[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:35:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลำดับญาณ โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 1048 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 สิงหาคม 2564 19:48:22 »



ลำดับญาณ
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
(เทศน์ที่วัดแก้งเกลี้ยง วันที่ ๒๖ เม.ย. ๕๖)

         ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานไปนานแล้วพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ด้วยเศียรเกล้า ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่คณะครูบาอาจารย์ ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมทุกรูป ณ โอกาสบัดนี้

          ก่อนที่กระผมจะได้กล่าวบรรยายธรรมะก็ขอปรับความคิด ปรับความเข้าใจกับคณะครูบาอาจารย์ว่ากระผมมาในวันนี้ก็เพื่อที่จะอธิบายธรรมตามสมควรแก่สติปัญญา ไม่ได้มาแสดงญาณ ๑๖ หรือว่าแว่นธรรมแต่เป็นการบรรยายธรรมตามสติ ตามปัญญาเพื่อที่จะสนองศรัทธาของพระอาจารย์สุภกิณห์ พร้อมด้วยคณะครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เพื่อที่จะมาให้กำลังใจแก่คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายทั้งผู้เก่าและผู้ใหม่ ผู้สนใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม ฉะนั้นก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็อย่าได้ยกโทษว่ากระผมไม่ได้กล่าวแว่นธรรมเหมือนกับที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่

          พระเดชพระคุณหลวงพ่อนั้นท่านได้แสดงแว่นธรรมโดยพิสดาร หรือว่าแสดงญาณ ๑๖ โดยพิสดารกว้างขวางเป็นที่ประทับจิตประทับใจ เป็นที่เข้าใจของคณะศิษยานุศิษย์ ส่วนกระผมนั้นก็มาโดยระยะทางไกลกล่าวธรรมะก็คงจะเป็นเพียงกล่าวหัวข้อ และแนวทางที่จะทำให้คณะครูบาอาจารย์ได้รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องมรรคเรื่องผลตามสติปัญญา

          คณะครูบาอาจารย์ทุกรูปที่มาร่วมกันประพฤติปฏิบัติธรรม ก็คงจะรู้แล้วว่าพวกเราทั้งหลายได้มาร่วมกันประพฤติปฏิบัติธรรมตั้งแต่วันแรกมาจนถึงวันนี้ก็เป็นวันสุดท้าย พรุ่งนี้เราทั้งหลายก็จะได้ขยับขยายแยกย้ายกันกลับวัดวาอารามต่างๆ

          คณะครูบาอาจารย์ที่มาร่วมกันประพฤติปฏิบัติธรรมก็คงจะเข้าใจแนวทางของการประพฤติปฏิบัติธรรมบ้างตามสมควรแก่บุญวาสนาบารมี ถ้าผู้ใดตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมเดินจงกรมมีสติสัมปชัญญะ นั่งภาวนามีสติสัมปชัญญะตลอด ๙ คืน ๑๐ วันนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จะให้เกิดผลของการประพฤติปฏิบัติธรรมไม่มากก็น้อย ถ้าผู้ใดมีบารมีก็สามารถที่จะยังสมาธิ สมาบัติ ยังวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นมาได้

          แต่ว่าการที่พวกเราทั้งหลายจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ศีล

          ศีลนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด พวกเราทั้งหลายเป็นสมณะ เป็นนักบวช สิ่งที่พวกเราทั้งหลายควรสังวรระวังให้ดียิ่งกว่าชีวิตของเราก็คือ ศีล ศีลนั้นท่านกล่าวว่าเป็นลมหายใจของภิกษุ หรือว่าเป็นลมหายใจของนักบวช หรือว่าเป็นชีวิตของนักบวช นักบวชที่ไม่มีศีลก็เหมือนกับนักบวชที่ไม่มีลมหายใจ หรือว่านักบวชที่ไม่มีชีวิต คือ นักบวชที่ตายแล้ว เพราะฉะนั้นศีลนั้นจึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ

          คณะครูบาอาจารย์ทุกรูปทั้งที่เป็นผู้เก่าก็ดี ผู้ใหม่ก็ดี เราจะประมาทอย่างไรๆ ก็ประมาทไปเถอะ แต่ว่าเราอย่าประมาทในการรักษาศีล เพราะว่าการรักษาศีลนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ศีลนั้นเป็นฐานของธรรมทั้งหลายทั้งปวง ศีลนั้นเป็นฐานของพรหมจรรย์ ถ้าพวกเราทั้งหลายมีศีลอยู่ มั่นคง บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ถึงเราจะไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานในขณะนี้ หรือว่าวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ แต่เราก็มีโอกาสที่จะพากเพียรซึ่งมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง

          แต่ถ้าเราเป็นผู้พรากจากศีล ทำศีลให้ขาด ให้ด่าง ให้พร้อย ให้ทะลุ เรานั้นจะมาปฏิบัติธรรมให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้นก็ยาก สิ่งที่สำคัญที่คณะครูบาอาจารย์ผู้เป็นนักบวช เป็นสมณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ กระผมก็ขอย้ำเตือนให้คณะครูบาอาจารย์ได้ทราบแนวทางแห่งการที่พวกเราทั้งหลายจะไปสู่พระนิพพาน

          ประการแรก ก็คือการรักษาศีลให้ดี ถ้าเรารักษาศีลให้ดีแล้วก็มีโอกาสที่จะพากเพียรให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ แล้วคณะครูบาอาจารย์ทุกรูปที่ได้เข้ามาประพฤติปริวาสกรรม ประพฤติวุฏฐานวิธีก็ถือว่าคณะครูบาอาจารย์นั้นมีบุญล้นฟ้าล้นดิน ที่ได้ทำการประพฤติวุฏฐานวิธีถูกต้องตามพุทธวิธีที่พระองค์ทรงตรัสไว้ การเข้าปริวาสกรรมที่พวกเราได้เข้าอยู่นี้ก็ถือว่าเป็นหลักที่ถูกต้องแม่นยำมีเหตุผลมาประพฤติปฏิบัติมาสามสิบกว่าปี ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่พาบำเพ็ญมา ฉะนั้นก็ขออนุโมทนาสาธุการในเรื่องการกระทำศีลให้ดีของคณะครูบาอาจารย์ทุกรูปทุกท่าน

          ประการที่สอง หนทางที่จะทำให้เราไปสู่พระนิพพานได้นั้นคือ การสำรวมอินทรีย์ เราเป็นนักบวช เราเป็นสมณะ เราเป็นผู้ที่กระทำข้าศึกคือกิเลสให้หวั่นไหวนั้น เราต้องสำรวมอินทรีย์ หรือต้องสำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก สำรวมลิ้น สำรวมกาย แล้วก็สำรวมใจ

          ถ้าเราเป็นนักบวชประเภทที่ไม่สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจแล้วก็เป็นนักบวชที่อันตราย หรือว่าเป็นนักบวชที่เสี่ยงภัยเหมือนกับเราเดินทางไปในป่ารกที่เต็มไปด้วยเสือ ช้าง หรือว่าอสรพิษต่างๆ หรือว่าโจรผู้ร้ายทั้งหลายที่คอยดักซุ่มคอยทำร้ายเราอยู่ โอกาสที่จะรอดจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวงนั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์อาจจะมีสัก ๐.๑ เปอร์เซ็นต์

          นักบวชก็เหมือนกัน ถ้าเราประมาทในการสำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก สำรวมลิ้น สำรวมกาย สำรวมใจแล้วก็ยากที่เราจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ เพราะการที่จะเข้าถึงซึ่งนิพพานนั้นต้องปิดตาสองข้าง ปิดหูสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นั่งนอนสบาย หรือว่าเราต้องรู้จักสำรวมอินทรีย์ คือตา คือหู คือจมูก คือลิ้น คือกาย คือใจของเรา

          การที่เราสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำไมเราจึงต้องสำรวมเหล่านี้ อายตนะเหล่านี้เป็นช่องของบุญและบาป ถ้าเราปิดช่องของบุญและบาปจิตใจของเราก็จะสงบ นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน ฉะนั้นครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ปรารถนานิพพานก็อย่าประมาทในการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะพระนิพพานนั้นอยู่ที่ตา อยู่ที่หู อยู่ที่จมูก อยู่ที่ลิ้น อยู่ที่กาย อยู่ที่ใจของเรานี้เอง ไม่ได้อยู่ที่อื่น เกิดขึ้นอยู่ตรงนี้ ดับอยู่ตรงนี้ ตั้งอยู่ตรงนี้ แล้วก็ดับอยู่ตรงนี้

          ก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทุกรูปที่มาประพฤติปฏิบัติธรรมปรารถนาพระนิพพานนั้น อย่ามองข้ามเหตุให้ไปสู่พระนิพพาน ฉะนั้นการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นจึงเป็นสิ่งที่คณะครูบาอาจารย์ทุกรูปขอให้สำรวมจึงเป็นทางไปสู่พระนิพพาน

          ประการที่สาม ทางที่จะไปสู่พระนิพพานนั้น เราต้องประกอบไปด้วยสมถะ คือ การเจริญสมถะกรรมฐานนั้นก็คือ การทำให้ใจของเรานั้นมันสงบ ถ้าใจของเราไม่สงบแล้วเราก็จะไม่เกิดปัญญา หรือว่าเราจะไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง เมื่อเราไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงแล้วปัญญาก็จะไม่เกิด

          การที่เรามาประพฤติปฏิบัติบริกรรม “พองหนอ ยุบหนอ” หรือว่า “พุทโธๆ” ถ้าเรามีบุญมีบารมีจิตใจของเราละอดีต ละอนาคต ละบุญ ละบาป มีสติจดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียว อารมณ์นั้นก็เป็นสมถะแล้วอารมณ์ของสมถะก็คือสงบ แต่ถ้าเราเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของรูปของนามอันนี้ก็เป็นวิปัสสนาแล้ว อันนี้เรียกว่าสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดีก็อยู่ใกล้ๆ กัน ถ้าอาการที่เราเพ่งเฉยๆ นั้นเป็นสมถะ

          คณะครูบาอาจารย์ผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นต้องพยายามทำใจของเราให้สงบ อย่าคิดว่าการบำเพ็ญสมาธินั้นเป็นสมาธิหัวตอ ไม่เกิดประโยชน์ ไม่เกิดอานิสงส์ ไม่เกิดคุณ ไม่เกิดฤทธิ์ ไม่เกิดเดชอะไรทำนองนี้

          องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสอานิสงส์ของสมาธิ ว่าสมาธินั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขในปัจจุบันธรรม ถ้าผู้ใดได้สมาธิแล้วจะเกิดความสุขในปัจจุบันธรรม เรียกว่ามีความสุขอันเกิดขึ้นมาด้วยอำนาจของปีติต่างๆ จิตใจสงบไม่ซัด ไม่ส่าย ไม่วอกแวก ไม่รำคาญ จิตใจไม่กระวนกระวาย มีความสุข อันนี้เป็นลักษณะของสมาธิ

          นอกจากสมาธิเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขในปัจจุบันแล้วยังทำให้เราเกิดวิปัสสนา คือ เกิดปัญญา หรือว่าเมื่อสมาธิตั้งมั่นในจิตในใจของเรา จิตใจของเราก็ไม่ปรุงแต่ง เมื่อจิตใจของเราไม่ปรุงแต่งถึงเรื่องบุญเรื่องบาปเรื่องอดีตเรื่องอนาคต จิตใจของเราก็อยู่กับปัจจุบันธรรม เมื่อจิตใจของเราอยู่กับปัจจุบันธรรมแล้ว จิตใจของเราก็เห็นรูปเห็นนาม เห็นรูปนามมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปตามความเป็นจริง อันนี้เพราะอะไร เพราะจิตใจของเรามันสงบ วิปัสสนาจึงเกิดขึ้นมาจากจิตใจของเราสงบ อันนี้ก็เป็นอานิสงส์ของสมาธิ

          นอกจากนั้นท่านยังกล่าวว่าทำให้เกิดฤทธิ์ เกิดเดช เกิดอภิญญาต่างๆ ทั้งวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญา ๖ นอกจากนั้นสมาธิยังเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมยังไม่ได้บรรลุมรรคผลพระนิพพานนั้นสมาธิไม่เสื่อมตายไปแล้วก็ไปเกิดในพรหมโลก

          อานิสงส์ของสมาธิประการสุดท้ายก็คือ ถ้าผู้ใดได้สมาธิ เรียกว่าได้สมาบัติทั้ง ๘ เวลาได้บรรลุเป็นพระอนาคามี ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็ดี ท่านกล่าวว่าบุคคลนั้นจะสามารถเข้าผลสมาบัติได้นาน หรือว่าบุคคลนั้นสามารถที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ถ้าบุคคลนั้นได้สมาบัติ ๘ อันนี้เป็นอานิสงส์ของสมาธิ สมาธินั้นคณะครูบาอาจารย์ถ้ายังไม่เกิดก็ทำให้เกิดขึ้นมา เพราะอะไร เพราะสมาธินั้นเป็นหนทางให้เราถึงซึ่งพระนิพพาน

              อีกประการหนึ่งก็คือความเพียร ความเพียรนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เรานั้นถึงซึ่งพระนิพพาน ผู้ใดปราศจากความเพียรบุคคลนั้นก็ถึงซึ่งพระนิพพานไม่ได้ คณะครูบาอาจารย์ที่มาเดินจงกรมนั่งภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” พองหนอ ยุบหนอนี้เป็นทั้งสมถะ เป็นทั้งวิปัสสนา ถ้าผู้ใดมีบุญวาสนาบารมีทางสมถะเวลาเรามาเจริญ “พองหนอ ยุบหนอ” จิตใจของเราก็จะเพ่งอยู่ที่อาการพองอาการยุบ ไม่กำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป จิตใจของเรามันก็สงบไปๆ แน่นิ่งไปแล้วก็เป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อันนี้เป็นลักษณะของบุคคลผู้มีบารมีในเรื่องของสมาธิ

          แต่ถ้าบุคคลใดมีบารมีในทางเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เราก็ภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” นี้แหละ แต่ว่าอุปนิสัยของเราก็จะคล้อยไปให้เรามีสติ มีสัมปชัญญะพิจารณาอาการพองอาการยุบ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเราเห็นอาการพองขึ้นมาทีละเส้นขนสองเส้นขน อาการพองเกิดขึ้นมาแล้วก็ค่อยเสื่อมไปๆๆ แล้วก็ดับไป อาการพองดับไป อาการยุบเกิดขึ้นมา อาการยุบเกิดขึ้นมาแล้วก็อาการยุบตั้งอยู่ อาการยุบมันดับไป อาการพองมันเกิดขึ้นมา

          บุคคลใดที่มีบุญวาสนาบารมีในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานจะพิจารณาเห็นในลักษณะอย่างนี้ เรียกว่าเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของรูปของนามก็ถือว่าเป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อุปนิสัยหรือว่าญาณของบุคคลนั้นก็จะน้อมไปในวิปัสสนาญาณอันนี้ก็แล้วแต่บุญ แล้วแต่วาสนา แล้วแต่บารมีของแต่ละท่านแต่ละคนไม่เหมือนกัน

          การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หรือว่าการเจริญยุบหนอพองหนอนี้เป็นได้ทั้งสมถะแล้วก็วิปัสสนา คณะครูบาอาจารย์ผู้ที่มาบวชใหม่ๆ อาจจะเกิดความสงสัยว่า เอ เรามาเจริญ ”พองหนอ” “ยุบหนอ” นี้นี่เป็นวิปัสสนาไม่เป็นสมถะ เห็นครูบาอาจารย์หลายรูปได้เกิดความสงสัย

          ก็ขอคลายปัญหานี้ว่า การเจริญ “พองหนอ” “ยุบหนอ” นั้นเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา อันนี้ก็แล้วแต่จุดประสงค์ของบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติ จุดประสงค์ของครูบาอาจารย์หรือแล้วแต่บุญวาสนาบารมี แต่เมื่อบุคคลใดมีวาสนาบารมีทางสมถะก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” นี้ อาการพองหนอยุบหนอนั้นก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเรานั้นสงบอยู่กับอาการพองอาการยุบ เมื่อจิตใจของเราสงบอยู่กับอาการพองอาการยุบแล้วจิตใจของเราก็ไม่วอกแวก ไม่หวั่นไหวคิดไปถึงอดีตถึงอนาคต จิตใจเราอยู่กับอาการพองอาการยุบ มือของเรามันก็แน่นเข้าตัวของเรามันก็เบา ความรู้สึกของเราไม่ปรุงแต่งไม่ฟุ้งซ่านอยู่กับอาการพองอาการยุบ อันนี้เรียกว่าจิตใจของเรานั้นเป็นปฐมฌานแล้ว

          แต่ถ้าเราบริกรรมไป “พองหนอ ยุบหนอ” ไปตัวของเรามันก็เบาขึ้น กายของเราก็ละเอียดลง ลมหายใจของเราละเอียดเข้าไป เมื่อลมหายใจของเราละเอียดเข้าไปๆ อาการที่เราบริกรรมนั้นมันก็หมดไปเอง สมาธิเมื่อมันละเอียดเข้าไปๆ กายของเรามันนิ่งเข้าไปๆ กายของเรามันเย็นเข้าไปๆ คำบริกรรมมันก็หมดไปเองของมัน เมื่อคำบริกรรมของเรามันหมดไปเองก็ถือว่าเป็นการยังทุติยฌานให้เกิดขึ้นมาแล้ว

          เมื่อเราบริกรรมไปๆ จิตของเรามันลึกเข้าไปกว่านั้นอีกกายของเรามันแข็งเข้าไปกว่านั้นอีก เย็นเข้าไปกว่านั้นอีก มีความลึกซึ้งเข้าไปกว่านั้นอีก กายของเราที่สัมผัสทางตาก็ดี ทางหูก็ดี ทางจมูกก็ดี ทางลิ้นก็ดี ทางกายก็ดี เป็นของประณีตปรากฏนิดหนึ่ง คล้ายๆ ว่าอาการที่สัมผัสทางหูก็ดี ทางกายก็ดี ทางใจของเราก็ดีเป็นของที่ละเอียด ไม่สามารถสัมผัสเย็น สัมผัสร้อนอะไรไม่ชัดเจน เพียงแต่รู้อยู่นิดหนึ่ง ร่างกายของเราแข็งในลักษณะอย่างนี้เรียกว่าเราผ่านทุติยฌาน เข้าถึงตติยฌานแล้ว

          แต่ถ้าเราเพ่งไปๆๆ ขณะที่เราเพ่งไปนั้นแหละจิตมันดับลงไปเอง มันเข้าสมาธิไปเอง อันนี้เรียกว่าเราถึงจตุตถฌานแล้ว เมื่อถึงจตุตถฌานแล้วใจของเราก็ไม่รู้ หูของเราก็ไม่ได้ยิน แต่เมื่อจิตของเราทรงอยู่เป็น ๕ นาทีบ้าง ๑๐ นาทีบ้าง ๒๐ นาที หรือ ๓๐ นาที ก็แล้วแต่บุญวาสนาบารมีของเรา เมื่อเราทรงอยู่ไว้ประมาณ ๑๕ นาที ๒๐ นาที ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมงจนกว่าสมาธิของเราจะคลายตัว เมื่อสมาธิของเราคลายตัวออกมาแล้วเราได้เพ่งเราได้รู้อันนั้นเราออกจากจตุตถฌาน ออกมาถึงตติยฌานแล้ว

          แต่ถ้าเรามีความรู้สึกที่หยาบลงมาอีก ก็เรียกว่าเราเข้าถึงทุติยฌานแล้ว แต่ถ้าเราได้บริกรรม “พองหนอ ยุบหนอ” ลงมาถึงปฐมฌานแล้ว แต่ถ้าเราบริกรรม “พองหนอ ยุบหนอ” แล้วเราคิดถึงเรื่องโน้นบ้างคิดถึงเรื่องนี้บ้าง อันนี้เรียกว่าเราออกมาอุปจารสมาธิ เราจะคลายออกมาในลักษณะอย่างนี้เรียกว่าบุคคลผู้มีวาสนาบารมีในเรื่องของสมถะ

          แต่ถ้าบุคคลใดมีบารมีในเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน เวลาเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ไป จิตใจของเราก็จะมองเห็นรูปเห็นนาม หรือว่าอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนาม เท้าของเราที่ยกขึ้นเป็นรูปใจที่เรารู้ ใจที่เรานึกคำบริกรรมรู้ว่าเท้าของเรายกนี้เป็นนาม นี้จิตใจของบุคคลผู้มีวาสนาบารมีทางวิปัสสนาจะเป็นอย่างนั้น

          ขณะที่เรากำหนดอาการพอง อาการยุบ ขณะท้องของเราปรากฏพองขึ้นไป ใจของเราก็กำหนด “พองหนอ“ ขึ้นมา บุคคลผู้มีวาสนาบารมีในทางวิปัสสนากรรมฐานก็จะพิจารณาว่า อาการของท้องที่พองขึ้นมานั้นเป็นรูป ใจที่รู้อาการของท้องที่พองนั้นเป็นนาม พิจารณาเห็นรูปนาม มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในลักษณะอย่างนี้ อันนี้เรียกว่าบุคคลผู้มีบารมีในทางวิปัสสนากรรมฐานจะเป็นอย่างนั้น

          ขณะที่ตาของเราเห็นรูป ตาของเราก็เป็นรูป รูปที่เราเห็นนั้นก็เป็นรูป ใจที่เกิดความชอบ ความชัง ความพอใจในสิ่งนั้นเป็นนาม บุคคลผู้ที่มีบารมีทางวิปัสสนาจะพิจารณาอย่างนั้น ขณะที่หูของเราได้ยินเสียงเหมือนกัน หูของเราก็เป็นรูป เสียงที่ได้ยินก็เป็นรูป แต่ว่าใจที่ยินดีในเสียงหรือว่าไม่พอใจในเสียงนั้นก็เป็นนาม รูปนามมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปกับพวกเราอยู่ทุกขณะ บุคคลผู้มีบารมีทางวิปัสสนาญาณก็พิจารณาในลักษณะอย่างนี้ เมื่อพิจารณาในลักษณะอย่างนี้วิปัสสนาญาณก็เจริญขึ้นไปตามลำดับๆ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ ปัจจยปริคคหญาณเกิดขึ้นมา เราจะพิจารณาอย่างไรว่าปัจจยปริคคหญาณเกิดขึ้นมา ท่านให้พิจารณาดูอาการพองอาการยุบ ว่าอาการพองอาการยุบของเรานั้นเป็นสองขยักหรือไม่ เห็นอาการพองนั้นเป็นสองระยะ อาการยุบนั้นเป็นสองระยะ อันนี้ก็เป็นลักษณะของปัจจยปริคคหญาณ หรือว่าญาณที่ ๒ เป็นผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นเหตุและปัจจัยของรูปของนาม

          หรือว่าขณะที่เราบริกรรมไป “พองหนอ ยุบหนอ” นั้น เกิดอาการทุกขเวทนาเป็นอย่างมาก เจ็บปวดแข้งปวดขาปวดหลังปวดเอวกำหนดอย่างไรๆ ก็ไม่หาย เกิดอาการทุกขเวทนาเป็นอย่างมาก คล้ายๆ ว่าขามันจะขาด คล้ายๆ ว่ากระดูกมันจะแตกในลักษณะอย่างนี้

          หรือว่าขณะที่เราภาวนาไปบางครั้งมันก็เกิดนิมิตขึ้นมา เห็นป่าไม้ เห็นภูเขา เห็นแม่น้ำ เห็นลำธารต่างๆ ในลักษณะอย่างนี้ก็เป็นลักษณะของปัจจยปริคคหญาณหรือว่าญาณที่ ๒ ที่เป็นปัจจัยให้รู้จักเหตุของรูปของนาม ส่วนมากผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมจะเกิดในลักษณะอย่างนี้

          หรือว่าในขณะที่เรานั่งภาวนาไป “พองหนอ ยุบหนอ” บางครั้งตัวของเรามันใหญ่ขึ้นๆๆ ในลักษณะอย่างนี้ก็เป็นวิปัสสนาญาณที่ ๒

          เราภาวนาไป “พองหนอ ยุบหนอ” บางครั้งฟันของเรามันยาวออกมางอกออกมาในลักษณะอย่างนี้ก็มี ก็ถือว่าเป็นลักษณะของญาณที่ ๒

          บางครั้งเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ไปมือของเรามันใหญ่ขึ้นๆ นี้ก็เป็นญาณที่ ๒

          บางครั้งเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ไปตัวของเรามันใหญ่ขึ้นๆๆ สูงขึ้นๆ มองไปเห็นตรงโน้นมองไปเห็นตรงนี้ในลักษณะอย่างนี้ก็เป็นลักษณะของวิปัสสนาญาณที่ ๒

          บางรูปบางท่านก็คิดว่าเป็นผู้มีฤทธิ์มีเดชมีอภิญญาต่างๆ อันนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแต่วิปัสสนาญาณที่ ๒ เป็นปีติหยาบๆ ที่มันเกิดขึ้นในญาณที่ ๒ เท่านั้นเอง อันนี้ส่วนมากผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมจะเกิดขึ้นในลักษณะอย่างนี้

          แต่ถ้าเราไม่สนใจเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาเราพยายามตั้งใจกำหนดให้ทันปัจจุบันธรรม ไม่เผลอ ไม่เหม่อลอยไปตามอำนาจของปีติ ไม่เหม่อลอยไปตามอำนาจของนิมิต ไม่เหม่อลอยไปตามอำนาจของสิ่งที่มาปรากฎ มีสติกำหนดทันปัจจุบันธรรม วิปัสสนาญาณของเราก็จะแก่กล้าไปตามลำดับๆ วิปัสสนาญาณของเราแก่กล้าไปตามลำดับแล้วก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสัมมสนญาณ หรือว่าปัญญาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา

          คือเมื่อเราภาวนาไป “พองหนอ ยุบหนอ” ไป วิปัสสนาญาณมันจะเจริญขึ้นไปตามลำดับขอให้เรามีสติ มีสัมปชัญญะ มีความเพียรบากบั่นอยู่เป็นนิจ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสอยู่เป็นประจำ หรือว่าประพฤติปฏิบัติให้ดุจดั่งกระแสน้ำ ให้ติดต่อกันไม่ขาดระยะ ไม่ทิ้งเสียในระหว่าง ไม่ให้ขาดช่วง ให้ติดต่อกันเหมือนกับกระแสน้ำติดต่อกันไปไม่ขาดสาย ถ้าผู้ใดทำได้ในลักษณะอย่างนี้ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสัมมสนญาณขึ้นมา เห็นรูปนามนั้นเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา

          คณะครูบาอาจารย์ผู้บวชใหม่อาจจะไม่เข้าใจว่าอนิจจังคืออะไร อนิจจังนั้นเป็นอย่างไร อนิจจังนั้นเป็นศัพท์ภาษาบาลี แต่ในเวลาผลของการประพฤติปฏิบัติปรากฏขึ้นมานั้นเวลาเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ไปเมื่อเราถึงญาณที่ ๓ แล้ว อนิจจังในญาณที่ ๓ นั้นมันก็จะเร็วขึ้นๆๆ อาการท้องพองท้องยุบของเรามันก็จะเร็วขึ้นๆๆ เมื่อเร็วขึ้นเต็มที่แล้วมันก็จะเสื่อมไป แล้วก็แผ่วเบาลงก็หายไป ในลักษณะอย่างนี้เรียกว่าอนิจจังในญาณที่ ๓

          แต่ถ้าบางรูปบางท่านเป็นประเภททุกขัง เวลาภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” อาการพองอาการยุบมันแน่นเข้าๆๆๆ ขณะที่อาการพองอาการยุบมันแน่นเข้าเต็มที่แล้วมันก็จางหายไป คล้ายๆ เราเทน้ำลงทะเลทรายมันหายแวบไป คล้ายๆ กับว่าอาการพองยุบมันไม่เคยแน่น มันหายไปเองของมันอันนี้เป็นลักษณะของญาณที่ ๓

          หรือว่าบางรูปบางท่านเคยเจริญวิปัสสนากรรมฐานมามาก เวลาภาวนามาถึงญาณที่ ๓ นั้นอาการพองยุบมันจะแผ่วเบาลงๆๆ เมื่อแผ่วเบาลงเต็มที่แล้วก็จางหายไป เหมือนกับเราเทน้ำลงในทะเลทรายนั้นแหละหายไปโดยที่ไม่เหลือร่องรอยไว้ อันนี้เป็นลักษณะของอนิจจัง ลักษณะของทุกขัง ลักษณะของอนัตตา ญาณที่ ๓ ส่วนมากจะเกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้

          หรือบางรูปบางท่านเมื่อเกิดขึ้นในลักษณะอย่างนี้ บางท่านบางรูปเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หรือเกิดขึ้น ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้งก็แล้วแต่บุญวาสนาบารมี บางรูปบางท่านก็เกิดขึ้น ๒ วัน ๓ วัน เกิดเป็น ๔,๕ วันเกิดเป็นอาทิตย์ก็มี อันนี้ลักษณะของอนิจจัง ทุกขังปรากฏขึ้นมาบางครั้งก็ชัด บางครั้งก็ไม่ชัด บางครั้งก็มาก บางครั้งก็ไม่มากก็แล้วแต่บุคคลแล้วแต่รูป

          แต่ว่าบางรูปบางท่านเวลามาภาวนาถึงญาณนี้อาการพองอาการยุบนั้นเป็น ๓ ระยะ คือเวลาพองก็มี ๓ ระยะ เวลายุบก็มี ๓ ระยะ อันนี้ก็ถือว่าเข้าถึงญาณที่ ๓ แล้ว

          หรือว่าในขณะที่เรามาประพฤติถึงญาณที่ ๓ สิ่งที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือจะเกิดอุปกิเลส ๑๐ ประการ อาการคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นมานี้ก็ถือว่าถึงญาณที่ ๓ หรือว่าอาการพองอาการยุบเป็น ๓ ระยะก็ถือว่าถึงญาณที่ ๓

          ถ้าอาการพองอาการยุบไม่เป็น ๒ ระยะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ปรากฏชัด แต่ถ้าเกิดอุปกิเลส ๑๐ ประการ มีโอภาสแสงสว่างถ้ามันเกิดขึ้นมาก็ถือว่าเรานั้นประพฤติปฏิบัติธรรมถึงญาณที่ ๓ โอภาสแสงสว่างบางครั้งก็เท่ากับแสงไฟฉาย บางครั้งก็เหมือนกับแสงเทียน บางครั้งก็เหมือนกับตารถไฟ ตารถยนต์

          คือเวลาเรานั่งภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” มันจะเป็นแสงวับมาเราลืมตามองแล้วก็ไม่มีอะไร เหมือนกับเรานั่งอยู่มีรถวิ่งสวนเข้ามา เอ เรานั่งอยู่ในห้องกรรมฐานรถมันวิ่งมาได้อย่างไร ก็ลองนั่งหันหน้าเข้ากำแพงบ้าง นั่งหันหน้าเข้ากุฏิบ้างแต่ดึกดื่นแล้วทำไมรถมันวิ่งเข้ามา บางครั้งเราลืมตามองดูแต่มันก็ไม่ใช่ แต่ความรู้สึกเหมือนกับรถวิ่งสวนทางกับตรงที่เรานั่ง ลักษณะอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นโอภาสแสงสว่างมันปรากฏขึ้นมา

          หรือว่าในขณะที่เราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ไป บางครั้งบุคคลผู้มีบารมีในเรื่องโอภาสแสงสว่าง มันก็จะเกิดแสงสว่างขึ้นมา บางครั้งก็เท่ากับนิ้วก้อย บางครั้งก็เท่ากับนิ้วโป้งของเรา บางครั้งก็โตขึ้นมาเท่ากับไฟฉาย บางครั้งโตขึ้นมาเท่ากับตารถยนต์ ตารถไฟ แต่บางรูปบางท่านกำหนด “เห็นหนอๆ” แสงไฟที่เท่ากับตารถไฟนั้นก็แตกออกไปเป็นหลายๆ สี เป็นสีเขียว สีแดง สีเหลือง อะไรต่างๆ ทำให้บุคคลผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมีจิตใจฟุ้งซ่านก็มี

          แต่ถ้าเราเคยฟังครูบาอาจารย์ผู้สอบอารมณ์แล้วเราก็กำหนดรู้ตามอาการของมัน มันจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็แล้วแต่มัน อันนี้ก็ถือว่าเป็นโอภาสเป็นแสงสว่างพิสดารแล้วแต่บุญวาสนาบารมีของแต่ละท่านแต่ละคน

          นอกจากจะเกิดโอภาสแสงสว่างแล้ว บางครั้งก็เกิดปีติ อุปกิเลสตัวที่ ๒ คือ ปีตินั้นมีอยู่ ๕ ประการ

          ขุททกาปีติ ปีตินิดๆ หน่อยๆ ขนลุก น้ำตาไหล ตัวพองสยองเกล้าก็เรียกว่าเป็นขุททกาปีติ

          หรือว่าเป็นขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะจะปรากฏเหมือนกับตีเป็นไฟ คล้ายๆ ว่าแสงมันแวบๆ ขึ้นมาที่ตาของเราเห็นแสงสีส้ม สีเหลือง สีแดง มันแวบๆ แวมๆ เข้ามาในลักษณะอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นขณิกาปีติ

          หรือว่าโอกกันติกาปีติ ปีติที่ทำให้ตัวของเรามันสั่นๆ ไหวๆ ทำให้ตัวของเราโอนเอนไปมา ทำให้ตัวของเรานั้นนั่งไม่ตรง หรือว่านั่งไปก็โอนเอนไปมาไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

          เหมือนกับหลวงปู่รูปหนึ่งชื่อว่าหลวงปู่โม่ ไปประพฤติปฏิบัติธรรมในตอนแก่ ท่านอายุมากแล้วท่านมาบวชเมื่อมาบวชแล้วพอถึงตรงนี้ท่านก็เกิดปีติ โอกกันติกาปีตินั่งภาวนาไปก็ตัวโยกตัวโคลงไป ขณะที่ตัวโยกตัวโคลงไปก็ครางไปด้วย มีความสุขคล้ายๆ กับว่าประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ไหนๆ ท่านก็อยู่อย่างนั้นแหละอายุประมาณ ๘๐ ปี ใครจะบอกอย่างไรๆ ก็ไม่ฟัง พระเดชพระคุณหลวงพ่อไปบอกหลวงปู่ให้กำหนด ก็บอกว่าพยายามกำหนดอยู่แต่มันก็ไม่หยุด อันนี้เรียกว่าลักษณะของโอกกันติกาปีติมันก็เกิดขึ้นมา ถ้าเราไม่มีจิตใจเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยวกำหนดลงไปจริงๆ แล้วมันจะไม่หาย มันจะนั่งโยกเยกโคลงไปมาอยู่อย่างนั้นแหละ

          แต่ถ้าเรามีจิตใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวกำหนดลงไป “หยุดหนอๆ หยุด!” สิ่งเหล่านั้นมันก็เกิดขึ้นมาได้ อยู่ที่ใจของเรา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยอาการของจิตของเรา เป็นอาการของจิตของเราถ้าเรามีสติตั้งมั่นจริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้มันก็หายได้สามารถกำหนดหายได้ อันนี้เรียกว่าเป็นโอกกันติกาปีติ

          ถ้าเป็นอุพเพงคาปีตินั้น ปีติโลดโผนคล้ายๆ ว่าเมื่อปีติชนิดนี้เกิดขึ้นมาแล้ว คล้ายๆ กับเรานั่งนั้นตัวเบา คล้ายๆ กับว่าเราไม่นั่งอยู่เหนือพื้น คล้ายๆ กับว่าเราลอยอยู่กับพื้น เราค่อยๆ ลืมตาดู เราลอยจากพื้นจริงหรือเปล่าหนอ เราเหาะได้จริงหรือเปล่าหนอ ก็ค่อยๆ ลืมตาดูเมื่อเราค่อยๆ ลืมตาดูเราก็นั่งอยู่กับพื้นนี้แหละแต่ว่าตัวของเราคล้ายๆ กับว่าลอยขึ้นมาไม่มีน้ำหนักเบายิ่งกว่านุ่นอีก ในลักษณะอย่างนี้เรียกว่าอุพเพงคาปีติ

          บางรูปบางท่านเช่นหลวงปู่คนหนึ่งชื่อว่าหลวงปู่ชุมพรมาประพฤติปฏิบัติธรรม เวลามาประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วเกิดอุพเพงคาปีติ คล้ายๆ ว่าตัวเองล่องลอยไป ขณะที่ล่องลอยไปก็คิดว่า “เอ อาจารย์มหาชอบอยู่ตรงไหนหนอ ทำอะไรอยู่” ก็คล้ายๆ กับว่าลอยไปดูเห็นกระผมทำอย่างโน้น เห็นกระผมทำอย่างนี้ อุพเพงคาปีติมันเกิดขึ้นมาบวกกับโอภาสแสงสว่างก็ทำให้รู้สิ่งโน้น รู้สิ่งนี้ บางครั้งบางคราวก็พิจารณา ตอนฉันอาหารภัตตาหารเพลวันนี้มีอาหารอะไรบ้างหนออยู่ที่พาข้าว ก็ลองนั่งพิจารณาดู หลวงปู่ชุมพรก็นั่งพิจารณาดูก็คล้ายๆ กับว่าตนเองนั้นเหาะไปแต่ไม่ลืมตา คล้ายๆ กับเหาะไปแล้วก็ไปเห็นอาหารเหล่านั้นอยู่พาข้าวมีส้มตำ มีปิ้งปลา มีปิ้งไก่อะไรต่างๆ บางถ้วยนั้นวางอยู่ตรงโน้น วางอยู่ตรงนี้ พอลืมตาดูแล้วก็เดินไปฉันภัตตาหารเพลตามแถว ตามวาระก็เห็นอยู่อย่างนั้นก็เกิดความอัศจรรย์ใจว่า เอ ทำไมมันเป็นไปได้หรือว่าผมเป็นผู้วิเศษ หรือว่าผมเป็นผู้ที่มีอภิญญาแล้ว แต่เมื่อไปกราบเรียนพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านก็กล่าวว่าปีติมันเกิดขึ้นมากับโอภาสบวกกัน เรียกว่าปีติก็แรงกล้า โอภาสก็แรงกล้า ปัสสัทธิก็แรงกล้า มันบวกกันสามอย่างมันก็เกิดอภิญญาน้อยๆ ขึ้นมาได้ เกิดความรู้ความเห็นต่างๆ ขึ้นมาได้ แต่ถ้าปีติมันเสื่อม ปัสสัทธิมันเสื่อม สมาธิมันเสื่อม สิ่งเหล่านี้มันเสื่อมไปด้วยนี้ถ้าเรารักษาไม่ดี สิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นอุเพงคาปีติ

          บางครั้งบางคราวเรานั่งภาวนาไป บางครั้งก็ถ่ายท้อง ถ่ายท้องลงท้องเหมือนกับว่าเรานั้นทานอาหารผิดมามากๆ อันนี้ก็เป็นลักษณะของปีติได้เหมือนกัน บางครั้งก็ถ่ายไม่ออก บางครั้งก็เยี่ยวไม่ออกอันนี้ก็เป็นลักษณะของอุพเพงคาปีติได้เหมือนกัน แต่บางรูปบางท่านก็คิดว่า เอ เราก็ทานแต่ทอดไข่ เราก็ทานแต่ต้มไข่แต่ทำไมเราจึงถ่ายท้องเราไม่ได้ทานอะไร บางครั้งก็เป็นลักษณะของญาณ บางครั้งก็เป็นลักษณะของปีติ อันนี้ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมก็ควรที่จะฉลาด บางครั้งบางคราวเราก็ถ่ายไม่ออกเยี่ยวไม่ออกก็มี ลักษณะของปีติก็เกิดขึ้นมาได้

          เวลาเราประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมันเกิดขึ้นมาเราก็มีสติกำหนดทันปัจจุบันธรรมพิจารณาอาการนั้นตามความเป็นจริง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สิ่งเหล่านั้นก็เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สภาพของสติ สมาธิ ปัญญาของเราเปลี่ยนไปตามอำนาจของญาณของเรา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2564 19:52:37 »

.

ลำดับญาณ (ต่อ)

         หรือว่าในขณะที่เราประพฤติปฏิบัติธรรมมันเกิดผรณาปีติขึ้นมา เกิดความซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กายคล้ายๆ ว่าเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” สงบฟับลงไป เมื่อสงบมันเกิดผรณาปีติขึ้นมา มันจะเกิดความสุขแผ่ออกจากหัวใจของเราแผ่ไป คล้ายๆ กับว่าความสุขนั้นแผ่ไปทุกเส้นขนทำให้เราขนพองสยองเกล้า เวลาเราเดินไปก็เหมือนกับว่าเรานั้นไม่เหยียบแผ่นดินมันเกิดความสุขเกิดความเยือกเย็น เกิดความเบา เกิดความสงบเป็นอย่างยิ่งนี้ในลักษณะอย่างนั้น เรานั่งไปแล้วมันก็เย็นไปทั่วสรรพางค์กายของเรา ก็เป็นในลักษณะของผรณาปีติ

          บางครั้งเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ความสุขมันเกิดขึ้นในใจของเราแล้วก็วิ่งไปเหมือนกับมีตัวมีตนทะลุออกไปข้างหลังอย่างนี้ก็มี บางครั้งบางคราวมันเกิดขึ้นมาเหมือนกับเป็นผีสางเข้ามา บางครั้งบางคราวเรายืนอยู่ “ยืนหนอๆ” อยู่ มันเย็นที่เท้าของเรามันก็วิ่งขึ้นมาๆ แล้วก็ออกข้างหลังของเราออกทางท้ายทอยของเราก็มี ลักษณะของปีติมันเกิดขึ้นมาได้ แล้วแต่มันจะเกิดขึ้นมา

          แต่ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติธรรมนานๆ ปีติมันเกิดขึ้นมาร้อยแปดพันอย่าง เราไม่ตกใจเรามีสติกำหนดทันปัจจุบันธรรม บุคคลนั้นก็จะเข้าใจว่าอันนี้มันเป็นปีติ ถ้าจิตใจมันสงบมากอย่างนี้มันเกิดปีติมากขนาดนี้ จิตใจมันสงบประมาณนี้มันจะเกิดอย่างนั้น บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมจะเข้าใจ เมื่อบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมเข้าใจแล้วความดีใจในปีติมันไม่มี ความเสียใจในปีติก็ไม่มี ความตกใจในปีติมันก็ไม่มี เห็นปีติเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปนี้ลักษณะของบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม เมื่อประพฤติปฏิบัติธรรมมาแล้วปีติมันจะเกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้

          นอกจากปีติแล้วก็ยังเกิดปัสสัทธิ ปัสสัทธิก็คือความสงบกายสงบจิต คือกายของเรามันก็สงบเป็นพิเศษ กายสงบก็คือกายของเรามันจะเบา กายของเรามันจะนิ่ง กายของเรามันก็จะสงบ เวลาเดินไปไหนก็เดินเบาๆ ไม่กระโตกกระเตก ไม่เดินเท้าหนักเหมือนแต่ก่อน เดินก็มีสติกำหนด คล้ายๆ กับว่าเราเดินอยู่ในชั้นอากาศมันจะเดินแบบมีความสมดุลกัน มีอาการสมดุลเป็นพิเศษ การยกก็ดี การย่างก็ดี

          แต่ก่อนโน้นเวลาเดินจงกรมแล้วเวลาตอนเที่ยงวันหนังท้องตึงมันดึงหนังตา เดินไปก็โงกง่วงไปมายกเท้าก็หนักเหวี่ยงเท้าก็หนัก นั่งก็โงกง่วงไปมา แต่เมื่อมันเกิดปัสสัทธิขึ้นมาแล้วเวลาเรายกเท้าก็ดี ยกอะไรก็ดี เหมือนกับว่ามันเบาไปหมด เหมือนกับว่ามันสมดุลกันไปหมด นี้ในลักษณะของอาการปัสสัทธิที่มันเกิดขึ้นมาทางกาย เดินก็อยากเดินคนเดียวอยากเดินนานๆ ไม่อยากนั่งอะไรทำนองนี้ จิตมันเป็นปัสสัทธิ ความสงบของจิต จิตสงบนั้นก็เหมือนกับว่าจิตมันไม่มีกิเลสทั้งๆ ที่เรานั้นมีกิเลสอยู่นั่นแหละ แต่เมื่อจิตใจมันสงบเป็นปัสสัทธิแล้วคล้ายๆ กับว่าไม่มีกิเลส

          เวลาเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ไป จิตใจแต่ก่อนโน้นเคยคิดถึงอารมณ์ที่เราเคยรักเคยชอบทำให้เกิดราคะขึ้นมา เวลาเราภาวนาไปแต่ก่อนโน้นเห็นอารมณ์ที่เขาเคยมาด่ามาว่าเรา ภาวนาไปก็โกรธไปด้วยกำหมัดกัดฟันคิดจะเอาคืนอยู่เป็นประจำ อันนี้เรียกว่าความโกรธมันเกิดขึ้นมา

          แต่เมื่อปัสสัทธิมันเกิดขึ้นมาความสงบแห่งจิตมันเกิดขึ้นมาเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” มันก็มารวมทันทีเลยอยากจะให้มันคิดมันก็ไม่คิด อยากให้มันปรุงแต่งมันก็ไม่ปรุงแต่ง เราหมดกิเลสแล้วหรือยังหนอคิดว่า ถ้าไม่หมดกิเลสทำไมมันไม่มีกิเลส ลองคิดดูซิ คนที่ทำให้เราเกิดราคะ คนที่ทำให้เราเกิดโทสะแต่ก่อนโน้นเราคิดไม่ได้เกิดราคะขึ้นมาทันที เราคิดไม่ได้กำหมัดกัดฟันขึ้นมาทันที ลองคิดดูซิเราคิดไปแล้วมันก็เฉยๆ จิตใจมันก็นิ่งสงบนิ่งเย็นเหมือนเดิม ก็คิดว่าเรานั้นน่าจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถ้าเราไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานทำไมหนอมันจึงมีความสงบมีความเยือกเย็นถึงขนาดนี้ บางคนบางท่านที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม เมื่อมันเกิดขึ้นมาด้วยอาการของปัสสัทธิอาจจะคิดอย่างนั้น

          แต่บางรูปบางท่านเป็นอยู่ไม่นาน อาจจะเป็นอยู่ ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง บางคนบางท่านอาจจะเป็นอยู่ ๑ วัน ๒ วันหรือ ๓ วันก็แล้วแต่อำนาจของญาณ แล้วแต่วิถีจิต แล้วแต่อำนาจของสมาธิที่มันเกิดขึ้นมา ก็แล้วแต่บุญวาสนาบารมี แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้มันคลายออกไปแล้วก็เหมือนกับว่าเป็นคนปกติ เคยโกรธมันก็โกรธ เคยเกิดราคะมันก็เกิดราคะ ก็แสดงว่าสิ่งที่ผ่านมานั้นเป็นอุปกิเลส

          แต่ถ้าเป็นมรรคเป็นผลจริงสิ่งที่มันเกิดขึ้นมาแล้วมันย่อมเป็นอย่างนั้น เป็นอมตะ ไม่เปลี่ยนไม่คลายไม่เคลื่อนไม่ย้าย ถ้าเราละกิเลสได้แล้ว กิเลสที่ตายไปแล้วก็ย่อมตายไป ไม่กลับขึ้นมาเกิดอีก แต่สิ่งนี้คงจะเป็นอุปกิเลส นี้ถ้าเราพิจารณาได้ตามความเป็นจริงเราก็จะเข้าใจอย่างนั้นแล้วก็จะตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

          นอกจากจะเกิดปัสสัทธิแล้วก็ยังเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดศรัทธา เกิดความเลื่อมใสขึ้นมา ว่าการประพฤติปฏิบัติธรรมที่เราประพฤติปฏิบัติอยู่นี้เป็นหนทางที่ดี เป็นหนทางที่เลิศ เป็นหนทางที่ประเสริฐ เราจะไปบอกพ่อบอกแม่บอกป้าบอกลุงบอกเพื่อนบอกสหายทั้งหลายทั้งปวงให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะไปขายไร่ขายนาขายที่ขายทางของเรามาสร้างอาคารปฏิบัติธรรม ซื้อรถซื้อราถวายหลวงพ่อ ทำเป็นกองทุนบุญนิธิสำหรับค่าภัตตาหารให้พระให้เณรให้ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมได้ฉันภัตตาหารอยู่สบาย ให้เขาได้บรรลุมรรคผลนิพพานสมความมุ่งมาตรปรารถนา เรียกว่าคิดอยากจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา คิดอยากจะรักษาการประพฤติปฏิบัติธรรม คิดอยากจะเผยแผ่การประพฤติปฏิบัติธรรมให้กว้างขวางออกไปอันนี้เป็นลักษณะของศรัทธา

          แต่ถ้าเราเหม่อลอยไปตามอำนาจของศรัทธา ใจของเราก็ทิ้งปัจจุบันธรรมเมื่อทิ้งปัจจุบันธรรมวิปัสสนาญาณก็ไม่เกิด เวลาศรัทธาเกิดขึ้นมาท่านให้เรากำหนด “คิดหนอๆ” หรือว่า “รู้หนอๆ” กำหนดลงที่ใจของเราในลักษณะอย่างนี้มันก็จะผ่านไป

          นอกจากศรัทธาจะเกิดขึ้นมาในญาณที่ ๓ แล้วก็ยังเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ความสุขมันเกิดขึ้นมา ความสุขในอุปกิเลสนั้นก็เป็นความสุขละเอียดอ่อน ถ้าผู้ใดเคยเข้าผลสมาบัติ เคยผ่านการบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็จะสามารถเปรียบเทียบความสุขอันเกิดจากอุปกิเลส ถ้าผู้ใดเคยเกิดความสุขอันเกิดจากทุติยฌานก็ดี ความสุขที่อยู่ในตติยฌานก็ดี หรือว่าความสุขที่ออกจากจตุตถฌานก็ดีนี้เป็นความสุขอันสุดยอดของโลกีย์

          แต่เมื่อมาประพฤติปฏิบัติความสุขที่เกิดขึ้นมาจากอำนาจของอุปกิเลสในญาณที่ ๓ เป็นความสุขที่ประณีต เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน คล้ายๆ ว่าเป็นความสุขที่หาสิ่งที่เปรียบเทียบได้ยาก เป็นความสุขที่ต่างกัน ความสุขที่เกิดขึ้นมาด้วยอำนาจของฌานจะเป็นตติยฌานก็ดี จตุตถฌานก็ดี จะตั้งอยู่ได้ก็ประมาณ ๕ นาที ๑๐ นาทีหลังจากอารมณ์ทางโลกเข้ามาสู่ใจของเรา เราคิด เราปรุง เราแต่งอารมณ์ทางโลกปีติของฌานก็ค่อยจางออกไปๆๆ แล้วก็หายไป เหมือนเราอยู่ในห้องแอร์แล้วเราออกจากห้องแอร์ ขณะที่เราออกจากห้องแอร์เรายืนอยู่ประตูห้องแอร์มันก็ยังเย็นอยู่ แต่ถ้าเราเดินผ่านประตูนั้นออกไปไกลเข้าไปความร้อนก็ร้อนขึ้นมาๆๆ แล้วเราก็ร้อนตามปกติตามอาการของโลก บุคคลผู้ออกจากฌานก็เหมือนกัน ปีติมันก็เสื่อมไปๆ ความสุขมันก็จางออกไปๆ ในลักษณะความสุขที่เกิดขึ้นมาจากฌานจะเป็นในลักษณะอย่างนั้น

          แต่ว่าความสุขที่เกิดขึ้นมาด้วยอำนาจของอุปกิเลสในญาณที่ ๓ นั้น มันจะเกิดความสุขคล้ายๆ กับว่าเรายืน เราเดิน เรานั่ง เรานอน เรากิน เราดื่ม เราทำ เราพูด เราคิด อะไรๆ มันก็เกิดความสุข เราสงสัยเราจะได้มรรคผลนิพพานแล้ว ถ้าเราไม่บรรลุมรรคผลนิพพานแล้วทำไมมันไม่โกรธ

          บางรูปบางท่านไปยืนตากแดด เมื่อเกิดความสุขอย่างนี้ขึ้นมาไปยืนตากแดด เราถูกแดดตอนบ่าย ๑ โมง บ่าย ๒ โมง บ่าย ๓ โมง มันแผดเผาผิวหนังมันร้อนมันจะเกิดความไม่พอใจ เกิดความหงุดหงิด เกิดความรำคาญหรือเปล่าหนอ ไปพิจารณามันก็ไม่เกิดความรำคาญ ร่างกายร้อนแต่ว่าใจมันเยือกเย็นสุขุมคล้ายๆ กับว่าไม่มีความโกรธแล้ว ความโกรธได้พินาศหายไปแล้วแต่ก่อนโน้นเคยโกรธคนโน้นเคยโกรธคนนี้ ได้ยินแต่ชื่อก็ยังไม่พอใจ เห็นแต่รองเท้าถอดไว้ก็ยังไม่พอใจ

          แต่เมื่อเกิดอาการความสุขในลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นมาแล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีจิตใจชุ่มฉ่ำอยู่คล้ายกับว่าความโกรธมันดับไป นี้ลักษณะของความสุขอันเกิดจากอุปกิเลสกับความสุขของฌานนั้นมันจะต่างกันในลักษณะอย่างนี้ อันนี้เป็นความสุขที่เกิดจากอุปกิเลส บางครั้งเกิดขึ้นอยู่ประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง บางครั้งก็ ๑ วัน บางครั้งก็ ๒ วัน บางครั้งก็ ๓ วันก็แล้วแต่อำนาจของสติ อำนาจของสมาธิ แล้วแต่วิถีจิต แล้วแต่บุญวาสนาบารมี

          แต่ถ้าเราเกิดความสุขขึ้นมาแล้วเราไม่เหม่อลอยไปตามอำนาจของความสุขเราตั้งสติกำหนดลงที่ใจของเรา กำหนดว่า “รู้หนอๆ” หรือว่า “สุขหนอๆ” มันก็จะผ่านไปเร็ว เรียกว่าเราก็จะเกิดวิปัสสนาญาณที่สูงขึ้นไปเร็ว

          นอกจากจะเกิดความสุขในอุปกิเลสแล้วท่านยังกล่าวว่าเกิด ปัคคัยหะ คือ ความเพียร คือความเพียรนั้นจะเพียรอย่างมาก ความเพียรในการประพฤติปฏิบัติธรรมในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้นท่านหมายถึงความคิดมันปรุงแต่งมาก

          แต่ก่อนโน้นมีครูบาอาจารย์หลายรูปหลายท่านเวลามาประพฤติปฏิบัติธรรมเดินจงกรมนั่งภาวนานั้นคิดอย่างเดียว แต่ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติธรรมในขณะที่เกิดปัสสัทธิมันก็สงบในขณะที่เกิดสุขมันก็เกิดความสุข

          แต่เมื่อเรามาถึงปัคคัยหะ คือ ความเพียร มันปรากฏขึ้นมา เรียกว่าวิถีจิตสภาวะญาณ หรือว่า สภาวะมันเปลี่ยนมาถึงลักษณะของความเพียรมันจะทำให้เราไม่สงบ มันจะเกิดความปรุง ความแต่ง ความฟุ้ง ความซ่าน คล้ายๆ กับว่าเราเดินจงกรม ๕ นาที คิดไปเป็นร้อยเรื่องพันเรื่อง แต่ละก้าวๆ ที่จะก้าวออกไปนั้นความคิดของเรามันเกิดขึ้นเป็นร้อยเรื่องพันเรื่องแล้ว เวลาเรายก “ขวาย่างหนอ” ก่อนที่ยกขึ้นจะเหยียบลงนั้นมันคิดเป็นร้อยเรื่องพันเรื่องแล้ว อันนี้ในลักษณะของความคิดที่ความเพียรมันเกิดขึ้นมา อาการพองอาการยุบเวลาเราหายใจเข้าท้องมันพองขึ้นมา เวลาเราหายใจออกท้องมันยุบลงมา เพียงแค่นี้เราก็คิดเป็นร้อยเรื่องพันเรื่องแล้ว ในลักษณะความคิดมันเกิดขึ้นมาในลักษณะที่ความเพียรมันเกิดขึ้นมา

          บางครั้งเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” เราเห็นความคิดของเรามันเกิดดับๆๆๆ เป็นเรื่องๆๆๆ คล้ายๆ กับว่าเราดึงซีนออกจากที่ฉายหนังแต่ก่อนโน้นเป็นซีนหนังเป็นเรื่องๆ เป็นตอนๆ เป็นท่าๆ ความคิดมันเกิดดับๆๆ ความคิดนี้มันเกิดขึ้น ความคิดนี้ตั้งอยู่ ความคิดนี้ดับไป เกิดดับๆ เหมือนกับเราดึงซีนหนังออกจากม้วนหนัง

          บางครั้งบางคนบางท่านกำหนดไม่อยู่อาจจะเป็นบ้าไปก็ได้เสียสติวิสัยไปเรียกว่ากรรมฐานแตกก็ได้ แต่ถ้าเราเป็นศิษย์มีครู เป็นศิษย์มีอาจารย์เราตั้งสติให้มั่น เราตั้งสติกำหนด “คิดหนอๆ” ลงไปที่ใจของเรา สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาด้วยอาการของจิต เราอย่าคิดว่ามันเป็นอย่างอื่นเป็นอาการของจิตทั้งนั้น ให้เรากำหนดลงไปที่ใจของเรา “คิดหนอๆ” ตั้งสติของเราให้ดีจนกว่าเราจะหยุดความคิดได้ ถ้าเราหยุดความคิดไม่ได้ไม่ต้องไปบริกรรม “พองหนอ” บริกรรม “ยุบหนอ” เราอย่าไปสนใจสิ่งอื่นเอาจิตของเราให้อยู่เสียก่อน กำหนด “คิดหนอๆ” เมื่อเรากำหนดเต็มที่แล้วมันก็หยุดได้ แต่เราต้องตั้งใจให้เต็มที่ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว ตั้งใจมั่นคง เอาเป็นเอาตาย กำหนดลงไป “คิดหนอๆ” แต่ถ้ามันไม่หยุดก็ต้อง “หยุดหนอๆ” แต่ถ้ามันไม่หยุดก็ต้อง “หยุดหนอๆ หยุด!” เรากำหนดจิตลงไปให้เข้มแข็งมันก็จะหยุดลงไปของมันเอง นี้ถ้าเรามุ่งมั่นจริงๆ อาการเหล่านี้มันก็ผ่านไปได้ อันนี้เรียกว่าความเพียรมันปรากฏขึ้นมา ลักษณะอาการที่เด่นชัดก็คือความคิด เมื่อบุคคลมาประพฤติปฏิบัติความเพียรมันปรากฏขึ้นมา

          นอกจากความเพียรปรากฏขึ้นมาแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอุปัฏฐานะ อุปัฏฐานะนั้นท่านกล่าวว่ามีสติปรากฏชัด แต่ก่อนโน้นเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ก็เห็นยากอาการพองอาการยุบเลือนๆ ลางๆ เห็นต้นพองไม่เห็นกลางพอง เห็นกลางพองไม่เห็นสุดพอง เห็นต้นยุบไม่เห็นกลางยุบ เห็นกลางยุบไม่เห็นสุดยุบ เรียกว่าไม่ทันปัจจุบันธรรม ทันบ้างไม่ทันบ้างแต่ก่อนโน้นมันเป็นอย่างนั้น

          แต่เมื่อสติปรากฏชัดนั้นเห็นอาการพองยุบชัดเจนดี เมื่ออาการพองอาการยุบชัดเจนดีแล้วเราเพลินไปเราไม่กำหนดจดจ่อลงไปก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เรานั้นระลึกนึกถึง มีข้อเสียว่าถ้าสติของเราปรากฏชัด สมาธิของเราดีขึ้น เราก็จะขุดลึกลงไปในห้วงภวังคจิตของเรา ให้คิดถึงเรื่องอดีตแต่ก่อนโน้น คิดถึงตั้งแต่เราเป็นเด็ก ตั้งแต่เราเป็นทารก ตั้งแต่เราจำได้ คล้ายๆ กับว่าเราระลึกชาติได้

          แต่ถ้าบุคคลใดมีบุญวาสนาบารมีจริงๆ แล้ว ท่านกล่าวว่าระลึกชาติได้ คือรู้ว่าตนเองนั้นอยู่ในท้องของมารดา ๑๐ เดือน บางคนบางท่านก็รู้ว่าอดีตชาติของตนเองที่พบที่ผ่านมาไปเกิดเป็นลูกใคร อยู่ในบ้านใดพ่อแม่ชื่ออะไรนี้ก็สามารถที่จะรู้ได้ ก็รู้ขึ้นมาจากสติของเรานี้แหละ ขุดลงไปตรงไหน ขุดลงไปในห้วงภวังคจิตของเราคือ ก้นบึ้งหัวใจของเรานี้แหละ ทุกสิ่งทุกอย่างภพชาติทุกสิ่งทุกอย่างเราทำมาแล้วมันเก็บไว้ในใจของเรา เราเคยเกิดเป็นเปรต เราเคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เราเคยเกิดเป็นเทวดา เราเคยเกิดเป็นพรหม เราเคยเกิดเป็นอันธพาล เคยเกิดเป็นนักบวช เป็นฤาษีอะไรต่างๆ มันก็ปรากฏอยู่ในจิตในใจของเรานี้แหละ เพราะฉะนั้นระลึกชาตินั้นท่านกล่าวว่าระลึกที่หัวใจของเรา นี้เรียกว่าสติปรากฏชัดมันจะเป็นอย่างนั้น

          ความพิสดารของกรรมฐานมันจะปรากฏขึ้นมาคล้ายๆ กับว่าเป็นบ้าอะไรทำนองนี้ แต่ไม่ใช่บ้า แต่มันเป็นอาการของจิตอาการของกรรมฐาน เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน นี้ถ้าเกิดในลักษณะอย่างนี้เราต้องพยายามกำหนดให้ทันปัจจุบันธรรม “คิดหนอๆ” อาการเหล่านั้นก็จะเบาลงลดลงแล้วก็หายไป วิปัสสนาญาณก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นอีก

          นอกจากสติปรากฏชัดแล้วท่านยังกล่าวว่าญาณ คือญาณนั้นปรากฏขึ้นมาจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ขึ้นมา เมื่อเกิดความรู้ขึ้นมาแล้วก็เป็นการเปรียบเทียบ หลวงพ่อเทศน์อย่างนี้นี่หมายความว่าอย่างไร หลวงพ่อเทศน์ถูกหรือไม่ถูกหนออะไรทำนองนี้ บางครั้งบางคราวนั่งภาวนาไป “พองหนอ ยุบหนอ” เมื่อเกิดสภาวะขึ้นมาอย่างนี้หลวงพ่อจะแก้ให้อย่างไรหนอ คิดจะลองภูมิครูบาอาจารย์ก็มี นี้ในลักษณะของปัญญามันเกิด ญาณมันเกิด

          เวลาท่านเทศน์แล้วก็เอาไปเปรียบเทียบอย่างโน้นเอาไปเปรียบเทียบอย่างนี้คิดสงสัยในคำเทศน์ของครูบาอาจารย์ คิดเปรียบเทียบอย่างโน้นอย่างนี้ในลักษณะของญาณ บางครั้งมันก็เทศน์ บางครั้งไม่เปรียบเทียบครูบาอาจารย์แล้วก็เทศน์ไปๆ คิดว่าจะเทศน์เรื่องราคะก็เทศน์ไปๆ ไม่รู้จักจบ คิดว่าจะเทศน์เรื่องโทสะก็เทศน์ไปๆ เวลาครูบาอาจารย์ท่านแสดงธรรมตอนเช้าก็ดีตอนเพลก็ดี คล้ายๆ กับว่าคำพูดที่ท่านพูดนั้นมันไม่คม คำพูดที่พระก็ดีเณรก็ดีแสดงตอนเช้าตอนเพลนั้นมันไม่ถูกต้อง มันน่าจะพูดอย่างนี้มันจะได้สำบัดสำนวนจะได้ถูกต้องอะไรต่างๆ นี้มันจะเกิดการติเตียนครูบาอาจารย์เปรียบเทียบมนต์เปรียบเทียบความรู้อยู่เป็นประจำ

          ในลักษณะอย่างนี้เราพึงรู้ว่าญาณมันเกิดขึ้นมาเราต้องกำหนด “คิดหนอๆ” อย่าไปปรุงแต่งอย่าไปเหม่อลอย บางรูปบางท่านออกจากกรรมฐานมาว่า “อาจารย์ ผมเทศน์ได้ ๑ เล่มเลยนะ เทศน์สมุดได้ ๑ เล่ม มันคิดขึ้นมาก็คิดไปจดไปมันคมคายดี มันคิดไปๆ ก็จดไปๆ จดไปได้ ๑ เล่ม” พอออกพรรษาแล้วก็ว่า ท่าน เขาสมัครกรรมฐานแล้วก็ขึ้นเทศน์ เขาให้พระกรรมฐานเทศน์ พอจะขึ้นเทศน์สมาธิมันลดปัสสัทธิมันลดญาณที่ปรากฏขึ้นมามันก็ลดลงไป เวลาจะขึ้นเทศน์ก็เทศน์ไม่ได้ ผลักหลังขึ้นก็ไม่ขึ้น เพราะอะไร เพราะสมาธิมันเสื่อมแล้วญาณมันลดลงแล้ว ธรรมที่เขียนไว้ไปอ่านดูก็ไม่สามารถที่จะเทศน์อย่างนั้นได้ อันนี้ในลักษณะของญาณมันเกิดขึ้นมา

          นอกจากญาณ คือความรู้มันเกิดขึ้นมาแล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อุเบกขามันเกิดขึ้นมา คือในขณะที่เราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ไปนั้นจิตใจของเราจะวางเฉย เราจะวางเฉยในรูปในนาม จะวางเฉยในครูบาอาจารย์ วางเฉยในสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เราจะวางเฉยได้ วางเฉยในครูบาอาจารย์ท่านก็มาเพราะกรรมของท่าน ท่านก็ไปเพราะกรรมของท่าน

          แต่ก่อนโน้นเวลาประพฤติปฏิบัติธรรมจะห่วงพ่อห่วงแม่ ห่วงพ่อแม่ของเราจะเป็นอย่างไรหนอ แต่ถ้าอุเบกขาญาณเกิดขึ้นมาแล้วก็จะพิจารณาว่าพ่อแม่ก็มาเพราะกรรมของท่าน ท่านก็ไปเพราะกรรมของท่าน หรือว่าคณะครูบาอาจารย์ที่เป็นเพื่อนกันสหธรรมิกกันเขาก็มาเพราะกรรมของเขา โตแล้วก็มาพบกันหลังจากออกกรรมฐานแล้วต่างคนก็ต่างไป ตายไปแล้วก็กรรมใครกรรมมันอะไรทำนองนี้ จะพิจารณาในลักษณะอย่างนี้อันนี้เป็นลักษณะของอุเบกขาญาณใจมันจะวางเฉย พิจารณาในลักษณะไม่สนใจใคร อยากอยู่คนเดียวอยากจะประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่คนเดียวไม่ข้องแวะกับใครทั้งหลายทั้งสิ้น นี้ลักษณะของอุเบกขาญาณเกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้ เรียกว่าไม่ข้องเกี่ยวข้องแวะกับใคร

          นอกจากจะเกิดอุเบกขาญาณแล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดนิกันติ ความใคร่ในสิ่งที่กล่าวมา ๙ ประการนั้นแหละ ความใคร่ในโอภาส ความใคร่ในแสงสว่าง ความใคร่ในปีติ ความใคร่ในปัสสัทธิ ความใคร่ในสุข ความใคร่ในศรัทธา ความใคร่ในความเพียร ความใคร่ในอุปัฏฐานะ ความใคร่ในความปรากฏชัดของสติ ความใคร่ในญาณความรู้ ความใคร่ในอุเบกขา อันนี้เรียกว่าความพอใจในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวขึ้นมานั้นเป็นนิกันติ หรือเราชอบใจในอารมณ์ใด อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นนิกันติขึ้นมาได้ อันนี้เรียกว่าอุปกิเลสเกิดขึ้นมาตามที่กระผมกล่าวมานั้น ถ้าเกิดขึ้นมานั้นถือว่าเรานั้นถึงญาณที่ ๓ แล้ว

          ญาณที่ ๓ นั้นท่านกล่าวว่าเป็นวิปัสสนาญาณ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นสมถะถึง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ วิปัสสนาญาณที่แท้จริงยังไม่ปรากฏ วิปัสสนาญาณยังเป็นอ่อนๆ เป็นตรุณวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาญาณที่อ่อนๆ ไม่เป็นวิปัสสนาญาณที่แก่ แต่เมื่อเรากำหนดอาการพองอาการยุบให้มากขึ้นไปอีก กำหนดอาการพองยุบให้ถี่เข้าไปอีก กำหนดเข้าไปอีกให้มั่นคงเข้าไปอีก เห็นอาการพองยุบชัดเจนขึ้นๆ

          แต่ก่อนเราเห็นต้นพองกลางพองไม่เห็น เห็นกลางพองสุดพองไม่เห็น บางครั้งก็เห็นนิดๆ หน่อยๆ นี้มันจะเกิดอยู่ในอาการ ๑, ๒, ๓ จะเป็นในลักษณะอย่างนี้ แต่เมื่อถึงญาณที่ ๔ แล้วอาการพองยุบมันจะชัดเจน เห็นต้นพองกลางพองสุดพอง ต้นยุบกลางยุบสุดยุบ เห็นอาการพองเป็น ๔ ระยะ พองก็เป็น ๔ ระยะ ยุบก็เป็น ๔ ระยะ หรือว่าเป็น ๕ ระยะ ๖ ระยะ ๗ ระยะก็แล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะมีจิตใจละเอียด มีวิถีจิตละเอียดต่างกันอย่างไร

          ถ้าผู้ใดมีวิถีจิตละเอียด มีสมาธิตั้งมั่น มีสมาธิละเอียดลออก็เห็นอาการพองยุบนั้นหลายระยะเข้าไปอีกเป็น ๕ ระยะ ๖ ระยะ ๗ ระยะ ๘ ระยะ ๙ ระยะ ๑๐ ระยะ ๑๑ ระยะ ๑๒ ระยะก็มี บางรูปบางท่านเก่งถึงขนาดนั้น เห็นละเอียดอ่อนถึงขนาดนั้น อันนี้เป็นลักษณะของวิปัสสนาญาณที่ ๔

          แต่หลักของการเข้าถึงอุทยัพพยญาณ คือวิปัสสนาญาณที่ ๔ นั้น เห็นความเกิดดับของรูปของนามนั้นก็คือ อาการพองอาการยุบของแต่ละรูปแต่ละท่าน เมื่อประพฤติปฏิบัติมาถึงนี้แล้วอาการพองยุบมันจะเร็วขึ้นๆๆ แล้วก็เผลอไป ๑ ขณะจิต ขณะที่เผลอไป ๑ ขณะจิตบางครั้งก็สัปหงกไปข้างหน้าบ้าง สัปหงกไปข้างหลังบ้าง บางครั้งก็สัปหงกไปข้างซ้ายบ้าง บางครั้งก็สัปหงกไปข้างขวาบ้าง บางครั้งก็ฟึบขึ้นไปเหมือนกับเรากระโดดขึ้นไปข้างหน้า กระโดดขึ้นไปบนอากาศ

          บางครั้งมันเหมือนกับเผลอไปหนึ่งขณะจิตนั้นมันคล้ายๆ ว่าเราทรุดลงไปแผ่นดินไม่ได้ทรุดลงไปเรานั่งอยู่เฉยๆ แต่ความรู้สึกมันทรุดลงไป บางครั้งเรานั่งอยู่บนแคร่ เหมือนแคร่มันหักลงไปอันนี้ก็เป็นลักษณะของอุทยัพพยญาณ คือ ญาณที่ ๔ เป็นลักษณะของอนิจจังคือ มันเร็วขึ้นๆๆๆ แล้วมันก็เผลอแวบไป ขณะที่เผลอแวบไปมันฟึบลงไป ๑ ขณะจิต ลงไปข้างหน้าข้างหลังข้างซ้ายข้างขวาขึ้นข้างบนลงข้างล่าง อันนี้ในลักษณะของอนิจจังในญาณที่ ๔

          แต่ถ้าบุคคลใดมีบารมีเคยเจริญสมถกรรมฐานมาแต่ภพก่อนชาติก่อน เวลาภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” ไป อาการพองยุบมันแน่นเข้าๆๆ เมื่อแน่นเข้าเต็มที่อาการพองยุบของเรามันก็แน่นเข้า อาการพองยุบมันเคยพองยุบได้มากมันก็ลดลงไปๆๆ อาการพองยุบมันก็น้อยลงแน่นลงไปๆๆ เท่ากับจอมก้อยของเรา เท่ากับปลายปากกาแล้วมันฟับลงไปขณะจิตหนึ่ง ขณะที่มันฟับลงไปเราก็สัปหงกไปข้างหน้าสัปหงกไปข้างหลัง สัปหงกไปข้างซ้ายข้างขวาสัปหงกลงข้างล่าง ลักษณะอย่างนี้เป็นลักษณะของทุกขังในวิปัสสนาญาณที่ ๔

          แต่ถ้าบุคคลใดเคยเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาแต่ภพก่อนชาติก่อนมาก เวลามาถึงญาณที่ ๔ อาการพองยุบมันจะแผ่วเบาเข้าๆๆ เมื่อแผ่วเบาเข้าเต็มที่แล้วมันจะแผ่วเบาลงเท่านิ้วโป้งนิ้วก้อยเท่ากับจอมก้อยของเราเท่ากับปลายปากกา เท่ากับเส้นด้าย เท่ากับปอยด้ายของเรา คล้ายๆ กับว่าเราเป่าขน เราเป่านิ้วมือของเราจะมีขนอยู่ที่มือของเรา มันจะมีความรู้สึกนิดๆ หน่อยๆ อย่างนั้นแหละ ความรู้สึกของอาการพองยุบมันเล็กลงไปๆๆ ถึงขนาดนั้นแล้วมันขาดลงไป

          ขณะที่เล็กลงไปๆๆ เวลามันจะขาดนั้นคิดว่ามันจะขาดไปโดยที่ไม่มีอะไร มันจะขาดไปเฉยๆ แต่ความขาดแพ่บไปเท่านั้นมันสัปหงกลงไป สัปหงกไปข้างหน้าสัปหงกไปข้างหลังสัปหงกไปข้างซ้ายข้างขวา บางครั้งก็สัปหงกหัวลงไปถึงพื้น สัปหงกแรงสัปหงกเบาก็แล้วแต่อำนาจของสมาธิว่าสมาธิของบุคคลนั้นมากหรือว่าสมาธิของบุคคลนั้นน้อย อันนี้ก็เป็นลักษณะอาการของอนัตตาในญาณที่ ๔ จะเกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้ ถ้าผู้ใดเกิดอาการอย่างนี้ก็แสดงว่าบุคคลนั้นถึงญาณที่ ๔ แล้วเป็นวิปัสสนาญาณถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว เห็นชัดเจนแต่ยังจับไม่ได้ ยังดับไม่ได้ กิเลสยังไม่ตายเพราะมรรคยังไม่เกิด อันนี้เป็นลักษณะของญาณที่ ๔

          แต่ถ้าผู้ใดปฏิบัติถึงญาณที่ ๔ แล้วบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีบุญมากเป็นผู้เข้าถึงฐานของวิปัสสนา ถ้าผู้ใดไม่มีบุญมากแล้วสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิด ถ้าผู้ใดเคยทำอนันตริยกรรม เคยฆ่าพ่อก็ดีฆ่าแม่ก็ดีเคยฆ่าพระอรหันต์ทำโลหิตตุปบาท ทำโลหิตของพุทธเจ้าให้ห้อ หรือทำสงฆ์ให้แตกแยกกันบุคคลนั้นก็จะไม่เกิดเป็นอันขาด หรือว่าบุคคลใดที่ต้องอาบัติปาราชิกญาณนี้ก็ไม่เกิด ทำอย่างไรๆ ก็ไม่เกิด ถ้าบุคคลปฏิบัติถึงญาณนี้แล้วแสดงว่าบุคคลนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก ญาณนี้เกิดขึ้นมาได้ก็เพราะเรานั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์

          แล้วถ้าบุคคลใดทำบุญไม่ครบไตรเหตุ คือ ให้แต่ทาน รักษาแต่ศีล ไม่เจริญภาวนา ไม่เคยปรารถนาพระนิพพานเรียกว่าทำบุญแก่พระพุทธศาสนา ปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ ไม่ปรารถนานิพพาน ทำบุญไม่ครบไตรเหตุ ในลักษณะอย่างนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เวลาเรามาเจริญภาวนาญาณที่ ๔ นี้ก็ไม่เกิด แต่ถ้าญาณที่ ๔ เกิดแล้วท่านกล่าวว่าบุคคลนั้นมีบุญวาสนาบารมีที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้แน่นอน ถ้าบุคคลนั้นไม่ประมาทยังไม่สึกขาลาเพศ หรือว่าสึกขาลาเพศไปแล้วมีโอกาสมาประพฤติปฏิบัติธรรมตามงานปริวาสกรรม หรือตามบ้านตามที่อยู่ของตนเอง บุคคลนั้นก็สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในปัจจุบันนี้

          การที่เราจะมีบารมีหรือไม่มีบารมีในการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่ครูบาอาจารย์บอก ไม่ใช่ครูบาอาจารย์ชี้ให้ว่าเราเป็นผู้มีบารมีอย่างโน้นอย่างนี้ แต่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นเราคลายความสงสัยลงด้วยตัวของเราเอง เรียกว่าคลายความสงสัยลงที่ปัจจุบันธรรม ถ้าเรากำหนดปัจจุบันธรรมให้ดีวิปัสสนาญาณที่ ๔ เกิดขึ้นมาก็ชื่อว่าเรานั้นมีบารมีที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานในปัจจุบันนี้ เป็นผลเนื่องมาจากการประพฤติปฏิบัติธรรม

          แต่ถ้าบุคคลใดมาถึงญาณที่ ๔ แล้ว ท่านกล่าวว่าถ้าบุคคลนั้นตายไปแล้ว ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเกิดเป็นผู้มีเดชมีอำนาจ เป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่คนทั้งหลายทั้งปวงให้ความเคารพ ให้ความนับถือ ให้ความศรัทธา ให้ความเลื่อมใส เป็นผู้มีเดชในโลกมนุษย์ของเรา

          ถ้าบุคคลนั้นมาเกิดในมนุษย์ของเราแล้วนอกจากจะเป็นผู้มีฤทธิ์มีเดชมีอำนาจมีวาสนาแล้ว ยังไม่เกิดในตระกูลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิอีก  เลื่อมใสในพระรัตนตรัย หรือว่าจะไม่ไปเกิดในศาสนาอิสลาม ไม่ไปเกิดในศาสนาคริสต์ ศาสนาอื่นที่ไม่ใช่พุทธศาสนาของเรา หรือว่าในบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่จะเกิดในตระกูลที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

          หรือว่าถ้าบุคคลนั้นไปเกิดในเทวโลกก็จะเกิดเป็นเทวดาที่มีฤทธิ์ มีอำนาจ มีแสงสว่างแผ่ออกไปจากร่างกายนั้นมากกว่าเทวดาที่ไม่เคยเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อันนี้เป็นอานิสงส์ของการเจริญกรรมฐานถึงญาณที่ ๔ เป็นอย่างนั้น

          คนที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติธรรมถึงญาณนี้ เรียกว่าญาณที่ ๔ เกิดขึ้นมาแล้ว

          แต่ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติธรรมกำหนดให้ทันปัจจุบันธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดภังคญาณขึ้นมา ภังคญาณนั้นแปลว่า เห็นเฉพาะความดับของรูปนาม ความเกิดขึ้นก็ปรากฏขึ้นมาอยู่ ความตั้งอยู่ก็เกิดขึ้นมาอยู่ แต่ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมไม่สนใจไปสนใจเฉพาะความดับ คือเห็นเฉพาะความดับปรากฏชัด เวลาเราภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” นี้เราจะไม่เห็นต้นพอง ไม่เห็นกลางพอง จะเห็นแต่สุดพอง ยุบลงไปๆๆ อาการยุบก็เหมือนกัน ต้นยุบเราจะไม่เห็น กลางยุบเราจะไม่เห็น เราจะเห็นแต่สุดยุบมันยุบลงไป อาการพอง ต้นพองไม่เห็นกลางพองไม่เห็นเห็นแต่สุดพอง นี้ในลักษณะของภังคญาณมันเกิดขึ้นมา

          ถ้าเราเกิดในลักษณะอย่างนี้ก็แสดงว่าวิปัสสนาญาณของเรามันเปลี่ยน เปลี่ยนจากอุทยัพพยญาณมาถึงภังคญาณแล้ว วิถีญาณมันเปลี่ยนแล้ว เมื่อวิถีญาณเปลี่ยนความรู้สึกของเราก็เปลี่ยน ความคิดของเราก็เปลี่ยนด้วย นี้ถ้าผู้ใดฉลาดในเรื่องวิปัสสนาญาณไม่ใช่ว่าญาณมันเปลี่ยนอย่างเดียวอารมณ์ของเรามันเปลี่ยนด้วย ความคิดของเราก็เปลี่ยนด้วย ความคิด ความนึก ความปรุงแต่งอะไรต่างๆ มันก็เปลี่ยนด้วย กายของเราเย็นร้อนอ่อนแข็งอะไรต่างๆ มันก็หมุนเวียนไปตามวิถีของญาณด้วยเรียกว่าลักษณะของภังคญาณมันเกิดขึ้นมา เราจะเห็นเฉพาะความดับไปของรูปของนาม

          เมื่อเราออกจากการประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วคล้ายๆ กับว่าใจของเราไม่สว่างไสวจิตใจของเราก็จะสลึมสลือ คล้ายๆ กับว่าเรามองไปในทิศทั้งหลายทั้งปวงนั้นจะเป็นสลึมสลือไม่โปร่งไม่ใส เป็นคล้ายๆ กับว่าเคลิ้มๆ อะไรทำนองนี้ในลักษณะของญาณที่ ๕ คือ ภังคญาณมันปรากฏชัดขึ้นมา

 
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2564 19:54:30 »

.

ลำดับญาณ (ต่อ)

          แต่ถ้าเรากำหนด “คิดหนอๆ” หรือ “รู้หนอๆ” ไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมามันก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้วิปัสสนาญาณที่ ๖ คือ ภยตูปัฏฐานญาณเกิดขึ้นมา ให้เรารู้ว่ารูปนามนั้นเป็นของน่ากลัว เห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว แต่ก่อนโน้นเราไม่เคยคิดแต่เมื่อเรามาถึงญาณนี้แล้วเห็นว่ารูปนามเป็นของน่ากลัว คิดว่าร่างกายของเรานั้นเกิดขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ไม่นานอาจจะตายด้วยการหกล้มก็ดี ตายด้วยการป่วยไข้ก็ดี ตายด้วยอุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เห็นรูปนามเป็นของสั้นเป็นของน่ากลัวก็มี มันจะเกิดพิจารณาเห็นในลักษณะอย่างนั้น

          บางรูปบางท่านประพฤติปฏิบัติธรรมมีสมาธิดีเมื่อถึงญาณที่ ๖ แล้วบางครั้งมันก็จะเกิดนิมิตขึ้นมา คล้ายๆ กับว่าเกิดการเห็นตนเองเป็นเณรน้อยหลังจากนั้นก็โตขึ้นๆ เป็นพระหนุ่ม หลังจากนั้นก็เห็นตนเองเป็นคนแก่ เห็นตนแก่แล้วก็ตายไป ตายไปแล้วก็เปื่อยเน่าไป พังไปเป็นกระดูกไปอย่างนี้ก็มี

          บางครั้งก็เห็นนิมิตคล้ายๆ กับว่าเป็นดอกไม้ที่มันกำลังตูม ตูมแล้วก็ค่อยๆ แย้มบานขึ้นมา ก็บานออกไปๆๆ ขณะที่มันบานออก กลีบที่มันบานออกมากก็ร่วงลงไปหล่นลงไปร่วงลงไปทีละกลีบสองกลีบ ผลสุดท้ายดอกไม้บานนั้นก็หมดสิ้นไป อันนี้ลักษณะของภยตูปัฏฐานญาณอย่างนี้ก็มี

          ถ้าผู้ใดเคยทวนญาณ เคยกำหนดญาณต่างๆ ก็จะปรากฏมาในรูปลักษณะอย่างนั้น อันนี้เรียกว่าภยตูปัฏฐานญาณ บางรูปบางท่านเวลานั่งไปก็เห็นร่างกายเห็นนิมิตศพมานอน เห็นศพไหลมาตามน้ำมากองกันอยู่ที่ตลิ่งก็มี นี้ลักษณะที่เกิดขึ้นมาในลักษณะของภยตูปัฏฐานญาณ เกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้

          บางคนบางท่านแต่ก่อนโน้นไม่เคยกลัวแต่เมื่อภยตูปัฏฐานญาณเกิดขึ้นมาแล้วเดินจงกรมก็ไม่อยากเดินออกจากกุฏิ เพราะอะไร เพราะกลัวผี แต่ก่อนนั้นไม่เคยกลัวแต่เมื่อญาณนี้เกิดขึ้นมาแล้วมันก็จะกลัวขึ้นมา แต่ก่อนโน้นเคยเดินนอกกลดไม่ต้องใช้ไฟฉายเดินไปก็ สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด เหยียบอะไรก็เหยียบไป สัพเพ สัตตา ไป ไม่เคยเหยียบอะไรมีจิตใจกล้าหาญ แต่ว่าเมื่อญาณนี้เกิดขึ้นมาแล้วเวลาจะออกกลดแต่ละครั้งๆ นั้นต้องข่มจิตข่มใจออกไป เราก็รู้แล้วว่าญาณมันเกิดขึ้นมาเราก็ต้องกำหนดจิตของเรา “คิดหนอๆ”

          เมื่อเราทันปัจจุบันธรรมแล้วญาณมันก็เปลี่ยนไป จากภยตูปัฏฐานญาณเป็นอาทีนวญาณ เห็นรูปนามเป็นทุกข์เป็นโทษ แต่ก่อนโน้นไม่คิดว่ารูปนามมันเป็นทุกข์เป็นโทษคือเราไม่เห็นด้วยจิตด้วยใจของเรา ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมมาถึงญาณนี้แล้วเวลากำหนดอาการพองอาการยุบมันก็ไม่ชัดเจน ร่างกายของเราหนักๆ ร่างกายของเราพองยุบนั้นสลึมสลือ ร่างกายของเราหนักๆ ไม่กระปรี้กระเปร่า เรียกว่าเป็นอาการอืดอาดในการประพฤติปฏิบัติธรรมสภาวะไม่โล่งไม่โปร่ง

          เวลาภาวนานั้นบางคนบางท่านก็เป็นไข้ ถ้าวิปัสสนาญาณขึ้นใหม่ๆ ขึ้นรอบใหม่ๆ นั้นก็เป็นไข้สะบัดตัวสะบัดร้อนสะบัดหนาวเหมือนกับเป็นไข้ บางรูปบางท่านเวลาญาณนี้มันเกิดขึ้นมาใหม่ๆ เป็นไข้หนาวสั่นแล้วก็เอาผ้าสังฆาฏิมาห่มผ้าสังฆาฏิห่มก็ไม่อยู่ยังสั่นอยู่ก็เอาผ้าอาบน้ำมาห่ม ผ้าอาบน้ำมาห่มมันก็สั่นอยู่ก็เอาผ้ากลดมา สมัยก่อนไม่มีเต็นท์มีแต่กลดก็เอากลดมาห่ม เมื่อกลดมาห่มผ้าอะไรมีก็มาห่มหมดเมื่อห่มแล้วก็ตั้งสติเดินจงกรม เดินจงกรมก็ยังสั่นยังหนาวอยู่ เดินจงกรมก็เดินจาก ๓๐ นาทีเป็น ๑ ชั่วโมง ๑ ชั่วโมงมันยังหนาวอยู่ก็เดินเป็น ๒ ชั่วโมง มันยังหนาวอยู่ก็เดิน ๓ ชั่วโมง ยังหนาวอยู่ก็เดินเป็น ๔ ชั่วโมง ชั่วโมงที่ ๔ เดินไปเดินมาตั้งสติทันปัจจุบันธรรมเราไม่พักเราไม่ฉันยา แต่เราใช้ธรรมโอสถตั้งสติให้ทันปัจจุบันธรรมกำหนดชั่วโมงที่ ๔ เหงื่อไหลออกเปียก ผลสุดท้ายอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาวนั้นก็ผ่านไป นี้เรียกว่าวิปัสสนาญาณบางครั้งมันผ่านไปเร็วถ้าเรามีจิตใจเข้มแข็งมีจิตใจเด็ดเดี่ยว

          เมื่ออาทีนวญาณมันผ่านไปก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดนิพพิทาญาณขึ้นมา ความเบื่อหน่ายในรูปในนามปรากฏขึ้นมา แต่ก่อนโน้นเราไม่เคยเบื่ออาหารคิดแต่เห็นว่าคนแก่ผู้เป็นปู่ผู้เป็นย่าเป็นตาเป็นยายนั้นเบื่ออาหาร คนแก่เบื่ออาหารไม่อยากทานอาหาร แต่ก่อนโน้นเราไม่เคยเป็นเพราะว่าเราเป็นหนุ่มกินอะไรมันก็อร่อยหมดเพราะร่างกายต้องการอาหารเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อวิปัสสนาญาณมันเกิดขึ้นมาแล้วมันจะเกิดอาหารเบื่อ เบื่ออาหาร ได้กลิ่นปลาก็ดี ได้กลิ่นกบกลิ่นเขียดก็ดี ก็เหมือนกับจะอาเจียนถ้าเราทานเข้าไป เคี้ยวข้าวเข้าไปมันก็จะอาเจียนออกมาจริงๆ ก็ได้แต่นั่งมองดูอาหารทานอะไรก็ไม่ได้ ได้กลิ่นก็ไม่ได้ เรียกว่ามันเกิดอาการเบื่อหน่ายขึ้นมา หนักๆ เข้าก็เบื่อหน่ายเพื่อนผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกัน หนักๆ เข้าก็เบื่อหน่ายครูบาอาจารย์ หนักๆ เข้าก็เบื่อหน่ายที่จะไปเกิดในเทวดามาเกิดในมนุษย์ เบื่อหน่ายในการที่จะไปเกิดในพรหมโลกก็เบื่อหน่ายที่จะเวียนว่ายตายเกิดก็อยากจะบรรลุมรรคผลนิพพาน นี้ลักษณะอาการของความเบื่อมันจะเป็นอย่างนั้น

          แต่ถ้าเรากำหนดที่จิตใจของเรา “เบื่อหนอๆ” วิปัสสนาญาณก็จะผ่านไปได้เร็ว เมื่อผ่านไปได้เร็วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มุญจิตุกัมยตาญาณเกิดขึ้นมา เรียกว่าญาณที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เบื่อหน่ายมากแล้วก็อยากออกอยากหนี อยากหลุดอยากพ้นเป็นญาณที่ใจน้อยเพื่อนพูดนิดพูดหน่อยก็หน้างอมันเป็นเองโดยธรรมชาติของมัน

          แต่ก่อนโน้นเพื่อนพูดอย่างไรก็ไม่มีโกรธ จะว่าอย่างไรก็ไม่มีเกลียดมีใจยินดีเมตตาอยู่เป็นประจำ แต่พอญาณนี้เกิดขึ้นมาเพื่อนหยอกนิดหยอกหน่อยพูดนิดพูดหน่อยโกรธแล้วน้อยใจขึ้นมาแล้ว นี้ในลักษณะอย่างนี้

          ถ้าผู้ประพฤติปฏิบัติมาประพฤติปฏิบัติธรรมถึงญาณนี้คณะครูบาอาจารย์จะติก็ไม่ได้จะเตือนก็ไม่ได้ เวลาจะเทศน์ต้องระมัดระวัง เวลาจะเทศน์จะไปดุไปว่าอย่างโน้นอย่างนี้ก็ไม่ได้บางครั้งก็หอบบริขารหนีกลับบ้านไปเลยนี้ในลักษณะของบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติถึงญาณนี้

          ผู้ประพฤติปฏิบัติถึงญาณนี้แล้วสิ่งสำคัญคือ ใจน้อย ใจน้อยแล้วก็อาการของการประพฤติปฏิบัติธรรมก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เรานั้น เวลามันเบื่อมันก็จะเบื่อเต็มที่

          เมื่อเบื่อเต็มที่จริงๆ แล้วมันจะทำให้เราอยากหนีอยากออกจากสถานที่นั้นๆ เรียกว่ามันเคลื่อนจากนิพพิทาญาณเข้าสู่มุญจิตุกัมยตาญาณแล้ว ถ้ามันเบื่อเฉยๆ มันยังไม่อยากหนีนั้นมันยังอยู่ในนิพพิทาญาณ แต่ถ้าเบื่อแล้วอยากหนีด้วย อยากจะออกไปอยู่ที่อื่น อยากจะโดดข้ามกำแพงไปให้พ้นจากคนทั้งหลายทั้งปวงในลักษณะอย่างนี้เรียกว่า มุญจิตุกัมยตาญาณมันเกิดขึ้นมาแล้วเราต้องรีบกำหนดทันที “คิดหนอๆ” “รู้หนอๆ” จี้ลงไปที่ใจของเรา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันก็จะหยุดไปเองของมันแล้วก็ผ่านไปเอง

          เมื่อเรามีจิตใจเข้มแข็งผ่านไปแล้วปฏิสังขาญาณก็เกิดขึ้น มีปัญญาคิดพิจารณารูปนามให้เกิดจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว เรียกว่าพิจารณาอาการของรูปนามนั้นให้ทวนอาการของอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา เมื่อมาถึงตรงนี้แล้วจิตใจของเราจะเข้มแข็ง เมื่อจิตใจของเรามันเข้มแข็งแล้วมันจะทวน ทวนว่า เอ..ตั้งแต่เราประพฤติปฏิบัติธรรมมา อารมณ์ญาณที่ ๑ มันเกิดขึ้นมาอย่างไร ญาณที่ ๒ มันเกิดขึ้นมาอย่างไร ญาณที่ ๓ มันเกิดขึ้นมาอย่างไร ญาณที่ ๔ มันเกิดขึ้นมาอย่างไร ญาณที่ ๕ มันเกิดขึ้นมาอย่างไร ญาณที่ ๖ ญาณที่ ๗ ญาณที่ ๘ มันเกิดขึ้นมาอย่างไร คืออารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เราประพฤติปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ญาณที่ ๑ นั่นแหละมันจะมาปรากฏขึ้นเองของมันตามธรรมชาติของมันเราก็จะเข้าใจชัดว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันเกิดขึ้นมากับเรามันเป็นอารมณ์กรรมฐานทั้งนั้น

          เมื่อรู้อย่างนั้นแล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตใจของเราเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ตั้งใจจริง ประพฤติปฏิบัติจริง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงแต่สภาวะอารมณ์ เป็นเพียงแต่อารมณ์ทั้งนั้น ไม่ควรยึดถือกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงสิ่งที่ดีมันก็เกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งที่สุขมันก็เกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเท่านั้นเอง เป็นเพียงแต่อารมณ์กรรมฐานเท่านั้น นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ปล่อยวางอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง ตั้งใจจริงประพฤติปฏิบัติจริงตั้งใจเด็ดเดี่ยวผลที่สุดก็เกิดสังขารุเปกขาญาณวางเฉยในรูปในนาม เพราะมันรู้เห็นแล้วว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นเพียงแต่สภาวะธรรมเท่านั้น จิตใจวางเฉยในรูปในนามนั้นวางเฉยจริงๆ

          ก่อนที่จิตใจจะวางเฉยได้นั้นบุคคลนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความบริสุทธิ์ แต่ถ้าผู้ใดสงสัยในเรื่องศีลของตนเองว่าศีลของตนเองบริสุทธิ์หรือไม่หนอ เราต้องสังฆาทิเสสหรือไม่หนอ เราต้องอาบัติปราชิกหรือไม่หนอ เราจับเอาของของเขามาเราเป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติหนออะไรทำนองนี้จะไม่มีในสังขารุเปกขาญาณ บุคคลผู้ถึงสังขารุเปกขาญาณใจมันจะผ่องใสใจมันจะผ่องแผ้ว ญาณมันจะเกิดขึ้นมาโดยลำพังของตนเอง ไม่มีใครบอกไม่มีใครสอน ไม่มีใครแนะนำจะรู้เองว่าเราบริสุทธิ์ เราประพฤติปฏิบัติธรรมมาเรามีศีลบริสุทธิ์นี้มันจะเกิดขึ้นมา จะเกิดความวางเฉยในการประพฤติปฏิบัติธรรม

          เมื่อเราเกิดการวางเฉยในการประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วเราจะเดินไปไหนๆ มันจะกำหนดทันปัจจุบันธรรมดี เรียกว่าความเผลอในอาการยืน ในอาการเดิน ในอาการนั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด นั้นน้อยมาก เราสามารถที่จะระลึกได้เลยว่าตั้งแต่เราตื่นขึ้นมาจนถึงเวลาเราหลับนอนนั้นเราเผลอไปในอิริยาบถไหนมากที่สุด เราเผลอไปช่วงไหน เราเผลอไปตอนแปรงฟัน เราเผลอไปขณะที่เรารู้สึกตัวใหม่ๆ เราเผลอไปขณะที่เราถ่ายหนักอยู่ในห้องน้ำ หรือเราเผลอขณะที่เราเดินไปฉันข้าว หรือเราเผลอในขณะที่เราฉันข้าว หรือเราเผลอไปในขณะที่ท่านให้พร หรือเราเผลอไปในขณะที่เราทำวัตร ดื่มน้ำปานะอะไรทำนองนี้เราจะคิดออกหมด

          เมื่อเราคิดออกแล้วเราจะละเว้นสิ่งเหล่านั้น อาการกำหนดต่างๆ มันก็จะถี่เข้าละเอียดเข้าๆ จนเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อาการที่เราเดินยืนนั่งนอนนั้นชัดเจนหมด เราจะยื่นมือไปเปิดประตูห้องน้ำก็ดี เราจะยื่นมือไปตักน้ำก็ดี ยื่นมือไปหยิบแปรงสีฟัน บีบยาสีฟันนั้นมีสติกำหนด “รู้หนอๆ” ชัดเจนเห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป

          บางครั้งเราอาบน้ำอยู่ดีๆ มันดับไปก็มี บางครั้งเราอาบน้ำแล้วเช็ดถูนุ่งสบงเรียบร้อยแล้วนุ่งผ้าอังสะตากผ้าอาบน้ำอยู่ รู้หนอ มันดับฟับลงไปอย่างนี้ก็มี บางครั้งก็ดับลงไป ๕ นาที บางครั้งก็ดับลงไป ๑๐ นาที นี้ในลักษณะของวิปัสสนาญาณมันแก่กล้ามันจะเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติธรรมสังขารุเปกขาญาณมันปรากฏชัดขนาดนี้เรียกว่าบุคคลนั้นใกล้แล้ว ใกล้ที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ใกล้จะยังอนุโลมญาณให้เกิดขึ้นมาแล้ว เรายืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดอะไรนี้ เราสามารถกำหนดได้หมดเรียกว่าเราไม่ค่อยเผลอ ความแก่รอบของสังขารุเปกขาญาณเป็นอย่างนั้น

          หรือว่าพูดอย่างนี้คณะครูบาอาจารย์ยังไม่เข้าใจชัด ก็ลองสังเกตดูขณะที่เราเดินจงกรม “ขวาย่างหนอ” “ซ้ายย่างหนอ” เวลาเรายกขึ้นต้นยกกลางยกสุดยก ต้นย่างกลางย่างสุดย่าง ต้นเหยียบกลางเหยียบสุดเหยียบนี้มันจะชัดเจนคล้ายว่ามันเป็นลูกโซ่เกิดดับๆๆ อาการยกมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป อาการย่างมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปมันเกิดดับๆๆ จิตของเรานั้นไม่เผลอจากรูปจากนามเลยในลักษณะอย่างนี้ บางครั้งมันเข้าสมาธิไปในขณะที่เราเดินจงกรม บางครั้งเราเหวี่ยงเท้าลงไปมันเหวี่ยงลงไปไม่ได้มันคอยแต่จะดับๆ แต่เราก็พยายามที่จะเหวี่ยงลงไปมันคอยแต่จะดับ แต่เราก็พยายามที่จะเหวี่ยงลงไปจนคิดว่า เอ..เราจะนั่งก่อนหรือไม่นั่งก่อน ภาวนาก่อนหรือเดินให้ครบ ๑ ชั่วโมง

          แต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อบอกว่ามันจะดับก็อย่านั่งก่อนให้เดินให้ครบชั่วโมงมันจะเข้าสมาธิก็ให้มันเข้าสมาธิในท่าเดินไปเลย ต้องเดินให้ครบ ๑ ชั่วโมง อย่านั่งก่อน พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจะสั่งในลักษณะอย่างนั้น เดินให้ครบ ๑ ชั่วโมง

          บางครั้งขณะที่เรากำหนด “ยืนหนอๆ” มันจะเข้าสมาธิไปก็มี บางครั้งเรามานั่งภาวนามันสงบไปก็มีนี้ในลักษณะของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานจะเป็นอย่างนั้น

          แต่ในเมื่อสังขารุเปกขาญาณมันเกิดขึ้นมาในรอบแรกที่เรายังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานนี้มันจะไม่ดับมันจะชัดเจนอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ถ้ามันดับลงไปก็ถือว่ามันเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ถ้าเป็นรอบแรกมันจะเป็นอย่างนั้นแต่เมื่อบุคคลใดประพฤติปฏิบัติธรรมเมื่อสังขารุเปกขาญาณมันเกิดขึ้นมาชัดเจนแล้วมันก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อาการพองอาการยุบของเรานั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย และอาการพองอาการยุบของเรามันจะเร็วเข้าๆๆๆ นี้ถ้าผู้ใดเป็นประเภทอนิจจัง อนุโลมญาณของเราจะเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตานั้นให้เราสังเกตญาณที่ ๓ ญาณที่ ๔

          ถ้าญาณที่ ๓ อาการพองยุบมันเร็วขึ้นๆๆๆ แผ่วเบาไป หายไป เร็วขึ้นๆๆ แล้วก็หายไปญาณที่ ๑๒ ก็จะต้องเร็วขึ้นอย่างนั้นเหมือนกัน ญาณที่ ๔ ก็ต้องเร็วขึ้นอย่างนั้นเหมือนกัน

          แต่ถ้าญาณที่ ๓ มันแน่นเข้าๆๆๆ มันหายไป ญาณที่ ๔ มันก็แน่นเข้าๆๆ แล้วมันก็สัปหงก ญาณที่ ๑๒ มันก็แน่นเข้าๆๆ แล้วมันก็ดับไปเหมือนกัน

          ถ้าผู้ใดญาณที่ ๓ มันแผ่วเบาเข้าๆๆ ก็จางหายไปญาณที่ ๔ แผ่วเบาเข้าๆๆ ก็สัปหงกไป ญาณที่ ๑๒ มันก็แผ่วเบาเข้าๆๆ แล้วก็ดับไปแล้วก็จำได้ นี้ในลักษณะวิถีของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเราเกิดญาณที่ ๓ โดยประการใดญาณที่ ๔ ก็เกิดโดยประการนั้น การบรรลุมรรคผลนิพพานในญาณที่ ๑๒ ก็เกิดโดยประการนั้นเหมือนกัน นี้ในลักษณะที่การประพฤติปฏิบัติธรรมเราจะสังเกตวิถีของบุญวาสนาบารมี หรือว่าปฏิปทาของเราด้วยลักษณะอาการอย่างนี้

          เมื่ออนุโลมญาณมันเกิดขึ้นมา บุคคลใดเคยให้ทานมาก่อนอาการพองยุบมันจะเร็วขึ้นๆๆ แล้วก็ดับลงไปคือมันเร็วขึ้นเต็มที่ ขณะที่เร็วขึ้นร่างกายของเรามันจะแน่นเข้าด้วย มือของเราอาจจะแข็งเข้าด้วย แต่ความรู้สึกของเราจะพิจารณาอาการท้องพองยุบมันเร็วเข้าด้วยเร็วขึ้นๆๆ สติของเราทั้งปวงนั้นอยู่ที่อาการท้องพองท้องยุบมันเร็วขึ้นๆๆๆ ความรู้สึกภายนอกคล้ายๆ กับว่ามันตัดไปมันจะอยู่ที่อาการพองยุบที่มันเร็วขึ้นๆๆ นั่นแหละ ขณะที่มันเห็นอาการพองยุบมันเร็วขึ้นๆๆ ทุกสิ่งทุกอย่างพุ่งไปที่อาการเร็วขึ้นนั่นแหละมันดับพรึบลงไปเองของมันแต่ว่าจำได้ว่ามันดับลงไปตอนท้องพองหรือท้องยุบ นี้ในลักษณะของอนุโลมญาณมันเกิดขึ้นชัดเจนจะเป็นอย่างนั้น

          แต่ถ้าบุคคลใดที่เป็นประเภททุกขังเวลาภาวนา “พองหนอ ยุบหนอ” อาการพองยุบมันแน่นเข้าๆๆ ขณะที่แน่นเข้ามือของเรามันก็แน่นเข้าด้วย ตัวของเรามันก็แข็งไปด้วย ความรู้สึกทางหูทางตาทั้งหลายทั้งปวงมันก็เบาลงสติทั้งหลายทั้งปวงพุ่งไปอยู่ที่อาการแน่น แน่นเข้าๆๆๆ รวมเข้าๆๆ แน่นเข้ารวมเข้าแน่นเข้าแล้วก็ดับฟึบลงไปก็รู้ว่ามันดับลงไปตอนท้องพองท้องยุบ นี้เรียกว่าลักษณะของอาการทุกขังที่มันปรากฏชัดจะเป็นไปในลักษณะอย่างนี้

          หรือว่าอาการของอนัตตา ที่มันแผ่วเบาเข้าๆ มือของเราก็แน่นเข้า ตัวของเราก็แข็งเข้า ความรู้สึกมันก็เบาลงๆๆๆ เมื่อเบาลงเต็มที่แล้วมันก็ดับฟึบไปจำได้ว่ามันดับลงไปตอนไหนนี้ลักษณะของอนัตตาจะเป็นไปในลักษณะอย่างนั้น

          เวลาเราประพฤติปฏิบัติธรรมเราต้องอาศัยสังเกตดูว่าเรานั้นเป็นประเภทอนิจจัง หรือเป็นประเภททุกขัง หรือเป็นประเภทอนัตตา เราต้องทำความเข้าใจกับบุญวาสนาบารมี ทำความเข้าใจกับสภาวะของเรา เราจะไม่หลงสภาวะ ไม่เพลิดเพลินในสภาวะของเราจะเป็นผู้ฉลาดในการประพฤติปฏิบัติธรรม อนุโลมญาณจะเกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้     

          ขณะที่มันดับลงไปครั้งแรกนั้นแหละ ท่านกล่าวว่าเป็นโคตรภูญาณ โคตรภูญาณนั้นหมายถึงว่ารวมเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ คือโอนจากโคตรปุถุชนเข้าสู่ความเป็นอริยโคตร ท่านกล่าวว่าโอนจากความเป็นปุถุชนแล้วก็จะเป็นอริยชน คือตายจากปุถุชนแล้วก็จะเกิดเป็นพระอริยบุคคลในขณะจิตต่อมานี้แหละ

          หรือว่าขณะที่โคตรภูญาณเกิดขึ้นมา ๑ ขณะจิต ดับลงไปมรรคญาณก็เกิดขึ้นมา ขณะที่มรรคญาณเกิดขึ้นมานั้นมรรคญาณก็จะประหารกิเลส กิเลสทั้งหลายทั้งปวงก็จะถูกประหารตรงที่มรรคญาณนี้แหละ อย่างเช่นมันเกิดขึ้นครั้งแรกก็ประหารสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาศ ประหารลงไปให้ดับไปสิ้นไปสูญไปโดยที่จะไม่เกิดขึ้นมาอีก นี้มรรคญาณถ้าเกิดขึ้นมาแล้วก็เหมือนกับฟ้าผ่า ถ้าผ่าลงไปต้นไม้ต้นอะไรก็ต้องตาย ตายตั้งแต่ปลายถึงรากลักษณะของสายฟ้าที่มันผ่าลงมา

          คนที่บรรลุมรรคผลนิพพานกิเลสที่ตายแล้วก็ไม่สามารถที่จะฟื้นขึ้นมาอีกได้ ตายแล้วก็คือตายไปเลย การบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นมีผลอันเลิศมีผลอันประเสริฐในลักษณะอย่างนี้

          แต่เมื่อมรรคญาณมันเกิดขึ้นมา ๑ ขณะจิตมรรคญาณมันดับลงไปผลญาณมันก็เกิดขึ้นมา ๒ ขณะจิตบ้าง ๓ ขณะจิตบ้างแล้วแต่บุญวาสนาบารมี ถ้าเป็นมันทบุคคล บุคคลผู้มีปัญญาน้อยก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ๒ ขณะจิต บุคคลผู้เป็นประเภทมันทบุคคลนี้จะไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ คือจะผ่านผลแล้วก็ออกไปเลย ไม่สามารถแช่อยู่ในผล ๕ นาที ๑๐ นาทีได้ คือ มรรคญาณเข้ามาก็ผ่านเข้าผล ผ่านเข้าผล ๑ ขณะจิต ๒ ขณะจิต แล้วก็ออกไปเลยโดยที่ไม่ทรงอยู่ในผลนั้นเกินกว่านั้น นี้เป็นลักษณะของมันทบุคคล

          แต่ถ้าเป็นติกขบุคคลเมื่อเกิดมรรคขึ้นมา ๑ ขณะจิตแล้วก็ผ่านเข้าสู่ผล ๓ ขณะจิต ขณะที่ผ่านเข้าสู่ผล ๓ ขณะจิตนั้นจะสามารถแช่อยู่ในผลสมาบัติได้ ๕ นาที ๑๐ นาที ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมงก็แล้วแต่บุญวาสนาบารมี ขณะที่ออกจากผลสมาบัติ ผลนั้นมีนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อมีนิพพานเป็นอารมณ์จิตที่อยู่ในผลเป็น ๕ นาที ๑๐ นาที ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมง พอออกมาแล้วความรู้สึกต่างๆ มันก็เหมือนกับตายแล้วเกิดใหม่ เรียกว่าตายแล้วเกิดใหม่ตายจากความชั่วมาเกิดในสถานที่ดีๆ ตายจากความทุกข์มาเกิดมีปีติ มีจิตใจเยือกเย็น มีจิตใจสุขุม มีจิตใจเกิดความสุขอยู่ตลอดเวลา ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดมีความสุขอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจของเราก็เบาเมื่อลมหายใจเบาลมหายใจละเอียดจิตมันก็เบาจิตมันก็ละเอียดกายก็เบากายก็ละเอียด โมโหโทโสก็ลำบาก โมโหโทโสนั้นเป็นเรื่องยากไปเลย จิตใจที่จะเกิดความอาฆาตพยาบาทก็เป็นของลำบากเพราะจิตใจมันละเอียด ลมหายใจมันละเอียดนี้มันเป็นในลักษณะอย่างนั้น ความสุขมันเกิดขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา จะไปโกรธไปเกลียดไปอิจฉาริษยามันก็ไปไม่ได้มันขัดกับความรู้สึกของจิตของใจของบุคคลนั้น

          เมื่อสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาเป็นผลสมาบัติจิตใจมันละเอียดถึงขนาดนั้น บางรูปบางท่านก็เกิดนิมิตบางครั้งเมื่อเกิดนิมิต นิมิตมันดับลงไปเมื่อนิมิตมันดับลงไปแล้วมันก็เกิดจิตขึ้นมา เกิดความรู้อาการพองมันปรากฏขึ้นมาอาการยุบมันปรากฏขึ้นมา หรือจิตใจของเราปรากฏขึ้นมาแล้วเราก็ออกมาสภาพเดิม อารมณ์ที่เราเข้าไปนั้นแหละมันเป็นอารมณ์ที่ละเอียดมันต่างจากก่อนที่มันจะดับ

          ความสงสัยในเรื่องสภาวะธรรม ความสงสัยในเรื่องมรรคผลนิพพานสงสัยในเรื่องกิเลสต่างๆ มันก็น้อยลงไป ไม่เหมือนกับบุคคลผู้เป็นสุกขวิปัสสกะ หรือว่าเป็นมันทบุคคลที่ไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ ไม่สามารถเข้าผลจิตได้ก็เกิดความสงสัยในเรื่องการประพฤติปฏิบัติธรรมต่างๆ นาๆ ว่าเราเคยผ่านไปหรือเปล่าหนอ หรือไม่ผ่านไปหนออะไรทำนองนี้ ลักษณะของการประพฤติปฏิบัติธรรมจะเป็นอย่างนั้น

          เมื่อผลจิตมันตั้งอยู่ ๒ ขณะจิตบ้าง ๓ ขณะจิตบ้างก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเป็นปัจจเวกขณญาณแล้ว ถ้าเรารู้สึกตัวขึ้นมาก็ถือว่าเป็นปัจจเวกขณญาณก็จะพิจารณามรรคที่ตนเองได้บรรลุแล้ว พิจารณาผลที่ตนเองได้เข้าถึงแล้วได้เสวยแล้ว พิจารณากิเลสที่ตนเองละแล้วว่าเราละกิเลสได้ประมาณกี่ตัวแล้ว แล้วก็พิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่แล้วก็พิจารณานิพพานที่ตนเองได้เข้าถึงเมื่อสักครู่นี้ว่ามันมีความสุข ทำไมจิตใจมันเยือกเย็นมันสุขุมคัมภีรภาพเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันจะเกิดความพิจารณาของมันเองเรียกว่าเป็นอัตโนมัติมันจะเป็นอย่างนั้นเองขึ้นมาของมันเองอันนี้เรียกว่าเป็นปัจจเวกขณญาณ

          ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมมา เราประพฤติปฏิบัติธรรมมาเพื่อที่จะให้เข้าถึงมรรคญาณ ผลญาณ แล้วก็เข้าถึงพระนิพพาน เพราะพระนิพพานนั้นเป็นเอกันตบรมสุข นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ถ้าบุคคลใดยังไม่เข้าถึงพระนิพพานบุคคลนั้นก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมหรรณพภพสงสารไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง ไปเกิดเป็นเปรตอสุรกาย ไปเกิดเป็นมนุษย์ ไปเกิดเป็นเทวดา ไปเกิดเป็นพรหม ก็ต้องเกิดความทุกข์เกิดความลำบาก เพราะมีการเคลื่อนมีการย้ายมีการจุติมีการดับมันก็เกิดความลำบาก ไปสู่ภพสูงภพน้อยภพใหญ่

          ก็เหมือนกับวานรที่โดดจากต้นไม้ใหญ่ไปสู่ต้นไม้เล็ก จากต้นไม้เล็กไปสู่ต้นไม้กลางจากต้นไม้กลางไปสู่ต้นไม้ใหญ่อะไรทำนองนี้ เหมือนกับภพชาติที่เราเกิดมานั่นแหละ บางครั้งก็เกิดมาดี บางครั้งก็เกิดมาในตระกูลต่ำ บางครั้งก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางครั้งก็เกิดเป็นเทวดา เหมือนกับวานรที่กระโจนไปต้นไม้น้อยใหญ่  เพราะฉะนั้นการเวียนว่ายตายเกิดนั้นจึงถือว่าเป็นทุกข์ร่ำไปดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป

          คณะครูบาอาจารย์ที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม ก็ถือว่าพวกเราทั้งหลายมาประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ อารมณ์ที่กระผมกล่าวมาก็เป็นแต่เพียงโดยย่อ เพียงแต่นิดหน่อยโดยสภาวะธรรมที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อแสดงไว้นั้นกว้างขวางพิสดาร ผู้ใดอยากได้วิปัสสนาญาณ ๑๖ โดยพิสดารก็ไปขอพระอาจารย์ตึ๋ง อาจารย์สุภกิณห์ หรือคณะอาจารย์ที่เผยแผ่ธรรมะท่านก็จะเอาแผ่นแว่นธรรมให้ ส่วนกระผมก็ถวายความรู้คณะครูบาอาจารย์ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา.
 
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อุปาทาน โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 0 1138 กระทู้ล่าสุด 17 กุมภาพันธ์ 2563 15:52:49
โดย Maintenence
ปกิณณกธรรม โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 924 กระทู้ล่าสุด 10 พฤศจิกายน 2563 13:55:19
โดย Maintenence
ความหมายของธรรมะ - พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 992 กระทู้ล่าสุด 02 ธันวาคม 2563 14:20:54
โดย Maintenence
โอวาทปาฏิโมกข์ - พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 1158 กระทู้ล่าสุด 14 ธันวาคม 2563 14:29:31
โดย Maintenence
การอุทิศส่วนบุญ โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 1051 กระทู้ล่าสุด 22 ธันวาคม 2563 14:14:10
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.933 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 19 กุมภาพันธ์ 2567 23:31:52