[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 15:36:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธรูปนาคปรก ที่นิยมในอุษาคเนย์ มีที่มา-ความหมายอย่างไร  (อ่าน 471 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2316


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 102.0.5005.63 Chrome 102.0.5005.63


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2565 14:29:49 »


พระพุทธรูปนาคปรก เมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย (ภาพจากเว็บไซต์ กรมศิลปากร)

พระพุทธรูปนาคปรก ที่นิยมในอุษาคเนย์ มีที่มา-ความหมายอย่างไร

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2531
ผู้เขียน - ศาสตราจารย์ ดร.ชองบวสเซอลิเยร์-เขียน, สมิทธิ ศิริภัทร์-ถอดความและเรียบเรียง
เผยแพร่ - วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2565


พระพุทธรูปนาคปรก หรือที่มักจะเรียกกันโดยสามัญว่า พระพุทธเจ้านั่งเหนือนาค เป็นพระพุทธรูปที่นิยมกันมากในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกัมพูชาและในประเทศไทย

ในราวต้นศตวรรษนี้ในประเทศตะวันตกมักจะมีปัญหาถกเถียงกันเสมอเกี่ยวกับพระพุทธรูปนาคปรก เพราะชาวตะวันตกโดยทั่วไปมักจะสับสนโดยคิดว่า เป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์คือรูปพระวิษณุ แต่ไม่เคยมีใครคิดว่าเป็นพระพุทธรูป

โดยทั่วไปปัญหาที่เกิดขึ้นมี 2 ประการ คือ ประการแรก : ความหมายของประติมากรรม และประการที่ 2 : เหตุใดประติมากรรมรูปพระพุทธรูปนาคปรกจึงปรากฏจำนวนมากในบางสกุลช่าง (โดยเหตุที่ศิลปะอินเดียคลาสสิกมีจำนวนพระพุทธรูปนาคปรกน้อยกว่า)


ความหมายของรูปพระพุทธรูปนาคปรก

คัมภีร์ทุกเล่มเห็นพ้องว่าหมายถึงปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้ที่ตรัสรู้ และเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่สืบต่อจากการตรัสรู้ ซึ่งอาจเป็นสัปดาห์ที่ 3 ที่ 5 หรือที่ 6 แล้วแต่คัมภีร์ที่ให้จำนวนสัปดาห์เสวยวิมุติสุขไม่เท่ากัน เพราะบางคัมภีร์กล่าวว่าพระพุทธองค์เสวยวิมุติสุขถึง 7 สัปดาห์ แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ต่อเนื่องจากการตรัสรู้ และเกิดขึ้นก่อนหน้าที่พระพุทธองค์จะรับภัตตาหารมื้อแรก และก่อนการตัดสินพระทัยที่จะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

ระหว่างสัปดาห์ดังกล่าวพระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ใต้ต้นมุจลินท์ (หรือภาษาสันสกฤตเรียกว่ามุจจลินท์) เพื่อบำเพ็ญสมาธิ ซึ่งใช้เวลาตลอดสัปดาห์ ต้นมุจลินท์นี้ขึ้นอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งอาจจะเป็นทะเลสาป สระ หรือสายน้ำ แล้วแต่คัมภีร์ ที่มีชื่อว่ามุจลินท์เช่นเดียวกัน และยังเป็นที่อาศัยของนาค ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดานาคที่มีฤทธิ์ หรือ “พญานาค” ที่มีชื่ออย่างเดียวกันอีกด้วย

ขณะนั้นได้เกิดมีพายุฝนอันแรงกล้าซึ่งเป็นฝนนอกฤดู พัดกระหน่ำพร้อมกับลมและความหนาวเหน็บ ลมได้พัดหมุนใต้ต้นไม้และพาบรรดาแมลงทั้งหลาย เช่น ยุง (ในคัมภีร์ต่างๆ กล่าวเน้นเพราถือว่าสำคัญ) มารบกวน

สิ่งต่างๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งที่คอยก่อกวนหรือขัดจังหวะการบำเพ็ญสมาธิที่ลุ่มลึก แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามพระพุธเจ้าที่ได้ตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ได้สัมมาสัมโพธิญาณแล้วจะถูกรบกวนไม่ได้ไม่ว่าจะจากอะไรก็ตาม

ดังนั้น พญานาคที่ห่วงใยและอยากจะได้บุญบารมีจึงได้เลื้อยมาปกป้องการบำเพ็ญสมาธิของพระพุทธองค์ โดยการขนดตัวแผ่พังพานปรก

ในที่สุดแห่งสัปดาห์เมื่อทุกอย่างคืนสู่สภาวะปกติแล้ว พญานาคจึงได้จำแลงร่างเป็นมนุษย์โดยที่นาคอาจจะมีรูปเป็นงูตามปกติหรืออยู่ในรูปมนุษย์จำแลง และเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อฟังพระธรรมเทศนา (คัมภีรบางคัมภีร์ได้เน้นว่า พญามุจลินท์เป็นสัตว์ตัวแรกที่ได้รับพระธรรมเทศนา)

คัมภีร์บางคัมภีร์ให้คุณค่าของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวของพญานาคตนนี้โดยกล่าวว่าพญานาคตนนี้อายุยืนยาว เพื่อที่จะได้อธิบายว่า มิใช่แต่พระสมณโคดมเท่านั้นที่นาคได้ปกป้อง แต่ได้เคยปกป้องพระอดีตพุทธองค์อื่นๆ มาแล้ว คัมภีร์กล่าวว่าในขณะที่พระพุทธองค์ทรงเข้าสู่สมาธิ พระองค์ได้เปล่งรัศมีออกมาจากพระวรกาย เพื่อดึงดูความสนใจของพญามุจลินท์ ซึ่งโดยธรรมชาติงูมักให้ความสนใจกับสภาวะความแตกต่าง เช่น ร้อนหรือเย็น มากกว่าการใช้สายตา และทำให้พญานาคจำได้ว่า เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตถึง 3 ครั้ง โดยตัวพญานาคเองมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เคยปกป้องพระอดีตพุทธเจ้าถึง 3 องค์ ที่มีมาก่อนหน้าพระสมณโคดม กล่าวคือ พระกะกุสันโท พระโกนาคม และพระกัสสปะ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 22 ที่ 23 และที่ 24 ตามลำดับ ทั้งนี้พระพุทธเจ้าของเราอยู่ในลำดับที่ 25

เราจะคิดถึงเรื่องราวอันวิเศษสุดนี้ได้อย่างไร?

นาย อา. ฟูเชร์ (A. FOUCHER) ซึ่งเป็นอรรถกถาจารย์ทางพุทธศาสนาชาวตะวันตก ได้กำหนดทฤษฎีแรกว่าตำนานและประติมากรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานเป็นสิ่งที่ “ชาวตะวันตกเห็นว่าแปลกประหลาดที่สุด แต่สิ่งเหล่านี้ดูเป็นอินเดียอย่างยิ่ง” ซึ่งนับว่าเป็นความจริง แต่ควรจะย้ำว่าในขณะเดียวกันยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ทั้งในอินเดียและดินแดนแถบเส้นศูนย์สูตร

ในที่นี้ ฟูเชร์ ตั้งใจจะหมายความว่า การที่คนและงูมาอยู่ด้วยกัน ชาวตะวันตกเห็นว่าแปลกประหลาดที่สุด แต่สำหรับชาวตะวันออกแล้วเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้อย่างยิ่ง

แต่นักโบราณคดีบางท่านถึงกับคิดว่า ประติมากรรมต่างหากที่เป็นตัวทำให้เกิดเรื่องราวในคัมภีร์ โดยคิดไปว่ารูปของพญานาค เช่นมนุษยนาคในสกุลช่างมถุราที่มีพังพานหลายเศียร ได้ทำให้เกิดความคิดในการทำพระพุทธรูปนาคปรกขึ้น แต่สิ่งที่ควรตระหนักก็คือ รูปดังกล่าวมีอายุไม่เก่าไปกว่าคริสต์ศตวรรษที่ 2 หรือที่ 3 ดังนั้น ถ้าเชื่อว่ารูปของพญานาคทำให้เกิดเรื่องราวในคัมภีร์ เรื่องราวเหล่านั้นก็คงจะพัฒนาโดยเริ่มต้นจากสมัยนี้เท่านั้น

ถ้าฟูเชร์มองปัญหาจากแนวคิดดังกล่าว เขาเองก็มิอาจที่จะไปได้ไกลมากกว่านั้น

สำหรับทฤษฎีหลังเราจะใช้ประติมากรรมเป็นสิ่งคัดค้าน กล่าวคือ ในขั้นแรกเราจะดูถึงอุปนิสัยใจคอของพญานาค

แน่นอนเราจะให้พญานาคนี้มีลักษณะเป็นธรรมชาติตามปกติของงูทั้งขนาดและอายุ เราจะเห็นว่าการที่อาศัยอยู่ตามริมแหล่งน้ำ ก็เป็นลักษณะธรรมดาที่เป็นไปได้ การที่จะออกมาจากที่อาศัยในขณะเกิดอุทกภัยก็เป็นสิ่งที่เป็นธรรมดา และการที่สัตว์เช่นงูและคนจะมาอยู่ร่วมกันในสภาพที่ถูกสถานการณ์บังคับ ก็ดูเป็นเรื่องที่เป็นไปได้เช่นกัน

โดยเหตุที่การทำสมาธิซึ่งร่างกายจะอยู่นิ่งเฉยย่อมทำให้สัตว์ทั้งหลายเกิดความมั่นใจในความปลอดภัยที่จะเข้าใกล้ และการเข้าสมาธิก่อให้เกิดสภาวะพิเศษที่สัตว์จะรู้สึกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งนี้ต้องไม่ลืมถึงอำนาจเมตตาไมตรีอันเกิดจากสมาธิจิต

ดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักกันในเอเชียอาคเนย์ ว่างูบางประเภทพยายามเข้าหาคนเพื่อเอามาเป็นบริษัท ซึ่งสภาวะนี้เกิดจากความเห็นอกเห็นใจร่วมกัน โดยต้องไม่ลืมว่า ในประเทศลาตินอเมริกามีการเลี้ยงงูเหลือมบางประเภทเพื่อจับหนูแทนแมว งูจึงเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน

เรื่องราวของคนกับงูนี้ ดูเหมือนจะรู้จักและถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นเรื่องราวในชาดกต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาดกที่ 253 คือ มณิกัณฑชาดก อันมีความย่อว่า “กว่าพระดาบสหนุ่มน้อยจะรู้ซึ้งถึงคุณค่าความรักของพญานาคที่มีต่อตัวก็สายเกินไปเสียแล้ว” ซึ่งชาดกเรื่องนี้มีแสดงในภาพสลักสมัยอมราวดี

ดังนั้นเราจะเห็นว่าเกือบตลอดเวลาที่ตำนานหรือเรื่องราวจะพัฒนาขยายความให้วิเศษสุดต่างๆ จากเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในพุทธประวัติ แม้เรื่องเล็กน้อยต่างล้วนมีพื้นฐานของความเป็นไปได้ทั้งสิ้น แต่มีการพัฒนาขยายความให้ยิ่งใหญ่มหัศจรรย์สมกับความเป็นพระพุทธเจ้า

สำหรับประติมากรรมแล้ว เรามีข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าเรื่องปาฏิหาริย์ตอนนี้มีมาเก่าแก่ ก่อนที่จะมีการทำรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์เสียอีก และดูเหมือนว่าจะได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล

ตัวอย่างเช่น ภาพสลักจากเปาณีและภารหุต ในศิลปะอินเดียโบราณซึ่งมีจารึกประกอบที่พิสูจน์ว่าแม้ว่ารูปพระพุทธเจ้าจะยังไม่มีการแสดงออกมาในรูปมนุษย์ แต่ประติมาณวิทยาได้ถูกกำหนดอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยการทำบัลลังก์ปรกโดยพญานาคแผ่พังพานหลายเศียร หน้าบัลลังก์มีพระบาทคู่ ซึ่งจารึกบอกว่า นาคมุจลินท์

เราจะเห็นว่า คัมภีร์ต่างหากที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดประติมากรรม ไม่ใช่ประติมากรรมเป็นสิ่งที่ทำให้มีการเขียนคัมภีร์ตามรูปประติมานั้น

ขณะนี้จึงเหลือสิ่งที่เราจะต้องค้นหาต่อไปว่า เหตุใดในสกุลช่างบางสกุล ปาฏิหาริย์ตอนนี้จึงเป็นที่นิยมทำอย่างยิ่ง เช่นในประเทศกัมพูชาสมัยโบราณหรือในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ซึ่งจะเห็นว่าประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าเกือบทุกรูปตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 10 ซึ่งเป็นสมัยของการฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา เป็นพระนาคปรก

คัมภีร์ในพุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาท หรือมหายานโดยทั่วไปไม่ได้ให้คำตอบที่น่าพอใจแก่เรา เพียงแต่ทำให้เราเข้าใจถึงความหมายในความผันแปรบางประการในประติมาณวิทยาเท่านั้น เช่นบรรดารูปสลักศิลปะอานธระ ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 และที่ 4 ศิลปะลังกาและศิลปะพม่ายุคหลัง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 และหลังจากนั้น เป็นต้น

ในที่สุดคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาจีน ซึ่งจัดพิมพ์โดย E. CHAVANNES ก็ได้ให้คำตอบที่เรารอคอย

คัมภีร์ซึ่งมีเนื้อเรื่องเป็นมหายานอย่างแท้จริงได้เน้นว่า “พญานาค” ได้ระลึกถึงเหตุการณ์จากรัศมีของพระพุทธองค์ว่าพระอดีตพุทธ รวมทั้งพระพุทธเจ้าของเราจะบรรลุพุทธิปัญญาหรือความสมบูรณ์ในสัมมาโพธิญาณได้ก็ต่อเมื่อได้ผ่านการทำสมาธิในสภาวะอากาศอันเลวร้าย

ดังนั้น จึงเป็นการพิสูจน์ประจักษ์ชัดว่า การบำเพ็ญสมาธิในสัปดาห์ต่างๆ หลังการตรัสรู้ ถือกันว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะเป็นพระพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ เพื่อให้เห็นว่าการเสวยวิมุติสุขนั้นสำคัญยิ่ง

ในการมองด้วยมิติดังกล่าว พระพุทธรูปนาคปรกจึงหมายถึงพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้สมบูรณ์แล้ว ความเป็นพระพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ถูกแสดงด้วยรูปแบบต่างๆ กันตามประเพณีนิยมทางประติมาณวิทยา ดังต่อไปนี้

1) พระพุทธรูปปางสมาธิ (หมายถึงสมาธิใต้ต้นโพธิ์) นิยมทำในประเพณีนิยมทางประติมาณวิทยาของประเทศลังกา หมายถึงขณะที่ทรงตรัสรู้

2) พระพุทธรูปมารวิชัย นิยมทำในประเพณีนิยมทางประติมาณวิทยในศิลปะปาละ และศิลปะในเอเชียอาคเนย์ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ หมายถึงขณะก่อนตรัสรู้แต่ขาดเสียไม่ได้

3) พระพุทธรูปนาคปรก นิยมทำในประเพณีนิยมทางประติมาณวิทยาของพุทธศาสนานิกายมหายานในประเทศกัมพูชาสมัยโบราณและในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ปางทั้ง 3 ปางของพระพุทธรูปดังกล่าวที่แสดงถึงความจริงอย่างเดียวกัน คือพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้โดยสมบูรณ์ อาจจะใช้สำหรับแสดงรูปพระอดีตพุทธเจ้า คือ พระอดิสัยพุทธเจ้าในพุทธศาสนามหายาน เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าของเรา คือพระสมณโคดม ซึ่งพระองค์ถือว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์ และมองเห็นได้ของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


รายละเอียดบางประการเกี่ยวกับพระพุทธรูปนาคปรก ในเอเชียอาคเนย์

แม้ว่าจะมีการเน้นความสำคัญของพระพุทธรูปนาคปรกในประติมาณวิทยาของเขมร เช่นทับหลังที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แต่ก็ไม่มีผู้ใดได้ศึกษาถึงรูปแบบต่างๆ ในสมัยโบราณของประเทศอินเดีย หรือแม้แต่จะค้นคว้าว่าศิลปะเขมรนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากที่ใด

ในประเทศอินเดียจะปรากฏในศิลปะอานธระ (อมราวดี นาคารชุนโกณฑะ) ที่ให้ความสำคัญและแสดงให้เห็นถึงรูปแบบต่างๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะหาคำอธิบายได้จากคัมภีร์เท่านั้น เช่นคัมภีร์มหาวัสถุ กล่าวว่านอกจากมุจลินท์นาคราชแล้ว ยังมีพญานาคชื่อ วินิปาต อีกตนหนึ่งที่มาร่วมปกป้องพระพุทธองค์

ดังนั้น ในภาพสลักของอมรวดีบางภาพพังพ่นนาคจึงมีซ้อนกันสองชั้น เพราะมีนาค 2 ตน และควรจะสังเกตว่ารูปแบบดังกล่าวนี้แตกต่างไปจากที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ลลิตวิสตะระ ซึ่งเป็นคัมภีร์ศาสนาพุทธนิกายมหายานซึ่งแต่เดิมเป็นของนิกายหินยานที่เป็นภาษาสันสกฤต เช่นนิกายโลกุตรวาท ซึ่งในที่นี้กล่าวว่าไม่ใช่พญานาค 2 ตัวแต่เป็นกองทัพพญานาคที่มาร่วมกันปกป้องพระพุทธองค์และเราพบว่าในปฐมสมโพธิมีข้อความที่ส่อให้เห็นเชนเดียวกัน


ที่มาของพระพุทธรูปเขมรนาคปรก

ในส่วนของพระพุทธเขมรนาคปรก ซึ่งดูเหมือนว่าจะปรากฏขึ้นในประเทศกัมพูชาราวครึ่งหลังของศตวรรษที่ 10 คือในรัชกาลพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 เท่านั้น

เราน่าจะหาที่มาของพระพุทธรูปดังกล่าวในประเทศไทยปัจจุบัน เพราะเหตุว่ามีจารึกในประเทศกัมพูชาหลักหนึ่งสนับสนุนความคิดนี้ โดยระบุว่า “ขุนนางท่านหนึ่งได้ไปค้นหาคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในต่างประเทศ”

ต่างประเทศ จะเป็นที่ใด ถ้าไม่ใช่ประเทศไทย เพราะในขณะนั้นอินเดีย ก็เลิกทำพระพุทธรูปนาคปรกแล้ว พม่าในขณะนั้นก็ไม่มีพระพุทธรูปนาคปรก และภูมิภาคในเอเชียอาคเนย์ที่เป็นบ่อเกิดลัทธิธรรมเนียมการทำพระพุทธรูปนาคปรกที่เก่าแก่ที่สุดก็น่าจะเป็นประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่แต่เพียงเพราะได้พบพระพุทธรูปนาคปรกที่มีความสัมพันธ์กับศิลปะทวารวดีเท่านั้น แต่ยังได้พบพระพิมพ์รูปพระพุทธรูปนาคปรกในเขตจังหวัดกระบี่ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของรูปแบบศิลปะอานธระของอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 หรือที่ 5 ทีเดียว

ดังนั้น เราจึงอาจตั้งข้อสังเกต โดยบังเอิญจากการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธรูปนาคปรกว่าประเทศไทยเช่นกันเป็นบ่อเกิดตัวอย่างทางศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในคาบสมุทรและอาจจะเก่าที่สุดในเอเชียอาคเนย์โดยเป็นศิลปะที่มีความสัมพันธ์กับศิลปะอินเดียใต้และมีอายุอย่างน้อยที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งนอกจากจะมีทั้งรูปพระพุทธรูปแล้ว ยังมีเทวรูปในศาสนาพราหมณ์อีกด้วย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.438 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 02:52:51