02 มิถุนายน 2566 21:27:15
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
นั่งเล่นหลังสวน
สุขใจ ไปรษณีย์
.:::
ทำไมถึงเรียก “ข้าวสวย” และความหมายที่ควรจะเป็นของคำนี้คืออะไร?
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: ทำไมถึงเรียก “ข้าวสวย” และความหมายที่ควรจะเป็นของคำนี้คืออะไร? (อ่าน 316 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2184
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
ทำไมถึงเรียก “ข้าวสวย” และความหมายที่ควรจะเป็นของคำนี้คืออะไร?
«
เมื่อ:
13 ธันวาคม 2564 19:28:29 »
Tweet
ทำไมถึงเรียก “ข้าวสวย” และความหมายที่ควรจะเป็นของคำนี้คืออะไร?
ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ 2554
ผู้เขียน - วีระพงศ์ มีสถาน
เผยแพร่ - วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2564
กรอบแนวคิดรวบยอด (
concept
) ของคนวัฒนธรรมไท มักคิดเปรียบเพื่อจําแนกสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น สูง-ต่ำ, ดํา-ขาว, หน้า-หลัง, อ่อน-แข็ง, มืด-แจ้ง, ซ้าย-ขวา, ไพร่-เจ้า, ฟ้า-ดิน ดังนี้เป็นต้น
วัฒนธรรมของชาวสยามรวมถึงหมู่กลุ่มของผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านละแวกเอเชียอาคเนย์นี้ เป็นคนที่บริโภคข้าวโดยตรง คือนํามาหุง ต้ม นึ่ง ไม่นําไปทําเป็นโรตี หรือขนมปัง มีบ้างที่นําไปทําเป็นเส้นอย่างทําขนมจีนหรือทําเป็นเส้นหมี่อย่างวัฒนธรรมมอญหรือจีน แต่ก็ยังถือว่าเป็นคนบริโภคข้าว
คนตระกูลไทก็จําแนกข้าวออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือข้าวเหนียว กับข้าวเจ้า จ้าว (ซึ่งเคยกล่าวไว้ในศิลปวัฒนธรรมว่า เจ้า/จ้าว ในภาษาไทยใหญ่ยังเหลือค้างความหมายที่แปลว่า ร่วน หรือ ซุย)
แต่เพราะคําว่า เจ้า/จ้าว ซึ่งมีความหมายว่าร่วน หรือ ซุย นี้ ชาวไทยภาคกลางของประเทศไทยไม่ได้นําไปใช้ในปริบทอื่น นอกเสียจากผูกติดอยู่หลังคําว่า ข้าว เรียกว่าเป็น คําที่เกิดควงกันเสมอ จนถึงขั้นมีการตีความไปว่า ข้าวเจ้า เป็นข้าวของผู้นําหรือของกษัตริย์หรือบรรดาเจ้ากิน
เมื่อ
เจ้า
ตรงข้ามกับ
ไพร่
ตามครรลองของภาษาในสังคมไทย จึงเกิดความเข้าใจไปอีกว่า ข้าวเหนียวก็พึงเป็นข้าวที่พวกไพร่กิน เรียกว่าเป็นการจับคู่เทียบความหมายที่ไม่แยแสปริบทวัฒนธรรม และความเป็นจริงทางธรรมชาติกันเลยทีเดียว
หากดูตามแนวอรรถศาสตร์อันเป็นวิชาว่าด้วยเรื่องของความหมาย ถ้านําเอาความหมายของคําว่า (ข้าว)
เจ้า
ซึ่งแปลว่า ซุย หรือ ร่วน ไปเรียกเป็นชื่อ ข้าว ก็จะได้อีกชื่อหนึ่งว่า ข้าวซุย หรือ ข้าวร่วน ได้ แต่คําพูดของคนในสังคมไทยภาคกลางไม่พากันเรียกขานเช่นนี้ มีแต่เรียกข้าวเจ้ากันเรื่อยมา เมื่อคน ส่วนใหญ่เรียกเช่นนี้ก็เกิดการรับรู้กันทั่วไป
คําว่า
ซุย
มีความหมายคล้ายคํา ว่า ร่วน คือมีลักษณะไม่เกาะกันหนีบ เหนียว อย่างเช่นการพรวนดินให้ซุย เป็นต้น ซึ่งคํานี้สันนิษฐานว่าเป็นที่มา ของคําว่า สวย ในคําว่า ข้าวสวย และ คําว่า
ซุย
กับ
สวย
มีส่วนที่พ้องกันใน ทางสัทศาสตร์หลายประการ ดังนี้
ตัวอักษร ซ และ ส เป็นหน่วยเสียง (
phoneme
) เดียวกันคือ /
s
/ ซึ่ง อักษรตัว ช เป็นอักษรต่ํา ส่วนตัว ส เป็นอักษรสูง คือมีลักษณะเสียงวรรณยุกต์จัตวาติดตรึงอยู่ประจําตัวเองเสมอ เมื่อไปประสมสระยาว หรือไปอยู่ในรูปคําเป็นก็จะแสดงค่าเป็นระดับวรรณยุกต์จัตวาอยู่ร่ำไป โดยไม่ต้องทําเครื่อง หมายจัตวามากํากับ เช่น สี สอย สวย สาง สิน เป็นต้น
ซุย และ สวย มีหน่วยเสียง พยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) ด้วยหน่วยเสียงเดียวกัน คือ (/
y
/ หรือเสียง /ย/
ซุย ประสมด้วยสระ อุ หรือ หน่วยเสียงสระ /
u
/
ส่วน สวย ประสมด้วยสระ อัวะ หรือ สระอัว ในทางสัทศาสตร์ถือเป็นหน่วยเสียงสระประสมระหว่างสระ อุ กับสระ อะ (ถ้าเป็นเสียงสั้น) หรือสระ อุ กับสระ อา (ถ้าเป็นเสียงยาว) เมื่อเขียนสัทอักษร มักเขียนด้วยหน่วยเสียงสระ /
ua
/ ถ้าเปล่งเสียง อุอะ เร็วๆ ก็จะเป็น อัวะ ถ้าเปล่งเสียง อุอา หรือ อูอา ก็จะเป็น อัว อย่างไรก็ดี แม้ว่าทั้ง 2 คำจะประสมด้วยสระที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นแก่นของฐานเสียงสระเดียวกันคือ หน่วยเสียงสระ /อุ/ อีกประการหนึ่งนั้น มีเสียงตัวสะกด /ย/ เหมือนกัน ทําให้ทั้ง 2 คํามีสภาพเป็น คําเป็น
เมื่อเขียน ซุย และ สวย ด้วย สัทอักษร จะได้รูปร่าง /
suy
/ และ /
suay
/ ตามลําดับ
จะเห็นได้ว่า รูปคํา ซุย และ สวย เมื่อเขียนเป็นสัทอักษร หน่วยเสียงหลักๆ ยังคงเหมือนกัน สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในคําว่า สวย คือหน่วยเสียงวรรณยุกต์จัตวา และมีหน่วยเสียงสระ อะ /
a
/ มาประสมกับหน่วยเสียง /
u
/ จึงกลายเป็นสระ อัวะ ไปในที่สุด
เคยได้ยินคนแก่ชาวโคราชถามหลานตัวเล็กว่า “เอ๋งจ๊ะกิ๋นเข่าเหนียวรึเข่าซุย” ครั้นจะกลับไปสอบถามว่ายายคนที่พูดนี้ชื่ออะไร อยู่บ้านไหน ก็เห็นจะลําบาก เพราะได้ยินมาเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว
กล่าวมายาวๆ ด้วยหลักวิชาการนี้ สรุปเป็นคําพื้นบ้านทั่วไปเพียงต้องการบอกว่า สวย ที่เราเรียกกันว่า
ข้าวสวย
นั้น
น่าจะเป็นคําที่กร่อนเสียง หรือ กลายเสียงจากคําว่า ซุย แทนที่จะเรียกว่า ข้าวซุย คนภาคกลางไม่เรียกเช่นนั้น เรากลับเรียกว่า ข้าวสวย
ในการนิยามความหมายเพื่อจัดทําพจนานุกรม เมื่อทําถึงคําว่า สวย จึงควรอธิบายหรือนิยามความหมายตามที่มีการใช้ทั่วๆ ไป อย่างมีการใช้ว่า บ้านสวย คนสวย ฟ้าสวย รถสวย ฯลฯ สวยตรงนี้มีความหมายคร่าวๆ ว่างามนั่นเอง แต่ถ้าจะอธิบายคําว่า สวย ที่ผนวกอยู่ท้ายคําว่า ข้าว เราคนไทยไม่ได้แปลว่า ข้าวงาม หรือ ข้าวสวยดี แต่เราหมายถึง ข้าวเจ้าที่หุงสุกแล้ว พร้อมกินได้
คําหนึ่งๆ ที่มีความหมายเป็นของตัวเอง ควรจะแสดงค่าความหมายได้ในหลายปริบท ถ้ามันแสดงค่าความหมายไม่ได้ นั่นแสดงว่านิยามความหมายไม่ถูกต้อง ดังกรณีนิยามว่า
สวย แปลว่า ไม่เปียก, เรียงเม็ด เช่น ข้าว สวย
(และอีกประการหนึ่ง การนิยามความหมายไม่ควรเติมคําปฏิเสธเป็นความหมายหลัก เช่น เขียว แปลว่า ไม่แดง เช่นนี้ไม่ได้ ไม่ถูกต้องตามหลักการนิยามความหมาย)
ถ้านิยามคํา “สวย” ว่า ไม่เปียก หรือ เรียงเม็ด ได้จริง เมื่อเรานําไปต่อท้ายคําว่า หินสวย ทรายสวย ลูกกวาด สวย ก็จะต้องขับความหมายว่า เรียงเม็ด ออกมาได้
ในการทําพจนานุกรมไทย-ไทย (คือคําศัพท์และความหมายเป็นคําไทย) จึงควรตระหนักถึงความหมายจากค่าของคํา ไม่ควรเร่หาเอาคําแปลไปตาม ปริบทหรือคําที่แวดล้อม แล้วนํามาระบุว่าเป็นความหมายอย่างนั้นอย่างนี้
คําว่า ข้าวสวย จึงควรเป็นลูกคําของคําว่า ข้าว และไม่ควรแปลว่า ข้าว เรียงเม็ด หรือ ข้าวไม่เปียก แต่ถ้าประสงค์จะนิยามความหมายของคําว่า สวย ที่เกิดอยู่ท้ายคําว่า ข้าว ก็ควรอิงหลักการทางความหมายอย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น คือแปลว่า ข้าวร่วน หรือข้าวเจ้าที่หุงหรือนึ่งสุกแล้ว
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ
เริ่มโดย
ตอบ
อ่าน
กระทู้ล่าสุด
ทำไมถึงเรียก ฉะเชิงเทรา ว่า เมืองแปดริ้ว - ชื่อนี้ได้มาจากปลาช่อนจริงหรือ ?
สุขใจ ห้องสมุด
Compatable
0
632
22 สิงหาคม 2564 11:47:11
โดย
Compatable
ทำไมถึงเรียก “ไส้อั่ว”
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ
0
337
02 ธันวาคม 2564 16:13:48
โดย
ใบบุญ
ทำไมถึงเรียก “ข้าวสวย” และความหมายที่ควรจะเป็นของคำนี้คืออะไร?
สุขใจ ห้องสมุด
ฉงน ฉงาย
0
384
04 สิงหาคม 2565 08:24:35
โดย
ฉงน ฉงาย
กำลังโหลด...