[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 14:58:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจดีย์ ศรีวิชัยจอมคีรี ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน  (อ่าน 1304 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 สิงหาคม 2564 20:39:50 »



พระเจดีย์ ศรีวิชัยจอมคีรี
ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

พระเจดีย์ ศรีวิชัยจอมคีรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
นักเดินทาง นักท่องเที่ยวที่เดินทางขึ้นเหนือ ถ้าใช้เส้นทางอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง - อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
จะต้องผ่านพระเจดีย์ ศรีวิชัยจอมคีรี สถานที่เพียงแห่งเดียว ในเส้นทางภูเขาที่มีความสูงชัน คดเคี้ยวไปมา
เต็มไปด้วยโค้งอันตราย ระยะทางหลายสิบกิโลเมตร ซึ่งตลอดเส้นทางไม่มีบ้านเรือน ผู้คนอาศัยอยู่แต่อย่างใด  
ก่อนจะสิ้นสุดเส้นทางภูเขา ทางด้านขวามือจะแลเห็นองค์พระเจดีย์ ศรีวิชัยจอมคีรี สีขาวโดดเด่น
บางองค์สีทองสุกอร่าม ตั้งตะหง่านบนเนินเขา ด้วยสถาปัตยกรรมสวยงามสะดุดตา ซึ่งผู้มาเยือนต่างต้องมา
กราบไหว้สักการะพระบรมธาตุที่บรรจุในองค์พระเจดีย์ และกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐาน ณ ที่นั้น  









พระประธาน ปางมารวิชัย ทรงเครื่องกษัตริย์


จิตรกรรม ภาพพุทธประวัติที่สวยงามมาก






ผู้โพสท์พยายามค้นหาข้อมูลประวัติความเป็นมา
ของการก่อสร้างพระเจดีย์ศรีวิชัยจอมคีรี แต่ยังไม่สามารถค้นหาได้
คงต้องขอติดค้างไว้ก่อนค่ะ


โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2564 16:48:53 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2564 16:43:10 »


แมงสี่หูห้าตา วัดอนุสาวรีย์จอมคีรีศรีวิชัย (ศรีวิชัยจอมคีรี) ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน


รูปปั้น แมงสี่หูห้าตา ด้านหน้าพระอุโบสถศรีณสังวร

เรื่องเล่าในล้านนา "แมงสี่หูห้าตา"
ที่เชื่อมโยงไปถึงชื่อเก่าแก่ของเมืองเชียงราย


“แมงสี่หูห้าตา” จากตามภาพนี้ อยู่ที่วัดอนุสาวรีย์จอมคีรีศรีวิชัย (ศรีวิชัยจอมคีรี) ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งก็มีเรื่องเล่ามายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ ลองมาศึกษาประวัติของแมงสี่หูห้าตากัน

ประวัติ แมงสี่หู ห้าตา นั้นวรรณกรรมจากคัมภีร์ใบลานของล้านนา และจากนิทานมุขปาฐะที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อๆ กันมามีจำนวนมากมายที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินและได้สาระจากคติธรรมคำสอนหรือข้อคิดที่โบราณาจารย์ได้สอดแทรกไว้ นิทานเรื่อง “แมงสี่หู ห้าตา” เป็นนิทานเรื่องหนึ่งที่แพร่หลายมาก เป็นที่รู้จักกันดี ชาวบ้านที่เล่ามักบอกว่าเป็นเรื่องที่แสดงเหตุที่มาว่าทำไมผู้ชายจึงรักเมียน้อยมากกว่าเมียหลวง

คำว่า “แมง” นอกจากจะใช้เป็นคำนำหน้าสัตว์เล็กๆ แล้ว ยังใช้เป็นคำนำหน้าสัตว์ใหญ่ๆ ในเชิงตลกขบขันได้อีกด้วย “แมงสี่หู ห้าตา” เป็นสัตว์ใหญ่คล้ายหมี มีหู ๔ หู มีตา ๕ ตา ในความเป็นจริงไม่ปรากฏสัตว์ประเภทนี้ในโลก แต่มีเรื่องเล่าในล้านนามาแต่โบราณกาล และมีการบันทึกในรูปแบบของวรรณกรรมลายลักษณ์ในเอกสารประเภทใบลาน ซึ่งมีปรากฏให้พบเห็นตามวัดโดยทั่วไป ตัวอย่างของเรื่องนี้ได้เนื้อความจากคัมภีร์ใบลานชื่อ “ธรรมสี่หู ห้าตา” ของวัดแช่ช้าง ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจารด้วยอักษรธรรมล้านนา จำนวน ๑ ผูก (๖๑ หน้าลาน) ผู้จารคือ “พิมมสารภิกขุ” เมื่อจุลศักราช ๑๒๗๖ (พ.ศ.๒๔๕๗) ความในคัมภีร์ดังกล่าว กล่าวถึงเรื่องแมงสี่หูห้าตา กับทั้งยังได้เชื่อมโยงสัตว์นี้เข้ากับหลักธรรมทางพุทธศาสนาด้วย โดยว่าจำนวนสี่หูและห้าตานั้นที่แสดงถึงหลักธรรมพรหมวิหาร ๔ และศีล ๕ การสร้างสี่หู ห้าตา (พระอินทร์จำแลงกายเป็นแมงสี่หู ห้าตา กินถ่านไฟแดง ถ่ายออกมาเป็นทองคำ) โดยสังเขปดังนี้

มีเมืองเหนึ่งชื่อเมือง “พันธุมติ” กษัตริย์ผู้ครองเมืองชื่อ “ท้าวพันธุมติ” ซึ่งมีมเหสีอยู่ ๗ องค์ ทิศเหนือของเมืองนี้มีครอบครัวหนึ่งมี ๓ พ่อแม่ลูกอาศัยอยู่ สองสามีภรรยาเป็นยาจกมีบุตรชายคนเดียว เมื่อบุตรมีอายุ ๗ ขวบ มารดาสิ้นชีวิตลง ต่อมาเมื่ออายุ ๑๑ ขวบบิดาก็สิ้นชีวิต ก่อนสิ้นใจบิดาได้สั่งเสียว่าให้เอาศพฝังไว้ใกล้ๆ กระท่อม นานเข้าศีรษะของบิดาก็จะหลุดให้นำเอาศีรษะไปสักการะบูชาทุกค่ำเช้า ถ้าอายุครบ ๑๖ ปีให้เชือกผูกศีรษะนั้นลากไปสู่นครพันธุมติ ซึ่งมีภูเขาอยู่ หากศีรษะไปติดข้องที่ใดให้ทำแร้วเป็นกับดักสัตว์ที่นั้น เมื่อบิดาสิ้นชีวิตบุตรชายได้ฝังศพไว้ใกล้กระท่อมแล้วไปขออาศัยอยู่กับลุงซึ่งเป็นนายจ่าบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) โดยอาศัยเลี้ยงวัวเลี้ยงควายหาฟืนให้เป็นสิ่งตอบแทน จนอายุได้ ๑๖ ปี จึงได้ทำตามที่บิดาสั่งไว้โดยลากศีรษะบิดาไปสู่นครพันธุมติจนไปถึงภูเขา เมื่อลากศีรษะขึ้นภูเขาไปจนถึงถ้ำแห่งหนึ่งศีรษะไปติดข้องอยู่ปากถ้ำ จึงทำแร้วดักสัตว์ใหญ่ ณ ที่นั้นแล้วกลับบ้าน รุ่งเช้าเขาไปดูแร้วที่ดักไว้ ปรากฏว่ามีสัตว์ใหญ่ติดอยู่ สัตว์นั้นรูปร่างคล้ายหมี มีหูสี่หู มีห้าตา เขาได้ตัดเอาเถาวัลย์ผูกสัตว์นั้นนำกลับมาบ้าน แล้วหาสิ่งกำบังอย่างมิดชิด จากนั้นไปหาหญ้าและใบไม้มาให้กิน สัตว์สี่หูห้าตา ไม่ยอมกินเอาแต่นอนหลับ อ้ายทุกคตะได้เห็นแมงสี่หูห้าตามาติดบ่วงแร้วนั้นก็ไหว้ถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า สัตว์ประหลาดตัวนี้ ทำให้ตนเข้าใจว่า เป็นพ่อได้กลับมาเกิดเป็นแมงตัวประหลาดตัวนี้ หลังจากนั้น เขาก็นำแมงสี่หูห้าตาไปเลี้ยงที่บ้าน และล้อมคอกไว้โดยไม่ให้ใครเห็น เอาข้าวเอาน้ำให้มันกินแต่มันก็ไม่ยอมกินอะไรที่เขาให้เลย และเขาก็ไม่มีเวลามาดูแลหรือให้ความสนใจกับแมงสี่หูห้าตามากนักเพราะต้องเลี้ยงวัว เลี้ยงควายตามปกติ






ตามตำนานแมงสี่หูห้าตา ที่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาแห่งจังหวัดลำพูน เขียนขึ้น ว่า แมงสี่หูห้าตา มีลักษณะคล้ายลิง
และเรียก "พญาวานรสี่หูห้าตา" กับทั้งยังได้เชื่อมโยงสัตว์นี้เข้ากับหลักธรรมทางพุทธศาสนาด้วย โดยว่าจำนวนสี่หูและห้าตานั้นที่แสดงถึงหลักธรรม
พรหมวิหาร ๔ และศีล ๕  อีกความเชื่อหนึ่ง เช่น แมงสี่หูห้าตา วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีลักษณะเหมือนหมี
สีดำ ตัวอ้วนและเตี้ย มีขนยาวสีดำปกคลุมร่างกาย มีหูสองคู่และตาห้าดวง กินถ่านไฟร้อนเป็นอาหาร และถ่ายมูลเป็นทองคำ
 


ตามตำนานกล่าวว่า แมงสี่หูห้าตา กินถ่านไฟแดงเป็นอาหาร     
 

เมื่อกินถ่านไฟร้อนเป็นอาหารแล้ว รุ่งเช้าแมงสี่ตาจะถ่ายมูลออกมาเป็นทองคำทุกๆ วัน

ในช่วงนั้นเป็นฤดูหนาว เมื่ออ้ายทุกคตะกลับมา ก็เอาไม้มาจุดไฟเพื่อก่อกองไฟ จนเป็นถ่านและมีถ่านหนึ่งกระเด็นออกไปหาแมงสี่หูห้าตา ด้วยความหิวกระหาย มันจึงกินถ่านไฟแดงตรงนั้น อ้ายทุกคตะเกิดความแปลกใจจึงก่อกองไฟและเขี่ยถ่านให้แมงสี่หูห้าตากินอย่างไม่ขาด วันต่อมาแมงสี่หูห้าตาได้ถ่ายขี้ออกมาเป็นทองคำจำนวนมาก เมื่อคิดได้เช่นนี้ ในแต่ละวัน อ้ายทุกคตะจึงก่อกองไฟแล้วนำถ่านไฟแดงร้อนๆ มาให้แมงสี่หูห้าตากินอย่างไม่ขาด และมันก็ขี้ออกมาเป็นทองคำทุกๆ วัน อ้ายทุกคตะก็ขุดดินฝังทองคำจนเต็มไร่เต็มสวน

กล่าวถึงท้าวพันธุมติผู้ครองนครมีราชธิดาองค์หนึ่งซึ่งอายุได้ ๑๖ ปี มีรูปโฉมงดงามเป็นที่หมายปองของบรรดากษัตริย์หัวเมืองต่างๆ และมีหลายเมืองต่างส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเพื่อขอราชธิดาไปเป็นมเหสี ท้าวพันธุมติรู้สึกลำบากใจจึงหาทางออกโดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าหากเจ้าเมืองใดสามารถสร้างลินคำ (รางน้ำทองคำ) ตั้งแต่เมืองของตนมาจนถึงวังของราชธิดาได้ก็จะยกราชธิดาให้เจ้าเมืองนั้น เงื่อนไขนี้ไม่มีเจ้าเมืองใดสามารถทำได้ ฝ่ายชายกำพร้าผู้ยากได้ทราบข่าว จึงไปขอให้ลุงไปทูลราชธิดาของท้าวพันธุมติ ส่วนลุงก็ได้แต่เวทนา วันหนึ่งมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อกลุ่มหนึ่งมาพักแรมที่บ้านชายนั้น เขาจึงได้ว่าจ้างให้พ่อค้าเหล่านั้นสร้างลินคำตั้งแต่บ้านตนจนไปถึงวังของราชธิดาสิมมาจนสำเร็จภายในคืนเดียว รุ่งเช้าท้าวพันธุมติเห็นลินคำเป็นอัศจรรย์ ก็ให้เสนาอำมาตย์ติดตามไปดู เมื่อพบว่าเจ้าของเป็นใครจึงจัดขบวนแห่ไปรับเอาชายเข็ญใจไปเป็นราชบุตรเขย

เมื่ออภิเษกให้เป็นคู่ครองราชธิดาสิมมาแล้วจึงไต่ถามว่าได้ทองคำมาอย่างไร เขาจึงเล่าเรื่องแมงสี่หูห้าตาให้ฟัง ท้าวพันธุมติจึงให้เสนาไปขุดทองในสวนมาไว้ในพระคลังให้หมดและให้ราชบุตรเขยไปนำแมงสี่หูห้าตามา เขาก็ไปจูงเอามาแต่เมื่อจูงมาชาวเมืองต่างมามุงดู แมงสี่หูห้าตาก็ตกใจวิ่งหนีกลับไปอยู่ถ้ำตามเดิม ท้าวพันธุมติก็ให้ตามเอามาอีก คราวนี้ชาวเมืองต่างมามุงดูเป็นจำนวนมากขึ้น แมงสี่หูห้าตาก็ยิ่งตกใจวิ่งหนีไปอีกท้าวพันธุมติเห็นดังนั้น จึงวิ่งไล่ตามจับจนเลยเข้าไปในถ้ำ ครั้งนี้หินถล่มลงปิดปากถ้ำไว้ โดยที่เสนาวิ่งตามไม่ทันทำให้ท้าวพันธุมติถูกขังอยู่ในถ้ำกับแมงสี่หูห้าตา

ท้าวพันธุมติถูกขังอยู่ในถ้ำเป็นเวลาหลายวันเพราะไม่มีทางออก มีเพียงรูเล็กๆ โดยใช้ตาข้างเดียวแนบส่องดูภายนอกได้เท่านั้น ท้าวพันธุมติคิดในใจว่าตนคงต้องตายในถ้ำนี้แน่นอน คงไม่มีโอกาสอยู่กับมเหสีอีก จึงสั่งเสนาไปตามมเหสีทั้ง ๗ มา เมื่อมเหสีมาแล้วพระองค์จึงขอให้เปิดผ้าถุงให้ดูเป็นครั้งสุดท้ายก่อนตาย มเหสีตั้งแต่ลำดับที่ ๑ ถึง ๖ ไม่ยอมเปิดผ้าถุงเพราะความอาย แต่มเหสีองค์ที่ ๗ รู้สึกเห็นใจ จึงยอมเปิดผ้าถุงให้ดู ทันใดนั้นถ้ำอดหัวเราะไม่ได้ก็ระเบิดหัวเราะออกมาปากถ้ำจึงเปิด พระยาพันธุมติได้โอกาสจึงวิ่งหนีออกมาได้ เมื่อกลับมาถึงเมือง ท้าวพันธุมติได้อภิเษกให้บุตรเขยเป็นกษัตริย์ครองเมืองแทน จนถึงอายุขัยพระองค์ก็ถึงแก่พิราลัย  บุตรเขยผู้เป็นกษัตริย์ได้ครองเมืองโดยธรรม และได้สร้างโรงทานถึง ๖ หลัง เพื่อให้ทานแก่ยาจกคนยากไร้ จากนั้นได้เทศนาสั่งสอนเสนาอำมาตย์และชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในธรรมมีมรรคแปดเป็นต้น ชาวเมืองพันธุมติก็ดำรงชีพตามวิสัยอย่างสงบสุข

เรื่องราวที่มเหสีองค์เล็กเปิดผ้าถุงให้ท้าวพันธุมติดูเป็นเหตุให้สามีทั้งหลายรักเมียน้อยมากกว่าเมียหลวง และถ้ำดังกล่าวได้ชื่อว่า “ถ้ำยุบ” ตั้งแต่นั้นมา ความตอนนี้ในคัมภีร์กล่าวว่า “ส่วนถ้ำอันนั้น ก็ได้ชื่อว่าถ้ำยุบว่าอั้น ตราบต่อเท้าเถิงกาละบัดนี้แล ส่วนท้าวพระยาทั้งหลายก็ลวดรักเมียปลายเหลือกว่าเมียเค้าตราบต่อเท้าเถิงกาละบัดนี้แล”

ในแง่ของความเป็นมาเรื่อง “แมงสี่หูห้าตา” นี้มีข้อน่าสังเกตสองประการ ประการแรกอาจเป็นนิทานชาวบ้านที่เรียกว่า “เจี้ย” เล่าสืบต่อกันมาจนได้รับความนิยม ต่อมามีนักศาสนานำมาเขียนผูกโยงกับคำสอนทางศาสนา เพื่อดึงดูดความสนใจ ประการที่สองมีการเขียนลงในใบลานมาก่อน แล้วพระนำมาเทศนาธรรม ชาวบ้านก็ได้จดจำมาเล่าสู่กันฟัง

ทั้งสองประการนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทั้งโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์ในสังคมพื้นบ้านล้านนามาช้านาน มีพระสงฆ์มาเผยแพร่พระพุทธศาสนา แล้วนำพระบรมพุทธสารีริกธาตุนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้ามาถวาย ในฐานะที่เป็นเจ้าเมือง พระยาธรรมมิกะราชจึงโปรดให้สร้างวัดวาอารามต่างๆ เพิ่มขึ้น และได้สร้างวัดดอยเขาควายแก้ว โดยนำเอาพระบรมพุทธสารีริกธาตุนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า บรรจุใส่ไว้ในเจดีย์ของวัดดอยเขาควายแก้วอีกด้วย วัดนั้นสร้างตรงยอดดอยที่มีถ้ำที่แมงสี่หูห้าตามาติดบ่วงแร้วได้ที่นั่น และเป็นวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน

ความประทับใจของชาวล้านนาต่อนิทานเรื่องนี้ ทำให้ได้มีการสร้างรูปปั้นของแมงสี่หูห้าตาไว้ที่วัดดอยถ้ำเขาควาย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และชื่อเมือง “พันธุมติ” ก็เกี่ยวโยงกับชื่อเก่าแก่ของเมืองเชียงรายด้วย

สำหรับคาถาบูชาสี่หูห้าตา มีดังนี้ สาธุ อะหัง นะมามิ พระอินทร์ อากาเส จะ พุทธทิปังกะโร มะโมพุทธายะ อิอะระณัง อะระหัง กุสะลาธัมมา สัมมาสัมพุทโธ ทุสะนะโส นะโมพุทธายะ พระโสนามะ ยักโข เมตตามหาลาภา ปิยัง มะมะ ทันตา ปริวาสะโภ วาสุนี หะเต โหนตุ ชัยยะมังคลานิฯ

การสวดคำบูชา สวนทุกวัน กันไฟไหม้ ฟ้าผ่า อันตรายต่างๆ ชนะภัยทั้งปวง บรรเทาทุกข์ จากการเจ็บป่วยและเป็นมหาโชค มหาลาพ แก่ผู้บูชากราบไหว้ ดีนักแลฯ


ที่มาข้อมูล: ประวัติแมงสี่หูห้าตา วัดเจ็ดลิน
ขอขอบคุณ : เว็บไซท์ หนังสือพิมพ์รายวัน เชียงใหม่นิวส์ ผู้เผยแพร่ข้อมูล











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2564 19:21:26 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2564 18:15:37 »







จิตรกรรมฝาหนัง เล่าเรื่องพุทธประวัติ
วัดอนุสาวรีย์จอมคีรีศรีวิชัย (ศรีวิชัยจอมคีรี) ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน



พระอุโบสถศรีณสังวร
วัดอนุสาวรีย์จอมคีรีศรีวิชัย (ศรีวิชัยจอมคีรี) ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน





พระเจดีย์บรรจุอัฐิ ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวัชโย : นักบุญแห่งล้านนาไทย


เทพนม : เทวดาปูนปั้นประนมหัตถ์ สวมมงกุฎ มีกำไลรัดต้นแขน
ประทับนั่งบนฐานไพทีเรียงกันเป็นแถวรอบพระเจดีย์บรรจุอัฐิ ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวัชโย  



(ภาพ ๑)


(ภาพ ๒)


(ภาพ ๓)


(ภาพ ๔)
ภาพ ๑-๔ เล่าเรื่องการก่อสร้างพระเจดีย์ ศรีวิชัยจอมคีรี ณ ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
โดย ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย
ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง และตรวจสอบ ดูแลการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ





ภาพวาดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในภัทรกัลป์ ได้แก่ ๑.พระกกุสันธพุทธเจ้า ๒.พระโกนาคมนพุทธเจ้า
๓.พระกัสสปพุทธเจ้า ๔.พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) และ ๕.พระศรีอาริยเมตไตรย (พระอนาคตพุทธเจ้า)
* หากผิดพลาดจากการสังเกตประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ค่ะ











ป่าสมบูรณ์ของเส้นทางเชียงใหม่ - อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2564 18:34:17 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ตำนานพระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน และตำนานสิงห์ล้านนา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 3265 กระทู้ล่าสุด 22 ธันวาคม 2555 14:06:19
โดย Kimleng
วัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 294 กระทู้ล่าสุด 22 พฤษภาคม 2566 14:30:09
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.29 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 09 เมษายน 2567 19:38:51