[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 20:40:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เห้งเจีย ลิงในนิยายไซอิ๋ว กลายเป็นเทพที่คนจีนกราบไหว้ และแพร่เข้าไทยได้อย่างไร  (อ่าน 653 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 94.0.4606.61 Chrome 94.0.4606.61


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 กันยายน 2564 20:40:08 »


เห้งเจีย ลิงในนิยายไซอิ๋ว กลายเป็นเทพที่คนจีนกราบไหว้ และแพร่เข้าไทยได้อย่างไร


https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/10/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%A7-696x364.jpg
เห้งเจีย ลิงในนิยายไซอิ๋ว กลายเป็นเทพที่คนจีนกราบไหว้ และแพร่เข้าไทยได้อย่างไร

(ซ้าย) รูปเคารพเห้งเจียใน "ศาลเจ้าพ่อเฮ่งเจีย" สวนผัก ธนบุรี (ขวา) ลายเส้นเห้งเจียจาก "เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า"


         ความเชื่อความศรัทธาเป็นสิทธิส่วนบุคคลตราบใดที่ความเชื่อนั้นไม่ละเมิดสิทธิหรือสร้างความเดือดร้อน/เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของความเชื่อเพื่อบันทึกไว้ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญไม่แพ้แนวคิดการเคารพในความเชื่อความศรัทธาของผู้อื่น ซึ่งในบรรดาความเชื่อที่น่าสนใจนั้น มีตัวละครที่ไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ซึ่งกลายเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่ในโลกความเป็นจริงจนนำมาสู่การกราบไหว้บูชาของคนทั่วไปได้     เห้งเจียเป็นตัวละครหนึ่งใน “ไซอิ๋ว” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันตัวละครนี้เสมือนมีตัวตนดำรงอยู่ในโลกความเป็นจริงและเป็นที่เคารพของกลุ่มคน แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเห้งเจีย อาจต้องเอ่ยถึงต้นฉบับวรรณคดีที่ตัวละครนี้ปรากฏอยู่ นั่นคือ ไซอิ๋ว ซึ่งเดิมทีเชื่อกันว่าเป็นวรรณกรรมสมัยราชวงศ์หมิง เคยเล่ากันว่า “อู๋ เฉิงเอิน” นักประพันธ์ (ค.ศ. 1500-1582) เป็นผู้รวบรวมเรื่องเล่าจากท้องถิ่นต่างๆ มาผสมผสานเป็นวรรณกรรม

         อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาค้นคว้าของจรัสศรี จิรภาส ผู้เขียนหนังสือ “เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง)” อธิบายว่า ผู้แต่งที่แท้จริงนั้นจะใช่ “อู๋ เฉิงเอิน” หรือไม่ ยังไม่สามารถบ่งชี้อย่างชัดเจน แต่ที่ศึกษากันจนยอมรับกันนั้นคือ เรื่องไซอิ๋วเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง อันเป็นรอยต่อระหว่างราชวงศ์ถัง ภายหลังจากพระถังซัมจั๋งกลับมาจากประเทศอินเดียและแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเผยแพร่ในประเทศ   เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ลูกศิษย์ของท่านแต่งหนังสือเรื่อง “ต้าถังซานจั้งชวี่จิงซือฮว้า” (บันทึกการเดินทางไปอาราธนาพระไตรปิฎกของพระตรีปิฎกแห่งมหาราชวงศ์ถัง) ซึ่งเชื่อกันว่าผลงานนี้เป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมไซอิ๋ว และเล่มนี้เช่นกันที่ “เห้งเจีย” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก

         “ต้าถังซานจั้งชวี่จิงซือฮว้า” เล่าถึงการเดินทางของพระถังซัมจั๋งพร้อมด้วยผู้ติดตาม 6 คน เมื่อเดินทางผ่านเมืองแรกก็พบลิงชุดขาวที่เรียกกันว่า “ไป๋อีซิ่วฉาย” มาดักรอ ลิงชุดขาวแนะนำตัวว่ามาจากถ้ำจื่ออวิ๋นที่ภูเขาฮวากั่ว เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือพระถังซัมจั๋งไปอาราธนาพระไตรปิฎก พระถังซัมจั๋งตอบรับและตั้งชื่อลิงชุดขาวว่า “ลิงเห้งเจีย” (โหวสิงเจ่อ) แต่ในฉบับนี้ ลิงเห้งเจียยังไม่มีอิทธิฤทธิ์พิสดารมากนัก นอกเหนือจากมีพละกำลัง หายตัว แปลงร่างได้หลายร่าง แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นแปลงได้ 72 อย่าง เหาะไม่ได้ กระโดดไกลเป็นพันลี้ดัง “เห้งเจีย” ในไซอิ๋วไม่ได้เช่นกัน

(“ต้าถังซานจั้งชวี่จิงซือฮว้า” ไม่มีตัวละครอย่างตือโป๊ยก่าย และซัวเจ๋ง จรัสศรี จิรภาส มองว่า มีความเป็นไปได้ที่อู๋ เฉิงเอิน หรือผู้ที่แต่งขึ้นอาจเอานิทานพื้นบ้านถิ่นต่างๆ จากหลายยุคสมัยมาผนวกรวมกับเรื่องราวของพระถังซัมจั๋ง พร้อมปรับแต่งเติมจนกลายเป็นเห้งเจียในไซอิ๋ว)


อ่านเพิ่มเติม : “พระถังซำจั๋ง” ภิกษุต่างชาติคนเดียวที่ได้รับการยกย่องเป็น “ตรีปิฎกาจารย์” จากนาลันทา

อ่านเพิ่มเติม : พระถังซัมจั๋ง เล่าตำนานอุบายพระอนุชากษัตริย์แคว้นคุจี รอดโดนใส่ร้ายเล่นกามนางใน

          แน่นอนว่าลิงเทพเจ้าที่โด่งดังอย่างเห้งเจีย ก็สืบเนื่องมาจากฉบับไซอิ๋วมากกว่า และกลายเป็นเทพ “ฉีเทียนต้าเสิ้ง” ที่ผู้คนบูชา
สำหรับเนื้อเรื่องในไซอิ๋วนั้น ชาวไทยและผู้คนหลายประเทศทั่วโลกน่าจะคุ้นเคยกันดี แต่ในที่นี้ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเห้งเจีย ตั้งข้อสังเกตกันไว้ว่า ในวรรณกรรมจีนไม่เคยมีตัวละครที่ถูกเขียนให้ท้าทายอาละวาดสวรรค์อย่างหนักหน่วงเช่นนี้ อาจเป็นไปได้ว่า ผู้เขียนแฝงแนวคิดต่อต้านระบอบศักดินาในช่วงเวลานั้น ซึ่งอาจสะท้อนถึงแนวคิดก้าวหน้าของผู้คนในยุคสมัยหมิงเช่นกัน

          เมื่อมีกำเนิดตัวละครแล้ว พัฒนาการมาสู่ความศรัทธาในภายหลังนั้น อาจต้องเริ่มต้นที่คำอธิบายว่า การนับถือลิง หรือสัตว์อื่นไม่ใช่เรื่องแปลก ประวัติศาสตร์จีนปรากฏพฤติกรรมการบูชาลิงมาก่อน เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ คนยุคโบราณจึงกราบไหว้ลิงเป็นเทพเจ้า แต่ความคิดเห็นของผู้ศึกษาเกี่ยวกับเห้งเจียอย่างจรัสศรี มองว่า การบูชาลิง-เห้งเจีย ซึ่งกำเนิดจากวรรณกรรมเป็นเรื่องแปลก   การบูชาลิงจากวรรณกรรมนี้ไม่ใช่แค่ชนชาติอื่นอาจไม่เข้าใจ ชนชาติจีนเองและต้นกำเนิดตัวละครก็ยังไม่เข้าใจสาเหตุ ดังเช่นบันทึกของเผิง กวางโต่ว ชาวจีนสมัยราชวงศ์ชิง เขาบันทึกการเดินทางไปเมืองฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ว่า เมืองแห่งนี้มีเรื่องประหลาด 3 เรื่อง หนึ่งในนั้นย่อมมีเรื่อง “การบูชาเห้งเจีย”  อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวจีนทางใต้เองมองว่าการบูชาลิงเห้งเจียเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากทางใต้ของจีนบูชาลิงกันมายาวนาน จึงอาจพอสันนิษฐานได้ว่า เมื่อไซอิ๋วเริ่มแพร่หลายโด่งดังไปทั่วประเทศ ชาวจีนในท้องถิ่นที่มีการบูชาลิงจึงผนวกการบูชาลิงที่มีมาแต่โบราณเข้ากับการบูชาเห้งเจีย

          บันทึกของเผิง กวางโต่ว ยังสะท้อนให้เห็นอีกว่า การกราบไหว้บูชาลิงไม่ได้เป็นเรื่องปกติทั่วไปในจีน แต่นิยมอยู่ในบางท้องถิ่น โดยเฉพาะทางตอนใต้ อาทิ มณฑลหนิงเซี่ยะ กว่างตง (กวางตุ้ง) หูเป่ย และฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) พื้นที่เหล่านี้อยู่ในลุ่มน้ำตอนใต้ โดยเฉพาะฝูเจี้ยน ซึ่งน่าจะเป็นพื้นที่ซึ่งมีการกราบไหว้เห้งเจียกันมากและเก่าแก่ที่สุด มีวัดบูชาเทพเจ้าลิงที่เก่าแก่ในฝูเจี้ยนชื่อ “วัดเหนิงเหยินซื่อ” อีกทั้งยังมีบันทึกโบราณหลายชิ้นบ่งชี้ว่า ทางตอนใต้ของจีนเป็นแหล่งที่อยู่ของฝูงลิง วิถีชีวิตของคนท้องถิ่นย่อมคุ้นเคยกับลิงมาแต่เดิม

          จรัสศรี ยังสืบค้นต่อไปว่า ชาวจีนภาคใต้มีความเชื่อเรื่องลิงมีจิตวิญญาณคล้ายมนุษย์ โดยมนุษย์โบราณเชื่อว่าลิงชราอายุร้อยปี กลายเป็นลิงวิเศษ หากอายุพันปีจะกลายเป็นมนุษย์ เรื่องเล่าเช่นนี้ทำให้ชาวจีนบางส่วนไม่กล้าทำร้ายลิง และอาจเรียกลิงว่า “ซือฟู่” (อาจารย์) สำหรับลิงขาวก็จะได้รับการยกย่องในหมู่ชาวจีนบางท้องถิ่น และกราบไหว้ลิงขาวเป็น “ไป๋เจี้ยงจวิน” หรือ จอมพลขาว เป็นเทพอารักษ์ในหมู่บ้าน   ยิ่งประกอบกับฝูเจี้ยน เป็นแหล่งโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ การเผยแพร่และความนิยมเรื่อง “ไซอิ๋ว” น่าจะแพร่กระจายได้ไม่ยาก ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดความนิยมความเชื่อบูชาเห้งเจียด้วย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 94.0.4606.61 Chrome 94.0.4606.61


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 กันยายน 2564 20:42:18 »



          (ต่อ)....แต่ในยุคปัจจุบัน ร่องรอยการบูชาเห้งเจียในจีนตอนใต้โดยเฉพาะฝูเจี้ยนในมุมมองของชาวต่างชาติยังปรากฏหลากหลาย นักวิชาการไต้หวันเคยเขียนบทความว่าเขตเมืองฝูโจว ในมณฑลฝูเจี้ยน ไม่ปรากฏศาลเจ้าฉีเทียนต้าเสิ้ง อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่ศึกษาของจรัสศรี เมื่อพ.ศ. 2546 ได้พบว่า เมืองฝูโจวส่วนหนึ่งยังนิยมกราบไหว้เห้งเจีย มีสถานบูชาเห้งเจียหลายแห่ง แต่เมื่อสำรวจรอบเมืองฝูโจว ในพื้นที่ซึ่งเป็นเมืองโบราณเก่าแก่กลับไปการบูชาเห้งเจียเทียบเท่า   ส่วนการแพร่ความเชื่อความศรัทธามาสู่ดินแดนอื่นนั้น เห็นได้ว่า ชาวจีนที่แผ่นดินใหญ่ที่ไปตั้งรกรากในที่ต่างๆ จะปรากฏร่องรอยความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าไปอยู่ด้วย ดินแดนโพ้นทะเลที่มีชาวจีนหรือลูกหลานชาวจีนอาศัยอยู่มากและมีร่องรอยการเคารพบูชาเห้งเจียก็มีตั้งแต่ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย

           สำหรับการแพร่สู่ไทย จรัสศรี วิเคราะห์ไว้ 2 แนวทางคือ เส้นทางตามข้อมูลประวัติศาสตร์ และเส้นทางร่องรอยที่ปรากฏในเชิงตำนาน   ในแง่เส้นทางประวัติศาสตร์ ผู้สืบค้นเกี่ยวกับเห้งเจียมองว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในไทยมาจากมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และกว่างตง (กวางตุ้ง-แต้จิ๋ว) มากพอสมควร กลุ่มนี้นับถือวานรเทพและเห้งเจียอย่างแพร่หลาย จึงสันนิษฐานได้ว่า ความศรัทธาในเห้งเจียเข้ามาในไทยพร้อมเรือสำเภาทะเลผ่านการล่องเรือจากทางตอนใต้ของจีน มาสู่ท่าเรืออ่าวไทย เช่น ชลบุรี สงขลา ภูเก็ต สำหรับภูเก็ตแล้วเป็นพื้นที่ซึ่งมีชาวฮกเกี้ยนอาศัยอยู่มาก เมื่อไปสำรวจพื้นที่เหล่านี้จะพบเห็นศาลเจ้าเห้งเจียจำนวนมาก

           อ่านเพิ่มเติม :  ชาวจีนในไทยมาจากไหน เปิดประวัติการอพยพยุคแรกเริ่ม ถึงการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

          ส่วนเส้นทางในเชิงตำนานมีหลากหลายกันไป เมื่อพิจารณาจากความเชื่อและลักษณะของเห้งเจียที่มีอิทธิฤทธิ์พิสดารของเห้งเจีย จรัสศรี บรรยายว่า กลุ่มผู้นับถือมักอธิบายด้วยเรื่องเล่าอันพิสดาร อาทิ ผู้คนบางท้องที่ในไทยหยิบยกสถานที่สำคัญในเรื่องไซอิ๋วมาปรากฏในเมืองไทย อาทิ พระอุโบสถชื่อ “ลุ่ยอิมยี่” (วัดเหลยอินชื่อ) ที่ประทับของพระพุทธเจ้าในเรื่องไซอิ๋ว เป็นชื่อสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่วัดพระพุทธบาท สระบุรี ชาวบ้านในท้องที่สระบุรีกลุ่มหนึ่งจะเชื่อกันว่า วิญญาณทุกดวงที่ล่องหนในที่ใดก็ตามจะมาประทับตราต่ออายุที่วัดเหลยอินซื่อที่สระบุรี หรือกรณีอุโบสถ “ซีเทียนฝอ” หรือ “พุทธชมพูทวีป” จุดหมายที่เห้งเจียกับคณะเดินทางไปอาราธนาพระไตรปิฎก

          สิ่งเหล่านี้ย่อมสะท้อนคุณค่าทางความคิดของชาวบ้านและยังแสดงถึงความศรัทธาและความแพร่หลายของเจ้าพ่อเห้งเจียในเมืองไทยอีกด้วย สำหรับพื้นที่ที่ปรากฏเทพเจ้าเห้งเจียอย่างแพร่หลายย่อมมีชื่อภูเก็ตด้วย โดยจรัสศรี อธิบายว่า เห้งเจียเป็นเทพขวัญใจของคนหนุ่ม คนทรงเห้งเจียมักเป็นกลุ่มวัยรุ่น




          อ้างอิง:   จรัสศรี จิรภาส. เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547
          เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 3 ตุลาคม 2563

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เห้งเจีย ลิงในนิยายไซอิ๋ว กลายเป็นเทพที่คนจีนกราบไหว้ และแพร่เข้าไทยได้อย่างไร
สุขใจ ห้องสมุด
ใบบุญ 0 535 กระทู้ล่าสุด 31 มีนาคม 2565 11:22:02
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.428 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มกราคม 2567 22:22:24