[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 ธันวาคม 2567 06:08:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "ทำไมคนไทยเรียก ฌ เฌอ ว่า ฌ กะ เฌอ"  (อ่าน 445 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0 Chrome 104.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 สิงหาคม 2565 17:03:41 »


"ทำไมคนไทยเรียก ฌ เฌอ ว่า ฌ กะ เฌอ"


       (:LOVE:)ความเป็นไปได้ ๑.
       หลายคนคงทราบว่าในยุคหลัง ๆ (รวมถึงปัจจุบัน) เวลาเรียกตัว ศ ศาลา และ ษ ฤๅษี หลายคนมักจะเรียกว่า ศ คอ ศาลา และ ษ บอ ฤๅษี ทั้งนี้เพราะ ศ มีลักษณะคล้ายกับ ค และ ษ ก็มีลักษณะคล้ายกับ บ เหตุผลเพื่อช่วยให้ไม่สับสน (ซึ่งการท่องจำลักษณะนี้เป็นวิธีการที่ไม่เป็นทางการ ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ต้องเรียกว่า ศ ศาลา และ ษ ฤๅษี ตามลำดับ)

       จากเหตุผลข้างต้น เชื่อว่าในอดีตนั้น ผู้แต่งตำราและบทท่องพยัญชนะไทย อาจต้องการหาเทคนิคช่วยให้เด็กนักเรียนจดจำ ฌ ให้ได้ ซึ่ง ฌ ก็มีลักษณะคล้ายกับ ก เช่นกัน โดยพบหลักฐานในตำราท่องพยัญชนะไทยบางเล่ม (ตามภาพนี้) พิมพ์ว่า ฌ ก เฌอ ซึ่งจากตรงนี้หลายคนคงคิดว่าก็ต้องท่องว่า ฌ กอ เฌอ เช่นเดียวกันกับ ศ คอ ศาลา และ ษ บอ ฤๅษี เหมือนในยุคหลัง ไม่น่าจะเป็นที่มาของ ฌ กะ เฌอ

       พระยาอุปกิตศิลปสาร กล่าวไว้ในหนังสือ "สยามไวยากรณ์ อักขระวิธี ภาคต้นและภาคสอง สำหรับประโยค ๓ ชั้น ๑ ร,ศ, ๑๒๐" มีใจความว่า ตัวอักษรไทยนั้นมีรากฐานมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต "วิธีอ่านพยัญชนะทั้ง ๒ ภาษานี้ เขาสมมตสระอะประสม อ่านเป็น กะ ขะ" (ซึ่งจะต่างจากยุคปัจจุบันที่อ่านพยัญชนะว่า กอ ขอ)

       ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเชื่อได้ว่า การที่ตำราหรือบทท่องพยัญชนะไทยในอดีตเขียนว่า ฌ ก เฌอ นั้น จึงออกเสียงว่า ฌ กะ เฌอ ตามหลักวิธีอ่านพยัญชนะของบาลีและสันสกฤตด้วยเช่นกัน เพราะในอดีตเรายังไม่เรียกพยัญชนะ ก ข ค ง ว่า กอ ขอ คอ งอ แต่จะเรียกว่า กะ ขะ คะ งะ นั่นเอง (หรืออาจเป็นการอ่านออกเสียงตามการลดรูปของสระอะก็ได้ คือ ก ออกเสียงว่า กะ) โดยการท่องพยัญชนะ ฌ ว่า ฌ กะ เฌอ นี้ ได้รับการท่องจนติดปากต่อ ๆ กันเรื่อยมา

------
       (:LOVE:)ความเป็นไปได้ ๒.
       เรามักจะได้ยินคำท่องพยัญชนะว่า ฌ กะ เฌอ คู่กัน หรือ ฌ กะ เฌอ ต้นไม้ (โดยมีภาพประกอบเป็นต้นไม้สองต้นเสมอ) ตรงนี้ก็อาจเป็นอีกหนึ่งที่มาได้เช่นกัน โดยคำว่า เฌอ ในภาษาไทยนั้นหมายถึง ต้นไม้ หรือไม้ และมีรากศัพท์มาจากภาษาเขมร (ข. เฌี = ไม้, เฎิมเฌี = ต้นไม้) ซึ่งคำที่เขียนด้วย ฌ ในภาษาไทยนั้นมีน้อยมาก การที่ให้ท่องว่า ฌ กะ เฌอ ก็อาจเพื่อต้องการให้เด็กจำว่า ถ้าจะเขียนคำว่า เฌอ จะต้องใช้ ฌ เท่านั้น คือ ฌ จะต้องคู่กับคำว่า เฌอ (ไม่ใช่ เชอ ที่เขียนด้วย ช) จึงน่าจะเป็นที่มาว่า ฌ กับ เฌอ หรือ ฌ กะ เฌอ นั่นเอง

.......
      จากความเป็นไปได้ทั้งสองข้อข้างต้นนี้ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่มาของการเรียก ฌ ว่า ฌ กะ เฌอ จนติดปาก และครูก็ได้นำมาสอนนักเรียนท่องจำจากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยมา  อย่างไรก็ดี สำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้เรียก ฌ ว่า ฌ เฌอ (อ่านว่า ชอ-เชอ) เพราะคำว่า เฌอ นั้นมีรากศัพท์จากภาษาเขมรที่แปลว่าต้นไม้ ไม่ใช่ ชอ กระเชอ ที่เขียนด้วย ช ช้าง ที่หมายถึงภาชนะสานด้วยไม้ชนิดหนึ่ง ที่มักใช้ว่า กระเชอก้นรั่ว

       ดังนั้น เวลาที่เราต้องเรียกตัวอักษร ฌ อย่างเป็นทางการ จึงควรเรียกว่า ฌ เฌอ (ชอ-เชอ) จึงจะถูกต้อง (รวมทั้งต้องเรียก ศ และ ษ ว่า ศ ศาลา และ ษ ฤๅษี ด้วยตามลำดับ)



       .......
       ผู้เขียน : ตะขบ
       Page : มานะ มานี ปิติ ชูใจ
       วันที่ : ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

       ภาพประกอบ : คุณ Cinn Natthicha

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.202 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 07:08:35