[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 23:50:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “แต๊” เครื่องดื่มแห่งชีวิต และมิตรไมตรี  (อ่าน 313 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2322


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 100.0.4896.60 Chrome 100.0.4896.60


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 เมษายน 2565 14:05:58 »



หญิงสูงวัยเตรียมน้ำชาสำหรับลูกค้า ในร้านน้ำชาเก่าแก่ของเมืองเฉิงตู
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2016 (AFP PHOTO / WANG ZHAO)


บรรยากาศในร้านน้ำชาอายุกว่าร้อยปีในเมืองเฉิงตู ประเทศจีน
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2016 (AFP PHOTO / WANG ZHAO)

“แต๊” เครื่องดื่มแห่งชีวิต และมิตรไมตรี

ผู้เขียน - เสี่ยวจิว, seawjew@yahoo.com
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2565


บทนำ

“แต๊” (บ้างเรียก เต๊) เป็นภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า “ชา, น้ำชา” คนจีนค้นพบน้ำชาโดยบังเอิญ แต่ดื่มอย่างจริงจังมานับพันๆ ปี จนถึงปัจจุบัน สังคมคนแต้จิ๋วในไทยเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีก่อน ส่วนใหญ่จะชงน้ำชาด้วยป้านชากระเบื้องเคลือบใบใหญ่ใส่ไว้ในนวมที่เก็บมีฉนวนผ้าบุไว้ด้านในเพื่อรักษาความร้อน (แบบเดียวกับป้านชาที่พระท่านใช้กันทั่วไป)

น้ำชาครั้งแรกรินไหว้พระไหว้เจ้าในบ้าน ที่เหลือไว้กินเองและเลี้ยงแขกไปใครมา ตลอดทั้งวันป้านไม่เคยแห้ง เมื่อน้ำชาพร่องก็เติมน้ำร้อน สีชาจางก็เพิ่มหรือเปลี่ยนใบชา ตกเย็นลูกหลานรุ่นเด็ก (ที่พอรู้ความ) เป็นคนเก็บป้านชาและถ้วยไปล้าง

คราบน้ำชาจับป้านจับถ้วยเป็นคราบสีน้ำตาลไหม้ๆ โดยเฉพาะคราบด้านในป้านคอชาทั้งสะสมไว้อย่างอดทนนัยว่าทำให้รสชานุ่มนวลชวนดื่มมากขึ้น ลูกหลานหลายคนเห็นแล้วทนไม่ได้ขัดซะเกลี้ยงก็จะโดนดุว่า “แก่สี่โอ๋ย -จุ้นจ้าน, รู้ดี”

วันนี้หลายบ้านใช้ป้านใบเล็กลง เพราะจำนวนคอชาผู้อาวุโสลดลงไปหลายท่าน คอชารุ่นต่อมาเริ่มมีฐานะและมีเวลาว่างพอที่จะค่อยๆ จิบชา

อย่างไรก็ตามลูกหลานแต้จิ๋วโพ้นทะเลยังคงทักทายแขกที่มาเยือนว่า “ไหล่เจียะแต๊ – มากินน้ำชา” เหมือนคนไทยที่บอกกับแขกที่มาถึงบ้านว่า “มากินน้ำกินท่า” โดยเฉพาะแขกผู้ใหญ่ เป็นคนจีนด้วยกัน ต้อง “แต๊” เท่านั้น

เรื่องของแต๊ เรื่องของคน

แต่ในงานบุญของชุมชนแต้จิ๋วแห่งหนึ่ง เห็นอาอึม – คุณป้าท่านหนึ่งยกน้ำชาให้อาเฮียที่นั่งทำงานกันอยู่กินแล้วบอกว่า “แต๊บ่อตัวโส่ย – น้ำชาไม่มีอาวุโส” (ผู้ใหญ่ เด็กยกให้กินได้)”

หาก “แต๊” ในประสบการณ์ของผู้เขียนน้ำชามีเรื่องของ “อาวุโส” อยู่ด้วย

เพราะผู้ใหญ่รอบตัวทั้งพ่อของเพื่อนและพ่อตัวเอง ที่เป็นคอชาหลายท่านเอาชามาอวดและชวนกินน้ำชา

หากทุกครั้งลูกหลานในบ้านต้องรินและยกเอาเอง ท่านว่า “ผู้ใหญ่ไม่ยกน้ำชาให้เด็ก”

หรือว่าผู้เขียนเข้าใจผิด หรือแต่ละท้องถิ่นมีธรรมเนียมต่างกัน จึงต้องหาความกระจ่างให้ตัวเอง



ป้านน้ำชาใบใหญ่ กับถ้วยเขียนลายมังกรสีน้ำเงิน ที่คนรุ่นปู่รุ่นพ่อใช้กันเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีก่อน

ลิ้มเฮียเป็นคนแรกที่ขอให้ช่วยอธิบายเรื่องน้ำชากับอาวุโส ซึ่งได้คำอธิบายว่า เรื่องนี้แบ่งเป็น ๒ กรณี คือ ถ้าเจ้าของบ้านหรือเจ้าของสถานที่อาวุโสกว่ารินน้ำชาให้แขกรุ่นเยาว์ไม่ต้องยึดอาวุโสเพราะทำให้ในฐานะเจ้าบ้าน แต่โดยทั่วไปผู้ใหญ่ไม่ชง, ริน,ยกน้ำชาให้ผู้น้อย เพราะมีเรื่องของอาวุโสอยู่   

ผู้ใหญ่อีก ๒-๓ ท่านตอบในลักษณะเดียวกัน หากแม่ของเพื่อนผู้เขียนท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า อาอึมคงจะเอ็นดูอาเฮียเลยยกน้ำชาให้กิน

นอกจากความกระจ่างเรื่องน้ำชากับความอาวุโสแล้ว ยังทำให้ระลึกถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับน้ำชา ที่ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแต๊กับคนแต้จิ๋ว

น้ำชายังมีเรื่องเล่าอีกมากมาย เรื่องเล่าต่อไปนี้ชื่ออะไรผู้ใหญ่ที่เล่าไม่เคยบอก แต่ถามลูกหลานแต้จิ๋วหลายท่าน บ้างเคยเป็นคนเล่า บ้างเคยเป็นคนฟัง พบว่ามีคนอายุตั้งแต่ ๓๐ เศษ จนถึง ๗๐ กว่าปี นี้คงเป็นเรื่องที่รู้จักกันค่อนข้างกว้างขวางทีเดียว   

เป็นเรื่องของแม่เลี้ยงใจร้ายที่มีความคิดลึกซึ้ง ให้ลูกเลี้ยงกินหมู เป็ดไก่ที่มันและเลี่ยนทุกวัน เด็กชายที่มีสุขภาพแข็งแรง ร่าเริง เริ่มกลายเป็นเด็กเริ่มอ้วนฉุ เฉื่อยชา และเจ็บป่วยง่าย

เหล่าซือ – ครูที่โรงเรียนเห็นการเปลี่ยนแปลงก็เรียกลูกศิษย์มาถามด้วยความเป็นห่วง ว่าแม่เลี้ยงดูแลรักใคร่ดีหรือไม่

เด็กชายตอบว่าแม่เลี้ยงใจดี ให้กินแต่หมู เป็ดไก่ทุกวัน เหล่าซือฟังแล้วก็เข้าใจแผนการของแม่เลี้ยงที่จะทำให้เด็กมันจุกอกตาย จึงจัดแจงชงน้ำชาแก่ๆ ให้ลูกศิษย์กินและสั่งว่าพรุ่งนี้ให้มาหาเหล่าซือก็จะชงแต๊แก่ๆ ให้กินเช่นนี้ทุกวัน เป็นการแก้ลำแม่เลี้ยง เด็กชายก็ได้กินของดีจนโต

ทุกวันนี้เวลากินอาหารเลี่ยนๆ มันๆ ก็จะนึกถึงเรื่องของแม่เลี้ยงกับน้ำชาเสมอ

ส่วนเรื่องต่อจากนี้ ลิ้มเฮียเล่าให้ฟังในวงเมื่อหลายปีก่อน สมาชิกในวงที่ฟังภาษาแต้จิ๋วออกบอกว่า คำพูดสองแม่ลูกจับใจมาก เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า ครอบครัวหนึ่งมีแม่กับลูกชาย, ลูกสะใภ้ วันหนึ่งเกิดพูดจาผิดหูกัน

วันรุ่งขึ้นลูกชายยกน้ำชามาขอโทษแม่แต่เช้ามืดและพูดกับแม่ว่า

“มิงขี้โกยที้ตี่โหงวแก่

ลุกขึ้นจากที่นอนแต่ไก่ขัน

อุ่ยเลาะเชียะบ้อเจียะเช็งแต๊

ลูกคุกเข่าลงข้างเตียงแม่

จายิกอุ่ยบ้ออิมกู่ต่า

ขอโทษที่เมื่อวานลูกตอบแม่ผิดไป

กิมยิกอุ่ยบ้อจ๊อเอี่ยงแซ

วันนี้ลูกมาขอโทษและขอให้แม่อยู่กับลูกไปนานๆ”

แม่รับน้ำชาขึ้นมากินและตอบลูกกลับไปว่า

“แต่เอ๊าเจียะเลี้ยวแต่เอาชิม

คนกินน้ำชาอยู่แล้วได้ชาถ้วยนี้ยิ่งตื้นตันใจ

มึ่งขี่จ๊ออู่เจ็กเกี้ยเตียเหาซิม

วันนี้ทำไมลูกถึงได้กตัญญูอย่างนี้นะ

ห่อเกี้ยเหยียะเตียะห่อซิมปู๋

ลูกดี สำคัญลูกสะใภ้ต้องดีด้วย

เจ็กแกหั่วมี้ตักเช่ยกิม

บ้านที่มีความรักสามัคคีมีค่ากว่าทองคำพันชั่ง”

เมื่อเด็กรู้จักขอโทษ ผู้ใหญ่รู้จักอภัย เรื่องราวก็จบลงด้วยดี แต่สมาชิกในวงยังคาใจและอดที่จะพูดเล่นกันไม่ได้ว่า “ตอนที่ลูกมาขอโทษนั้น ลูกสะใภ้มาด้วยหรือเปล่า หรือมาแล้วยืนเท้าสะเอวอยู่ข้างๆ”



ป้านน้ำชาใหญ่น้อยที่ปรับเปลี่ยนไปตามสมัยนิยมและจำนวนคนร่วมวง

หรือเรื่องของเพื่อน ๒ คน เพื่อนคนหนึ่งเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนอีกคน ระหว่างทางอากาศไม่ดี กว่าจะถึงบ้านของเพื่อนก็ล่าช้าจนค่ำมืดอากาศหนาวจัด เพื่อนที่เป็นเจ้าของบ้านรีบไปชงชาร้อนมาให้เพื่อนกินคลายหนาว เมียของเจ้าของบ้านออกมาทักทายแขกว่า “ทั่งแม้แขะไล้ แต๊ซึงจิ้ว – คืนหนาวเหน็บแขกมา เอาน้ำชาต่างเหล้า” ก่อนจะไปจัดหาอาหารมารับรอง

ลิ้มเฮียซึ่งเล่าเรื่องนี้ให้ฟังบอกว่า น้ำชาเป็นเครื่องที่ช่วยคลายหนาวได้ดี เพราะคนจีนกินชาร้อนๆ เสมอ จึงให้ความอบอุ่นและไม่ทำให้เกิดมึนเมา

เฉี่ยเจียะแต้ : เชิญกินน้ำชา

เรื่องเล่าข้างต้นเป็นความทรงจำของลูกหลานแต้จิ๋วในเมืองไทย ส่วนที่เมืองจีนซึ่งเป็นต้นทางวันนี้ลูกหลานแต้จิ๋วที่นั้น “น้ำชา” ยังเป็นเครื่องดื่มหลักอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในชีวิตประจำวัน

หลายปีก่อนอาจารย์ลิ้มอุ่งฮีเคยเล่าให้ฟังว่า ถ่งอุ้ย – ลูกหลานแต้จิ๋วในจีน ยกน้ำชา “ไหว้ครู” ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ให้ท่านช่วยสอนภาษาไทยให้

หรือ ๓-๔ ปีก่อนที่ติดตามอาจารย์ลิ้มอุ่งฮีไปเยี่ยมบ้านญาติอาจารย์ที่เขตชนบทของแต้จิ๋ว น้ำชาเป็นเครื่องดื่มชนิดเดียวที่เขาดื่มกินตลอดทั้งวันไม่ว่าจะเป็นก่อนกินข้าว ระหว่างกินข้าว หรือหลังกินข้าว



กังฮูแต๊ บางที่ก็ใช้ถ้วยชามีฝาชงน้ำชาแทนป้าน

ตกเย็น อาจารย์พาเดินดูบรรยากาศชุมชน เยี่ยมญาติๆ และเพื่อนในหมู่บ้าน แต่ละบ้านจะชงกังฮูแต๊ (การชงชาของคนแต้จิ๋วใช้ป้านดินขนาดเล็กรินใส่ถ้วยขนาดเล็ก วัฒนธรรมสำคัญหนึ่งของแต้จิ๋ว ขอไม่อธิบายรายละเอียดในที่นี้) มาเลี้ยงแขก กินถ้วยแรกเพื่อรับไมตรีเจ้าบ้าน ถ้วยชายังไม่ทันคลายร้อนเจ้าของบ้านก็รินเติมแล้วเรียกให้กินอีกครั้ง ฟังผู้ใหญ่คุยกันไปสักพักเจ้าของบ้านก็คะยั้นคะยอให้กินอีกถ้วย

ผู้เขียนบอกว่าไม่ค่อยได้กินแต๊กินมากไม่ได้เดี๋ยวคืนนี้นอนไม่หลับ เจ้าของบ้านก็หัวเราะแล้วบอกว่า หลับ อย่างไรก็หลับ พวกท่านกินทั้งวันยังนอนหลับเลย ว่าแล้วก็เรียกให้ผู้เขียนกินแต๊อีกถ้วย

ตั้งแต่เย็นจนหัวค่ำเดินตามอาจารย์ไป ๓-๔ บ้าน แต่ละบ้านต้อง

กินแต๊ไปอย่างน้อย ๔-๕ ถ้วย คืนนั้นทั้งคืนคงมีแต๊อยู่ในท้องผู้เขียนสัก ๒ ป้านย่อมๆ

คืนนั้นกว่าจะหลับก็เข้าไปค่อนคืน ไม่น่าเชื่อว่าน้ำชาสีบางแต่ละถ้วยจะทำให้คอชาหน้าใหม่อย่างผู้เขียนตาสว่างถึงเพียงนี้ หรือจะเป็นเพราะ “หนั่งเช้ง – มนุษยสัมพันธ์”  ที่ได้รับจากเจ้าบ้าน เหมือนสำนวนแต้จิ๋วที่ผู้ใหญ่หลายท่านพูดให้ฟัง  “แต๊เป๊าะ หนั่งเช้งเก๋า – น้ำชา (สี) บาง มนุษยสัมพันธ์เข้ม (แข็ง)”

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.378 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 13:22:31