[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 21:52:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระถังซำจั๋ง "ตรีปิฎกจารย์" จากนาลันทา  (อ่าน 649 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 กันยายน 2564 11:45:22 »


พระถังซัมจั๋ง (ภาพจาก wikipedia)

พระถังซำจั๋ง
ภิกษุต่างชาติคนเดียวที่ได้รับการยกย่องเป็น "ตรีปิฎกจารย์" จากนาลันทา
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม - วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ.2564

…พระถังซำจั๋งเป็นพระเถระคนสำคัญในประวัติศาสตร์จีน มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ.1143-1207 ปลายราชวงศ์สุยถึงต้นราชวงศ์ถังอันเป็นยุคทองของจีน ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน ‘สามนักแปลคัมภีร์พุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของจีน’ ซึ่งได้แก่ พระกุมารชีพ (พ.ศ.887-956) พระปรมรรถ (พ.ศ.1042-1112) และพระถังซำจั๋ง (พ.ศ.1143-1207)

ท่านเป็นชาวเมืองลั่วหยาง มีนามฆาราวาสว่า เฉินฮุย เสียงแต้จิ๋วว่า ตั้งฮุย (หรือ ฮุย แซ่ตั้ง) สนใจพุทธศาสนามาแต่เด็ก ผนวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปี ได้รับสมณฉายาว่า ‘เสวียนจั้ง’ ออกเสียงง่ายๆ อย่างลิ้นคนไทยว่า สวนจั้ง หรือเสียนจั้ง ก็ได้ เสียงแต้จิ๋วว่า ‘เหี้ยนจัง’ หมายถึง ‘รุ่งเรืองด้วยความลึกซึ้ง’ ตรงกับภาษาบาลีว่า ‘คัมภีรวิโรจน์’

หลังจากบวชแล้วท่านศึกษาพุทธศาสตร์กับอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงทั่วจีน เห็นว่าคำอธิบายแตกต่างกัน จึงตั้งปณิธานไปศึกษาที่อินเดีย แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้คนจีนเดินทางออกนอกประเทศ ท่านจึงต้องไปโดยไม่ขออนุญาตต่อทางการเมื่อ พ.ศ.1172 (อายุ 29 ปี) ผ่านอุปสรรคนานัปการแทบเอาชีวิตไม่รอด ผ่านทะเลทรายโกบีที่ร้อนระอุไร้ผู้คน ปีนป่ายข้ามเทือกเขาฮินดูกูฏอันสูงสูงชันเพียงผู้เดียว จาริกผ่านแคว้นต่างๆ นอกแดนจีนและอินเดียนับร้อยแคว้น

ในที่สุดได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ฝากตัวเป็นศิษย์พระศีลภัทรเถระ ศึกษาพุทธศาสนานิกายโยคาจารย์ วิชาตรรกศาสตร์ และอื่นๆ ทั้งยังออกจาริกไปทั่วอินเดียเพื่อศึกษาเพิ่มเติม และทัศนศึกษาพุทธศาสนสถานสำคัญ ท่านแตกฉานภาษาสันสกฤตมากจนเจ้าของภาษายกย่องแต่งคัมภีร์เป็นภาษาสันสกฤตได้ดี ที่สำคัญคือแตกฉานพุทธศาสตร์มาก



ภาพพระถังซัมจั๋ง กับ ซุนหงอคง โดย Tsukioka Yoshitoshi ศิลปินชาวญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 19

อุษา โลหะจรูญ ผู้เขียนหนังสือ ‘พระถังซำจั๋ง : ชีวิตจริงไม่อิงนิยาย’ กล่าวว่า ด้วยความใฝ่ศึกษา ‘ท่านจึงเป็นพระภิกษุชาวจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอินเดียโบราณ เป็นพระตรีปิฎกาจารย์ผู้มีความรู้แตกฉานทั้งในฝ่ายวิชาของฝ่ายมหายานและสาวกยาน ได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยขึ้นโต้วาทีธรรมสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณให้แก่สถาบันและประเทศชาติอย่างสมภาคภูมิ ได้รับสมญานามจากคณะสงฆ์ฝ่ายมหายานว่า มหายานเทวะ’ (Mahāyānadeva) และ พระโมกษเทวะ (Moksadeva) จากฝ่ายสาวกยาน’

ส่วนสมญา ‘ตรีปิฎกาจารย์’ นั้น หมายถึง ‘อาจารย์ผู้แตกฉานพระไตรปิฏก’ มหาวิทยาลัยนาลันทาถวายแด่ท่าน เป็นภิกษุต่างชาติรูปเดียวที่ได้รับเกียรตินี้ ต่อมามหาวิทยาลัยนาลันทา (นาลันทาใหม่ซึ่งสร้างแทนมหาวิทยาลัยนาลันทาเดิมที่เสื่อมสูญไป) ได้ถวายตำแหน่ง ‘พระตรีปิฎกาจารย์’ แก่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมปิฎก) เป็นภิกษุชาวต่างชาติรูปที่ 2 ที่ได้ รับเกียรติสูงสุดนี้

ด้วยเหตุนี้เมื่อพระภิกษุเสวียนจั้งกลับมาจีนแล้ว คนนิยมยกย่องเรียกท่านว่า ‘ซันจั้งฝ่าซือ’ เสียงจีนแต้จิ๋วว่า ‘ซำจั้งฮวยซือ’ ซำจั๋ง แปลว่า ไตรปิฎก ฮวยซือ แปลว่า ธรรมาจารย์ (อาจารย์ผู้สอนธรรม) เป็นคำเรียกยกย่องพระภิกษุผุ้ทรงคุณวุฒิ สองคำรวมกัน หมายถึง พระธรรมาจารย์ตรีปิฎก เป็นที่มาของคำว่า ‘ถังซำจั๋ง’ ซึ่งหมายถึง ‘พระตรีปิฎกาจารย์แห่งราชวงศ์ถัง’ เป็นชื่อที่แพร่หลายในประเทศไทย…

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กันยายน 2564 11:49:56 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 กันยายน 2564 11:55:55 »



พระถังซัมจั๋ง
เล่าตำนานอุบายพระอนุชากษัตริย์แคว้นคุจี รอดโดนใส่ร้ายเล่นกามนางใน

เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม / วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564

บุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ถูกหยิบยกไปดัดแปลงผสมกับจินตนาการสร้างเป็นสื่อบันเทิงกันมากมาย พระถังซัมจั๋งเองก็ถูกนำไปดัดแปลงในนิยายไซอิ๋วที่น่ามหัศจรรย์ แต่เบื้องหลังของนิยายมีเรื่องราวที่มาจากบันทึกของพระภิกษุชาวจีนผู้มีชื่อเลื่องลือซึ่งน่าสนใจแทรกเอาไว้มากมายด้วย

ก่อนหน้านี้ เคยมีผู้ศึกษาความเป็นมาของพระเถระกันมากมาย ถาวร สิกขโกศล ผู้ศึกษาด้านประวัติศาสตร์จีน อธิบายไว้ในบทความ “ไซอิ๋ว : ยอดนิยายมหัศจรรย์” ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม พ.ศ.2552 ว่า “พระถังซำจั๋งเป็นพระเถระคนสำคัญในประวัติศาสตร์จีน มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ.1143-1207 ปลายราชวงศ์สุยถึงต้นราชวงศ์ถังอันเป็นยุคทองของจีน ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน ‘สามนักแปลคัมภีร์พุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของจีน’ ซึ่งได้แก่ พระกุมารชีพ (พ.ศ.887-956) พระปรมรรถ (พ.ศ.1042-1112) และพระถังซำจั๋ง (พ.ศ.1143-1207)

แต่เดิม ท่านเป็นชาวเมืองลั่วหยาง มีนามฆราวาสว่า เฉินฮุย ออกเสียงแบบแต้จิ๋วว่า ตั้งฮุย (หรือ ฮุย แซ่ตั้ง) สนใจพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ผนวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปี ได้รับสมณฉายาว่า ‘เสวียนจั้ง’ ออกเสียงแบบไทยว่า สวนจั้ง หรือเสียนจั้ง ออกเสียงแบบแต้จิ๋วว่า ‘เหี้ยนจัง’ หมายถึง ‘รุ่งเรืองด้วยความลึกซึ้ง’ ตรงกับภาษาบาลีว่า ‘คัมภีรวิโรจน์’ คำอธิบายสอดคล้องกับข้อมูลที่ปรากฏในอารัมภกถาของบันทึก “จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง” ซึ่งอารัมภกถาของบันทึกนี้เขียนโดยขุนนางจีนกลุ่มหนึ่ง”

หลังจากบวชแล้วท่านศึกษาพุทธศาสตร์กับอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงทั่วจีน เห็นว่าคำอธิบายแตกต่างกัน จึงตั้งปณิธานไปศึกษาที่อินเดีย แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้คนจีนเดินทางออกนอกประเทศ ท่านจึงต้องไปโดยไม่ขออนุญาตต่อทางการเมื่อ พ.ศ.1172 (อายุ 29 ปี) ผ่านอุปสรรคนานัปการแทบเอาชีวิตไม่รอด ผ่านทะเลทรายโกบีที่ร้อนระอุไร้ผู้คน ปีนป่ายข้ามเทือกเขาฮินดูกูฏอันสูงสูงชันเพียงผู้เดียว จาริกผ่านแคว้นต่างๆ นอกแดนจีนและอินเดียนับร้อยแคว้น

เรื่องราวระหว่างการเดินทางปรากฏอยู่ในบันทึก “จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง” ซึ่งพระถังซัมจั๋งเป็นผู้จดบันทึกเอง ต่อมาพระภิกษุเปี้ยนจีเป็นผู้เรียบเรียงในรัชสมัยจักรพรรดิถังไท่จง ยุคราชวงศ์ถังและเสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ.646

บันทึกฉบับนี้มีอายุกว่า 1,300 ปีแล้ว บันทึกถูกเรียกกันว่า “จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง” เนื้อหาเริ่มบอกเล่าการเดินทางตั้งแต่ออกจากจีนและอยู่ในอินเดียเป็นเวลา 17 ปี จาริกสู่แคว้นต่างๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจีน รวมระยะทางกว่า 5 หมื่นลี้

เนื้อหาในส่วนอารัมภกถาส่วนหนึ่งซึ่งเขียนโดยพระถังซัมจั๋งเอง เริ่มต้นบอกเล่าที่มาของการจดบันทึกและการเดินทาง พร้อมกับบรรยายภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ของชมพูทวีปไว้ อาทิ การแต่งกาย ลักษณะนิสัย ที่อยู่

พระถังซัมจั๋งเดินทางจากเมืองซีอาน นครหลวงของจีนสมัยราชวงศ์ถัง มุ่งไปทางตะวันตกจนถึงเมืองเกาชาง พักอยู่ระยะหนึ่งจึงเริ่มเดินทางไปอินเดีย

ในบันทึกก็เริ่มต้นบอกเล่าการเดินทางตั้งแต่ออกจากแคว้นเกาชางในอดีต (เมืองเก่าแก่ด้านทิศตะวันตกของจีน ในมณฑลซินเจียง) มาถึงแคว้นอัคนิ (เดิมเรียกว่าอันฉี) ถัดจากแคว้นนี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 200 ลี้ ข้ามเนินเขาหนึ่งลูกกับแม่น้ำอีกสองสาย มุ่งไปทิศตะวันตก ถึงทุ่งราบแห่งหนึ่ง เดินทางไปอีก 700 ลี้จึงมาถึงแคว้นคุจี (Kuci)

ในจดหมายเหตุการเดินทางบรรยายอาณาเขตของแคว้นแห่งนี้จากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตกเป็นระยะประมาณ 1,000 ลี้ ทิศเหนือจดใต้ระยะประมาณ 600 ลี้ เมืองหลวงมีอาณาเขตโดยประมาณที่ 17-18 ลี้

เอกสาร “ประวัติศาสตร์ฮั่นโบราณ” (History of the Former Han หรือ Book of Han) โดย ปัน กู่ (Ban gu) อธิบายแคว้นคุจีว่าเป็น “พื้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา 36 ดินแดนทางตอนใต้” แคว้นนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของ “เส้นทางสายไหม” (Silk Road) และผ่านการติดต่อกันระหว่างดินแดนเอเชียตอนกลาง พระถังซัมจั๋งบรรยายว่า เนื้อดินของดินแดนนี้เหมาะสำหรับการเพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวเจ้า ผลไม้ต่างๆ มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทองคำ ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว ดีบุก

“พระราชาเป็นชาวคุจีโดยเชื้อสาย สติปัญญาดาดๆ ขาดกุศโลบายอันลึกซึ้งและถูกครอบงำโดยขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่กุมอำนาจ ที่นี่มีประเพณีอย่างหนึ่งคือเด็กทารกเมื่อแรกเกิดจะใช้ไม้แผ่นแนบติดศีรษะไว้ เพื่อเมื่อเติบใหญ่ขึ้นศีรษะจะได้แบนบาง ภายในแคว้นคุจีมีอารามกว่า 100 แห่ง พระภิกษุกว่า 5,000 รูป ใฝ่ใจศึกษาในลัทธิหินยานนิกายสรรวาสติวาท พุทธคัมภีร์และหลักธรรมคำสอนต่างๆ อีกทั้งวินัยและพิธีการต่างๆ ก็ล้วนรับเอาแบบแผนจากอินเดียทั้งสิ้น”

บันทึกยังบอกเล่าว่า แคว้นนี้มาอาชาพันธุ์ดีมากมาย ทางด้านทิศตะวันออกของแคว้นปรากฏเมืองร้างแห่งหนึ่ง พร้อมบอกเล่าตำนานว่าชาวเมืองสำคัญตัวเองว่าเป็นผู้มีกำลังแข็งแรงเกินมนุษย์ทั่วไปเนื่องจากเป็นสายโลหิตของนาคในบึง ไม่ยอมรับการปกครองของพระราชา พระราชาเลยชักนำชาวเติร์กมาเข่นฆ่าชาวเมืองจนหมด จากเมืองร้างออกไปทางทิศเหนือจะพบวัดจักราม

ทางประตูตะวันตกของเมืองหลวงมีพระพุทธรูปอยู่หน้าลานชุมนุม เมื่อออกจากลานชุมนุมไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามแม่น้ำอีกสายก็มาถึงวัดอัศจรรย์ (Asarya) อันวิจิตรงดงาม ภิกษุที่นี้ก็เป็นที่เคารพนับถือมีวิชาความรู้ลึกซึ้ง พระถังซัมจั๋งยังบันทึกเกี่ยวกับข้อมูลของอดีตกษัตริย์ของแคว้นนี้ซึ่งได้รับฟังมาจากผู้สูงวัยว่า

“จำเดิมนั้น อดีตกษัตริย์ [แคว้นนี้] ซึ่งถึงแก่พิราลัยแล้วนั้น ทรงนับถือพระพุทธศาสนา [คราหนึ่ง] พระองค์มีพระประสงค์จเสด็จนมัสการสังเวชนียสถาน จึงทรงแต่งตั้งพระอนุชาร่วมพระอุทรสำเร็จราชการแทนพระองค์ ข้างฝ่ายพระอนุชาเมื่อทรงรับพระราชโองการแล้วก็แอบตัดองคชาติของตนทิ้งเสีย ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันตัวเองไว้ล่วงหน้าก่อนที่ภัยจากทุรวจีให้ร้ายต่างๆ จะถึงตัว

องคชาติที่ตัดนั้นถูกนำมาเก็บไว้ในหีบทองและปิดผนึกไว้แน่นหนา แล้วจึงนำมาถวายพระราชา พระราชาทรงถามว่า ‘นี่อะไรหรือ’ พระอนุชาทูลว่า จึงรำพึงว่า] อันองคาพยพของเรานั้นไม่ครบองค์ประกอบก็คงเป็นด้วยกรรมแต่หนหลังชักนำให้เป็นไป

คิดดังนั้นแล้วเขาก็จ่ายทรัพย์ขอซื้อโคฝูงนั้น ผลานิสงส์แห่งความเมตตาการุญจึงดลบันดาลให้องคชาติกลับเจริญงอกขึ้นมาใหม่ และเมื่อมีอวัยวะเพศเกิดขึ้นอีก พระอนุชาก็มิได้เข้าวังอีกเลย พระราชารู้สึกสนเท่ห์ จึงทรงถามถึงสาเหตุ พระอนุชาก็เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นถวาย เนื่องด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องมหัศจรรย์ พระราชาจึงได้สร้างอารามแห่งนี้เพื่อสดุดีพฤติกรรมอันเร้าใจนี้และให้ [เรื่องราวเหล่านี้] เป็นที่รู้กันสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน”
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.271 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 16:59:47