[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 18:02:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี จ.ลำพูน - จิตรกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรฯ  (อ่าน 901 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5446


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 มีนาคม 2565 12:45:15 »








ความสวยงามของเจดีย์ สถาปัตยกรรมล้านนาผสมพม่าที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
ซึ่งเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของชาวอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน



ถ่ายภาพตัวเองจากเงาสะท้อนกระจกภายในเจดีย์วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


                      จิตรกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
                      วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
                      อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอลี้ อยู่ด้านทิศใต้ของจังหวัดลำพูน ที่มีอาณาเขตติดกับอำเภอเถินจังหวัดลำปาง

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นศาสนสถานที่สำคัญและศูนย์รวมจิตใจของบ้านห้วยต้ม ซึ่งคนในหมู่บ้านเป็นชาวเขาเผ่าปกาเญอะหรือกะเหรี่ยงทั้งหมด บริเวณทางเข้าวัดจะมีอนุสาวรีย์พระครูบาชัยวงศาตั้งอยู่  ภายในมีเอกลักษณ์ที่สวยงามด้วยเอกลักษณ์ล้านนา ทำจากศิลาแลงที่ขุดได้จากบ่อศิลาแลงด้านหลังของวัด สถานที่สำคัญได้แก่ วิหารพระเมืองแก้ว ที่องค์พระธาตุได้รับการตกแต่งอย่างงดงาม เป็นสถานที่บรรจุสรีระทิพย์ของหลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา




ภาพจิตรกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รอบองค์พระเจดีย์ มีทั้งหมด ๓๑ ภาพ



๑. เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เสด็จสวรรคตใน พ.ศ.๒๑๑๑ พระราชโอรสก็เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๑๖ ราชวงศ์ “สุพรรณภูมิ” ทรงพระนามว่า “พระมหินทราธิราช” บ้านเมืองเกิดศึกมากมาย สาเหตุพระเจ้าหงสาวดีต้องการจะยึดกรุงศรีอยุธยา จึงพยายามให้ไทยแตกความสามัคคี ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จ เมื่อพระมหาธรรมราชา ราชบุตรเขยที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์โปรดให้ไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ คือ เมืองพิษณุโลก สิ้นความยำเกรงต่อกรุงศรีอยุธยา หันไปฝักใฝ่กับพม่าแทน พระเจ้าหงสาวดีจึงถือเป็นโอกาสยกกองทัพเข้ามาตีไทยอีกครั้ง เสียเอกราชเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ ทำให้คนไทยได้มีองค์พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงเป็น “มหาราช” พระองค์แรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”




๒. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหาธรรมราชา กับ พระวิสุทธิกษัตริย์ สืบเชื้อสายราชสกุลมาจากราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย  พระราชมารดาเป็นธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ กับ สมเด็จพระสุริโยทัย (วีรกษัตรีย์ที่สิ้นพระชนม์บนคอช้าง เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ  ทรงพระราชสมภพเมื่อปีเถาะ พ.ศ.๒๐๙๘ ณ พระราชวังจันทร์ เมืองพิษณุโลก ขณะยังทรงพระเยาว์มีพระนามสามัญว่า “พระองค์ดำ” ทรงมีพระพี่นางองค์หนึ่งพระนามว่า “พระสุพรรณเทวี” (สุพรรณกัลยาณี) พระอนุชาหนึ่งองค์ พระนามว่า “พระเอกาทศรถ” (พระองค์ขาว)




๓. ก่อนที่พระเจ้าหงสาวดี (บุเรงนอง) จะเลิกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยา ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกพระมหาธรรมราชา เจ้าเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย ครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ ฐานะเมืองประเทศราช  ในเวลาเดียวกันก็ทรงขอพระองค์ดำ ขณะที่ทรงเจริญพระชันษาได้ ๑๓ พรรษาเป็นราชบุตรบุญธรรมให้ตามเสด็จไปประทับ ณ กรุงหงสาวดี ทรงรักใคร่เอ็นดูเสมอด้วยองค์ราชบุตร ได้อุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงไว้อย่างใกล้ชิด ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการต่างๆ ให้มิยิ่งหย่อนไปกว่าราชบุตรองค์ใดของพระองค์




๔. วันหนึ่งในราชสำนัก มีการตีไก่พนันกันขึ้นระหว่างพระองค์ดำกับมังกะยอชวา ปรากฏว่าการตีไก่ในวันนั้นไก่ของพระองค์ดำเป็นฝ่ายชนะ ทำให้มังกะยอชวาทรงเคือง ดำรัสประชดประชันเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออกมาอย่างผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าว่า “ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ”  ฉะนั้น พระองค์จึงทรงดำรัสตอบโต้เป็นเชิงท้าทายอยู่ในทีว่า “ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันเล่นๆ อย่างกีฬาในวังเหมือนเช่นวันนี้เลย จะตีพนันบ้านพนันเมืองกันก็ยังได้” มังกะยอชวาถึงกับอึ้งไปด้วยความละอาย




๕. เมื่อพระองค์ดำทรงเจริญพระชันษาย่างเข้า ๑๙ พรรษา เป็นหนุ่มฉกรรจ์สมควรที่จะเสด็จกลับเมืองไทย มาช่วยรับพระราชภารกิจการบ้านเมืองได้แล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็ทูลวอนขอพระราชโอรสต่อพระเจ้าหงสาวดีให้ทรงอนุญาตพระองค์ดำกลับไปเป็นกำลังในการฟื้นฟูบ้านเมืองที่ยังระส่ำระสาย สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ได้ถวาย “พระสุพรรณเทวี” (สุพรรณกัลยาณี) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่เป็นองค์ประกันแทน




๖. เมื่อพระองค์ดำเสด็จกลับมาประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงแน่พระทัยว่าพระราชโอรสทรงมีพระปรีชาสามารถมาก พอที่จะทรงวางพระราชหฤทัยให้บังคับบัญชากิจการงานเมือง จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนาแต่งตั้งพระองค์ดำขึ้นเป็น พระนเรศวร ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระมหาอุปราช สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก หัวเมืองฝ่ายเหนือ  ส่วนพระองค์ขาวพระราชโอรสพระองค์น้อย เพิ่งจะจำเริญรุ่นพระชันษานั้น โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น “พระเอกาทศรถ” แล้วให้ประทับอยู่ที่พระนครเพื่อรับการฝึกสอนอบรมกิจการงานเมืองไว้เป็นกำลังสำคัญต่อไปในวันข้างหน้า




๗. พระเจ้าหงสาวดีได้กวาดต้อนผู้คนตลอดจนข้าราชการกรุงศรีอยุธยาที่มีความเกลียดชังสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชไปยังเมืองพม่าเกือบทั้งหมด พระนเรศวรจึงต้องหาข้าราชการใหม่ขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบกับพระอุปนิสัยของพระองค์ทรงเป็นนักรบจึงทรงเอาพระทัยใส่เป็นพิเศษในการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ให้มาฝึกเพลงอาวุธ และไม่ทรงละเว้นแม้แต่พระพี่เลี้ยงหรือบุตรหลานของข้าหลวงเดิม บรรดาชาวเมืองเหนือและหัวเมืองใกล้เคียงต่างชื่นชมยินดี พร้อมใจกันให้ความร่วมมือ ต่างก็หวังกันไว้ว่า “พระมหาอุปราช” เมืองพิษณุโลกพระองค์นี้จะต้องนำเอาความเป็นเอกราชกลับคืนมาให้ประเทศไทยอีกครั้ง




๘. เมื่อพระนเรศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกได้ไม่นาน พระเจ้าหงสาวดีมีรับสั่งเกณฑ์ทัพกรุงศรีอยุธยาให้ยกไปช่วยปราบปรามเมืองศรีสัตนาคณหุต (เวียงจันทน์) พระนเรศวรตามเสด็จสมเด็จพระราชบิดาในราชการทัพครั้งนี้ด้วย ระหว่างทางเสด็จยกกองทัพถึง “หนองบัวลำภู” พระนเรศวรทรงประชวรด้วยไข้ทรพิษ ไม่อาจที่จะเสด็จเดินทัพต่อไปได้ พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบก็ใกล้จะเสร็จสิ้นการสงครามแล้ว พระองค์จึงโปรดฯ ให้กองทัพไทยเลิกทัพกลับพระนคร




๙. พระยาจีนจันตุนั้น ได้พยายามสืบเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ทางฝ่ายไทยตลอดเวลา ครั้นได้รู้การงานทั้งปวงในพระนครแล้ว พอสบโอกาสก็ลอบลงเรือสำเภาหนี พระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ลงเรืออีกลำหนึ่งติดตามไป เรือพระที่นั่งได้ตามไปทันเรือพระยาจีนจันตุที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เกิดการยิงต่อสู้กันขึ้น พระนเรศวรดำรัสฝีพายเร่งเรือพระที่นั่งให้พายขึ้นไปข้างหน้าแซงเรือลำอื่น แล้วเสด็จยืน “ทรงพระแสงปืนนกสับ” เป็นปืนใหญ่ทหารราบ มีขาหยั่ง ๒ ขา คล้ายขานกยาง




๑๐. พระทศราชากับพระสุรินทราธิราช เป็นแม่ทัพนำกำลังกองทัพเขมรเข้ามาตีเมืองนครราชสีมาแตก แล้วแบ่งกำลังกองทัพยกมาตีเมืองสระบุรีทัพหนึ่ง หมายจะยึดเอาไว้ในอำนาจอีกเมืองหนึ่ง เมื่อพระนเรศวรทรงทราบจึงทูลอาสาพระบรมชนกนาถนำกำลังทหารเสด็จไปพร้อมกับพระเอกาทศรถ สมทบกับทัพเมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓  พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถนำกองทัพจากนครช่วยตีกระหนาบเข้ามาอีกด้านหนึ่ง ช่วยกันฆ่าฟันทหารเขมรล้มตายลง กองทัพก็แตกยับเยิน




๑๑. ครั้นถึง พ.ศ.๒๑๒๔ พระเจ้าหงสาวดีเสด็จสวรรคต ในเวลาต่อมา พระมหาอุปราชนันทบุเรง เสด็จขึ้นครองราชย์แทน เฉลิมพระนามเดิมว่า “พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง” และทรงสถาปนาองค์ราชบุตร “มังกะยอชวา” เป็น “พระมหาอุปราชมังชัยสิงห์” กรุงหงสาวดีเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บรรดาเจ้าเมืองประเทศราชต่างก็พากันไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่ตามประเพณีที่เป็นเมืองขึ้น พระนเรศวรทรงมีพระชันษาได้ ๒๖ พรรษา จึงทูลอาสาสมเด็จพระชนกเสด็จไปถวายบังคมพระบรมศพแทน ด้วยมีพระประสงค์จะไปฟังเพื่อหยั่งดูท่าทีว่าจะมีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้างในเมืองพม่าเมื่อเปลี่ยนรัชกาลใหม่ ครั้งนั้นเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคัง (เมืองรุม) คิดตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้าหงสาวดีจึงทรงรับสั่งให้พระนเรศวรยกทัพไปปราบ




๑๒. ครั้นถึงกำหนดวันที่พระนเรศวรจะต้องเป็นฝ่ายนำกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเมืองคังบ้าง พระองค์ลอบนำทหารออกจากค่ายไปในเวลากลางคืน มุ่งหน้าไปสู่ที่หมายทางด้านหลังเมืองคังแล้วบุกขึ้นไปสู่ตัวเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ทันให้ทหารไทยใหญ่รู้ตัว พอรุ่งเช้าทหารไทยก็สามารถกรูเข้าในตัวเมือง จับกุมเจ้าฟ้าเมืองคังไว้ได้ เจ้าฟ้าไทยใหญ่จึงได้ยอมจำนน




๑๓. พระเจ้าหงสาวดีทรงวางแผนกำจัดพระนเรศวร โดยแต่งตั้งให้พระยาเกียรติ พระยาราม ขุนนางมอญ จับพระนเรศวรปลงพระชนม์เสีย พระยาเกียรติ พระยาราม ต่างนิยมรักใคร่พระนเรศวรนับแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ จึงไม่เต็มใจที่จะรับปฏิบัติ ชวนกันไปนมัสการพระมหาเถรคันฉ่อง พระอาจารย์ของตน พร้อมกับนำความลับมาขยายให้อาจารย์และพรรคพวกฟัง พอล่วงเข้าเดือน ๖ ปีวอก พ.ศ.๒๑๒๗ พระนเรศวรยกทัพไปถึงเมืองแครง เข้านมัสการพระมหาเถรคันฉ่อง แล้วท่านพิจารณาเห็นว่า พระเจ้าหงสาวดีกษัตริย์พม่าประพฤติปฏิบัติไปในทางมิชอบ ปราศจากทศพิธราชธรรม จึงเรียกหาพระยาเกียรติ พระยาราม ให้เข้ามาเฝ้าพระนเรศวร พระมหาเถรคันฉ่องจึงทูลฝากฝังศิษย์ทั้งสองไว้




๑๔. ทรงประทับนั่งอย่างสำรวมพระอิริยาบถ พอได้เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. อันเป็น “พิชัยมงคลฤกษ์” พระสงฆ์เริ่มสวดมงคลคาถา จึงทรงนำน้ำพระพุทธมนต์อันเป็นมงคล และชัยวารีนั้นบรรจุลงสู่สุวรรณภิงคาร น้ำเต้าทอง ยกขึ้นจบพระเศียรน้อมคารวะ แล้วหลั่งสิโณทกตกต้องพื้นปฐพี ตรัสประกาศแก่เทพยดาอารักษ์ ด้วยพระสุรเสียงอันดังเป็นที่ได้ยินกันทั่ว ทรงประกาศอิสรภาพ ณเมืองแครง วันอังคาร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ จุลศักราช ๙๔๖ (วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๑๒๗)




๑๕. เมื่อการประกาศอิสรภาพสิ้นสุดแล้ว พระนเรศวรก็ทรงนิมนต์พระเถรคันฉ่อง พระภิกษุสงฆ์ พร้อมศิษย์พระยาเกียรติ พระยาราม กรมการเมืองแครง (มอญ) และหัวเมืองใกล้เคียงเข้ารวมเป็นกระบวนเดียว ให้รีบเดินทางข้ามลำน้ำสะโตงล่วงหน้าไปก่อน ส่วนพระองค์จะเสด็จยกกองทัพหลวงออกจากเมืองแครง เมื่อเดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ ตรงไปยังกรุงหงสาวดี




๑๖. พระมหาอุปราชาได้รับหมายรับสั่งให้ติดตามกองทัพพระนเรศวร จึงให้สุรกรรมาเป็นทัพหน้า กองทัพหน้าของสุรกรรมามาทันทัพไทยที่ลำน้ำสะโตง ขณะนั้นพระนเรศวรข้ามลำน้ำสะโตงมาแล้ว พระนเรศวรทรงยิงด้วยพระแสงปืนกลับ ขนาดความยาว ๙ คืบ ไปถูกสุรกรรมา แม่ทัพพม่า ขาดใจตายทันดี ทหารพม่าเสียขวัญ พากันถอยหนี




๑๗. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช โปรดให้พระนเรศวรทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดแทนพระองค์ในการบริหารราชการแผ่นดินและป้องกันพระนคร ทรงตั้งพระมหาเถรคันฉ่องให้ดำรงตำแหน่ง “พระสังฆราช” ว่าการทางฝ่ายพุทธศาสนา รองลงมาจาก “สมเด็จพระสังฆราช” (พระวันรัตน์) พระยาเกียรติ พระยาราม เป็นขุนนางผู้ใหญ่ถือยศเยี่ยงอำมาตย์ราชมนตรีไทย พระราชทานที่ดินบ้านเรือนให้




๑๘. พระยาสวรรคโลก พระยาพิชัย ตั้งตนเป็นใหญ่กระด้างกระเดื่อง ไม่ยอมขึ้นแก่กรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรมีรับสั่งให้ตั้งค่ายประชิดเมืองสวรรคโลก เอาปืนขึ้นตั้งยิงพวกทหารรักษาหน้าที่บนเชิงเทิน เผาประตูเมืองดอนแหลมทางด้านใต้ จนทลายลง กองทัพพระนเรศวรเข้าเมืองได้ จับตัวพระยาสวรรคโลก พระยาพิชัยได้ แล้วรับสั่งให้ประหารทั้งสองคน




๑๙. พิธี “ตัดไม้ข่มนาม” ณ ทุ่งลุมพลี  (พิธีตัดไม้ข่มนามนี้เป็น “พิธีบำรุงขวัญทหาร” เพื่อให้มีความฮึกเหิม กล้าหาญอยู่เสมอ) ตามตำรับโบราณว่า ให้เอาดินใต้สะพาน ดินท่าน้ำ และดินในป่าช้า อย่างละ ๔ แห่ง มาผสมกันปั้นเป็นหุ่นแล้วเขียนชื่อแม่ทัพข้าศึก ลงยันต์พุทธจักรบรรลัยจักรกับชื่อนั้น เอาต้นกล้วยกับต้นไม้ที่พ้องกับนามข้าศึกมาปลุกเสกโรงพิธี แล้วเอาหุ่นผูกกับต้นกล้วย ให้ผูกประกบไว้กับต้นไม้นั้น พราหมณ์สวดพระเวทอัญเชิญพระอิศวร พระนารายณ์ พระวิศวกร ได้ฤกษ์พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระแสงอาญาสิทธิ์ให้ขุนพลไปฟันไม้นามข้าศึก รูปหุ่นกับต้นกล้วยให้ขาดใน ๓ นาที




๒๐. พระเจ้าเชียงใหม่ให้ “ชัยยะกะยอสู” กับ “นันทกะยอสู” เป็นทัพหน้า ยกลงมาตั้งที่ปากน้ำบางพุทรา แขวงเมืองพรม คอยสืบข่าวถึงกองทัพพระยาพสิม เพื่อคิดอ่านกำหนดวางแผนการที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาพร้อมกัน พระนเรศวรทรงทราบว่า กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกลงมา จึงเสด็จยกกองทัพหลวงไปกับพระเอกาทศรถ แล้วตั้งทัพอยู่ ณ “บ้านชะไว” เห็นกำลังข้าศึกมากกว่าจึงคิดเป็นกลอุบายซุ่มกองทัพไว้ในป่าแล้วแต่งเป็นกองโจรออกปล้นฆ่าฟัน แย่งชิงช้าง ม้า พาหนะ ตลอดจนเสบียงอาหาร มิให้เอาไปเลี้ยงกันในค่าย




๒๑. เมื่อเดือน ๓ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาเช้ามืด ๕.๐๐ น. พระนเรศวรเสด็จนำทหารออกจากทำการปล้นค่ายพระยานคร ณ ตำบลพุดเลา ข้าศึกไม่ทันรู้ตัวก็แตกพ่าย รับสั่งให้จุดไฟเผาค่ายพระยานครเสีย แล้วเสด็จคืนพระนคร  เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เวลากลางคืน ทรงพาทหารคู่พระทัยเสด็จเข้าปล้นค่ายข้าศึก ทหารไทยไล่ฟันแทงไปจนถึงค่ายหลวงพระเจ้าหงสาวดี พระนเรศวรเสด็จลงจากหลังม้าแล้วทรงคาบพระแสงดาบนำหน้าทหารขึ้นปีนค่าย (เพนียด) ถูกทหารพม่าใช้ทวนแทงตกลงมาหลายครั้งหลายหน (พระแสงดาบนามว่า “พระแสงดาบคาบค่าย”)




๒๒. ความองอาจเฉพาะพระองค์ของสมเด็จพระนเรศวร ที่แอบปีนค่ายข้าศึกอย่างกล้าหาญ ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงรับสั่งให้ลักไวทำมู นายทหารมีฝีมือคุมทหารออกไปจับเป็นสมเด็จพระนเรศวรให้จงได้ แต่แล้วลักไวทำมูก็กลับถูกพระแสงทวนของสมเด็จพระนเรศวรเสียชีวิตในที่รบ




๒๓. ใน พ.ศ.๒๑๓๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต พระนเรศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา




๒๔. พ.ศ.๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวรฯ ตั้งพลับพลาค่ายหลวง ณ บ้านม่วงหวาน  ใกล้ทุ่งป่าโมก ณ ที่นั้นทรงพระสุบินนิมิตว่า ได้ลุยน้ำไปพบจระเข้ใหญ่ตรงเข้ามาจะทำร้ายพระองค์ แต่ก็ทรงประหารจระเข้นั้นสิ้นชีวิตลงได้ โหรทำนายว่าจะทรงชนะศึกหงสาวดี ด้วยวิธีรบตัวต่อตัว




๒๕. ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถกำลังตกมัน เมื่อเห็นข้าศึกวิ่งหนีจึงไล่ตามอย่างเมามันจนเข้าไปถึงทัพหลวงของพม่า เมื่ออยู่ท่ามกลางข้าศึก สมเด็จพระนเรศวรก็ไม่ได้ตกพระทัยเลยแม้แต่น้อย กลับทรงไสช้างไปท้าพระมหาอุปราชาให้ทำยุทธหัตถีเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ทั้งสองชาติ




๒๖. พระมหาอุปราชาทรงรับคำท้าและไสช้างออกมาชนกับช้างของสมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระนเรศวรทรงต่อสู้กับพระมหาอุปราชาอย่างองอาจกล้าหาญและจ้วงฟันพระมหาอุปราชาด้วยพระแสงของ้าวที่อังสะจนขาดซบสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ทำให้กองทัพพม่าต้องเลิกทัพกลับไป




๒๗. เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการทำศึกครั้งนี้ ภายหลังจึงมีการสร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งขึ้นตรงบริเวณที่ทรงชนช้างชนะพระมหาอุปราชา เจดีย์นี้เรียกว่า “เจดีย์ยุทธหัตถี”




๒๘. ศึกช้างเมืองหงสาวดี แม้ยังเผด็จศึกไม่ได้ราบคาบแต่ก็พอทุเลาลงจากสงครามยุทธหัตถี ทำให้ทรงคิดที่จะจัดการกับพระยาละแวกเมืองเขมร ซึ่งมักลอบซ้ำเติมทัพไทยขณะติดพันศึกหงสาวดี ดังนั้น ใน พ.ศ.๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรฯ จึงให้ยกกองทัพไปตีเมืองเขมร จับนักพระสัฏฐาได้แล้วทรงให้ทำพิธีปฐมกรรมและยกทัพกลับ พร้อมทั้งให้กวาดต้อนครอบครัวเชลยเข้ามายังพระนครอีกจำนวนมาก




๒๙. นับแต่นั้นมา พระบรมเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระนเรศวรฯ ก็แผ่ไพศาล หัวเมืองล้านนายอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ใน พ.ศ.๒๑๔๒ จึงทรงยาตราทัพหมายเข้าหักเอาเมืองหงสาวดีให้ได้ แต่กองทัพเมืองตองอูพาเอาพระเจ้าหงสาวดีหนีไปเสียได้ และกองทัพเมืองยะไข่ก็เผาผลาญเมืองหงสาวดีเสียยับเยิน กลายเป็นเมืองร้าง เพื่อมิให้เป็นที่มั่นแก่สมเด็จพระนเรศวรฯ




๓๐. ขณะประทับอยู่เมืองหาง สมเด็จพระนเรศวรประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี หรือโรคผิวหนังมีเม็ดเป็หนอง) ที่พระพักตร์ มีพระการหนักมาก สมเด็จพระเอกาทศรถจึงรีบเสด็จกลับมาเฝ้า หลังจากนั้นเพียง ๓ วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคตด เมื่อวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๔๘ รวมพระชันษา ๕๐ พรรษา เสวยราชย์๑๕ ปี



๓๑. สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นยอดนักรบที่ประสูติมาเพื่อกู้ชาติไทยโดยแท้ ประชาชนชาวไทยระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าฯ จึงได้ถวายพระนามพระองค์ว่า “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

---------------------------------

“จิตรกรรม” เป็นงานศิลปะที่ถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ จากอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของศิลปิน ถ่ายทอดปรากฏเป็นรูปธรรมบนแผ่นภาพพร้อมกับการใช้สี  เพื่อให้เกิดความศรัทธาน่าเลื่อมใสต่อพุทธศาสนา และเกิดความประทับใจต่อผู้พบเห็น ซึ่งการถ่ายทอดด้วยภาพจิตรกรรมง่ายกว่าการอ่านจากตัวหนังสือ โดยเฉพาะสามารถทำให้ผู้ไม่รู้หนังสือได้เข้าใจและเกิดความศรัทธาได้อย่างลึกซึ้ง

ภาพจิตรกรรมส่วนมากแสดงเรื่องราวต่างๆ  ดังนี้
๑. เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ  ประวัติพระพุทธเจ้า พระอดีตพระพุทธเจ้า (โดยเฉพาะเรื่องมหาชาติ หรือพระเวสสันดรชาดก และทศชาติเรื่องอื่นๆ) นอกจากนั้นได้แก่ เรื่องไตรภูมิ และพระมาลัย ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น พระปัจเจกพุทธเจ้า ประวัติมหาสาวก มักจะเป็นส่วนประกอบเท่านั้น
๒. เรื่องเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณี เช่น ประเพณีตักบาตรเทโว ประเพณีวันเข้าพรรษา - วันออกพรรษา ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณีบุญบั้งไฟ ฯลฯ
๓. เรื่องเกี่ยวกับวรรณดี ที่นิยมนำมาเขียนเป็นภาพมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องรามเกียรติ์ เรื่องสังข์ทอง ฯลฯ
๔. เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการนำเอาเรื่องราวในพระราชพงศาวดารมาวาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ได้แก่  เรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เรื่อง สมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นต้น




โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2565 18:29:05 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5446


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 เมษายน 2565 18:28:30 »





วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ความเป็นมาของวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

เมื่อครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์ในที่ต่างๆ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เสด็จมาถึงดงไม้ตาลแล้วขึ้นประทับบนจอมดอยแห่งหนึ่ง เรียกว่า “ดอยนางพี่” ได้ประทานพระเกศาธาตุ ๑ เส้นให้พวกละว้าที่มาเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นบรรจุไว้ในพระเจดีย์ ต่อมาเรียกว่า “ดอยนางนอนจอมแจ้ง” (เพราะเสด็จมาถึงที่นั่นตอนรุ่งเช้า) ต่อมามีพญาเมืองเถิน พ่อฤาษีและหมอพรานอีก ๘ คนหาบเนื้อสดเดินมาพบเข้าไม่มีอะไรจะถวายจึงเอาเนื้อมาถวาย พระพุทธองค์ก็ไม่ฉัน พวกพรานจึงเอาเนื้อไปกองรวมกันไว้ พวกละว้าที่อยู่ในบริเวณนั้นจึงไปต้มข้าวมาถวาย สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงรับมาฉันและให้ศีลให้พรพวกละว้า พระพุทธองค์จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้และทรงรับสั่งว่า “ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนก็เหมือนอยู่ใกล้ ถ้าไม่ปฏิบัติก็เหมือนอยู่ไกล” จากนั้นจึงทรงประทานนามที่นั่นว่า “ห้วยต้มข้าว” ต่อมาเรียกเพี้ยนมาเป็น “ห้วยต้ม” ซึ่งเป็นชื่อวัดพระพุทธบาทห้วยต้มในปัจจุบัน

บ้านห้วยต้มเป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าปกาเญอะหรือกะเหรี่ยงประมาณ ๖๐๐ หลังคาเรือนมีคนอาศัยอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ คนซึ่งพวกเขาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยต้มเมื่อปี ๒๕๑๔ หลังจากที่ทางราชการได้มีการสร้างเขื่อนยันฮีหรือเขื่อนภูมิพลขึ้น ชาวเขาเหล่านี้ไม่มีที่ทำกิน การอพยพเข้ามาอยู่ในระยะแรกมีความยากลำบากมากเพราะพื้นที่บางส่วนเป็นหินศิลาแลงและสภาพทั่วไปมีความแห้งแล้ง ชาวกะเหรี่ยงบางคนไม่สามารถทนอยู่ได้ต้องอพยพไปอยู่ในที่ใหม่ พวกที่ทนอยู่ได้ก็ตั้งหน้าทำงานต่อสู้กับอุปสรรคอันแห้งแล้งของธรรมชาติ
...ที่มา เชียงใหม่นิวส์


ขอขอบคุณ เพจวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน (ที่มาภาพ)


ขอขอบคุณ เพจวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน (ที่มาภาพ)


รูปปั้นเหมือนครูบาชัยยะวงศาพัฒนา หน้าวิหารพระเมืองแก้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน

ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ครูบาวงศ์

ประวัติ : เกิดในครอบครัวชาวนาที่มีฐานะยากจน นามเดิมชื่อ ด.ช.ชัยวงศ์ ต๊ะแหงม เกิดวันอังคาร ที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๖ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๗ เหนือ (เดือน ๕ ใต้) ปีฉลู ณ ที่บ้านก้อหนอง หมู่ ๒ ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน บิดาชื่อ พ่อน้อย จันทะ - มารดาชื่อ แม่บัวแก้ว ต๊ะแหงม เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๙ คน เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ด.ช.ชัยวงศ์ ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์วัดก้อท่า หรือวัดแม่ปิงเหนือ  ชีวิตในวัยเยาว์ของท่านมีความลำบากยากแค้น ท่านเคยเล่าว่าเมื่อายุประมาณ ๓ ขวบท่านชอบเอาดินมาปั้นแต่งเป็นบ้าน ปั้นวัว ปั้นควายและพระพุทธรูป เอาข้าวเปลือกมตบแต่งเป็นพระเนตรแล้วก็กราบไหว้เอง จนเมื่อายุได้ประมาณ ๖ ปีพอที่จะช่วยโยมพ่อทำงานได้ มีอยู่ครั้งหนึ่งโยมพ่อพาลูกๆ ออกไปทำไร่ โยมแม่ได้นำอาหารกลางวันมาส่งให้ หลังจากที่กินอาหารเรียบร้อยแล้วโยมพ่อจึงอบรมสั่งสอนลูกๆ ว่า “ตอนนี้พ่อแม่ก็อดลูกทุกคนก็อดแต่ทุกคนอย่าท้อแท้ใจ ค่อยทำบุญไปเรื่อยๆ บุญมีภายหน้าก็จะสบาย”

หลวงปู่บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (เดือน ๖ ใต้) ณ วัดแก่งสร้อย ต.มืดกา อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ โดยมีพระครูบาชัยลังกา เป็นพระอุปัชฌาย์ ตั้งชื่อให้ว่า"ชัยยะลังก๋าสามเณร" และเป็นศิษย์อีกรูปหนึ่งที่เจริญรอยปฏิบัติธรรมตามแนวหลักของครูบาเจ้าศรีวิไชย

ตอนบวชเป็นสามเณรท่านมีความขยันหมั่นเพียรและเคารพครูบาอาจารย์เป็นที่สุด จนเพื่อนที่บวชด้วยกันเกิดความไม่พอใจพากันกลั่นแกล้ง กระทั่งเมื่อหลวงพ่ออายุได้ ๒๐ ปีจึงได้อุปสมบทโดยมีครูบาพรหมจักรเป็นพระอุปัชฌาย์และออกเดินธุดงค์ไปบำเพ็ญสมณธรรมกับท่านเป็นเวลา ๒ ปี หลังจากนั้นท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ท่านได้บุกเบิกปฏิสังขรณ์และก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง อาทิ วิหารครอบรอยพระพุทธบาท พระเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจำนวนกว่า ๘ หมื่น ๔ พันองค์ โดยเฉพาะวิหารครอบรอยพระพุทธบาทใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง ๓๔ ปี

หลวงปู่ครูบาวงศ์ เมื่อครั้งยังมีชีวิตนอกจากจะเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในด้านศีลาจริยาวัตรที่ดีงาม และมีเมตตาสูงยิ่งนัก และยังเป็นผู้ที่มีความเชียวชาญทางด้านเป็นช่างสถาปนิก ก่อสร้างทั้งงานปูนและงานไม้ได้เป็นเยี่ยมอีกด้วย  ท่านเป็นที่เคารพรักอย่างยิ่งของพี่น้องชาวกะเหรี่ยงในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มิใช่เฉพาะชาวกะเหรี่ยงเท่านั้น ใครก็ตามที่ได้พบ ได้ฟังคำสั่งสอนของท่าน และได้ทราบประวัติ ต่างจะยิ่งบูชาหลวงปู่มากยิ่งขึ้น หลวงปู่ท่านเป็นพระนักพัฒนา ท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนสำคัญในฐานะที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านห้วยต้ม นำชาวเขาชาวกะเหรี่ยงสู่การดำรงชีพที่ดีขึ้น

หลวงปู่ครูบาวงศ์ มรณภาพ รวมสิริอายุได้ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา






วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นวัดที่มีความสวยงามทางด้านศิลปกรรมแบบผสมระหว่างล้านนากับพม่า โดยเฉพาะพระธาตุเจดีย์ทรงแหลมเรียวรายล้อมด้วยเจดีย์ขนาดเล็กอีก ๑๖ องค์ ภายในศาลารอบองค์พระธาตุเจดีย์จะมีรูปปั้นของเกจิอาจารย์ชื่อดังของประเทศกว่า ๓๐ องค์ และภายในศาลาหลังใหญ่ยังเป็นที่ตั้งศพของครูบาชัยยะวงศาพัฒนาบรรจุในโลงแก้วให้ศรัทธาประชาชนได้กราบไหว้ นอกจากนั้นในบริเวณด้านเหนือของวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระเจ้าเก้าตื้อจำลองซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระมณฑป ได้จัดให้มีพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไปเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔

พระเจ้าเก้าตื้อที่ประดิษฐานอยู่ในพระมณฑปวัดพระบาทห้วยต้ม ได้จำลองมาจากพระเจ้าเก้าตื้อในอุโบสถวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยฝีมือสกุลช่างเชียงแสนผสมสุโขทัยหน้าตักกว้างประมาณ ๑๒๐ นิ้ว ว่ากันว่าพระเจ้าเก้าตื้อองค์จริงที่วัดสวนดอกสร้างขึ้นในสมัยของพระยารัตนเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๖๘) อันนับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองไพบูลย์ของศาสนาในเชียงใหม่มากที่สุด พระเจ้าเก้าตื้อองค์นี้นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามได้สัดส่วน และเนื่องด้วยที่พระองค์นี้มีน้ำหนัก ๙ ตื้อ ซึ่งเป็นมาตราชั่งของคนล้านนา ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกกันต่อมาว่า “พระเจ้าเก้าตื้อ”

ความรุ่งเรืองแห่งพุทธศาสนาในแผ่นดินลี้ยังแผ่ขยายปกคลุมให้ชนชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นด้วย ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงบ้านห้วยต้มจำนวนมากเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาวงศ์ ทุกๆ วันพวกเขาจะไม่ทานเนื้อสัตว์และจะเคร่งครัดยึดมั่นในศีล จะเห็นได้จากที่เวลาชาวบ้านไปทำบุญที่วัดมักจะถอดรองเท้าไว้ตั้งแต่ที่หน้าประตูวัด ซึ่งภาพเช่นนี้มีให้พบเห็นไม่บ่อยนักหากไม่นับรวมกับความศรัทธาของชาวไทใหญ่แห่งพม่าที่ยังคงยึดถือปฏิบัติความเชื่อเช่นนี้เหมือนกัน



 














แมงสี่หู ห้าตา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

เรื่องเล่าในตำนานล้านนา "แมงสี่หูห้าตา" ของครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
กาลครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีชายหนุ่มกำพร้าผู้หนึ่งฐานะยากจนขัดสนมาก แต่ก็ยังมีที่ดินทำกินเพียงน้อยนิดไว้สำหรับปลูกข้าว มีอยู่ปีหนึ่งเหมือนว่าฝนฟ้าจะไม่เป็นใจกับชายหนุ่มมากนัก ต้นข้าวที่ปลูกไว้แห้งตายมากพอสมควร แต่ก็ยังมีเหลืออยู่บ้าง มีพระอินทร์บนสวรรค์อีกท่านหนึ่งซึ่งมองเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชายหนุ่มผู้นี้ พระอินทร์ผู้มีศักดิ์คิดลงมาอยากจะช่วยเหลือชายหนุ่มกำพร้าให้พ้นจากความทุกข์ยาก จึงแปลงร่างมาปรากฏเป็นสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง ซึ่งมีหู ๔ หู มีตาอีก ๕ ดวง ในโลกมนุษย์ไม่มีสัตว์ประเภทแบบนี้เลยก็ว่าได้ และสัตว์ประหลาดตัวนี้ได้มาทำลายต้นข้าวที่ยังเหลืออีกส่วน บังเอิญชายหนุ่มซึ่งได้มาเห็นต้นของของตนที่ถูกทำลาย จึงเกิดความโมโหขึ้นมาทันที คิดจะฆ่าสัตว์ตัวนี้แต่ก็ไม่มีอาวุธใด และพยายามหาวิธีจะกำจัดให้พ้นๆ ไปแต่ก็ไม่รู้จะทำวิธีการใดอีก  ระยะเวลาผ่านไป จนกระทั่งชายหนุ่มจับสัตว์ประหลาดนั้นได้ จึงพามายังที่พักเป็นกระท่อมหลังเล็กๆ และได้ผูกติดกับต้นเสา พอตกย็นใกล้ถึงหัวค่ำชายหนุ่มก็ได้นำอาหารที่มีอยู่ตามประสาคนจนพอมีพอกิน และให้สัตว์ประหลาดตัวนั้น มันไม่ยอมกินอาหารแต่อย่างใด แต่มันทำตัวดูเหมือนว่ากำลังหนาวจัด คงต้องการความอบอุ่นมาก ชายหนุ่มจึงหาฟืนมาก่อไฟให้มัน จนระยะเวลาผ่านไป ชายหนุ่มรู้สึกง่วงนอนมาก จึงคิดจะกลับไปนอนพักผ่อน พอหันกลับมาอีกทีเห็นสัตว์ประหลาดตัวนั้นกำลังจับถ่านไฟแดงร้อนจัดกินเข้าไปอย่างไม่รู้สึกร้อนแต่อย่างใด จนกระทั่งชายหนุ่มเผลอหลับไป มารู้สึกตัวอีกทีก็สว่างพอดี และยังรู้สึกงงอยู่มากที่ได้พบสัตว์ประหลาดตัวนี้ แต่ยังพบความแปลกประหลาดมากไปกว่านั้นอีก ที่ชายหนุ่มต้องตกตะลึงมาก คือสัตว์ตัวนั้นกินถ่านไฟซึ่งไม่เคยพบเจอมาก่อนและยังขับถ่ายออกมาเป็นทองคำแท้อีกด้วย ชายหนุ่มกำพร้าจึงร่ำรวยมาเรื่อยๆ  ชายหนุ่มจึงกลับมาทบทวนความคิดอีกครั้ง...เออ...ดีนะที่เราไม่ได้ฆ่าสัตว์ประหลาดตัวนั้น มิเช่นนั้นเราคงไม่มีทรัพย์สมบัติมากมายอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่า ชายหนุ่มกำพร้าผู้นี้ยังมีความเมตตาอยู่บ้าง ถึงแม้ต้นข้าวที่ถูกทำร้ายจนเกิดความเสียหายจนโมโหมาก แต่ก็ยังคิดจะละเว้นชีวิตให้สัตว์ตัวนั้น  นิทานเรื่องนี้อ้างอิงมาจากเรื่องเล่าของหลวงปู่ชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) อยากให้ทุกคนมั่นรักษาศีล ภาวนาให้มากๆ และมีพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าคนเรายึดถือสิ่งเหล่านี้ได้ชีวิตเราจะพบแต่ความสุขตลอดกาล


รูปปั้น แมงสี่หูห้าตา ด้านหน้าพระอุโบสถศรีณสังวร (ศรีวิชัยจอมคีรี) ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน


รูปปั้น แมงสี่หูห้าตา ด้านหน้าพระอุโบสถศรีณสังวร (ศรีวิชัยจอมคีรี) ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

แมงสี่หูห้าตา วัดอนุสาวรีย์จอมคีรีศรีวิชัย (ศรีวิชัยจอมคีรี) ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
จากคัมภีร์ใบลานของล้านนา ที่เชื่อมโยงไปถึงชื่อเมืองเก่าแก่ของเชียงราย เรื่องนี้ต่างจากเรื่องเล่าของหลวงปู่ชัยยะวงศาพัฒนา
ได้เนื้อความจากคัมภีร์ใบลานชื่อ “ธรรมสี่หู ห้าตา” ของวัดแช่ช้าง ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งจารด้วยอักษรธรรมล้านนา จำนวน ๑ ผูก (๖๑ หน้าลาน) ผู้จารคือ “พิมมสารภิกขุ” เมื่อจุลศักราช ๑๒๗๖ (พ.ศ.๒๔๕๗)
ความในคัมภีร์กล่าวถึงเรื่องแมงสี่หูห้าตา กับทั้งยังได้เชื่อมโยงสัตว์นี้เข้ากับหลักธรรมทางพุทธศาสนาด้วย โดยว่าจำนวนสี่หูและ
ห้าตานั้นที่แสดงถึงหลักธรรมพรหมวิหาร ๔ และศีล ๕  









 
การเดินทางไปยังวัดพระพุทธบาทห้วยต้มใช้เส้นทางสายลำพูน – ลี้ ระยะทางประมาณ ๑๐๘ กิโลเมตร
จะมีทางแยกขวามือเข้าสู่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อีกประมาณ ๘ กิโลเมตร   สำหรับศรัทธาประชาชน
ต้องการไปกราบไหว้พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย รอยพระพุทธบาทจำลอง พระเจ้าเก้าตื้อที่งดงามที่สุด
รวมถึงเคารพศพครูบาวงศ์ที่บรรจุอยู่ในโลงแก้ว สามารถเดินทางได้ตามเส้นทางดังกล่าว
.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2565 18:59:43 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5446


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 เมษายน 2565 19:57:39 »

พลังแห่งความเคารพและศรัทธาอย่างสูงสุด
ของชาวเขาเผ่าปกาเญอะหรือกะเหรี่ยง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน  ที่มีต่อหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในด้านศีลาจริยาวัตรที่ดีงาม และมีเมตตาสูงยิ่งนัก   ก่อให้เกิดศาสนสถานใน
พระพุทธศาสนาที่มีความรุ่งเรือง เป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นอันยิ่งใหญ่งดงามตระการตา
ซุกซ่อนอยู่ในผืนแผ่นดินแห่งนี้















































« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2565 20:21:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สถาปัตยกรรมแบบล้านนา วัดแม่สารป่าแดด จ.ลำพูน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 3879 กระทู้ล่าสุด 14 กันยายน 2555 23:06:00
โดย หมีงงในพงหญ้า
ขอเชิญร่วมทำบุญบริจาคทรัพย์สร้างเมรุเผาศพ หมู่บ้านบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
Maintenence 0 2334 กระทู้ล่าสุด 03 กุมภาพันธ์ 2560 16:41:45
โดย Maintenence
ครูบาบุญทา ยติกโร วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 562 กระทู้ล่าสุด 23 ธันวาคม 2562 16:10:27
โดย ใบบุญ
[ข่าวด่วน] - รฟท.ร่วมพิธีเปิดขบวนรถไฟสายประวัติศาสตร์ 3 จว. เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 223 กระทู้ล่าสุด 14 กุมภาพันธ์ 2565 20:39:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - ผู้ว่าฯ ลำพูน เผยผลตรวจ ATK พบมีผู้ติดเชื้อโควิด 1288 ราย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 229 กระทู้ล่าสุด 01 เมษายน 2565 07:08:21
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.806 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 16:13:36