[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 16:57:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “เลขไทย” ได้แบบจากเลขเขมร หรือว่ามีต้นเค้าจาก “เลขอินเดียใต้”?  (อ่าน 372 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 101.0.4951.64 Chrome 101.0.4951.64


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2565 11:20:35 »


ภาพประกอบเนื้อหา - เลขไทย ฉากหลังเป็นอักษรเขมรโบราณ
ศิลาจารึกปราสาทบันทายศรี พุทธศตวรรษที่ 16 (ใช้ประกอบเนื้อหาเท่านั้น)


“เลขไทย” ได้แบบจากเลขเขมร หรือว่ามีต้นเค้าจาก “เลขอินเดียใต้”?

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2546
ผู้เขียน - ศานติ ภักดีคำ
เผยแพร่ - วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2565


เลขไทย ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็น “เลขไทย” หรือได้รับแบบแผนจาก “เลขเขมร” เป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่อย่างสนุกสนาน

หลักฐานที่ดีที่สุดในการพิจารณาประวัติความเป็นมา จำเป็นต้องดูจาก “จารึกโบราณ” เพื่อศึกษาถึงกระบวนวิวัฒนาการของอักษรโบราณเหล่านั้น รวมทั้ง “เลขไทย” และ “เลขเขมร” ด้วย

เลขโบราณใน “จารึกเขมร”
เลขโบราณในจารึกเขมรมีหลายแบบ เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีการกำหนดรูปแบบการเขียนที่แน่นอน จารึกเขมรโบราณแบ่งออกได้เป็น ๒ สมัยคือ

๑. จารึกเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๔ หากเปรียบเทียบกับประเทศไทยก็จะตรงกับสมัยที่เรียกว่า “ทวารวดี” อักษรเขมรโบราณที่ใช้ในจารึกสมัยนี้มีรูปแบบตัวอักษรที่รับมาจาก “อักษรอินเดียใต้ (หรืออักษรสมัยราชวงศ์ปัลลวะ)” ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ “อักษรทวารวดี” ที่พบในภาคกลางของประเทศไทย

๒. จารึกเขมรสมัยเมืองพระนคร มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๒๐ เปรียบเทียบกับไทยคือสมัยทวารวดีต่อสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น รูปแบบตัวอักษรเขมรสมัยนี้เป็นต้นแบบให้กับอักษรเขมรปัจจุบัน, อักษรขอมในประเทศไทย และอักษรไทยสุโขทัย





รูปแบบตัวเลขที่ใช้ในสมัยทั้งสองมีต่างกันไปบ้าง แต่ก็มีบางตัวที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของตัวเลขในสมัยก่อนเมืองพระนครที่มีต่อสมัยเมืองพระนครอย่างเห็นได้ชัด แต่เป็นที่แน่นอนว่าตัวเลขในจารึกเหล่านี้เก่าแก่กว่า “เลขไทยสมัยสุโขทัย” ที่จะวิวัฒนาการมาเป็น “เลขไทยสมัยปัจจุบัน”

เพื่อความชัดเจน ผู้เขียนจะเปรียบเทียบให้เห็นโดยใช้ตัวอย่างตัวเลขที่ใช้ในจารึกเขมรโบราณ สมัยก่อนเมืองพระนคร, สมัยเมืองพระนคร และจารึกสุโขทัย (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ดังนี้





จากตัวเลขที่นำมาเปรียบเทียบ แสดงให้เห็นว่าเลขที่ใช้ในจารึกเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร (ก็คือเลขอินเดียใต้ สมัยราชวงศ์ปัลลวะ) ได้วิวัฒนาการเป็นเลขเขมรสมัยเมืองพระนคร และจากเลขเขมรโบราณสมัยเมืองพระนคร ก็ส่งอิทธิพลต่อเลขไทยสมัยสุโขทัย (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็น่าจะสรุปได้ว่า “เลขอินเดียใต้ (ราชวงศ์ปัลลวะ)” เป็นที่มาของเลขที่ใช้ในดินแดนอุษาคเนย์ทั้งหมด (รวมทั้งเลขที่ใช้ในอาณาจักรทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย)

ต่อมาเลขอินเดียใต้ได้วิวัฒนาการกลายเป็นเลขเขมรโบราณสมัยเมืองพระนคร (เป็นลักษณะเฉพาะ) แล้วจากนั้นจึงส่งอิทธิพลมายังเลขไทยสมัยสุโขทัย จากนั้นจึงกลายเป็นเลขไทยในปัจจุบัน ด้วยการอธิบายตามวิวัฒนาการของรูปแบบตัวอักษร (Palaeography) ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.225 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 29 กุมภาพันธ์ 2567 21:26:14