[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 10:31:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 [3] 4   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระอภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  (อ่าน 39802 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #40 เมื่อ: 13 กันยายน 2554 15:59:07 »



                 

๔๐. หีนา ธัมมา

     ในลำดับนี้จะได้แสดงในติกมาติกาบทที่ ๔๐ ต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า หีนา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายยังอารมณ์ให้เลวต่ำช้า โดยความอธิบายว่า กามคุณทั้ง ๕ เป็นธรรมอย่างต่ำ กระทำให้สัตว์เลวทราบต่ำช้า สมดังพระบาลีว่า หีโน คาโม โปถุชชะชิโก อะนะริโย แปลว่า ความประกอบในความสุข หีโน เป็นธรรมอันต่ำช้าเลวทราม คาโม เป็นธรรมของชาวบ้าน โปถุชชะนิโก เป็นธรรมของปุถุชน อะนะริโย ไม่ใช่ธรรมของพระอริยเจ้า ดังนี้ โดยความอธิบายว่า กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านี้ เมื่อบุคคลผู้ใดประพฤติให้เป็นไปมากอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านี้ เมื่อบุคคลผู้ใดประพฤติให้เป็นไปมากอยู่ในจิตสันดานแล้ว ก็กระทำให้บุคคลผู้นั้นตกต่ำอยู่ในโลก คือกระทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งสามไม่มีกำหนดชาติ ไม่สามารถจะยกตนให้พ้นจากสังสารทุกข์นี้ได้เพราะเป็นโลกียธรรม ยังสัตว์ให้หมุนเวียนไปต่าง ๆ ไม่อาจจะยังตนให้พ้นจากสังสารทุกข์นี้ได้ ดังบุรุษที่มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในภรรยาซึ่งเป็นชู้กับบุรุษผู้เป็นน้องชาย ครั้นน้องชายฆ่าให้ตายแล้วก็ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม ครั้นตายจากงูเหลือมแล้วก็ไปบังเกิดเป็นสุนัข ครั้นตายจากสุนัขแล้วก็ไปบังเกิดเป็นโค เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเรือนแห่งภรรยานั้น เพราะโทษแห่งกามคุณ ด้วยเหตุฉะนี้จึงเรียกชื่อว่า หีนาธรรม เป็นธรรมอันพระอริยเจ้าทั้งหลาย อันมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน ไม่ได้สรรเสริญว่าเป็นธรรมอันประเสริฐ ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า หีนา ธัมมา ฉะนี้

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #41 เมื่อ: 13 กันยายน 2554 16:04:53 »



                   

๔๒. ปะณีตา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๒ นั้นมีพระบาลีว่า ปะณีตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายประณีต โดยความอธิบายว่า บุคคลที่ตั้งอยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ อันเป็นไปกับด้วยพระไตรสรณคมน์นั้น ประณีตกว่าบุคคลที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ อันเป็นไปกับด้วยพระไตรสรณคมน์ พระสกิทาคาประณีตกว่าพระโสดาบัน พระอนาคาประณีตกว่าพระสกิทาคา พระอรหันต์ประณีตกว่าพระอนาคา พระอัครสาวกประณีตกว่าพระปกติสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้าประณีตกว่าพระอัครสาวกทั้งปวง พระพุทธเจ้าประณีตกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ปณีตธรรม เป็นธรรมละเอียดกว่ามัชฌิมาธรรม มัชฌิมาธรรมละเอียดกว่าหีนาธรรม โดยความอธิบายว่า คนหยาบกับคนละเอียดต่างกัน ธรรมที่ชื่อว่าปณีตธรรมนั้น ได้แก่ธรรมของบุคคลผู้มีสติ ดังเรื่องฉัตตาปาณิอุบาสก ขณะกำลังเข้าเฝ้าและฟังธรรมพระบรมศาดาอยู่นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จมายังที่ประทับของพระพุทธองค์ ฉัตตปาณิอุบาสกจึงคิดว่าเราควรลุกขึ้นต้อนรับพระราชาหรือไม่หนอ หากเราไม่ลุกขึ้นต้อนรับ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็อาจจะทรงกริ้ว แต่หากเราลุกขึ้นต้อนรับ ก็จักได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้ความเคารพพระราชา แต่หาได้เคารพพระบรมศาสดาและพระสัทธรรม (ซึ่งเป็นธรรมอันประณีตกว่า) ไม่ ครั้นคิดแล้วดังนี้ จึงตัดสินใจไม่ลุกขึ้นต้อนรับพระราชา นั่งฟังธรรมในที่อันควรข้างหนึ่งต่อไป แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๔๒ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #42 เมื่อ: 13 กันยายน 2554 16:07:23 »



                 

๔๓. มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา

 ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๔๓ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีทิฏฐิอันผิด เป็นธรรมอันเที่ยงที่จะไปสู่ทุคติ โดยความอธิบายว่า ทิฏฐิอันเห็นผิดนั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ อุฉเฉททิฏฐิ ๑ สัสสตทิฏฐิ ๑ อกิริยาทิฏฐิ ๑ ความเห็นว่าบุญบาปไม่มี หรือเห็นว่าตายแล้วไม่เกิดสูญไป ทั้งนี้เรียกว่า อุฉเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นของเที่ยงไม่กลับกลอกยักย้ายแปรผันเช่นว่าเดียรัจฉานก็เป็นเดียรัจฉาน เดียรัจฉานไม่กลับเป็นมนุษย์ ความเห็นเช่นนี้เรียกชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่ต้องบำเพ็ญบุญกุศล สิ่งใดถึงกำหนดแล้วก็สำเร็จไปเอง ความเห็นเช่นนี้เรียกชื่อว่า อกิริยทิฏฐิ ทิฏฐิทั้งสามประการเหล่านี้เที่ยงที่จะไปสู่อบายภูมิทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา ดังนี้

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #43 เมื่อ: 15 กันยายน 2554 15:51:16 »



                   

๔๔. สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๔ นั้นมีพระบาลีว่า สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีทิฏฐิอันชอบ แลเป็นธรรมอันเที่ยงที่จะไปสู่นิพพาน โดยความอธิบายว่าทิฏฐิอันชอบมีอยู่ ประการ ทุกขเยยญาณัง ความเห็นในปัญจขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นทุกข์ ๑ ทุกขสมุททเยยญาณัง ความเห็นในตนว่าเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ๑ ทุกขนิโรธเยยญาณัง ความเห็นในธรรมว่าเป็นเครื่องดับทุกข์ได้จริง ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเยยญาณัง ความเห็นในพระนิพพานว่าเป็นหนทางดับทุกข์ได้ ๑ ความเห็นทั้ง ๔ ประการนี้แล ท่านเรียกชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐินั้นแปลว่า ความเห็นดี เห็นชอบ ความเห็นดีเห็นชอบนี้แลเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ โดยความอธิบายว่า ความเห็นธรรมของจริงเป็นความเห็นชอบ ความเห็นชอบนั้นก็คือ ความเห็นสมมุติว่าเป็นธรรมไม่จริง ธรรมที่โลกสมมุติตามใจนั้นแล เป็นธรรมไม่จริง เมื่อเห็นตามสมมุติ ถอนสมมุติเสียได้แล้วเรียกว่า วิมุติธรรม ที่เป็นวิมุตติธรรมนี้แล เรียกว่า ความเห็นจริงเห็นชอบ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา ดังนี้

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #44 เมื่อ: 18 กันยายน 2554 16:07:27 »



                     

๔๕. อะนิยะตา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๕ นั้นมีพระบาลีว่า อะนิยะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง บุญก็ไม่เที่ยง บาปก็ไม่เที่ยง โดยความอธิบายว่า ปุถุชนนั้น บุญก็กระทำ บาปก็สร้าง แต่ไม่เที่ยงที่จะไปสู่สวรรค์ และไม่เที่ยงที่จะไปสู่นรก เพราะไม่เป็นใหญ่เมื่อเวลาใกล้จะตาย ถ้าบุญส่งให้ก็ไปสวรรค์ ถ้าบาปส่งให้ก็ไปนรก เพราะเหตุฉะนี้จึงแปลว่า เป็นธรรมไม่เที่ยง ในเวลาอสัญกรรมใกล้จะตาย เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะนิยะตา ธัมมา ฉะนี้ฯ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๔๕ ก็ยุติแต่เพียงเท่านี้

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #45 เมื่อ: 18 กันยายน 2554 16:24:53 »



                       

๔๖. มัคคารัมมะณา ธัมมา

    ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๔๖ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า มัคคารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีพระอริยมรรคเป็นอารมณ์ โดยความอธิบายว่า ธรรมดาว่าพระอริยเจ้าก็ย่อมยินดีแต่ในหนทางของพระอริยเจ้า เหมือนหนึ่งพระโสดาบันท่านก็ยินดีในธรรมที่ท่านละไว้แล้ว ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ ความถือตัวถือตน ๑ วิจิกิจฉา ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ๑ สีลัพตปรามาส ความลูบคลำในวัตรปฏิบัติอย่างอื่น ๆ ๑ การละธรรมทั้งสามประการนี้เป็นอารมณ์แห่งพระโสดาบันบุคคล พระสกิทาคาก็มีอารมณ์ ๕ พระอนาคาก็มีอารมณ์ ๗ พระอรหันต์ก็มีอารมณ์ ๑๐ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า มัคคารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #46 เมื่อ: 18 กันยายน 2554 16:33:16 »



                   

๔๗. มัคคะเหตุกา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๗ นั้นมีพระบาลีว่า มัคคะเหตุกา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องอุดหนุนแก่พระอริยมรรค โดยความอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พระอริยมรรคนั้น มีอยู่ ๓ ประการ ธรรมทั้ง ๓ ประการนั้นก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลนั้นแปลว่า ละเสียจากบาป สมาธินั้นแปลว่า จิตถอนจากบาป ตั้งอยู่ในที่ชอบ ไม่ตกไปในบาป ปัญญานั้นแปลว่า รู้จักกิเลส เครื่องเศร้าหมองไม่มีในจิต จิตไม่ตกไปในกิเลส ความที่รู้ว่ากิเลสเครื่องเศร้าหมองไม่มีในจิต ดังนี้ เรียกชื่อว่า ปัญญา ธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้แล เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พระอริยมรรค หรืออีกประการหนึ่ง ความเห็นเป็นพระไตรลักษณญาณก็จัดว่าปัญญาในที่นี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า มัคคะเหตุกา ธัมมา ฉะนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #47 เมื่อ: 18 กันยายน 2554 16:36:04 »



                   

๔๘. มัคคาธิปะติโน ธัมมา   

    ในบทที่ ๔๘ นั้นมีพระบาลีว่า มัคคาธิปะติโน ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นใหญ่ในทางที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพานนั้นก็ได้แก่นิสัยที่แก่กล้า จึงจะดำเนินไปสู่พระนิพพานได้ ถ้านิสัยไม่แก่กล้าแล้ว ก็ดำเนินไปไม่ได้ ธรรมที่เป็นใหญ่ในที่นี้ก็ได้แก่ที่นิสัยอย่างต่ำเพียงแสนมหากัปป์ อย่างยิ่งเพียง ๑๖ อสงไขย ถ้ายังไม่ครบก็ยังเป็นไปไม่ได้ บุคคลที่มีบารมีอ่อนแอ มีนิสัยอ่อนแออยู่นั้น ก็ได้แก่พระจุลกาลได้บรรพชาแล้วก็ต้องสึกออกไปเป็นฆราวาสอีก ดังนี้ บุคคลผู้มีนิสัยบารมีเป็นใหญ่ในที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพานได้นั้น ก็ได้แก่พระมหากาลผู้พี่ชายของจุลกาล ฉะนี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๔๘ ก็ยุติลงแต่เพียงเท่านี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #48 เมื่อ: 18 กันยายน 2554 16:38:39 »



                     

๔๙. อุปปันนา ธัมมา

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๔๙ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อุปปันนา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายบังเกิดขึ้นแล้ว โดยความอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นสมมติกิจหรือวิมุตติกิจ ถ้าบังเกิดขึ้นแล้วก็เรียกว่าชื่ออุปันนา ธัมมา ทั้งสิ้น

 พระสกวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า อย่างไรจึงเรียกว่าสมมติธรรม อย่างไรจึงเรียกว่าวิมุตติ?
    พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาว่า ธรรมเหล่าใดที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นธรรมสมมติทั้งสิ้น ธรรมเหล่าใดที่เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นวิมุตติทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่ง โลกเรียกว่า สมมติ พระนิพพานเรียกว่าวิมุตติ ฉะนี้

    พระสกาวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า สมมตินั้นบังเกิดขึ้นแก่ใคร วิมุตตินั้นบังเกิดขึ้นแก่ใคร?
    พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาว่า สมมตินั้นก็เกิดขึ้นแก่นันทมาณพที่ไปกระทำสมัครสังวาสกับนางอุบลวรรณาเถรี จนธรณีสูบเอาไปดังนี้ จึงชื่อว่าสมมติบังเกิดขึ้นแล้ว วิมุตตินั้นก็บังเกิดขึ้นแก่พระยสกุลบุตรเมื่อเวลาไปดูอาการฟ้อนรำแล้วเกิดความเบื่อหน่าย ฉะนั้น แสดงมาทั้งนี้โดยย่อ ๆ พอให้สมกับพระบาลีว่า อุปปันนา ธัมมา ฉะนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #49 เมื่อ: 18 กันยายน 2554 16:43:01 »



                   

๕๐. อะนุปปันนา ธัมมา   

    ในบทที่ ๕๐ นั้นมีพระบาลีว่า อะนุปปันนา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายไม่บังเกิดขึ้นแล้ว โดยความอธิบายว่า บุคคลที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรม แล้วธรรมที่จะนำความสุขมาให้นั้น ก็ไม่บังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น ครั้นดับขันธ์ลงก็คงไปบังเกิดในนรก เช่นอย่างนายจุนทสุกรเป็นต้น ฉะนั้นอีกนัยหนึ่งโดยพุทธประสงค์ว่า อนันตริยกรรม ๕ และ นิวรณธรรม ๕ อย่างนี้ ถ้ามีอยู่ในบุคคลผู้ใดแล้ว มรรคผลธรรมวิเศษสิ่งใด ก็ไม่บังเกิดแก่บุคคลผู้นั้น จัดเป็นสัคคาวรณ์ มรรคาวรณ์ไปดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะนุปปันนา ธัมมา ดังนี้
 
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #50 เมื่อ: 18 กันยายน 2554 16:46:13 »



                 

๕๑. อุปปาทิโน ธัมมา

    ในบทที่ ๕๑ นั้น โดยนัยพระบาลีว่า อุปปาทิโน ธัมมา แปลว่าธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้นแล้ว โดยความอธิบายว่า อุปปาทินธรรม นี้ เป็นธรรมของพระอริยเจ้า เมื่อบังเกิดในบุคคลผู้ใด ก็ยังบุคคลผู้นั้นให้เป็นพระอริยเจ้า ธรรมของพระอริยเจ้านั้นก็คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ธรรมทั้ง ๙ เหล่านี้ ถ้าบังเกิดขึ้นแล้วก็เป็นของแท้ของจริง และเป็นของไม่เสื่อมสิ้นไป อีกนัยหนึ่งท่านประสงค์ว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ก็เรียกชื่อว่า อุปปาทิโน ธัมมา สุดแต่เป็นธรรมบังเกิดขึ้นแล้ว ก็จัดได้ชื่อว่า อุปปาทินธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อุปปาทิโน ธัมมา ฉะนี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๕๑ โดยสังขิตกถาเพียงเท่านี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #51 เมื่อ: 19 กันยายน 2554 09:12:01 »



                 

๕๒. อะตีตา ธัมมา

ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๕๒ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อะตีตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ที่จัดเป็นกุสลา กุศลก็ดี หรือร่างกายที่จัดเป็นธาตุทั้ง ๔ หรือจัดเป็นอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ที่เกิดขึ้นแล้ว และดับสูญไปนั้นก็ดี เรียกชื่อว่า อะตีตา ธัมมา ทั้งสิ้น

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #52 เมื่อ: 19 กันยายน 2554 09:13:31 »



                       

๕๓. อะนาคะตา ธัมมา

 ในบทที่ ๕๓ นั้น พระบาลีว่า อะนาคะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่ยังมาไม่ถึง โดยความอธิบายว่า บุญก็ดี บาปก็ดี ที่บุคคลได้กระทำโดยกายวาจาใจแล้วแลยังไม่เห็นผลนั้น ก็ชื่อว่าอนาคตธรรม หรืออีกนัยหนึ่งว่า สัตว์ที่บังเกิดแล้วและยังไม่ถึงแก่ความตายนั้น ก็เรียกชื่อว่าอนาคตธรรม หรืออีกประการหนึ่ง บุคคลที่สร้างบารมียังไม่เต็มที่และมรรคผลธรรมวิเศษก็ยังไม่เกิดมีนั้น ก็เรียกชื่อว่าอนาคตธรรมเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะนาคะตา ธัมมา ฉะนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #53 เมื่อ: 19 กันยายน 2554 09:15:34 »



                   

๕๔. ปัจจุปปันนา ธัมมา

   ในบบที่ ๕๔ นั้น โดยพระบาลีว่า ปัจจุปปันนา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยความอธิบายว่า ธรรมที่เป็นปัจจุบันนั้นก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เห็นอยู่เฉพาะหน้านี้แลชื่อว่า ปัจจุบันธรรม โดยความเป็นจริงก็คือไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมีความดับไปเป็นธรรมดาและเป็นทุกข์เหลือที่จะทน จนตั้งอยู่ไม่ได้ต้องดับไป ไม่มีวิสัยที่จะฝ่าฝืน และไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านผู้ใด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้แลเป็นปัจจุบันธรรม แลเป็นวิปัสสนาปัญญา เป็นธรรมที่คงทนต่อความเพียร เมื่อบุคคลผู้ใดเห็นปัจจุบันธรรมคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ให้แจ้งชัดแล้ว บุคคลผู้นั้นก็จัดเป็นผู้สามารถจะยังศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ขึ้นในตนได้ เพราะอารมณ์ของปัจจุบันธรรมนั้นน้อย  ย่อมเป็นอารมณ์อันสะดวกดี

ปัจจุบันธรรมนี้ เมื่อบุคคลผู้ใดมารู้แจ้งเห็นชัดตามความเป็นจริงอย่างไรแล้ว บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้ไม่ฝ่าฝืนและไม่ต้องแก้ไขยักย้าย เมื่อเป็นอยู่อย่างไรก็รู้ตามเห็นตามไปอย่างนั้น ก็เป็นทางสัมมาทิฏฐิปฏิบัติอยู่เอง เพราะมารู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างไร ย่อมถูกต้องตามพระพุทธประสงค์ซึ่งพระองค์ทรงบัณฑูรเทศนาไว้ว่า อะสังหิรัง อะสังกุปปัง แปลว่า ธรรมไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน และเป็นธรรมไม่กำเริบจลาจล เป็นธรรมทนต่อความเพียรจริงดังนี้ ปัจจุบันธรรมนี้แล เป็นมัชฌิมาปฏิปทา หนทางปฏิบัติอย่างกลาง เมื่อจะสันนิษฐานตามนัยพระสุตตันตโวหารแลวินัยบัญญัติ ปรมัตถ์ ๔ ธรรมทั้ง ๓ ปิฎก ที่พระองค์ทรงตรัสสอนพระปัญจวัคคีย์ภิกขุนั้น ก็มีพระพุทธประสงค์จะให้เห็นตามความที่เป็นจริง โดยสภาพอันเป็นปัจจุบันนี้เอง เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า ปัจจุปปันนา ธัมมา ฉะนี้ แก้ไขมาในติกาติกาบทที่ ๕๔ ก็ยุติลงแต่เพียงเท่านี้ฯ
 
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #54 เมื่อ: 19 กันยายน 2554 09:16:52 »



                   

๕๕. อะตีตารัมมะณา ธัมมา

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๕๕ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อะตีตารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีอดีตเป็นอารมณ์ โดยเนื้อความว่า บุคคลมาระลึกถึงทานศีลที่ตนได้บำเพ็ญไว้แล้วให้เป็นอารมณ์ว่า ทานที่เราได้ให้แล้วด้วยตัดรากมัจฉริยตระหนี่เสียได้ แลจิตของเราก็เป็นจิตบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากโลภมัจฉริยธรรมแล้ว แลจัดเป็นจาคานุสสติ แปลว่าระลึกถึงกิเลสที่ตนละได้แล้ว ดังนี้ก็ดี หรือสีลานุสติ แปลว่าระลึกถึงศีลที่รักษาแล้ว ด้วยละโลภะ โทสะ โมหะ เสียได้ แลจิตของเราก็เป็นจิตผ่องใส สะอาด ปราศจากอภิชาพยาบาทได้แล้วดังนี้ก็ดี บุคคลมาระลึกถึงคุณแห่งทาน ศีล เป็นต้น ที่ตนได้บำเพ็ญไว้แล้วก็ดี ก็จัดได้ชื่อว่าอตีตารมณ์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะตีตารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #55 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2554 18:56:38 »



                   

๕๖. อะนาคะตารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๕๖ นี้มีพระบาลีว่า อะนาคะตารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีอนาคตเป็นอารมณ์ โดยเนื้อความว่า บุคคลมาคิดถึงตนว่า นัตถิ ญาณัง อะปัญญัสสะ คุณะสัมปัตติ สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นต้นว่าญาณหรือปัญญาก็ดียังไม่มีแก่เรา เราก็ยังไม่ได้ไม่ถึงซึ่งคุณธรรมอะไร ยัมหิ ญาณัญจะ ถ้าเรามีญาณมีปัญญาแล้วไซร้ นิพพานัง สันติเก ก็จะได้ชื่อว่า เราเป็นผู้นั่งใกล้กับพระนิพพาน ดังนี้ เมื่อบุคคลมาคิดถึงแต่ความโง่ของตนขึ้นแล้ว แลมาอุตสาหะบำเพ็ญฌาณสมบัติ แลวิมุตติญาณทัสสนะ คือความรู้แจ้งเห็นชัดในพระนิพพานธรรม เพื่อจะให้บังเกิดในตน ดังนี้ ก็จัดได้ชื่อว่า อนาคตารมณ์ สมกับพระบาลีว่า อะนาคะตารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #56 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2554 18:58:41 »



http://i80.photobucket.com/albums/j199/grippini/walking/DSC05124.jpg
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

๕๗. ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๕๗ นั้น โดยนัยพระบาลีว่า ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีปัจจุบันเป็นอารมณ์แห่งจิต โดยเนื้อความว่า บุคคลผู้มาพิจารณาตนว่า ในเวลานี้เรามีความสุขเพราะกุศลวิบาก คือผลแห่งสุจริตทั้ง ๓ ในเวลานี้เรามีความทุกข์เพราะอกุศลวิบาก คือผลแห่งทุจริตทั้ง ๓ ดังนี้ โดยความอธิบายว่าบุคคลผู้มีสติไม่เผลอไปในเวลาเมื่อได้เสวยสุขทุกข์อันบังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าแล้ว เอาวิบากแห่งสุจริตนั้นให้เป็นอารมณ์ ไม่ต้องไปแสวงหาที่อื่นไกล โดยพระพุทธประสงค์นั้นก็คือ ให้พิจารณาในสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้นเอง เรียกชื่อว่า ปัจจุปปันนารัมมะณะธรรม เพราะเป็นธรรมบังเกิดอยู่ที่เฉพาะหน้า ตามอิริยาบถทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๕๗ แต่โดยสังขิตกถาเพียงเท่านี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #57 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2554 19:33:13 »




๕๘. อัชฌัตตา ธัมมา

    ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๕๘ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อัชฌัตตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นภายใน โดยเนื้อความว่า ธรรมที่เป็นภายในนั้น ท่านประสงค์ธรรม ๒ ประการ คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ๑ ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล ๑

    ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลนั้นคือฌาณทั้ง ๕ ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลนั้นคือนิวรณ์ ๕ ธรรมทั้งสองนี้ ก็จัดเป็นอัชฌัตตธรรม บังเกิดขึ้นในภายในอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่งอาการ ๓๒ ซึ่งจัดเป็นดิน ๒๐ น้ำ ๑๒ ลม ๖ ไฟ ๔ เหล่านี้ก็ดี หรือจัดเป็นอายตนะ ๖ คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เหล่านี้ก็ดี จะเรียกว่าชื่อ อัชฌัตติกธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อัชฌัตตา ธัมมา ฉะนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #58 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2554 19:59:03 »




๕๙. พะหิทธา ธัมมา

    ในบทที่ ๕๙ นั้นมีพระบาลีว่า พะหิทธา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอก โดยเนื้อความว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม อันเป็นที่อาศัยของหมู่สัตว์ทั่วไป อันเป็นตะวันดวงพระอาทิตย์ก็ดี จะเรียกว่า เตโชธาตุก็ดี หรือพื้นแผ่นดิน เรียกว่า ปฐวีธาตุก็ดี หรือลมพัดทั่วไปให้ใบไม้ไหว แลลมพายุใหญ่พัดให้ต้นไม้หักล้มลง หรือลมพายุพัดให้น้ำฝนตกลงมาที่เรียกว่า วาโยธาตุก็ดี หรือน้ำทั่วไปซึ่งมีในบึงบางห้วยหนอง เป็นต้น ที่เรียกว่า อาโปธาตุก็ดี หรืออายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เหล่านี้ก็จัดเป็น พาหิระกะธรรม ทั้งสิ้น ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า พะหิทธา ธัมมา ฉะนี้ฯ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #59 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2554 10:57:47 »



                      

๖๐. อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา   

    ในบทที่ ๖๐ นั้นมีพระบาลีว่า อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันมีทั้งภายในและภายนอก โดยเนื้อความว่า ธรรมที่จัดเป็นภายในภายนอกนั้น ก็เป็นเหตุอาศัยซึ่งกันและกันไป ธรรมภายในก็เป็นเหตุให้ละกิเลสภายนอกได้ ธรรมภายนอกก็เป็นเหตุให้ละกิเลสภายในได้ เปรียบเหมือนหนึ่งพระปทุมกุมารได้ทัศนาการเห็นดอกปทุมชาติบัวหลวงแล้ว ก็บังเกิดโยนิโสมนสิการ พิจารณาเห็นโดยพระไตรลักษณญาณแล้ว ก็ได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยอำนาจพระไตรลักษณญาณ แต่ต้องอาศัยธรรมภายนอก คือดอกปทุมชาติบัวหลวงเป็นเหตุก่อน จึงสำเร็จได้ เพราะเหตุนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา ดังนี้
 
    อีกประการหนึ่งความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็จัดเป็น พาหิระกะธรรม เพราะเป็นธรรมเกิดขึ้นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ต้องอาศัยเหตุภายนอกคือมารดาบิดาก่อน จึงจะบังเกิดขึ้นได้ วิญญาณนั้นไซร้เป็นธรรมภายใน มารดาบิดาเป็นธรรมภายนอก ความแก่นั้นก็มี ๒ ประการ คือ ปฏิจฉันนะชรา ความแก่ภายใน ๑ อัปปฏิจฉันนะชรา ความแก่ภายนอก ๑ พยาธิ ความเจ็บกายไม่สบายใจก็มีอยู่ ๒ คือ ความเจ็บปวดบังเกิดขึ้น ความไม่สบายในใจ เจ็บใจ แค้นใจ จัดเป็นอัชฌัตติกธรรมภายใน ความตายเป็นพาหิรกธรรมภายนอก ความตายก็มีอยู่ ๒ ประการ คือ ตายด้วยโรคบังเกิดขึ้นภายในกาย เรียกว่า อัชฌัตตมรณธรรมภายใน ๑ ตายด้วยเครื่องศาสตราวุธ เป็นต้น อันเกิดขึ้นด้วยความเพียรของท่านผู้อื่น เรียกว่า พาหิรกมรณธรรมภายนอก ๑ เพราะเหตุนั้นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้นเหล่านี้ เมื่อจะกล่าวถึงโศกปริเทวทุกข์ต่าง ๆ นั้นแล้ว ก็มีนัยเช่นเดียวอย่างเดียวกัน บางทีบังเกิดแต่เหตุภายในอาศัยเหตุภายนอกก็มี บางทีบังเกิดแต่เหตุภายนอกอาศัยเหตุภายในก็มี เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา นี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๖๐ แต่โดยสังเขปเพียงเท่านี้ฯ

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 2 [3] 4   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เรื่องของใจ (พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร )
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2402 กระทู้ล่าสุด 27 มีนาคม 2554 22:48:43
โดย เงาฝัน
ทางพ้นทุกข์ :หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1841 กระทู้ล่าสุด 30 เมษายน 2555 15:21:03
โดย เงาฝัน
ลางคน วัดก็ไม่เข้า โอวาทธรรม : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
ร้องเหมียวๆ เดี๋ยวก็มา 0 2170 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2558 12:26:52
โดย ร้องเหมียวๆ เดี๋ยวก็มา
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 654 กระทู้ล่าสุด 15 ตุลาคม 2563 16:19:03
โดย ใบบุญ
'ทิพยอำนาจ' แห่งพระอริยเถระ 'หลวงปู่ฝั้น อาจาโร' บันทึกโดย 'หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ'
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
ใบบุญ 0 665 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2565 11:23:29
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.196 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 กุมภาพันธ์ 2567 15:47:04