลำดับ แต่ท่านจะใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นต้องติดต่อทางราชการเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องอื่นแล้วท่านจะใช้ชื่อว่า “พุทธทาส อินฺทปญฺโญ” เสมอ แสดงให้เห็นความอ่อนน้อมถ่อมตัวของท่าน และชื่อพุทธทาสนี้ก็เป็นที่มาแห่งอุดมคติของท่านนั่นเอง

ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในสาขาวิชาต่างๆ

ละสังขาร
ท่านพุทธทาสภิกขุได้ละสังขารกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๖ สิริรวมอายุ ๘๗ ปี นับได้ ๖๗ พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่าน รับมรดกความเป็น “พุทธทาส” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนา

และในปี พ.ศ.๒๕๔๘ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ก็ได้ประกาศยกย่องให้ท่าน “พุทธทาสภิกขุ” เป็นบุคคลสำคัญของโลก นับว่าเป็นอีกหนึ่งเกียรติประวัติที่ช่วยยืนยันว่า “พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย” อย่างแน่นอน



ท่านพุทธทาสภิกขุขณะกำลังศึกษาในกุฎิที่พัก วัดปทุมคงคา

Cr. พระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2564 20:22:09 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2564 19:22:20 »


หลวงปู่บุญมี ปริปูณโญ

อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่บุญมี ปริปูณโญ
๑๒ กรกฎาคม

วันนี้ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔  วันคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่บุญมี ปริปูณโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าศิลาพร ต.หนองเป็ด อ.เมือง จ.ยโสธร

ชีวประวัติหลวงปู่บุญมี ปริปูณโญ
หลวงปู่บุญมี ท่านถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๙ ตรงกับแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ณ บ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็น จ.ยโสธร)

ท่านอุปสมบทเมื่อวันปวารณาออกพรรษา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๙ เวลา ๑๓.๓๕ น. ณ วัดวัดสร่างโศก อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร) โดยมี พระครูพิศาลศีลคุณ(พระอาจารย์โฮม วิสาโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ปริปุณโณ” แปลว่า "ผู้เปี่ยมด้วยบุญ"
 
พรรษาที่ ๑ - ๒ (พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑)
วัดป่าบ้านหนองแสง อ.เมือง จ.ยโสธร

เมื่อบวชพระพรรษาแรกนี้ท่านได้ศึกษานักธรรมไปด้วยจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท ระหว่างนั้นมีโอกาสเป็นกรรมการคุมสอบนักธรรมชั้นตรีที่วัดบ้านสิงห์ ซึ่งสมัยนั้นทั้งฝ่ายธรรมยุตและมหานิกายสอบร่วมกัน

ปีต่อมาจึงได้สอบธรรมสนามหลวงนักธรรมชั้นเอกที่สำนักบ้านป่าติ้ว อำเภอป่าติ้ว ซึ่งมีผู้เข้าสอบนักธรรมชั้นเอกทั้งหมดในปีนั้น ๒๕ รูป เป็นอันว่าสอบตกทั้งหมด

ในช่วงพรรษานั้น เมื่อถึงเวลาลงอุโบสถ สำนักต่างๆ ที่ตั้งอยู่รอบๆ เช่น วัดป่าบ้านหนองแสง วัดป่าบ้านนิคม เป็นต้น ต้องเดินไปที่วัดศรีฐานใน เพราะเป็นสำนักใหญ่ที่มีครูบาอาจารย์พระกรรมฐานผู้ใหญ่จำนวนมาก ทำให้มีโอกาสได้กราบได้พบครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่อยู่บ่อยครั้ง ได้รับอุบายการภาวนาพร้อมทั้งได้ศึกษาวัดปฏิบัติ ขอพระกรรมฐานไปในตัวด้วย

หลังจากสอบนักธรรมเสร็จแล้ว ท่านเดินทางมาที่วัดศรีฐานในจนได้พบกับกัลยาณมิตรของสำคัญที่พึ่งเป็นพึ่งตายอาศัยช่วยเหลือกันมา ซึ่งก็คือหลวงปู่เพียร วิริโย ที่เดินทางมาจากวัดป่าบ้านนิคม นอกจากจะเป็นอันเตวาสิกไปองค์หลวงตามหาบัวเหมือนกันแล้ว ท่านทั้งสองยังเป็นสัทธิวิหาริกในพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกันด้วย ทั้งถือกำเนิดในปีเดียวกันและในจังหวัดเดียวกัน หลวงปู่บุญมีเมตตาเล่าให้ฟังว่า “พระอาจารย์เพียงเกิดก่อนผม ๕๖ มื้อ(วัน)”

หลวงปู่เพียร วิริโย เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๙

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๙

ขณะเดียวกันหลวงปู่เพียรด้วยกล่าวถึงหลวงปู่บุญมี เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ ความตอนหนึ่งว่า “กับท่านอาจารย์บุญมีนั้นได้เป็นหมู่กันเป็นเพื่อนกัน ได้สร้างบารมีมาด้วยกัน หลายภพหลายชาติแล้ว”

แสวงหาครูบาอาจารย์
ในระหว่างนั้นเกียรติคุณอันดีงามของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ต่างขึ้นชื่อลือชาในปฏิปทาพระธุดงค์กรรมฐาน ทำให้ท่านเป็นเสมือนมงกุฎของพระกรรมฐานที่งามเด่นอยู่เสมอ ทำให้ภาคกรรมฐานร่วมต่อมาต่างต้องการไปกราบฟังธรรมภาคปฏิบัติเพื่อเป็นแนวธรรมแนวทางต่อไป ดังนั้นท่านกับหลวงปู่เพียร จึงหวังจะเดินทางไปจากฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นด้วยสักครั้ง แต่ก่อนจะไปกราบหลวงปู่มั่น ได้ปรึกษากันว่าจะไปจากพระธาตุพนมก่อน แต่ก่อนจะไปกราบนมัสการพระธาตุพนม หลวงปู่บุญมีและหลวงปู่เพียรได้เดินทางออกจากยโสธร บ้านนิคม และพักที่สำนักของหลวงปู่ดี ฉันโน วัดป่าสุนทราราม บ้านกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา ทำการตัดผ้า เย็บผ้า ย้อมผ้าอยู่หลายวัน พร้อมกันนั้นได้เห็นปฏิปทาจากหลวงปู่ดี ฉันโนด้วย

พระใหม่เรื่องเที่ยวธุดงค์
อีกวาระหนึ่งที่หลวงปู่เพียรได้กล่าวถึงช่วงเวลาที่เริ่มเที่ยววิเวกแสวงหาครูบาอาจารย์ร่วมกันกับหลวงปู่บุญมีว่า…“ออกพรรษาที่ ๒ ได้ยินข่าวครูบาอาจารย์ทางสกลนครท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็คือหลวงปู่มั่น นั่นเเหละองค์หนึ่ง แล้วก็มีหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่อ่อน และก็อีกหลายองค์นะตอนนั้น จึงได้ตัดสินใจว่า ไปเถอะ..ไปเว้ยเรา เท่านั้นล่ะจึงชวนกันมากับหลวงปู่บุญมี เณรสอนติดตามมากับท่านและเณรจันทร์ได้มากับผม ออกเดินทางกันมาประมาณ ๑ เดือนจึงค่อยถึงจังหวัดสกลนคร พระนอนที่นั่นบ้างที่นี่บ้างเรื่อยมา เหนื่อยก็พัก ๓ คืนบ้าง ๔ คืนบ้าง ร่ม(กลด) ก็ไม่มีนะ ถุงบาตรก็ไม่มี ใช้ผ้าอาบน้ำมาเอา มันไม่มีนะสมัยก่อน ไม่เคยไปไหน บวชครั้งแรก แล้วก็เป็นพระปริยัติด้วย ถึงบาตรถุงเบตไม่มีหรอก ใช้ผ้าอาบน้ำมัดเอา เอาใช้ผ้าข้างหนึ่งห่อมัดบาตรให้อยู่ข้างหนึ่งแล้วเอาชายผ้านั่นแหละมัดให้แน่น ส่วนใช้ผ้าอีกข้างหนึ่งที่เหลือก็ทำเป็นสายสะพายบาตรมัดกันให้ดี มุ้งก็ไม่มี ร่วมกลดก็ไม่มี สมัยก่อนนะมันขัดสนนะเรื่องผ้าและของใช้ต่างๆ มันเป็นช่วงหลังสมัยสงครามญี่ปุ่น ขาดแคลนผ้า ผ้าใหม่ๆ ก็ไม่มีล่ะ

และระหว่างเดินมาสกลนครได้ไปฉันน้ำตามภูตามดง เราก็ไม่เคยเพราะว่าเราเป็นคนบ้านทุ่งมาฉันมากินน้ำภูน้ำดง (ฉันนั้นตามป่าตามภูเขา) โอ๊ย...ทั้งอาเจียนทั้งถ่าย ผมเป็นก่อน ท่านอาจารย์บุญมีเป็นทีหลัง อาการหนักทั้งคู่ จึงต้องผลัดกันดูแล พอค่อยยังชั่วจะออกเดินทางก็มีโยมเขามานิมนต์ไม่ให้ไปต่อ เขานิมนต์ให้กลับ แต่ท่านอาจารย์บุญมีท่านบอกว่า “โอ๊ย...ไม่กลับหรอกโยม ไปตายเอาข้างหน้าดีกว่า” ท่านบอกว่ามันได้ออกมาแล้วเลยเดินทางต่อไป และได้หยุดพักอยู่ที่บ้านม่วงไข่ (เขตติดต่อระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับจังหวัดนครพนม) ตอนเช้าไปบิณฑบาตแล้วกลับมาฉัน ว่าฉันเสร็จแล้วมีโยมคนหนึ่งชื่อพงษ์มั้ง แกบอกว่ารอผมก่อนนะครับ แต่เขาก็ไปเรี่ยไรเงินได้ ๑๒ บาท คงจะเริ่ยไรค่ารถให้ เราก็ไม่ได้รู้เรื่องด้วย แล้วแกพาเดินไปหาโยมที่เขาทำงานกรมทาง พวกโยมที่ทำงานกรมทางอยู่นั้น เขามาทำสะพานกัน ก็ไกลกันอยู่มากนะ ประมาณ ๔ กิโลเมตรน่าจะได้ พอพวกกรมทางเห็นเรา เขาก็เลยพากันมาช่วยสะพายบาตรให้ แล้วพาเดินไปที่เขากำลังทำสะพานกันอยู่ พอดีมีรถโดยสารประจำทางนครพนมมา คนขับเขาเบารถจอดรับโยมที่ทำงานกรมทาง จึงฝากเรากับรถโดยสารนั้นมา แกบอกกับคนขับรถนั้นว่าของฝากพระไปด้วยนะครับไม่มีเงินนะ ไม่มีเงินให้มากครับ มีอยู่ ๑๒ บาท คนขับรถจึงถามว่าทำไมถึงให้น้อยแท้ โยมที่ทำงานกรมทางจึงบอกกับคนขับรถว่า โอ๊ย..สาธุ..ฉันไม่มีๆ เอารถมาถึงพระธาตุพนมก็เลยลงพักนอนที่พระธาตุพนมหนึ่งคืน

ออกจากนั้นก็ไปอยู่บ้านน้ำก่ำกับอาจารย์ลือ นอนพักอยู่ ๒ หรือ ๓ คืน ไม่รู้ เหนื่อยก็พักไปเรื่อย (ที่แห่งนี้เองที่หลวงปู่บุญมีเคยกล่าวถึงว่า ได้พบเห็นพระที่ร่ำเรียนเดรัจฉานวิชาเป็นแนวทางสวนกระแสพระนิพพานเป็นต้นว่าพวกคุณไสยต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากแนวทางพระธุดงค์กรรมฐานที่เคารพในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง) ออกจากที่นั่นมาถึงนาแกอีก ออกจากนาแกก็พักบ้านนามนหลายคืนอยู่นะ ที่บ้านนามนมีอาจารย์คำดี อยู่ที่นั่นองค์เดียว พอเราจะออกมาท่านก็เลยออกมากับเราด้วย เราเลยได้ช่วยสะพายบาตรให้ท่าน แล้วก็มานอนอยู่บ้านหนองเม็กอีกหนึ่งคืน แต่จำไม่ได้ว่านอนที่วัดป่าสุทธาวาสกี่คืน แต่ก็หลายคืนอยู่นะ เมื่อสมัยก่อนออกบิณฑบาตแถวนั้นไกลมากนะ จากสกลนครไป ๓ กิโลเมตร จากวัดป่าสุทธาวาสไปนั่น สมัยนั้นบ้านเมืองยังไม่ค่อยเจริญ

เมื่อสมัยก่อนมาบิณฑบาตทางสนามบินก็ไกลนะ บ้านห้วยส้มโฮงก็ไกล ญาติโยมเขาก็ไม่ได้ไปจังหันหรอกเมื่อก่อน เขามีอะไรเขาก็ห่อใส่บาตรให้เลย เหมือนกับพวกเราทุกวันนี้แหละ(หมายถึงช่วงในพรรษามีพระเณรรับอาหารเฉพาะที่ได้จากบิณฑบาตคือไม่รับอาหารที่ตามมาส่งภายหลัง) มันไกลเขาไปไม่ไหว เขาก็เลยห่อใส่บาตรให้ จากนั้นก็มุ่งหน้าไปทางบ้านหนองโดก แล้วไม่หยุดพักอยู่บ้านพ่อออกใหญ่(ทางภาคอีสานจะเรียกผู้ชายผู้หญิงว่า “พ่อออก” “แม่ออก” เป็นคำนำหน้าชื่อของคน ๆ นั้น) มาพักอยู่หลายคืนนะ มาพบอาจารย์ช่วย(หลวงปู่บุญช่วย ธัมมธโร) อยู่ที่นั่น เลยได้พักอยู่กับท่าน ท่านจะไปนครพนม วัดเก่าวัดร้าง สมัยก่อนเดินตามทางมีแต่ป่าแต่ดง ไม่มีหลักทุ่งนา ไม่ได้เดินทางรถนะ เดินลัดไปกลับป่ากับดงโน่นล่ะ เห็นบ้านอยู่ข้างหน้าก็เดินลัดไปเลย ไปตามทางหมู่บ้านนั่นล่ะ

สมัยนั้นอยู่ในป่าในดง เสือช้างก็ไม่เคยเจอนะ มีแต่แตนนั่นแหละต่อยอยู่เรื่อย กลางคืนน่ะเวลาเดินหาที่นอนถูกแตนต่อยก็ยังไม่แล้วนะ กว่าจะได้ที่พักนอน พอลงนอนกลางคืนก็ถูกปลวกใหญ่มากัดมาเจาะกินอีก กินกระทั่งหนังสือสุทธิ

แต่พอตอนเช้าออกไปบิณฑบาตก็ได้อาหารมาพอฉันอยู่ บางครั้งญาติโยมเขาก็ตามเอาอาหารมาถวายให้เหมือนกัน ไปอยู่ตามตรงตามป่าอย่างนั้นก็ไม่เคยเจอสักทีนะ เปรต ผี ไม่เคยเห็นไม่เคยเจอ เลยไม่รู้จะกลัวอะไร เวลานอนก็ไม่กลัว เอาผ้าอาบน้ำปูแล้วก็ล้มตัวลงนอนเลย”

พบหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
ในระหว่างนั้นหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ กำลังสร้างวัดป่าบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ขึ้นในบริเวณป่าช้า(ปัจจุบันคือวัดป่าภูไทสามัคคี) ท่านทั้งสองรูปต่างดีใจที่ได้พบกับครูบาอาจารย์ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่อ่อน ประจวบกับเวลานั้นส่วนจะเข้าพรรษาแล้ว จึงกราบเรียนขออนุญาตร่วมจำพรรษาด้วย แต่หลวงปู่อ่อนได้แนะนำว่า… “ให้พากันไปจำพรรษาที่วัดหนองโดกนะ(วัดป่าโสตถิผล) ผมเคยอยู่ที่นั่น เพราะที่นั่นมีกุฏิเพียง ๑๐ หลังและตอนนี้ก็มีพระเต็มหมดแล้ว” เมื่อได้ฟังคำแนะนำจากหลวงปู่อ่อนแล้วจึงได้มุ่งหน้าไปที่วัดหนองโดก

กราบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
แต่ก่อนจะเข้าพรรษาในปีนั้นคณะของพระอาจารย์คำสิงห์และพระอาจารย์สมแวะมาที่วัดหนองโดก โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ดังนั้นท่านกับหลวงปู่เพียรเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กราบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก่อนเข้าพรรษา จึงเดินทางไปพร้อมกับคณะของพระอาจารย์คำสิงห์และพระอาจารย์สม

ในการเดินทางครั้งนั้นต้องพักค้างคืนกลางทางคืนหนึ่ง พระฉันเช้าเสร็จก็เดินทางกันต่อไปถึงวัดป่าบ้านหนองผือ แล้วรอโอกาสเพื่อขึ้นกราบ เมื่อได้โอกาสแล้วจึงพากันขึ้นไปกราบองค์หลวงปู่มั่นบนกุฏิ ท่านจึงให้โอวาทพอสมควร พอได้พบเจอหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็รู้สึกปิติยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นพระผู้เป็นที่ขึ้นชื่อลือนามอย่างยิ่งในระหว่างนั้น แม้ว่าหลวงปู่มั่นในคราวนั้นจะไม่ได้แสดงธรรมมากมายอะไร เพราะเป็นช่วงที่สุขภาพร่างกายของท่านไม่อำนวยมาก แต่ก็ทำให้เกิดกำลังใจ ในการประพฤติปฏิบัติในเวลาต่อมา

ขณะเดียวกันก็ได้พบเห็นกับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กำลังขยี้เปลือกมะพร้าวให้ยุ่ยแล้วนำใยส่วนนั้นมาทำเป็นที่นอนถวายหลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัวกลับไปเยี่ยมโยมมารดาแล้วได้ผ้าใหม่มา จึงนำมาเย็บเป็นที่นอนถวายหลวงปู่มั่น เมื่อเห็นอย่างนั้นจึงได้เข้าไปช่วยหลวงตาขยี้เปลือกมะพร้าวเพื่อทำที่นอน ระหว่างนั้นหลวงปู่มั่นอยู่ในระหว่างอาพาธมีอาการไอด้วย หลวงปู่บุญมีได้ยาอมตราเสือมาจึงนำไปถวายหลวงปู่มั่น ศ ิษย์ทั้งฝ่ายพระ และฆราวาสต่างพยายามอย่างเต็มที่ในการดูแลรักษา ใครหรือองค์ไหนมีอะไรก็เอาไปถวายท่าน และได้ช่วยกันแบ่งเบาภาระต่างๆ ตามหน้าที่ของแต่ละองค์

ในโอกาสนั้นได้พบเห็นครูบาอาจารย์มากมาย เพราะในช่วงบ่ายวันนั้นมีการประชุมสังฆอุโบสถโดยมีหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร เป็นองค์สวดปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ ในสำนักวัดป่าบ้านหนองผือ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจฉิมวัยของหลวงปู่มั่น บางคราวจะมีครูบาอาจารย์ที่มีสำนักอยู่รอบๆ วัดป่าบ้านหนองผือจะมาร่วมอุโบสถและรับฟังโอวาทจากท่านถึงครั้งละ ๕๐-๖๐ รูป ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากยิ่งในวงพระธุดงค์กรรมฐาน

ข้อวัตรปฏิบัติยุควัดป่าบ้านหนองผือ
ที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ถือปฏิบัติอยู่เป็นนิจ คือต้นแบบของพระธุดงค์กรรมฐาน แม้ว่าองค์หลวงปู่มั่นจะเข้าสู่แดนนฤพานนานมาแล้ว แต่วัตรปฏิบัติที่เป็นเสมือนตัวแทนของท่านยังคงอยู่...”
 
วัดป่าบ้านตาด
ปี พ.ศ.๒๔๙๙ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน บุกเบิกสร้างวัดป่าบ้านตาด โดยมีพระติดตามมาจากจันทบุรีมาร่วมบุกเบิกสร้างด้วยกันก็มีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร หลวงปู่เพียร วิริโย หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต สามเณรน้อย(หลวงตาน้อย ปัญญาวุโธ) คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ โดยหลวงตาได้กล่าวถึงวัดป่าบ้านตาดยุคนั้นไว้ว่า… “..ทีแรกเรามาพักอยู่นอกบ้านนู้น เขาจึงนิมนต์ให้มาพักที่ตรงนี้ มี ๒ เจ้าภาพถวายที่ดินกินกลายเป็นวัดขึ้นมา แล้วก็สงบสงัดดีเป็นเอกเทศประจวบกับโยมมารดาบวชชีเมื่อมีอายุครบ ๖๐ ปีพอดี ส่วนโยมบิดานั้นได้สิ้นชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้วตอนอายุ ๕๕ ปี จากนั้นเราจึงได้พาโยมมารดาไปจำพรรษาด้วยที่จังหวัดจันทบุรีเป็นเวลา ๑ พรรษา โยมมารดาได้ล้มป่วยลงด้วยโรคอัมพาต จึงหวนกลับมาพามารักษาตัวที่บ้านตาด โรคของโยมมารดาถูกกับยาหมอที่อยู่บ้านจั่น ซึ่งไม่ห่างจากบ้านตาด(ประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร) เรามาพักและรักษาโยมแม่พร้อมๆ กัน ที่นี่พอนานๆ ไปก็เลยกลายเป็นสร้างวัดป่าบ้านตาดขึ้นมา เรื่องมันเป็นอย่างนั้น”

ปี พ.ศ.๒๔๙๙ บ้านตาดเดิมทีเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีไม่กี่หลังคาเรือน อยู่ห่างจากถนนใหญ่ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ถนนเข้าสู่บ้านตากผ่านหมู่บ้านดงเค็ง เป็นถนนลูกรังเล็กๆ กว้าง ๓ เมตรผ่ากลางทุ่งนา เวลารถวิ่งฝุ่นจะฟุ้งกระจายและม้วนตัวตามหลังรถทำให้ผู้โดยสารมอมแมมไปทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะผมจะถูกฝุ่นย้อมเป็นสีแดงในเวลาอันรวดเร็ว

พอเข้าฤดูฝนถนนที่เคยเป็นทุ่งฝุ่นสีแดงก็จะเปลี่ยนกลายเป็นทะเลโคลนสีแดง สองข้างทางเป็นหลุมเป็นบ่อเจิ่งนองด้วยน้ำ รถต่างลื่นไถลเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางทั้งขาเข้าและขาออก ทั้งยังมีทางที่เชื่อมไปยังหมู่บ้านและสถานที่ต่างๆ มากมาย ถนนเข้าสู่วัดป่าบ้านตาดเป็นถนนลูกรังแคบๆ ชาวบ้านสมัยก่อนจึงคุ้นเคยกับภาพที่หลวงตามหาบัวเดินบนคันนาเข้ามาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ในเวลาต่อมาชาวบ้านทนดูท่านเดินเข้ามาบิณฑบาตลำบากไม่ได้จึงบริจาคที่ดินทีละเล็กละน้อยสร้างถนนเข้าวัด ทั้งหลวงตาจะคอยดูแลว่าจ้างตาอิฐ คนขับรถหกล้อมาช่วยซ่อมแซมถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อนั้น ตาอิฐพร้อมกับคนงานที่มีอยู่ ๒ คน จึงทำหน้าที่ขนหินลูกรังมาถมตามหลุมตามบ่อ ช่วยกันกลบหลุมเกลี่ยดินและหินให้ราบเรียบดีขึ้น ถนนจึงดีขึ้นสะดวกขึ้นเป็นลำดับมา

จำกัดพระเณร
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เข้ามาบุกเบิกสร้างวัดป่าบ้านตาดในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ในปีต่อมาคือปี พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่บุญมีจึงเข้ามาศึกษากับหลวงตา ซึ่งเป็นยุคแรกทำให้ท่านได้มีส่วนสำคัญในการพาพระเณรสร้างกุฏิศาลา หรือกำแพงรอบวัดป่าบ้านตาด เนื่องจากท่านกับหลวงปู่ลี กุสลธโร เป็นพระที่มีอายุพรรษาพอสมควรแล้ว จริงมีหน้าที่คอยดูแลถนนให้อยู่ในสภาพดี แพะหลวงตาในคราวที่ท่านไม่อยู่ ยิ่งเมื่อฝนตกหนักทีไร ทั้งสองท่านต้องออกมาสำรวจถนนทุกครั้ง

ช่วงแรกของยุคบ้านตาด
หลวงตามหาบัวจำกัดพระเณรให้อยู่จำพรรษา ๑๒-๑๘ รูป กระทั่งมาปีหลังๆ จึงอนุโลมมากขึ้น ในเรื่องการรับพระเข้ามาศึกษาที่วัดป่าบ้านตาด ครูบาอาจารย์รุ่นเก่าที่อยู่ศึกษากับหลวงตามหาบัวได้กล่าวว่าถ้าเป็นพระมาใหม่ท่านจะไม่ใช้มาตรการหนัก ท่านจะใช้เฉยๆไปก่อน นอกจากจะแย่จริงๆ ก็อาจจะถูกว่าโดยตรง แต่ไม่ใหม่ท่านจะสังเกตดู ถ้าเห็นว่ามีความตั้งใจปฏิบัติ จะช้ากว่าเขายังไม่เข้าร่องเข้ารอย ฉันก็จะไม่พูดอะไร ยิ่งเมื่อหลวงตามหาบัวอนุญาตให้รูปไหนอยู่จำพรรษาได้ พระรุ่นเก่าก็จะเข้ามาแสดงความยินดี เพราะหลวงตาจะไม่รักใครง่ายๆ มีพระหลายรูปด้วยกันที่ท่านไม่ให้อยู่ ในช่วงใกล้เข้าพรรษา ถ้าจะพูดว่าองค์นี้ไปนะ องค์นี้อยู่ได้นะ ฉันต้องการให้เห็นคุณค่าของการได้อยู่ศึกษาปฏิบัติจะได้มีความตั้งใจ เพราะเวลาได้อะไรมาง่ายๆ เราก็จะไม่เห็นคุณค่าของมัน สิ่งใดที่ได้มาด้วยความยากลำบาก แล้วก็จะรักษามันอย่างดี กรณีนี้ก็เป็นเหมือนกัน

ในยุคแรกๆ แม้จะเป็นช่วงแรกของการสร้างวัดก็ตาม แต่ทางด้านการภาวนาเป็นสิ่งที่หลวงตาเน้นเป็นพิเศษอยู่เสมอ แม้ภายในวัดจะมีกิจการงานอะไรก็ตาม แต่เมื่อถึงเวลาบ่ายสามโมง การงานทุกอย่างที่ทำอยู่ในวัดต้องหยุดทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีเสียงดังรบกวนพระที่ภาวนาอยู่ภายในวัด ยิ่งในสมัยนั้นไม่มีญาติโยมเข้ามาเกี่ยวข้องมาก พระเณรก็จะมีเวลาประพฤติปฏิบัติทางด้านจิตตภาวนามากขึ้น

ส่วนในเรื่องการประชุมอบรมพระก็ไม่แน่นอนตามเหตุอันเหมาะสมแล้วแต่หลวงตา หรือบางครั้งก็สามวัน เจ็ดวันนัดประชุมอบรมพระกาลครั้งหนึ่ง หลวงตาก็เจ้าเทศน์อบรมพระด้วยภาพปฏิบัติที่เข้มข้นจริงจังอยู่สม่ำเสมอ ดังนั้นพระที่อยู่ศึกษาจึงสำรวมระวังจิต ทำความเพียรบำเพ็ญภาวนาอยู่สม่ำเสมอ

โปรดโยมมารดา
บรรดาสานุศิษย์ในหลวงตามหาบัวต่างรู้ดีกันว่าการจะออกจากวัดป่าบ้านตาดโดยไม่มีกิจจำเป็นนั้นเป็นเรื่องยาก เหตุผลหนึ่งก็คือความเคารพในองค์หลวงตามหาบัวอย่างยิ่ง ไม่ต้องการให้ท่านต้องเป็นห่วง เหลือเกินจะออกไปเที่ยววิเวกภาวนาก็ต้องเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่ได้ต้องการไปเที่ยวเพลินเล่นหวังอามิสอย่างอื่น

ในหน้าแรกของปี พ.ศ.๒๕๐๒ มารดาของพระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณท่านเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นจึงเป็นเหตุให้ลาหลวงตามาเยี่ยมมารดาที่บ้านหนองแสง พอใกล้จะเข้าพรรษาแล้ว มารดายังไม่หายดีท่านจึงต้องหาที่จำพรรษาที่อยู่ใกล้บ้านหนองแสง ท่านจึงสะพายบาตรพร้อมกับบริขารไปที่บ้านกม.๓ โดยมีสามเณรคำภา ติดตามไปด้วย เมื่อไปถึงที่วัดบ้าน กม.๓ แล้วเห็นว่าไม่มีพระอยู่จําพรรษาแม้แต่รูปเดียว ดังนั้นท่านจึงเดินมุ่งหน้าไปที่วัดเทพประชาบำรุง พร้อมกับได้บอกกับสามเณรคำภาว่าจะหาที่จำพรรษา

เมื่อไปถึงวัดเทพประชาบำรุงเห็นว่าเหมาะจะจำพรรษาจึงได้บอกกับสามเณรคำภาว่า “จะกลับก็ได้นะ เราจะจำพรรษาที่นี่” สามเณรคำภาเห็นท่านไม่กลับจึงกราบเรียนว่า “อาจารย์ไม่กลับ ผมก็ไม่กลับ” เป็นอันว่าท่านกับสามเณรคำภาจึงได้จำพรรษาที่วัดเทพประชาบำรุงด้วยกัน ในปีนั้นมีพระเณรร่วมจำพรรษาไม่มากนัก

ความที่ท่านผ่านการเรียนนักธรรมมาจนสอบได้นักธรรมชั้นโท มีความรู้พอจะแนะนำพระและสามเณรบวชใหม่ได้ ดังนั้นในระหว่างพรรษาท่านจึงได้แนะนำสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมวินัยให้พระเณรบวชใหม่ได้รู้และเข้าใจ แต่ก็ไม่ได้สอนจริงจังจนถึงเข้าสอบอะไร

ออกพรรษาแล้วท่านจึงกลับไปที่วัดป่าบ้านตาด อยู่กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ถิ่นที่ทำให้เกิดความมั่นคงอบอุ่นในธรรมวินัย ในความเป็นศิษย์อาจารย์อย่างแท้จริง

เข้มงวดทุกตารางนิ้ว
วัดป่าบ้านตาดยุคแรกๆ นอกจากพื้นที่รอบๆ จะเป็นป่าเป็นดงแล้วการสัญจรไปมาก็ลำบาก แม้ว่าชื่อเสียงของหลวงตามหาบัวจะเรื่องลือในวงพระกรรมฐาน แต่สำหรับประชาชนทั่วไปยังรู้จักท่านน้อยอยู่ ดังนั้นการเป็นอยู่ในสมัยนั้นของหลวงตาจึงเป็นไปเพื่อสานุศิษย์ที่เข้ามาศึกษาอบรมกับท่านอย่างเต็มที่

การสอดส่องดูแลลูกศิษย์จึงครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ทั้งเรื่องภายในจิตใจคือเรื่องจิตตภาวนา เรื่องภายนอกคือข้อวัตรปฏิบัติที่ละเอียดรอบคอบถูกต้องตามสิกขาบทพระธรรมวินัย โดยเฉพาะเรื่องจิตตภาวนาการทำความพากเพียรนั่งสมาธิภาวนา เรื่องความเข้มงวดกวดขันสอดส่องดูแล บางคืนช่วงเวลาประมาณ ๔ ทุ่ม ตั้งก็จะเดินตรวจตราดูว่าพระทำความเพียรเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่เห็นที่ทำจงกรม ก็จะสังเกตดูที่กุฏิถ้าคนนอนหลับเสียงลมหายใจก็จะแตกต่างจากการภาวนา โดยเฉพาะกิจสมัยก่อนก็ไม่ได้มงบังมิดชิดอะไร เป็นเพียงเสนาสนะที่พ่ออยู่เพราะอาศัยทำความพากความเพียรได้สะดวกเท่านั้น หากรูปใดนอนก่อน ๔ ทุ่ม เที่ยงคืนไม่ลุกขึ้นภาวนา แล้วตื่นนอนหลังตี ๔ จะถูกไล่หนีจากวัดทันทีหรือหากรูปใดนอนก่อน ๔ ทุ่ม ก็ควรนอนตื่นขึ้นมาภาวนาช่วงเที่ยงคืนแล้วตื่นนอนก่อนตี ๔ รายละเอียดเหล่านี้หลวงตาก็จะเฝ้าสังเกตอยู่เป็นประจำ และเมื่ออยู่ไม่ตั้งใจภาวนาท่านก็จะกล่าวตักเตือน ถ้ายังไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็จะได้หนีออกจากวัด พระเณรที่เข้าไปศึกษาอบรมกับท่าน จึงตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นมาเพื่อภาวนาเป็นหลัก ไม่มีใครนิ่งนอนใจอยู่ได้เพราะถ้าไม่จริงจังตั้งใจมาเพื่อภาวนาก็จะถูกไล่หนีทันที

ความเข้มงวดกวดขัน ความเคร่งครัดในธรรมวินัย ทำให้พระที่อยู่ศึกษาภายในวัดป่าบ้านตาดในยุคนั้นเคารพยำเกรงหลวงตามาก จะไม่มีใครออกมาเดินเพ่นพ่านบริเวณศาลาเลย ใครจะมาเดินเล่นหรือคุยกับญาติโยมในที่ตรงนั้นไม่ได้ วัดจึงเงียบสงบจริงๆ เคยมีผู้เปรียบเทียบความเคารพเกรงกลัวในหลวงตายุคนั้นไว้ว่า มีทางสองแพร่งที่ครั้งหนึ่งเดินเข้าไปเจอเสือ กับอีกทางหนึ่งเดินเข้าไปเจอหลวงตา ถึงขนาดที่ว่าถ้าให้เลือกแล้วพระเลือกที่จะเจอกับเสือดีกว่า

ธรรมเนียมการไปเที่ยววิเวก
ตามพระวินัยกำหนดไว้ว่าถ้ายังไม่ได้ ๕ พรรษา ไม่ใช่อยู่ปราศจากครูบาอาจารย์ แต่ก็มีหลายครั้งที่พระบวชได้ ๒ พรรษาแล้วจะลาไปธุดงค์องค์เดียวก็ยังไปไม่ได้ นอกจากหลวงตาเห็นสมควรถ้าไปแล้วได้ประโยชน์ แต่ถ้าไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ทั้งก็จะไม่ให้ไป มีพระรูปหนึ่งอยู่ได้ ๒-๓ พรรษาก็ขอลาไปธุดงค์ ละสองสามครั้งก็ไม่อนุญาต จนครั้งสุดท้ายเวลาหลวงตาท่านจึงบอกว่าไปแล้วก็ไม่ต้องกลับมาเพราะท่านจะดูจิตของผู้ปฏิบัติเป็นหลัก อายุพรรษาก็เป็นส่วนประกอบตามสมควรตามพระธรรมวินัย บางทีได้ ๕ พรรษาแล้ว ถ้าท่านเห็นว่ายังไม่สมควรไป ไปแล้วเสีย ท่านก็จะพยายามดึงไว้ อย่างน้อยอยู่ในวัดก็ได้ศึกษาแนวทางจากครูบาอาจารย์เป็นการสั่งสอนวิชาต่อไปก่อน  บางรูปบางองค์ที่ยังไม่เข้มแข็ง จะอยู่ศึกษาก็เกรงกลัวหลวงตาที่เข้มงวดกวดขัน จะลาไปเที่ยวก็ไม่กล้าจะกล่าวลา จึงมีอยู่หลายครั้งที่ได้บาตรได้บริขารแล้วหนีไปเลยโดยไม่ได้บอกกล่าวลาใคร

เที่ยววิเวกพบปราชญ์กลางป่าเขา
ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ถ้าไม่ขออนุญาตหลวงตาออกมาเที่ยววิเวกทางถ้ำพระ บ้านกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จึงได้พบหลวงปู่หล้า ขันติธโร ท่านอยู่กับต๊อบที่มุงบังด้วยฟาง แม้จะเป็นพระเถระผู้ใหญ่แต่เป็นอยู่อย่างสมถะและสงบมาก ตอนนั้นยังไม่รู้จักกิตติศัพท์อันงามของท่าน เห็นเป็นพระกรรมฐานที่อยู่อย่างเรียบง่าย รักความสมถะสันโดษ ในภายหลังจึงได้รับรู้เรื่องราวปฏิปทาของท่านจากครูบาอาจารย์ หลวงปู่หล้ามักจะเก็บตัวมากรูปหนึ่ง มีปฏิปทาที่น่าเคารพเลื่อมใส มีนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญ ชอบอยู่และไปคนเดียว ไม่ชอบออกสังคมคนหมู่มาก เรื่องจิตท่านมีนิสัยชอบรู้สิ่งแปลกๆ ได้ดี คือพวกกายทิพย์ มีเทวดา เป็นต้น

หลวงปู่หล้า ขันติธโร เดิมทีท่านเป็นคนลาว แต่เมื่อบวชแล้วจึงมาอยู่ในประเทศไทย ในวาระสุดท้ายท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่านาเก็น อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี ท่านมักจะอยู่ตามเถียงนาตามไร่ตามนาของชาวบ้าน หลวงปู่บุญมีได้กล่าวถุงปฏิปทาของหลวงปู่หล้า ขันติธโร ก่อนที่ท่านจะมาณภาพว่าท่านให้คนทำกองฟอนสำหรับการถวายเพลิงท่านไว้ก่อนแล้ว พร้อมทั้งยังกำชับต่อไปอีกว่ากระดูกท่านให้นำไปโยนลงเหว

ในระยะที่ท่านออกเที่ยววิเวกนั้นมีอาจารย์ประยูร (ปัจจุบันสึกแล้ว) ติดตามไปด้วย โดยได้พากันออกจากบ้านตาดไปทาง อ.บ้านผือ น้ำโสม เข้าเมืองเลยทางบ้านสานตม ภูเรือ ถึงหล่มสัก น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ พักภาวนาที่ถ้ำน้ำหนาว แล้วจึงกลับเข้าวัดป่าบ้านตาดเหมือนเดิม

ปฏิปทาที่งดงาม
ในวัดป่าบ้านตาด หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เป็นพระที่มีอายุพรรษามาก รองจากหลวงตามหาบัว มักจะได้รับความไว้วางใจให้ดูแลกิจการงานภายในวัดเป็นอย่างมาก พอท่านอายุพรรษามากขึ้น พระเณรในวัดก็มากขึ้น บางทีเข้าวัดกิจวัตรต่างๆ ภายในวัด หรือกระทั่งกุฏิที่พักของท่าน แทนที่ท่านจะให้พระหนุ่มเณรน้อยกระทำแทน หรือหลายๆ ครั้งเกี่ยวกับปัดกวาดเช็ดถูศาลา เห็นน้ำใส่ตุ่มใส่ถังตั้งก็ยังทำร่วมกันกับพระหนุ่มทั่วไป เป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาการงานข้อวัตรกิจวัตรของสงฆ์ จึงมักจะเห็นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ หลวงปู่ลี กุสลธโร ทำข้อวัตรร่วมกันกับพระหนุ่มเณรน้อยอยู่เสมอไม่มียกเว้น

กิจของสงฆ์ส่วนรวมภายในวัดป่าบ้านตาด เมื่อท่านได้รับมอบหมายลงมาจากหลวงตามหาบัวแล้ว ในการที่ต้องปรึกษาหารือร่วมกันหรือแบ่งงานที่ได้รับมอบหมายมาออกไปโดยที่ต้องอาศัยความเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งเป็นการประชุมลับๆ ของหมู่พระที่หลังวัด หรือที่เรียกเป็นการภายในว่า “สภาหนู” เป็นการกระจายงานออกไปให้ครอบคลุมเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ให้เป็นภาระหนักใจของหลวงตา

พี่ชายใหญ่
เนื้อเรื่องพระธรรมวินัยนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เป็นผู้ที่มีความละเอียดลออ ท่านศึกษาตำรับตำราเกี่ยวกับพระวินัยมาอย่างละเอียด ดังนั้นจึงจะเห็นท่านให้คำแนะนำในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับพระวินัยอยู่เสมอ

เป็นที่รู้กันดีว่าท่านเป็นพระที่มีความโอบอ้อมอารีอย่างสูงยิ่ง จะไม่เห็นท่านดุด่าว่ากล่าวพระหนุ่มเณรน้อยเลย ในเวลาที่มีเหตุการณ์อื่นใดภายในวัดที่ทำให้หลวงตาดุ ท่านก็จะออกรับแทนพระผู้น้อย บางคราวได้ให้กำลังใจเกี่ยวกับการโดนดุว่าหลวงตาท่านให้ขุมทรัพย์ หรือบางครั้งหลวงตาไล่พระออกจากวัด ได้ก็จะบากหน้าไปหาหลวงตาเพื่ออนุเคราะห์หนุ่มน้อยเรานั้น ความเมตตาอารีที่ท่านมีต่อพระรุ่นหลัง ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำ หรือการออกรับแทนน้องๆ ในกรณีต่างๆ ทำให้มีการเปรียบเทียบท่านเป็นเสมือนเป็นพี่ชายใหญ่ที่คอยดูแลน้องๆ ด้วยความโอบอ้อมอารี

ความที่อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาดมายาวนาน ครูบาอาจารย์รูปอื่นอาจอยู่ศึกษาเป็นพระระยะเวลาสั้นๆ แล้วออกไปตั้งสำนักวัดวาอารามต่อไป แต่สำหรับหลวงปู่บุญมีนั้น เป็นพระผู้ใหญ่ที่อยู่กับหลวงตามหาบัวมาร่วม ๒๐ ปี ไม่ยอมออกไปตั้งวัดเหมือนพระรูปอื่น ทำให้หลวงตามหาบัวมักจะขนานนามเรียกหลวงปู่บุญมีว่า “ ธรรมใหญ่” หรือ “ท่านใหญ่” อยู่เสมอ

พระผู้ใหญ่ที่ไม่ลืมตน
เมื่อกล่าวถึงยุคสมัยนั้นย้อนหลังไปปี พ.ศ.๒๕๒๐ ลงไป ท่านก็ยังทำตัวเป็นพระเล็กพระน้อยอยู่เหมือนเดิม พระที่เคยร่วมจำพรรษากับท่านจะปัดกวาดถูกุฏิท่านก็ไม่ให้ทำ ดังนั้นพระที่มีพรรษาน้อยบางครั้งต้องได้ลักทำข้อวัตรเหล่านี้เอาบุญตอนที่ฉันไม่อยู่ เพราะถ้าอย่างนั้นฉันก็ไม่ให้ทำ

การเข้าไปรับบาตรท่านไปล้างหลังฉันเสร็จก็เหมือนกัน ถ้าจะขึ้นไปรับบาตรท่านไปล้างเลยไม่ได้ ต้องให้ท่านถือลงมาจากศาลาเสียก่อน เป็นการให้ความเคารพหลวงตาด้วย จากนั้นพระจึงรีบเข้าไปรับไปล้างให้ ซึ่งท่านก็มาผ่อนผันให้ล้างในภายหลัง ถ้าเป็นยุคแรกๆ แม้ท่านจะอายุพรรษามากแล้วก็ยังทำเอง ท่านให้เหตุผลว่าท่านยังเป็นพระหนุ่มยังแข็งแรงอยู่

เวลาที่ต้มน้ำแก่นขนุนซักผ้า เมื่อท่านจะมาซักผ้านั้นพระก็จะกุลีกุจอเข้าไปขอผ้าจากท่านมาซักให้ ท่านก็อนุโลมให้แต่ก็กำชับให้ดูแลผ้าในการตาก การกลับผ้าพื่อไม่ให้เป็นรอยหรือเพื่อป้องกันจากสัตว์หรือแมลงที่อาจมากัดผ้า ซึ่งเป็นสิกขาบทวินัยของพระในการดูแลผ้าจีวร มีเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับการตากผ้าดูแลผ้าในยุคนั้น จะไม่มีใครดูดบุหรี่แล้วไปเก็บผ้าหรือตากผ้าเลยก็เหตุการณ์นี้หลวงตาเคยดุพระอย่างหนักทำให้พระถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2564 19:24:27 »


หลวงปู่บุญมี ปริปูณโญ
วัดวัดป่าศิลาพร จังหวัดจังหวัดยโสธร : สังกัด ธรรมยุติกนิกาย


เคารพซึ่งกันและกัน
หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านทั้งสองเคยอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ยุควัดป่าห้วยทรายเรื่อยมาถึงยุคบุกเบิกสร้างวัดป่าบ้านตาด ทำให้มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน เคารพซึ่งกันและกัน รวมด้วยช่วยกันทำกิจที่ได้รับมอบหมายมาจากหลวงตามหาบัวอย่างแข็งขัน แม้ภายหลังท่านทั้งสองได้ออกจากวัดป่าบ้านตาดไปแล้ว แต่ความเคารพช่วยเหลือเกื้อกูลกันยังมีมาโดยสม่ำเสมอถึงทุกวันนี้

ผู้ใหญ่ของหลวงตาออกเที่ยววิเวก
วัดป่าถ้ำหีบแห่งนี้เป็นป่าเขาที่เหมาะกับการปฏิบัติธรรมภาวนา มีครูอาจารย์ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แวะมาพักภาวนาอยู่เป็นประจำ ทั้งเป็นสถานที่ขึ้นชื่อว่ามีภูมิเจ้าที่แรงพระที่มาอยู่ในที่แห่งนี้ไม่ปฏิบัติภาวนาก็จะมีอันเป็นไป

ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ก่อนเข้าพรรษามีพระเถระผู้ใหญ่ ๒ รูป คือหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ หลวงปู่ลี กุสลธโร ออกมาเที่ยววิเวกพักภาวนาอยู่ที่นี่ พอใกล้จะเข้าพรรษาหลวงปู่ลีจึงกลับเข้าไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด ในพรรษานั้นหลวงปู่พงษ์ ธ้มมาภิรโต ท่านประจำอยู่ที่วัดถ้ำหีบมาก่อนหน้านี้แล้ว

เมื่อมีพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน มาพักภาวนาทำให้พระผู้น้อยรู้สึกอุ่นใจที่ได้อยู่ใกล้ชิดศิษย์องค์สำคัญของหลวงตา ยิ่งเมื่อได้รับรู้ถึงที่มาที่ไปว่า หลวงตาส่งออกมาก็ยิ่งรู้สึกปีติยินดี เพราะเป็นไปได้ยากมากที่จะมีพระเถระผู้ใหญ่ออกมาเที่ยววิเวก พร้อมกันสององค์ เพราะโดยปกติทั้งหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และหลวงปู่ลี กุสลธโร ต่างก็แทบจะไม่ได้ออกมาจากวัดป่าบ้านตาดได้โดยง่าย

แต่แล้วก่อนจะเข้าพรรษาพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก ได้เขียนจดหมายกราบเรียนถึงหลวงปู่บุญมีกับหลวงปู่ลีว่าขอพระผู้ใหญ่คืนไปจำพรรษาวัดป่าบ้านตาด ๑ องค์ เพราะนอกจากหลวงตาแล้วไม่มีพระผู้ใหญ่ที่คล่องงานอยู่ด้วย ทำให้พระอาจารย์อินถวายรู้สึกเป็นภาระหนักที่ท่านต้องรับงานจากหลวงตาโดยตรง เพราะท่านอายุพรรษายังไม่มาก ดังที่หลวงปู่บุญมีได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นไว้ว่า… “ปีที่อาตมาออกมาจากบ้านตาด อาจารย์ลี ปีนั้นออกไปเที่ยวภูจ้อก้อวัดอาจารย์หล้า เขมปัตโต กลับมาพบกันที่บ้านหนองกอง เราถึงตอนเช้า อาจารย์ลีมาตอนเย็น รุ่งเช้าฉันเสร็จพ่อครูตุ้มเอารถมารับไปจำพรรษาถ้ำหีบ กลอนเข้าพรรษาท่านอินทร์เขียนจดหมายมา พระผู้ใหญ่ไม่มี ไปอยู่ที่นั่นหมด ขอคืนองค์หนึ่ง เราให้อาจารีกลับไป เราจำพรรษาถ้ำหีบ”

ในปีนั้นท่านจึงให้หลวงปู่ลีกลับเข้าไปจำพรรษาบ้านตาดเพราะได้ออกมาเที่ยววิเวกอยู่บ่อยครั้งแล้ว ส่วนท่านพึ่งจะได้ออกมาเที่ยววิเวก เมื่อตกลงกันได้แล้วหลวงปู่ลีจึงกลับเข้าไปวัดป่าบ้านตาด ส่วนท่านก็จำพรรษาที่วัดป่าถ้ำหีบ

ก่อนที่ท่านจะมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าถ้ำหีบนี้ ท่านอยู่วัดป่าบ้านตาดมาเป็นเวลาร่วม ๒๐ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยมีเพียงพรรษาเดียวคือปี พ.ศ.๒๕๐๒ ที่ท่านไปจำพรรษาที่วัดเทพประชาบำรุง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านหนองแสง เพราะจะได้อยู่ใกล้มารดาซึ่งป่วยอยู่ในขณะนั้น

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เทศน์กล่าวถึงการที่หลวงปู่บุญมี ออกมาภาวนาในช่วงปีนั้น เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ ว่า .. “ท่านบุญมีอยู่กับเรามาร่วม ๓๐ ปี เราล่ะไล่ออกไป นี่จะเป็นพ่อตาแม่ยายได้แล้วนะนี่ จะมาเป็นลูกเขยใหม่อยู่ทำไม ไป ไล่ไป ให้ท่านเพียรไปนั่น ท่านใหญ่ก็ไปด้วยกัน เลยไปอยู่ที่นั่นล่ะ”

อีกครั้งที่หลวงตากล่าวถึงศิษย์ผู้ใหญ่ ในคราวถวายเพลิงศพหลวงปู่เพียร วิริโย ณ วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ “ท่านเพียร-ท่านบุญมีที่ติดสอยห้อยตามเรามาตั้งแต่ต้นเลย เราล่ะเป็นคนไล่ออกมานี่ มันควรจะเป็นพ่อตาแม่ยายได้แล้ว เราว่าอย่างนั้น แล้วเป็นลูกเขยใหม่อยู่อย่างไร ไป เลยไล่มาท่านเพียรมาทางนี้ ท่านบุญมีก็มาด้วยกัน อยู่กับเราร่วม ๓๐ ปี ท่านเพียร-ท่านบุญมีเรียบร้อยเหมือนกันหมด ไม่มีด่างพร้อย เรียบร้อยการปฏิบัติของท่าน ท่านเพียงกับท่านบุญมีท่านปฏิบัติเอาจริงเอาจังเหมือนกัน ที่อยู่กับเรานานคือท่านสิงห์ทอง พอดีท่านตายเสีย ท่านสิงห์ทองก็อยู่นานแต่ตายก่อน ท่านเพียงกับท่านบุญมีนี้นานนะ เราจึงให้ออกมา ท่านสิงห์ทองเป็นพระชอบตลก นิสัยชอบเล่น ชอบตลกนะท่านสิงห์ทอง แต่อันนี้เรียบๆ ท่านเพียร ท่านบุญมีเรียบๆ แปลท่านสิงห์ทองเป็นนิสัยชอบตลก ชอบตลกนิสัยเป็นมาดั้งเดิม ที่เป็นลูกศิษย์มานมนานคือท่านสิงห์ทองท่านเพียงท่านบุญมี ๓ องค์ ”
 
มุ่งสู่ภูลังกา
ก่อนที่ท่านจะไปจำพรรษาที่วัดถ้ำยานาโพธิ์นั้น เดิมทีก็ไม่ได้ต้องการจะไปที่นั่น แต่เป็นเพราะเจ้าอาวาสคนเก่าคือหลวงพ่อเพ็ง เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่นรูปหนึ่ง แทงวัดถ้ำยานาโพธิ์ได้มรณภาพลงพร้อมกันนั้นโยมที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงตาได้ไปกราบเรียนและขอพระไปจำพรรษาแทน เมื่อหลวงตาทราบแล้วจึงเจาะจงบอกให้ไปหาหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ซึ่งระหว่างนั้นท่านอยู่ที่วัดถ้ำหีบ เมื่อท่านทราบว่าหลวงตาเจาะจงมาจึงไม่อาจปฏิเสธได้ เมื่อออกพรรษาแล้วจึงได้เดินทางไปที่วัดถ้ำยานาโพธิ์ อ.บ้านแพง จ.นครพนม

หลวงตามหาบัวเมตตา
อยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำญานาโพธิ์นั้น สถานที่ก็ยังไม่สะดวกนัก แต่เมื่อท่านไปอยู่ที่นั่น หลวงตาก็ยังเมตตาไปเยี่ยมอยู่บ่อยครั้ง บางคราวถึงขนาดพักค้างคืนที่วัดถ้ำยานาโพธิ์เลยทีเดียว ทุกครั้งที่หลวงตาไปก็จะนำสิ่งของจำเป็นไปมอบให้เป็นการดูแลลูกศิษย์ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร

หลวงตาได้กล่าวถึงการให้หลวงปู่บุญมีออกจากวัดป่าบ้านตาด ไปอยู่วัดป่าถ้ำหีบ แล้วต่อไปวัดถ้ำยานาโพธิ์ โดยได้ที่อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕ ว่า… “ท่านบุญมี เขามากขอเราก็ให้ไปอยู่ เราสร้างศาลาหลังหนึ่งให้พอดีเรากะให้เลย ถ้าเราจะให้ไม่ใหญ่โตแหละ พอดีกรรมฐาน เรากะเราจะต้องเอาทำเป็นหลักเกณฑ์เลย ตั้งแต่ท่านบุญมีลงจากนั้นแล้วเราก็ไม่ขึ้นไปอีกเลย แต่ก่อนเราไปมาด้วยเรื่อยๆ ทีแรกท่านบุญมีก็อยู่ที่นี่ตั้ง ๒๘ หรือ ๓๐ ปีก็ไม่รู้นะ เราไล่ออกเลย ไปอยู่ทางบ้านผือ เขาว่าถ้ำหีบดีนะ แต่เราไม่เคยไปเห็น ทางโน้นล่ะแถวอำเภอบ้านผือสถานที่นั่นดีมาอยู่นี่จะเป็นพ่อตาแม่ยายไปแล้วตั้งแต่อ้อนแต่ออกก็ไม่อยู่วัดนี้ตลอดเป็นอย่างนั้นจริงๆ ท่านบุญมีนี่ ตั้งแต่พรรษา ๒ มั้ง ติดพันกันมาด้วย เผาศพหลวงปู่มั่นแล้วก็ติดพันกันมาเรื่อย เรามาอยู่ที่นี่ก็เลยมาด้วย จนกระทั่งเราได้ไล่หนีไป

ไม่ได้ไล่ด้วยแบบผิดธรรมวินัยอะไรแหละ ไล่เพราะอยู่นาน สงสารอยากให้ไปภาวนา เพราะฉันอยู่ที่นี่ท่านปฏิบัติตัวเป็นเหมือนพระหนุ่มน้อยตลอดเวลา ความขยันหมั่นเพียรทุกด้านทุกทางไม่มีที่ต้องติ แล้วท่านก็เป็นภาระอยู่ตลอด เราก็เคยรับภาระมาแล้วก็ถึงกันละซี ภาระก็เกี่ยวข้องกับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ก็เลยไล่ไป ไปหาที่ภาวนา ท่านก็เลยไปที่นั่น ไปอยู่ที่นั่นเราก็ติดตามไปดู เห็นว่าเหมาะ เออที่นี่เหมาะ เลยทำศาลาให้หลังหนึ่ง ขนาดกุฏิวัดถ้ำพระภูวัวละมั้ง จะโตกว่านั้นก็เล็กน้อย จากนั้นไปอยู่ไม่สะดวก พ่อท่านไปหมู่เพื่อนแตกฮือไปด้วยหมดเลย ไปอยู่บ้านนาคูณจนกระทั่งทุกวันนี้ ท่านขยันหมั่นเพียรทางภายนอกนี่เก่งมากจนเราสงสาร ให้ท่านไปหาที่ภาวนาให้ท่านภาวนาสะดวกสบาย มายุ่งเหยิงวุ่นวายกับหมูกับเพื่อนตลอดเวลาไม่เหมาะ เราว่างี้ ตั้งจึงไปอยู่นั่นเรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ อยู่วัดเรานี้ไม่ ๒๘ ก็ ๓๐ ปี ฟังสิ นานขนาดนั้น เราสงสารถึงให้ออกไป “

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม มาพักอยู่บ่อยครั้ง
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม จะแวะมาพักที่วัดถ้ำยานาโพธิ์เป็นประจำบางครั้ง ๒-๓ วัน บางครั้งเป็นอาทิตย์ก็มี ดังนั้นพระภายในวัดจึงมีโอกาสได้ทำเข้าวัดถวายหลวงปู่ชอบ เป็นต้นว่า สรงน้ำ จับเส้นถวาย เพราะว่าในช่วงนั้นหลวงปู่ชอบท่านพูดน้อย ศิษย์จึงได้แต่ทำเข้าวัดถวาย เป็นที่รู้กันว่าเหตุผลประการหนึ่ง ที่ทำให้หลวงปู่ชอบมักจะแวะมาเมตตาโยมที่บ้านแพงอยู่บ่อยครั้ง เป็นเพราะว่ามีโยมอุปัฏฐากที่บ้านแพง ในอดีตชาติโยมคนนี้เคยเกิดเป็นลูกของท่าน ทั้งเป็นโอกาสอันดีที่พระและสามเณรภายในวัดถ้ำยานาโพธิ์และอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ ในเรื่องนี้บ้างก็กำชับพระเณรให้ต้อนรับปฏิบัติอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ให้เรียบร้อยดีงาม

สนทนาธรรมกับหลวงปู่แบน ธนากโร
ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำยานาโพธิ์นั้น มีอยู่วันหนึ่งที่หลวงปู่แบน ธนากโร แห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ ได้มาเยี่ยมเยือน เมื่อมาถึงได้จัดการต้อนรับที่กุฏิหลวงปู่บุญมีที่อยู่บนเขาเป็นการเฉพาะ มีเพียงพระอุปัฏฐากเพียงรูปเดียวที่คอยดูแลพระเถระทั้งสอง

อากัปกิริยาของพระเถระสองรูปต่างเป็นไปด้วยความนอบน้อม แม้หลวงปู่บุญมีจะมีอายุพรรษามากกว่า แต่เมื่อถึงเวลาสนทนาธรรม ถามตอบธรรมะกันนั้น หลวงปู่บุญมีก็จะพนมมือขึ้นถามตอบทุกครั้ง ขณะเดียวกันหลวงปู่แบนก็พนมมือตอบด้วยเช่นกัน แสดงให้เห็นถึงการแสดงความเคารพในธรรมที่ท่านทั้งสองต่างแสดงและเป็นที่รู้กันภายในของท่านทั้งสอง ทำให้พระอุปัฏฐากที่ได้เห็นอากัปกิริยาเหล่านี้จึงจำได้แม่นยำถึงความงามของวัดรปฏิบัติของพระเถระทั้งสองจนถึงทุกวันนี้

ความที่พระอุปัฏฐากเป็นพระบวชใหม่ ยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงทางธรรมะ แม้ว่าจะได้ยินการสนทนาธรรมในครั้งนั้นซึ่งกินเวลานานหลายชั่วโมงแต่ก็ไม่อาจจดจำถ้อยความอะไรได้

ล้มหน้าห้องน้ำ
เช้าวันหนึ่งที่วัดถ้ำยานาโพธิ์ พระอุปัฏฐากขึ้นไปทำข้อวัตรตอนเช้าเป็นปกติเช่นทุกวัน หลวงปู่บุญมีเดินออกจากห้องเพื่อจะลงไปเข้าห้องน้ำที่อยู่ด้านล่างกุฏิ พอเดินลงไปเกิดลื่นไถลลงไปชนกับขอบประตูห้องน้ำอย่างแรง เมื่อพระอุปัฏฐากเห็นอย่างนั้นจึงรีบลงมาพยุงท่านขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ท่านก็เข้าห้องน้ำก่อนโดยพระได้ประคองท่านเข้าไป

ในเช้าวันนั้นพระอุปัฏฐากได้นำบาตรของท่านไปตั้งที่ศาลา เนื่องจากท่านไม่สามารถออกไปบิณฑบาตได้ ความที่ท่านล้มไถลลงไปกระแทกขอบประตูอย่างแรง ลูกศิษย์ต่างกราบเรียนขอให้ท่านไปหาหมอเพื่อตรวจอย่างละเอียดครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดฉันก็ไปฉีดยา แค่เข็มเดียว เขากลับมาแล้วอาการเริ่มรุนแรงขึ้นต้องได้รักษาอาการเบื้องต้นตามภูมิปัญญาชาวบ้านป้องกันเรื่องความบอบช้ำภายในเป็นการรักษาแบบพื้นบ้านที่เรียกว่า “ย่าง “ โดยก่อไฟไว้ด้านล่างเป็นอาทิตย์เพื่อป้องกันเลือดคั่งเลือดตกใน ระหว่างนั้นจะพลิกตัวขยับตัวก็ลำบากเจ็บระบมไปทั่วร่างกาย

ในตอนนั้นพระจะผลัดเปลี่ยนเวรกันดูแลเป็นอาทิตย์ เวลาท่านจะพลิกตัวเปลี่ยนอิริยาบถจะเกิดความเจ็บปวดมาก แต่ถึงจะจบอย่างไรเมื่อพลิกตัวก็จะกล่าวคำว่า “พุทโธๆ พุทโธๆ พุทโธๆ” อยู่ตลอดเวลา จนทำให้พระอุปัฏฐากได้ออกอุทานภายในใจว่า ขนาดครูบาอาจารย์เจ็บป่วยอย่างไรก็ยังไม่ทิ้งคำว่า พุทโธๆ ทำให้พระได้ถือเอาเป็นคติตัวอย่างติดตัวมาจนถึงทุกวันนี้

จากเหตุการณ์ล้มที่หน้าห้องน้ำในครั้งนี้ ทำให้สุขภาพร่างกายของท่านที่เคยแข็งแรงมาโดยตลอดเริ่มอ่อนแอลงไปมาก และมีผลสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

พรรษาที่๔๓ (พ.ศ.๒๕๓๒)
หลังจากที่หลวงปู่บุญมี ท่านลงจากที่วัดถ้ำยานาโพธิ์(ภูลังกา)มาแล้ว ท่านจึงพิจารณาหาเสนาสนะที่สามารถรองรับพระจำนวนมากได้ ท่านจึงตกลงตามคำอาราธนาของศิษย์มาอยู่ที่วัดป่าบ้านใหม่ ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งมีพระอาจารย์นิพนธ์ อภิปสันโน เป้นประธานสงฆ์อยู่ก่อนแล้ว

จำพรรษาที่วัดป่านาคูณ
หลวงปู่แสง ญาณวโร ท่านเคยอยู่จำพรรษาที่วัดป่านาคูณ ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มาแล้ว ๓ พรรษา ทั้งได้สร้างเสนาสนะไว้เรียบร้อยก่อนออกวิเวกไปทาง จ.อำนาจเจริญ หลวงปู่บุญมี จึงได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่านาคูณเรื่อยมา ตั้งแต่พรรษาที่ ๔๔-๖๘ (ปี พ.ศ.๒๕๓๓ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๗ )

มรณภาพ
หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศิลาพร ต.หนองเป็ด อ.เมือง จ.ยโสธร ตั้งแต่พรรษาที่ ๖๙ - ๗๑ (พ.ศ.๒๕๕๘ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๖๑) หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณละสังขารอย่างสงบเมื่อเวลา ๐๐.๔๕ น. ของวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ตรงกับวันพระแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ณ กุฏิท่านวัดป่าศิลาพร ต.หนองเป็ด อ.เมือง จ.ยโสธร สิริอายุ ๙๑ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ๗๑ พรรษา

“..คนเราทุกวันนี้ ถ้าเป็นคนที่มีธรรม จะคิด จะพูด จะทำอะไรก็เป็นธรรม แต่ถ้าเป็นคนไม่มีธรรม เอาเรื่องโลกมาคิด มาพูด มาทำ ก็มีแต่โลกทั้งนั้น ให้เราทั้งหลายช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เห็นการกระทำอะไรที่ไม่ดีให้ช่วยกันบอกสอนแก้ไขให้ถูกให้ควร อย่าปล่อยให้คนทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า..” โอวาทธรรมคำสอน หลวงปู่บุญมี ปริปุณฺโณ








บรรณานุกรมอ้างอิง ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ คัดลอกมาจากหนังสือ "ท่านใหญ่คือท่านบุญมี หลวงปุ่บุญมี ปริปุณโณ" ; พิมพ์เมื่อ ธันวาคม ๒๕๕๕ แอดมินท่องถิ่นธรรมกราบขออนุญาตพิมพ์คัดลอกเพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน และกราบขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ครับ สาธุ
ขอขอบคุณที่มา เพจพระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กรกฎาคม 2564 19:26:24 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2564 19:03:56 »


หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ

อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ
วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๖ กรกฎาคม

วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช   วันคล้ายวันมรณภาพพระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

• ประวัติพระครูวิหารกิจจานุการ หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ
ชาติภูมิ ของหลวงพ่อปาน ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘ โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ โดยอาชีพทางครองครัว คือ ทำนา สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า “ปาน” เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้าย ตั้งแต่โคนนิ้วถึงปายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว

หลวงพ่อปานในวัยเด็ก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า “…ท่าน (หลวงพ่อปาน) บอกว่า สมัยท่านเป็นเด็กอายุสัก ๓-๔ ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้าน หลวงพ่อปาน ท่านเป็นคนบางนมโค และเป็นคนตำบลนั้น ไม่ใช่คนที่อื่น เป็นคนที่มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่งอยู่สักหน่อย สมัยนั้นเขามีทาสกัน ที่บ้านท่านก็มีทาส

ท่านบอกว่า ท่านวิ่งเล่น อยู่ใต้ถุนบ้านย่าของท่าน ก็ปรากฏว่าย่าของท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตาย เวลานั้นก็เห็นจะเป็นเวลาบ่ายสัก ๒-๓ โมงกว่า ท่านว่าอย่างนั้นโดยประมาณ คนทุกคนเขามาเยี่ยมย่า พ่อแม่ของท่านก็ไป เมื่อคนทุกคนขึ้นไปแล้ว ท่านบอก เห็นร้องดังๆ บอก แม่ แม่ อรหันนะ อรหัน ภาวนาไว้ อรหัน พระอรหัน จะช่วยแม่ ก็ร้องกันเสียงดังๆ ท่านอยู่ใต้ถุน ท่านยืนฟัง เขาว่าอรหันกันทำไม

พอท่านสงสัยก็ย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือน พอท่านขึ้นไปแล้วก็ปรากฏว่า ผู้อยู่เขาเอาปากกรอกไปที่ข้างหูของคุณย่าท่าน บอกแม่ แม่ อรหันนะ อรหัน แต่ว่าพอผู้ใหญ่เขามองเห็นท่านเข้าไป เขาก็ไล่ท่านไป เขาจะหาว่าไอ้เจ้าเด็กมันรุ่มร่าม ท่านก็เลยไปเล่นใต้ถุนบ้านอื่น

พอมาถึงตอนเย็น เวลากินข้าว ท่านแม่ก็ป่าวหมู่เทวฤทธิ์คือเรียกลูกกินข้าว เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้วท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางกลาง สำหรับตัวท่านเองเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานมาให้แล้วเอาแกงเผ็ด ท่านบอกว่า ไอ้แกงฉู่ฉี่แห้ง ท่านชอบ เขาใส่มาให้ เรียกว่า ไม่ต้องหยิบกับข้าว กินแบบประเภทข้าวราดแกง เวลาที่ท่านกินเข้าไปแล้วมานั่งนึกว่า กับข้าวมันอร่อยถูกใจ ก็เกิดความชุ่มชื่น พอจิตมันนึกขึ้นได้ว่าเขาบอก อรหัง อรหัง นึกถึงคำว่า อรหัง ขึ้นมาได้ ท่านก็เลยปลื้มใจอย่างไรชอบกล เลยเปล่งวาจาออกมาดังๆว่า อรหัง อรหัง ว่า ๒-๓ คำ

ท่านแม่ที่มองตาแป๋วลุกพรวด จับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ จับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน แล้วร้องตะโกน “เอ้า มึงจะตายโหง ตายห่าก็ตายคนเดียว มันจะมาว่า อรหัง ที่นี่ได้รึ? คำว่า อรหัง พุทโธ นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน นี่ดันมาว่า อรหัง ที่นี่ ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย”

ท่านแปลกใจ คิดว่า นี่เราว่าดีๆ นี่แม่ดุเสียงเขียวปัด นี่มันเรื่องอะไรกัน ในเมื่อถูกแม่ดุอย่างนั้น จะขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียว ก็เลยไม่ว่า พอท่านพูดถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หัวเราะบอกว่า “คุณแม่ฉันน่ะโง่นะ ไม่ได้ฉลาดหรอก อีตอนใหม่นั้น ตอนฉันมาบวชได้แล้ว อรหังหรือพุทโธนี้ ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด ถ้าใครภาวนาคำนี้ได้ตกนรกไม่ได้…แต่ว่าแม่ของฉัน นี่ท่านไม่รู้ ก็เป็นโทษเพราะไม่ได้รับการศึกษา แต่ว่าไม่เป็นหรอก ตอนหลังที่ฉันบวชแล้วนี่นะ ฉันกลับใจแม่ของฉันได้ ฉันแนะนำให้ท่านทราบแล้ว เวลาท่านตายท่านก็ยึดพุทโธ อรหังเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ยึดเวลาตาย ฉันให้ท่านว่าทุกวัน….”

สมัยก่อน เมื่อลูกชายมีอายุครบบวช ก็จะทำการอุปสมบท ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่องขานนาคเป็นเวลาประมาณ ๓ เดือน เป็นอย่างน้อยท่านเองมีความสงสัยในใจว่า เหตุไฉนสตรีเพศจึงดึงดูดบุรุษเพศมากมายนัก ทำให้หลงใหลใฝ่ฝัน ตัวท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงคิดว่าจะหาวิธีลองของจริงดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าดีจริงบวชครบพรรษาจะสึกออกมา ถ้าไม่เป็นจริงตามวิสัยโลกก็จะไม่สึก ที่บ้านของท่านมีคนรับใช้อยู่คนหนึ่งเรียกกันว่าทาส ชื่อว่าพี่เขียว อายุประมาณ ๒๕ ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกันสองคน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา บอกว่าตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ไม่เคยจับเนื้อใคร ท่านคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดียังไงผู้ชายถึงได้อยากกันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ก็สงสัยว่าจะบวชแล้วนี่ ถ้ามันดีจริงแล้วก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็จะไม่สึกละ

เมื่อคนว่างก็เข้าไปหาพี่เขียว พี่เขียวแกอยู่ในครัว เป็นทาส แต่ว่าท่านเรียกพี่ในฐานะที่เขาแก่กว่าตัว ยกมือไหว้ บอกว่า “พี่เขียว ขออภัยเถอะ ฉันขอจับเนื้อพี่เขียวดูหน่อยได้ไหมว่า เนื้อผู้หญิงน่ะมันดียังไง เขาถึงชอบกันนัก”

พี่เขียวก็แสนดี อนุญาต ท่านก็เลือกจับเนื้อกล้าม เขาเรียกว่า กล้ามเนื้อที่หน้าอก ผู้หญิงนี้มีกล้ามเนื้อพิเศษ อยู่ที่กล้ามเนื้อ ๒ กล้ามที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมากหรอก จับตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วก็มาจับน่อง เอ๊! มันคล้ายกัน

บอกพี่เขียวว่านี่มันคล้ายกันนี่ พี่เขียวแกก็บอกว่าเป็นอย่างนั้นมันก็คล้ายกัน แล้วท่านก็ถามพี่เขียวว่า ทำไมผู้ชายเขาถึงชอบเนื้อผู้หญิงนัก ดันไปถามผู้หญิงได้ นี่ว่ากันอย่างเราๆนะ แล้วเขาจะตอบอย่างไร เขาก็บอกไม่รู้เหมือนกัน

แล้วท่านก็ยกมือไหว้ขอขมาพี่เขียวบอกว่า “ขอโทษ ที่ขอจับเนื้อนี่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น อยากจะพิสูจน์เท่านั้นว่ามันดีอย่างไร” เมื่อท่านหมดความสงสัยในใจแล้ว ก็ตกลงใจว่าจะบวช คราวนี้จะไม่ขอสึกหาลาเพศ ก็สมจริงกับที่ท่านตั้งใจทุกประการ


• สู่ร่มกาสาวพัสตร์
หลังจากที่โยมมารดาบิดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้าย ให้ฝึกหัดขานนาคให้คล่องแคล่วแล้ว ท่านก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๘ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า “โสนันโท”


• หลวงพ่อปานเรียนวิชา
หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น ด้วยความสนใจใคร่ศึกษา เพราะว่าในสมัยนั้น หลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระที่แก่กล้าทางคาถาอาคม และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

เมื่อตามไปเล่าเรียนเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อสุ่นเห็นลักษณะของหลวงพ่อปานว่ามีลักษณะดี จะได้เป็นครูบาอาจารย์ต่อไปภายภาคหน้า จึงได้ให้สติหลวงพ่อปานเบื้องต้นในการเบื่อหน่ายกิเลสว่า

๑.อย่าอยากรวย อยากมีลาภ ได้ทรัพย์มาแล้วดีใจ ตั้งหน้าสะสมทรัพย์
๒.เป็นอย่างต้นแล้ว เมื่อทรัพย์หมดก็เป็นเหตุให้เสียใจ
๓.อยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ยศมาแล้วปลื้มใจ
๔.เมื่อหมดยศไปแล้วก็เสียใจ
๕.ได้รับคำสรรเสริญแล้วยินดี
๖.เมื่อถูกนินทาก็ไม่พอใจ
๗.มีความสุขความเพลิดเพลินในกามารมณ์
๘.เมื่อมีความทุกข์ก็หวั่นไหวท้อแท้ใจ

จากเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตแล้วอย่าหวังรวย ถ้ารวยแล้วไม่ใช่พระ พระต้องรวยด้วยบุญญาบารมี เงินที่ได้มาอย่าติด จงทำสาธารณประโยชน์เสียให้สิ้น เหลือกินเหลือใช้แต่พอเลี้ยงอาตมา อย่าหวังในยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่รับยศไม่ได้แล้ว ก็อย่าเมายศฐาบรรดาศักดิ์ มันเป็นเครื่องถ่วงกิเลส ยศ ลาภ สรรเสริญ ความสุขในกามารมณ์ มันเป็นตัวกิเลส มันเป็นโลกธรรม ต้องตัดออกให้หมด ถ้าพอใจในสี่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่พระ จะพาให้สู่ห้วงนรก

จงระลึกอยู่เสมอว่า เราบวชเพื่อนิพพาน อย่างที่กล่าวในตอนขออุปสมบทครั้งแรกว่า “นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตะวา” อันหมายความว่า เราขอรับผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สั่งให้ท่องสวดมนต์ตลอดจนคาถาธาตุทั้งสี่ คือ นะ มะ พะ ทะ ให้ว่าถอยหลังแล้วเป่า ให้กุญแจหลุด ถ้าเจ้าเป่าหลุดแล้วบอกพ่อ จะให้วิชาต่างๆ ให้หมดไม่ปิดบัง นี่คือการฝึกสมาธิจิตที่หลวงพ่อสุ่นสอนหลวงพ่อปานทางอ้อม คือถ้าจิตไม่มีสมาธิแล้วอย่าหวังเลยว่า ด้วยคาถาเพียงสี่ตัวจะดีกว่าลูกกุญแจได้

หลวงพ่อปานท่านก็มีความอดทน หมั่นฝึกเป่ากุญแจนานเป็นเดือน เป่าเท่าไหร่ก็ไม่หลุด มาหลุดเอาตอนที่ท่านทำใจสบายเป็นสมาธิ นึกถึงคาถาเป่ากุญแจได้ จึงลุกขึ้นมาเป่ากุญแจ คราวนี้กุญแจหลุดหมด ทดลองกับลูกอื่นๆ ก็หลุด เพิ่มกุญแจขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๔๐ ดอก แขวนไว้บนราว ก็หลุดหมด แล้วจึงทดลองให้หลวงพ่อสุ่นดูจนพอใจ หลังจากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สอนวิปัสสนาให้แก่หลวงพ่อปาน ตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงที่สุด ด้วยความเมตตาหลวงพ่อปาน ในตอนท้ายว่า เมื่อมีฤทธิ์แล้วอย่าแสดงให้คนอื่นเขาเห็นเป็นการอวดดี จะเป็นโทษตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้

จบจากวิปัสสนาแล้วหลวงพ่อสุ่นยังได้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณให้ ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้อาศัยใช้ช่วยชีวิตผู้ได้รับทุกข์ทรมานให้หายมามากต่อมาก จนท่านได้ชื่อว่าเป็น “พระหมอ” หลวงพ่อสุ่น สอนว่า “การเป็นหมอนั้น บังคับไม่ให้คนไม่ตายไม่ได้ หมอเป็นเพียงช่วยระงับทุกข์เวทนาเท่านั้น” จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็ถ่ายทอดกสิณต่างๆ ให้หลวงพ่อปานจนกระทั่งสิ้นความรู้


• องค์อาจารย์ของหลวงพ่อปาน
การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้

เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาแพทย์จาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เรียนวิชาปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเอง เวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้ เวลาสอนหนังสือ ลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง ทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธา เอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่า จนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม

หลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบทเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไร ก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง

ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่าน ท่านจึงหยุดเรียน และเตรียมตัวสำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่

หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่าง เคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย

เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว

โยมมารดาท่านเป็นห่วงว่าท่านเป็นบุตรคนเล็กที่มีอยู่ นอกนั้นออกเรือนไปหมดแล้ว อีกทั้งไม่มีญาติโยมทางกรุงเทพฯ จึงขอร้องไม่ให้ไป ท่านจึงลากลับวัด ด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านตัดสินใจนำจีวรแพรที่โยมมารดาถวายไว้นำไปขาย ได้เงินแปดสิบบาท แล้วตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่บอกให้โยมมารดารู้ จะให้รู้ก็กลัวจะลงเรือไปแล้ว จึงเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่คล้าย (เจ้าอาวาสวัดบางนมโคสมัยนั้น) ว่าจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ หลวงปู่คล้าย จึงแนะนำให้ไปเรียนกับ พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ โดยมอบเงินช่วยเหลือไปอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดเวลาท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์เจิ่น ท่านได้พยายามหาความรู้เพิ่มเติม ในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาเมื่อท่านกลับมาวัดบางนมโค ปรากฏว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกที่เทศนาได้เพราะจับใจ และดึงดูดศรัทธายิ่งนัก

นอกจากวัดสระเกศแล้ว ท่านยังได้มาเรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวช และที่อื่น จนมีความรู้ทางด้านแพทย์แผนโบราณแตกฉานอีกด้วย

จากข้อความในหนังสือ อนุสรณ์ครบ ๑๐๑ ปีหลวงพ่อปาน เขียนไว้ว่า หลวงพ่อปานเคยเล่าให้ฟังว่า ระหว่างอยู่ที่วัดสระเกศนั้น อัตคัตมาก บิณฑบาตบางครั้งก็พอฉัน บางครั้งก็ไม่พอ ได้แต่ข้าวเปล่าๆ จ้องเด็ดยอดกระถินมาจิ้มน้ำปลา น้ำพริก ฉันแทบทุกวัน แต่ท่านก็อดทน ด้วยรับการอบรมเป็นปฐมมาจากพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ

ท่านว่าอยู่กรุงเทพฯ ๓ ปี ได้ฉันกระยาสารทเพียงครั้งเดียว โดยนางเฟือง คนกรุงเทพฯ นำมาถวาย ได้รับนิมนต์ไปบังสกุลครั้งหนึ่งได้ปัจจัยมาหนึ่งสลึง เจ้าหน้าที่สังฆการีก็มาเก็บเอาไปเสียเลยไม่ได้ใช้ เงินที่ติดตัวไป ท่านก็ใช้จ่ายไปในการศึกษาจนเกือบหมด ท่านเหลือไว้หนึ่งบาท เอาไว้ใช้เมื่อมีความจำเป็นสุดยอดเท่านั้น

ด้วยความอดทนของท่าน ในปีสุดท้ายที่ท่านจะกลับวัดบางนมโคนั้นเอง คืนหนึ่งท่านได้ยินเสียงคนเคาะหน้ากุฏิ ท่านเปิดออกไปก็เจอเทวดามาบอกหวย แล้วเขียนให้ดู แล้วย้ำว่าจำได้ไหม ท่านก็ตอบว่าจำได้ ท่านนอนคิดจนนอนไม่หลับ พอรุ่งเช้าแทนที่ท่านจะแทงหวย ท่านกลับเห็นว่านั่นไม่ใช่กิจของสงฆ์ ตามที่หลวงพ่อสุ่นได้อบรมไว้ ท่านก็ไม่แทง ปรากฏว่าวันนั้นหวยออกตรงตามที่เทวดาบอก ถ้าท่านแทงหวย ก็คงจะรวยหลาย

ท่านอาจารย์แจง ฆราวาสชาวสวรรคโลก จากบันทึกของท่านฤาษีลิงดำว่า ท่านอาจารย์แจง เป็นฆราวาสสวรรคโลก ได้เดินทางล่องลงมาทางใต้ ถึงวัดบางนมโค มาเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อปาน จึงได้สอนให้รู้ถึง วิธีการปลุกเสกพระและวิธีสร้างพระตามตำราซึ่งเป็นของพระร่วงเจ้า ได้รับการสืบทอดมาจากอาจารย์ซึ่งเขียนไว้ว่า.. “ข้าพเจ้าได้รักษาตำราของพระอาจารย์ไว้แล้ว ก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทุกอย่าง วิชาต่างๆ มีผลดีทุกประการ ถ้าบุคคลใดได้พบแล้วจะนำไปใช้ ให้บูชาพระอาจารย์ของท่าน แต่มิได้ระบุว่าเป็นใคร”

ท่านอาจารย์แจงได้นิมนต์หลวงพ่อปานไปในโบสถ์ตามลำพัง เพื่อถ่ายทอดวิชา ซึ่งนอกจากวิชาการปลุกเสกพระ และทำพระแล้ว ยังได้มหายันต์เกราะเพชร ซึ่งท่านก็ได้ใช้ยันต์เกราะเพชรนี้สงเคราะห์ผู้คนได้มากมาย

หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน บันทึกโดยท่านฤาษีลิงดำ เขียนไว้ว่า “หลวงพ่อปานนิยมพระกัมมัฏฐาน หมายความว่า สิ่งที่ท่านต้องการที่สุดและปรารถนาที่สุด คือ พระกัมมัฏฐาน

เรื่องพระกัมมัฏฐานนี้เป็นชีวิตจิตใจของหลวงพ่อปานจริงๆ ท่านเทิดทูนพระกัมมัฏฐานมาก ทั้งๆ ที่ทรงสมาบัติอยู่แล้ว ความอิ่ม ความเบื่อ ความพอใจในพระกัมมัฏฐานของท่านก็ไม่มี ท่านก็มีความปรารถนาจะเรียนพระกัมมัฏฐานให้มันดีกว่านั้น

สมัยนั้นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นพิเศษ ในสมัยนั้นนะ สายอื่นฉันไม่ทราบ ก็มีหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี สมัยนั้นเรือยนต์มันก็ไม่มี ถ้าจะไปก็ต้องไปเรือแจว ถ้าไปเรือ แต่ทว่าทางเดินสะดวกกว่า เดินลัดทุ่งลัดนาลัดป่าไป ป่าก็เป็นป่าพงส่วนใหญ่ ท่านก็ใช้วิธีธุดงค์ สมัยนั้นวิธีธุดงค์เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เรียกว่าใกล้ค่ำที่ไหนปักกลดที่นั่น ชาวบ้านเขาเลี้ยงตอนเช้า ฉันอิ่มแล้วก็ไปกัน พระธุดงค์ฉันเวลาเดียว

ท่านบอกว่า เวลาที่ถึงวัดน้อยเขาร่ำลือกันว่า หลวงพ่อเนียมนี่เก่งมาก ท่านก็เข้าไปหาหลวงพ่อเนียม เข้าไปหานะไม่รู้จักหลวงพ่อเนียมหรอก ความจริงท่านก็คิดว่าหลวงพ่อเนียมท่านจะเป็นเหมือนหลวงพ่อองค์อื่นๆ ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก นุ่งสบง จีวร เป็นปริมณฑล แล้วก็มักจะนั่งเฉยๆ ดีไม่ดีหลับตาปี๋ ก็หลับขยิบๆ เรียกว่าหลับ ไม่สนิทล่ะ คือ แกล้งหลับตาทำเคร่ง ที่นี้เวลาหลวงพ่อปานไปหาหลวงพ่อเนียม ก็ไปโดนดีเข้า เข้าไปแล้วเจอะหลวงพ่อเนียมที่ไหน ความจริง หลวงพ่อเนียมก็เดินคว้างๆ อยู่กลางวัดนั่นแหละ มีผ้าอาบน้ำ ๑ ผืน ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ผ้าอาบน้ำฝน สีเหลือง ผ้าอีกผืนแบบเดียวกันคล้องคอเดินไปรอบวัด

หลวงพ่อปานก็บอกว่า เมื่อท่านเห็นนะ ก็ไม่รู้หลวงพ่อเนียม เห็นพระแก่ๆ ผอมๆ นุ่งผ้าลอยชายผืนหนึ่ง เข้าไปถึงก็กราบๆ หลวงพ่อปานบอกว่า “เกล้ากระผมมาจากเมืองกรุงเก่าขอรับ กระผมจะมานมัสการหลวงพ่อ ขอเรียนพระกัมมัฏฐาน”

หลวงพ่อเนียมก็ทำท่าเป็นโมโห บอกว่า ไม่มีวิชาอะไรจะสอน พร้อมทั้งกล่าวขับไล่ไสส่งออกจากวัด หลวงพ่อปานก็นั่งทนฟังอยู่ ในที่สุดเห็นท่าจะไม่ได้เรื่อง ก็เลี้ยวหาพระในวัดไปขออาศัยนอน แล้วก็ถามว่า พระองค์นั้นน่ะชื่ออะไร พระท่านก็บอกว่า องค์นี้แหละชื่อ หลวงพ่อเนียม ล่ะ

พอวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อปานก็เข้าไปหา ก็ถูกด่าว่าอีกอย่างหนัก ท่านยืนยันจะเรียนให้ได้ หลวงพ่อเนียม เลยสั่งว่า ๒ ทุ่ม ให้นุ่งสบงจีวรคาดสังฆาฎิไปหาในกุฏิ

พอตอนกลางคืน หลวงพ่อปานเข้าไปหาท่าน ปรากฏว่ารูปร่างท่านผิดไปมาก ผิวดำ ผอมเกร็งแบบเก่า ไม่มี ท่านนุ่งสบงจีวรพาดสังฆาฏิเหลืองอร่ามผิวกายสมบูรณ์ ร่างกายก็สมบูรณ์ หน้าตาอิ่มเอิบ รัศมีกายผ่องใส สวยบอกไม่ถูก

หลวงพ่อปานตรงเข้าไปกราบ ๓ ครั้งแล้วก็นั่งมอง ท่านก็นั่งมองยิ้มๆ แล้วท่านก็ถามว่า “แปลกใจรึคุณ” หลวงพ่อปานก็ยกมือนมัสการ บอกว่า “แปลกใจขอรับหลวงพ่อ รูปร่างไม่เหมือนตอนกลางวัน”

ท่านก็บอกว่า “รูปร่างน่ะคุณมันเป็นอนัตตา หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ มันจะอ้วนเราก็ห้ามไม่ได้ มันไม่มีอะไรห้ามได้เลยนี่คุณ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง เห็นไหม ไปเจอตัวอนิจจังเข้าแล้วซิ”

หลวงพ่อปานบอกว่า ตอนนี้ล่ะเริ่มสอนกัมมัฏฐาน อธิบายไพเราะจับใจฟังง่ายจริงๆ พูดได้ซึ้งใจทุกอย่าง เวลาท่านพูดคล้ายๆ ว่าจะบรรลุพระอรหันตผลไปพร้อมๆ ท่าน ท่านสอนได้ดีมาก พอสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็บอกให้ไปพักที่กุฏิอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับกุฏิของท่าน แล้วเวลาทำกัมมัฏฐานกลางคืน หลวงพ่อปานวางอารมณ์ผิด ท่านจะร้องบอกไปทันที บอก “คุณปานเอ๊ย คุณปาน นั่นคุณวางอารมณ์ผิดแล้วตั้งอารมณ์เสียใหม่มันถึงจะใช้ได้” นี่หลวงพ่อปานบอกว่า ท่านมีเจโตปริยญาณแจ่มใสมาก

ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานอยู่กับหลวงพ่อเนียม ๓ เดือน แล้วจึงกลับ ก่อนหลวงพ่อปานจะกลับ หลวงพ่อเนียมก็บอกว่า “ถ้าข้าตายนะ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาแทนข้าได้ ถ้ามีอะไรสงสัยก็ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน”

หลวงพ่อปานได้เรียนคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อช่วงตอนปลายของชีวิต คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ท่านไปเรียนกับ ครูผึ้ง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ตอนนั้นครูผึ้ง เป็นฆราวาส อายุ ๙๙ ปี เพราะได้ข่าวว่าครูผึ้งเป็นคนพิเศษ เวลาขอทานมาขอ ให้คนละ ๑ บาท สมัยนั้นเงิน ๑ บาท มีค่ามาก เงิน ๑๐๐ บาท ๒๐๐ บาท สามารถสร้างบ้านได้ ๒ หลัง มีครัวได้ ๑ หลัง เวลาทำบุญแกจะช่วยรายละ ๑๐๐ บาท ไม่ใช่เงินเล็กน้อย เมื่อทราบข่าว หลวงพ่อจึงไปขอเรียนกับแก คาถาปัจเจกพุทธเจ้านี้ เรียกว่า คาถาแก้จน ท่านได้เรียนมาและพิมพ์แจกเป็นทานแก่สาธุชนนำไปปฏิบัติ และมีผลดีจบสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้


• กลับมาตุภูมิ
หลังจากที่หลวงพ่อปานได้เสร็จสิ้นการเรียนจากกรุงเทพฯ แล้วท่านก็หวนคิดถึงโยมมารดาที่ท่านจากมาถึง ๓ ปี จึงเดินทางกลับวัดบางนมโค พร้อมกับความรู้ที่ได้รับมา
 
ท่านได้ระลึกถึงว่า การเล่าเรียนของท่านลำบากมาก จึงอยากจะจัดสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรและบุตรธิดาชาวบางนมโค ให้มีความรู้ จึงนิมนต์พระภิกษุเกี้ยว ที่อยู่สำนักเดียวกับท่านมาด้วย เพื่อจัดสอนหนังสือ เมื่อมาถึงแล้วท่านก็นำมากราบนมัสการหลวงปู่คล้าย และได้ไปหาโยมมารดาให้ได้ชมบุญ


• อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน
จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมา พอจะอนุมานได้ดังนี้ จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า... “หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วน เสียงดังกังวานไพเราะ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะ เป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือก เศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจ ที่ใจชั่วมัวเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา”

ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ

บางคนก็เรียกว่าหลวงพ่อ บางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆท่านๆ น่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ ๔ หรือ ๕ ทุ่มนั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ

ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์ หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไป ตามกำลังความสามารถเท่านั้น

หลวงพ่อปาน โสนันโท ท่านมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๘๑ สิริอายุ ๖๓ ปี พรรษา ๔๓
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2564 14:13:03 »


หลวงปู่ประสิทธิ์ ญฺญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่ประสิทธิ์ ญฺญมากโร
วัดป่าหมู่ใหม่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
๓๑ กรกฎาคม

๓๑ กรกฎาคม เป็นวันคล้ายวันมรณภาพ ของ หลวงปู่ประสิทธิ์ ญฺญมากโร ปีนี้ครบรอบ ปีที่ ๕ จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาของหลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร โดยสังเขปมาเผยแพร่เพื่อเป็นสังฆานุสติและมรณานุสติ

"..คนสมัยใหม่นี่เป็นคนสุขสบาย คือไม่อยากทำแต่อยากได้...มันเป็นไปไม่ได้ เพราะธรรมก็ชื่อว่าทำอยู่แล้ว คือจะต้องลงมือทำ จะต้องใช้ร่างกายทำ ไม่ใช่ว่าเราพูดทำได้ คือเราพูดให้เป็นวัตถุเป็นสมบัติเป็นอะไร ให้มันเป็นขึ้นมา มันเป็นไม่ได้หรอก มันเป็นได้ก็เพราะการทำ เราจึงพูดว่าธรรม เราทำมันน้อยไปมันก็ไม่เห็นเพราะว่าพระพุทธเจ้าเราทำมามาก ทำมาจนเกินหละทีนี้ จนว่าสละชีวิต เลือดเนื้อร่างกายทุกอย่างพระองค์สละหมดแล้วไม่ห่วงคือไม่ห่วงร่างกายไม่ห่วงชีวิต.." โอวาทธรรมคำสอนของหลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร


• ถิ่นกำเนิด ชาติสกุล
หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เกิดที่บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ บิดาชื่อ พ่อสนธิ์ มารดาชื่อแม่มุก นามสกุล สิมมะลี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน เป็นชาย และหญิง ๔ คน


• ชีวิตในวัยเด็ก
หลวงพ่อประสิทธิ์ เท่ากับเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว เมื่อมีอายุ ๗ ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลบ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ สอบไล่ได้ตำแหน่งที่ ๑ หรือ ที่ ๒ เป็นประจำทุกปี ตลอดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ พอจบชั้นประถมแล้ว ครูใหญ่ชื่อ “ปรีชา” ให้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมพิทยานุกุล ในตัวจังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อได้ถามบิดาว่า “ จะเรียนดีหรือไม่เรียนดี” และเมื่อบิดาบอกว่ “ทำไร่ทำนาดีกว่า สบายใจดี” หลวงพ่อฯ จึงตัดสินใจช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา

หลวงพ่อประสิทธิ์ เมื่อเยาว์วัย จึงเป็นแรงสำคัญช่วยงานบิดา มารดา อย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่ยังเรียนหนังสือชั้นประถม จนเช้าสู่วัยหนุ่มอายุ ๑๙ ปี จึงเกิดความคิดอยากเข้าวัด เนื่องจากวัดป่านิโครธาราม ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อยู่ใกล้บ้าน ท่านได้ทบทวนชีวิตฆราวาส ผ่านมาได้ช่วยบิดามารดามาจนเป็นที่พอใจแล้ว ฐานะทางครอบครัวก็พอดีๆ ไม่รวยและไม่จน และพี่น้องต่างก็โตพอจะช่วยงานของครอบครัวพ่อแม่ได้แล้ว หลวงพ่อท่านคิดว่าได้เกิดมาใช้หนี้บุญคุณพ่อแม่พอที่ได้อาศัยท่านมาเกิดในชาตินี้แล้ว จึงคิดมองหาเส้นทางจิต ที่คิดไม่อยากกลับมาเกิดเป็นหนี้ภพชาติอีกต่อไป โดยเกิดศรัทธาปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คิดจะบวชไม่มีกำหนดตลอดชีวิต หวังอยู่ปฏิบัติตนเพื่อหลุดพ้นความเกิดจนถึงอมตะพระนิพพาน


• บรรพชาและอุปสมบท
ต่อมาครอบครัวได้พาหลวงพ่อเข้าไปฝากตัวกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ณ วัดโพธสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๐๔ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี ในวันที่ ๑ มิถุนายน โดยมีพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุดรคณานุศาสน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์


• การปฏิบัติธรรม
หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร ได้บวชและอยู่ศึกษาอบรมธรรมะกับหลวงปู่อ่ออน ญาณสิริ วัดนิโครธาราม ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ภายหลังหลวงปู่อ่อน มรณภาพลง ท่านได้ไปปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย  จากนั้นได้เดินธุดงค์ขึ้นสู่ภาคเหนือ มาอยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แล้วเดินธุดงค์แสวงหาความวิเวก จนกระทั่งมาพบสถานที่ป่าสงบเงียบ หลังที่ทำการชลประทานแม่แตง จึงได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ และยกฐานะเป็นวัดตามลำดับ

วัดป่าหมู่ใหม่ เป็นวัดป่าสายธรรมยุตที่สงบเงียบ หลวงพ่อประสิทธิ์ ได้อนุรักษ์สภาพพื้นที่ป่าเดิม พร้อมกับปลูกป่าเสริมเพิ่มต้นไม้ตลอดเวลา ทำให้วัดมีต้นไม้ใหญ่สมบูรณ์ร่มรื่น การที่วัดป่าหมู่ใหม่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง แต่ละกฏิไม่มีการสะสมสิ่งของ ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ เป็นวัดปฏิบัติธรรม จึงเป็นวัดป่าศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์สำหรับผู้เข้าไปสัมผัส ทั้งนี้เพื่อ มรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริงนั่นเอง


• กาลมรณภาพ
องค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร แห่งวัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานเมื่อเวลา ๑๔.๒๓ น. ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ สิริอายุ ๗๕ ปี ๔ เดือน ๒๖ วัน ๕๕ พรรษา(พรรษานั้นเป็นพรรษาที่ ๕๖)






หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร เล่าเรื่องกรรมที่ทำให้ท่านอาพาธ

พรรษาปี ๒๕๕๑ ตนเอง (ครูบากล้วย - พระวีระศักดิ์ ธีรภัทโท) ไปอยู่ปฏิบัติอุปัฏฐากองค์ท่าน “หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร” ๑๐ วัน

แต่ละวันก็จะคุยกันกับองค์ท่านเรื่องนั้นเรื่องนี้ตามประสาพ่อลูกทางธรรม มีเรื่องหนึ่งที่พ่อแม่ครูจารย์ประสิทธิ์ท่านบอก “กรรมใหญ่ในธาตุขันธ์ของหลวงพ่อกำลังจะมาถึง” องค์ท่านพูดให้ฟังเพื่อบอกให้รู้ถึงกรรมขององค์กำลังจะมาถึง

ท่านบอก กรรมใหญ่ของหลวงพ่อมันมาถึงแล้ว กรรมหมู่ใหญ่ครั้งนี้มันระดมต่อแถวพากันมาทวงคืนกับเราทั้งหมด ชาติสุดท้ายแล้วอะไรๆ มันก็พากันมาทวงคืนเอาทั้งหมด..

เรียนถามองค์ท่าน กรรมอะไรของพ่อแม่ครูจารย์มันถึงได้พาเหรดเข้ามาพร้อมกันมากปานนี้

ท่านบอก มันเป็นกรรมในอดีตชาติของเราทั้งหมด กรรมที่เราเคยเบียดเบียนมนุษย์ กรรมที่เราเคยเบียดเบียนสัตว์ กรรมที่เราเคยเบียดเบียนทุบตีวัวนี้มันจะเข้ามาสนองก่อนเพื่อน  กรรมนี้จะเป็นตัวเปิดประตูให้กรรมอื่นๆ ในอดีตตามมา..

ในระหว่างพรรษาปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมา หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านเริ่มมีอาการเส้นตึงไปทั่วตัว โดยเฉพาะที่แขนทั้งสองข้างของท่านมีอาการตึงและมีอาการออกร้อนเหมือนมีไฟรุมภายในแขน

เวทนานี้องค์ท่านจะมีอยู่ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาอยู่ในสมาธิจิตแยกออกจากขันธ์ห้า...ลูกศิษย์พระเณรพากันนวดถวายให้องค์ท่าน แต่อาการขององค์ท่านก็ไม่ดีขึ้น มีลูกศิษย์จ้างหมอนวดมานวดถวายให้องค์ท่าน พอนวดแล้วปรากฏแขนขวาของท่านเส้นยิ่งตึงหนักขึ้นกว่าเดิมอีก เป็นกรรมที่ซ้ำเติมเวทนาให้กับองค์ท่าน องค์ท่านจึงบอกให้หมอนวดคนนี้ยุติการนวด เพราะตอนนวดจิตของเขามัวหมองมากระทบกับธรรมภายในของพ่อแม่ครูจารย์ องค์ท่านจึงบอกให้เขายุติ

ท่านบอก หลังจากคนนี้นวดให้แล้วแขนข้างขวาของเราก็อ่อนแรง ยกแขนขึ้นไม่สุดแขน ตนเองเลยให้หลวงพ่อท่านลองยกแขนขวาแขนซ้าย ขึ้นให้ดู แขนซ้ายของท่านยกเหยียดสุดแขนได้ แต่แขนข้างขวาของท่านยกพ้นเหนือหัวขององค์ท่านได้ประมาณคืบมือเรา ท่านบอกเวลาบิณฑบาต ตอนเปิดฝาบาตรมือขวามันอ่อนแรงมาก ต้องจับฝาบาตรไว้ให้แน่นๆ กลัวฝาบาตรจะหลุดมือ..

ตอนปลายพรรษามีผู้ชายคนหนึ่ง เกิดปี พ.ศ.๒๕๑๔ (ถามอายุเขาภายหลัง) ผู้ชายคนนี้รูปร่างผอมสูง ผิวดำแดง เป็นคนจังหวัดอำนาจเจริญ ผู้ชายคนนี้ได้ยินข่าวว่าหลวงพ่อประสิทธิ์ป่วยมีอาการเส้นตึงชาตามแขน ผู้ชายคนนี้เขามาขอนวดถวายให้หลวงพ่อ ขณะนั้นหลวงพ่อประสิทธิ์ท่านกำลังจะออกไปบิณฑบาต ท่านบอกไม่ต้องนวดหรอก เรากำลังจะไปบิณฑบาตโยมเขารออยู่ ผู้ชายคนนี้เขาขอเวลาหลวงพ่อประสิทธิ์แค่สามนาทีในการนวดแขนขวาให้องค์ท่าน หลวงพ่อท่านจึงหยุดยืนให้ผู้ชายคนนี้เขานวดแขนขวาให้ท่าน..

ผู้ชายคนนี้เขาเอามือซ้ายของเขาจับที่ข้อศอกขวาของหลวงพ่อประสิทธิ์ไว้ มือขวาของเขาจับและกดเข้าไปที่ใต้รักแร้ขวาของหลวงพ่อประสิทธิ์ ขณะที่ผู้ชายคนนี้กดแขนให้หลวงพ่อประสิทธิ์เขาจะยืนหลับตาอยู่ตลอดเวลา หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านก็ยืนหลับตาเข้าสมาธิรับกันภายใน..

ใช้เวลาประมาณสามนาทีผู้ชายคนนี้ก็ลืมตาขึ้น สักพักหลวงพ่อประสิทธิ์ท่านก็ลืมตาขึ้นตาม พ่อประสิทธิ์ท่านยกแขนขวาของท่านชี้ขึ้นบนฟ้าปรากฏว่าแขนขวาของท่านที่เคยเส้นยึดตึงจนไม่สามารถยกมือขึ้นสุดแขนได้ กลับสามารถยกมือขวาขึ้นได้อย่างสุดแขน อาการเส้นตึงปวดแขนขององค์ท่านก็หายไปทันทีเหมือนปลิดทิ้ง  หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านกล่าวขอบใจ และยิ้มให้ผู้ชายคนนี้  องค์ท่านเรียกผู้ชายคนนี้ว่า หมอเทวดาสามนาที..

หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านเล่าให้ฟังภายหลังที่ห้องพักว่า หมอสามนาทีเขาเพ่งจิตใส่ตรงจุดที่ท่านเจ็บแขนจนท่านเกิดอาการเจ็บร่างกายภายในขึ้นมาอย่างหนัก องค์ท่านจึงเข้าสมาธิตั้งรับภายใน..

ท่านบอก เราดำรงจิตของเราให้ว่างเป็นอากาศธาตุ ขณะที่หมอสามนาทีกำลังรักษาธาตุขันธ์ของเรา พอหมอสามนาทีวางมือ เราก็ถอยจิตออกมาพิจารณาในธาตุขันธ์ของตนเอง

ปรากฏเป็นลำแสงคล้ายไฟพุ่งออกจากทางหัวของเราขึ้นไปบนอากาศ เรากำหนดจิตไล่ตามดูจนแสงลำไฟนี้สลายหายลับไปในอากาศ..

ตนเองนั่งฟังพ่อแม่ครูจารย์ท่านเล่าก็พลอยตื่นเต้นตาม เพียงแค่ชั่วระยะเวลามวยชกกันยกเดียว

พ่อแม่ครูจารย์ประสิทธิ์ท่านทำธุระภายในจิตของท่านตั้งหลายอย่าง ไม่แปลกใจหรอกที่องค์ท่านหลวงปู่ชอบ ฐานสโม บอกไว้ “ท่านสิทธิ์จิตเป็นวสี มีความชำนาญในการเข้าออกสมาธิ จิตท่านสิทธิ์เร็วกว่าฟ้าแลบ..”

ท่านบอก พอเราถอนจิตออกมาอยู่กับธาตุขันธ์ ปรากฏแขนขวาที่เราเคยปวดล้าอ่อนแรงก็หายไปทันที  ระหว่างเราเดินออกจากกุฏิจะไปบิณฑบาตที่หน้าศาลา เราพิจารณาถึงบุพกรรมของตนเองในเรื่องนี้ กรรมที่ทำให้เราปวดแขนจนแขนอ่อนล้าอ่อนแรงนี้เกิดจากกรรมในอดีตของเราชาติหนึ่ง ชาตินั้นเราเอาไม้แหลมแทงขาหน้าวัวตัวหนึ่งจนมันได้รับบาดเจ็บ กรรมนี้จึงจองเวรเรามาทันกันปัจจุบัน..ท่านบอก นี่เป็นแค่กรรมที่เราทำกับวัวเพียงตัวเดียวนะ ยังมีกรรมที่เราเคยทำกับวัวอีกหลายตัวที่มันจะพากันมารุมชนเราให้ล้ม

พอช่วงค่อนปลายพรรษาปี ๒๕๕๑ หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านมีอาการปวดตามตัวและมีอาการเส้นตึงไปทั่วตัวขององค์ท่าน  ท่านบอก เวลามันกำเริบขึ้นมาหนักๆ ขยับตัวก็ลำบาก  เวลาเดินก้าวขาแทบจะไม่ออก แข้งขามันหนักหน่วงเหมือนกับเอาท่อนไม้ก้อนหินมามัดติดขา เวลาเดินเวทนาปวดตามตัวนี้มันแรงกล้ามาก พอกระดิกตัวนิดเดียวมันจะเจ็บปวดร้อนไปทั่วทุกอณูขุมขน  ท่านบอกเวลาเรากำหนดจิตดูเวทนาเวลามันขึ้น มันจะเป็นไฟพุ่งออกตามอณูรูขุมขนทั่วร่างกาย  เราพิจารณาหาเหตุเวทนากรรม เราก็รู้ก็เห็นในที่มากรรมของตน กรรมอดีตที่ตนเองเคยทุบตีทำร้ายวัว เคยทรมานวัวให้เขาได้รับทุกข์เวทนาอย่างแสบร้อน กรรมนี้มันจึงมาแสดงผลให้เราแสบร้อนในปัจจุบัน..

แต่พอเราพิจารณาในพยาธิธาตุขันธ์ เรากับมองไม่เห็นโรคที่ตนเองเป็น มันจะมืดมิดไปหมดเหมือนเราหลับตาแล้วเอาผ้าดำมาปิดตาทับอีกที พญากรรมใหญ่มันปิดบังความรู้ของเราเอาไว้ทั้งหมด กรรมเป็นของที่ยิ่งใหญ่มาก ไม่มีอะไรใหญ่ไปกว่ากรรม ไม่ใครสามารถหนีพ้นกรรมไปได้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมศาสดาพระองค์ก็ยังหนีกรรมของตนเองไปไม่พ้น  ประสาอะไรกับเราผู้เป็นสาวก กรรมเวลามันแสดงผลไม่มีใครสะเดาะให้ได้ ผู้อ้างว่าสะเดาะเคราะห์กรรมได้ก็มีแต่พวกลวงโลก เพราะความจริงกรรมเป็นธรรมที่สุด ไม่มีใครจะสามารถสะเดาะผ่านไปได้ ต้องชดใช้ถ่ายเดียวเท่านั้น

เราฝืนเวทนาของเรามาโดยตลอด  ท่านนา (พระอาจารย์นาที ภูริปัญโญ) มานิมนต์เราไปหาหมอ เราก็บอก หึย..ให้กรรมมันรักษากรรมของมันเอง เราก็เข้าใจท่านนาว่ารักเรา แต่เราอยากใช้กรรมของตนเองให้สาสมในชาติสุดท้าย “เจ็บปานใด๋ ปวดปานใด๋ หลวงพ่อก็บ่เคยออกปากให้ผู้ใด๋ได้ยิน อักทุกข์ อักยาก อักเจ็บ อักปวด อักทรมานธาตุขันธ์ของตนเองไว้แต่ผู้เดียว” (อัก ภาษาอีสานแปลว่า เก็บ)

ฟังพ่อแม่ครูจารย์ท่านบอกแล้ว ใจตนเองก็คิดวิตกทุกข์ไปกับธาตุขันธ์ขององค์ท่าน ได้แต่คิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อช่วยยื้อธาตุขันธ์ขององค์ท่านไว้ให้ลูกศิษย์ทั้งหลายได้อาศัยองค์ท่านเป็น “นาบุญ”

พ่อแม่ครูจารย์ประสิทธิ์ท่านบอก เวลาเราปวดตามเส้นพระเณรพากันมานวดให้ก็พอบรรเทาอาการลงได้บ้าง แต่เวลาเวทนาอณูไฟของเราส่วนมากมันจะเกิดในเวลากลางคืนตอนดึกๆ ตอนเวทนาเราเกิดหนักๆ แค่มีคนมาเอามือมาลูบจับต้องเนื้อตัวของเรา เราจะปวดแสบปวดร้อนไปทั่วตัว แต่หลวงพ่อไม่บอกเขา เราเจ็บเราก็ทนเอา เราเมตตาพระเณรเขา
เขาอยากได้บุญกับเราจึงมาอุปัฏฐากธาตุขันธ์ของเรา  หลวงพ่อเมตตาแผ่บุญให้เขา เจ็บแค่ไหนเราก็ไม่พูด ไม่ร้องออกมาให้ลูกศิษย์ได้ยิน กลัวเขาจะใจเสีย..ใจเขาไม่เหมือนใจเรา ใจเขาเห็นเวทนาผู้อื่นยังมาถือเป็นเวทนาใจของตนเอง ใจเรารู้เวทนา แต่ไม่ยึดในเวทนาเหมือนกับเขา

ท่านมาวิน เวลาหลวงพ่อเป็นอะไร ท่านมาวินใจจะขาดก่อนเรา ใจท่านมาวินอ่อนแอมากแค่เห็นเลือดเราไหลตอนหลวงพ่อประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ ท่านมาวินแค่ได้ยินข่าวก็เป็นลมแล้ว เรานั้นเฉยๆ มองเป็นเรื่องของกรรม แต่ท่านมาวินเป็นลมแทนเรา ใจคนทำไมอ่อนแอนัก ในบรรดาลูกศิษย์เราก็เป็นห่วงท่านมาวินในเรื่องใจ ใจไม่ก้าวข้ามอุปาทานผูกพันจะยกจิตขึ้นในการภาวนาลำบาก

พอเข้าหน้าหนาวปลายปี ๒๕๕๑ อาการอาพาธของพ่อแม่ครูจารย์ประสิทธิ์ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น องค์ท่านฉันข้าวไม่ค่อยได้ จนร่างกายขององค์ท่านซูบผอมลงไปอย่างเห็นได้ชัด จากที่พ่อแม่ครูจารย์ท่านเป็นคนร่างกายบึกบึนแข็งแรง กลายเป็นคนที่มีรูปร่างซูบผอม เส้นยึดตึงไปทั่วตัว บางครั้งท่านไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง

ตอนอาพาธหนักๆ หลวงพ่อท่านจะนอนอยู่แต่ภายในห้องพัก หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านเป็นผู้สุขุม มีจิตใจกล้าหาญอดทนหนักแน่น ท่านเกรงใจไม่อยากให้ใครมาเสียเวลาในการปฏิบัติธาตุขันธ์ขององค์ท่าน  เวลาที่อยู่องค์เดียว พ่อแม่ครูจารย์ท่านจะเอาผ้าอาบน้ำมามัดไว้ที่ปลายเตียงนอนขององค์ท่าน เพื่อใช้ดึงพยุงตนเองในเวลาลุกขึ้นมานั่ง

พระอาจารย์เดช เตชวัณโณ วัดป่าบ้านผาเด็ง เชียงใหม่ มากราบเยี่ยมพ่อแม่ครูจารย์ประสิทธิ์ พอองค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์เห็นพระอาจารย์เดชเข้ามาที่ในห้องพัก หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านเอื้อมมือดึงผ้าอาบน้ำเพื่อประคองยันกายของตนเองขึ้นมาต้อนรับพระอาจารย์เดช

พระอาจารย์เดชท่านเห็นอย่างนั้นจึงรีบเข้าไปรับประคององค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ให้ลุกขึ้นนั่ง หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านว่าไม่ต้องมาประคองเรา เราจะลุกขึ้นมาเอง แต่อาจารย์เดชท่านไม่ฟัง อาจารย์เดชท่านรวบแขนประคององค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ให้ลุกขึ้นนั่งด้วยใจอาจาริยะอุปัฏฐากของท่าน ดั่งที่ท่านเคยปฏิบัติกับองค์ท่านหลวงปู่ชอบมาเมื่อในอดีต

ท่านพระอาจารย์เดชบอก เราเห็นพ่อแม่ครูจารย์ประสิทธิ์ท่านเป็นแบบนี้เราถึงกับน้ำตาตกใน เราไม่เคยคิดมาก่อนว่าหลวงพ่อท่านจะอาพาธหนักขนาดนี้ พ่อแม่ครูจารย์ประสิทธิ์ท่านอดทนในเวทนาของตนเองมาก ท่านดูแลตัวท่านมาอย่างไร ท่านก็ดูแลตัวท่านอย่างนั้น ท่านไม่ยอมให้ใครมาลำบากในธาตุขันธ์ขององค์ท่าน เห็นท่านแล้วเรานึกถึงพ่อแม่ครูจารย์หลวงปู่ชอบ  หลวงปู่ชอบท่านลำบากในธาตุขันธ์แค่ไหน ท่านก็ไม่เคยเอ่ยปากให้ลูกศิษย์ได้ยิน นอกจากพวกเราจะสังเกตดูกิริยาอาการของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเอง

ท่านพระอาจารย์จื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร ต.หนองบัวระเหว อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ท่านทราบข่าวหลวงพ่อประสิทธิ์อาพาธมีอาการปวดเส้นตึงไปทั่วตัว ท่านพระอาจารย์จื่อสัตตาหะลากิจในพรรษา พา “หมอแหลม” ชัยภูมิ ซึ่งถือว่าเป็นหมอนวดเส้นมือหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิมานวดถวายองค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ หมอแหลมได้ทำการนวดหลวงพ่อประสิทธิ์อยู่หนึ่งวัน จนหลวงพ่อประสิทธิ์ท่านหายจากอาการเส้นตึงไปชั่วขณะ  ระหว่างหมอแหลมกำลังนวดองค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์นั้น ท่านเข้าสมาธิกำหนดพิจารณาในกรรมของตนเองไปด้วย ท่านแผ่เมตตาให้กับเจ้ากรรมนายเวรของท่านที่เป็นวัวที่ท่านเคยเบียดเบียดเขามาทุกทั่วตัวตน เจ้านายจองเวรวัวที่ท่านเบียดเบียนมาได้พากัน “อโหสิกรรม” ให้กับองค์ท่านทั้งหมด

ปรากฏรูปในนิมิตจิตขององค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ เมื่อนายเวรจองกรรมวัวที่องค์ท่านเคยเบียดเบียนทำร้ายเขามาเมื่อในอดีต พากัน “อภัยโทษ” ให้องค์ท่าน ปรากฏเป็นแสงลำไฟพุ่งออกจากทางด้านบ่าไหล่ซ้าย ขณะที่องค์ท่านนอนคว่ำหน้า แสงลำไฟที่พุงออกจากบ่าไหล่ซ้ายนี้ องค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ตามจิตไล่กำหนดดูแสงลำไฟ “กรรม” ของท่านได้พุ่งเข้าไปชนต้นขาซ้ายและต้นขาขวาของหมอแหลม จนหมอแหลมเกิดอาการสะดุ้งร้อนวูบขึ้นมาที่ต้นขาทั้งสองข้างของตนเอง มีอาการแสบร้อนขึ้นมาทั้งตัว จนเหงื่อกาฬหมอแหลมไหลออกมาอย่างที่ไม่เคยเป็น (ภายหลังหลวงพ่อประสิทธิ์ท่านบอกหมอแหลมเคยมีกรรมร่วมกับท่านมาในเรื่องนี้ จึงต้องมารับกรรมร่วมกัน)

ภายหลังนวดถวายองค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์เสร็จแล้ว หมอแหลมได้พูดให้องค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ฟังว่าตนเองเห็นเปลวไฟพุ่งออกจากตัวของหลวงพ่อประสิทธิ์ ผ่านต้นขาของเขาไปในขณะที่เขากำลังนวดถวายองค์ท่าน หมอแหลมได้ถอดกางเกงให้องค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ดู ที่ต้นขาทั้งสองข้างของหมอแหลมนั้นปรากฏมีรอยไหม้เกรียมดำเกิดขึ้นทั้งสองข้าง เหมือนกับถูกไฟไหม้ไฟรนที่ต้นขาเรื่องนี้เป็นกรรมที่อัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง  ท่านพระอาจารย์จื่อเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์  ท่านบอกตั้งแต่เกิดมาเราก็พึ่งเคยเห็นปรากฏการณ์อัศจรรย์ของกรรมแบบนี้

ทางฝ่ายขององค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ท่านบอก “พอสมมุติกรรมแสดงตนออกมาแบบนี้ มันพุ่งออกจากบ่าซ้ายของเราเข้าชนหมอแหลม เรากำหนดจิตไล่ตามดูมันไปตลอดทาง ลำแสงไฟนี้พุ่งออกไปจนข้ามสุดแดนดิน ข้ามสุดมหาสมุทรฟากฟ้า ลำแสงไฟกรรมนี้พุ่งออกไปนอกอวกาศแล้วสลายตัวเป็น “อนัตตา” ท่ามกลางอวกาศ ความรู้แจ้งขึ้นมาในใจของเรา

กรรมเรากับวัวทั้งหลายในอดีตนั้นสิ้นสุดกันแล้วในชาตินี้  อาจารย์จื่อท่านมาช่วยดึงชีวิตธาตุขันธ์ของเราเอาไว้ ชาติสุดท้ายของเรามีเพียงสี่คนเท่านั้นที่จะมายื้อชีวิตเราไว้ได้ ท่านจื่อเป็นหนึ่งในสี่ผู้มายื้อชีวิตในชาติสุดท้ายของเรา”

พอท่านพระอาจารย์จื่อ วัดเขาตาเงาะอุดมพร กับหมอแหลมกลับจังหวัดชัยภูมิได้ไม่กี่วัน หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านก็อาพาธอีก ทางลูกศิษย์อุปัฏฐากได้กราบนิมนต์องค์ท่านไปโรงพยาบาลมหาราช จ.เชียงใหม่ เพื่อให้หมอทำการตรวจหาสมุฏฐานของโรคที่ทำให้องค์ท่านอาพาธ เบื้องต้นทางคณะแพทย์โรงพยาบาลมหาราชตรวจพบว่า หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่าโรคพุ่มพวง

ตอนนั้นหลวงพ่อท่านอยากจะรักษาโรคของท่านด้วยการ “ใช้กรรม” ของตนเอง อาการอาพาธขององค์ท่านตอนนั้นจะสามวันดีสี่วันไข้ จนร่างกายของท่านซูบผอมดำลงไปอย่างเห็นได้ชัด บางครั้งพระอุปัฏฐากต้องป้อนข้าวป้อนน้ำให้องค์ท่าน เนื่องจากแขนขาของหลวงพ่อท่านอ่อนแรง  ตอนนี้อาการขององค์ท่านดูน่าวิตกมาก บางครั้งหน้าหนาวหลวงพ่อท่านจะเกิดอาการหนาวสั่นจากภายใน ห่มผ้าผิงไฟก็เอาไม่อยู่ จนผู้อุปัฏฐากต้องกอดองค์ท่านเอาไว้ เพื่อใช้ธาตุไฟไออุ่นของคนหนุ่มช่วยบรรเทา

องค์ท่านเริ่มเปรยให้ผู้ใกล้ชิดได้ทราบถึงการเริ่มที่จะ “วางธาตุขันธ์” ของตนเอง องค์ท่านบอก “ชีวิตเราไม่เหลือแล้ว มีชีวิตอยู่ทุกวันนี้เพื่อลูกศิษย์เท่านั้น เราพิจารณาแล้ว ชีวิตเราหมดแล้ว”

หมู่คณะพอได้ฟังแบบนี้แล้วก็พากันวิตกกังวล ผู้ใกล้ชิดพากันเกิดความหว้าเหว่ขึ้นมาในใจ หมู่คณะโทรมาบอกให้ขึ้นมาวัดป่าหมู่ใหม่ด่วนที่สุด หลวงพ่อท่านมีอะไรอยากจะคุยด้วย  ตนเอง (ครูบากล้วย - พระวีระศักดิ์ ธีรภัทโท) นำเรื่องนี้ไปแจ้งให้ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน วัดถ้ำสหายฯ ให้ทราบ เพื่อขอคำปรึกษากับองค์ท่าน ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียนบอก กล้วยมึงฟ้าวไปเดี๋ยวนี้ (กล้วยมึงรีบไปเดี๋ยวนี้) ผลประการใดให้มึงกลับมาแจ้งให้เฮาทราบทุกขั้นตอน ให้เป็นตัวแทนเฮาไปนิมนต์อาจารย์ประสิทธิ์ลงมาจำพรรษาอยู่ถ้ำสหาย เฮาจะเป็นผู้รักษาอุปัฏฐากอาจารย์ประสิทธิ์เอง ถ้าปีนี้อาจารย์สิทธิ์บ่ลงมาจำพรรษาอยู่อีสาน เบิ่ดแท้ๆ (หมดแท้ๆ) เอาคืนบ่ได้ ให้มึงเฮ็ดจั่งใด๋กะได้เอาอาจารย์ประสิทธิ์ลงมารักษาตัวอยู่อีสานให้ได้

ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียนพูดถึงเรื่องกรรมของหลวงพ่อประสิทธิ์ ท่านบอก “อาจารย์ประสิทธิ์ตอนนี้ท่านพิจารณาธาตุขันธ์ตนเองแล้ว มึงอย่าช้า ให้ฟ้าวไปเอาเพิ่นลงมาอีสาน ก่อนเพิ่นจะวางทุกอย่างทั้งหมด” พระอาจารย์จันทร์เรียนท่านพูดทิ้งท้าย

“อาจารย์สิทธิ์ไปตอนนี้บ่ได้ ต้องอยู่รักษาพระศาสนาร่วมกันกับเฮาเสียก่อน” พระอาจารย์จันทร์เรียนท่านพูดให้ฟังอีกหลายอย่าง ที่ท่านผูกพันกับหลวงพ่อประสิทธิ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ตนเองกับอุ้มและยายแป๋วพากันขึ้นไปหาหลวงพ่อประสิทธิ์ตามคำสั่งของท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน เห็นหลวงพ่อท่านซูบผอมลงไปมาก  เวลาท่านพูดเสียงจะแหบแห้งแผ่วเบา ตาขององค์ท่านจะแห้งมีอาการระคายเคืองนัยตา มีอาการมือสั่นเล็กน้อยให้เห็นในเวลาหยิบจับสิ่งของ

กราบเรียนองค์ท่านว่า พระอาจารย์จันทร์เรียนท่านให้กระผมมานิมนต์หลวงพ่อลงไปจำพรรษาที่วัดถ้ำสหายฯ หรือจำพรรษาที่หนองบัวบานก็ได้ หรือไม่ก็ไปจำพรรษาที่วัดไหนก็ได้ในเขตภาคอีสาน ตามความเหมาะสมของครูบาอาจารย์จะพิจารณา  พระอาจารย์จันทร์เรียนท่านขอรักษาพ่อแม่ครูจารย์เป็นคนสุดท้าย ครั้งสุดท้าย

ทีแรกหลวงพ่อประสิทธิ์ท่านปฏิเสธในเรื่องการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล และท่านไม่ยอมลงมาจำพรรษาที่อีสาน เนื่องจากองค์ท่านเป็นห่วงลูกศิษย์ภายในวัดป่าหมู่ใหม่ ทั้งพระเณรและฆราวาสกลัวลูกศิษย์จะขาดกำลังใจ  ตนเองก็บอก ท่านอาจารย์จันทร์เรียนบอกถ้าปีนี้หลวงพ่อยังจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหมู่ใหม่ ธาตุสี่ขันธ์ห้าของหลวงพ่อจะแตกเลยนะ ท่านอาจารย์จันทร์เรียนขอนิมนต์หลวงพ่อให้อยู่เป็นประทีปดวงใจลูกศิษย์ลูกหานานๆ ท่านอาจารย์จันทร์เรียนขอนิมนต์ให้หลวงพ่ออยู่ช่วยรักษาพระศาสนาร่วมกันกับท่านก่อน อย่าพึ่งไปในตอนนี้ องค์ท่านก็นิ่งรับฟัง

องค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์บอก “อาจารย์จันทร์เรียนท่านรักเรามาก เรากับท่านผูกพันกันมาทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าหลวงพ่อเป็นอะไรอาจารย์จันทร์เรียนท่านจะออกหน้าแทนเสมอ”  

จากนั้นองค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์เผยความในใจออกมาให้ฟัง “หลวงพ่อบอกให้ยุตขับรถพาหลวงพ่อไปพักที่โป่งเดือด ก่อนขึ้นรถหลวงพ่อมองไปรอบๆ วัดป่าหมู่ใหม่ มองหน้ามองตาพระเณรญาติโยมที่เดินผ่าน หลวงพ่อ “วางอาลัย” ให้กับสถานที่ผู้คน พอรถวิ่งออกจากวัดป่าหมู่ใหม่ตอนค่ำ หลวงพ่อพิจารณาในอายุขัยของตนเอง ทางข้างหน้านั้นมืดมน อายุขัยของตนเองนั้นสิ้นสุดแล้ว มันหมดแล้ว พิจารณาในวาสนาที่ตนเองยังคาความผูกพันอยู่กับใคร เป็นแสงระยับเหมือนแสงดาวพอวับแวมอยู่ไม่กี่แสง

พิจารณาเข้าไปในแสงวับแวมนั้น เป็นคนที่เรายังมีวาสนาผูกคาสงเคราะห์กันอยู่ มี อาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร อาจารย์จื่อ พันธมุตโต อาจารย์บุญช่วย ปุญญวันโต (วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี) ท่านนัย และต้นไม้หลวงปู่ชอบเพาะไว้ท่านฝากให้เราเอาลงดิน ถ้าไม่มีวาสนาคากันกับบุคคลเหล่านี้ หลวงพ่อเตรียมจะ “วางสังขาร” ตนเองที่โป่งเดือด”

ฟังพ่อแม่ครูจารย์ท่านพูดแล้วมันจุกในใจขึ้นมา หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านรับปากจะลงไปอีสานให้ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียนเห็นหน้าอีกซักครั้ง แต่จะลงไปเพื่อรักษาตัวอยู่ที่อีสานนั้นท่านขอพิจารณาดูก่อน

ท่านบอกหลังวันวิสาขบูชาขอดูกำลังของตนเองก่อนว่าจะเดินทางไปได้ในช่วงไหน หลังคุยกับหลวงพ่อแล้วตนเองก็เอาเรื่องที่คุยกับองค์ท่านมาปรึกษากับหมู่คณะครูบาอาจารย์ภายในวัด ทุกท่านมีความเห็นร่วมกันว่าให้ “นิมนต์ธาตุขันธ์” ขององค์ท่านไว้ก่อน โดยมอบหมายให้ตนเองเป็นตัวแทนลูกศิษย์ฆราวาสผู้นำในการขอนิมนต์ธาตุขันขององค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์

ครูบาอาจารย์ท่านมอบหมายให้เขียนคำขอขมาและคำกล่าวนิมนต์ธาตุขันธ์ของพ่อแม่ครูจารย์ ลูกศิษย์ทุกท่านตอนนั้นใจจดใจจ่อกันมากในเรื่องนี้ เพราะไม่มีครั้งไหนในความรู้สึกที่ลูกศิษย์ทั้งหลายของพ่อแม่ครูจารย์หลวงพ่อประสิทธิ์จะยิ่งใหญ่เท่าครั้งที่นิมนต์องค์ท่าน ตอนที่องค์ท่านกำลังคาบเกี่ยวในการ “วางสังขาร”



ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง-ภาพ) : เพจพระพุทธศาสนา / เว็บไซท์ลานธรรมจักร ดอท เน็ต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2564 14:20:20 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2564 18:58:04 »


สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

อาจาริยบูชา พระกรุณาคุณอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ที่ ๓
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

๒ สิงหาคม

๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ ...วันสิ้นพระชนม์ ครบ ๑๐๐ ปี

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังศีกัลยาณวากย์ มนุษยนาคอเนญชาริยวงษ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถประนับดา มหามกุฏกษัตรราชวรางกูร จุฬาลงกรณ์ปรมินทรสูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราชหิโตปัธยาจารย์ ศุภศีลสารมหาวิมลมงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฏกาทิโกศล เบญจปฎลเศวตฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเษกาภิษิต วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์ สิทธรรถนานานิรุกติประติภาน มโหฬารเมตตาภิธยาศรัย พุทธาทิรัตนตรัยสรณารักษ์ เอกอัครมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาธิปัตยพุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศสกลพุทธจักรกฤตโยปการ มหาปาโมกขประธานสถาวีรวโรดม บรมนาถบพิตร

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งประชวรด้วยพระวัณโรคภายใน สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๔.๓๕ น. สิริพระชันษา ๖๒ ปี

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๐๓ เมื่อพระชันษาครบ ๒๐ ปี ก็ทรงผนวชเป็นพระภิกษุตามโบราณราชประเพณี โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายสาขา อาทิ ภาษาศาสตร์ การศึกษาและการปกครอง วิทยาการสมัยใหม่ และทรงแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการปกครองคณะสงฆ์ อีกทั้งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ หลายพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์อีกด้วย เมื่อพระเชษฐาสวรรคต ทรงดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ ก็ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราชูปัธยาจารย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก สถาปนาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพระองค์นั้นขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ดำรงตำแหน่งมหาสงฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อสิ้นพระชนม์ในวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ออกแบบพระเมรุสำหรับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง โดยมีเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เป็นแม่กองในการก่อสร้าง ซึ่งการพระราชพิธีดังกล่าว มีขึ้นระหว่างวันที่ ๗ - ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๕

สถาปัตยกรรมของพระเมรุองค์ดังกล่าว เป็นพระเมรุทรงปราสาท มีมุขสำหรับทรงพระดำเนินขึ้นสู่พระเมรุทั้งสามด้าน ทิศเหนือของพระเมรุมีมุขเชื่อมต่อกับหอเปลื้องซึ่งใช้เป็นที่พักพระโกศ เมื่อเชิญพระโกศทรงพระศพโดยพระยานมาศเข้าสู่บริเวณพระเมรุ เปลื้องพระโกศและประกอบพระโกศจันทน์ และเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในพระราชพิธี  เครื่องยอดพระเมรุประธานมีชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น เครื่องลำยองเป็นลายซ้อนไม้ฉลุโปร่ง หน้าบันปรากฏตราประจำพระองค์ คือ "เพชร" เปล่งรัศมีบนดอกบัว หมายถึงพระนามกรม 'วชิรญาณ' ด้านล่างของตรามีธรรมคาถาอักษรขอมไทย ซึ่งคล้ายคลึงกันทั้งพระเมรุ หอเปลื้อง และศาลาด้านหน้า

นอกจากพระเมรุประธานแล้ว ยังมีอาคารที่น่าสนใจคือส้างและทับเกษตร ซึ่งมีลักษณะคล้ายป้อมปราการ รวมไปถึงองค์ประกอบอื่นอย่าง 'ราชวัติ' หรือรั้วแสดงเขตบริเวณพระเมรุ ซึ่งทรงออกแบบให้สอดคล้องกับ 'ใบเสมา' บนป้อมปราการหรือส้างโดยรอบ

อนึ่ง รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระเมรุครั้งนี้ ยังเป็นต้นแบบให้หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติ นำไปออกแบบเมรุถาวร ซึ่งเป็นเมรุสำหรับพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ที่มิได้สร้างพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง และพระราชทานเพลิงศพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงเป็นฌาปนสถานสำหรับประชาชนทั่วไป นั่นคือเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสนั่นเอง



เนื่องในโอกาส ๑๐๐ ปีนับแต่วันสิ้นพระชนม์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ ในปีนี้
รัฐบาลไทย และองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญ
ของโลก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณในโอกาสสำคัญดังกล่าว








แบบร่างพระเมรุสำหรับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ฝีพระหัตถ์การออกแบบ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ขอขอบคุณที่มา : เพจพระพุทธศาสนา & สมเด็จครู
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2564 19:00:11 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2564 20:00:10 »


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่เจี๊ยะ  จุนโท



อาจาริยบูชา อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
พระครูสุทธิธรรมรังสี (หลวงปู่เจี๊ยะ  จุนโท)
วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
๒๓ สิงหาคม

วันนี้ ๒๓ สิงหาคมเป็นวันคล้ายวันละสังขาร หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ครบรอบปีที่ ๑๗

ประวัติและปฏิปทา พระครูสุทธิธรรมรังสี หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี พระผู้เป็นดังผ้าขี้ริ้วห่อทอง ตามคำกล่าวของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต คัดลอกจากหนังสือ “หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท พระผู้เป็นดังผ้าขี้ริ้วห่อทอง” จัดทำและเรียบเรียงประวัติโดยพระมหาธีรนาถ อัคคธีโร

“เดิมจริงๆ ชื่อว่า โอเจี๊ยะ แปลว่าหินดำ เพราะเรามีปานดำที่แผ่นหลัง ต่อมาภายหลังเรียกสั้นๆ ว่า “เจี๊ยะ” คำว่าโอเจี๊ยะ มีความหมายในทางธรรมอีกอย่างหนึ่งคือ คนที่มีปานประเภทนี้ จะต้องเป็นคนมีจิตใจแข็งแกร่งดุจศิลาแลง ทนร้อนทนหนาว ทนทุกข์ทนสุข อดทนได้ รับได้ แก้ไขได้ทุกสภาวการณ์ เหมือนจะเป็นธรรมเตือนเราว่า จงทำจิตใจให้เป็นดั่งแผ่นหิน
 
ในวัยหนุ่มทำมาค้าขาย ขายเงาะ ขายทุเรียน นิสัยออกจะติดทางนักเลง เป็นคนจริงจังในหน้าที่การงาน ไม่เกเร พูดจาโฮกฮาก ไม่กลัวคน ต้นตระกูลเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่ชอบโกหก จึงเป็นมรดกทางอุปนิสัยติดต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงผู้เป็นลูกหลาน เราเป็นคนทำอะไรต้องทำให้ได้ดั่งใจ เวลาไปบรรทุกผลไม้ที่ท่าแฉลบ เรือลำไหนมันขึ้นฝั่งไม่ได้ เรือเขาขึ้นไม่ได้ทั้งหมด แต่สำหรับเรือเราแล้วต้องขึ้นได้ คือเอาขึ้นจนได้ เราเป็นคนแข็งแรง สู้ทุกรูปแบบ เป็นคนจริงจัง ยอมหักแต่ไม่ยอมงอ และไม่เคยยอมแพ้ใครในหน้าที่การงานทั้งปวง”

ขณะที่หลวงปู่เจี๊ยะท่านกำลังเป็นผ้าขาวอยู่ที่สำนักวัดทรายงาม เพื่อเตรียมตัวอุปสมบท ท่านเล่าว่า “คืนหนึ่งตอนเป็นนาคฟังเทศน์ท่านอาจารย์กงมา พอนั่งภาวนาฟังเทศน์ไป จิตอยู่กับคำบริกรรม หูก็ได้ยินเสียงเทศน์ไป คือจิตก็ทำหน้าที่ของมัน หูก็ทำหน้าที่ของมันจนเกิดเป็นสมาธิ แต่ตอนนั้นเราไม่รู้ว่ามันเป็นสมาธิ รวมจนกระทั่งว่าไม่มีตัวตน ตัวตนหายหมดแล้วมาปรากฏภาพนิมิต เห็นตนเองหมอบไปฟุบกับกองทรายอย่างชัดเจน ตัวนี้อ่อนไปหมด ปรากฏว่าในขณะนั้นตัวตนไม่มี จนกระทั่งท่านพระอาจารย์กงมาแสดงธรรมจบลง จึงรู้สึกตัว …”

ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ ที่วัดจันทนาราม ต.จันทนิมิตร อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยมีพระครูครุนาถสมาจาร(เศียร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพัฒน์วิหารการ(เชย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพ่อลี ธัมมธโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในระหว่างที่จำพรรษาที่วัดทรายงาม ได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ในบางคราวได้เดินทางไปศึกษาวัตรปฏิบัติกับท่านพ่อลี ธัมมธโร ที่วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี ในพรรษาที่สองท่านถือเนสัชชิ โดยการไม่นอนตลอดพรรษา
 
ท่านเล่าว่า....เพราะความที่เป็นผู้รักษาสัจจะ สัจจะนั้น จึงเป็นเหมือนโซ่ตรวนคอยรึงรัด กาย จิต เอาไว้ ตายเป็นตาย แต่จะให้สัจจะที่ตั้งไว้ขาดไม่ได้ แม้ร่างกายนี้อะไรจะเสียผุพังไปก็ตาม แต่สัจจะจะเสียไปไม่ได้ เพราะสัจจะที่เราให้ไว้กับตัวเรา เรายังรักษาไม่ได้แล้ว เรายังหวังจะพบธรรมอันประเสริฐ ซึ่งอยู่เหนือสัจจะนั้นได้อย่างไรกัน เมื่อตั้งสัจจะแล้ว เริ่มภาวนาทั้งกลางวันกลางคืน จนในที่สุดเมื่อภาวนาอยู่ไม่หยุดไม่ถอย

อยู่มาวันหนึ่งในพรรษาที่ ๓ มานั่งภาวนาอยู่ใต้ต้นกระบก จิตรวมใหญ่ด้วยกัน หยั่งสติปัญญาลงในกายานุปัสสนา แยกแยะส่วนต่างๆ ของธาตุขันธ์ออกพิจารณาด้วยปัญญาไม่ลดละ คือยกทั้งส่วนรูปกาย ทั้งส่วนเวทนาคือทุกข์ภายใน ทั้งส่วนสัญญาที่หมายกายส่วนต่างๆ ว่าเป็นทุกข์ ทั้งส่วนสังขารตัวปรุงแต่งว่าส่วนนี้เป็นทุกข์ส่วนนั้นเป็นทุกข์ ขึ้นสู่เป้าหมายแห่งการพิจารณาของสติปัญญาผู้ดำเนินงานทำการขุดค้นคลี่คลายอย่างไม่หยุดยั้ง

จิตมีกำลังขึ้นมาอย่างประจักษ์ สามารถคลี่คลายธาตุขันธ์จนรู้แจ้ง ตลอดทั่วถึงด้วยอำนาจแห่งการพิจารณา

การพิจารณากายครั้งนี้ปรากฏประหนึ่งว่าแผ่นดินแผ่นฟ้าละลายหมด กายกับใจนี้มันขาดออกจากกัน เหมือนว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเลย เหลือแต่ความบริสุทธิ์ของใจทีเดียว

เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว จิตนี้มันอาจหาญรื่นเริงในธรรม ไม่กลัวใคร คือว่าไม่กลัวต่อความจริงที่จะต่อสู้และพิจารณา เรียกว่าธรรมทำให้กล้าหาญ เมื่อเป็นสันทิฏฐิกธรรม คือรู้เองเห็นเองโดยเฉพาะตนแล้ว จึงไม่นำไปพูดกับใคร จึงนึกถึงแต่กิตติศัพท์และกิตติคุณของท่านพระอาจารย์มั่น เมื่อภาวนาจิตลงได้อย่างนั้นแล้ว สมบัติใดๆ ในโลกนี้ที่เขานิยมว่ามีค่ามากไม่ได้มีความหมายเลย

ธรรมที่ปรากฏขึ้นในคืนวันนั้นเป็นธรรมสมบัติเหนือรัตนะเงินทองโดยประการทั้งปวง อัศจรรย์ในธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นที่ยิ่ง จิตนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณเลย ถึงกับได้พูดกับคนรักที่เคยได้สัญญากันไว้ก่อนบวชว่าบวชแล้วจะสึกมาแต่งงานกัน แต่เมื่อจิตมันเป็นเช่นนี้  วันหนึ่งออกบิณฑบาต เจอคนที่เคยรักมาใส่บาตร จึงพูดอย่างเด็ดขาดกับเขาว่า “แป้งเอ๋ย ต่อแต่นี้ไปเราจะไม่สึกแล้วนะ”

มุ่งหน้าสู่พ่อแม่ครูอาจารย์ใหญ่มั่น ด้วยความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว
หลังจากออกพรรษาประมาณเดือนธันวาคม ปี พ.ศ.๒๔๘๒ ท่านจึงตัดสินใจเข้าไปลาท่านพระอาจารย์กงมา เพื่อเดินทางไปหาท่านพระอาจารย์มั่นที่เชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์กงมาจึงพูดขึ้นว่า “ท่านเจี๊ยะ พระอย่างท่านจะไปอยู่กับหลวงปู่มั่นได้ยังไง” “ครูอาจารย์ เราตอบขึ้นทันที หลวงปู่มั่นเป็นคน ผมก็เป็นคน ทำไมผมจะไปอยู่กับหลวงปู่มั่นไม่ได้ ถ้าท่านเป็นพระดี ผมไปหาของดีมันจะผิดตรงไหน ก็คนไม่ดีนั่นแหละต้องให้คนดีๆ สอน ถ้าคนอยู่กับคนไม่ได้แล้วคนจะไปอยู่กับใคร” เมื่อพูดอย่างนี้แล้ว ท่านพระอาจารย์กงมาท่านก็นั่งนิ่ง

หลวงปู่เจี๊ยะได้เล่าถึงเรื่องการจากบ้านเกิดเพื่อไปตามท่านพระอาจารย์มั่นต่อว่า หลังจากกราบลาท่านพระอาจารย์กงมาแล้ว จึงไปบอกลาโยมพ่อโยมแม่ และพี่สาว ตลอดจนญาติๆ โยมแม่จึงพูดขึ้นว่า “กินก็เป็นคนกินยาก จะไปได้อย่างไรลูก โยมแม่พูดขึ้นพร้อมทั้งน้ำตา” เพราะในบรรดาลูกๆ พ่อแม่รักเราเป็นที่สุด เราจึงตอบโยมแม่ว่า “โยมแม่ก็มันกินยากฮิ จึงต้องไปแก้ไขให้กินง่ายๆ โอ๊ย! ไม่ต้องเป็นห่วงหรอกนะโยม อาตมาไม่ตายหรอก พูดปลอบเพื่อให้ท่านสบายใจ”…

ท่านเดินทางไปเชียงใหม่กับท่านพระอาจารย์เฟื่อง
เดินธุดงค์ไปทางอำเภอเชียงดาว แล้วออกเดินทางต่อไปจนถึงปางแดง อันเป็นป่าอยู่ในกลางหุบเขา  ออกเดินทางไปตามหุบผาป่าอันสลับซับซ้อน ทะลุถึงอำเภอพร้าว วัดร้างป่าแดง บ้านแม่กลอย นึกรำพึงรำพันถึงท่านพระอาจารย์มั่นเป็นหมื่นๆ ครั้งว่า หลวงปู่มั่นช่วยหน่อย หลวงปู่มั่นช่วยหน่อย เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว ได้ยินว่า ใครๆ เขาก็พูดว่าท่านพระอาจารย์มั่นรู้วาระจิตคนหมด ตอนนี้ผมพระเจี๊ยะ เดินทางมาหา เหนื่อยยากลำบากจะตายอยู่แล้ว ทางก็ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนมาทางไหน หลวงปู่มั่นอยู่ที่ไหน ถ้ารู้ได้ด้วยใจด้วยญาณก็ส่งคนมารับหน่อยเหนื่อยจะตายอยู่แล้ว

เมื่อเดินทางเข้าไปในวัดร้างป่าแดงมีพระรูปหนึ่ง ลักษณะองอาจเป็นเถระ มีรูปร่างเล็กๆ สันฐานสันทัด ผิวดำแดง นั่งห่มจีวรแสดงอาการให้เห็นว่า รอใครบางคนอย่างเห็นได้ชัด นั่งอยู่บนแคร่น้อยๆ ใช้ไม้ไผ่ขัดแตะ เอาหญ้าคามุงกั้นฝาเป็นฟาก หันมาทางที่จะเดินเข้าไป แสดงอาการว่าสนใจในคนที่จะมา แต่ไม่แสดงออกทางคำพูด สังเกตได้ว่าเป็นกริยาที่รับกัน ใจในขณะนั้นน้อมนึกขึ้นมาทันทีว่า นี่แหละหลวงปู่มั่น นึกต่อไปอีกว่าท่านคงรู้วาระจิตของเราเป็นแน่แท้ จึงมานั่งรอ
 
แต่ด้วยอากาศที่หนาวเหน็บเข้าไปภายในนั้น ทำให้เนื้อตัวสั่นเทา เพราะมีแต่เพียงจีวรบางๆ เป็นที่ห่อหุ้มร่างกาย เมื่อตกดึกๆ นอนไม่หลับ จึงเดินเข้าไปหาท่านเฟื่อง ผู้เป็นสหธรรมิก อันเป็นการหยั่งเชิงหมู่เพื่อนว่าจะเป็นไปอย่างไร คิดอย่างไร ด้วยการกระซิบเบาๆ ว่า “เฟื่องโว๊ย! หนาวโว๊ย! กลับบ้านเราดีกว่า” ฝ่ายท่านเฟื่องก็นิ่งเฉย ไม่ตอบแต่อย่างไร พอรุ่งเช้าวันใหม่ จึงเดินออกจากกระท่อมน้อยมาทางหอฉัน เพื่อจะไปจัดแจงศาลาฉัน พอท่านพระอาจารย์มั่นพบเท่านั้นแหละ เหมือนดังว่าสายฟ้าฟาดลงบนกระหม่อมทันที “คนทะลงทะเลไม่มีความอดทน ไปๆ ไม่มีใครอาราธนามาที่นี่“ ท่านพระอาจารย์พูดเสียงดุดัง นัยตาก็กราดกร้าวเหมือนพญาเสือโคร่งตัวใหญ่ อันเป็นกริยาที่หมู่แมวๆ อย่างพวกเราต้องหมอบคลานก้าวขาไม่ออก เรื่องวาระจิตนี่ครูบาอาจารย์มั่นท่านรู้ทุกอย่าง จะพูดจะคิดอะไรอยู่กับท่านต้องระวัง ประมาทไม่ได้เป็นบาปใหญ่ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์

อยู่ต่อมาอีกสองสามวัน ฟันข้างๆ ของท่านพระอาจารย์มั่นจึงหลุด แล้วท่านก็พูดขึ้นว่า “เอ้า! ท่านเจี๊ยะ เอาไป” การที่ท่านพระอาจารย์มั่นมอบฟันให้ ท่านคงรู้ด้วยอนาคตังสญาณว่า เราจะต้องเป็นผู้สร้างเจดีย์บูชาคุณของท่านเป็นแน่แท้”

ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
ท่านพระอาจารย์มั่นจึงได้มอบให้เราไปควบคุมการก่อสร้างเสนาสนะจนแล้วเสร็จ และได้จำพรรษาที่ป่าบ้านโคก ร่วมกับท่านพระอาจารย์มั่นในปีนั้น ท่านพระอาจารย์มหาบัวก็ได้มาร่วมจำพรรษาในปีนั้นด้วย ในระหว่างพรรษาท่านพระอาจารย์มั่นชอบเรียกเราว่าเฒ่าขาเป๋ หรือบางทีท่านก็เรียกว่า “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” ตามแต่ท่านจะพูดจะสอนเพื่อเป็นคติ อยู่มาวันหนึ่งท่านพระอาจารย์มั่นได้พูดถึงหลวงปู่ขาวว่า “หมู่เอ๊ย! ให้รู้จักท่านขาวไว้นะ ท่านขาวนี่เธอได้พิจารณาถึงที่สุดแล้ว”

หลังจากท่านกล่าวชมหลวงปู่ขาวแล้ว ท่านก็หันมาพูดเรื่องเราว่า “เออ! หมู่เอ๊ย! มีหมู่มาเล่าให้เราฟังเรื่องการภาวนาที่เชียงใหม่โว๊ย! เธอปฏิบัติของเธอสามสี่ปี เหมือนเราลงที่นครนายก มันลงเหมือนกันเลย”

ท่านพระอาจารย์มั่นท่านกล่าวย้ำอย่างนั้น “ท่านองค์นี่ภาวนา ๓ ปี เท่ากับเราภาวนา ๒๒ ปี อันนี้มันเกี่ยวเนื่องกับนิสัยวาสนาของคนมันต่างกัน”
 
การที่นำสิ่งที่ครูบาอาจารย์ชมมาเล่า ไม่ได้หมายความว่ายกตนเทียมท่าน แต่การฝึกที่ปฏิบัติเร็วหรือช้านี้ แล้วแต่บุญกรรมและความเพียรของใครของมัน ที่พูดให้ฟังมิได้เทียบกับท่าน แต่นำสิ่งที่ท่านพูดมาพูดให้ฟัง จะได้รู้ว่าเบื้องหลังเราปฏิบัติมายังไง”
 
เมื่อออกพรรษาปี ๒๔๘๕ แล้วท่านก็กราบลาท่านพระอาจารย์มั่น ออกเที่ยวธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงแรกๆ ท่านวนเวียนอยู่ในรัศมีของท่านพระอาจารย์มั่น พักอยู่ที่ป่าช้าบ้านนาสีนวลบ้าง ดอยธรรมเจดีย์บ้าง หนองน้ำเค็มบ้าง เข้าไปทางอุดร อุบล มุกดาหาร บางทีก็เที่ยววิเวกไปตามเทือกเขาภูพาน หรือบางทีท่านก็ข้ามไปฝั่งลาวชั่วระยะกาลที่สะดวก ตามปกตินิสัยของท่านที่ชอบอิสระ และเป็นอิสระเต็มตัวแล้ว ไม่กังวลกับสิ่งใดในโลกแล้ว แต่จะไปที่ใดก็ตามมักจะวนเวียนเข้ามากราบท่านพระอาจารย์มั่น ผู้เป็นเจ้าชีวิต และเป็นผู้ให้ประทีปธรรมแก่ท่าน

เนื่องจากท่านจากภาคตะวันออกอันเป็นบ้านเกิดของท่านมานานเป็นเวลา ๘ ปีแล้ว เฝ้านึกถึงบุญคุณของบิดามารดาอยู่ อยากจะทดแทนคุณของท่านด้วยอรรถด้วยธรรม แทนข้าวน้ำปลาอาหาร ทรัพย์สินเงินทอง ประกอบกับทราบว่าโยมมารดาป่วย จึงเป็นโอกาสดีที่จะกราบโยมมารดา ท่านจึงย้อนกลับมา จ.จันทบุรี
 
หลวงตามหาบัว กับหลวงปู่เจี๊ยะ
“ผู้ที่ละนิสัยวาสนาได้ขาดมีตถาคตองค์เดียว ฟังซินะ ตถาคตองค์เดียว นอกนั้นเป็นนิสัยของตัวเองทุกคน”

ปี พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๐๖ ท่านพระอาจารย์เจี๊ยะได้ไปจำพรรษากับหลวงตามหาบัวที่วัดป่าบ้านตาด ไปช่วยหลวงตาปลูกต้นไม้ ดูแลเรื่องป่า ตลอดจนสร้างเสนาสนะในยุคแรกเริ่ม

ท่านหลวงตามหาบัวได้เล่าความตอนหนึ่งถึงหลวงปู่เจี๊ยะไว้ว่า “ท่านพระอาจารย์เจี๊ยะเป็นพระดีมากนะ บริขารของหลวงปู่มั่น ท่านพระอาจารย์เจี๊ยะนี่เองเป็นผู้รักษาเป็นประจำนะ ตั้งแต่ไหนแต่ไรนะ อุ๊ย! ท่านละเอียดละออมากนะ ไม่ว่าจะเป็นอะไรๆ ของหลวงปู่มั่นแล้ว ใครไปแตะไม่ได้นะ ท่านเรียบร้อยหมดทุกอย่าง ท่านเป็นพระที่ละเอียดละออมาก

พูดเรื่องภายในเป็น “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” คือกริยาภายนอกของท่านไม่น่าดูนะ แต่กริยาภายในของท่านน่าดูมากนะ คนเราแต่ละคนๆ นิสัยไม่เหมือนกัน แม้มาบวชแล้ว นิสัยนั้นไม่ได้บวชด้วยนะ บวชแต่เพศ เช่น โกนผม ครองผ้า ครองกริยาการเคลื่อนไหวไปมาตามหลักธรรม หลักวินัย อันนี้ตายตัวเหมือนกัน เคลื่อนอย่างอื่นไม่ได้นะ เคลื่อนไปตามหลักธรรม หลักวินัย ให้ถูกต้อง ถูกต้องไปตามหลักธรรม หลักวินัย แต่กริยานิสัยที่เป็นไปตามนิสัยเดิมของตนซึ่งไม่ผิดธรรมวินัย อย่างนี้ แล้วแต่ใครจะใช้ไปตามนิสัยของตน อันนี้แก้ไม่ได้

พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงแสดงไว้ว่า ผู้ที่ละนิสัยวาสนาได้ขาดมีตถาคตองค์เดียว ฟังซินะ ตถาคตองค์เดียว นอกนั้นเป็นนิสัยของตัวเองทุกคน จำไว้ว่านิสัยคือไม่ได้กระเทือนถึงธรรมถึงวินัย เป็นกริยาความเคยชินของแต่ละรายๆ แสดงออกเองไม่ผิดธรรมผิดวินัยนั้น เรียกว่านิสัยอย่างหลวงปู่เจี๊ยะ นี่ ท่านก็เป็นนิสัยบ๊งๆ เบ๊งๆ นี่เรียกว่าเป็นนิสัย อันนี้อันหนึ่งนะ แต่ภายในของท่านดีนะ เพราะเคยอยู่ด้วยกันมาแล้วนี่ ภายในของท่านดี ภายนอกของท่านเป็นอย่างนี้แหละ ผ้าขี้ริ้วห่อทอง เหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทอง ใครจะไปยึดกริยามารยาทภายนอก มากกว่าภายใน ซึ่งเป็นของสำคัญ จะทำให้เสีย เสียได้ในหัวใจของผู้ไปคิดนั่นแหละ ภายในของท่านดี นิสัยของท่าน บ๊งๆ เบ๊งๆ อย่างงั้น ดีภายใน

นี่แหละ เราถึงได้เตือนเสมอ เรื่องภายในกับภายนอกมันไม่เหมือนกัน คือนิสัยท่านละเอียดภายในนะ แต่กริยาภายนอกของท่านเป็นอย่างนั้น คือท่านเคยอยู่ร่วมกับเรามานาน มันรู้เรื่องกันดี อาจารย์เจี๊ยะนี่ เพราะฉะนั้นจึงว่า “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” เราจึงบอกว่าภายในท่านละเอียดละออตรงไปตรงมานี่ หนึ่ง และละเอียดละออทุกอย่าง ไม่งั้นแล้วท่านจะเข้าไปหาพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นไม่ได้ง่ายๆ นะ กริยาอย่างนี้จะเข้าไปหาท่านไม่ได้ พูดง่ายๆ นะ แต่ทำไมถึงสนิทกันเหมือนพ่อกับลูกเลย

อาจารย์เจี๊ยะกับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น เวลาเข้าหากันนี้เหมือนพ่อกับลูก กริยา บ๊งเบ๊งๆ อย่างนี้ ธรรมดาเข้าหาท่านไม่ได้นะ แต่ทำไมท่านอาจารย์เจี๊ยะ จึงเข้ากับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นได้สนิทนัก”

ก่อนละสังขารและปัจฉิมทัศนาการ...การเห็นกันครั้งสุดท้าย
ในบั้นปลายชีวิตของท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท นั้น ท่านมีร่างกายที่งอมระงมด้วยอาพาธ จวบจนเมื่อใกล้ถึงระยะสุดท้ายที่ท่านจะลาสังสารนี้ไป วันที่หลวงปู่เจี๊ยะจะเข้าโรงพยาบาลศิริราชเป็นครั้งสุดท้ายนั้น หลวงตามหาบัว ท่านได้เดินทางไปเยี่ยมดูอาการป่วยของท่านที่วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม ในวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ท่านได้เข้าไปดูภายในภูริทัตตเจดีย์ ได้เทศนาถึงความรักความเมตตาที่ท่านพระอาจารย์มั่นมีต่อหลวงปู่เจี๊ยะ และกล่าวชมสรรเสริญภูมิจิตภูมิธรรมของหลวงปู่เจี๊ยะเป็นอเนกปริยาย

หลังจากท่านเข้าชมภูริทัตตเจดีย์แล้ว ท่านจึงเดินทางมาที่กุฏิที่หลวงปู่เจี๊ยะ พักอาพาธอยู่ ได้ทักทายพร้อมกับลูบที่มือกล่าวว่า “หลวงตาบัวมาเยี่ยม”

“เราไม่พูดอะไรมากแหละ เพราะจะเป็นการรบกวนท่าน” แล้วท่านอาจารย์บัวจึงนั่งลงบนเก้าอี้ข้างเตียงและได้เทศนาธรรมให้ประชาชนญาติโยมที่ติดตามมาเป็นจำนวนมาก ในหัวข้อเรื่องว่า “พระอรหันต์ละสังขาร”ประหนึ่งจะเป็นเครื่องหมายเตือนสานุศิษย์ให้ได้ทราบล่วงหน้าว่า คราวนี้เป็นคราวสุดท้ายของหลวงปู่เจี๊ยะแล้ว สังขารที่แบกหามมานานถึงกาลที่จะต้องทิ้งกันไปแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหลวงตาจะมา หลวงปู่เจี๊ยะ ท่านจะมีอาการไอไม่หยุด เมื่อหลวงตามาถึงเท่านั้นแหละอาการไอที่โหมกระหน่ำอย่างรุนแรงนั้น ประหนึ่งว่าไม่เคยไอเลย หลวงปู่ท่านนอนนิ่งแสดงคารวะธรรมที่หลวงตามาเยี่ยมเป็นกิริยาแสดงความเคารพยิ่งแม้ในขณะที่ป่วย แม้หลวงตาจะเทศน์นานเท่าใด ท่านก็ไม่ไอเลยแม้แต่ครั้งเดียว

ธรรมเทศนาที่พระอาจารย์บัวแสดง มีเรื่องพระสารีบุตรปรินิพพาน และท่านสรุปด้วยเรื่องพระอรหันต์ละสังขาร ใจความโดยย่อว่า “พระอรหันต์ท่านหมดกิเลสทุกอย่างแล้ว ก็มีแต่ความรับผิดชอบในธาตุขันธ์ ไม่ได้เป็นในหัวใจท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว เรียกว่าท่านรับผิดชอบตั้งแต่ท่านบรรลุธรรมตรัสรู้ธรรมแล้ว จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของลมหายใจขาด ท่านก็ปล่อยเลย พระอรหันต์กับธาตุขันธ์มีความรับผิดชอบเสมอกันกับโลกทั่วๆไป เป็นแต่เพียงท่านไม่ยึด เช่นเดินไปกำลังจะเหยียบรากไม้แต่คิดว่านั่นเป็นงู ท่านก็ต้องมีการกระโดดข้ามหรือหลบเป็นธรรมดา หรือท่านจะลื่นหกล้ม ท่านก็พยายามช่วยตัวเองไม่ให้ล้ม ต่างกันกับคนทั่วๆ ไปตรงที่ว่า คนทั่วไปจิตใจร้อนวูบๆ เพราะอุปาทานยึดมั่น ส่วนจิตพระอรหันต์ท่านเพียงแต่แย็บเท่านั้น ต่างกันตรงนั้น”

เมื่อท่านอาจารย์บัวเทศนาธรรมจบเวลา ๑๔.๐๐ น. ท่านจึงลุกขึ้นมองหลวงปูเจี๊ยะอย่างเพ่งพินิจสุขุม กล่าวคำบอกลาว่า “ผมกลับก่อนนะ” คำนี้เป็นคำสั่งลากันครั้งสุดท้ายของพระมหาเถระทั้งสอง หลังจากหลวงตากลับไป ๒ ชั่วโมง อาการป่วยของหลวงปู่เจี๊ยะก็กำเริบทรุดหนัก มีไข้สูง หอบเหนื่อย พระคิลานุปัฏฐากได้ติดต่อพระอาจารย์เขียวเพื่อคิดต่อรถพยาบาลโดยด่วน

เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. แพทย์ผู้ดูแลได้ช่วยกันดำเนินการรับหลวงปู่ไว้ในหอผู้ป่วยวิกฤต ผลเอ็กซ์เรย์ปอดพบมีสารน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา แพทย์ที่หอผู้ป่วยวิกฤตระบบทางเดินหายใจได้ทำการใส่ท่อช่วยระบายเลือดออกจากช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา ได้น้ำปนเลือดประมาณ ๑,๔๐๐ ซีซี และได้ตรวจพบเซลล์มะเร็งในน้ำปนเลือดจากช่องเยื่อหุ้มปอด คณะแพทย์ผู้รักษาได้ตัดสินใจไม่ถวายยาต้านมะเร็งเนื่องจากประเมินแล้วว่า สภาพร่างกายของท่านคงรับกับภาวะแทรกซ้อนของยาไม่ได้ จึงถวายการรักษาตามอาการเพื่อให้ท่านมีทุกขเวทนาทางกายน้อยที่สุด

ในอดีตแม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเข้าสู่มหาปรินิพพานสังขารอันเหมือนเกวียนเก่าชำรุดที่ต้องใช้ไม้กระหนาบค้ำไว้เพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้นั้น บัดนี้ถึงวาระต้องปล่อยไป ทุกอย่างมีเกิดขึ้นย่อมมีสิ้นสุดลง ท่านพระอาจารย์บัว ญาณสัมปันโน ได้มาเยี่ยมพระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท เป็นการพบกันครั้งสุดท้ายในร่างสมมติของดอกบัวคู่งามแห่งวงศ์กรรมฐาน

การลาสังสาร
วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ก่อนมรณภาพเพียง ๓ วัน เกิดเหตุอัศจรรย์ที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอย่างมาก หลวงปู่เจี๊ยะ มีฉวีวรรณผ่องใส แสดงท่าทางอาจหาญ พูดจาเสียงดังฟังชัดเป็นประหนึ่งว่า ไม่เคยป่วยเป็นเวลามานานปี วันนั้นท่านเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต ตั้งแต่เริ่มต้นจนวาระสุดท้าย แม้เรื่องเบ็ดเตล็ดเล็กน้อย เช่น เรื่องแฟนสาวที่เคยรักสมัยเป็นหนุ่ม เรื่องญาติพี่น้อง บิดามารดา ฯลฯ สรุปท้ายสุด ท่านพูดสั้นๆ แต่ตะโกนด้วยเสียงดังลั่นว่า “พระเจี๊ยะตายแล้วๆ ๆ”ตายจากสมมุติบัญญัติ เป็นประหนึ่งวาจาศักดิ์สิทธิ์ ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวลาโลก ซึ่งระงมปนเปื้อนเต็มไปด้วยความทุกข์เดือดร้อนนานาประการ พูดอย่างเป็นภาษาธรรมะก็คือ ปลงอายุสังขาร ที่แบกหามทุกข์ทรมานมานานปี บัดนี้ อีก ๓ วันข้างหน้า ภาระทั้งปวงจะต้องถูกทอดทิ้งแล้ว เหลือแต่ธรรมะที่เลิศเลอภายในใจเพียงเท่านั้น

วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗ หลวงปู่เจี๊ยะ เริ่มมีอาการเหนื่อยมากและออกซิเจนในเลือดลดลง ได้ทำการเอ็กซ์เรย์ปอดพบว่า มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดจำนวนมากทั้งสองข้าง แพทย์ได้ทำการเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด และดูดน้ำปนเลือดออกมาข้างละประมาณ ๘๐๐ ซีซี หลังจากนั้นอาการเหนื่อยของท่านลดลง ต่อมาเวลาประมาณ ๒๒.๕๕ น. หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ก็ได้ละขันธ์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานด้วยความสงบและอาจหาญในธรรม สิริอายุรวมได้ ๘๘ ปี ๒ เดือน ๑๗ วัน ๖๘ พรรษา


ขอขอบคุณที่มา : เพจพระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 สิงหาคม 2564 20:02:00 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2564 20:49:08 »


หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ

อาจาริยบูชา อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ
วัดสังฆทาน บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
๒๔ สิงหาคม

วันนี้ ๒๔ สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ  ครบรอบปีที่ ๙

หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสังฆทาน บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งวัดสังฆทานนี้ยังได้แยกสาขาออกไปเพื่อเผยแผ่ธรรมะตามวัดในจังหวัดต่างๆ และตามถ้ำต่างๆ รวมแล้วประมาณ ๔๒-๔๓ แห่งทั่วประเทศ และในต่างประเทศอีก ๕ สาขา ได้แก่วัดสันติวงศาราม (เดิมชื่อ วัดสังฆทาน) เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ, วัดอนันทะวิหาร เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) และวัดสังฆทาน ไทย-เยอรมัน เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ฯลฯ

หลวงพ่อสนองท่านยังมีเมตตาธรรมสงเคราะห์พระภิกษุ-สามเณร แม่ชี และฆราวาส ผู้ที่ได้รับทุกขเวทนาทางร่างกาย มีปัญหาด้านสุขภาพ และผู้ด้อยโอกาส โดยการจัดสร้าง โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยเพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์วิถีไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งยังสนับสนุนและส่งเสริมให้อุบาสก อุบาสิกา สาธุชนทั่วไป ได้ใช้วัดเป็นสถานที่เพื่อประโยชน์ในการศึกษาธรรม ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และให้โอกาสทุกท่านที่สนใจบวชเนกขัมมะที่วัดสังฆทานได้ทุกวัน และมีการปฎิบัติธรรมตลอดรุ่งทุกวันเสาร์และวันพระ โดยจะมีพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผลัดเปลี่ยนกันมาสอนปฏิบัติธรรมกรรมฐานกระทั่งจนถึงเวลาทำวัตรเช้า

อัตชีวประวัติหลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ ท่านเป็นพระนักเผยแผ่ธรรมและพระนักปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐานชื่อดัง มีนามเดิมว่า สนอง โพธิ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๗ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ (๔ ฯ ๕) ปีวอก จ.ศ.๑๓๐๕ ณ ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ซึ่งในวันที่ท่านเกิดนั้นได้เกิดสิ่งอัศจรรย์ คือ มีลูกเห็บตกลงมาจากท้องฟ้า ซึ่งผู้คนในบ้านต่างตื่นเต้นยินดี และคิดว่าเด็กที่เกิดในวันนี้ต้องเป็นผู้มีบุญมาเกิดแน่นอน จึงจัดหาพานมารับเด็กที่พึ่งคลอด และขนานนามเด็กชายคนนี้ว่า สนอง โยมบิดาชื่อ นายเอม โพธิ์สุวรรณ (ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีนามฉายาว่า อริยวํโส) โยมมารดาชื่อ นางแม้น โพธิ์สุวรรณ (ต่อมาได้ถือศีลออกบวชเป็นแม่ชี) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๗

ครั้นเมื่ออายุประมาณ ๑๕ ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดไชนาวาส ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี แล้วมีโอกาสศึกษาบาลีนักธรรมอยู่ ๒ ปี จนสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี  ครั้นอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์  ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๗ ณ พัทธสีมาวัดดอนไร่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี โดยมี พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต) วัดดอนไร่ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระบุญทรง วัดหนองไผ่ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระบุญยก วัดดอนไร่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “กตปุญฺโญ” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีบุญอันได้กระทำแล้ว, ผู้ทำบุญไว้แล้วแต่ปางก่อน” ท่านอุปสมบทได้เพียงพรรษาเดียวก็เริ่มออกเดินธุดงค์ไปทางภาคอีสาน

ลำดับการจำพรรษา พรรษาที่ ๑ พ.ศ.๒๕๐๗ วัดหนองไผ่ ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี : หลังจากที่อุปสมบทแล้ว หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ ได้ประพฤติปฏิบัติตามศีลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะข้อ ๑๐ (ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี) คือ เจตนาเว้นจากการรับเงินทองหรือยินดีในเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ท่านออกธุดงค์ประมาณ ๗ เดือน ได้ข่าวโยมมารดามาบวชชี ณ วัดทุ่งสามัคคีธรรม ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี จึงรีบเดินทางมาพบโยมมารดาด้วยความปีติดีใจ และได้พบหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อสังวาลย์ได้แนะนำให้หลวงพ่อสนองเข้าห้องกรรมฐานบ่มอินทรีย์ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ณ ป่าช้าวัดหนองไผ่ เช่นเดียวกับที่ท่านเคยปฏิบัติที่ป่าช้าวัดบ้านทึง โดยสมาทานไม่พูด ไม่เขียน (พูดเขียนได้แต่เฉพาะกับหลวงพ่อสังวาลย์รูปเดียวเท่านั้น) และได้สมาทานธุดงค์ ๗ ข้อคือ

(๑) เตจีวริกังคะ ถือเพียงไตรจีวรเป็นวัตร
(๒) เอกาสนิกังคะ ถือนั่งฉันเพียงอาสนะเดียวเป็นวัตร
(๓) ปัตตปิณฑิกังคะ ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกินหนึ่งอย่างคือบาตร
(๔) ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร แม้อาหารที่ถวายภายหลังจะประณีตกว่า
(๕) โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
(๖) ยถาสันถติกังคะ ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้เป็นวัตร
(๗) เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร เว้นการนอน อยู่ได้เพียง ๓ อิริยาบถ
(เฉพาะธุดงควัตร ข้อ ๗ นี้ เริ่มปฏิบัติหลังจากอยู่ป่าช้าแล้ว ๓ เดือนแล้วถือมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๓๒ เมื่อโยมมารดาถึงแก่กรรม จึงได้เลิกเนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย)

พรรษาที่ ๒-๔ พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๐ ป่าช้าวัดหนองไผ่ ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี : การปฏิบัติในป่าช้า หลวงพ่อสังวาลย์จะมาสอบอารมณ์กรรมฐานหลวงพ่อสนอง ๑ เดือน หรือ ๒ เดือน ต่อครั้ง ผลการปฏิบัติในป่าช้าทำให้ท่านเชื่อในนรกสวรรค์ เชื่อว่ามรรคผลนิพพานมีจริง หลวงพ่อสังวาลย์กล่าวชมหลวงพ่อสนองว่าเป็น พระภิกษุสุวโจ คือเป็นคนที่ว่าง่าย สอนง่าย ไม่ดื้อ ไม่รั้น สอนอะไรก็ทำตามได้หมด

พรรษาที่ ๕-๖ พ.ศ.๒๕๑๑-๒๕๑๒  สำนักป่าพุทธอุทยานเขาถ้ำหมี (วัดเขาถ้ำหมี) ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี : หลังจาก ๓ ปีผ่านไป หลวงพ่อสนองขออนุญาตหลวงพ่อสังวาลย์ออกจากห้องกรรมฐาน หลวงพ่อสังวาลย์เห็นสมควรแล้วจึงอนุญาต และได้พูดถึงความดีของพระสงฆ์ให้ฟัง ต่อมาหลวงพ่อสนองได้กราบลาหลวงพ่อสังวาลย์เพื่อออกธุดงค์หาที่สงบวิเวกและเที่ยวชมวัดร้าง โดยไม่คิดที่จะเป็นครูบาอาจารย์สอนใคร แต่หลวงพ่อสังวาลย์คิดว่าพระรูปนี้ต่อไปจะต้องสั่งสอนคนแน่นอน จึงมอบกลดของท่านที่หลวงพ่อเกลื่อนทำถวาย ซึ่งหลวงพ่อสังวาลย์ใช้เดินธุดงค์เป็นเวลาหลายปีให้กับหลวงพ่อสนอง การเดินธุดงค์ของหลวงพ่อสนองจะเดินไปตลอด ไม่ยอมขึ้นรถ เมื่อพบคนไม่มีรองเท้าก็ถอดให้ ตัวท่านเองจะเดินเท้าเปล่า

ปี พ.ศ.๒๕๑๑ วัดร้างวัดแรกที่ท่านมาชมโดยมิได้ตั้งใจคือ วัดสังฆทาน ร้างอยู่กลางสวน มีเพียงองค์หลวงพ่อโตกับศาลาไม้มุงสังกะสีเก่าๆ และฐานอิฐเก่าๆ บนที่ไร่เศษ สถานที่สงบเย็น ร่มรื่น เหมาะกับการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อสนองพิจารณาแล้วคิดสร้างวัดสังฆทานให้เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักธุดงคกรรมฐาน เพราะที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้แหล่งรวมของผู้มีปัญญาและกำลังซึ่งจะเป็นกำลังของพระศาสนาได้ดี แต่ขณะนั้นตัวท่านคิดว่าตนเองยังมีบารมีไม่เพียงพอที่จะเป็นผู้นำที่นี่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น การจะเข้ามาทำอะไรนั้นทำได้ยาก จะต้องให้เขาเห็นดี ให้เขาเข้าใจ เพราะเป็นการเผยแผ่ธรรมะให้กับผู้มีปัญญา ท่านจึงตั้งใจธุดงค์กลับไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำพุข่อย จ.สุพรรณบุรี แต่มีเหตุให้ต้นไม้ล้มขวางเส้นทางลบหายไปหมด ท่านจึงเดินย้อนมาอีกทางก็มาพบเขาถ้ำหมี จึงเปลี่ยนใจปฏิบัติธรรมที่เขาถ้ำหมี จ.สุพรรณบุรี และถ้ำกระเปาะ จ.ชุมพร อีกเป็นเวลา ๖ ปี โดยท่านได้ฝึกกสิณดินและกสิณไฟ ได้ดวงกสิณดินที่ถ้ำหมีนั่นเอง

พรรษาที ๗-๙ พ.ศ.๒๕๑๓-๒๕๑๕ ถ้ำกะเปาะ ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร : หลวงพ่อสนองเดินทางมาที่ถ้ำกะเปาะ พิจารณาแล้วว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการฝึกปฏิบัติของพระสงฆ์มาก แต่มีไข้มาลาเรียชุกชุม ที่นี่หลวงพ่อได้มาฝึกกสิณน้ำ กสิณลม ส่วนกสิณไฟได้มาฝึกต่ออีกครั้งจนเกิดดวงกสิณ การเผยแผ่ธรรมในช่วงนี้จะมีเพียงเล็กน้อย มีญาติโยมมาฝึกสมาธิบ้าง ที่ถ้ำกะเปาะมีเหตุการณ์ที่สนุกประทับใจหลายเรื่อง มีพระที่ตามไปปฏิบัติธรรมกับท่านคือ หลวงพ่อประทีป สมฺปุณฺโณ ต่อมาหลวงพ่อได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดต้นตาลโตน ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ท่านมรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔

พรรษาที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๑๖ สำนักป่าพุทธอุทยานเขาถ้ำหมี (วัดเขาถ้ำหมี) ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี : หลวงพ่อสนองเดินทางกลับมาที่ถ้ำหมีอีกครั้งเพื่อมาโปรดญาติโยมและสร้างโรงเรียน มีญาติโยมศรัทธามาปฏิบัติเป็นประจำ ในวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนยอดเขาและได้ก้าวพลาดตกลงมา หลังกระแทกกับหินทำให้กระดูกที่หลังแตก จากนั้นเป็นต้นมาท่านจะปวดหลังตลอดเวลา ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน ปวดจนเป็นปกติ เวลานั่งสอนสมาธิก็จะเจ็บปวด ขาทั้งสองจะชามาก ท่านไม่ได้ให้หมอรักษา แต่ใช้ความอดทนข่มความเจ็บปวดเนื่องจากไม่ต้องการให้ใครทราบและเป็นห่วง โดยเฉพาะโยมมารดาซึ่งขณะนั้นเป็นแม่ชีอยู่ที่วัดสังฆทาน แต่หลังจากโยมมารดาถึงแก่กรรม (พ.ศ.๒๕๓๒) ท่านจึงได้เล่าให้ญาติโยมฟังและไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ

พรรษาที่ ๑๑-๒๔ พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๓๐ วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี : หลังจากที่ฝึกกสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม และกสิณไฟ เป็นเวลาทั้งหมด ๖ ปี หลวงพ่อสนองจึงเดินทางกลับมาวัดสังฆทานอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๑๗ เพื่อจำพรรษาร่วมกับพระสงฆ์อีก ๕ รูป ด้วยข้อวัตรปฏิปทาตามหลักธุดงคกรรมฐาน ชาวบ้านบางคนตั้งข้อหาท่านว่าเป็นพระคอมมิวนิสต์ สภาพความเป็นอยู่จึงยากลำบาก ถูกข่มขู่ด้วยปืนและการปาระเบิด บิณฑบาตเกือบไม่ได้ เมื่อนำอาหารมาเทรวมกันก็มีจำนวนน้อยมาก พระสงฆ์ทุกรูปไม่ยอมตักอาหารใส่บาตร หลวงพ่อต้องเป็นผู้ตักใส่บาตรให้ น้ำดื่มต้องตักจากบ่อเก่ามาต้มฉัน ไม่มีน้ำปานะ ไม่มีไฟฟ้า หลังจากนั้นก็มีพระเณรตามมาอีก แต่ต่อมาก็หนีกลับเพราะบิณฑบาตแล้วไม่พอฉัน

ช่วงนี้ท่านใช้หลักการเผยแผ่ธรรมด้วยความสงบด้วยการปฏิบัติ ท่านเล่าว่ามีนิมิตเกิดขึ้น คือ หมีเดินเข้ามาหา ต่อมาหมีก็กลายเป็นหมู จากหมูก็กลายเป็นเณรมานั่งตักท่าน นโยบายของท่านเริ่มต้นด้วยการสร้างบุคลากรโดยมุ่งฝึกฝนพระสงฆ์ที่มาบวช พระสงฆ์ที่จะออกมาทำงานให้กับสังคมต้องเก็บตัวปฏิบัติก่อน จนกว่าจะมีธรรมะและสามารถนำธรรมะมาใช้ได้ จึงจะให้ออกมาทำงาน

ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้เดินทางไปกราบหลวงปู่สงฆ์ พรหมสโร ณ วัดอาวุธวิกสิตาราม แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ปรารภถึงสถานที่ปฏิบัติธรรม พิจารณาเห็นว่าวัดร้างกลางสวนบริเวณ ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี มีพระพุทธรูปใหญ่เป็นพระประธาน (องค์หลวงพ่อโต) มีความเป็นสัปปายะอันหาได้ยาก ทั้งบริเวณตั้งอยู่ใกล้เมืองหลวง จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์และขอพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งเป็นวัดสังฆทาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒

ปี พ.ศ.๒๕๑๘ หลวงพ่อสนองไปรับพระอาจารย์พลอย เตชพโล แห่งวัดเขาภูคา ต.หัวหวาย อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ มาช่วยเป็นหัวหน้าช่างในการบูรณะองค์หลวงพ่อโต พร้อมพระเณรประมาณ ๑๐ กว่ารูป รวมทั้งชาวบ้านญาติโยม การบูรณะที่แขนชำรุดมากต้องเอาแป๊บน้ำใส่แล้วโบกปูนทับ ส่วนที่ใดเนื้อปูนยุ่ยก็ขูดออกแล้วโบกปูนทับ นำปูนเก่ามาผสมปั้นเป็นหลวงพ่อสังกัจจายน์ (พระมหากัจจายนะ)

ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ท่านได้ก่อตั้ง มูลนิธิพุทธอเนกประสงค์ วัดสังฆทาน ขึ้นเพื่อช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาและช่วยหมู่คณะได้ดีขึ้น มูลนิธิฯ จะเป็นตัวแทนของท่านในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่านได้ดำเนินไปในนามของมูลนิธิฯ เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของมวลมนุษย์ชาติด้วยความเมตตา

พรรษาที่ ๒๕ พ.ศ.๒๕๓๑ วัดสันติวงศาราม (วัดสังฆทาน) เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ : หลวงพ่อสนองได้เดินทางไปจำพรรษา ณ วัดสันติวงศาราม (เดิมชื่อ วัดสังฆทาน) เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ โดยขณะนั้นมีพระสุรชัย อภิชโย (ปัจจุบันลาสิกขาแล้ว) เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อพยายามฝึกฝนเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะใช้สอนสมาธิและอธิบายธรรมะให้กับชาวต่างชาติ เพราะต่อไปเมืองไทยจะมีชาวต่างชาติมาศึกษาฝึกสมาธิกันเป็นจำนวนมาก และจะกลายเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับชาวต่างชาติทั่วโลก ที่ประเทศอังกฤษมีญาติโยมคนไทยมาฝึกสมาธิและทำบุญประมาณ ๕๐๐ ครอบครัว

พรรษาที่ ๒๖-๓๔ พ.ศ.๒๕๓๒-๒๕๔๐ วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี : หลวงพ่อสนองกลับมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี หลังจากที่ได้วางรากฐานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักธุดงคกรรมฐานที่ประเทศอังกฤษแล้ว
 
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ แม่ชีแม้น โพธิ์สุวรรณ (มารดาของหลวงพ่อสนอง) ได้ถึงแก่กรรม

ปี พ.ศ.๒๕๓๔ หลวงปู่เอม อริยวํโส สิริอายุรวมได้ ๙๔ ปี พรรษา ๓๔ (บิดาของหลวงพ่อสนอง) ได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๔

ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หลวงพ่อสนองสร้างสำนักสงฆ์เขายายแสง ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

พรรษาที่ ๓๕-๔๒ พ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๘ วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา : หลวงพ่อสนองได้เปลี่ยนชื่อและยกฐานะขึ้นเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายจาก สำนักสงฆ์เขายายแสง เป็น “วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม” ท่านมีดำริให้วัดแห่งนี้เป็น สถานที่ปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าคอร์สฝึกสมาธิตามหลักสติปัฏฐาน ๔ สำหรับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติสำหรับรับรองชาวต่างประเทศโดยเฉพาะ ท่านได้มอบหมายให้แม่ชีชาวออสเตรียเป็นผู้ดูแลให้ความสะดวกในด้านการปฏิบัติกับชาวต่างประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศนั้น แต่เดิมเป็นภูเขาแห้งแล้งและป่าเสื่อมโทรมเชื่อมต่อเป็นทิว มีถ้ำมากมาย แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นป่าที่สมบูรณ์ร่มรื่น มีอุโบสถเป็นถ้ำ มีกุฏิพระสงฆ์เรียงรายตามไหล่เขา เป็นสถานที่อันสัปปายะเหมาะสมกับผู้ที่มาแสวงหาความสงบทางจิตใจ ตั้งแต่พื้นที่ราบเชิงเขาเลียบเลาะไหล่เขาขึ้นไปตามลำดับ พื้นที่โดยรอบเขามีการปลูกป่าต้นกฤษณาและสมุนไพรที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก ผืนป่าอันสงบเงียบ สงบเย็น มีอากาศหนาวเย็นสบายแห่งนี้ จึงเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งในการใช้เพื่อรักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจ พื้นที่ของวัดตั้งอยู่ติดกับ “บ้านสว่างใจ” ใกล้กับเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

พรรษาที่ ๔๓-๔๔ พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๐ สำนักป่าปฏิบัติธรรมวังน้ำเขียว ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

พรรษาที่ ๔๕ พ.ศ.๒๕๕๑ พรรษาที่ ๔๖ พ.ศ.๒๕๕๒ ที่พักสงฆ์เขารามโกฏิ เมืองกาฐมัณฑุประเทศเนปาล : หลวงพ่อสนองได้ไปโปรดชาวเนปาล จำพรรษาอยู่ ณ ที่พักสงฆ์เขารามโกฏิ เมืองกาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล

พรรษาที่ ๔๗ พ.ศ.๒๕๕๓ วัดสังฆทาน ไทย-เยอรมัน กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน : หลวงพ่อสนองไปจำพรรษาอยู่ ณ
วัดสังฆทาน ไทย-เยอรมัน (Wat Sanghathan Thai-German) กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน

พรรษาที่ ๔๘ พ.ศ.๒๕๕๔ พรรษาที่ ๔๙ พ.ศ.๒๕๕๕ ศูนย์ปฏิบัติธรรมกตปุญโญ ต.ปากน้ำ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

การอาพาธและการมรณภาพ
ช่วงบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ ท่านมีอาการอาพาธบ่อยครั้ง เป็นทั้งโรคไต โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ กระทั่งในที่สุดเมื่อเวลาประมาณ ๒๑.๓๙ น. ของคืนวันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ หลวงพ่อสนองได้ละสังขารด้วยอาการสงบ ด้วยโรคไตวายและโรคหัวใจ ในระหว่างกำลังจำพรรษาอยู่ ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมกตปุญโญ (สวนธรรมกิจสุนทร) ต.ปากน้ำ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ซึ่งองค์หลวงพ่อท่านได้ลงไปพำนักจำพรรษาอยู่ในปีนี้ สิริรวมอายุได้ ๖๘ ปี ๔ เดือน พรรษา ๔๘ ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยเป็นยิ่งนัก

ของบรรดาคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และสาธุชนทั่วไป แม้ว่าหลวงพ่อสนองจะละสังขารลาโลกไปแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดี คุโณปการยิ่งที่ท่านมีต่อพระพุทธศาสนาและมวลมนุษย์ชาติ จะเป็นเครื่องเตือนใจให้บรรดาศิษยานุศิษย์ได้จดจำมิลืมเลือน


ขอขอบคุณที่มา : เพจพระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 สิงหาคม 2564 20:51:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2564 20:48:56 »


หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ​

อาจาริยบูชา อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ​
วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
๒๐ สิงหาคม

๒๐ สิงหาคม เป็นวันครบ ๑๒๒ ปี ชาตกาล ขององค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ​

วันที่ ๒๐​ สิงหาคม​ ๒๕๖๔​ รำลึก ๑๒๒ ปี ชาตกาล วันคล้ายวันเกิดขององค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ​อาจาริยบูชาคุณ “พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตเหนือฟ้าดิน” แห่งวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่ฝั้น ท่านเป็นคนเรียบร้อย อ่อนโยน สุขุมเยือกเย็น ท่านปรารภความเพียรแรงกล้าเด็ดเดี่ยวไปตามภูผาป่าเขาเพียงลำพัง แสวงหาความสงบวิเวก ยินดีต่อความสงบ มักน้อยสันโดษ พอใจในปัจจัยสี่ที่ตนมีอยู่แล้วได้มาโดยชอบธรรม เป็นนักต่อสู้เพื่อเอาชนะกิเลส หลวงปู่ฝั้น ท่านมีความเคารพเลื่อมใส ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตอย่างถึงใจ ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีเวลาหลับนอน จนจิตใจของท่านมีกำลังกล้าเป็น "ธรรมดวงเดียว" ไม่เกาะเกี่ยวกับอะไรๆ ทั้งสิ้น

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านมีพลังจิตสูง หาผู้เสมอเหมือนได้ยาก กล่าวคือ

๑.สามารถเรียกฟ้าฝนได้เป็นที่อัศจรรย์ เหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ ชาวสกลนคร เกิดทุพภิกขภัยอย่างหนัก ฝนฟ้าไม่ตก จึงเข้าไปขอฝนกับองค์ท่าน ท่านพระอาจารย์ฝั้นนั่งสมาธิบนลานกลางแจ้งครึ่งชั่วโมง ท้องฟ้าที่มีแดดจ้า พลันมีเสียงฟ้าร้องคำราม เกิดมีก้อนเมฆบดบังแสงอาทิตย์ มีฝนเทลงมาอย่างหนักถึง ๓ ชั่วโมง ปีนั้นฝนตกตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ทำนาตามปกติทั่วถึง

๒.ช่วงที่องค์ท่านสร้างวัด ต้องมีการระเบิดหิน หากหลวงปู่ฝั้น ท่านไม่ต้องการให้หินช่วงไหนแตกร้าว ท่านจะเอาปากกาไปเขียนยันต์ไว้ตรงจุดนั้น ระเบิดจะแรงขนาดไหน หินนั้นก็ไม่แตกร้าว

๓.ท่านนั่งสมาธิใต้ต้นกระบก ลูกกระบกตกลงพื้นเสียงดังน่ารำคาญ ท่านกำหนดจิตไม่ให้ลูกกระบกตก ตั้งแต่นั้น ลูกกระบกต้นนั้นไม่หลุดลงพื้นอีกเลย

หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เพื่อนสหธรรมิกรูปหนึ่งของหลวงปู่ฝั้น ได้เล่าเรื่องพลังจิตของหลวงปู่ฝั้นไว้ว่า... "สมัยหนึ่งหลวงปู่ฝั้นได้ธุดงค์ไปจันทบุรี ท่านได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมในงานศพ มีผู้มาฟังธรรมเป็นจำนวนมาก ขณะที่ท่านแสดงธรรมอยู่ มีคนกลุ่มหนึ่งเล่นหมากรุก เมาสุรา ส่งเสียงเอะอะโวยวายรบกวน ท่านส่งกระแสจิตไปปราบพวกขี้เหล้าเหล่านั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ขี้เหล้าหยุดนิ่งไร้การเคลื่อนไหว บางคนยืนอ้าปาก บางคนถือหมากรุก บางคนคอพับ ไม่สามารถไหวติงได้ จนท่านแสดงธรรมให้พรจบลง เดินทางกลับ ขี้เหล้าเหล่านั้นจึงกลับมาสู่ภาวะปกติได้"

องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เล่าว่า "ท่านพระอาจารย์ฝั้นสามารถกำหนดจิตให้รถหยุดเครื่องยนต์ไม่ติดอย่างง่ายดาย" ฉะนั้นเวลานั่งรถ ท่านต้องพยายามทำจิตไม่ให้เพ่งไปที่เครื่องยนต์ ไม่งั้นเครื่องจะดับทันที ตอนสงครามโลกเครื่องบินญี่ปุ่นจะมาทิ้งระเบิด คนมาขอให้ท่านอย่าให้ญี่ปุ่นทำได้ ตอนแรกท่านคิดว่าจะเพ่งให้เครื่องยนต์ดับ แต่คิดได้ว่าหากทำแบบนั้น เครื่องบินต้องตก ทหารญี่ปุ่นต้องตาย ท่านจึงทำวิธีอื่นแทน

อีกครั้งในงานศพท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระกำลังเตรียมงานกันอยู่ มีเด็กน้อยถีบจักรยานไปมารบกวน หลวงปู่ฝั้นท่านจึงพูดว่า "เดี๋ยวเราจะดัดนิสัยไอ้เด็กพวกนี้ จะทำให้รถมันล้ม แต่ไม่ให้มันเจ็บ" พอท่านพูดจบรถจักรยานเด็กล้มลงทันที

ด้วยวัตรปฏิบัติและพลังจิตอันล้ำเลิศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงทรงให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร “พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตเหนือฟ้าดิน”วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ถือกำเนิดในสกุล วรรณวงศ์ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ซึ่งเป็นหลานของพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์ จะเห็นได้ว่าเชื้อสายของท่านเป็นขุนนางทั้งฝ่ายบิดาและมารดา เป็นเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ของหมู่ชน ที่เรียกว่า ผู้ไทยซึ่งอพยพมาจากประเทศลาว ในสมัยรัชการที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านพระอาจารย์ฝั้น เคยเล่าว่า บรรพบุรุษของท่าน ได้ข้ามมาแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นครอบครัวใหญ่ เรียกว่า ไทยวัง หรือ ไทยเมืองวัง (ซึ่งเป็นเมืองหนึ่ง อยู่ในเขตมหาชัย ของประเทศลาว) บิดาของท่านพระอาจารย์ เป็นคนที่มีความเมตตาอารี ใจคอกว้างขวาง เยือกเย็นเป็นที่นับหน้าถือตา จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านม่วงไข่ ต่อมาบิดาของท่านได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่นๆ อีกหลายครอบครัวไปตั้งหมู่บ้านใหม่ ในที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม เพราะเป็นพื้นที่ที่มีลำห้วยอูน ผ่านทางทิศใต้และลำห้วยปลาหาง อยู่ทางทิศเหนือ เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และเลี้ยงไหม ตั้งชื่อว่า บ้านบะทอง โดยบิดาของท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป

เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยเยาว์ พระอาจารย์มีความประพฤติเรียบร้อยนิสัยใจคอเยือกเย็น อ่อนโยน โอบอ้อมอารี กว้างขวาง เช่นเดียวกับบิดาของท่าน ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค หนักเอาเบาสู้ ช่วยเหลือกิจการงานของบิดาและญาติพี่น้อง โดยไม่เห็นแก่ความลำบากยากเย็นใดๆ ทั้งสิ้น

ด้านการศึกษา
พระอาจารย์ฝั้น ได้เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบ้านม่วงไข่ (วัดโพธิ์ชัย)สอนโดย ครูหุน ทองคำ และครูตัน วุฒิสาร ตามลำดับพระอาจารย์ เมื่อครั้งนั้นเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอันมาก สามารถเขียนอ่านได้รวดเร็วกว่าเด็กอื่นๆ ถึงขนาดได้รับความไว้วางใจจากครูให้สอนเด็กอื่นๆ แทน ในขณะที่ครูมีกิจจำเป็น

ท่านพระอาจารย์ฝั้น เคยคิดจะเข้ารับราชการ จึงได้ตามไปอยู่กับนายเขียน อุปพงศ์ ผู้เป็นพี่เขย ซึ่งเป็นปลัดเมื่องฝ่ายขวา ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อไปในชั้นสูงในช่วงนี้ ท่านได้พิจารณาเห็นความยุ่งเหยิงไม่แน่นอนของชีวิตคฤหัสถ์ ได้เห็นการปราบปรามผู้ร้าย มีการฆ่าฟันกัน มีการประหารชีวิต

ครั้งนั้น พี่เขยได้ใช้ให้เอาปิ่นโตไปส่งนักโทษอยู่เสมอ ท่านได้เห็นนักโทษหลายคน แม้เคยเป็นใหญ่เป็นโต เช่น พระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น ต้องโทษฐานฆ่าคน นายวีระพงศ์ ปลัดซ้าย ก็ถูกจำคุก แม้แต่นายเขียน พี่เขยของท่านเมื่อย้ายไปเป็นปลัดขวา อำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย ก็ต้องโทษฆ่าคนตายเช่นกัน สภาพของนักโทษที่ท่านประสบมา มีทั้งหนักและโทษเบา นับได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านรู้จักปลง และประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ท่านได้สติ บังเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงเลิกคิดที่จะรับราชการ และตัดสินใจบวชเพื่อสร้างสมบุญบารมีทางพระพุทธศาสนาต่อไป

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
ชีวิตสมณะของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ เมื่อท่านอายุได้ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคมและในปี พ.ศ.๒๔๖๒ ถัดมา ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกายที่วัดสิทธิบังคม ตำบลบ้านไร่ อำเภอพรรณานิคมมีพระครูป้อง นนทะเสน เป็นพระอุปัชฌาย์มีพระอาจารย์นวล และ พระอาจารย์สังข์ เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระอนุสาวนาจารย์ หลังจากออกพรรษาปีนั้น ท่านได้ไปอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทองจึงได้ปฏิบัติธรรม อบรมกัมมัฏฐาน ตลอดจนการออกธุดงค์ อยู่รุกขมูล กับท่านอาจารย์อาญาครูธรรม
 
ปีถัดมา พ.ศ.๒๔๖๓ ท่านได้พบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตจึงได้เที่ยวธุดงค์ มาพร้อมด้วยสามเณรหลายรูป และพักที่ป่าช้าข้างบ้านม่วงไข่ (ปัจจุบันเป็นวัดภูไทสามัคคี)เมื่อได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่น ท่านบังเอิญเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในสติปัญญาควาสามารถของพระอาจารย์มั่น จึงมอบตัวเป็นศิษย์ พร้อนท่านอาญาครูดี และพระครูกู่ ธมฺมทินฺโน เนื่องจากทั้งสามท่านยังไม่พร้อมในเครื่องบริขาร จึงไม่ได้ธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่นไปในขณะนั้น

เมื่อทั้งสามท่าน ได้เตรียมพร้อมเครื่องบริขารเรียบร้อยแล้วประจวบกับได้พบพระอาจารย์ดูลย์ อลฺโต ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่นมาก่อน และกำลังเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นเช่นกัน

ท่านพระอาจารย์ฝั้น จึงศึกษาธรรม เรียนวิธีฝึกจิตภาวนาเบื้องต้นจากพระอาจารย์ดูลย์ จากนั้นทั้งสี่ท่าน ได้ร่วมกันเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ดูลย์ เป็นผู้นำทาง จนได้พบพระอาจารย์มั่นที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างดินแดง ท่านทั้งสี่ได้ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นที่นั่นเป็นเวลาสามวันจากนั้นก็ได้ไปกราบพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล (ผู้ได้ร่วมเผยแพร่ธรรมกับพระอาจารย์มั่น) ที่บ้านหนองดินดำ แล้วจึงไปรับการอบรมธรรมจากพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ที่บ้านหนองหวายเป็นเวลาเจ็ดวันจากนั้นจึงได้ไปที่บ้านตาลเนิ้ง และได้รับฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นเสมอๆ

เมื่อท่านอาจารย์ฝั้นได้รับการศึกษาอบรมธรรมะจากพระอาจารย์มั่น และได้ฝึกกัมมัฏฐานจนจิตใจมั่นคงแน่วแน่ บำเพ็ญภาวนาได้ตลอดรอดฝั่งโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ มารบกวนได้ท่านจึงได้ตัดสินใจทำการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ที่วัดโพธิ์สมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษากับพระอาจารย์มั่นที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ร่วมกับเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป เช่น พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโนพระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาจารย์กว่า สฺมโน ออกพรรษาปีนั้นท่านได้เดินเลียบไปกับฝั่งแม่น้ำโขง เที่ยวธุดงค์ออกไปหลายแห่ง วกกลับมายังวัดอรัญวาสี แล้วธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น ที่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบัน อำเภอศรีสงคราม) ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้จำพรรษาและโปรดญาติโยมที่ดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

หลังออกพรรษา ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ร่วมกับหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่น ไปอุบลฯ ด้วย  ในปี ๒๔๗๐ นี้ ท่านได้จำพรรษา ที่บ้านบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับพระอาจราย์กู่ เทศนาสั่งสอนญาติโยมที่นั่น พ.ศ.๒๔๗๑ ท่านได้ออกไปจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร หลังออกพรรษาท่านได้ไปเผยแพร่ธรรมที่จังหวัดขอนแก่น ได้จำพรรษาที่จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา ๓ ปี ระหว่างนั้น ท่านได้อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผีเลิกกลัวผีให้หันมานับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือศีลห้าและพระภาวนาพุทโธท่านเป็นที่พึ่งและให้ความอบอุ่นแก่ชาวบ้านทั่วไปคนคลอดลูกยาก คนไอไม่หยุด คนถูกผีเข้า คนมีมิจฉาทิฏฐิหลอกลวงชาวบ้านท่านช่วยเหลือแก้ไขด้วยอุบายธรรมะได้หมดสิ้นท่านเองบางครั้งก็อาพาธ เช่น ระหว่างที่จำพรรษาบนภูระงำ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ท่านปวดตามเนื้อตามตัวเป็นอย่างมาก ท่านก็ใช้ธรรมโอสถ โดยนั่งภาวนาในอิริยาบทเดียวตั้งแต่ทุ่มเศษ จนเก้าโมงเช้า ทำให้อาการอาพาธหายไปหมด พ้นจากการทุกข์ทรมานและให้ท่านก้าวหน้าในทางธรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๖๘ พรรษาที่ ๘ ถึง ๑๙ ท่านได้จำพรรษาที่จังหวัดนครราชสีมา โดยตลอดแต่ในระหว่างนอกพรรษา ท่านจะท่องเที่ยวไปเผยธรรมและตัวท่านเอง ก็ได้ศึกษาและปฏิบัติด้วย เช่น ก่อนเข้าพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๗๕ ท่านพระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมอาการของเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโน)โดยพักที่วัดบรมนิวาส เป็นเวลา๓ เดือน เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ.๒๔๗๗ ท่านได้ออกธุดงค์ไปในดงพญาเย็น ท่านได้พบเสือนอนหันหลังให้ในระยะที่ใกล้มาก ท่านสำรวมสติเดินไปใกล้ๆ มันแล้วร้องถามว่า "เสือหรือนี่" เจ้าเสือผงกหัว หันมาตามเสียง แล้วเผ่นหายเข้าป่าไป เมื่อเดือน ๓ พ.ศ.๒๔๗๙ พระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อนได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่น ที่วัดเจดีย์หลวงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้อยู่ใกล้พระอาจารย์มั่น ท่านจึงได้เร่งความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน เล่ากันว่า ท่านทั้งสองต่างสามารถมองเห็นกันทางสมาธิ ได้โดยตลอด ทั้งๆ ที่กุฏิห่างกันเป็นระยะทางเกือบ ๕๐๐ เมตร

ออกพรรษาปี พ.ศ.๒๔๘๖ พระอาจารย์ฝั้น ได้ออกเดินธุดงค์จากวัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไปพักวิเวกภาวนาตามป่าเขาที่เห็นว่าสงบเงียบพอเจริญกัมมัฏฐานได้ และขณะเดียวกันก็สั่งสอนธรรมะ ช่วยเหลือชาวบ้านที่มีความทุกข์ยาก และพาชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ท่านธุดงค์ไปเขาพนมรุ้ง ต่อไปจังหวัดสุรินทร์ จนกระทั่งถึงจังหวัดอุบลราชธานีโดยจำพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๘๗ ที่วัดบูรพา ที่จังหวัดอุบลราชธานี นี้เองพระอาจารย์ฝั้นมีหน้าที่เข้าถวายธรรมแก่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ซึ่งกำลังอาพาธ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคชรา)และใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพรรักษาโรคปอดแก่ท่านอาจารย์มหาปิ่นจนกระทั่งออกพรรษาปีนั้น ทั้งสมเด็จฯ และพระอาจารย์มหาปิ่น มีอาการดีขึ้น

ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ถึง ๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้จำพรรษาที่วัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเดิมชื่อวัดป่าธาตุนาเวงเป็นป่าดงดิบ ห่างจากตัวเมืองห้ากิโลเมตรเศษท่านได้นำชาวบ้านและนักเรียนพลตำรวจพัฒนาวัดขึ้นจนเป็นหลักฐานมั่นคงในพรรษ าท่านจะสั่งสอนอบรมทั้งศิษย์ภายใน (คือพระเณรและผ้าขาว)และศิษย์ภายนอก (คืออุบาสก อุบาสิกา) อย่างเข้มแข็ง ตามแบบฉบับของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นทุกวันพระ พระเณรต้องฟังเทศน์แล้วฝึกสมาธิ และเดินจงกรมตลอดทั้งคืนอุบาสก อุบาสิกาบางคนก็ทำตามด้วย ช่วงออกพรรษาท่านก็มักจะจาริกไปกิจธุระ หรือพักวิเวกตามที่ต่างๆ เช่น บริเวณเทือกเขาภูพาน เป็นต้น

ช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๑ ท่านไปวิเวกที่ภูวัง และได้สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผาที่สวยงามาก ออกพรรษา ปีพ.ศ.๒๔๙๒ ได้ติดตามพระอาจารย์มั่นถึงวัดสุทธารามที่สกลนคร และเฝ้าอาการพระอาจารย์มั่นจนแก่มรณภาพ ออกพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๙๓-๙๕ ท่านได้ออกไปเผยแพร่ธรรมแถวภาคตะวันออก เช่นที่ จันทบุรี บ้านฉาง(จ.ระยอง) และฉะเชิงเทราในระหว่างนั้นก็แวะเผยแพร่ธรรมไปตามที่ต่างๆ ด้วย เช่น ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และวัดป่าศรัทธาราม นครราชสีมา เป็นต้น

ราวกลางพรรษาปี พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้ปรารภกับศิษย์ทั้งปวงเสมอว่าท่านได้นิมิตเห็นถ้ำแห่งหนึ่งทางตะวันตกของเถือกเขาภูพาน เป็นที่อากาศดี สงบ และวิเวกพอออกพรรษาปีนั้น เมื่อเสร็จธุระกิจต่างๆ แล้ว ท่านได้พาศิษย์หมู่หนึ่งเดินทางไปถึงบ้านคำข่าพักอยู่ในดงวัดร้างข้างหมู่บ้าน เมื่อคุ้นกับชาวบ้านแล้วท่านได้ถามถึงถ้ำในนิมิต ในที่สุดชาวบ้านได้พาท่านไปพบกับถ้ำขาม บนยอดเขายอดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่น่าพอใจของท่านมากเพราะเป็นที่วิเวกจริงๆ ทิวทัศน์สวยงาม มองเห็นถึงจังหวัดสกลนครอากาศดี สงัด และภาวนาดีมาก

ออกพรรษาปี พ.ศ.๒๕๐๕ ท่านพระอาจารย์ได้ลงไปพักที่วัดป่าอุดมสมพรเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ และเพื่อจะได้สั่งสอนอบรมชาวบ้านพรรณา อำเภอพรรณานิคม บ้างวัดป่าอุดมสมพรนี้ เดิมเป็นป่าช้าติดกับแหล่งน้ำ ชื่อหนองแวง ที่บ้านบะทอง ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นบ้านเดิมของท่านท่านเคยธุดงค์มาพักชั่วคราวเพื่อบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานแด่บุพการีครั้งเมื่อออกพรรษา ปี ๒๔๘๗ พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาญาครูดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สถานที่แห่งนั้นก็ได้มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษามาโดยตลอดจนกระทั่งได้เป็นวัดป่าอุดมสมพร

ด้วยนิสัยนักพัฒนา ช่วงที่พักที่วัดป่าอุดมสมพร (๒๕๐๕)ท่านอาจารย์ได้นำญาติโยมพัฒนาเส้นทางจากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ ไปจนถึงบ้านหนองโคกท่านไปประจำอยู่กับงานทำถนนทั้งวัน อยู่หลายวัน จนอาพาธเป็นไข้สูงแพทย์จึงได้ขอร้อง ให้ท่านงดขึ้นไปจำพรรษาบนถ้ำขาม เพราะสมัยนั้นยังต้องเดินขึ้น ดังนั้นท่านจึงจำพรรษา ปี ๒๕๐๖ ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์

ช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๗ จนถึงพรรษาสุดท้ายของท่าน คือ ปี พ.ศ.๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์ฝั้นจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพรโดยตลอด จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัย ท่านได้พัฒนาวัดนั้นเป็นการใหญ่ มีการขุดขยายหนองแวง ให้กว้างและลึก เป็นการใหญ่สร้างศาลาใหญ่ เป็นที่ชุมนุมสำหรับการกุศลต่างๆ สร้างกุฏิ โบสถ์น้ำ พระธาตุเจดีย์ถังเก็บน้ำ และระบบท่อส่งน้ำ ถึงแม้ท่านจะจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร แต่วัดถ้ำและวัดป่าภูธรพิทักษ์ ก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบและอปการะของท่าน ท่านยังคงไปๆ มาๆ ด้วยความห่วงใยอยู่เสมอ

เมื่อวันที ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๙ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดผ้าพระกฐิน ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ และได้ทรงนิมนต์ท่านเข้าไปพักที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนเดียวกัน อีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างที่พักในวัดบวรฯ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมเยียนและสนทนาธรรมกับท่าน นอกจากนั้น ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ยังได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนท่านที่วัดป่าอุดมสมพรเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๘ อีกด้วย
 
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร สิริอายุ ๗๗ ปี ๔ เดือน ๑๕ วัน พรรษา ๕๒

โอวาทธรรมคำสอนที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วิสัชนาตอบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “..คนทุกวันนี้ เข้าใจว่า ศาสนาอยู่กับวัด อยู่ในตู้ ในหีบ ในใบลาน อยู่กับพระพุทธเจ้า ประเทศอินเดียโน่น จึงไม่สนใจ บ้านเมืองจึงเดือดร้อนวุ่นวาย มองหน้ากันไม่ได้ ถ้าคนเราถือกันเป็นบิดามารดา เป็นพี่น้องกันแล้ว ก็สบาย ไปมาหาสู่กันได้ เพราะใจเราไม่มีเวร เวรก็ไม่มี ใจเราไม่มีกรรม กรรมก็ไม่มี ฉะนั้น ให้มีพรหมวิหารธรรม อย่างมหาบพิตรเสด็จมานี้ ทุกอย่างเรียบร้อยหมด..”

ขอขอบคุณที่มา : เพจพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2564 21:07:58 »


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ
(วาสน์ วาสนมหาเถร)


อาจาริยบูชา พระกรุณาคุณอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสนมหาเถร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

๒๗ สิงหาคม

๒๗ สิงหาคม ๒๔๖๔ ...วันสิ้นพระชนม์ ครบ ๓๓ ปี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสนมหาเถร ป.ธ.๔) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน) เริ่มประชวรตั้งเเต่วันที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๑ ด้วยพระโรคปับผาสะ (ปอด) อักเสบ และมีภาวะพระหทัยวาย จากเส้นพระโลหิตในพระหทัยตีบและกล้ามเนื้อพระหทัยบางส่วนไม่ทำงาน คณะเเพทย์ได้เชิญเสด็จมารักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลศิริราช มีพระอาการดีขึ้น เเละทรุดลงสลับกัน

ต่อมาในวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ เวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา พระหทัยเต้นช้าลงเฉียบพลัน ความดันพระโลหิตลดลง คณะแพทย์และพยาบาลได้ถวายการแก้ไขอย่างเต็มความสามารถ แต่พระอาการทรุดลงเป็นลำดับอย่างรวดเร็ว จนสุดความสามารถของคณะแพทย์และพยาบาล สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๑๖.๕๐ น. ณ ตึกอัษฎางค์ โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชันษาได้ ๙๐ ปี ๕ เดือน ๒๕ วัน ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศ ๗๐ พรรษา

ครั้นความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในราชสำนัก ๑๕ วัน และโปรดให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามฯ ถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณีทุกประการ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ ฉายา วาสโน) พระนามเดิม มัทรี นิลประภา ภายหลังเปลี่ยนพระนามเป็น วาสน์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๐ ที่ ต.บ่อโพง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนโตของพระชนกผาด และพระชนนีบาง นิลประภา พระองค์ได้บรรพชา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๕ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ครั้งทรงกรมหมื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยมุนี (แปลก วุฑฺฒิญาโณ) เป็นพระศีลาจารย์ แล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยมุนี(แปลก วุฑฺฒิญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณดิลก (รอด วราสโย) วัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "วาสโน"  

เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอยู่ในตำแหน่ง ๑๔ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๑ สิริพระชันษา ๙๑ ปี ๑๗๘ วัน
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 09 กันยายน 2564 20:31:54 »


หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม

อาจาริยบูชาคุณ อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม
วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง​ จ.นครราชสีมา​
๘ กันยายน

๘ กันยายน ๒๕๖๔... เป็นวันคล้ายวันละสังขาร​ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ปีนี้ครบปีที่ ๖๐ปี พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม) ยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมพระกัมมัฏฐานแห่งภาคอิสานและท่านเป็นศิษย์อาวุโสคู่บารมีของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ​ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๐๔ เวลา ๑๐.๒๐ น.​ ด้วยโรคมะเร็งเกี่ยวกับลำไส้​ ณ วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง​ จ.นครราชสีมา​ ท่ามกลางคณะสงฆ์-คณะศิษยานุศิษย์ที่เฝ้าดูแล​ สิริรวมอายุได้ ๗๒ ปี พรรษา ๕๒

ประวัติ พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)
เกิด​ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๒  มรณภาพ​ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔ อายุ​ ๗๒ ปี อุปสมบท​ เมื่อ​ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๒  พรรษา​ ๕๒​  อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน​ อ.เมือง​ จ.นครราชสีมา

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เอาใจใส่การศึกษาปฏิบัติธรรม มีความรู้ความเห็นลึกซึ้ง มีปฏิภาณเทศนาแจ่มแจ้ง โวหารไพเราะจับใจ มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนาธุระ ธรรมบาลี อักษรสมัย และวิทยาคม เป็นบุคคลที่มีจิตใจหนักแน่น ประพฤติพรหมจรรย์ บำเพ็ญวิปัสสนาธุระตลอดชีวิต มุ่งดีต่อหมู่คณะและพระศาสนา รับภารธุระครูบาอาจารย์ ฟื้นฟูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ เมื่อรับตำแหน่งฝ่ายบริหาร ยินดีรับภารธุระและเอาใจใส่ด้วยความเต็มใจ ยังกิจการคณะสงฆ์ให้เจริญรุ่งเรื่อง มีพระสงฆ์สามเณรและฆราวาสเป็นศิษย์มากมาย จนได้รับขนานนามว่า แม่ทัพธรรมพระกรรมฐาน

ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์และการศึกษาธรรม
ปี พ.ศ.๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กลับจากเขาสาริกา จังหวัดนครนายก ไปพักจำพรรษา ณ วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี มีกิตติศัพท์ขจรไปว่า ท่านได้สำเร็จธรรมจากเขาสาริกา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม​  จึงได้ไปศึกษากรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านให้กรรมฐานกายคตาสติ ข้อปัปผาสะ ปัญจกะ (คือ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ) ให้เป็นบทบริกรรม ในช่วงปีนี้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมกับเพื่อนสหธรรมิกคือพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล เมื่อได้ถวายตัวเป็นศิษย์และได้ฝึกทำสมาธิกับครูบาอาจารย์ จิตใจสงบดี มีความสังเวชสลดใจเกิดความเบื่อหน่ายในการประกอบคันถธุระ เชื่อแน่ว่ายังไม่หมดเขตสมัยมรรคผลนิพพาน เพราะหนทางการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ จึงตกลงบำเพ็ญด้านวิปัสสนาธุระสืบไป และได้ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับแต่นั้นมาไป ซึ่งท่านได้ธุดงค์วิเวกตามป่าเขาสถานที่ต่าง ๆ​ ในเขตจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย

ปี พ.ศ.๒๔๖๐ หลังออกพรรษา พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับเด็กชายเทสก์ เรี่ยวแรง เพื่อเยี่ยมอาการป่วยของพี่ชายและน้องชาย ต่อมาพี่ชายได้ถึงแก่กรรม ส่วนน้องชาย คือ พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล หายป่วยและได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ในการกลับมาจังหวัดอุบลราชธานีในครั้งนี้ ได้รับบัญชาจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชมุนี เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหารและเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ให้ช่วยสั่งสอนพุทธบริษัทในวัดสุปัฎน์ (วัดสุปัฏนารามวรวิหาร) และวัดสุทัศน์ (วัดสุทัศนาราม) อีกด้วย และหลังออกจากพรรษาในปี พ.ศ.๒๔๖๑ ท่านได้ออกธุดงค์ติดตามหาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และพำนักจำพรรษาในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย

ปี พ.ศ.๒๔๖๓ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ธุดงค์วิเวกไปพักจำพรรษาเพียงลำเพียงรูปเดียว ณ ถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เมื่อได้โอกาสดีจึงเร่งความเพียรแต่ต้นพรรษา จนถึงกลางเดือน ๙ ได้เกิดความอัศจรรย์ทางจิต เกิดความรู้ความเห็นแจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย จึงเร่งความเพียรต่อไปตลอดไตรมาส ได้เกิดความเข้าใจว่า
"พระพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชวาที (ผู้จำแนกธรรม) ตรัสจำแนกขันธ์ ๕ ในตัวเรา หรือกายกับใจ ออกเป็นพระธรรมวินัยถึง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อกล่าวความจริงแล้ว ตัวคนเรา หรือ กายกับใจ นี้เป็นตัวอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา รวมกันเป็นธรรมแท่งเดียว"

ในตอนนี้ท่านบันทึกต่อว่า "ความรู้ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ละเอียดเฉียบแหลมคมคายมาก รู้จักตัดสินพระธรรมวินัยได้เด็ดขาด ทำให้การปฏิบัติพระธรรมและพระวินัยเป็นไปอย่างเด็ดเดี่ยวมั่นคงและกล้าหาญ"

หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๔๖๓ ท่านได้เดินทางไปหาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งพำนักอยู่ที่จังหวัดสกลนคร และธุดงค์ติดตามต่อไปในเขตจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และในช่วงนี้ได้ท่านได้พำนักกับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกด้วย

ปี พ.ศ.๒๔๖๖ หลังออกพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๖๕ ท่านได้เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากโยมมารดาถึงแก่กรรม และอยู่พำนักจำพรรษา ณ วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในการนี้ท่านได้นำสามเณรเทสก์ เรี่ยวแรง ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ หรือวัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖ โดยมี พระมหารัตน์ รฏฺฐปาโล ป.ธ.๔ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งสามเณรเทสก์ เรี่ยวแรง นั้นในกาลต่อมาก็คือ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี)

ในปีนี้ ท่านได้ทำการอบรมพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.ธ.๕ ผู้เป็นพระน้องชายในทางวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งพระมหาปิ่นผู้เป็นน้องชายได้ตัดสินใจออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมกรรมฐานศึกษาด้านวิปัสสนาธุระ และเผยแผ่พระธรรมคำสอนสู่ประชาชนเคียงบ่าเคียงไหล่พระพี่ชาย ชื่อเสียงขจรหอมฟุ้งร่ำลือไปไกล จนมีผู้จนเลื่อมใสศรัทธาอย่างกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ.๒๔๗๐ ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ก่อนเข้าพรรษา คณะพระธุดงค์กรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ปักหลักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และได้จัดประชุมคณะสงฆ์ขึ้นในช่วงวันมาฆบูชา ซึ่งในการนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ปรารภถึงการออกธุดงค์วิเวกเพียงลำพังเพื่อพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติอันเป็นธรรมอันสูงสุด และได้มอบภารธุระทุกอย่างให้แก่พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ศิษย์อาวุโสเป็นผู้บริหารปกครองหมู่คณะสงฆ์ แนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้ให้ไว้แล้วต่อไป

ปี พ.ศ.๒๔๗๑ พระครูพิศาลอรัญเขต ในกาลต่อมาก็คือ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์และเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ได้ทำหนังสือไปนิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ศิษย์อาวุโสในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ให้มาช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาธรรมปฏิบัติให้แก่ประชาชนจังหวัดขอนแก่น ท่านจึงได้กราบเรียนปรึกษาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อเห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว จึงมอบให้เป็นหน้าที่ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม รับนิมนต์

กองทัพธรรมพระกรรมฐาน
หลังจากออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล กับหมู่คณะสงฆ์ ได้เดินเท้านำกองทัพธรรมจากบ้านนาหัววัว อำเภอกุดชุม จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) มุ่งสู่จังหวัดขอนแก่น และได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นที่ป่าช้าโคกเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันก็คือ วัดป่าวิเวกธรรม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในขณะนั้นมีพระสงฆ์สามเณรรวมกันไม่ต่ำกว่า ๗๐ รูป ท่านจึงได้ประชุมคณะสงฆ์ตกลงกันให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าอรัญวาสี ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง จึงทำให้วัดป่าอรัญวาสีและคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายตั้งขึ้นในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงนับได้ว่า วัดป่าวิเวกธรรม เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาฝ่ายอรัญวาสีของภาคอีสานตอนกลาง

ปี พ.ศ.๒๔๗๕ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์ และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร และเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ได้บัญชาให้พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระและหลักธรรมคำสอนให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงนำหมู่คณะสงฆ์ อาทิ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เดินทางมุ่งสู่งจังหวัดนครราชสีมา

ในการนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ดำริให้สร้างวัดป่าอรัญวาสีขึ้น สำหรับคณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เพื่อใช้จำพรรษาและบำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐาน หลวงชำนาญนิคมเขต ผู้บังคับกองตำรวจกองเมืองนครราชสีมาในขณะนั้น มีศรัทธาถวายที่ดินและรับบัญชาก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ให้นามว่า วัดป่าสาลวัน โดยมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นอีกแห่ง ซึ่งก็คือวัดป่าศรัทธารวม โดยมีพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ในกาลต่อมาได้มีสร้างวัดป่าอรัญวาสีในเขตจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงเพิ่มมากขึ้น

ปี พ.ศ.๒๔๘๐ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร และเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ได้บัญชาให้พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เดินทางช่วยท่านเจ้าคุณพระปราจีนมุนี ตั้งวัดป่าอรัญวาสีสำหรับพระฝ่ายวิปัสสนาธุระภาคตะวันออก และไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระและหลักธรรมคำสอนให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดปราจีนบุรี ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พร้อมด้วยพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เดินทางไปยังจังหวัดปราจีนบุรี ท่านทั้งสองได้ตั้งสำนักสงฆ์วัดป่าทรงคุณ ขึ้น ปัจจุบันก็คือวัดป่าทรงคุณ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และได้ช่วยปฏิสังขรณ์วัดปากกระพอก อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ซึงร้างมา ๕ ปี ให้กลับคืนสู่สภาพเป็นวัดมีพระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำ

ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ในขณะพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้กลับมาพำนักจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน เพื่อสอนพุทธบริษัทให้ฝึกหัดนั่งสมาธิภาวนาเป็นประจำ กระทั่งออกพรรษา คณะชาวบ้านหนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้มาอาราธนาให้ไปสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นที่บ้านหนองบัวใหญ่ ท่านจึงได้เดินทางไปสร้างวัดขึ้นและให้ชื่อว่า วัดป่าไพโรจน์ ปัจจุบันคือ วัดป่าสุวรรณไพโรจน์ ต.หนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ในปีนี้ ช่วงที่พำนักอยู่วัดป่าไพโรจน์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นประธานในการจัดงานถวายมุทิตาจิตหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล อายุครบ ๘๐ ปี โดยจัดขึ้น ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ปี พ.ศ.๒๔๘๕ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางไปจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น เพื่อรับสรีระสังขารหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งได้มรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ ๓ ในพระอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๕ สิริอายุ ๘๒ ปี พรรษา ๖๒ คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ประกอบพิธีฌาปนกิจในวันที่ ๑๕-๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๖

ในปีนี้ คณะวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้มาอาราธนาให้ไปช่วยสั่งสอนพุทธบริษัทญาติโยมและช่วยสร้างศาลาการเปรียญ เมื่อทำเสร็จแล้วจึงกลับไปจำพรรษา ณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา และ พ.ศ.๒๔๘๖ ในช่วงเวลานอกพรรษา ได้กลับไปจัดสร้างพระพุทธบาท กว้าง ๑ เมตร ยาว ๒ เมตร พร้อมมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาท ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ปี พ.ศ.๒๔๘๗ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระน้องชายอาพาธและพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญแห่งนี้ อีกทั้งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ก็อาพาธและได้มาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้บัญชาให้ท่านมาอยู่พำนักจำพรรษาในที่ใกล้ๆไปมาเยี่ยมเยียนกันได้ง่าย

ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ในขณะที่พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้กลับไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา นั้น พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๙ ณ ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้บัญชาให้จัดพิธีฌาปนากิจโดยไม่ชักช้า พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงได้จัดพิธีฌาปนากิจ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙

ปี พ.ศ.๒๔๙๑ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าทรงคุณ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เพื่ออบรมสั่งสอนคณะพุทธบริษัทวัดป่าทรงคุณ ให้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ให้เป็นไปเพื่อความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต่อมาได้สร้างวัดป่าทรงธรรม ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี และท่านได้ไปช่วยคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรีสร้างวัดธรรมยุตขึ้นในเขตจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย

ปี พ.ศ.๒๕๐๔ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้จัดงานผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดป่าสาลวันขึ้น ในการนี้ได้ถือโอกาสจัดประชุมใหญ่คณะสงฆ์พระกรรมฐาน ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ ได้มีตัวแทนพระภิกษุสงฆ์มาร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก เพื่อปรึกษาหารือข้อปัญหาทางพระวินัย และระเบียบการเดินธุดงค์ของคณะพระกรรมฐาน เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจมีขึ้นเนื่องจากการเดินธุดงค์ไปต่างถิ่นห่างไกลครูบาอาจารย์ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๔ และเมื่อเสร็จการประชุมแล้ว คณะสงฆ์ได้พร้อมเพรียงกันสวดถอดถอน และผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ ๗-๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๔

มรณภาพ
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) ได้ละวางสังขารเนื่องจากเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารเรื้อรัง มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔ เวลา ๑๐.๒๐ น. ณ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สิริอายุ ๗๒ ปี พรรษา ๕๒
  
สมณศักดิ์
ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูญาณวิศิษฏ์"
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์"

คติธรรมคำสอน
นักปฏิบัติทั้งหลายในพระพุทธศาสนานี้ พึงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก มีวัตรปฏิบัติพร้อมบริบูรณ์ และมีธรรมซึ่งมีอุปการะมากเป็นที่เจริญอยู่ จึงเป็นผู้เจริญรุ่งเรือง ธรรมมีอุปการะมาก มีหลายประการ แต่จะกล่าวในที่นี้เฉพาะ ๓ ประการ คือ

๑. อปฺปมาโท อมตํ ปทํ พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ซึ่งบทธรรมอันไม่ตาย
๒. สติมา ปริมุขํ สติ อุปฏฺฐเปติ พึงเป็นผู้มีสติ เฉพาะหน้าเสมอ
๓. สมฺปชาโน พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ รู้จิตเสมอ

ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมมีอุปการะมาก นักปฏบัติย่อมเจริญอยู่เป็นนิตย์ ฯ.

อ้างอิงข้อมูล :-
รศ.ดร.ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์. พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม) วันป่าสาลวัน อำเภอเมือง​ จังหวัดนครราชสีมา โครงการหนังสือบูรพาจารย์อิสานใต้ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ.ลีพวิ่ง จำกัด, ๒๕๕๔. ๖๕๗ หน้า.​รศ.ดร.ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์. พระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๕. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ.ลีพวิ่ง จำกัด, ๒๕๔๖. ๖๑๐ หน้า.​ คณะศิษยานุศิษย์. วัดป่าวิเวกธรรม (เหล่างา). ขอนแก่น : หจก.ขอนแก่นการพิมพ์, ๒๕๕๖. ๑๑๑ หน้า.​  จงดี ภิรมย์ไชย. ประวัติวัดป่าวิเวกธรรม (เหล่างา). ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาธรรม, ๒๕๕๗. ๗๕ หน้า.​ พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว. ธรรมประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ผู้มากมีบุญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มติชน, ๒๕๕๔. ๖๒๒ หน้า.
..............................................
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ขอขอบคุณที่มา : Fb.พระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ตุลาคม 2564 19:34:25 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 23 กันยายน 2564 20:39:09 »


หลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล

อาจาริยบูชาคุณ อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล
วัดป่าบ้านคุ้ม ต.โคกสว่าง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
๒๑ กันยายน

๒๑ กันยายนเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล รำลึก ๖๕ ปี อาจาริยบูชาคุณ "ครูอาจารย์เฒ่าอัญมณีแห่งวงศ์พระกัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น" หลวงปู่ทองรัตน์ วัดป่าบ้านคุ้ม ต.โคกสว่าง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ฝ่ายมหานิกาย ที่มีอาจาริยวัตรที่งดงาม ไม่ติดที่ไม่ติดวัด สมณะสันโดษเป็นที่สุด ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวกับหลวงปู่ทองรัตน์ ครั้งหนึ่งว่า “จิตท่านเท่ากับจิตเราแล้ว จงไปเทศนาอบรมสั่งสอนได้”

“..ให้ระลึกถึงบุญกุศลความดีทั้งหลายที่ตนได้ทำไว้แล้ว ระลึกถึงพุทธานุสติเป็นพ่อ ธรรมานุสติเป็นแม่ เห็นพระสงฆ์เป็นพี่เลี้ยงนำทาง หายใจเข้าภาวนา “พุท” หายใจออกภาวนาว่า “โธ” อยู่เสมอทุกขณะจิต เมื่อจิตเคลื่อนออกจากร่าง จิตจึงจะไปสู่คติโลกสวรรค์..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล

หลวงปู่ทองรัตน์ ท่านถือกำเนิด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าท่านเกิดที่บ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม หรือบ้านชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ท่านอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ ณ วัดโพธิ์ชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม โดยมีหลวงปู่คาร คันธิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ศิษย์ต้นรูปแบบผู้ใกล้ชิดที่สุด ได้เล่าถึงหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ว่า เป็นพระอาจารย์ผู้เฒ่าที่มีปฏิปทาสูงยิ่ง ท่านมีความรู้ความสามารถเก่งกาจเฉพาะตัว เป็นนายทัพธรรมที่พระอาจารย์มั่นท่านไว้วางใจที่สุด นิสัยของหลวงปู่ทองรัตน์นี้ท่านมีความห้าวหาญและน่าเกรงกลัวยิ่งนัก ซึ่งในบางครั้งกิริยาท่าทางออกจะดุดัน วาจาก้าวร้าว แต่ภายในจิตใจจริงๆ ของท่านนั้นไม่มีอะไร

หลวงปู่กินรี กล่าวต่อไปว่า มีอยู่คราวหนึ่งในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์สานุศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งก็มีหลวงปู่ทองรัตน์รวมอยู่ในที่นั้นด้วย ท่านพระอาจารย์มั่นมองดูหลวงปู่ทองรัตน์แล้วเรียกขึ้นว่า “ทองรัตน์” หลวงปู่ทองรัตน์ประนมมือแล้วขานรับอย่างนอบน้อมว่า “โดย” (คำว่า “โดย” เป็นภาษาอีสาน ซึ่งแปลว่า “ขอรับกระผม” เป็นคำสุภาพอ่อนน้อมที่สุดสำหรับคฤหัสถ์และพระผู้น้อยนิยมใช้พูดกับพระภิกษุหรือพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งมักจะใช้กิริยาประนมมือไหว้ระหว่างอกควบคู่ไปด้วย)

ท่านพระอาจารย์มั่น จึงพูดต่อไปว่า “เดี๋ยวนี้พระเราไม่เหมือนกับเมื่อก่อนนะ เครื่องใช้ไม้สอย สบู่ ผงซักฟอกอะไรๆ มันหอมฟุ้งไปหมดแล้วนะ!” หลวงปู่ทองรัตน์ประนมมือรับแล้วกล่าวตอบอีกว่า “โดย” (ขอรับกระผม) ต่อมาขณะที่หลวงปู่ทองรัตน์นั่งอยู่ที่แห่งหนึ่ง มีกลุ่มพระภิกษุ ๒-๓ รูป เดินผ่านท่านไป หลวงปู่ทองรัตน์จึงร้องตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า “โอ๊ย...หอมผู้บ่าวโว้ย !” (ผู้บ่าว แปลว่า ชายหนุ่ม บ่าวเป็นคำไทยแท้ ภาษาอีสาน นิยมเรียกว่า “ผู้บ่าว”) ในที่นี้เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของหลวงปู่ทองรัตน์ที่ใช้สำหรับสั่งสอนสานุศิษย์ของท่าน

หลวงปู่กินรี ได้เล่าต่อว่า คราวใดที่หลวงปู่ทองรัตน์ไปกราบฟังธรรมท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่ามกลางหมู่สงฆ์ ท่านพระอาจารย์มั่นมักชอบเอ่ยชื่อและยกตัวอย่างท่านให้พระเณรฟังบ่อย และมีบางครั้งท่านได้รับคำสั่งให้ตรวจดูพฤติกรรมของพระเณรที่นอกลู่นอกทางพระธรรมวินัย จึงเป็นเหตุให้พระเณรเกลียดชังท่าน หลวงปู่ทองรัตน์เป็นคนไม่เกรงกลัวใคร ตรงไปตรงมาตามธรรมวินัยสม่ำเสมอ

อุปนิสัยของหลวงปู่ทองรัตน์ ท่านเป็นผู้มีอารมณ์ขัน พูดจาโผงผาง เสียงดังกังวาน ลูกศิษย์ลูกหายำเกรง ท่านมีนิสัยทำอะไรแผลงๆ แปลกๆ พระอาจารย์ชา สุภทฺโท ซึ่งนับถือหลวงปู่ทองรัตน์เป็นพระอาจารย์ของท่านรูปหนึ่ง เคยเล่าให้ศิษย์ฟังถึงหลวงปู่ทองรัตน์เสมอในความเคารพที่ท่านมีต่อพระอาจารย์ ความชื่นชอบปฏิปทาที่ห้าวหาญ อีกทั้งปัญญาบารมี และอารมณ์ขันของท่าน เป็นต้นว่า เมื่อไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ท่านไปหยุดยืนที่หน้าบ้านหลังหนึ่ง เมื่อเจ้าของบ้านเหลือบมาเห็นพระ ก็ร้องว่า “ข้าวยังไม่สุก”

แทนที่หลวงปู่ทองรัตน์จะเดินทางจากไป ท่านกลับร้องบอกว่า “บ่เป็นหยังดอกลูก พ่อสิท่า ฟ่าวๆ เร่งไฟเข้าเด้อ” (ไม่เป็นไรลูก พ่อจะคอย เร่งไฟเข้าเถอะ)

ระหว่างพำนักอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น และไม่ค่อยได้ฟังเทศน์ หลวงปู่ทองรัตน์ก็มีอุบายหลายอย่างที่ทำให้ท่านพระอาจารย์มั่นต้องแสดงธรรมให้ฟังจนได้ อย่างเช่นครั้งหนึ่งไปบิณฑบาต ท่านก็เดินแซงหน้าท่านพระอาจารย์มั่น แล้วก็ควักเอาแตงกวาจากบาตรออกมากัดดังกร้วมๆ และอีกครั้งหนึ่งท่านไปส่งเสียงเหมือนกำลังชกมวย เตะถึงต้นเสาอยู่อย่างอุตลุดใต้ถุนกุฏิท่านพระอาจารย์มั่นนั่นเอง ในขณะที่เพื่อนสหธรรมิกต่างก็กลัวกันหัวหด ผลก็คือ ตกกลางคืน ลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ได้ฟังเสียงท่านพระอาจารย์มั่นอบรมด้วยเทศน์กัณฑ์ใหญ่ทั้ง ๒ ครั้ง

หลวงพ่อชา สุภัทโทเล่าว่า หลวงปู่ทองรัตน์เป็นผู้อยู่อย่างผ่องแผ้วจนกระทั่งวาระสุดท้าย เมื่อท่านมรณภาพนั้น ท่านมีสมบัติในย่ามคือมีดโกนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น

หลวงปู่เฒ่าทองรัตน์ กันตสีโล ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๙ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก ณ วัดป่าบ้านคุ้ม ต.โคกสว่าง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี สิริอายุ ๖๘ ปี พรรษา ๔๒ คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และสาธุชนโดยทั่วไปที่เคารพรักท่าน ได้ร่วมกันฌาปนกิจศพท่านหลังจากมรณภาพไม่นาน แต่ก็ไม่ได้ฌาปนกิจศพตามที่ท่านสั่งไว้ ศิษย์บางคนได้อัฐิท่านไปไว้สักการะ โดยอัฐิของท่านส่วนหนึ่งชาวบ้านคุ้มได้บรรจุไว้ในเจดีย์ที่สร้างไว้กลางเนินวัดป่าบ้านคุ้ม (วัดป่ามณีรัตน์) เพื่อไว้เคารพสักการะมาจนถึงบัดนี้

ขอขอบคุณที่มา : Fb.พระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ตุลาคม 2564 19:32:23 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2564 19:17:52 »


หลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ขอขอบคุณเว็บไซท์ วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)) จ.อุทัยธานี - ที่มาภาพประกอบ

อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
๓๐ ตุลาคม​

วันนี้วันที่ ๓๐ ตุลาคม​ ๒๕๖๔​ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ รำลึก ๒๙ ปี อาจาริยบูชาคุณ "พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาและแตกฉานในการสอนธรรม"

ท่านเป็นพระอริยบุคคล ผู้อยู่ด้วยความกรุณาเป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะ และสิ่งทีเป็นประโยชน์สงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตามหาศาลสมกับเป็น“ศากยบุตรพุทธชิโนรส"อย่างแท้จริง"

คนที่ต้องการเป็นศิษย์ ไม่ต้องขออนุญาต ขอให้ปฏิบัติตามนี้ อยู่ที่ไหน ไม่เคยเห็นหน้ากันเลยก็รับเป็นศิษย์ คือ

๑.ศิษย์ชั้น ๓ คือ พยายามรักษาศีล ๕ เสมอ อาจจะขาดตกบกพร่องบ้าง แต่ก็พยายามรักษาให้ครบถ้วนให้มากที่สุดที่จะทำได้ อย่างนี้ ขอรับไว้เป็นศิษย์ชั้น ๓ คือ ศิษย์ขนาดจิ๋ว

๒.ศิษย์รุ่นกลาง มีปฏิปทาดังนี้ คือ มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ พยายามรักษาอารมณ์ให้ทรงสมาธิเสมอตามสมควร ไม่ละเมิดศีลเป็นปกติ อย่างนี้ ขอรับไว้เป็นศิษย์รุ่นกลาง

๓.ศิษย์เอก มีปฏิปทา ดังนี้ คือ รักษาศีล ๕ ครบถ้วนเป็นปกติ มีความเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ไม่สงสัยในความดีของท่าน มีอารมณ์ตั้งมั่นว่า ถ้าตายไปจากคนชาตินี้ ขอไปนิพพานจุดเดียว พยายามละความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นปกติ..."

ประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ โดยย่อ
ท่านถือกำเนิดตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เกิดที่ ต.สาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ก่อนที่ท่านจะเกิดนั้น มารดาของท่านฝันว่า เห็นพรหมมีสีเหลืองเป็นทองคำเหมือนพระพุทธรูป นอนลอยไปในอากาศ มีเพชรประดับแพรวพราวทั้งตัว เข้าทางหัวจั่วด้านทิศเหนือ เข้ามานั่งที่ตักท่าน มารดาก็กอดไว้ แล้วก็หายเข้าไปในกาย เมื่อเกิดมาใหม่ๆ หลวงพ่อเล็ก เกสโร ซึ่งมีฐานะเป็นลุง ได้กล่าวว่า เจ้าเด็กคนนี้มาจากพรหม ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า "พรหม" และต่อมาภายหลัง คนที่จดสำมะโนครัวเขามาเปลี่ยนชื่อให้เป็น "สังเวียน" ท่านยายกับชาวบ้านเรียกว่า "เล็ก" ส่วนท่านมารดาและพี่ๆ น้องๆ เรียกว่า "พ่อกลาง"

เมื่ออายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า) พออายุครบบวช ๒๐ ปี ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ พัทธสีมาวัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ(หลวงพ่อปาน โสนันโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก

คำสั่งพระอุปัชฌาย์ขณะเข้าบวช หลวงพ่อปาน ท่านบอกท่านอุปัชฌาย์ว่า เจ้านี่หัวแข็งมาก ต้องเสกด้วยตะพดหนักหน่อย ท่านอุปัชฌาย์ท่านเป็นพระทรงธรรมเหมือนหลวงพ่อปาน หลวงพ่อเล็กก็เหมือนกัน ท่านอุปัชฌาย์ท่านยิ้มแล้วท่านพูดว่า "๓ องค์นี้ไม่สึก อีกองค์ต้องสึกเพราะมีลูก เมื่อจะสึกไม่ต้องเสียดายนะลูก เกษียณแล้วบวชใหม่มีผลสมบูรณ์เหมือนกัน ๒ องค์นี้พอครบ ๑๐ พรรษาต้องเข้าป่า เมื่อเข้าป่าแล้วห้ามออกมายุ่งกับชาวบ้านจนกว่าจะตาย จะพาพระและชาวบ้านที่อวดรู้ตกนรก จงไปตามทางของเธอ ท่านปานช่วยสอนวิชาเข้าป่าให้หนักหน่อย ท่านองค์นี้ (หมายถึงฉัน) จงเข้าป่าไปกับเขา แต่ห้ามอยู่ในป่าเป็นวัตร เพราะเธอมีบริวารมาก ต้องอยู่สอนบริวารจนตาย พอครบ ๒๐ พรรษาจงออกจากสำนักเดิม เธอจะได้ดี จงไปตามทางของเธอ ฉันบวชพระมามากแล้วไม่อิ่มใจเท่าบวชพวกเธอ"

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่น หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ

พ.ศ.๒๕๑๑ เข้ามาบูรณะวัดท่าซุง และรับตำแหน่งเจ้าอาวาส

พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

หลวงพ่อฤาษีลิงดำอาพาธด้วยโรคปอดบวมและติดเชื้อในกระแสโลหิต ท่านมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.

"..การอยู่ธุดงค์ต้องระมัดระวัง นั่นก็คือว่าการที่จะต้องอดข้าวกินจะต้องระวังทางด้านจิตใจ ไม่ให้นิวรณ์กวนใจ ขึ้นชื่อว่า นิวรณ์ บรรดาท่านพุทธบริษัท มันต้องกวนตลอดเวลา คำว่า นิวรณ์ แปลว่า เป็นกิเลสหยาบที่ทำปัญญาให้ถอยหลัง นั่นก็หมายความว่าคนใดถ้านิวรณ์รบกวนใจ ประจำใจอยู่ เวลานั้นเป็นคนไร้ปัญญา นิวรณ์ ๕ ประการก็คือ

๑.ความรักในระหว่างเพศ ขอเจาะเอาสั้นๆ คือ รักรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ก็ขอบอกสั้นๆ ว่า ความรักระหว่างเพศ รักแก้ว ถ้วยโถโอชามสร้อยถนิมพิมพา ก็รักแค่นั้นแหละ ความรุ่มร้อนมันมีน้อย ถ้าเกิดรักคนสวยขึ้นมานี่ ความเร่าร้อนมันมีมาก เลยถือใช้คำนี้เป็นคำสำคัญ และก็
๒.อารมณ์ไม่พอใจ จะต้องมีอารมณ์แช่มชื่นอยู่เสมอ
๓.ความง่วงในขณะที่ปฏิบัติความดี
๔.อารมณ์ฟุ้งซ่านนอกรีตนอกรอย สร้างวิมานในอากาศ
๕.สงสัยในความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกฏของกรรม

รวมความว่า ทั้ง ๕ อย่างนี้ จะต้องไม่ให้เป็นเจ้าหัวใจ มันมีได้ แต่ทว่า มันก็ต้องมีไม่ใช่ไม่มี แต่มันมีขึ้นเดี๋ยวเดียว ต้องรีบตกลงไป

ถ้า กามฉันทะ เกิดขึ้น ก็ใช้ ภายคตานุสสติ กับอสุภกรรมฐาน เข้าหักล้าง
ถ้า ความโกรธ ความพยาบาท เกิดขึ้น ใช้ พรหมวิหาร ๔ เข้าหักล้าง
ถ้า ความง่วง เกิดขึ้น เอาน้ำล้างหน้า หักล้าง
ถ้า ความฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นจับ อานาปานสติ หักล้าง
ถ้า ความสงสัยเกิดขึ้น ใช้ ปัญญา ใคร่ครวญความเป็นจริง ถึงความ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น ความแก่ ความเก่า ในท่ามกลาง การเปลี่ยนแปลงในท่ามกลางการแตกสลายในที่สุด.."


ขอขอบคุณที่มา : Fb.พระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ตุลาคม 2564 19:31:52 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2564 19:33:07 »


พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
๓๐ ตุลาคม​

วันนี้วันที่ ๓๐ ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันมรณภาพ ของ พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) รำลึกครบรอบ ปีที่ ๓๘ อาจาริยบูชาคุณพระอริยเจ้าผู้มีความสามารถเป็นเลิศในการสอนธรรม แห่งวัดบูรพาราม พระอารามหลวง อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระเดชพระคุณหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระสุปฏิปันโน ผู้มีโวหารธรรมอันแหลมคม

ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
หลวงปู่ดูลย์ ท่านถือกำเนิด ตรงกับวันอังคารที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๑ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ณ บ้านปราสาท ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์  ชีวิตของหลวงปู่ดุลย์ เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น ก็ถูกำหนดให้อยู่ในเกฏเกณฑ์ของสังคมสมัยนั้นแม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต ดังนั้นท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน งานในบ้าน เช่น ตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ ซึ่งมีหลายคน งานนอกบ้าน เช่น เช่วยแบ่งเบาภระของบิดาในการดูแลบำรุงเรือกสวนไร่นาแล้วเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น

ชีวิตสมณะการแสวงหาธรรม และปฏิปทา
แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใครๆ ก็ต้องรู้สึกว่าน่าเพลิดเพลินและน่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอยู่ในวัยกำลังงามแล้ว ยังเป็นนักแสดงที่มีผู้นิยมชมชอบมากอีกด้วย ถึงกระนั้นหลวงปู่ดุลย์ ก็มิได้หลงไหลในสิ่งเหล่านั้นเลย ตรงกันข้ามท่านกลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ คือ อยากออกบวช จึงพยายามขออนุญาตจากบิดามารดา และท่านผู้มีพระคุณที่มีเมตตาชุบเลี้ยงแต่ก็ถูกท่านเหล่านั้นคัดค้านเรื่อยมา โดยเฉพาะฝ่ายบิดามารดา ไม่อยากให้บวช เนื่องจากขาดกำลังทางบ้าน ไม่มีใครช่วยเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว ทั้งท่านก็เป็นบุตรชายคนโตด้วย

แต่ในที่สุด บิดามารดา ก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ ต้องอนุญาตให้บวชได้ตามความปรารถนาที่แน่วแน่ไม่คลอนแคลนของท่าน พร้อมกับมีเสียงสำทับจากบิดาว่าเมื่อบวชแล้วต้องไม่สึกหรืออยางน้อยต้องอยู่จนได้เป็นเจ้าอาวาส ทั้งนี้เนื่องจากปู่ของท่านเคยบวชและได้เป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว และคงเป็นเพราะเหตุนี้ด้วยกระมัง ท่านจึงมีอุปนิสัย รักบุญ เกรงกลัวบาป มิได้เพลิดเพลินคึกคะนองไปในวัยหนุ่มเหมือนบุคคลอื่น

ครั้นเมื่อได้รับอนุญาตจากบิดามารดาเรียบร้อยแล้วอย่างนี้ ท่านจึงได้ละฆราวาสวิสัย ย่างเข้าสู่ความเป็นสมณะ ท่านอุปสมบท ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๓ ณ วัดจุมพลสุทธาวาส จ.สุรินทร์  ในกาลต่อมา นับว่าเป็นโชคของท่านก็ว่าได้ ท่านมีโอกาสได้คุ้นเคยกับท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านรับราชการครูทั้งที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ในขณะนั้นที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลฯ ท่านอาจารย์สิงห์ได้ชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดุลย์ และเห็นปฏิปทาในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาของท่าน ว่าเป็นไปด้วยความตั้งใจจริง ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้ช่วยเหลือท่านในการขอญัตติจนกระทั่งประสบผลสำเร็จ

ท่านญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดสุทัศนาราม จ.อุบลราชธานี โดยมีพระมหารัตน์ รัฏฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์

จากการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและพิจารณาข้อธรรมะเหล่านั้นจนแตกฉานช่ำชองพอสมควรแล้ว ก็เห็นว่าการเรียนปริยัติธรรมอย่างเดียวนั้น เป็นแต่เพียงการจำหัวข้อธรรมะได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้ได้ผลและได้รู้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จึงบังเกิดความเบื่อหน่าย และท้อถอยในการเรียนพระปริยัติธรรมและมีความสนใจโน้มเอียงไปในทางปฏิบัติธรรม ทางธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่

นับว่าเป็นบุญลาภของหลวงปู่ดุลย์อย่างประเสริฐ ที่ในพรรษานั้นเองท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายอารัญญวาสี ได้เดินทางกลับจากธุดงค์กัมมัฏฐาน มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ข่าวที่พระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาที่วัดบูรพานั้นเลื่องลือไปทุกทิศทาง ทำให้ภิกษุสามเณร บรรดาศิษย์ และประชาชนแตกตื่นฟื้นตัวพากันไปฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น

หลวงปู่ดุลย์กับอาจารย์สิงห์ ๒ สหายก็ไม่เคยล้าหลังเพื่อในเรื่องเช่นนี้ พากันไปฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นกันเป็นประจำ ไม่ขาดแม้สักครั้งเดียว นอกจากได้ฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะ มีความหมายลึกซึ้งและรัดกุมกว้างขวาง ยังได้มีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของท่านพระอาจารย์มั่น ที่งดงามน่าเลื่อมใสทุดอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจคำพูดแต่ละคำมีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกทีฯ

ครั้นออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์อีก ภิกษุ ๒ รูป คือพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมกับหลวงปู่ดุลย์ จึงตัดสินใจสละทิ้งการสอนการเรียน ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นไปทุกแห่ง จนตลอดฤดูกาลนอกพรรษานั้น

ตามธรรมเนียมธุดงค์กัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่นมีอยู่ว่า เมื่อถึงกาลเข้าพรรษาไม่ให้จำพรรษารวมกันมากเกินไป ให้แยกกันไปจำพรรษาตามสถานที่อันวิเวก ไม่ว่าจะเป็นวัด เป็นป่า เป็นถ้ำ เป็นเขา โคนไม้ ป่าช้า ลอมฟาง เรือนว่าง หรืออะไรตามอัธยาศัย ของแต่ละบุคคล แต่ละคณะ

เมื่อออกพรรษาแล้ว หากทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอยู่ ณ ที่ใด พระสงฆ์ก็พากันไปจากทุกทิศทุกทางมุ่งไปยัง ณ ที่นั้นเพื่อเรียนพระกัมมัฏฐานและเล่าแจ้งถึงผลการประพฤติปฏิบัติที่ผ่านมา เมื่อมีอันใดผิด พระอาจารย์จักได้ช่วยแนะนำแก้ไข อันใดถูกต้องดีแล้วท่านจักได้แนะนำข้อกัมมัฏฐานยิ่งๆ ขึ้นไป

ดังนั้น เมื่อจวนจะถึงกาลเข้าปุริมพรรษา คือ พรรษาแรกแห่งการธุดงค์ของท่าน คณะหลวงปู่ดุลย์ จึงพากันแยกจากท่านพระอาจารย์มั่น เดินธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้นถึงป่าท่าคันโท ก็สมมติทำเป็นสำนักวัดป่า เข้าพรรษาด้วยกัน ๕ รูป คือ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ,ท่านพระอาจารย์บุญ ,ท่านพระอาจารย์สีทา ,ท่านพระอาจารย์หนู ,ท่านพระอาจารย์ดุลย์ อตุโล  ทุกท่านปฏิบัติตามปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอน ของท่านปรมาจารย์อย่างสุดขีด ครั้งนั้น บริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่ดุร้าย ไข้ป่าก็ชุกชุมมาก ยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้

ดังนั้นยังไม่ทันถึงครึ่งพรรษาก็ปรากฏว่า อาพาธเป็นไข้ป่ากันหมด ยกเว้นท่านอาจารย์หนูองค์เดียว ต่างก็ได้ช่วยรับใช้พยาบาลกันตามมีตามเกิด หยูกยาที่จะนำมาเยียวยารักษากันก็ไม่มีความป่วยไข้เล่าก็ไม่ยอมลดละ จนกระทั่งองค์หนึ่ง ถึงแก่มรณภาพลงในกลางพรรษานั้น ต่อหน้าต่อตาเพื่อนสหธรรมิกอย่างน่าเวทนา

สำหรับหลวงปู่ดุลย์ ครั้นได้สำเหนียกรู้ว่า มฤตยูกำลังคุกคามอย่างแรงทั้งหยูกยาที่จะนำมารักษาพยาบาลก็ไม่มี จึงตัดเตือนตนว่า "ถึงอย่างไร ตัวเราจักไม่พ้นเงื้อมมือของความตายในพรรษานี้เป็นแน่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้นเราจักตาย ก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด" จึงปรารภความเพียรอย่างเอาเป็นเอาตาย ตั้งสติให้สมบูรณ์พยายามดำรงจิตให้อยู่ในสมาธิอย่างมั่นคงทุกอริยาบถ พร้อมทั้งพิจารณาความตาย คือ มีมรณัสสติกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ไปด้วย โดยไม่ย่อท้อพรั่นพรึงต่อมรณภัยที่กำลังคุกคามจะมาถึงตัวในไม่ช้านี้เลย

ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์นี้เอง การปฏิบัติทางจิตที่หลวงปู่ดุลย์พากเพียรบำเพ็ญอยู่อย่างไม่ลดละ ก็ได้บังเกิดผลอย่างเต็มภาคภูมิ กล่าวคือ ขณะที่นั่งภาวนาอยู่ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกมากนั้น จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบและให้บังเกิดนิมิตขึ้นมา คือ เป็นพระพุทธรูปปรากฏขึ้นที่ตัวของท่าน ประหนึ่งว่าตัวของท่านเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ท่านพยายามพิจารณารูปนิมิตต่อไปอีก แม้ขณะที่ออกจากที่บำเพ็ญสมาธิภาวนาแล้วและขณะออกเดินไปสู่ละแวกบ้านป่าเพื่อบิณฑบาต ก็เป็นปรากฏอยู่เช่นนั้น
วันต่อมาอีกก่อนที่รูปนิมิตจะหายไป ขณะที่เดินกลับจากบิณฑบาต ท่านได้พิจารณาดูตนเองก็ได้ปรากฏเห็นชัดว่าเป็นโครงกระดุกทุกส่วนสัด วันนั้นจึงเกิดความรู้สึกไม่อยากฉันอาหารจึงอาศัยความเอิบอิ่มใจของสมาธิจิตกระทำความเพียรต่อไป เช่น เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้างตลอดวันตลอดคืน และแล้วในขณะนั้นเองแสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่จิตของท่าน

รู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้จนรู้กิเลสส่วนไหนละได้แล้ว ส่วนไหนยังละไม่ได้ ดังนี้

๑. บำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นปกติไม่ขาดสาย ไม่เคยขาดตกบกพร่อง กลางคืนจะพักผ่อนเพียง ๒ ชั่วโมงเท่านั้น
๒. ฉันมื้อเดียวตลอดมา เว้นแต่เมื่อมีกิจนิมนต์จึงฉัน ๒ มื้อ
๓. มีความเป็นอยู่ง่าย เมื่อขาดไม่ดิ้นรนแสวงหา เมื่อมีไม่สั่งสม เป็นอยู่ตามมีตามเกิดเจริญด้วยยถาลาภสันโดษ (คือสันโดษ ได้อย่างไร บริโภคอย่างนั้น)
๔. มีสัจจะ พูดอย่างไรต้องทำอย่างนั้น มีความตั้งใจจริง จะทำอะไรแล้วต้องทำจนสำเร็จ
๕. สัลลหุกวุตติ เป็นผู้มีความประพฤติเบากาย เบาใจ คือ เป็นผู้คล่องแคล่วว่องไว เดินตัวตรงและเร็ว แม้เวลาตื่นนอนพอรู้สึกตัวท่านจะลุกขึ้นทันที เหมือนคนที่พร้อมอยู่ตลอดเวลา
๖. นิยมการทำตัวง่ายๆ สบายๆ ไม่มีพิธีรีตอง มักตำหนิผู้ที่เจ้าบทบาทมากเกินควร
๗. การปฏิสันถาร ท่านปฏิบัติเป็นเยี่ยมตลอดมา

หลวงปู่ดุลย์ เป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย สงบ อยู่เป็นนิตย์ มีวรรณผ่องใส ท่านรักความสงบจิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกขมูเลวา สุญฺญาคาเรวา ภิกฺขโว ... " มาก

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ณ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ สิริอายุ ๙๕ ปี ๒๖ วัน พรรษา ๖๕ แม้ว่า หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้สละทิ้งร่างกายไปแล้ว แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลาย ยังเหลืออยู่ คุณธรรมดังกล่าวยังคงประทับอยู่ในจิตใจของทุกๆ คนไม่ลืมเลือน

“..ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งในขันธ์ ๕ แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ขออนุญาตพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เผยแผ่ธรรมทานแด่ผู้มีจิตศรัทธา



ขอขอบคุณที่มา : Fb.พระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2564 19:03:50 »


หลวงปู่ลี กุสลธโร
วัดเกษรศิลคุณธรรมเจดีย์ ต.หนองอ้อ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่ลี กุสลธโร
๓ พฤศจิกายน

๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เป็นวันคล้ายวันละสังขารของหลวงปู่ลี กุสลธโร เวียนมาครบรอบ ปีนี้ เป็นปีที่ ๓ อาจาริยบูชาพระคุณด้วยเศรียรเกล้า

หลวงปู่ลี ในครั้งเป็นนาคนั้น ท่านอายุ ๒๘ ปี หย่อนกว่าเจ้าชายสิทธัตถะ ๑ ปี ท่านเดินตามรอยพระบรมครู เอาอย่างเจ้าชายสิทธัตถะที่ละบ้านเรือนออกบวช อย่างองอาจกล้าหาญเช่นเดียวกัน

ลาพ่อแม่ พ่อตาแม่ยายแต่ไม่ลาเมีย
เพื่อเพิ่มอรรถรสและตีแผ่ชีวิตจริงจึงขอนำเรื่องน้องสาวอดีตภรรยาของท่าน คือ นางจำปี  นางได้เล่าเรื่องนี้ให้ฟังว่า ท่าน (หลวงปู่ลี) ลาเมียออกบวชว่า “ขอไปบวชเฉยๆ”

ภรรยาท่านไม่ยินยอม ท่านบอกว่า “ให้อนุโมทนาเอาบุญใหญ่ด้วยกัน” ภรรยาท่านก็ไม่เอา “ถ้าจะเอาบุญทำบุญจะไปทำกับพระรูปอื่น” ท่านลาบวช เมียก็ไม่ให้ไปบวช บุญแบ่งให้ก็ไม่รับส่วนบุญ ท่านจึงทิ้งไปเฉยเลย ทิ้งภรรยา ภรรยาท่านโกรธมาก ผู้หญิงจะหาอยู่หากินยังไงเมื่อผัวไม่อยู่ เมื่อผ่านไป ๓ ปี อดีตภรรยาของท่านจึงแต่งงานใหม่กับนายบัว โพธิ์ทอง มีลูกด้วยกัน ๖ คน และอดีตภรรยาของท่านคือนางชาตรี ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ อายุ ๘๗ ปี (ผู้เขียนพระมหาธีรนาถ อัคคธีโร ได้เคยสนทนาด้วย นางชาตรีเป็นผู้หญิงที่พูดน้อยและเรียบร้อยจริงๆ)

นางจำปีน้องเมียของท่านกล่าวต่อไปอีกว่า “กาลต่อมา นางชาตรีเมื่อทราบว่าหลวงปู่ลี กลับมาเยี่ยมบ้าน ได้เคยนำบุหรี่ หมากพลูไปถวาย เมื่อน้อมเข้าไปถวายท่าน ท่านหันหลังให้ทุกครั้ง และองค์ท่านไม่เคยสนทนาหรือถามไถ่แต่อย่างใดเลยสักครั้ง ทำให้นางชาตรีไม่กล้าเข้าไปหาท่านอีกเลย ซึ่งองค์หลวงปู่ลีได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้ว่า “ตั้งแต่เราออกบวชมา ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิง” เป็นจริงอย่างนั้นทุกประการ

ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า “การบวชได้บอกใครบ้างรึเปล่าหลวงปู่?”

ท่านกล่าวว่า “ได้บอกพ่อแม่ให้ทราบเท่านั้นว่าจะบวช ท่านก็ตามใจ”

กราบเรียนถามท่านว่า “แล้วเมียละครับปู่ ได้บอกบ้างไหม?”

ท่านตอบว่า “เมียนี่ กะหนีเลยแหล่ว บ่เว่า ลาพ่อเฒ่าแม่เฒ่าแล่วกะเปิดเลย ส่วนเมียนี้เราก็ทิ้งไปเลย ไม่ได้บอกลา ลาแต่พ่อตาแม่ยายแล้วก็เปิดเลย”

คำว่า “เปิดเลย” เป็นกิริยาแห่งการหนีออกไปแบบไม่เหลียวหลัง

ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า “กะจั่งว่า ๙ คน ออกบวชได้ ๒ คนเด้ อาจารย์เดือนเพิ่นว่าเด้ บัวคำกับเจ้าหล่ะ เหลือบางคนกะสิไปตามหลังเด้อ บางคนกะบ่ไป  ดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละว่า เป็นนาคถึง ๙ คน ออกบวชได้ ๒ คน วันที่ไปบวชอาจารย์เดือนท่านกล่าวว่า ได้นาคบัวคำกับเรา ที่เหลือจะตามไปทีหลัง บางคนเขาก็ไม่ไป”

ขอกล่าวถึงนาคบัวคำไว้เพื่อเป็นคติเครื่องเตือนสติสักเล็กน้อย นาคบัวคำได้ขอภรรยาออกบวช แต่ภรรยาไม่ยินดีให้บวช ท่านจึงนำเรื่องที่ตนเองอยากจะออกบวชมาเล่าให้ “นาคบัวทอง” ฟังว่า “บัวทอง กูอยากจะบวชหลาย กูอยู่ร่วมบ้านร่วมเมืองกับคนไม่ได้อีกต่อไปแล้ว อยู่เป็นคนบ้านคนเมืองมันร้อนรุ่มวุ่นวายหลาย กูจะหนีไปบวชกับเพิ่นลี (หลวงปู่ลี กุสลธโร) ในงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จังหวัดสกลนคร”

คืนหนึ่งนาคบัวคำได้บอกนางพลูซึ่งเป็นภรรยาและลูกทั้งสองว่า “จะออกมาปัสสาวะ”  ท่านอาศัยจังหวะที่ภรรยาเผลอนั้นเองแอบหนีไป รีบติดตามคณะพระอาจารย์เดือนมุ่งสู่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร คราวนั้นนาคลีจึงมีพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นพระอาจารย์หัดสอนขานนาคให้

ยังเหลืออีกผู้หนึ่งคือ นาคบัวทอง ใจก็ร่ำร้องคิดอยากจะบวชนักหนา แต่ว่าภรรยารู้ทัน ด้วยเหตุนี้ภรรยาของนาคบัวทอง จึงเกิดระแวงเป็นยิ่งนัก กลัวว่าสามีจะแอบหนีไปบวชเหมือนกับนาคบัวคำและนาคลี เวลากลางคืนภรรยาของท่านจึงเอาเชือกมาผูกข้อมือของท่านไว้ ด้วยกลัวว่าผัวจะหนี เวลาที่ท่านจะเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน ภรรยาก็จะออกมานั่งเฝ้า และมักจะเป็นแบบนี้อยู่เสมอ นาคบัวทองรอการออกบวชอยู่เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งภรรยาตายในปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ จึงสามารถออกบวชตามหลวงปู่บัวคำ มหาวีโร และหลวงปู่ลี กุสลธโร ได้ (ภายหลังนาคบัวทอง ได้บวชเป็นพระอาจารย์บัวทอง กนฺตปทุโม ศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านได้ครองวัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อจากพระอาจารย์บัวคำ มหาวีโร)

นับเป็นเวลาปีกว่าที่นาคลี ท่านบำเพ็ญภาวนาไม่ขาดสาย เอาทุ่งนาเป็นทุ่งธรรม เอาแสงเดือนแสงตะวันเป็นแสงแห่งพระธรรม เอานาข้าวเป็นนาบุญ อาศัยท้องนาเป็นทางเดินจงกรม

ท่านเล่าว่า “เมื่อถึงเวลากลับจากทุ่งนาเข้าสู่บ้านเรือน จิตของท่านเห็นเมียไม่มีราคะกำเริบสักนิด จิตเป็นอยู่อย่างสบาย ไม่เกี่ยวข้องทางกายด้วยจิตปฏิพัทธ์เลย”

ท่านกล่าวเพิ่มเติมว่า “ความรักความชังนั้น ถ้าไม่มี มันก็ไม่ร้อนใจ ต้องแก้ให้มันถึงฐานของมัน ต้องพิจารณาให้ถึงฐานของมัน ความสงบก็ให้มีเพียงพอ  ในโลกนี้มีแต่ความมืดกับความสว่างเท่านั้น ความจริงมีเท่านั้นนะ นอกนั้นมีแต่เรื่องที่สมมุติขึ้นมาหมด คิดไปคิดมา ดูซิ มันหลงสมมุติอยู่อย่างนั้น หลงรักหลงชัง หลงดีหลงชั่ว”

จิตสว่างตั้งแต่เป็นฆราวาส
ถึงตอนนี้ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านว่า “ทราบว่าหลวงปู่ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ ถึงขนาดสร้างทางจงกรมอยู่หัวไร่ปลายนาใช่ไหมครับ?”

ท่านเมตตาตอบแล้วอมยิ้มว่า “เฮ็ดอยู่แหล่ว เดินจงกรมแหล่ว เดินสุ่มื้อ อู๊ย! ภาวนามันเกิดแสงสว่าง อัศจรรย์แสงสว่างหละ นั่งก็ลงเร็ว สร้างทางเดินจงกรมที่ทุ่งนา เดินทุกวันมิได้ขาด โถ ภาวนาจิตเกิดแสงสว่าง อัศจรรย์แสงสว่าง นั่งสมาธิจิตก็สงบลงเร็ว”

“คราวนั้น จิตหลวงปู่ เคยลงไปหลายๆ ชั่วโมงหรือไม่ ปรากฏนิมิตในสมาธิหรือไม่?”

ท่านกล่าวว่า “ฮ่วย! นั่งตลอดแจ้งกะได้ เด๊ะ! นิมิตกะเคยเกิด เคยเกิดกะมีแต่คนมาตายใส่อยู่จั่งซั่น คนมาไคอึงหลึ่งจั่งซั่นกะมี มีแต่เห็นเรื่องอสุภะนี่หลาย เรานั่งทะลุสว่าง ก็ได้นิมิตอันเกิดแต่สมาธิ ปรากฏภาพคนตายต่อหน้า พุพองน้ำเหลืองไหลเยิ้ม จิตในขณะนั้น ปรากฏเห็นแต่ความไม่สวยไม่งามมากมาย”

ท่านอธิบายละเอียดลออจนข้าพเจ้าตื่นเต้นในการปฏิบัติของท่าน แต่องค์ท่านพูดเป็นภาษาอีสานล้วน ท่านพรรณนาโวหาร เพื่อความเข้าใจ ขอสรุปให้ฟังดังนี้

ท่านภาวนาเกิดแสงสว่างในดวงจิตเป็นที่น่าอัศจรรย์และการนั่งสมาธิจิตก็สงบได้โดยรวดเร็ว บางครั้งสงบเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง บางวันสงบนิ่งออกจากสมาธิก็เป็นเวลาฟ้าสาง

ในบางครั้งสมาธินิมิต มีคนมานอนตายต่อหน้าต่อตา น้ำเลือดน้ำเหลืองพุพองนองไหลปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด โดยส่วนมากปรากฏเป็นภาพอสุภกรรมฐาน พิจารณาเห็นคนทั้งหลายล้วนแต่เป็นซากศพทั้งนั้น ธรรมทั้งหลายเป็นของกลางตามอริยสัจ ไม่รักไม่ชัง เป็นความจริงล้วนๆ ทั้งสิ้น ธรรมที่ไม่เคยรู้ก็ปรากฏขึ้นมา สังขารมันไม่เที่ยง หมดไปเรื่อยๆ หันไปหาความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะเราอยู่ในระหว่างไตรลักษณ์ ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา สังขารที่มีวิญญาณก็ดี ไม่มีวิญญาณก็ดี ถูกไตรลักษณ์เบียดเบียนไปสู่มรณะ รีบเร่งทำความเพียรให้ทุกข์สิ้นไป

ระยะชีวิตอยู่ระหว่างภูเขาทั้ง ๔ เตรียมกลิ้งมาบดเราให้เป็นจุณไป ไม่วันใดก็วันหนึ่ง จะต้องตายแน่นอน ในระหว่างความเร็วและความช้าของสังขาร ให้พิจารณาความตายพลัดพรากจากกันเตรียมชมเหตุใหญ่ มรณะคือความตาย ตายในศีลทานภาวนา แปลว่า “ตายดีตายงามในทางพระพุทธศาสนา ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ พระนิพพาน”

องค์ท่านพิจารณาว่า การอยู่เป็นฆราวาสคับแคบยิ่งนัก สู้ออกบวชไม่ได้ มีโอกาสเต็มที่ ที่จะทรมานจิตตัวดิ้นรน มนุษย์เกิดมาในโลก มีบิดามารดา พี่ๆ น้องๆ และวัตถุข้าวของในปัจจุบันที่เกิดนั้น ประกอบด้วยจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ เหล่านี้ พากันรักใคร่เพลิดเพลินเห่อกัน

ฉะนั้น มีราคะโทสะโมหะ เพราะติดภพ ติดชาติ ติดโลกธรรม ๘ ประการ ไม่เพียงพอ อยากได้โน่น อยากได้นี่ ความพอความอิ่มในดวงจิตไม่เพียงพอ แม้แม่น้ำทะเล ยังรู้จักบกพร่องหรือเต็มเอ่อ

เรื่องตัณหาของโลก จึงพากันประพฤติทุจริตต่างๆ พากันทำบาปนานัปการ เมื่อบุคคลฟังโอวาทคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ารู้สึกตัว ปฏิบัติมรรคผลให้เกิดขึ้นก็พ้นโลกไป แต่จะต้องอบรมใจในทางศาสนาให้มากๆ เพื่อแก้สันดานที่หยาบๆ ของตนให้ถึงมรรคผล ให้เชื่ออริยสัจความจริงของศาสนา นรก สวรรค์ นิพพาน มีจริงๆ ให้เกิดความเลื่อมใส ควรเกิดสังเวช น้อมเข้ามาในตน ภาวนาไตรลักษณ์ไม่ให้มัวเมาในโลก

เห็นรึยังท่านทั้งหลาย! หากไม่มีบุญวาสนาต้องมีอันเป็นไป มิได้บวชในงานถวายเพลิงพระอรหันต์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นแน่แท้ ผู้มีบุญอันสั่งสมอบรมมาดีแล้วเท่านั้น จึงจะประสบหนทางแห่งบุญอันยิ่งใหญ่ ดังเช่นหลวงปู่ลี กุสลธโร พระผู้เป็นดั่งเศรษฐีธรรมนี้แล

หลวงปู่ลี ท่านว่ายิ่งทำสมาธิภาวนายิ่งอัศจรรย์พระพุทธเจ้า จึงคิดไว้ในใจว่า เราจักต้องออกบวชให้จงได้ จึงเข้าไปพูดให้แม่และพ่อบุญธรรมได้ทราบว่า “จะออกบวช” ท่านทั้งสองไม่ว่าประการใด ตามใจทุกอย่าง ส่วนเมียเขาไม่อนุโมทนาด้วยเราจึงไม่ได้บอก จึงกราบลาพ่อตาแม่ยาย จากนั้นก็เผ่นทันที ไม่ยินดีที่จะเหลียวหลังกลับ หวังเดินทางไปข้างหน้าหาทางพ้นทุกข์ให้จงได้

โครงการบวชในคราวนั้น คือบวชบูชาคุณ ในงานถวายเพลิงศพพระปรมาจารย์กรรมฐานสุดยอดแห่งยุคคือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

บวชบูชาพระกรรมฐานใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านอุปสมบทเพื่อบูชาคุณในงานถวายเพลิงศพ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับว่าเป็นการปฏิบัติบูชาและมหาบริจาคอย่างหนึ่ง คือ ชีวิตปริจาโค บริจาคชีวิตถวายไว้ในพระพุทธศาสนา สาสเน อุรํ ทตฺวา ถวายหัวอกหัวใจไว้เป็นพุทธบูชา ตราบเท่าชีวาจะหาไม่

ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ผู้ใดเอาชีวิตบูชาอย่างนี้ได้ชื่อว่า บูชาเคารพนับถือ ต่อพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ด้วยอาการอันยอดยิ่ง ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม ไม่เสื่อมจากพระนิพพาน

หลวงปู่ลี กุสลธโร จึงเป็นพระมหาเถระเพียงรูปเดียวที่บวชในงานศพหลวงปู่มั่นที่ยังมีชีวิตอยู่ยืนยาว การบวชปฏิบัติบูชาจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่น่ายินดียิ่งนัก
 
พระพุทธองค์ทรงตรัสปรารภยกย่องในเรื่องนี้ไว้ว่า “พุทธบริษัททั้งสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการบูชาเราด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมให้เหมาะสมแก่ธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่า สักการบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดยิ่ง”

หลวงปู่ลีได้ออกบวชปฏิบัติบูชาพระอรหันต์ผู้ยิ่งใหญ่ที่นิพพานอยู่เบื้องหน้านี้แล้ว ชีวิตท่านที่สละโลกออกบวช ย่อมมีผลและอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ สุดจะประมาณได้


คัดลอกจากหนังสือ "ธรรมลี เศรษฐีธรรม" หลวงปู่ลี กุสลธโร พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเศรษฐีธรรม ; จัดทำและเรียบเรียงโดย พระมหาธีนาถ อัคคธีโร ; หน้า ๙๐-๙๔ และ ๑๐๒-๑๐๓ ; พิมพ์เมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๖๐
Cr.เพจพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2564 20:17:08 »


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๑๑ พฤศจิกายน

๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ตรงกับวันละสังขาร ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รำลึกครบรอบ ๗๒ ปี ชาตกาล บูรพาอาจารย์ใหญ่สายพระป่ากรรมฐาน ซึ่งนับจากปีที่เกิดจนถึงปีที่ท่านละสังขาร ครบรอบ ๑๕๑ ปี พอดี

หลวงปู่มั่น  ละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน คืนวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๔๙๒ เวลา ๐๒. ๒๓ นาที รวมสิริอายุได้ ๘๐ ปี

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต : ประวัติโดยสังเขป
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุ ๑๕ ปี ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านคำบง

เมื่ออายุ ๒๒ ปี ได้เข้าศึกษาในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี และได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดสีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖ นามมคธที่อุปัชฌาย์ตั้งให้ชื่อ ภูริทัตโต

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้บำเพ็ญสมณธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ เป็นเวลาหลายปี พระอาจารย์เสาร์ฯ ได้พาท่านไปเที่ยวศึกษาธรรมปฏิบัติในสถานที่ต่างๆ ทั้งทางฝั่งซ้ายเมืองหลวงพระบางและที่อื่นๆ ซึ่งท่านเล่าว่าเคยพากันป่วยแทบกลับมาไม่รอด เพราะป่วยทั้งตัวท่านเอง และพระอาจารย์เสาร์ฯ ด้วย ท่านเลยมาระลึกถึงธรรมปฏิบัติโดยไปในที่สงัดแห่งหนึ่งพิจารณาความตายจิตเลยลงสู่ภวังค์ขจัดโรคอาพาธไปได้ในขณะนั้น

ภายหลังท่านได้ออกไปโดยเฉพาะแสวงหาความวิเวกตามสถานที่ต่างๆ อาศัยพุทธพจน์เป็นหลักเร่งกระทำความเพียรบำเพ็ญสมณธรรมโดยมิได้คิดเห็นแก่อันตรายใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในชีวิต

การบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงโตห์ ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา

ท่านได้อยู่บำเพ็ญสมณธรรมไปจนได้ความรู้ความฉลาดในทางดำเนิน แล้วท่านก็มาระลึกถึงหมู่คณะที่เป็นสหธรรมิกทางภาคอีสาน ที่พอจะช่วยแนะการปฏิบัติให้ได้ ท่านจึงได้เดินจากภาคกลางไปทางอุบลราชธานี เที่ยวจารีกไปในสถานที่ต่างๆ อันเป็นสถานที่พอจะพาคณะเจริญสมณธรรมได้ ภายหลังครั้งเมื่อพระภิกษุสามเณรได้ยินว่าท่านมาทางนี้ก็ได้เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติ แต่ครั้งแรกมีน้อย ที่เป็นพระภิกษุสามเณรถือนิกายอื่นแต่ได้เข้ามาปฏิบัติก็มีอยู่บ้าง โดยที่ท่านมิได้เรียกร้องหรือชักชวนแต่ประการใด ต่างก็น้อมตัวเข้ามาศึกษาปฏิบัติ เมื่อได้รับโอวาทและอบรมก็เกิดความรู้ความฉลาดเลื่อมใสเกิดขึ้นในจิตในใจ บางท่านก็ยอมเปลี่ยนนิกายเดิมกลับเข้ามาเป็นนิกายเดียวกับท่าน บางท่านก็มิได้เปลี่ยนนิกายท่านเองมิได้บังคับแต่ประการใด และเป็นจำนวนมากที่ยอมเปลี่ยนจากนิกายเดิม แม้ว่าท่านพระเถระทั้งหลายนี้แหละ เมื่ออบรมได้รับความเลื่อมใสในธรรมแล้ว ก็นำไปเล่าสู่กันฟังโดยลำดับ อาศัยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ต้องการพ้นจากกองทุกข์ ซึ่งอุปนิสัยวาสนาได้อบรมเป็นทุนดังที่ว่ามาแล้วแต่หนหลังก็ได้พยายามออกติดตามขอปฏิบัติด้วยเป็นจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ

ด้วยความที่ท่านหวังเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เหตุนั้นท่านจึงไม่อยู่เป็นที่เป็นทางหลักแหล่งเฉพาะแห่งเดียว เที่ยวไปเพื่อประโยชน์แก่ชนในสถานที่นั้นๆ ดังนี้

ณ กาลสมัยนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นฯ อยู่วัดเลียบนั้นมานาน จึงได้เข้าไปจำพรรษาที่กรุงเทพฯ และทางเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี จนถึงพ.ศ.๒๔๕๗

ท่านมาหาสหธรรมทางอุบลราชธานี จำพรรษาที่วัดบูรพาในจังหวัดนั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ ท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา

พ.ศ.๒๔๕๙ จำพรรษาที่ภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
พ.ศ.๒๔๖๐ จำพรรษาที่ บ้านคงปอ ห้วยหลวง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ.๒๔๖๑ จำพรรษาที่ ถ้ำผาบึ้ง จังหวัดเลย
พ.ศ.๒๔๖๒ จำพรรษาที่ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ.๒๔๖๓ จำพรรษาที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
พ.ศ.๒๔๖๔ จำพรรษาที่ บ้านห้วยทราย อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
พ.ศ.๒๔๖๕ จำพรรษาที่ ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.๒๔๖๖ จำพรรษาที่ วัดมหาชัย อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
พ.ศ.๒๔๖๗ จำพรรษาที่ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ.๒๔๖๘ จำพรรษาที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
พ.ศ.๒๔๖๙ จำพรรษาที่ บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
พ.ศ.๒๔๗๐ จำพรรษาที่ บ้านหนองขอน อำเภอบุง (ปัจจุบันอำเภอหัวตะพาน) จังหวัดอำนาจเจริญ
พ.ศ.๒๔๗๑ จำพรรษาที่ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
พ.ศ.๒๔๗๒-๒๔๘๒ จำพรรษาที่ จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔ จำพรรษาที่ วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ.๒๔๘๕ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.๒๔๘๖ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.๒๔๘๗ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๒ จำพรรษาที่ บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ท่านปฎิบัติจนถึงที่สุดแห่งธรรมในพระพุทธศาสนา ที่จังหวัดเชียงใหม่ ขณะนั่งสมาธิภาวนาบนพลาญหินกว้างใต้ร่มไม้ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวมีใบดกหนาร่มเย็นบริเวณชายภูเขาแห่งหนึ่ง ขณะที่จิตพลิกคว่ำวัฏจักรออกจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังมีบทบาลีขึ้นมา ๓ รอบ คือ “โลโป” , “วิมุตติ” และ “อนาลโย”

ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
          ๑. ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
          ๒. บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
          ๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด
          ๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้

ธรรมโอวาท - คำที่เป็นคติอันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้
          ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
          ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

เมื่อท่านอธิบายตจปัญจกกรรมฐานจบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่” ดังนี้

ปัจฉิมบท - ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนครเปลี่ยนอิริยาบถไปตามสถานที่วิเวกผาสุกวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบัน เป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ๆ แถวนั้นบ้าง ครั้น พ.ศ.๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายของชีวิต

หลังวันมาฆบูชาปี ๒๔๙๒ ท่านเริ่มป่วย ครั้นเมื่อออกพรรษาท่านป่วยหนัก จึงปรารภให้พาท่านไปสกลนคร ลูกศิษย์จึงนำท่านออกมาจากหนองผือและได้พักระหว่างทางที่วัดกลางโนนภู่ ๑๑ คืน จนวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ตอนเช้าราว ๗ น.กว่าๆ รถแขวงการทางสกลนครรับท่านจากวัดบ้านภู่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ถึงวัดป่าสุทธาวาส เวลา ๑๒.๐๐ น. ลมหายใจท่านปรากฏว่าค่อยอ่อนลงทุกทีและละเอียดไปตามๆ กัน ลมค่อยอ่อนและช้าลงทุกทีจนแทบไม่ปรากฏ วินาทีต่อไปลมก็ค่อยๆ หายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุม ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน จึงได้ถือเวลานั้นเป็นเวลามรณภาพของท่าน

สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา




           หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

เมื่อปี พ.ศ ๒๔๓๔ ถึงปี พ.ศ.๒๔๓๖ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เดินธุดงค์ผ่านหมู่บ้านคำบง ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่  จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  ซึ่งสมัยนั้นหลวงปู่มั่นยังเป็นฆารวาสอยู่

หลวงเปู่สาร์ กันตสีโล ได้แสดงธรรมอบรมหลวงมั่น จนเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงได้ติดตามหลวงปู่เสาร์ออกบวช จุดนี้เองจึงกลายเป็นความยิ่งใหญ่ของวงค์กรรมฐานตราบจนถึงปัจจุบัน

ความเป็นมาก่อนบวชของหลวงปู่มั่น  พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
กุดเม็กสถานที่พบกันครั้งแรกของ ๒ พระบุพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน คือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ขณะเป็นฆราวาสอยู่นั้น ได้กราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ครั้งแรก พร้อมทั้งมอบตัวเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่กุดเม็ก โดยอยู่ห่างจากบ้านคำบง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์มั่น ประมาณ ๒ กิโลเมตร ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้ขอท่านพระอาจารย์มั่นจากโยมพ่อโยมแม่ของท่านไปบวชด้วย ซึ่งผู้เล่าประวัติ ได้เล่าว่า “ท่านพระอาจารย์มั่น เทียวเข้าเทียวออกเป็นประจำที่กุดเม็ก บางคืนก็ไม่กลับเข้าไปนอนที่บ้าน อยู่ฝึกสมาธิและเพื่ออุปัฏฐากท่านพระอาจารย์เสาร์ คือล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำร้อนน้ำอุ่น รับประเคนสิ่งของถวายท่านพระอาจารย์เป็นประจำ ”

ท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ฝึกหัดกัมมัฏฐานร่วมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ และพระอาจารย์เสาร์ได้ชวนท่านพระอาจารย์มั่นไปบวชด้วย  โดยท่านกล่าวเป็นภาษาพื้นบ้านว่า  “โตไปบวชนำเฮาเด้อ” (หมายถึง เจ้าไปบวชกับเรานะ)





คำสอน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บุคคลสำคัญของโลก ซึ่งเป็น “หัวใจ” หรือเป็น “แก่น” สำคัญๆ ความว่า
           ๑. วาสนานั้นเป็นไปตามอัธยาศัย คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นเหมือนคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต (ผู้มีปัญญาและประพฤติดี) วาสนาก็เลื่อนขั้นเป็นบัณฑิต ฉะนั้น บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิต เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น
           ๒. ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดแต่ตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรมไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
           ๓. แต่คนโง่ชอบเงินมากกว่าคนดีและความดี ขอแต่ได้เงินแม้ตัวจะเป็นอย่างไรไม่สนใจคิด ถึงจะชั่วช้าลามกหรือแสนโสมมเพียงไรก็ตาม ขนาดนายยมบาลเกลียดกลัวไม่อยากนับเข้าบัญชีผู้ต้องหา กลัวจะไปทำลายสัตว์นรกด้วยกันให้เดือดร้อนฉิบหายก็ไม่ว่า ขอแต่ได้เงินก็เป็นที่พอใจ ส่วนจะผิดถูกประการใด ถ้าบาปมีค่อยคิดบัญชีกันเองโดยเขาไม่ยุ่งเกี่ยว
           ๔. ได้ใจแล้ว คือได้ธรรม เห็นใจแล้ว คือ เห็นธรรม รู้ใจตนแล้ว คือ รู้ธรรมทั้งมวล ถึงใจตนแล้ว คือ ถึงพระนิพพาน
           ๕. ใจนี่แล คือ สมบัติอันล้ำค่า จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป คนพลาดใจ คือ ไม่สนใจปฏิบัติต่อใจดวงวิเศษในร่างนี้ แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติ ก็คือ ผู้เกิดผิดพลาดนั่นเอง
           ๖. หาคนดีมีศีลธรรมในใจ หายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดา ได้คนเป็นคนดีเพียงคนเดียว ย่อมมีคุณมากกว่าเงินเป็นล้านๆ เพราะเงินเป็นล้านๆ ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือนได้คนดีทำประโยชน์
           ๗. ทาน ศีล ภาวนา เป็นรากเหง้าของความเป็นมนุษย์ และเป็นรากเหง้าของพระศาสนาที่มนุษย์ต้องคอยสั่งสมให้มาอยู่ในนิสัย
           ๘. ทานเป็นเครื่องแสดงน้ำใจ เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ศีลเป็นเครื่องปัดเป่าความคิดของผู้มีกิเลส ภาวนาอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลและความถูกต้อง
           ๙. ผู้เป็นหัวหน้าหรือมีภารกิจมาก ควรหันมาฝึกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการภาวนาช่วยแก้ความยุ่งยากลำบากใจทุกประเภทที่เป็นภาระหนัก หากปล่อยใจโดยไม่มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้ง คงไม่ได้รับความสุข แม้จะมีสมบัติก่ายกอง
          ๑๐. ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จะแยกกันไม่ได้ หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ต้องอาศัยกันอยู่ฉันใดก็ดี ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็อาศัยกันอย่างนั้น สัทธรรมสามอย่างนี้ จะแยกกันไม่ได้เลย
          ๑๑. อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย
          ๑๒. เกิดมาแล้ว ก็แก่ เจ็บ ตาย แต่ก่อนจะตาย ทานยังไม่มี ก็ให้มีเสีย ศีลยังไม่เคยรักษา ก็รักษาเสีย ภาวนายังไม่เคยเจริญ ก็เจริญให้พอเสียจะได้ไม่เสียที ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาด้วยความไม่ประมาท นั้นละจึงจะสม กับที่ได้เกิดมาเป็นคน
          ๑๓. ผู้มีปัญญาไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ผู้มีปัญญาได้เห็นธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย ผู้มีปัญญาซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน
          ๑๔. จะเอาอะไรมาเพิ่มอีก ก็ถ้าหากตายไปในวันนี้วันพรุ่งนี้ สิ่งต่างๆ ที่เคยมีและผ่านเข้ามา ตะเกียกตะกายดิ้นรนไขว่คว้าทุกอย่างก็จะเป็นเพียงแค่ สิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา
          ๑๕. ไม่ควร “ยกโทษ ผู้อื่น” หรือ “เพ่งโทษผู้อื่น” ถึงแม้นผู้นั้น จะไม่ดีก็ตามที เพราะการเพ่งโทษผู้อื่น จะนำความวิบัติสู่ตนโดยไม่รู้ตัว ความเผลอสติ มักพาให้ผู้คนนั้น “ยกโทษผู้อื่น และพยายามยกคุณตนเอง” แทนที่จะ “ยกคุณผู้อื่น ยกโทษตนพิจารณา”
          ๑๖. เราต้องการของดี คนดีจำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกตน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน
          ๑๗. คนมีทานย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผย และเด่นในปวงชน เป็นที่เคารพรักในหมู่ชน จะตกอยู่ทิศใดย่อมไม่อดอยาก ขาดแคลนจะมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์ ผู้มีทานประดับตน ย่อมไม่เป็นคนล้าสมัย บุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ
          ๑๘. บุคคลใดปฏิบัติแล้ว บุคคลนั้นย่อมพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมเห็นความเกิด แก่ เจ็บ และตายในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เห็นความสุข ความยินดีน้อยหนึ่งในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ไม่เห็นซึ่งอะไรๆ ในเบื้องต้น ท่ามกลางหรือที่สุดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งจะเข้าถึงความเป็นของไม่ควรถือเอา
          ๑๙. อย่าลดละท้อถอยความเพียร ธรรมเป็นสมบัติกลางและเป็นสมบัติของทุกคนที่ใคร่ต่อธรรม พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดไว้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต่างมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของได้ด้วยการปฏิบัติดีของตนด้วยกัน
          ๒๐. จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเหล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย
          ๒๑. ใครเพียร ใครอาจหาญ ใครอดทน ในการต่อสู้กับกิเลสตัวฝืนธรรมอยู่ตลอดเวลา ผู้นั้นจะเจอร่มเงาแห่งความสงบเย็นใจในโลกนี้ ในบัดนี้ และในดวงใจนี้ ไม่เนิ่นนานเหมือนการท่องเที่ยวที่เจือไปด้วยสุขด้วยทุกข์อยู่ทุกภพ ทุกชาติ ไม่มีวันจบสิ้น
          ๒๒. ฝึกตนดีแล้ว จึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทฺโท โหติ คือ เป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ
          ๒๓. ผู้มีสมบัติพอประมานในทางที่ชอบ มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริงทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์
          ๒๔. อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่ หรือบุคคลใดๆ ว่าเป็นภัยและเป็นคุณ ให้เสียเวลาและล่าช้าไปเปล่า โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร ยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลสกับธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ใจ
          ๒๕. การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจ ของผู้มีภาวนาจะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญเล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่ปิดซ่อนให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง
          ๒๖. ความทุกข์ ทรมาน ความอดทน ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที
          ๒๗. ศาสนาทางมิจฉาทิฏฐิ ก็นับวันจะแสดงปาฏิหาริย์ คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคและกระบือ ผู้ที่ฉลาดก็เหลือน้อย ฉะนั้น พวกเธอทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม พระธรรมเหล่านี้ไม่ล่วงไปไหน มีอยู่ ทรงอยู่ในปัจจุบัน จิตในปัจจุบัน ที่เธอทั้งหลายตั้งอยู่หน้าสติ หน้าปัญญา อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแล
          ๒๘. “กิเลสแท้ ธรรมแท้อยู่ที่ใจ ส่วนเครื่องส่งเสริมและกดถ่วงกิเลสและธรรมนั้นมีอยู่ทั่วไปทั้งภายในภายนอก ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้หลบหลีกปลีกตัวจากสิ่งยั่วยวนกวนใจ อันจะทำให้กิเลสที่มีอยู่ภายในกำเริบลำพอง มีรูป เสียง เป็นต้น และสอนให้เที่ยวอยู่ในที่วิเวกสงัด เพื่อกำจัดกิเลสชนิดต่างๆ ด้วยความเพียรได้ง่ายขึ้น อันเป็นการ
          ๒๙. จิตที่ได้รับการอบรมที่ถูกต้องแล้วปัญญาย่อมเกิดขึ้น จะมองดูอะไรก็เป็นนิยายนิกธรรมทั้งสิ้น ส่วนผู้มี่ได้รับการอบรมจิตที่ถูกต้อง ปัญญาแท้จริงก็ไม่เกิด แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป ส่วนผู้มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่างๆ มาเป็นธรรม เป็นยอดพระไตรปิฎกได้



คัดจากหนังสือ "ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์"
Cr. เพจพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.71 Chrome 97.0.4692.71


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 17 มกราคม 2565 16:22:03 »



อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่ชา สุภัทโท
๑๖ มกราคม

วันที่ ๑๖ มกราคม ของทุกปี วัดหนองป่าพง จะจัดงานปฏิบัติธรรมประจำปีระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๗ มกราคม เพื่อเป็นอาจาริยบูชา โดยมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ที่เป็นศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ชาจากทั่วโลก รวมถึงญาติโยมที่มีความศรัทธาหลวงปู่ชา จะมารวมกันที่บริเวณเจดีย์พระโพธิญาณ สถานที่เก็บอัฐิของหลวงปู่ชา พิธีเป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยมีการเดินประทักษิณารอบเจดีย์ พร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน เพื่อเป็นการไหว้ครูและรำลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ชา บุรพาจารย์ผู้ล่วงลับดับขันธ์นั่นเอง โดยมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณรที่เป็นศิษยานุศิษย์จากทั่วโลก รวมถึงญาติโยมที่มีความศรัทธาในคำสอนของหลวงปู่ชา มาร่วมแสดงความเคารพหลวงปู่ชา ผู้เปรียบเสมือนพ่อแม่ครูอาจารย์ของศิษยานุศิษย์สายวัดหนองป่าพง

เมื่อใกล้ถึงวันงาน บรรยากาศก็เริ่มคึกคักครับ ผู้คนจากทั่วสารทิศ ศิษยานุศิษย์เริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่กางเต็นท์ กางมุ้ง ซึ่งทุกคนที่ร่วมปฏิบัติธรรมจะนุ่งขาวห่มขาว อยู่ในบริเวณป่าของวัดหนองป่าพง ให้บรรยากาศคล้ายกับการธุดงด์ของพระป่าสายปฏิบัติกรรมฐาน โดยเดินประทักษิณรอบเจดีย์ ๓ รอบ เพื่อเป็นการไหว้ครู และรำลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ชา จากนั้นจะเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาโดยพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ชาตลอดทั้งคืน เรื่อยมาจนถึงเช้าของวันที่ ๑๗ มกราคม


ชีวประวัติหลวงพ่อชา สุภัทโท

ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำมูลทางทิศใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวนาแห่งหนึ่ง บ้านก่ออยู่ในเขตตำบลธาตุ (ปัจจุบันเป็นตำบลแสนสุข) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ณ หมู่บ้านแห่งนั้น พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ได้ถือกำเนิดในสกุล ช่วงโชติ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ของพ่อมา แม่พิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๐ คน  ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพกสิกรรม มีฐานะมั่นคง บิดามารดามีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี มักเอื้อเฟื้อทั้งวัตถุและไมตรีแก่เพื่อนบ้านเสมอ รวมทั้งมีใจบุญสุนทานเข้าวัดฟังธรรมอยู่เป็นประจำ อันเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของชาวชนบทอีสานโดยทั่วไป

หลวงพ่อเติบโตในบรรยากาศอบอุ่นมั่นคงของครอบครัวใหญ่ แวดล้อมด้วยหมู่วงศาคณาญาติ ที่ต่างพึ่งพาอาศัย เคารพ รัก นับถือกันและกัน ครอบครัวของท่านจึงเป็นครอบครัวหนึ่งในชนบทที่มีความสงบสุขตามอัตภาพ

ในวัยเด็ก หลวงพ่อมีรูปลักษณ์น่าเอ็นดู ด้วยรูปร่างอ้วนกลมพุงพลุ้ย และปากกว้างที่เชิดขึ้นเล็กน้อย เพื่อนๆ จึงขนานนามท่านว่า "อึ่ง" น้องชายของท่านเล่าถึงลักษณะและอุปนิสัยของ พี่ชายว่า "เป็นคนมีรูปร่างลักษณะแม้ไม่หล่อ แต่ก็ไม่ขี้เหร่ ดูได้ทั้งวันไม่น่าเบื่อ และเป็นคนพูดเก่ง อารมณ์ดี ชอบสนุก รวมทั้งมีอารมณ์ขัน ชอบนำเรื่องตลกมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้หัวเราะครื้นเครงอยู่เสมอ"

หลวงพ่อมีลักษณะของผู้นำมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเล่นกับเพื่อนๆ ชอบเป็นหัวหน้า แต่ก็เป็นผู้นำที่ฝักใฝ่ธรรมาธิปไตย ไม่นิยมความรุนแรง รักสันติ มีความเป็นกลาง มักช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาและความขัดแย้งของเพื่อนๆ

เอกลักษณ์โดดเด่นอีกอย่างคือ เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่ชอบการโกหก มีนิสัยตรงไปตรงมา รักในความเป็นธรรมและเสียสละ เวลาเฉลี่ยแบ่งปันสิ่งของในหมู่เพื่อน มักขอส่วนแบ่งที่น้อยกว่าผู้อื่น และมีนิสัยเช่นนี้เสมอต้นเสมอปลาย

นอกจากมีนิสัยชอบเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมแล้ว บางครั้งยังชอบเล่นเป็นพระอีกด้วย หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า "ตอนเด็กๆ คิดอยากจะเล่นเป็นพระ ก็เลยตั้งตนเป็นสมภารขึ้นมา เอาผ้าขาวม้ามาห่มเป็นจีวร ถึงเวลาฉันเพลก็ตีระฆังแก๊งๆ ให้เพื่อนๆ ที่เล่นเป็นโยมอุปัฏฐาก เอาน้ำมาให้ฉัน แล้วรับศีลรับพร" ท่านเล่าถึงอดีตและหัวเราะอย่างอารมณ์ดี

ต่อมา หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จากโรงเรียนบ้านก่อแล้ว เด็กชายชาได้รบเร้าให้พ่อแม่พาตนไปฝากเป็นศิษย์วัด พ่อมาและแม่พิมพ์ก็ไม่ขัดข้อง กลับรู้สึกยินดีที่ลูกใฝ่ใจเรื่องวัดเรื่องวา จึงนำเด็กชายชาไปฝากฝังกับท่านอาจารย์ลีที่วัดบ้านก่อนอก ครั้นได้เป็นเด็กวัดดังปรารถนาแล้ว เด็กชายชาก็มีโอกาสได้เรียนรู้ความเป็นอยู่ของชาววัด พร้อมทั้งฝึกหัดไหว้พระสวดมนต์ และอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์ ท่านอาจารย์ลีเฝ้าจับตามองอยู่หลายเดือน เห็นว่าเป็นเด็กเรียบร้อย และขยันหมั่นเพียรดี จึงจัดการบวชเณรให้พร้อมกับเพื่อนๆ อีกหลายคน โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะนั้นอายุได้ ๑๓ ปี

เมื่อบรรพชาแล้ว ได้ศึกษาหลักสูตรนักธรรม และเรียนหนังสือพื้นเมืองที่เรียกกันว่า หนังสือตัวธรรม รวมทั้งท่องบ่นบทสวดมนต์ต่างๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญ บวชเณรได้สามปี ก็ลาสิกขาบท กลับไปใช้ชีวิตทางโลกอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ได้ศึกษาบทเรียนชีวิตหลายอย่าง ซึ่งต่อมามันได้กลายเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า ที่ท่านนำมาเป็นหลักพิจารณาให้เกิดศรัทธาและปัญญาอันเป็นประโยชน์

บทเรียนชีวิต
เมื่อลาสิกขากลับมาอยู่บ้าน นายชาผู้ผ่านการบวชเรียนมาสามปี เกิดความซาบซึ้งในพระคุณบิดามารดามากยิ่งขึ้น สิ่งใดจะนำความสุขกายสบายใจมาให้ท่านทั้งสอง ก็พยายามกระทำอยู่อย่าง สม่ำเสมอ  อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกในส่วนลึกของจิตใจ ได้ปรากฏขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ว่า ชีวิตแบบชาวบ้านนี้ไร้แก่นสาร ท่านเล่าความรู้สึกนั้น ให้ศิษย์ฟังในภายหลังว่า "...ตอนนั้นอายุประมาณสิบห้าสิบหกปี เบื่อ.. ไม่อยากอยู่กับครอบครัว คิดอยากจะไปอยู่คนเดียวเรื่อยๆ ไม่รู้ทำไมถึงคิดอย่างนั้น เป็นอยู่หลายปีเหมือนกัน ไม่รู้มันเบื่ออะไร มันอยากไปไหนๆ คนเดียว เป็นอย่างนั้นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็มาบวช อันนี้มันเป็นนิสัยหรือบารมี แต่เราไม่รู้จักมัน แต่ก็มีความรู้สึกอย่างนี้ตลอดมา..."

แต่เหมือนโลกต้องการฝากบทเรียนชีวิตให้แก่ผู้จะสละโลกเสียก่อน นายชาจึงยังไม่มีโอกาสทำตามความรู้สึกในส่วนลึกของจิตใจได้ นายชามีเพื่อนรักคนหนึ่งชื่อ นายพุฒ ทุมมากรณ์ ซึ่งเป็นเพื่อนที่สนิทสนมเคยเล่นกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เมื่อทั้งสองแตกเนื้อหนุ่ม การละเล่นอย่างเด็กๆ ก็จืดจางไร้รสชาติ จึงพากันแสวงหาของเล่นแบบใหม่ที่เหมาะกับวัยของตน

การมีคนรักเป็นเรื่องสนุกตื่นเต้นและท้าทายสำหรับวัยรุ่น แต่มันก็อาจเป็นที่มาของความล้มเหลว หรือความรุ่งโรจน์ของชีวิตในขณะเดียวกันได้ ในที่สุดนายชาได้เกิดสัมพันธ์รักกับนางสาวจ่าย ซึ่งเป็นลูกติดแม่เลี้ยงของนายพุฒเพื่อนรักนั่นเอง

ความรักของหญิงชายคู่นี้ ญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิงไม่มีใครรังเกียจ เพราะเห็นว่านายชาเป็นคนดีมีคุณสมบัติเพียบพร้อมทั้งนิสัยใจคอและฐานะทางครอบครัว พ่อแม่ของหญิงสาวถึงกับกีดกันหนุ่มอื่นไม่ให้มีโอกาสย่างกรายผ่านขึ้นมาบนเรือนเลยทีเดียว

เวลานั้นนายชาอายุได้ ๑๙ ปี ส่วนหญิงสาวอายุ ๑๗ ปี ทั้งสองได้สัญญาต่อกันว่า จะรอจนกว่านายชาผ่านการเกณฑ์ทหาร แล้วบวชทดแทนคุณพ่อแม่สักหนึ่งพรรษา เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จะแต่งงานกันทันที

ย่างเข้าฤดูฝน ชาวนาต่างตระเตรียมคราด ไถ และวัวควาย รอการปักดำ นายชาก็ง่วนอยู่กับการงานที่กระท่อมกลางนา โดยหารู้ไม่ว่าความผิดหวังบทเรียนเรื่องอนิจจัง กำลังจะเกิดขึ้นกับตน "ให้มันแต่งกับไอ้พุฒ ลูกชายของเรานี่แหละ" พ่อของนายพุฒปรารภเรื่องการแต่งงานของนางสาวจ่ายกับภรรยาตน เพราะเห็นว่านายชากับนางสาวจ่ายถึงจะเหมาะสมกันก็จริง แต่ต้องรอกันอีกหลายปี ดีไม่ดีนายชาอาจเปลี่ยนใจ ลูกของตนจะมีแต่ทางเสีย และยังมีความเห็นในแง่เศรษฐศาสตร์อีกว่า "เรือล่มในหนองทองจะไปไหน"

ข่าวการแต่งงานของนายพุฒกับนางสาวจ่าย แพร่กระจายไปทั่วหมู่บ้าน กระทั่งไปไกลถึงกระท่อมกลางนา นายชารู้สึกเสียใจมาก แต่ในที่สุดก็ทำใจได้ไม่โกรธแค้นเขาทั้งสอง เพราะรู้ว่าเขาจำเป็นต้องทำตามความปรารถนาของพ่อแม่

ความผิดหวังครั้งนี้ จึงกลับกลายเป็นบทเรียนเรื่องอนิจจังบทแรกให้แก่ท่าน นายชายังคงรักษาความสัมพันธ์ฉันเพื่อนที่ดีกับนายพุฒเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่สำหรับแม่จ่ายนั้นนายชายังตัดห่วงหาอาลัยไม่ขาด

หลวงพ่อเคยเล่าว่า ต้องระวังใจตัวเองมาก แม้บวชเป็นพระแล้ว ถ้าเห็นแม่จ่ายเดินมาต้องรีบหลบเข้าป่าทันที เจ็ดปีแรกที่บวชท่านยอมรับว่า ยังสลัดความอาลัยในสาวจ่ายออกไม่ได้ กระทั่งออกธุดงค์เจริญกรรมฐานอย่างเด็ดเดี่ยวจริงจัง ความรู้สึกนั้นจึงค่อยคลายหายไป

เมื่อหลวงพ่ออบรมพระเณรเรื่องกาม ท่านมักพูดถึงพ่อพุฒในฐานะเป็นผู้มีบุญคุณต่อท่านว่า "ถ้าเขาไม่แต่งงานกับแม่จ่าย เราก็คงไม่ได้บวช" หลังจากได้รับบทเรียนแห่งอนิจจังบทแรก ความรู้สึกที่มีต่อโลกในแง่เบื่อหน่ายก็ยิ่งปรากฏขึ้นชัดเจน ทำให้เริ่มมองเห็นความไม่เที่ยงแท้และแน่นอนในชีวิต เกิดความระมัดระวังในเรื่องความรักหรือเพศตรงข้ามมากขึ้น

สมัยที่บวชเณร นายชาสนิทสนมกับเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งซึ่งบวชเป็นพระ แม้เมื่อลาสิกขาแล้วทั้งสองยังคงไปมาหาสู่กัน ด้วยความรักและนับถือเสมือนพี่น้อง ต่อมาเพื่อนคนนั้นป่วยหนักและถึงแก่กรรม นายชาได้ไปช่วยงานศพตั้งแต่วันแรก จนกระทั่งงานลุล่วงไป และด้วยความคุ้นเคยกับครอบครัวนี้ จึงเกิดความเป็นห่วงว่าภรรยาและลูกๆ ของผู้ตายจะรู้สึกว้าเหว่ จึงพักค้างคืนอยู่เป็นเพื่อน เพื่อให้กำลังใจแก่กันก่อน

คืนแรกผ่านไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พอคืนที่สอง ตกดึกภรรยาของผู้ตายได้เข้ามานอนแอบอิงอยู่แนบข้าง พร้อมทั้งจับมือเพื่อนสามีมาลูบไล้เรือนร่างตน แต่นายชาก็หาได้ตอบสนองตามความต้องการของนางไม่ กลับแสร้งทำเป็นหลับ ไม่รับรู้อะไร เมื่อนางไม่อาจทำในสิ่งที่ปรารถนาได้ จึงลุกหนีไปด้วยความอับอาย คืนนั้นนายชาได้เอาชนะกามราคะเป็นครั้งแรกในชีวิต ชนะด้วยความอดทน ด้วยจิตสำนึกในความถูกต้องดีงามและละอายต่อบาป




หลังจากที่หลวงปู่ชา สุภทฺโท ท่านได้ริเริ่มบุกเบิก วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นต้นมา วัดนี้ก็ค่อยๆ เติบโตจนกลายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นเหตุให้มีผู้คนหลั่งไหลมาจาริกบุญ ศึกษาธรรมที่วัดนี้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งมีความคิดว่าวัดหนองป่าพงควรมีมูลนิธิเหมือนอย่างวัดอื่นบ้างเพื่อวัดจะได้มีทุนดำเนินงานอย่างมั่นคง

เมื่อลูกศิษย์นำความดังกล่าวไปปรึกษาหลวงปู่ชา ประโยคแรกที่ท่านตอบก็คือ "อย่างนั้นก็ดีอยู่ แต่ผมคิดว่ามันยังไม่ถูกต้อง" แล้วท่านก็ให้ความเห็นต่อว่า "ถ้าพวกท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว คงจะไม่อด พระพุทธเจ้าท่านก็ยังไม่เคยมีมูลนิธิเลย ท่านก็โกนหัวปลงผมทำอะไรเหมือนพวกเรา ท่านก็ยังอยู่ได้ ท่านได้ปูทางไว้ให้แล้ว เราก็เดินตามทางก็น่าจะพอไปได้นะ" แล้วหลวงปู่ชาก็สรุปว่า

"บาตรกับจีวรนี่แหละ มูลนิธิที่พระพุทธเจ้าตั้งไว้ให้ เรากินไม่หมดหรอก"

หลวงปู่ชาเป็นอยู่อย่างมักน้อยสันโดษมาก กุฏิของท่านแทบจะโล่ง เพราะมีแต่เตียงนอนและของใช้ที่จำเป็น เช่น กระโถน ไม่มีของใช้ฟุ่มเฟือยเลย ส่วนวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ญาติโยมนำมาถวายอยู่เสมอนั้น ท่านก็ส่งต่อไปให้ลูกศิษย์ตามวัดสาขาต่างๆ หมด ท่านไม่เคยมีบัญชีเงินฝากส่วนตัว ปัจจัยหรือเงินทำบุญที่โยมถวายนั้น ท่านให้เป็นของกลางหมด "เราพอกิน พออยู่แล้ว จะมากอะไรทำไมนะ กินข้าวมื้อเดียว" ท่านเคยพูดให้ฟัง

บ่อยครั้งที่โยมมาตัดพ้อต่อว่า เพราะได้ปวารณาถวายปัจจัยไว้ให้ท่านใช้ในกิจส่วนตัว แต่หลวงปู่ชาท่านไม่เคยเรียกใช้สักที ท่านเคยปรารภกับลูกศิษย์ว่า "ยิ่งเขามาปวารณาแล้ว ผมยิ่งกลัว"

คราวหนึ่งมีผู้เอารถไปถวายหลวงปู่ชา รบเร้าให้หลวงปู่รับให้ได้ โดยขับมาจอดหลังกุฏิท่าน แล้วเอากุญแจใส่ย่ามท่านไว้ แต่ปรากฏว่าหลวงปู่ชาท่านไม่เคยไปดูรถคันนั้นเลย พอออกจากกุฏิท่านจะเดินไปทางอื่น จะไปในเมือง ท่านก็ขึ้นรถคันอื่น หลังจากนั้น ๗ วัน ท่านก็เรียกโยมคนหนึ่งมาหาแล้วบอกว่า "ไปบอกเขาเอารถกลับคืนไปนะ เอามาถวายข้อย ข้อยก็รับไปแล้ว เดี๋ยวนี้ข้อยจะส่งคืน มันไม่ใช่ของพระ"

อีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ชาท่านจะไปวัดถ้ำแสงเพชร ลูกศิษย์ที่มีรถส่วนตัวคันงามยี่ห้อดัง ต่างแย่งกันนิมนต์ให้ท่านขึ้นรถของตนซึ่งจอดเรียงรายอยู่ที่ลานวัดให้ได้ หลวงปู่ชาท่านกวาดตาดูสักครู่ ก็ชี้มือไปที่รถเก่าบุโรทั่งคันหนึ่งพร้อมกับพูดว่า "อ้า ไปคันนั้น" เจ้าของได้ยินเช่นนั้นก็ดีใจสุดขีด รีบเปิดประตูนิมนต์ให้หลวงปู่ชาท่านนั่ง

ว่ากันว่าการเดินทางวันนั้นใช้เวลานานกว่าปกติ เพราะขบวนรถคันงามความเร็วสูงต้องค่อยๆ ขับตามหลังรถโกโรโกโสไปโดยดุษณีภาพ

มีคนอยากถวายรถยนต์ให้หลวงปู่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี แต่แทนที่ท่านจะตอบรับ ท่านได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมสงฆ์วัดหนองป่าพงหลังสวดปาฏิโมกข์เพื่อฟังความเห็นพระสงฆ์ ทุกรูปเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะรับด้วยเหตุผลว่า สะดวกแก่หลวงพ่อเวลาไปเยี่ยมสำนักสาขาต่างๆ ซึ่งมีมากกว่า ๔๐ สาขา ในเวลานั้น อีกทั้งเวลาพระเณรอาพาธก็จะได้นำส่งหมดได้ทันท่วงที

หลังจากที่หลวงปู่ชารับฟังความคิดเห็นของที่ประชุมแล้ว ท่านก็แสดงทัศนะของท่านว่า “สำหรับผม มีความเห็นไม่เหมือนกับพวกท่าน ผมเห็นว่าเราเป็นพระ เป็นสมณะ เป็นผู้สงบระงับ เราต้องเป็นผู้มักน้อย สันโดษ เวลาเช้าเราอุ้มบาตรออกไปเที่ยวบิณฑบาตรับอาหารจากชาวบ้านมาเลี้ยงชีวิต เพื่อยังอัตภาพนี้ให้เป็นไป ชาวบ้านส่วนมากเขาเป็นคนยากจน เรารับอาหารจากเขา เรามีรถยนต์แต่เขาไม่มี นี่ลองคิดดูซิว่ามันจะเป็นอย่างไร เราอยู่ในฐานะอย่างไร เราต้องรู้จักตัวเอง เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าไม่มีรถ เราก็อย่ามีเลยดีกว่า ถ้ามี สักวันหนึ่งก็จะมีข่าวว่ารถวัดนั้นคว่ำที่นี่ รถวัดนี้ไปชนคนที่นี่  อะไรวุ่นวาย เป็นภาระยุ่งยากในการรักษา

เมื่อก่อนนี้ จะไปไหนแต่ละทีมีแต่เดินไปทั้งนั้น ไปธุดงค์สมัยก่อนไม่ได้นั่งรถไปเหมือนทุกวันนี้ ถ้าไปธุดงค์ก็ไปธุดงค์กันจริงๆ ขึ้นเขาลงห้วยมีแต่เดินทั้งนั้น เดินกันจนเท้าพองทีเดียว

แต่ทุกวันนี้พระเณรเขาธุดงค์มีแต่นั่งรถกันทั้งนั้น เขาไปเที่ยว ดูบ้านนั้นเมืองนี้กัน ผมเรียกทะลุดง ไม่ใช่ธุดงค์ เพราะดงที่ไหนมีทะลุกันไปหมด นั่งรถทะลุมันเลย ไม่มีรถก็ช่างเหอะ ขอแต่ให้เราประพฤติปฏิบัติดีเข้าไว้ก็แล้วกัน เทวดาเห็นเข้าก็เลื่อมใสศรัทธาเองหรอก”

“ผมไม่รับรถยนต์ที่เขาจะเอามาถวายก็เพราะเหตุนี้ ยิ่งสบายเสียอีก ไม่ต้องเช็ดไม่ต้องล้างให้เหนื่อย ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้ อย่าเห็นแก่ความสะดวกสบายกันนักเลย”

ทำไม หลวงปู่ชา สุภัทโท แห่ง วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี จึงไม่ยอมบวชให้ใครง่ายๆ ในยุคของหลวงปู่ชาไม่ค่อยมีใครที่จะสวนกระแสประเพณีบวชชั่วคราว และการอนุญาตให้บวชได้แต่โดยง่าย แต่สำหรับหลวงปู่ชาแล้ว ท่านต้องให้บวชเป็นปะขาว เป็นเวลา ๑ ปีเสียก่อน จากนั้นจึงบวชเป็นสามเณรอีกหนึ่งปี และแม้จะได้บวชเป็นพระแล้ว ก็ต้องอาศัยอยู่กับท่านอีกถึง ๕ ปีการที่จะมีพระลูกศิษย์กับพระอาจารย์ ที่ให้ความสำคัญกับภาระหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อกันตามพระวินัยได้ถึงระดับนี้ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีให้เห็นเช่นกันเคยมีคนบ่นว่า “ทำไมต้องให้ลำบากลำบนถึงขนาดนั้นด้วย ทำไมไม่บวชให้เขาเร็วกว่านั้นหน่อย”
หลวงปู่ชาตอบว่า “บวชง่าย ก็สึกง่าย” คือ ถ้าหากคนบวชเป็นพระได้ง่ายเกินไป ไม่นานหรอก ก็จะเตลิดหนีไปไหนต่อไหนได้ง่ายเช่นกัน แล้วถ้ามีแต่เที่ยวไปโน่นมานี่ ทำโน่นทำนี่หลายๆ อย่างมากเกินไป ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร ปฏิบัติไปก็ไม่ได้ผล ผู้ปฏิบัติจึงต้องตั้งจิตอุทิศตนให้กับการฝึกฝน เพื่ออบรมข้อปฏิบัติให้ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ การรักษาความมุ่งมั่นตั้งใจแบบนั้นไว้ให้ได้ เป็นสิ่งที่ท่านพยายามย้ำอยู่เสมอ ผู้ที่เอาใจใส่ไม่ทอดธุระในการปฏิบัติเท่านั้น จึงจะได้รับผลและเห็นอานิสงส์จากการปฏิบัติ




หลวงปู่ชา สุภัทโท ได้ละสังขารลง เมื่อเช้ามืดของวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕  ณ วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

คืนวันที่ ๑๕ มกราคม หลังจากทราบว่าอาการของหลวงปู่ชา สุภัทโท ครั้งนี้สุดวิสัยจะเยียวยารักษาได้ คณะสงฆ์ร่วมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และคณะแพทย์พยาบาล จึงนิมนต์หลวงพ่อกลับวัดหนองป่าพง...สี่ทุ่มกว่าของคืนวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๕ หลวงปู่ชา สุภัทโท กลับถึงกุฏิพยาบาลในวัดหนองป่าพง  แสงไฟในห้องหลวงปู่ชาสว่างขึ้น หลังจากถูกปิดสนิทไว้หลายวัน เพราะหลวงปู่ชาเข้าโรงพยาบาล เมื่อมองผ่านหน้าต่างกระจกใสเข้าไปในห้อง พบร่างหลวงปู่ชานอนสงบนิ่งอยู่บนเตียง

หมู่บรรพชิตที่พึ่งพิงร่มเงาวัดหนองป่าพง ยืนเรียงรายรอบๆ กุฏิ ดวงตาทุกคู่จ้องมองยังร่างบูรพาจารย์ด้วยความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ เพราะต่างตระหนักดีว่าราตรีนี้จะมีการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ลมหนาวต้นปีใหม่ พัดโชยแผ่วผ่านบานประตูสู่ห้องพยาบาล อากาศยามดึกทวีความเยือกเย็นยิ่งขึ้น พระอุปัฏฐากคลี่ผ้าห่มคลุมร่างให้หลวงปู่ชา และยังคงทำหน้าที่ของตนอยู่อย่างสงบ เสียงเครื่องตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า แสดงค่าความถี่การเต้นของหัวใจหลวงพ่อที่ช้าลงทุกขณะ

ภิกษุหลายรูปนั่งสมาธิที่ระเบียงกุฏิ ต่างน้อมเอาเหตุการณ์สำคัญเฉพาะหน้ามาเป็นมรณสติ สรรพสิ่งทั้งมวลล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่ามนุษย์ผู้ยากดีมีจน หรือเดรัจฉานผู้อาภัพอับเฉา กระทั่งภูผาป่าไม้ ต่างสิ้นสุดลงตรงจุดเสื่อมสลายทั้งสิ้น

ดึกสงัดของคืนนั้น หลวงปู่ชายังคงนอนหายใจระรวย ใบหน้าและแววตาปราศจากร่องรอยของความทุกข์ทรมาน หรือห่วงใยในชีวิตสังขาร

ลมหนาวยามดึกพัดกรรโชกหนักขึ้น ต้นไม้โยกไหวตามแรงลมอย่างมีชีวิตชีวา แต่ทว่าลมอุ่นจากภายในกายหลวงปู่ชากำลังอ่อนแรงลงทุกขณะ ดังคำปรารภเกี่ยวกับกายสังขารของ ท่านที่กล่าวไว้ที่วัดถ้ำแสงเพชรว่า "...ต่อไปนี้จะไม่ได้เห็น ลมมันก็จะหมด เสียงมันก็จะหมด มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของสังขาร เรียกว่า ขัยยะวัยยัง คือความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขาร  เสื่อมไปดังก้อนน้ำแข็งที่ละลายเป็นน้ำ เราเกิดมาก็เก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตาย มาพร้อมกัน

เช้ามืดของวันครู ลมหนาวสงบนิ่ง แมกไม้ไม่ไหวติง สรรพสิ่งในป่าพงพลันเงียบงัน หลวงปู่ชา สุภัทโท ได้ละสังขารไปด้วยอาการสงบ จบการเดินทางอันยาวนานในวัฏสงสารลงอย่างงดงาม

หลวงปู่ชา สุภัทโท ละสังขาร เวลา ๐๕.๒๐ น. ของวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕

หลวงปู่ชา จากไปแต่เพียงร่างกายเท่านั้น ส่วนคำสอนและข้อวัตรปฏิบัติของท่าน มิได้สูญหายไปไหน ยังคงเป็นร่มเงาแห่งโพธิญาณ ที่แผ่ปกคลุมให้ความร่มเย็นแก่สานุศิษย์ต่อไปอีกกาลนาน
 
แม้หลวงปู่ชาจะละสังขารไปนานกว่า ๒๐ กว่าปีแล้ว  แต่เหตุผลอะไรที่ทำให้ “วัดหนองป่าพง” ยังเป็นปึกแผ่นมาได้ถึงทุกวันนี้ (มีวัดสาขา ๓๐๐ กว่าสาขาทั้งในและต่างประเทศ และจากการศึกษาหาข้อมูลก็พบว่า พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ” ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ชา ได้เคยแสดงธรรมไว้ที่สวนโมกข์ เมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ว่า "… การที่วัดหนองป่าพงยังขยายตัวไปได้เรื่อยๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ใช่ความบังเอิญ เพราะพระอาจารย์ชาเป็นครูที่ให้ความสำคัญคณะสงฆ์และการสร้างชุมชนที่มั่นคงมาก ท่านจึงมีนโยบายให้ลูกศิษย์ลูกหาสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม ด้วยศีล ด้วยธรรม และให้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ จะถูกหรือผิดก็ไม่เป็นไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงมีลูกศิษย์จำนวนมากที่มีความเชื่อมั่นและความสามารถในการทำงานเพื่อส่วนรวม …"

คำสอนหนึ่งของหลวงปู่ชาที่มอบให้ คือการที่พระภิกษุผู้เป็นลูกศิษย์จะเคารพกันตามอายุพรรษา นี่เป็นสิ่งที่พระภิกษุแห่งวัดหนองป่าพงทุกสาขาถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมาช้านาน แม้ว่าพระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่จะปลีกวิเวกไปปฏิบัติธรรมตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ หรือบ่อยครั้งที่ออกธุดงค์แสวงหาความวิเวกตามลำพังเป็นเวลามากน้อยแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่พระภิกษุสายหลวงปู่ชาต่างยึดมั่นถือปฏิบัติกันมาโดยตลอดก็คือ “ความสามัคคีกันเป็นหมู่คณะ” ทำให้ไม่มีภิกษุรูปใดเก็บของกินของใช้เอาไว้เป็นส่วนตน หากจะฉันก็ต้องฉันพร้อมกัน วันละมื้อเดียว ฉันในบาตรใบเดียว แล้วจึงค่อยแยกย้ายไปบำเพ็ญเพียรตามลำพัง กระทั่งถึงเวลาที่กำหนด ก็ต้องมาทำหน้าที่ดูแลภายในวัดตามที่ได้รับมอบหมาย

ความเป็นหนึ่งเดียวของพระสายวัดหนองป่าพง ยังเห็นได้จากการจัดประชุมคณะสงฆ์เป็นประจำทุกปีในวันที่ ๑๖-๑๗ มิถุนายน เนื่องเพราะวัดหนองป่าพงมีวัดสาขาและภิกษุสามเณรจำนวนมาก กระจัดกระจายไปบำเพ็ญสมณธรรมตามที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อเป็นการทบทวนแนวปฏิบัติให้อยู่ในครรลองที่หลวงปู่ชาได้วางไว้ในการศึกษาและเผยแผ่พระธรรมไปในทิศทางเดียวกัน โดยประธานสงฆ์หรือเจ้าอาวาสวัดสาขาจะมาชุมนุมกันที่วัดหนองป่าพง ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นประจำทุกปีครับ

พระครูสุธรรมประโชติ (คำผอง) ฐิตปุญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าสันติธรรม จ.นครราชสีมา(วัดหนองป่าพงสาขาที่ ๖๗) กล่าวกับ “ธรรมาภิวัตน์” ถึงความศรัทธาที่มีต่อคำสอนของหลวงปู่ชาว่า "…ศรัทธาในคำสอน ศรัทธาในหมู่สงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาที่รักษาไว้ซึ่งข้อวัตรปฏิบัติ กฎระเบียบของครูบาอาจารย์ เพราะวัดหนองป่าพงเราไม่ได้ไปเด่นดังเฉพาะองค์เดียว มีอะไรเราทำร่วมกัน จะสาขาไหนในประเทศต่างประเทศเหมือนกันหมด นี่คือที่โยมเขาศรัทธา แล้ววัดแต่ละสาขาไม่ใช่ว่าสาขานั้นทำอย่างนั้น สาขานี้ทำอย่างนี้ ไม่ใช่...”

ขณะที่ “พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ” วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นวัดปฏิบัติในสายหลวงปู่ชาแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวกับ “ธรรมาภิวัตน์” ถึงการปฏิบัติตามแนวทางของหลวงปู่ชาไว้ว่า "...ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ วิธีดำเนินชีวิต เพราะว่าเราอาศัยรูปแบบของสงฆ์ และข้อวัตรระเบียบ การรักษาความเรียบร้อย คือมีหลักเกณฑ์ที่ควรปฏิบัติตาม เวลาอยู่ด้วยกันในหมู่สงฆ์ เราจะมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน คือจะเอาสิทธิความเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ไม่ได้ คือต้องอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ เรื่องนี้มันเป็นส่วนที่ช่วยสอนเรา ในการละกิเลส การสังเกตว่าสิ่งที่ทำให้เรารำคาญ หรือสิ่งที่ทำให้เราเยือกเย็นคืออะไรบ้าง เราศึกษาจากชีวิต...”

ด้าน “พระอาจารย์เขมธัมโม” แห่งวัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค ประเทศอังกฤษ ได้ให้สัมภาษณ์กับ “ธรรมาภิวัตน์” ถึงการปฏิบัติตนตามแนวทางที่หลวงปู่ชาท่านได้สร้างเอาไว้ว่า “... ท่านสร้างทุกอย่างและให้โอกาสที่ดีสำหรับทุกคนในการฝึกปฏิบัติ หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเลือกอย่างไร ซึ่งเป็นแง่มุมหนึ่งของพุทธศาสนา และนั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดอาตมา มันไม่ใช่บางสิ่งที่อาตมาต้องเชื่อ และมันเปิดรับสำหรับคำถามเสมอ จึงทำให้อาตมายกย่องและชื่นชมตลอดมา

ที่วัดหนองป่าพงมีทุกอย่างที่ช่วยในการฝึกปฏิบัติ การแนะนำการฝึกสมาธิก็เข้าใจง่าย อาตมาชื่นชอบในทุกสิ่งที่นี่ เหตุผลที่อาตมากลับมาที่นี่ทุกปีเพื่อร่วมงาน เพราะอาตมายกย่องในสิ่งที่ท่านทำ เป็นต้นแบบที่ดี ให้โอกาสทุกคนในการพัฒนาตนเอง และอาตมาต้องการเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้

มันไม่บ่อยมากนักที่คนมากมายจะมารวมตัวเพื่อทำความดีร่วมกัน คนหลายพันคนไปดูการแข่งขันฟุตบอล ซึ่งเต็มไปด้วยความโกรธ การโต้แย้ง ต้องการเอาชนะ ซึ่งทั้งหมดนี้มันคือ “กิเลส” แต่แทบจะไม่มีเลยสำหรับการรวมตัวกัน เพื่อกำจัดหรือทำลายกิเลส ซึ่งมันเป็นช่วงเวลาอันแสนวิเศษ...”

การรักษาพระวินัยอย่างมั่นคงเคร่งครัด ตามที่พระอาจารย์ชาได้สั่งสอนมา จะช่วยให้เกิดสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นย่อมสะท้อนให้เห็นว่า แม้คณะสงฆ์วัดหนองป่าพงจะขยายเติบโต มีวัดสาขาเกิดขึ้นมากมายเพียงใดก็ตาม หากแม้นดำเนินการตามหลักการที่แข็งแกร่ง ยึดตามแนวทางที่แน่วแน่ ก็จะทำให้ “ธรรมะสายวัดหนองป่าพง” ที่เน้นการศึกษาและการปฏิบัติตามพระไตรปิฎก-พระธรรมวินัย จะยังคงยืนหยัดเคียงคู่พระพุทธศาสนาต่อไปได้ในอนาคต

จากการสนทนาธรรมของผู้เขียนกับพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ชาหลายต่อหลายรูป ซึ่งมีทั้งพระภิกษุชาวไทยและพระชาวต่างชาตินั้น ต่างกล่าวไปในทำนองเดียวกันถึงข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ชาว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์ มีแนวทางและจุดหมายที่มั่นคง คือการก้าวสู่นิพพาน “...ข้อวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อชา ท่านเข้มแข็ง ท่านมุ่งหวังมักผลนิพพานอย่างแท้จริง ท่านมีกิจวัตรเดินจงกรม เน้นหนักในเรื่องเดิน แล้วก็สอนให้ลูกศิษย์เดินจงกรมให้มาก อยู่แบบเคร่งครัด แบบใส่ใจ แบบมุ่งหวังนิพพานอย่างแท้จริง ทำวัตรเช้าเย็น กรรมฐานเช้าเย็น มิได้ขาด หลวงพ่อชาพาทำอย่างเข้มแข็ง...” พระอาจารย์ไพฑูรย์ ขันติโก ซึ่งเป็นสามเณรรูปแรกของหลวงปู่ชา ให้สัมภาษณ์กับ “ธรรมาภิวัตน์”

เป้าหมายสูงสุดของการศึกษา คือ การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ครับ วัดหนองป่าพงย่อมถือได้ว่า เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่จะหล่อหลอมผู้คนให้เดินทางไปสู่เป้าหมายสูงสุดนั้น ตามแนวทางที่หลวงปู่ชาได้วางไว้ เห็นได้จากในแต่ละวันทางวัดหนองป่าพงแต่ละสาขา จะมีผู้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมเป็นประจำ และดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ผู้ที่มาศึกษาธรรม มาฟังธรรม หรือแม้แต่จะก้าวเข้าสู่รสพระธรรม สามารถจะน้อมนำไปใช้ในชีวิต เพื่อให้พบความสุขสงบเย็นที่แท้จริงของชีวิต ซึ่งก็คือ การเดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การเดินตามรอยพ่อแม่ครูอาจารย์ ซึ่งต่างมุ่งสู่หนทางเดียวกันคือ “การก้าวสู่นิพพาน” นั่นเอง

หลวงปู่ชายังเป็นผู้วางแนวทางสอนธรรมะให้กับลูกศิษย์ลูกหาทั่วโลกได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการมุ่งไปที่ "ศรัทธา" ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ชัดเจนว่า ศรัทธานั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคล เพราะบุคคลเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้สังขารของหลวงปู่ชาก็ตาม หรือของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตาม ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้ด้วยกันทั้งนั้น


ขณะที่เวลาผ่านมานาน ปีแล้ว ทว่าพุทธศาสนา หลักธรรมคำสอน และพระธรรมวินัย กลับยืนหยัดอยู่ได้ และหลวงปู่ชาก็เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พุทธศาสนาออกไป เป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพงทั่วโลก อันเป็นคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ที่หลวงปู่ชาได้ละทิ้งไว้เป็น "มรดกธรรม" ให้แก่ลูกศิษย์ลูกหา หลวงพ่อชา"จากไปแต่เพียงร่างกายเท่านั้นส่วนคำสอนและข้อวัตรปฏิบัติของท่านมิได้สูญหายไปไหน ยังคงเป็นร่มเงาแห่งโพธิญาณที่แผ่ปกคลุมให้ความร่มเย็นแก่สานุศิษย์



ขอขอบคุณ เพจพระพุทธศาสนา (ที่มาเรื่อง-ภาพ)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.71 Chrome 97.0.4692.71


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 19 มกราคม 2565 16:26:17 »



อาจาริยบูชา  อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
๑๙ มกราคม

๑๙ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ รำลึก ๙ ปี อาจาริยบูชาคุณ หลวงปู่จาม พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีศีลวัตรและจริยวัตรงดงาม ท่านปฏิบัติเข้มงวด และมีนิสัยชอบธุดงค์อยู่ป่าเป็นวัตร ทั้งทางภาคเหนือ และภาคอีสาน เป็นพระผู้เจริญเมตตาโปรดทั้งเทวดา พรหม และเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย จึงไม่แปลกที่จะมีทั้งเทวดา พรหม และสาธุชนรักเคารพเทิดทูนบูชาท่านยิ่ง

“....เอ้า ผู้ข้าฯ จะขอถามสูเจ้าทั้งหลายว่า ตายแล้วลุกจากนี้ไป สูเจ้ามีที่อยู่ มีที่ไปแล้วหรือยัง รู้ตนได้หรือยัง หรือว่ายังมืด ยังเมา อย่าเอาแต่หลง เน้อ จะละเล่นอะไรนักหนากับโลกอันนี้ คิดนึกให้ดีเน้อ....” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่จาม มหาปุญโญ


• ประวัติปฏิปทาหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ผู้มากล้นมีบุญ
พ.ศ.๒๔๕๓ กำเนิด เด็กชายจาม ผิวขำ ในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ช่วงก่อนที่จะทรงเสด็จสวรรคต (๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓) ในปีนั้น หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้ถือกำเนิดเป็นเด็กชายจาม ผิวขำ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๕๓ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปี จอ ณ บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.นครพนม (ปัจจุบันเป็น อ.คำชะอี จังหวัดมุกดาหาร) โดยเป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายกา นางมะแง้ ผิวขำ

ปี พ.ศ.๒๔๖๔ ดูแลอุปัฏฐากพระกรรมฐาน บรรดาศิษย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นจำนวนประมาณ ๗๐ รูป ได้มารวมกันเป็นกองทัพธรรมสายพระกรรมฐานมากเป็นประวัติการณ์ ที่ภูผากูด เนื่องจากหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น ได้มาพักประจำอยู่ที่ถ้ำจำปา ขณะเด็กชายจาม อายุได้ประมาณ ๑๑ ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปอุปัฏฐากดูแลพระกรรมฐานทั้งหลายอย่างใกล้ชิด ( สถานที่ซึ่งรวมตัวกันนั้น ต่อมาได้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์หนองน่อง ทางทิศใต้ของบ้านห้วยทราย และได้ย้ายมาเป็นวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ในปัจจุบัน)

พ.ศ.๒๔๖๙ ถวายตัวกับหลวงปู่มั่น เมื่อเด็กชายจาม อายุได้ ๑๖ ปี พ่อแม่ได้พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จ.อุบลราชธานี นุ่งขาวห่มขาว เป็นเวลา ๙ เดือน หรือที่เรียกว่าเป็น ผ้าขาว ๙ เดือน

พ.ศ.๒๔๗๐ บรรพชาเป็นสามเณร ครั้งที่ ๑ เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่น ๑ พรรษา ที่บ้านหนองขอน อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี (อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ) ได้รับใช้ครูบาอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ , หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ , ท่านพ่อลี ธมฺมธโร , หลวงปู่สิงห์ ขนฺยาคโม , หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังเป็น สหธรรมิกเพื่อนสามเณร กับ สามเณรสิม ( หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ) อีกด้วย

พ.ศ.๒๔๗๑ ออกธุดงค์ เป็นครั้งแรก เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี หลวงปู่มั่น ได้ฝากสามเณรจามไว้กับหลวงปู่กงมา หลวงปู่อ่อน หลวงปู่มหาปิ่น โดยสามเณรจาม ได้ติดตามครูบาอาจารย์ออกธุดงค์ไปยโสธร เป็นครั้งแรก

พ.ศ.๒๔๗๒ ป่วยจำเป็นต้องลาสิกขา เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี สามเณรจาม ได้ออกธุดงค์ไปยังขอนแก่น กับหลวงปู่อ่อน หลวงปู่กงมา ต่อมาในปีนั้น สามเณรจาม ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคเหน็บชา จึงจำเป็นต้องลาสิกขา เพื่อกลับเพื่อกลับไปรักษาตัวที่บ้านห้วยทราย คำชะอี จนหายจากโรคภัยไข้เจ็บและใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ทำไร่ ทำนา ค้าขาย ต่อมาจนถึงอายุ ๒๘ ปี

พ.ศ.๒๔๘๐ อธิฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อนายจาม ผิวขำ มีอายุได้ ๒๗ ปี พ่อกา (โยมพ่อ) บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก ๖ ปี ก็มรณภาพในปี ๒๔๘๖) ส่วน แม่มะแง้ (โยมแม่) ก็ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก ๓๖ ปี จึงถึงแก่กรรม) ช่วงเดือน พฤศจิกายน ๒๔๘๐ นายจาม ผิวขำ ไปไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่ออธิฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา

พ.ศ.๒๔๘๑ บรรพชาเป็นสามเณร ครั้งที่ ๒ คณะญาติได้พาไปซื้อเครื่องบวชที่ร้านขายสังฆภัณฑ์ ที่ตลาดบ้านผือ นายจาม ผิวขำ พบนางสาวนาง เป็นลูกสาวเจ้าของร้าน เกิดปฏิพัทธ์จิตรักใคร่ทันทีเมื่อแรกพบ แม่ชีมะแง้ ได้ปรึกษากับแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ เกรงจะมีปัญหาจึงได้พานายจาม ผิวขำ บวชเป็นสามเณร ไว้ก่อนที่วัดป่าโคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๘๑ เพื่อหนีผู้หญิง แล้วเดินเท้าต่อไป ไหว้พระพุทธบาทบัวบก หอนางอุษา และมุ่งหน้าไปวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

พ.ศ.๒๔๘๒ ( อายุ ๒๙ ปีบริบูรณ์ ) อุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๙ เต็มปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๘๒ ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อบวชเสร็จ พระจาม มหาปุญโญ ได้ออกธุดงค์ไปองค์เดียวไปภาวนาที่พระบาทคอแก้ง อยู่บริเวณ วัดพุทธบาท ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ขณะภาวนาเกิดนิมิตเห็นพญานาคขึ้นมาแล้วบอกว่าที่นี่เป็นพระพุทธบาทจริง พวกตนได้ขอไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จ ผ่านมา ต่อมา พระจาม ได้ภาวนาอยู่ถ้ำพระ อ.บ้านผือ แล้วย้ายไปภาวนาที่หออุษา และย้ายไปภาวนาที่ถ้ำบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งไม่ไกลกันนัก ที่ถ้ำพระพุทธบาทบัวบกนี้ พระจามได้ตั้งใจปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวก จนได้รู้ว่า เจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของพระอาจารย์ หลวงปู่บุญ ปญฺญาวุโธ อัฐิได้กลายเป็นพระธาตุแล้ว ซึ่งท่านได้เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ซึ่งพระจามไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย ขณะภาวนาอยู่ได้เกิดแสงสว่างเป็นลำพุ่งลงมาจากท้องฟ้า สว่างเฉพาะบริเวณเจดีย์ พอรุ่งเช้าขึ้นจึงไปค้นดู ปรากฏหลักฐานที่สลักไว้ที่ฐานเจดีย์เท่านั้น จึงทราบความจริงดังกล่าวหลังจากนั้น พระจาม จึงได้เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองน่อง บ้านห้วยทราย คำชะอี เป็นพรรษาที่ ๑

พ.ศ.๒๔๘๓ (อายุ ๓๐ ปี) เมื่อออกพรรษา จึงเดินทางไปอยู่ที่ภูเก้ากับหลวงพ่อกา (โยมพ่อ) ระยะหนึ่ง จึงไปอยู่ภูจ้อก้อจนถึง เดือน ๗ (กรกฎาคม ๒๔๘๓) จึงเดินทางต่อไป อยู่กับพระอาจารย์คูณ อธิมุตโต วัดป่าพูนไพบูลย์ บ้านหินตั้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม จำพรรษาที่ ๒ กับพระอาจารย์คูณ ซึ่งเป็นญาติกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เมื่อออกพรรษาแล้ว พระจาม จึงได้เดินทางต่อไปบ้านห้วยยาง อ.ชุมแพ ต่อจากนั้นก็เดินทางต่อไปบ้านกกเกลี้ยง ต่อไปยังถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย ที่ถ้ำผาบิ้ง หลวงปู่จามได้นั่งภาวนา จนถึงคืนสุดท้าย เวลาใกล้รุ่ง ก่อนจะเดินทางไปยังเพชาบูรณ์ เกิดจิตแจ้งสว่างไปหมด เห็นทุกทิศทุกทางสว่างไสว จิตตั้งอยู่ในความสว่างประมาณ ๒๐ นาที เหมือนจุเทียนแล้วความสว่างก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสว่างรอบทิศ แล้วค่อยๆ ลดความสว่างลงไปๆ จนดับมืด ขณะสว่างนั้น ได้ยินคนคุยกันซึ่งเป็นอาโลกกสิณ และ ในตอนท้ายของการภาวนานั้น ได้ทราบว่าถ้ำผาบิ้งแห่งนี้ เป็นสถานที่นิพพานของพระอุบาลีมหาเถระ ตั้งแต่ พ.ศ.๔ หลังจากนั้นจึงได้ออกจากถ้ำผาบิ้ง มุ่งไปเพชรบูรณ์ พักที่เชิงเขาใกล้บ้านเลยวังใส ริมแม่น้ำเลย

ปี พ.ศ.๒๔๘๖ อายุ ๓๔ ปี ธุดงค์กับหลวงปู่ชอบ ,หลวงปู่สิม หลวงปู่ชอบ ได้พาอาจารย์สิม และพระจาม ออกธุดงค์ไปที่ อ.ฝาง อ.แม่อาย-บ้านม่วงสุม-บ้านมุ่งหวาย-บ่อน้ำร้อน อ.ฝาง ถึงประมาณเดือน ๖ ของปีนั้น ใกล้เข้าพรรษา พระจาม จึงขอแยกทางมุ่งไปยังวัดโรงธรรมสามัคคี เพื่อจำพรรษา ส่วนหลวงปู่ชอบ เดินทางต่อไปเพื่อจำพรรษาในพม่าและจะถูกทหารจีนจับ ชาวบ้านต้องพาหลวงปู่ชอบ ไปซ่อนไว้ในยุ้งข้าว สาเหตุที่ หลวงปู่จาม ท่านไม่ชอบที่จะไปพม่า เพราะรู้สึกในส่วนลึกของจิตใจว่า เคยรบพุ่งกับพม่ามาแต่อดีตชาติ จึงไม่อยากไปเมืองพม่า ในปีนั้นจึงได้จำพรรษา ที่วัดโรงธรรมสามัคคีอีก ๑ พรรษา (พรรษาที่ ๕) พร้อมกับหลวงปู่สิม

พ.ศ. ๒๔๘๗ อายุ ๓๔ ปี ใช้ “ธรรมโอสถ” รักษาโรค ได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงปู่สิม ตามป่าเขา ตามดอยต่างๆ เขตจังหวัดเชียงใหม่ แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ (พรรษาที่ ๖) อยู่กับหลวงปู่สิม วัดอุโมงค์เชิงดอยสุเทพ อ. เมือง จ.เชียงใหม่ ในสมัยนั้นเป็นป่าทึบมีเจดีย์ทรงลังกา ๑ องค์ และอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันวัดอุโมงค์ อยู่ติดกับด้านหลังของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีนั้น (๒๔๘๗) หลวงปู่จามได้ป่วยเป็นโรคกระเพาะ มีอาการปวดท้อง ได้รักษาด้วยยาแผนปัจจุบันก็ไม่หาย เปลี่ยนมารักษาแผนโบราณก็ไม่หาย ในที่สุดท่านก็ได้ใช้วิธีภาวนาบำเพ็ญสมาธิและงดอาหารหยาบทั้งหมด ฉันเฉพาะนมถั่วเหลืองวันละ ๑ แก้วและน้ำเท่านั้น ใช้ “ธรรมโอสถ” รักษาโรคกระเพาะ อีกไม่นานนัก อาการป่วยก็ทุเลาเบาบางลง ในที่สุดก็หายจากโรคกระเพาะ มีอาการปกติ สามารถฉันอาหารได้เป็นปกติ

พ.ศ.๒๔๘๙ อายุ ๓๖ ปี (พรรษาที่ ๘) พบหลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ , พระอาจารย์น้อย สุภโร หลวงปู่จาม กับหลวงปู่สิม ไปจำพรรษาที่ป่าช้าซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ ก่อนเข้าพรรษา ได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่บ้านแม่หนองหาน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ หลวงปู่ขาว ได้เตือนหลวงปู่จามให้ระวังเรื่องผู้หญิงว่า “ให้ระวังเรื่องผู้หญิงให้มาก ถ้ารอดได้ก็สามารถรักษาพรหมจรรย์ตลอดรอดฝั่ง ถ้าไม่ได้ก็ต้องแพ้มาตุคาม (หญิง) แน่นอน” หลวงปู่จาม สำนึกในคำสอนของหลวงปู่ขาวไว้เสมอ ซึ่งแต่ละแห่งที่ไปจำพรรษาอยู่หรือไปพักอยู่นานๆ ก็จะพบผู้หญิงมาชอบเสมอมา เว้นแต่ที่ช่อแล ไม่มีผู้หญิงมาชอบ จึงบำเพ็ญอยู่ที่นั้นนานมากกว่าที่อื่น นอกจากที่นี่แล้ว เกือบทุกแห่งที่ไปพักแม้ไปปักกลดภาวนาอยู่ระยะสั้นก็พบผู้หญิงมาชอบ จนกระทั้งอายุ ๖๐ ปี จึงไม่มีผู้หญิงมายุ่งเกี่ยวในเชิงชู้สาวอีกเลย หลวงปู่จาม จึงมักเตือนพระหนุ่มๆ เสมอ ในเรื่องผู้หญิง (แม่หญิง) ให้ระวังเป็นอันดับแรก ต่อไปก็เรื่องเงิน และอวดอุตริ หลวงปู่จาม กับ พระอาจารย์น้อย สุภโร ไปฟังธรรมจากหลวงปู่ขาว ซึ่งท่านแสดงสติปัฏฐานสี่ให้ฟังอย่างละเอียดลึกซึ้งกินใจมาก

พระอาจารย์น้อย องค์นี้รุ่นราวคราวเดียวกับ ท่านพ่อลี (วัดอโศการาม) ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และต่อมาท่านพระอาจารย์น้อยได้มรณภาพ ที่ถ้ำพระสบาย ในปี ๒๕๐๐ ( พระอาจารย์น้อย เป็นคนบ้านผักบุ้ง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี รูปถ่ายในหนังสือบูรพาจารย์ หน้า ๑๔๒ มี ๕ องค์ รูปแรกที่ระบุว่าไม่ทราบชื่อ นั้นคือ พระอาจารย์น้อย ) หลวงปู่จามได้ศึกษาธรรมะกับหลวงปู่ขาว อยู่เสนาสนะป่าบ้านป่าเต้ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โดยอยู่กับหลวงปู่แหวน และหลวงปู่ชอบ ด้วยที่นั่น ต่อมา หลวงปู่จามได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่มั่น อยู่อีสาน ที่บ้านหนองผือนาใน จึงได้กราบเรียน หลวงปู่แหวน หลวงปู่ชอบได้ทราบ หลังจากนั้นจึงเดินทางจากเชียงใหม่เพื่อมุ่งไปอีสาน บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยเดินทางเลาะมาทางหนองคายและเดินทางต่อไป บ้านหนองผือ นาใน กราบหลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ในปี ๒๔๘๙ หลวงปู่จามไปพักที่วัดบ้านนาในกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ต่อจากนั้นหลวงปู่หลุยจึงพาหลวงปู่จามเข้ากราบหลวงปู่มั่น ซึ่งพักอยู่บ้านหนองผือนาใน แล้วกราบเรียนหลวงปู่มั่นว่า “สามเณรจาม ตอนนี้บวชเป็นพระแล้วครับกระผม” หลวงปู่มั่นกล่าวว่า “บวชแล้ว เพราะท่านมีนิสัยนักบวช” หลวงปู่มั่นจึงให้โอวาทแก่หลวงปู่จามว่า “เมื่อก้าวมาสู่หนทางแห่งความดี ต้องเดินหน้าสู้ทน ตายเป็นว่า (ตายเป็นตาย) อยู่เป็นว่า (อยู่เป็นอยู่) เหตุเพราะทางอื่นนั้นปราศจากความร่มเย็น ไม่เป็นความสุข อันนี้ความดีจะเป็นผลของตน ผู้เดินอยู่ในทางนี้ได้ตลอดไปนั้น จิตใจก็อยู่ใกล้ธรรมอยู่กับธรรมะไม่ละทิ้งความดี ตนก็จะเป็นผู้ราบรื่น ร่มเย็น ผาสุกอยู่ได้ในปฏิปทาแห่งตน” เมื่อให้ธรรมะจบ หลวงปู่มั่นถามว่า “เข้าใจไหม จำไว้ให้ดี” เมื่อลากลับไปที่วัดบ้านนาใน หลวงปู่จาม ซาบซึ้งในคำสอนนี้ ด้วยความปีติสุขใจยิ่ง พยายามทบทวนเพื่อให้จำไว้ให้ขึ้นใจ จะได้ไม่ลืม เพราะถือว่าคำสอนนี้เป็นกุญแจสำคัญแห่งชีวิตนี้ ต่อมาหลวงปู่จาม ได้มีโอกาสฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นในวาระสำคัญหลายครั้ง โดยที่หลวงปู่จาม ได้อธิฐานจิตถามหลวงปู่มั่นล่วงหน้าไว้ทั้ง ๔ ครั้ง ปรากฏว่าหลวงปู่มั่นทราบ ได้ด้วยญาณทัศนะและเทศนาในเรื่องที่หลวงปู่จามต้องการทราบทุกครั้ง

ครั้งที่ ๑ หลวงปู่จามมีความสงสัยว่า ”คนที่ได้ธรรมะเป็นอย่างไร ทำไมถึงได้ธรรมะปฏิบัติอย่างไร“ จึงอธิษฐานถามหลวงปู่มั่น คืนวันนั้น หลวงปู่มั่นยก หิริ โอตฺตปฺป” ขึ้นมาเป็นหัวข้อแสดงพระธรรมเทศนา พระสงฆ์ที่พักอย่าตามสถานที่ต่างๆ จะมารวมกันฟังธรรมเสมอ เมื่อหลวงปู่มั่นเทศนาจบลงก็หันหน้ามามองไปที่หลวงปู่จาม แล้วถามเป็นเชิงปรารภว่า “เป็นอย่างไรท่านจาม ผู้ได้ธรรมเป็นอย่างนี้ เข้าใจไหม” หลวงปู่จามตอบว่า”เข้าใจครับกระผม” บรรดาพระสงฆ์ที่นั่งฟังก็หันมามองหลวงปู่จามก้นทั้งหมด เมื่อหลวงปู่จามมกลับไปที่พัก ก็รีบนั่งภาวนาเพื่อทบทวนคำสอนของหลวงปู่มั่น เพื่อให้จำได้อย่างขึ้นใจ
 
ครั้งที่ ๒ หลวงปู่จามอยากรู้เรื่อง ”พระธรรมวินัยว่า ธรรมอย่างหยาบ ธรรมอย่างกลาง ธรรมอย่างละเอียด เป็นอย่างไร” จึงได้กำหนดจิต อธิษฐานถามหลวงปู่มั่น และหลวงปู่จามก็คิดนึกในใจต่อไปว่า “อยากรู้ถึงปฏิปทาภพชาติของตนเองด้วย” ในคืนนั้นหลวงปู่มั่น ได้เทศนาโดยยกหัวข้อธรรมขึ้นว่า “หีนา ธมฺมา มชฺฌิมา ธมฺมา ปณีตา ธมฺมา” แล้วอธิบายธรรมและวินัยควบคู่กันไปให้รู้เข้าใจกระจ่าง และได้แจกแจงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนพอดี ต่อจากนั้นหลวงปู่มั่นก็เทศนาต่อไปว่า

“ ให้ตั้งใจเจริญพุทธคุณ ตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ เจริญพุทธเนตฺติ ด้วยการประพฤติเพื่อความหนักแน่นในธรรม ผู้ถึงพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจ เท่านั้นที่เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัยอยู่ได้…” เมื่อเทศน์จบหลวงปู่มั่น ก็หันมาถามอีกว่า “ท่านจามเข้าใจไหม ที่ต้องการรู้นะ จำไว้ให้ดี”

ครั้งที่ ๓ หลวงปู่จามอยากรู้เรื่องพระอภิธรรม จึงอธิษฐานจิตถามไว้ พอตอนกลางคืน หลวงปู่มั่นก็เทศนาเริ่มต้นที่มูลกัจจายนะ ตรงตามที่หลวงปู่จาม ตั้งอธิฐานไว้

ครั้งที่ ๔ หลวงปู่ เกิดข้อสงสัยว่าเราเองก็ทำความเพียรอย่างจริงจังมาก แต่ไม่ค่อยได้ผลดีตามที่ปรารถนา พระองค์อื่นก็คงเป็นเช่นเดียวกันกับเราเองก็คงมีอีกไม่น้อยจึงอธิษฐานจิตถามไว้ล่วงหน้า เมื่อหลวงปู่มั่นได้เทศนากัณฑ์แรกจบไป ก็เทศนาเตือนสติในตอนท้ายว่า “เอาจริงเอาจังเกินไป หรือขวนขวายพยายามพากเพียรมากไปแต่ขาดปัญญา ก็เป็นเหตุให้ใจดิ้นรนอยากได้ อยากเป็น อยากเห็น อยากสำเร็จ อยากบรรลุธรรม โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ ความอยากของตนจึงเป็นอุปสรรคของตน จึงให้ดูใจดูตนของตนด้วยสติปัญญา”  เมื่อเทศน์จบหลวงปู่มั่นก็หันหน้ามาทางหลวงปู่จาม แล้วถามว่า “เป็นอย่างไรท่านจาม ความโลภเป็นอย่างนี้ เข้าใจไหม” หลวงปู่จาม ตอบอย่างเคารพและเกรงกลัวเป็นที่สุดว่า “เข้าใจซาบซึ้งเป็นที่สุดครับกระผม”

พ.ศ.๒๔๙๔ อายุ ๔๑ ปี (พรรษาที่ ๑๓) หลวงปู่ได้ธุดงค์ต่อไป เดินไปตามเนินตามล้ำห้วย มุ่งไปเชียงราย ต่อไปแม่สาย แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่หลวงปู่ได้ไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่คำแสน คุณาลงฺกาโร ที่วัดดอนมูล (สันโค้งใหม่) ต.ทรายมูล อ.สันกำแพง เมื่อออกพรรษาแล้วจึงเดินธุดงค์ไป อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มุ่งไปแม่อาย เชียงใหม่ แล้วลงแพล่องไปตามลำแม่น้ำกก ไปกับคณะโยม มุ่งไปเชียงราย ผ่านตามแก่งต่างๆ เมื่อล่องแพไปถึงเชียงราย เลยไปลำปางและส่งคณะโยมกลับไปเชียงใหม่ หลวงปู่จามก็ย้อนกลับไปเชียงรายอีกครั้งเพียงองค์เดียว ขณะที่ได้บำเพ็ญภาวนาบริเวณริมแม่น้ำกก ไม่ไกลจากเมืองเชียงรายมากนัก ได้ภาวนาแต่จิตไม่สงบก็ได้มีพญานาคโผล่ขึ้นมาจากแม่น้ำกกบอกว่า” จิตสงบหรือไม่สงบไม่เกี่ยวกับพญานาค อยู่ที่จิตของท่านเอง” หลวงปู่จามถามว่า” ถ้าไม่เกี่ยวแล้วขึ้นมาทำไป” พญานาคตอบว่า ”ได้ยินเสียงสนั่นหวั่นไหว เหมือนดินจะถล่ม มีอะไรเกิดขึ้นจึงโผล่ขึ้นมาดู ก็เห็นว่าพระผู้เป็นเจ้านั่งสมาธิถาวนาจึงขออนุโมทนาแสดงความยินดีต่อการบำเพ็ญสมณธรรมของท่านพระผู้เป็นเจ้าด้วย”

หลวงปู่จามเล่าว่า เห็นภาพปรากฏในสมาธิโผล่ขึ้นเหนือน้ำสูงประมาณ ๓ เมตร ลำตัวใหญ่ประมาณเท่ากระบุงข้าวตัวขนาดเท่าลำต้นตาล สีเลื่อมพราย มีหงอนแดง ต่อมาในภายหลังหลวงปู่ได้ภาวนาจึงได้ทราบต่อมาว่าพญานาคตนนี้ได้ปรารถนาจะเป็นพระอสีติมหาสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตเบื้องหน้า(พระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นในโลกแต่ละพระองค์จะมีพระอสีติมหาสาวก ๔๐ องค์ ที่มีความสามารถเฉพาะตัวในด้านต่างๆ และมีพระอนุอสีติมหาสาวกอีก ๔๐ องค์ มีความสามารถรองลงมาในด้านต่างๆ) หลวงปู่สิม ก็เคยกล่าวชื่นชมว่า หลวงปู่จามเป็นผู้รู้เรื่องพญานาคเป็นอย่างดี

พ.ศ.๒๔๙๙ อายุ ๔๖ ปี พรรษาที่ ๑๗ ถ้ำพระสบาย ที่ถ้ำพระสบาย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม ขณะสมณศักดิ์เป็นพระครูสุทธิธัมมาจารย์ได้นำคณะญาติโยมจัดสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในถ้ำพระสบายโดยมีเจ้าแม่สุข ณ ลำปาง แม่เลี้ยงเต่า จันทรวิโรจน์ แม่เหรียญ กิ่งเทียน เป็นเจ้าศรัทธาใหญ่ตามคำปรารภของท่านพ่อลี ให้จัดสร้างและทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และด้วยจิตอธิฐานของท่านพ่อลี ได้เกิดต้นโพธิ์ขึ้นเอง ๓ ต้นบริเวณหน้าถ้ำพระสบาย เมื่อสร้างเจดีย์เสร็จ ท่านพ่อลีได้นิมนต์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ หลวงปู่แว่น ธนปาโล พระอาจารย์น้อย สุภโร ไปทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยต่างองค์ก็ต่างสวดบทมนต์ตามถนัดตั้งแต่หัวค่ำจนถึงตีสี่จึงจบเสร็จพิธี พิธีที่แปลก แต่ละองค์จะมีพานไว้ข้างหน้าเพื่อเสี่ยงทายบารมี และจะนั่งอยู่องค์ละทิศของเจดีย์ หลวงปู่แว่น ธนปาโล นั่งอยู่หน้าถ้ำ จึงอธิษฐานว่าถ้าพระธาตุเสด็จมาในพานของใครมากน้อยก็แสดงว่าผู้นั้นได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากน้อยตามปริมาณที่พระธาตุเสด็จมา แต่ละองค์ก็สวดบทมนต์ที่ตนถนัดหรือจำมาได้ ตลอดเวลารวมทั้งสวดปาฏิโมกข์ เมื่อสวดถึงประมาณตีสี่ ปรากฏว่าเสียงตกกราวลงมาคล้ายกระจกแตก จึงให้สัญญาณหยุดสวดเจริญพระพุทธมนต์ แล้วจึงได้ตรวจดูในพานของแต่ละท่านที่วางอยู่หน้าที่นั่งปรากฏว่าในพานของท่านพ่อลี มีพระธาตุมากที่สุด รองลงมาก็เป็นของหลวงปู่จาม ต่อมาก็พระอาจารย์น้อย,หลวงปู่ตื้อและหลวงปู่แว่น ตามลำดับ ในมติคณะสงฆ์ตอนนั้น ได้มอบหมายให้หลวงปู่ตื้อ เป็นผู้วินิจฉัยถึงเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะทุกองค์ยอมรับในความสามารถเข้าฌาณของหลวงปู่ตื้อ ว่ามีญาณทัศนะเป็นที่แน่นอน เมื่อหลวงปู่ตื้อเข้าสมาธิ เล็งญาณดูในอดีต จึงแจ้งให้คณะสงฆ์ทราบร่วมกันว่า ท่านพ่อลี เป็นพระเจ้าอโศกมหาราช หลวงปู่จาม เป็นกษัตริย์ชื่อ เทวนัมปิยะ ของประเทศศรีลังกา พระอาจารย์น้อย เป็นเสนาอำมาตย์ของกษัตริย์ศรีลังกาองค์นั้น (เทวนัมปิยะ) หลวงปู่ตื้อ เป็นโจรมีเมตตาคนจน ตั้งปางโจรอยู่แถวถ้ำพระสบาย ปล้นคนรวยเอาไปช่วยคนจน หลวงปู่แว่น เจ้าเมืองลำปางในอดีต ช่วงนั้นท่านพ่อลีได้บอกหลวงปู่จามอีกว่า “ได้พบสาวกของท่านองค์หนึ่งเป็นเจ้าแห่งผีที่ผานกเค้า (จ.เลย) อย่าลืมไปโปรดเขาด้วย” ต่อมาท่านพ่อลีได้ชวนหลวงปู่จามลงไปกรุงเทพฯ เพื่อไปสร้างวัดที่นาแม่ขาว ที่สมุทรปราการ (วัดอโศการาม ในปัจจุบัน) แต่หลวงปู่จาม ออกอุบาย อ้างว่าชอบที่จะหาสถานที่วิเวกต่อไป

หลวงปู่จามเล่าว่า ชอบที่จะไปภาวนาที่ถ้ำเชียงดาว ถ้ำปากเปียง ถ้ำจันทร์ ถ้ำพระสบาย และถ้ำอื่น  ในเขตเชียงใหม่ ซึ่งล้วนเป็นสถานที่สัปปายะ

พ.ศ.๒๕๑๒ อายุ ๕๙ ปี พรรษาที่ ๓๑ หลวงปู่จาม ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด และได้อยู่พำนักที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี นับแต่นั้นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

หลวงปู่จามเล่าว่า ทางภาคเหนือมีสถานที่สัปปายะ ภาวนาดี สมาธิเจริญดี ได้แก่ ถ้ำเชียงดาว อ.เชียงดาว เขต อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เขต อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เขต อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เขต อ.เกาะคา จ.ลำปาง และที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง
หลวงปู่จามว่า สถานที่ต่างๆ ที่ภาวนาเจริญก้าวหน้าทางจิตดีนั้น ก็เพราะอดีตกาลเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าในอดีตได้มาตรัสรู้บ้าง ตั้งพระพุทธศาสนาบ้าง เสด็จดับขันธปรินิพพานบ้าง ถือว่าเป็นเขตมงคล แม้ต่อไปภายภาคหน้าก็จะเป็นถิ่นมงคลสำหรับพระพุทธเจ้าในอนาคตอีกด้วย เช่นบริเวณวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ. เชียงใหม่ เคยเป็นสถานที่จำพรรษาของพระอัครสาวกคือพระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร จำนวน ๑ พรรษา ที่ในถ้ำตับเต่า อ.ฝาง และเคยเป็นที่นิพพานของพระกิมพิละเถระ แม้กระนั้น หลวงปู่มั่นเคยจำพรรษาอยู่ ๑ พรรษา หลวงปู่จามก็เคยภาวนาที่นั้น จึงได้ทราบถึงเรื่องราวในอดีตดังกล่าว

พ.ศ.๒๕๒๓ อายุ ๗๐ ปี หลวงปู่จาม ได้นิมิตว่า “เทวดาจะอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระสาวกมาถวายให้” หลังจากนั้นต่อมาไม่นาน ก็ได้มีญาติโยมนำพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระสาวก อย่างละไม่กี่องค์มาถวายให้หลวงปู่ จึงได้นำมาบูชาไว้ ต่อมาได้ปรากฏว่า พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระสาวก ได้เสด็จมาเพิ่มเองอีกเป็นจำนวนมากและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ.๒๕๒๗ อายุ ๗๔ ปี หลวงปู่จาม ได้ดำริให้สร้างเจดีย์ โดยท่านเป็นผู้ออกแบบพระเจดีย์เองในแบบศิลปะประยุกต์ และท่านควบคุมการก่อสร้างด้วยตนเอง โดยอาศัยช่างชาวบ้านในละแวกนั้น ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ ปี

พ.ศ.๒๕๒๘ อายุ ๗๕ ปี วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เป็นวัดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ละสังขารลงเมื่อเวลา ๐๙.๐๙ น. ในวันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๖ สิริรวมอายุ ๑๐๒ ปี ๘ เดือน


ขอขอบคุณ เพจพระพุทธศาสนา (ที่มาเรื่อง-ภาพ)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
จงสนใจรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ
สุขใจ ตลาดสด
sometime 1 1680 กระทู้ล่าสุด 16 พฤษภาคม 2553 15:44:29
โดย sometime
หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1100 กระทู้ล่าสุด 14 มิถุนายน 2560 10:08:36
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ วัดวังกระแจะ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1261 กระทู้ล่าสุด 05 มิถุนายน 2561 15:19:35
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ วัดวังกระแจะ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 612 กระทู้ล่าสุด 03 เมษายน 2563 11:12:02
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อเกษม เขมโก รำลึก ๒๕ ปี อาจาริยบูชาคุณ
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 0 1822 กระทู้ล่าสุด 15 มกราคม 2564 20:30:39
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.123 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 12:07:14