[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 01:09:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใครเป็นคนเริ่มดื่มชา? ค้นหลักฐานร่องรอยวัฒนธรรมการดื่มที่ฮิตทั่วโลก  (อ่าน 365 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 103.0.0.0 Chrome 103.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2565 19:07:17 »


ภาพประกอบเนื้อหา - (ขวา) คนงานเก็บใบชาในสวน Chinnamora Tea Garden แถบ JORHAT ประเทศอินเดีย เมื่อปี 2005
(ภาพจาก STR / AFP)


ใครเป็นคนเริ่มดื่มชา? ค้นหลักฐานร่องรอยวัฒนธรรมการดื่มที่ฮิตทั่วโลก

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2537
ผู้เขียน - ดร.สุรีย์ ภูมิภมร
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2565


แม้เอกสารส่วนใหญ่จะเห็นว่าการดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดกันว่าน่าจะเริ่มมาไม่น้อยกว่า 2,157 ปีก่อน ปีพุทธศักราช ทั้งนี้ กรรมวิธีในการผลิตชาเพื่อการบริโภคนั้นเป็นการพัฒนางานทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่ที่สุด

มีเรื่องที่น่าสนใจว่า แม้การดื่มชาจะเป็นเรื่องที่พัฒนากันมาแล้ว แต่วัฒนธรรมการดื่มชานี้ได้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

จากการศึกษาในเอกสารที่มีอยู่ในประเทศไทย พบว่าผู้คนส่วนใหญ่มีความคิดไขว้เขวกันมากเกี่ยวกับการดื่มชาว่าใครเป็นคนแรกที่ริเริ่มในการดื่มชา คนทั่วไปเองก็คงจะไม่รับทราบว่าการดื่มชานั้นย่อมต้องมีจุดเริ่มต้น เมื่อเป็นที่ยอมรับทั่วไปก็มีการแพร่หลายมากขึ้น

มีแนวความคิดเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของการดื่มชาหลายแนวความคิด ซึ่งสามารถที่จะประมวลเป็นแนวความคิดได้ ดังนี้

แนวความคิดที่ 1
เมื่อกาลครั้งหนึ่งที่จักรพรรดิเชน หนุง (Emperor Shen Nung) ทรงต้มน้ำใกล้ ๆ กับต้นชา พลันกิ่งชาได้หล่นลงมาในหม้อน้ำ เมื่อเอากิ่งชาและใบชาออกแล้วทรงดื่มดูก็พอพระทัยเป็นที่ยิ่ง หลังจากนั้นจึงได้มีการดื่มชาแพร่หลายมากขึ้น

แนวความคิดที่ 2
มีเรื่องเล่าขานกันว่า นานมาแล้วมีนักบวชชาวอินเดียชื่อธรรม (Daruma) ได้ปรารภกับตัวเองว่าจะพยายามบำเพ็ญเพียรโดยจะไม่นอนเป็นเวลาเจ็ดปี แต่เมื่อได้บำเพ็ญได้เพียงห้าปี ก็เกิดอาการง่วงนอน จึงคว้าเอาใบของต้นชาที่อยู่ใกล้ ๆ มาเคี้ยวเล่น ทำให้สามารถที่จะไม่นอนต่อไปอีก จนครบเจ็ดปีตามที่ได้ตั้งใจเอาไว้ในตอนแรก

เรื่องคล้ายกันนี้ได้รัยการเรียบเรียงไว้ในเอกสารของ ส.พลายน้อย (พฤกษนิยาย) หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงเรื่องราวของนักบวชชื่อธรรม (Daruma) เป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียที่ได้เดินทางไปจาริกบุญเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศจีน ช่วงนั้นอยู่ในแผ่นดินของจักรพรรดิกูตี่ (Emperor Ku Ti) หรือในช่วงปี พ.ศ.1063

องค์จักรพรรดิกูตี่นิยมชมชอบนักบวชเป็นที่ยิ่ง จึงทรงนิมนต์นักบวชให้เข้าไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งที่เมืองนานกิงขณะที่นักบวชได้นั่งสวดมนต์ภาวนาก็เกิดเผลอม่อยหลับไป ทำให้คนจีนหัวเราะเยาะและเย้ยหยัน ท่านธรรมจึงตัดหนังตาของตัวเองทิ้งเสีย หนังตาเหล่านั้นเมื่อตกถึงพื้นดินก็เกิดงอกเงยขึ้นมาเป็นต้นพืช นับเป็นศุภนิมิตที่สร้างความแปลกใจให้แก่ชาวจีนเป็นที่ยิ่ง คนจีนจึงพากันเก็บใบชามาชงในน้ำเดือดเพื่อรักษาโรค

แนวความคิดที่ 3
สมัยหนึ่งได้เกิดอหิวาตกโรคในตำบลหนึ่งของประเทศจีน ชาวบ้านต่างพากันล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เกี้ยอุยซินแซพบว่าสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนต่างพากันดื่มน้ำสกปรก จึงแนะนำให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่ม และเพื่อให้ชาวบ้านเพื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ลงไปในน้ำต้ม

เกี้ยอุยซินแซพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้บ้าง จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำตาม พืชที่มีกลิ่นหอมนั้นที่แท้ก็คือต้นชานั่นเอง

แนวความคิดที่สามของเกี้ยอุยแซนี้ มีความเป็นไปได้สูงมาก แม้ในเอกสารเอ็นไซโคลพีเดีย บริตานิก้าที่มีชื่อเสียงก็ยังได้ให้ข้อคิดเห็นว่า เรื่องราวของการดื่มชาที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีนหรือเมื่อราว 4,692 ปีมาแล้ว แนวความคิดนี้ให้เหตุผลว่าอันการเริ่มต้นของการดื่มชานั้น เป็นการต้มน้ำเพื่อรักษาสุขภาพให้ดี แต่เอกสารนี้ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก

แนวความคิดที่ 4
จากข้อสันนิษฐานทางวิทยาศาสตร์เห็นว่า ชาไม่ได้มาจากจีน แต่น่าจะมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดนี้มี เอเดนและเฮมุคคาเซ ทั้งสองให้ความเห็นว่า ชาที่ดื่มกันอยู่ทุกวันนี้น่าจะมาจากเวียดนาม โดยได้นำเข้าไปปลูกในจีนและญี่ปุ่นโดยพระสงฆ์ จากนั้นจึงมีการเผยแพร่ทั้งการปลูกและการบริโภค ถ้าพิจารณาด้วยเหตุผลแล้วจะเห็นว่าแนวความคิดที่ 3 หรือที่ 4 นั้น เป็นความคิดที่น่าจะถูกต้องเพราะมีเหตุผลดี

คนจีนได้ถือปฏิบัติการดื่มชาเรื่อยมาเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว แม้คนจีนรุ่นใหม่ก็ดื่มน้ำเย็นกันน้อย เวลาทานข้าวก็ทานน้ำชา หรือไม่ก็เครื่องดื่มทั้งประเภทน้ำแข็งใส่น้ำชา ชาดำเย็นหรือชาเย็น แล้วแต่ว่าใครจะชอบแบบไหน

พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่บ่งบอกถึงแนวทางของการวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของมนุษย์ แม้จุดเริ่มต้นเกี่ยวกับการดื่มชาจะไม่ชัดเจนดีพอ แต่ก็ยังมีการดื่มชากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อความต้องการดื่มชาของมนุษย์ได้เพิ่มมากขึ้น พื้นที่ปลูกชาจึงได้ขยายตัวอย่างมากมาย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.266 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กันยายน 2566 07:44:49