[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:16:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดขนอน(หนังใหญ่) อ.โพธาราม จ.ราชบุรี มรดกทางวัฒนธรรมโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  (อ่าน 1118 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 มกราคม 2565 21:09:26 »



กรรมวิธีการสร้างตัวหนังรูป "พระแผลง" (ภาพในท่าแผลงศรของพระอิศวร หรือพระนารายณ์)
ของวัดขนอน จะใช้หนังโคที่ตายขณะตั้งท้อง หรือถูกเสือกัดตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย โดยผู้สร้าง
จะต้องนุ่งขาว ห่มขาว ถือศีลแปด เขียนและลงสีให้เสร็จในวันเดียว มีการถวายเครื่องสังเวยบูชาครู




วัดขนอน (หนังใหญ่)
ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

วัดขนอน ชื่อสามัญ วัดขนอนหนังใหญ่ เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี  สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๓๒๗ หรือก่อนหน้านั้น เดิมชื่อวัด "กานอน" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดกานอน ด้วยเหตุที่มีชื่อเช่นนี้เพราะว่า ที่ดินบริเวณนี้มีป่าไม้แดง ไม้ยาง และมีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่ ได้แก่ เสือ เก้ง กวาง เม่น ลิง ค่าง บ่าง ชะนี นกพันธุ์ต่าง ๆ เช่น นกอ้ายงั่ว นกกาบบัว เป็นต้น แต่มีนกชนิดหนึ่งซึ่งมีจำนวนมากคือ นกกา ในเวลากลางวันจะบินไปอาหารตามลำน้ำแม่กลอง และพักเกาะตามต้นไม้ในวัดซึ่งอยู่ใต้วัดขนอนนี้ประมาณ ๒ กิโลเมตร ในตอนเย็นมักจะกลับมานอนที่วัดขนอน ผู้คนจึงเรียกวัดที่นกกาไปเกาะนี้ว่า วัดกาเกาะ และวัดที่กาไปนอนนี้ว่า "วัดกานอน"

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มักมีข้าราชการทั้งผู้น้อยผู้ใหญ่มาสำรวจและว่าออกว่าราชการในพื้นที่แถบอำเภอโพธารามบ่อย ๆ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นทางชลมารค จากไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีเสด็จตามลำน้ำแม่กลอง ผ่านตลาดบ้านโป่งผ่าน ตลาดโพธารามจนถึงเมืองราชบุรี ท่านพระครูศรัทธาสุนทร (หลวงปู่กล่อม) เจ้าอาวาสวัดขนอน ในขณะนั้นได้กล่าวว่า "อายหลวงท่านว่า ชื่อวัดวาอารามยังเอาชื่อสัตว์มาตั้ง เห็นควรให้เปลี่ยนชื่อจะดีกว่า" ดังนั้นด้วยเหตุนี้ "วัดกานอน" จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดขนอนโปราวาส" ตามสถานที่ที่คอยดักเก็บอากรที่ผ่านเขตซึ่งอยู่ติดกับวัดนั่นเอง ประกอบกับชื่อ "ขนอน" ออกเสียใกล้เคียงกับคำเรียกเดิมจึงไม่มีผู้ใดคัดค้าน และชาวบ้านมักเรียกสั้นๆ ว่า "วัดขนอน" และวัดกาเกาะ ก็เปลี่ยนเป็นวัดเกาะในปัจจุบัน



หนังใหญ่ มหรสพที่เก่าแก่ของไทย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นการแสดงชั้นสูง ที่รวมศิลปะที่ทรงคุณค่าหลายแขนง ได้แก่ ด้านศิลปะการออกแบบลวดลายไทยเชิงจิตรกรรมที่มีความวิจิตรบรรจง ผสมกับฝีมือช่างแกะสลักที่ประณีต เมื่อแสดงก็จะมีการนำศิลปะทางนาฏศิลปืการละครที่เคลื่อนไหวอย่างได้อารมณ์ ตามเนื้อเรื่อง ประกอบกับบทพากย์ บทเจรจา บทขับร้อง ดนตรีปี่พาทย์ ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราว และให้อรรถรสทางศิลปะแก่ผู้ชมได้อย่างสมบูรณ์ การแสดงหนังใหญ่จึงมีคุณค่าทางศิลปะสูงและแสดงถึงอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยได้เป็นอย่างดี

กล่าวกันว่า “หนังใหญ่” มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่หลักฐานการแสดงหนังใหญ่เริ่มมีสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  ในสมัยรัตนโกสินทร์ปรากฏหลักฐานในการแสดงหนังใหญ่ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ว่าทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา เพื่อใช้แสดงเพิ่มขึ้นจากเรื่องรามเกียรติ์ สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) มีหลักฐานการสร้างตัวหนังใหญ่และบทวรรณคดีที่ใช้ในเรื่องรามเกียรติ์ ใช้แสดงหนังใหญ่ชุดพระนครไหว ซึ่งต่อมาได้มีการนำมาเก็บไว้ ณ โรงละครแห่งชาติหลังเก่า แต่ถูกไฟไหม้เกือบหมด สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พบการทำหนังใหญ่ ๒ แห่ง ได้แก่ หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี และหนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี

หนังใหญ่วัดขนอน
หนังใหญ่วัดขนอนมีมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ผู้ริเริ่มในการแกะสลักตัวหนังคือ ท่านพระครูศรัทธาสุนทร (หลวงปู่กล่อม) อดีตเจ้าอาวาส ท่านได้ชักชวนครูอั๋ง ช่างจาด ช่างจ๊ะ และช่างพ่วง มาร่วมกันสร้างตัวหนัง ชุดแรกที่สร้าง คือ ชุดหนุมานถวายแหวน ต่อมาได้สร้างเพิ่มอีกรวม ๙ ชุด ปัจจุบันมีตัวหนัง ๓๑๓ ตัว นับเป็นสมบัติวัดที่ได้ร่วมรักษาสืบทอดกันมาเป็นเพียงวัดเดียวที่มีมหรสพเป็นของวัด มีตัวหนัง และคณะหนังใหญ่ที่สมบูรณ์อยู่ในความอุปถัมป์ของวัดสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ จากอดีตจนถึงปัจจุบันวัดขนอนได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ในการนำหนังใหญ่ไปแสดงเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นคุณค่าในการแสดงและศิลปะในตัวหนังใหญ่ ทรงมีพระราชดำริให้ทางวัดช่วยอนุรักษ์ตัวหนังใหญ่ทั้งหมด และจัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ขึ้นแสดงแทน โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากรรับผิดชอบงานช่างจัดทำหนังใหญ่ทั้งหมด และได้นำหนังใหญ่ชุดใหม่ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘ ณ โรงละครแห่งชาติ และทรงพระราชทานให้วัดขนอนนำมาใช้ในการแสดงต่อไป

สำหรับการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยศิลปากรดำเนินการ โดยได้ปรับปรุงบูรณะหมู่เรือนไทยที่เป็นกุฏิสงฆ์และศาลาการเปรียญ ดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาตัวหนังใหญ่ชุดเก่าอย่างถูกวิธี สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าวิทยาการแขนงนี้แก่ผู้สนใจทั่วไป และใน พ.ศ.๒๕๔๐ –๒๕๔๒ ได้ดำเนินการตกแต่งภายในเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

เดิมทางวัดได้รวบรวมโบราณวัตถุ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัด มีทั้งศาสนวัตถุและข้าวของเครื่องใช้ อาทิ หีบพระธรรม พระธรรมคัมภีร์ พระบฏ เครื่องปั้นดินเผา มีโอ่ง หม้อน้ำ กระโถน กาน้ำชา  เครื่องถ้วยชาม ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเบญจรงค์และลายคราม ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นของใช้ภายในวัดที่ตกทอดสืบกันมา อีกส่วนหนึ่งตามประวัติของวัดขนอนที่เกี่ยวข้องกับด่านขนอน ด่านเก็บภาษีในสมัยโบราณกล่าวว่า เป็นส่วนที่เหลือจากการส่งเข้าท้องพระคลัง ที่นายด่านขนอนได้มอบเอาไว้เป็นสมบัติของวัด หลังจากที่ได้มีการเลิกด่านขนอน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และได้รักษาสืบทอดกันมา นับได้ว่านอกจากหนังใหญ่แล้ว วัดขนอนยังเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้หลากหลายแขนงของชุมชน นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี






ลักษณะตัวหนังใหญ่
ตัวหนังใหญ่  ส่วนมากทำจากหนังโค  นำมาฉลุหรือสลักเป็นภาพตามตัวละครในเนื้อเรื่อง  บางตัวสูง ๒ เมตร  กว้างเมตรเศษ  แบ่งตามลักษณะท่าทาง บทบาท  การกระทำ  ธรรมชาติ ฯลฯ  ได้ดังนี้

๑. หนังเจ้า หรือหนังครู เป็นตัวหนังที่ใช้ในการไหว้ครู มี ๓ ตัว คือ พระฤาษี พระอิศวร หรือ พระนารายณ์ เรียกว่าพระแผลง เพราะเป็นภาพในท่าแผลงศร
๒. หนังเฝ้า หรือหนังไหว้ เป็นภาพหนังเดี่ยว หน้าเสี้ยว พนมมือใช้แสดงตอนเข้าเฝ้า
๓. หนังคเนจร หรือหนังเดิน เป็นภาพหนังเดี่ยว หน้าเสี้ยว อยู่ในท่าเดิน
๔. หนังง่า เป็นภาพหนังเดี่ยว หน้าเสี้ยว อยู่ในท่าต่อสู้เหาะแผลงศร
๕. หนังเมือง เป็นหนังภาพเดี่ยวหรือหลายภาพอยู่ในหนังผืนเดียวกัน โดยมีปราสาท ราชวัง วิมาน พลับพลา ศาลา ตามเนื้อเรื่อง อยู่ในหนังผืนนั้นเรียกหนังพลับพลา หนังปราสาทพูด หนังปราสาทโลม
๖. หนังจับ หรือหนังรบ เป็นหนังที่มีภาพตัวละคร ตั้นแต่ ๒ ตัวขึ้นไป ในหนังผืนเดียวกัน  ส่วนใหญ่เป็นภาพตัวละครในการต่อสู้
๗. หนังเบ็ดเตล็ด เป็นหนังลักษณะอื่น ที่ไม่จัดอยู่ในประเภทที่กล่าวมา แยกได้ดังนี้
     • หนังเดี่ยว  เป็นภาพหนัง ๒ ตัว ตัวหนึ่งพ่ายแพ้การต่อสู้และถูกจับมัด
     • หนังเขน เป็นหนังที่เป็นไพร่พลของกองทัพ
     • หนังเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ที่มีรูปร่างแปลกออกไป

กรรมวิธีการสร้างตัวหนัง
ลวดลายอันอ่อนช้อยและสีสันที่ปรากฎอยู่บนตัวหนังใหญ่  แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ไทยอันทรงคุณค่าอีกอย่างหนึ่งที่บรรพบุรุษไทยสร้างไว้ การสร้างตัวหนังแต่ละตัวย่อมต้องมีความพากเพียร พยายาม เทคนิค วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งงานศิลปะเหล่านี้

การสร้างตัวหนัง กล่าวโดยย่อดังนี้
๑.การสร้างตัวหนังเจ้า  มี ๓ ตัว คือพระฤาษี  จะใช้หนังเสือหรือหนังหมี ของวัดขนอนใช้หนังเสือ รูปพระแผลงจะใช้หนังโคที่ตายทั้งตั้งท้องหรือถูกเสือกัดตายหรือถูกฟ้าผ่าตาย โดยผู้สร้างจะต้องนุ่งขาว ห่มขาว ถือศีลแปด เขียนและลงสีให้เสร็จในวันเดียว มีการถวายเครื่องสังเวยบูชาครู

๒.การสร้างตัวหนังอื่นๆ  โดยทั่วไปจะใช้หนังโค เมื่อฟอกแล้วจะอ่อนม้วนไปมาได้สะดวก ง่ายต่อการฉลุลวดลายต่างๆ และเมื่อแห้งแล้วจะไม่ย่น มีวิธีการฟอกแตกต่างกันไปบ้าง ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนลาย (ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ประกอบ แล้วนำไปแกะสลักลาย ลงสี เคลือบ เพื่อให้คงทน สุดท้ายคือ นำไปผูกกับไม้ตับหนัง หรือไม้คีบหนัง

พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้จัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ทดแทนชุดเก่าที่ชำรุด ทำให้คณะหนังใหญ่วัดขนอนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง วัดขนอนได้กลายเป็นแหล่งอนุรักษ์และเรียนรู้ฝึกฝนศิลปะการทำตัวหนัง การเชิดหนัง การบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการแสดงหนังรวมถึงมีพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ที่เก็บรักษาตัวหนังเก่าแก่ล้ำค่าเอาไว้ ปัจจุบันนี้  ทางวัดได้จัดพิพิธภัณฑ์สถานแสดงนิทรรศการหนังใหญ่ เปิดให้ประชาชนและผู้สนใจเข้าร่วมชมศึกษา พร้อมทั้งการสาธิตการแสดงหนังใหญ่ตลอดจนการฝึกเยาวชนให้เรียนรู้และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ครบทุกกระบวนการ เพื่อสนองโครงการตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สืบต่อไป

หนังใหญ่วัดขนอน  ได้รับรางวัลจากยูเนสโก
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมของยูเนสโกประกาศให้ “การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอน”   ได้รับรางวัลจากองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  หรือยูเนสโก (UNESCO) และได้รับการยกย่องให้เป็น ๑ ใน ๖ ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม (The safeguarding of Intagible Cultural Heritage : ICH) โดยเมื่อวันที่ ๘-๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ องค์กร ACCU (Asia – Pacific Cultural Centre for UNESCO) ได้จัดพิธีมอบเหรียญรางวัล  เกียรติบัตรและการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้แทนชุมชนต่างๆ  ที่ได้รับรางวัลและบรรดาผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมและคณะกรรมการของยูเนสโก ณ โรงแรมโตเกียวไดอิชิ เมืองซึรุโอกะ  จังหวัดยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น ในวาระดังกล่าว พระครูพิทักษ์ศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดขนอนและคณะ เข้าร่วมงานและรับรางวัลดังกล่าว











หนังใหญ่เป็นมหรสพของไทยที่เก่าแก่และเป็นที่นิยมกันมากในสมัยโบราณ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลักฐานเท่าที่พบปรากฏในกฎมณเฑียรบาลว่า สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีหนังใหญ่ และในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีพระบรมราชโองการให้พระราชครูแต่งเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ขึ้นเพื่อให้แสดงหนังใหญ่เพิ่มขึ้นจากเรื่องรามเกียรติ์ที่นิยมเล่นกันอยู่

เหตุที่นำเรื่องรามเกียรติ์มาแสดงเป็นหนังใหญ่คงจะเป็นเพราะว่าเรื่องรามเกียรติ์สนุกสนาน มีทั้งรัก โศก เสียสละ และการรบทัพจับศึก ตัวเอกในเรื่องมีทั้ง พระ นาง ยักษ์ และลิง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนไทย

ที่เรียกมหรสพนี้ว่า “หนัง” เนื่องจากทำจากแผ่นหนังสัตว์ ที่นิยมกันมากคือหนังวัว บางครั้งมีหนังวัวไม่เพียงพอก็อนุโลมใช้หนังควายก็ได้ แต่หนังวัวจะมีคุณภาพดีกว่า เพราะหนังวัวบาง ทำให้การขูดและฉลุฉลักง่ายกว่าหนังควายซึ่งหนาและหยาบ หนังวัวนั้นเมื่อทำเป็นตัวหนังเสร็จแล้ว จะมีความโปรงแสงในตัว เรียกว่า “หนังแก้ว” เวลาเชิดให้แผ่นหนังต้องแสงไฟ จะแลดูสวยงามมากกว่าหนังควาย  

การทำตัวหนังใหญ่นั้น เมื่อได้แผ่นหนังแล้วจะนำไปแช่น้ำปูนขาวหรือน้ำเกลือ หมักไว้นานๆ เมื่อหนังวัวอ่อนนิ่มได้ที่แล้ว นำไปขึงผึ่งแดดให้แห้ง พอหนังวัวเกือบจะแห้งก็ใช้กะลามะพร้าว มีด สิ่ว ขูดพังผืดและขนออกจนกระทั่งแผ่นหนังบาง เรียบสะอาด ต่อจากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งสนิท ใช้ลูกน้ำเต้าหรือใบฟักข้าวถูหนังวัวจนเรียบเป็นมัน แล้วเอาถ่านกาบมะพร้าวหรือใบลำโพงตำละลายน้ำข้าวทาให้ทั่วแผ่นหนังทั้งสองด้าน แผ่นหนังก็จะเป็นสีดำมัน ก็นำมาฉลุฉลักลาย เขียนลวดลายเป็นภาพตัวละครตามท้องเรื่องรามเกียรติ์  เช่น พระ นาง ยักษ์ ลิง ลงไปบนแผ่นหนัง  การเขียนภาพจะเขียนด้วยดินสอขาว เสร็จแล้วจึงลงมือสลักไปตามลวดลาย  หนังที่สลักเป็นตัวนาง ถ้าจะให้แลเห็นเป็นหน้าขาวก็สลักเอาหนังที่เป็นพื้นออก สลักเป็นลายเส้น แสดงวงหน้าและส่วนประกอบของหน้าเป็นเส้นหนัง เรียกว่า “นางหน้าแขวะ”

ตัวหนังที่มีสีดำจะใช้เชิดในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะมีหนังใหญ่อีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า “หนังกลางวัน” ใช้เชิดหน้าจอผ้าขาว ตัวหนังจะมีสีสันสวยงามโดยการระบายสี สีที่ใช้ระบายเรียกว่า น้ำยา มีหลายสี เช่น แดง เขียว เหลือง สีที่ใช้เป็นสีธรรมชาติที่ได้จากการนำมาผสมกัน สีเขียวใช้จุนสีกับน้ำมะนาวทา สีแดงใช้น้ำฝางกับสารส้ม ถ้าเป็นสีเหลืองก็ทาด้วยน้ำฝางแล้วถูด้วยน้ำมะนาว  ลักษณะตัวหนังใหญ่ที่ระบายสี เรียกว่า หนังกลางวัน มีลักษณะคล้ายกับภาพจิตรกรรมฝาหนังเรื่องรามเกียรติ์ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

หลังจากทำตัวหนังเสร็จแล้ว จะต้องใช้ไม้ตับหรือไม้คาบตัวหนัง ซึ่งทำด้วยตับไม้ไผ่ ๒ อัน คาบตัวหนังทั้งด้านซ้ายและด้านขวา แล้วให้เหลือไม้ลงมาทางด้านล่างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สำหรับให้คนเชิดจับไม้ตับนี้นำตัวหนังออกเชิด สำหรับตัวหนังบางตัวที่ทำท่านั่งไหว้ จะมีขนาดเล็กสูงประมาณ ๒ ฟุตเศษ จะใช้ไม้ตับหรือไม้คาบเพียงอันเดียวเท่านั้น

การเล่นหนังของคนในสมัยอยุธยา มิได้ระบุชื่อว่า “หนังใหญ่” คงเรียกแต่คำว่า “หนัง” ดังเช่นวรรณคดีเรื่อง ปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ที่แต่งไว้ในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ประมาณ พ.ศ.๒๒๙๙-๒๓๐๑ บรรยายถึงมหรสพที่แสดงสมโภชพระพุทธบาทในเวลากลางคืนว่า


“ครั้นสุริยเสด็จอัษฎงค์             เลี้ยวลับเมรุลง
ชรอุ่มชรอ่ำอำพร       .[size]
บัดหนังตั้งโห่กำธร           สองพระทรงศร
ฉลักเฉลิมเจิมทอง             .
เทียนติดปลายศรศรสอง       พากย์เพ้ยเสียงกลอง
ก็ทุ่มตะโพนท้าทาย       .
สามตระอภิวันทน์บรรยาย           ชูเชิดพระนารายณ์
นรินทรเริ่มอนุวัน     .
บัดพาลาสองสองขยัน           ปล่อยวานรพัน
ธนาก็เต้าเดียวจร     .
ถวายโคบุตรบมิมรณ์           ปละปล่อยวานร
นิวาสสถานเนาดง”     .

ในกาพย์ฉบังที่พระมหานาค วัดท่าทราย แต่งตามที่ยกมาอ้างนี้ จะเห็นว่าหนังก็คือการแสดงหนังใหญ่นั่นเอง และก็ได้อธิบายวิธีเล่นไว้ด้วยว่ามีการพากย์สามตระ ซึ่งเป็นการเบิกหน้าพระและการแสดงเบิกโรงชุดจับลิงหัวค่ำ ตามวิธีการแสดงหนังใหญ่ที่นิยมแสดงกันมาแต่โบราณ

การเล่นหนังนี้มีแทบทุกชาติในแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดีย ชวา มลายู และเขมร ลักษณะตัวหนังของแต่ละชาติก็ผิดแผกแตกต่างกันไป หนังของไทยที่แสดงกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาคือหนังใหญ่  ส่วนหนังตะลุงนั้น ท่านผู้รู้กล่าวว่าแต่เดิมนิยมเล่นกันทางภาคใต้ มาแพร่หลายทางภาคกลางเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓-๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์





ขอขอบคุณเว็บไซต์ (ที่มาข้อมูล)
- กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
- เที่ยวราชบุรี.com
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
800-22

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2565 13:03:20 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 98.0.4758.102 Chrome 98.0.4758.102


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2565 12:57:25 »

.


เกี่ยวกับวัดขนอน



พระครูศรัทธาสุนทร(หลวงปู่กล่อม)
อดีตเจ้าอาวาสวัดขนอน


พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน ตั้งอยู่ที่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี มีลักษณะเป็นเรือนไทย จัดแสดงนิทรรศการหนังใหญ่ ประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ และกรรมวิธีการแกะสลักตัวหนังใหญ่ มีตัวหนังจำนวน ๓๑๓ ตัวซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงเห็นคุณค่าในการแสดง และศิลปะหนังใหญ่ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นการละเล่นชั้นสูง ตัวหนังมีการแกะสลักลวดลาย ใช้วงมโหรีปี่พาทย์ เป็นเครื่องดนตรีประกอบ พร้อมกับลีลาของคนเชิดประกอบบทพาทย์ และบทร้อง ทรงมีพระราชดำริให้วัดช่วยอนุรักษ์ตัวหนังใหญ่ ซึ่งท่านพระครูศรัทธาสุนทร(หลวงปู่กล่อม) อดีตเจ้าอาวาสวัดขนอนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้สร้างขึ้น นับเป็นวัดเดียวที่มีมหรสพของวัด ตัวหนัง และคณะหนังใหญ่ที่สมบูรณ์อยู่ในความอุปถัมภ์ของวัด และจัดการแสดงหนังใหญ่สืบทอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้ โดยทางวัดได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่เพื่อเป็นแหล่งศึกษา และเรียนรู้รวมถึงจัดแสดงหนังใหญ่ตอนสั้นๆให้นักท่องเที่ยวได้ชมกันในทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์



ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชหนังใหญ่วัดขนอน (พิพิธภัณฑ์วัดขนอน)
แบบเรือนไม้ทรงไทย กว้าง ๑๕.๕๐ เมตร ยาว ๑๙ เมตร จัดแสดงเกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมวงศานุวงศ์และการที่มีต่อจังหวัดราชบุรี และจัดแสดงนิทรรศการหนังใหญ่อายุกว่า ๑๐๐ ปีที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ แสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ และกรรมวิธีการแกะสลักตัวหนังใหญ่





สมุดไทย
สมุดไทย คือเอกสารโบราณที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดต่างๆ เช่น เปลือกปอ เปลือกสา ใยสับปะรด เป็นต้น ทำให้หนาพอสมควรและเป็นแผ่นยาวๆ ติดต่อกันพับกลับมาได้ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เขม่าไฟ หรือถ่านบดละเอียด หรือกาบมะพร้าวเผาไฟในแป้งเปียกทา จะได้กระดาษสีดำ ใช้รองรับการเขียนตัวอักษร การเขียนภาพ การเขียนลายเส้น  สามารถใช้เขียนได้ทั้ง ๒ ด้าน โดยใช้ดินสอขาว และหรดาลเขียน เขียนเรื่องตำรายา กฎหมาย ฤกษ์ยาม สุภาษิตสอนหญิง ตำราเรียน เป็นต้น



สมุดข่อย สมัยอยุธยา สมัยอยุธยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔
สมุดข่อย : ทำจากกระดาษจากกระดาษจากเปลือกของต้นข่อยมาทำเป็นแผ่นกระดาษ ใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  มีลักษณะเป็นแผ่นยาวแผ่นเดียว พับกลีบไปกลับมาเป็นชั้นให้เป็นเล่ม ชั้นหนึ่งเรียกว่า "เผนิก" อ่านว่า ผะ - เหนิก ใน ๑ เล่ม มีราว ๒๐-๔๐ เผนิก ปกสมุดมักหุ้มด้วยหนังหรือผ้า ตกแต่งสวยงาม ขนาดที่นิยมใช้กัน กว้าง ๑๑-๒๐ เซนติเมตร ยาว ๓๔-๗๐ เซนติเมตร

แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ สมุดขาว (กระดาษหนา ขัดเกลี้ยง)  สมุดรองทรง (ขัดไม่เกลี้ยงและไม่หนา)  สมุดร่าง (เล็ก บาง และหยาบ)  สมุดไทยขาว เขียนตัวอักษรด้วยดินสอดำหรือหมึกดำ  สมุดไทยดำ เขียนตัวอักษรลงบนแผ่นสมุดสีดำด้วยรง (ยางไม้สีเหลือง) น้ำฝุ่นดินสอสีขาว และรงทอง (เขียนด้วยรงแล้วใช้ทองคำเปลวปิด เมื่อรงแห้งปัดทองออกจะปรากฏลายทอง)






ภาพพระบฎ
คำว่า "บฎ" มาจากภาษาบาลีว่า ปฏ  ออกเสียงว่า ปะ-ฏะ  หมายถึงแผ่นผ้า ดังนั้นภาพพระบฏจึงมีความหมายว่า รูปของพระพุทธเจ้า หรือเรื่องของพระพุทธเจ้าที่เขียนบนผืนผ้า

ภาพพระบฏเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องจากในสมัยโบราณ การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญนั้น ต้องใช้ทุนทรัพย์และฝีมือช่างจำนวนมาก จึงตกอยู่ในอุปการะของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ การสร้างภาพพระบฏนั้นจึงเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนทุกชนชั้นสามารถถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา หรืออาจเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าปางต่างๆ ไว้เพื่อพกพาเวลาเดินทางไกล





ตาลปัตรพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบตราสัญลักษณ์ เพื่อเป็นแบบปักหน้าพัดรอง (ตาลปัตร) สำหรับถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ในงานพระราชพิธีทักษิณานุประทานในครั้งนั้น โดยทรงออกแบบเป็นรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ (ครุฑ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีใจความตอนหนึ่งกล่าวว่า "...ครุฑพ่าห์ที่เขียนมานี้งามนัก จะว่าไม่ใช่อัดไม่ได้อยู่ท่วงทีกระดิกได้อยู่ เป็นที่พอใจมาก ฉันสังเกตเห็นได้ในดวงตราว่านาคโตอยู่เหมือนกัน แต่หางเห็นจะยาวกว้างออกไปสักหน่อยถ้าจะปักพัดคงจะงาม..."











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2565 13:35:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 98.0.4758.102 Chrome 98.0.4758.102


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2565 13:32:20 »


พระครูศรัทธาสุนทร (กล่อม จนฺทโชโต สกุลเดิม เกิดแก้ว) เป็นชาวบ้านโป่ง ราชบุรี เกิดปีวอก (พ.ศ.๒๓๙๐) มรณภาพเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๕ สิริรวมอายุได้ ๙๕ ปี เดิมท่านอาศัยอยู่ที่บ้านท่าทราย ตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๑ ต่อมาในราว พ.ศ.๒๔๑๖ ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดขนอน

ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด และมีความสามารถหลายด้าน อาทิเช่น ความสามารถในการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค จนได้ชื่อว่า "หมอประจำหมู่บ้าน" ในด้านการก่อสร้างนั้น ท่านเป็นผู้หนึ่งที่เป็นช่างฝีมือหาผู้ใดเปรียบเทียบได้ยาก  ท่านได้สร้างโรงเรียนขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานชาวบ้านขนอน

พุทธศักราช ๒๕๑๖  ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดขนอน
           -            ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวดเมืองราชบุรี และเป็นพระอุปัชฌาย์
พุทธศักราช ๒๕๒๖  ได้เริ่มสร้างตัวหนังใหญ่
พุทธศักราช ๒๔๖๖  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูศรัทธาสุนทร

ท่านเป็นพระเถรานุเถระรูปหนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือในฐานะพระผู้เป็นเกจิอาจารย์ เป็นหมอรักษา เป็นครู เป็นผู้ตัดสินความแทนเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นนายธนาคาร (ชาวบ้านนำเงินมาฝากไว้) เป็นที่พึ่งชาวบ้านในยามเดือดร้อน อีกทั้งท่านยังเป็นผู้มอบมรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะชั้นสูงของชนชาวไทย คือการสร้างและแสดงหนังใหญ่เอาไว้คู่กับวัดขนอน ท่านได้เก็บรักษาสิ่งของที่นายด่านขนอนนำมาถวายไว้เพื่อเป็นสมบัติของวัด ในปัจจุบันทางวัดได้นำมาจัดแสดงไว้ในกุฏิของท่าน เพื่อการศึกษาของอนุชนรุ่นหลังสืบไป



















จิตรกรรมฝาผนังวัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


พระพุทธรูปรอบระเบียงคด วัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2565 13:48:37 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สถานที่ท่องเที่ยว ราชบุรี รวมมิตรสุดยอดที่เที่ยวน่าไป
สุขใจ ไปเที่ยว
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 9 7091 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2556 11:45:59
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
หลวงพ่อห้อง พุทธรักขิโต วัดช่องลม จ.ราชบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 844 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2563 12:54:41
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อหุ่น พุทธสโร วัดเจ็ดเสมียน ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 537 กระทู้ล่าสุด 16 พฤษภาคม 2564 14:12:24
โดย ใบบุญ
ความเป็นมาของใบเสมา
เกร็ดศาสนา
Kimleng 7 944 กระทู้ล่าสุด 09 มีนาคม 2567 14:34:20
โดย Kimleng
ชมเก๋งจีนในวิหาร วัดไทรอารีรักษ์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 48 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2567 18:59:11
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.657 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 10:15:55