[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 15:38:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นาค : องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทย  (อ่าน 444 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.99 Chrome 97.0.4692.99


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2565 13:42:07 »



ภาพถ่ายจาก พระเจดีย์ ศรีวิชัยจอมคีรี ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

นาค
องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทย

นาค เป็นหนึ่งในสัตว์ที่นิยมนำมาประดับสถาปัตยกรรมที่พบทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

คำว่า “นาค” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง สัตว์ในนิยายโบราณ รูปร่างคล้ายงูแต่หัวมีหงอน ความเชื่อเกี่ยวกับนาคในสังคมตะวันออกเรื่องราวของนาคหรืองูใหญ่มีหงอนซึ่งมีอิทธิฤทธิ์นั้นมีปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนที่เป็นเรื่องราวของนาคที่ปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาฮินดูกล่าวได้ว่า นาคมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหรือเหล่าเทพในศาสนาฮินดูหลายองค์ เช่น นาคเป็นสายยัญชโยปวีตของพระอิศวร นาคเป็นแท่นบรรทมของพระนารายณ์ เป็นต้น ส่วนความสัมพันธ์ของนาคกับศาสนาพุทธนั้น มีที่มาจากเรื่องราวในพุทธประวัติตอนที่เกี่ยวข้องกับนาค เช่น พญานาคราชหรือพญามุจลินทร์นาคราชแผ่พังพานปกป้องพระพุทธเจ้า

ทั้งนี้ยังปรากฏข้อความในไตรภูมิพระร่วง บทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไทย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย มีข้อความเกี่ยวกับนาคใน ทุติยกัณฑ์ ติรัจฉานภูมิ ความว่า “แลสัตว์อันเกิดในติรัจฉาภูมินั้น ลางคาบเป็นด้วยอัณฑชโยนิ ลางคาบเป็นด้วยชลามพุชโยนิ ลางคาบเป็นด้วยสังเสทชโยนิ ลางคาบเป็นด้วยอุปปาติกโยนิ แต่สิ่งอันเกิดดั่งนี้ชื่อติรัจฉาน มีอาทิคือว่าครุฑแลนาคสิงห์ช้างม้าวัวควายเนื้อถึก...แต่ฝูงดังนั้นเรียกชื่อว่าติรัจฉาน...ในใต้เขาพระหิมพานต์กว้างได้ ๕๐๐ โยชน์เป็นเมืองแห่งนาคราชจำพวกหนึ่งอยู่แห่งนั้น...”

ความเชื่อของนาคที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธจึงสะท้อนออกมาในรูปแบบของศิลปกรรมเนื่องในศาสนาดังที่พบส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมไทยและเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ทำเป็นราวบันไดทางขึ้นโบสถ์หรือวิหาร ทำเป็นคันทวย นำมาตกแต่งปั้นลม โบสถ์ วิหาร โดยทำเป็นนาคลำยองหรือนาคสะดุ้ง เป็นต้น

อาคารเนื่องในพุทธศาสนาของประเทศไทยที่ปรากฏตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่มีการประดับสถาปัตยกรรมด้วยสัตว์หิมพานต์หรือสัตวในนิยายโบราณ หรือลวดลายอันเป็นมงคลต่างๆ เพื่อแสดงนัยยะสำคัญของการอำนวยพรให้แก่ผู้เข้ามาสักการะศาสนสถาน การนำประติมากรรมนาคมาประดับศาสนสถานเนื่องศาสนาพุทธสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับนาคที่ปรากฏมาแล้วตั้งแต่อดีต

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.249 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 09:41:36