[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 13:27:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทูตชาดก ว่าด้วยการบอกความทุกข์แก่ผู้ที่ควรบอก  (อ่าน 1024 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2564 20:25:13 »



ทูตชาดก


ทูตชาดก ว่าด้วยการบอกความทุกข์แก่ผู้ที่ควรบอก

พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหาร ทรงปรารภการสรรเสริญปัญญาของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันถึงถ้อยคำปรารภพระคุณของพระศาสดาในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูความเป็นผู้ฉลาดในอุบายของพระทศพลเถิด พระองค์แสดงนางอัปสรทั้งหลาย แก่นันทกุลบุตร แล้วประทานพระอรหัต ทรงประทานผ้าเก่าแก่พระจุลปันถกะ แล้วประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ทรงประทานดอกปทุมแก่นายช่างทอง แล้วประทานพระอรหัต พระองค์ทรงแนะสัตว์ทั้งหลายด้วยอุบายต่างๆ อย่างนี้

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั้น ที่ตถาคตเป็นผู้ฉลาดในอุบาย โดยรู้อุบายว่า นี้เป็นดังนี้ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็เป็นผู้ฉลาดในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ชนบทไม่มีเงินใช้ เพราะพระเจ้าพรหมทัตทรงบีบบังคับชาวชนบท ขนเอาทรัพย์ไปหมด ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกคาม ครั้นเจริญวัยแล้ว ได้ไปเมืองตักกศิลา กล่าวกะอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าจักเที่ยวขอเขาโดยธรรม แล้วจักนำเอาทรัพย์มาให้อาจารย์ภายหลัง แล้วเริ่มเรียนศิลปศาสตร์ ครั้นเรียนสำเร็จสอบไล่ได้แล้ว จึงบอกอาจารย์ว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมจักไปนำทรัพย์ค่าจ้างสอนมาให้ท่าน แล้วออกเที่ยวไปตามชนบทแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทองคำเจ็ดลิ่ม จึงคิดว่าจักนำไปให้อาจารย์

ในระหว่างทางได้ลงสู่เรือเพื่อข้ามแม่น้ำคงคา เรือโคลงไปมาในแม่น้ำนั้น ทองคำของพระโพธิสัตว์ก็ตกน้ำ พระโพธิสัตว์คิดว่า เงินเป็นของหายาก เมื่อเราจะเที่ยวแสวงหาทรัพย์ค่าจ้างสอนตามชนบท ก็จักเนิ่นช้า อย่ากระนั้นเลย เราควรนั่งอดอาหารอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี่แหละ พระราชาจักทรงทราบความที่เรานั่งอยู่โดยลำดับ ก็จักส่งพวกอำมาตย์มา เราจักไม่พูดจากับพวกอำมาตย์เหล่านั้น ลำดับนั้น พระราชาก็จักเสด็จมาเอง เราจักได้ทรัพย์ค่าจ้างสอนในสำนักของพระราชาด้วยอุบายนี้ คิดดังนี้แล้ว ห่มผ้าสาฎกเฉวียงบ่า เอายัญและสายสิญจน์วงไว้โดยรอบ นั่งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาประดุจรูปปฏิมาทองคำบนพื้นทราย ซึ่งมีสีดังแผ่นเงินฉะนั้น

มหาชนเห็นพระโพธิสัตว์นั่งอดอาหารอยู่ จึงถามว่า ท่านนั่งเพื่ออะไร พระโพธิสัตว์มิได้กล่าวแก่ใครๆ วันรุ่งขึ้น ผู้ที่อยู่บ้านใกล้ประตูพระนคร ได้ฟังว่าพระโพธิสัตว์นั่งอยู่ที่นั้น จึงพากันไปถามอีก แต่พระโพธิสัตว์ก็มิได้กล่าวแม้แก่ชนเหล่านั้น ชนเหล่านั้นเห็นความลำบากของพระโพธิสัตว์ ก็พากันคร่ำครวญหลีกไป ในวันที่ ๓ ชาวพระนครพากันมา ในวันที่ ๔ อิสรชนพากันมาจากพระนคร ในวันที่ ๕ ราชบุรุษพากันมา ในวันที่ ๖ พระราชาทรงส่งพวกอำมาตย์มา พระโพธิสัตว์ก็มิได้กล่าวแม้แก่ชนเหล่านั้น ในวันที่ ๗ พระราชาทรงกลัวภัย จึงเสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า

[๑๗๗๗] ดูกรพราหมณ์ เราส่งทูตทั้งหลายเพื่อท่านผู้เพ่งอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา

ทูตเหล่านั้นถามท่าน ท่านก็มิได้บอกให้แจ่มแจ้ง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ท่านนั้น เป็นความตายของท่านมิใช่หรือ?

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์จะบอกแก่ผู้ที่สามารถจะนำทุกข์ไปได้เท่านั้น ไม่บอกแก่ผู้อื่น แล้วกล่าวคาถา ๗ คาถาว่า

[๑๗๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐกาสีให้เจริญ ถ้าความทุกข์เกิดขึ้นแก่พระองค์ ผู้ใดไม่พึงเปลื้องพระองค์จากทุกข์ได้ พระองค์อย่าได้ตรัสบอกความทุกข์นั้นแก่ผู้นั้น

[๑๗๗๙] ผู้ใดพึงเปลื้องทุกข์ของบุคคลผู้เกิดทุกข์ได้ส่วนเดียวโดยธรรม พึงบอกเล่าแก่ผู้นั้นได้โดยแท้

[๑๗๘๐] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกก็ดี ของนกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากยิ่งกว่านั้น

[๑๗๘๑] อนึ่ง ผู้ใด เมื่อก่อนเป็นผู้ใจดี คนทั้งหลายนับถือว่าเป็นญาติเป็นมิตรหรือเป็นสหาย ภายหลัง ผู้นั้นกลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์รู้ได้ยากอย่างนี้

[๑๗๘๒] ผู้ใดถูกถามเนืองๆ ถึงทุกข์ของตน ย่อมบอกในกาลอันไม่ควร ผู้นั้นย่อมมีแต่มิตรผู้แสวงหาประโยชน์ แต่ไม่ยินดีร่วมทุกข์ด้วย

[๑๗๘๓] บุคคลรู้กาลอันควร และรู้จักบัณฑิต ผู้มีปัญญาว่า มีใจร่วมกันแล้วพึงบอกความทุกข์ทั้งหลายแก่บุคคลผู้เช่นนั้น นักปราชญ์พึงบอกความทุกข์ร้อนแก่ผู้อื่น พึงเปล่งวาจาอ่อนหวานมีประโยชน์

[๑๗๘๔] อนึ่ง ถ้าบุคคลอดกลั้นความทุกข์ของตนไม่ได้ก็พึงรู้ว่า ประเพณีของโลกนี้ จะมีเพื่อถึงความสุขสำหรับเราผู้เดียวไม่ได้ นักปราชญ์เมื่อเพ่งเล็ง หิริและโอตตัปปะอันเป็นของจริง พึงอดกลั้นความทุกข์ร้อนไว้ผู้เดียวเท่านั้น

พระมหาสัตว์ครั้นแสดงธรรมถวายพระราชาด้วยคาถา ๗ คาถาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความที่ตนแสวงหาทรัพย์เพื่ออาจารย์ได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ว่า

[๑๗๘๕] ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ต้องการจะหาทรัพย์ให้อาจารย์ จึงเที่ยวไปทั่วแว่นแคว้น นิคม และราชธานีทั้งหลาย

[๑๗๘๖] ขอกะคฤหบดี ราชบุรุษ และพราหมณ์มหาศาลได้ทองคำ ๗ ลิ่ม ทองคำ ๗ ลิ่มของข้าพระองค์นั้นหายเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเศร้าโศกมาก

[๑๗๘๗] ข้าแต่พระมหาราชา บุรุษผู้เป็นทูตของพระองค์เหล่านั้น ข้าพระองค์คิดรู้ด้วยใจว่า ไม่สามารถจะปลดเปลื้อง ข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่บอกแก่บุรุษเหล่านั้น

[๑๗๘๘] ข้าแต่พระมหาราชา ส่วนพระองค์ ข้าพระองค์คิดรู้ด้วยใจว่า พระองค์สามารถจะปลดเปลื้องข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ

พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า

[๑๗๘๙] พระราชาผู้บำรุงรัฐกาสีให้เจริญ มีพระฤหทัยเลื่อมใส ได้พระราชทานทองคำ ๑๔ แท่ง แก่พระโพธิสัตว์นั้น

พระมหาสัตว์ถวายโอวาทแก่พระราชาแล้ว ให้ทรัพย์แก่อาจารย์ บำเพ็ญกุศล มีทานเป็นต้น แม้พระราชาก็ดำรงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ครองราชสมบัติโดยธรรม แล้วชนทั้งสองก็ไปตามยถากรรม

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตเป็นผู้ฉลาดในอุบาย แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็เป็นผู้ฉลาดในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ อาจารย์ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนมาณพ คือเราตถาคตนั่นแล...จบทูตชาดก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.726 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 07:39:14