[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 17:58:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จริงหรือ จ๊อกกิ้ง ช่วยเพิ่มเซลล์สมอง ความจำดีขึ้น  (อ่าน 2272 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
That's way
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

United States United States

กระทู้: 601


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยเงิน

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Safari 4.0 Safari 4.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 กันยายน 2554 10:13:06 »

จริงหรือ ‘จ๊อกกิ้ง‘ ช่วยเพิ่มเซลล์สมอง ความจำดีขึ้น



ดังที่ทราบดีอยู่แล้วว่าการ 'วิ่ง' นั้นดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้นยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วย อ้างอิงจากนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าทำไมการเต้นแอโรบิคนั้นสามารถกระตุ้นการเติบโตของเนื้อเยื่อประสาทและสมองส่วนที่มีสีเทา มันอาจเชื่อมให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเพิ่มมากขึ้น หรือ ปริมาณฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นและปล่อยออกมาในขณะที่เต้นแอโรบิค

Timothy Bussey นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท ซึ่งอยู่ในกลุ่มนักพฤติกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้มีการวิจัยกับหนูทดลอง 2 กลุ่ม ซึ่งหนูกลุ่มแรก สามารถปั่นล้อจักรได้ไม่จำกัด และหนูอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกจำกัดไม่ให้เข้าปั่นล้อจักร

ผ่านไปประมาณ 2-3 วันที่ปล่อยกลุ่มหนูให้อยู่ด้วยตัวของมันเอง นักวิจัยได้นำกลุ่มหนูทดลองไปทดสอบเกี่ยวกับแบบทดสอบความจำในหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในหน้าจอนั้นแสดงภาพสี่เหลี่ยมทั้งด้านซ้ายและขวาถ้าเจ้าหนูน้อยคลิกที่สี่เหลี่ยมทางด้านซ้ายจะได้รับน้ำตาลก้อนเป็นรางวัล แต่ถ้าคลิกสี่เหลี่ยมด้านขวาก็จะไม่ได้รับรางวัลใดๆ

หนูกลุ่มที่ได้เข้าปั่นในล้อจักร สามารถคลิกสี่เหลี่ยมที่ถูกได้มากกว่าเกือบ 2 เท่าของอีกกลุ่มที่ถูกควบคุม

ในตอนต้นของการทดสอบนั้นสี่เหลี่ยมห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร และค่อยๆขยับเข้าใกล้กันเรื่อยๆจนเกือบชิดกัน

การทดลองนี้ออกแบบเพื่อทดสอบว่าในระบบความจำของหนูสามารถแยกวัตถุซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันได้มากเพียงใด เมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วก็เหมือนกับการที่เราสามารถจำว่ามื้อเย็นเมื่อวานนี้และเมื่อวันก่อนเรารับประทานอะไร หรือ เราจอดรถไว้ที่ไหนตอนไปจับจ่ายในห้างสรรพสินค้า

การพัฒนาการนั้นเห็นได้ชัดเมื่อสี่เหลี่ยมทั้งสองอันนั้นใกล้กันจนเกือบจะชิดแนบสนิทกัน ซึ่งหนูในกลุ่มที่สองซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ปั่นจักร นั้นไม่สามารถแยกสี่เหลี่ยมทั้งสองอันได้ เนื่องจากความทรงจำของมันต่อภาพสี่เหลี่ยมมีความคล้ายคลึงกันเกินกว่าจะแยกแยะออกได้

Bussey กล่าวว่า เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ความทรงจำต่อสี่เหลี่ยมทั้งสองของเจ้าหนูตัวน้อยนั้นมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก เมื่อเจ้าหนูต้องแยกแยะระหว่างสี่เหลี่ยมทั้งสองอัน ซึ่งเซลล์สมองใหม่ที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถช่วยให้แยกความต่างได้

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพยายามสลับสี่เหลี่ยม(ที่หนูจะได้รับรางวัล)เพื่อให้มีความยากต่อการจดจำมากยิ่งขึ้น แต่หนูที่วิ่งปั่นจักรก็สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไวกว่าหนูอีกกลุ่มหนึ่ง

Wolfgang Ketterle ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ กล่าวว่า การวิ่งนั้นสามารถช่วยให้ใช้เวลาคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ

หนูที่ปั่นจักรนั้นวิ่งระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตรต่อวัน ในขณะที่ทำการทดลองนั้นเนื้อเยื่อสมองของหนูแสดงให้เห็นว่าหนูที่วิ่งปั่นจักรมีการพัฒนาในส่วนเนื้อเยื่อประสาทและสมองส่วนสีเทา

ตัวอย่างของเนื้อเยื่อในส่วนของ dentate gyrus (เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับความจำ) ของสมองผู้ใหญ่ เผยให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยเซลล์สมองเซลล์ใหม่เป็นจำนวนกว่า 6,000 เซลล์ได้เกิดขึ้น

จากผลการวิจัยได้สำรวจเกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีอาการซึมเศร้า พบว่าอาการของพวกเขาสามารถดีขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกาย ทั้งนี้การทำงานของยาแก้เศร้าบางชนิดนั้นคือการกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ในสมองนั่นเอง

นอกจากนี้การออกกำลังกายนั้นยังสามารถทำให้ความเครียดลดลงได้อีกด้วย โดยการยับยั้งการเกิดเซลล์สมองใหม่ผ่านฮอร์โมน คอร์ติซอล

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ร่วมวิจัยกับเพื่อนร่วมงานที่ สถาบันวิจัยพัฒนาการแห่งชาติของอเมริกา ในรัฐแมรี่แลนด์เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับผลจากการวิ่ง แค่เพียงวิ่ง 2-3 วันสามารถสร้างเซลล์สมองใหม่ได้เป็นแสนๆเซลล์เลยทีเดียว ซึ่งสามารถช่วยให้มีประสิทธิภาพในการจดจำโดยไม่สับสน ซึ่งนี่เป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ และการรับรู้สิ่งต่างๆ

ผู้คนมากมายรักการวิ่งจ็อกกิ้ง คุณ Wolfgang Ketterle กล่าวว่า เมื่อเขาได้ออกวิ่ง เขาได้คิดเกี่ยวกับหลายๆอย่าง อาทิ ฟิสิกส์, ปัญหาของครอบครัว, แผนสำหรับช่วงวันหยุด เขาไม่ได้ค้นพบคำตอบของคำถามของเขาทันทีในขณะที่เขาวิ่ง แต่เขาได้มีเวลาคิดเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ ทางแก้บางอย่างนั้นช่างชัดเจน แต่เฉพาะต่อเมื่อคุณอยู่ในภาวะผ่อนคลายพอที่จะค้นพบมัน

ใครไม่สามารถหาเหตุอ้างว่าออกกำลังกายดีอย่างไร เรามีอีกหนึ่งข้อที่เอาไว้จูงใจให้คุณได้ลากตัวคุณไปวิ่งได้ ขอให้สนุกกับการมีสุขภาพดี สมองปลอดโปร่ง


Credit: Sanook !

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง
  อยากเก่งต้องขยัน
คำค้น: จ๊อกกิ้ง วิ่ง สมอง สุขภาพ ความจำ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อาถรรพ์บ้านมือสอง ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้าย จริงหรือ?!
ร้อยภูติ พันวิญญาณ
มดเอ๊ก 0 1245 กระทู้ล่าสุด 02 กรกฎาคม 2559 04:53:38
โดย มดเอ๊ก
อโรคยา ปรมาลาภา ใบกัญชา คือ ยาวิเศษ จริงหรือ ?
สุขใจ จิบกาแฟ
มดเอ๊ก 0 2544 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2559 11:54:33
โดย มดเอ๊ก
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในประเทศไทยคือต้นที่ 3 จริงหรือ ?
เกร็ดศาสนา
หมีงงในพงหญ้า 4 2453 กระทู้ล่าสุด 06 ตุลาคม 2564 13:04:31
โดย หมีงงในพงหญ้า
ที่ใดมีรัก..ที่นั้นมีทุกข์..จริงหรือ
สุขใจ ใต้เงาไม้
ฉงน ฉงาย 1 1246 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2564 15:26:47
โดย ฉงน ฉงาย
[ข่าวเด่น] - จริงหรือ? 7-11 ไม่ชอบใจเดินวนในร้านนาน ๆ แล้วไม่ซื้อของ เซเว่นฯ มาตอบแล้ว
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 49 กระทู้ล่าสุด 26 มกราคม 2567 22:48:16
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.268 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 07:35:50