[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 22:31:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประเพณีวันพระ  (อ่าน 318 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2565 15:25:08 »


ขอขอบคุณเว็บไซต์ "วัดป่ามหาชัย" จ.นครพนม (ที่มาภาพประกอบ)

ประเพณีวันพระ

'วันพระ' วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ ๔ วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)

วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุกๆ วัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน ๘ ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) แล้วแต่กรณี

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น ๑๔ ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

ย้อนไปในสมัยต้นพุทธกาล เมื่อพระบรมศาสดามาประกาศพระสัทธรรมใหม่ๆ ในแผ่นดินมคธ ว่ากันว่าสมัยนั้นยังไม่มีระบบระเบียบอะไรมากมาย ศีลและวินัยของพระสงฆ์ยังไม่มากข้อ การเรียนการปฏิบัติธรรมก็เป็นไปแบบสบายๆ พระเจ้าพิมพิสาร จอมกษัตริย์แห่งอาณาจักรมคธ ผู้ครอบครองชมพูทวีปไปกว่าครึ่ง มีศรัทธาปสาทะในบวรพุทธศาสนาถวายพระราชอุทยานสวนไผ่ให้เป็นวัดแรกในพุทธศาสนาเรียกกันว่า "พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน" ท้าวเธอก็ทรงพระวิริยะอุตสาหะบำรุงพระพุทธเจ้าแลหมู่สงฆ์ให้ได้รับความสะดวกในภัตตาหารแลกัปปิยะภัณฑ์อันควรแก่สงฆ์เรื่อยมา

อยู่ต่อมามิช้านาน ท้าวเธอมีเหตุปริวิตกอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับความสามัคคีพร้อมเพรียงในหมู่พุทธบริษัท ๔ ด้วยว่าสมัยนั้นศาสนิกในศาสนาเชนของพระมหาวีระ อันประดิษฐานในแผ่นดินมคธมีระบบระเบียบแบบแผนในเรื่องนี้ปราณีตมากกว่า

กล่าวกันว่า ศาสนาเชน กำหนดให้มีการประชุมของนักบวชและศาสนิกมารวมตัวกันทุกกึ่งเดือน (พระจันทร์เต็มดวง) เพื่อประชุมทำกิจกรรมในศาสนาตามลัทธิความเชื่อของตน

เพราะเหตุปริวิตกในข้อนี้ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนาแห่งมคธ จึงเข้าเฝ้ากราบทูลความดังที่ทรงปริวิตกนี้ถวายแด่พระศาสดา แล้วกราบทูลขอพรต่อพระบรมศาสดาว่า "แต่นี้ไปขอให้พุทธศาสนามีวันพระ หรือ วันธรรมะสวนะ"

พระบรมศาสดาใคร่ครวญด้วยดีแล้วจึงถวายพระพรอนุญาติให้กำหนดมีวันธรรมะสวนะขึ้นในพุทธศาสนา แต่ให้ย่อยกว่ากึ่งเดือน กำหนดให้หมู่สงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมในวันพระ ๑๕ ค่ำ (อย่างที่ปรากฏมีในปัจจุบัน) และวันพระในข้างขึ้น หรือข้างแรม ๘ ค่ำ เพราเห็นเหตุที่ว่าศาสนิกพุทธบริษัทจะได้มาประชุมกันรักษาอุโบสถศีลและเพื่อฟังธรรมอันจะนำประโยชน์มาซึ่งสวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ดังนี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.289 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 01:30:47