[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 02:12:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล  (อ่าน 480 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1017


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 กันยายน 2564 14:42:49 »



อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล

      อุโบสถศีล หมายถึง ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ มาจากคำว่า อุโบสถ และ ศีล มีความหมายดังนี้ อุโบสถ หมายถึง การเข้าจำหรืออยู่จำเพื่อหยุดการงานทางโลก พักการงานทางบ้าน เป็นอุบายควบคุมกาย วาจา ใจให้สงบและขัดเกลากิเลส เป็นการเข้าอยู่จำรักษาศีล ประพฤติพรหมจรรย์ใช้ชีวิตตามวิถีพุทธด้วยวัตรปฏิบัติที่พิเศษยิ่งขึ้น

      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับนางวิสาขาเรื่องอุโบสถศีลไว้ใน อุโปสถสูตร ว่ามี 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทแบ่งออกตามวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ คือ

      1. โคปาลกอุโบสถ คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค
      2. นิคัณฐอุโบสถ คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์
      3. อริยอุโบสถ คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างอริยสาวก

      โคปาลกอุโบสถ เป็นของคนที่รักษาไม่จริง เมื่อสมาทานศีลอุโบสถแล้ว แทนที่จะรักษาและ ปฏิบัติธรรมตลอดหนึ่งวันหนึ่งคืน กลับไปคุยกันถึงเรื่องไร้สาระ เช่น วันนี้ได้กินอาหารอร่อยถูกปากอย่างนี้ พรุ่งนี้เราจะต้องเตรียมอาหารอย่างนี้มากินอีก เพราะอาหารอย่างนี้ใครๆ ก็ปรารถนา ดังนั้น จึงเรียกการรักษาอุโบสถประเภทนี้ว่า เป็นเหมือนคนเลี้ยงโคที่มอบโคคืนเจ้าของในตอนเย็น แล้วคิดว่า วันนี้โคเที่ยวหากินหญ้าที่ทุ้งหญ้าโน้น ดื่มน้ำที่ลำธารโน้น วันพรุ่งนี้จะต้อนไปทุ่งหญ้าโน้น ดื่มน้ำลำธารสายโน้น เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อยๆ

      นิคัณฐอุโบสถ เป็นการกระทำอย่างพวกนักบวชนิกายหนึ่งที่มีนามว่า นิครนถ์ (นักบวชนอกศาสนา ที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร ปัจจุบันคือศาสนาเชนที่ยังอยู่ในอินเดีย) มีวิธีการ คือ ชักชวนสาวกให้ต้อนตี สัตว์ไปในทิศทางต่างๆ บ้างก็ชักชวนกันให้เมตตาสัตว์บางชนิด บ้างก็ให้ทารุณกับสัตว์บางชนิด บ้างก็ ชักชวนให้สลัดผ้านุ่งห่มทุกชิ้นในวันอุโบสถ ฯลฯ

      พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติอุโบสถทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก

      อริยอุโบสถ เป็นการสมาทานรักษาอุโบสถของผู้ปรารภความเพียร คือ ทำจิตที่เศร้าหมองนั้นให้ ผ่องแผ้ว โดยระลึกถึงพระพุทธคุณ เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติปราโมทย์ ละกิเลสเครื่อง เศร้าหมองของจิตเสียได้ ครั้นแล้วก็ระลึกถึงพระธรรมคุณ พระสังฆคุณตามลำดับ หรืออีกอย่างหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่างพร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกติเตียน เป็นทางแห่งสมาธิ(Meditation) เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมละอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้ หรืออีกอย่างหนึ่งระลึกถึงเทวดา และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดาว่า เทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี พรหมกายิกา และเหล่าเทวดาที่สูงขึ้นไป กว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้จึงได้เกิดในภพนั้นๆ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเช่นนั้นของเราก็มีอยู่พร้อมเหมือนกัน เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติ ปราโมทย์ ละกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้

      อริยอุโบสถนั้น เป็นอุโบสถของพระอริยบุคคลผู้เว้นได้เด็ดขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลัก ทรัพย์ เว้นจากกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ เว้นจากการกล่าวคำเท็จ เว้นจากการเสพของมึนเมา เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และการทัดทรง ตกแต่ง เครื่องประดับ เครื่องไล้ทา และเว้นจากการนั่ง หรือนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ยัดด้วยนุ่นหรือสำลี

      แล้วตรัสต่อไปว่า อริยอุโบสถนี้ที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก  ที่ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนั้น พระพุทธองค์ทรงเปรียบให้นางวิสาขาเห็นว่า พระราชา เสวยราชสมบัติ และอธิปไตยในชนบทใหญ่ๆ ทั้ง 16 แคว้น สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง 7 ประการ ถือว่า การเสวยราชสมบัตินี้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว แต่ยังไม่ได้ถึงเศษเสี้ยวที่ 16 ของอานิสงส์ที่เกิดจากการสมาทาน รักษาอุโบสถศีลเลย

ที่มา : อุโปสถสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 510 หน้า 382.   

      วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อริยอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แลย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก

      อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร แผ่ไพศาลมากเพียงไร คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี(เป็นผู้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการเหล่านี้คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

      ๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แล ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

      ๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้นเป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ
ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

      ๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้นเป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ
บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

      ๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

      ๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

      ๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

      บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้

      บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสองงดงามส่องสว่างโคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นกำจัดความมืดไปในอากาศ ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด  ทรัพย์ คือแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทองสิงคีและทองคำ ตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น และแสงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘  เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์



ที่มา : วัดโพรงจระเข้ ตรัง (โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๘-๒๙๐)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.316 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 15:47:19