[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 03:39:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้าราชการสยาม ดูหมิ่นดูแคลน “พระพุทธรูปลาว” ชี้ ไม่คู่ควรกับบ้านเมืองกรุงเทพฯ  (อ่าน 265 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 ตุลาคม 2565 15:12:37 »



ภาพพระพุทธรูปฝีมือช่างพื้นบ้านของอีสาน
จากชุดภาพประกอบบทความของ ติ๊ก แสนบุญ ใน ศิลปวัฒนธรรม


ข้าราชการสยาม ดูหมิ่นดูแคลน “พระพุทธรูปลาว” ชี้ ไม่คู่ควรกับบ้านเมืองกรุงเทพฯ

ผู้เขียน - เสมียนนารี
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2565


ในบทความเรื่อง พระพุทธรูปอีสาน : ว่าด้วย การสร้าง และการเสื่อม แห่งการนิยาม คุณค่าความหมาย โดย ติ๊ก แสนบุญ ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2559 นอกจากจะบอกที่มาที่ไปของพระพุทธรูปอีสานได้อย่างน่าสนใจแล้ว อีกประเด็นสำคัญของบทความคือการสะท้อนมุมมองของคนไทยที่มีต่อพุทธศิลป์ของคนลาว

ติ๊กยกบันทึกพงศาวดารในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งอ้างว่ามีกลุ่มเสนาบดี ตำหนิพระพุทธรูปลาว ซึ่งติ๊กให้ข้อมูลเพิ่มเติมเจาะจงว่า เสนาบดีกลุ่มนี้หมายถึงพระเสริม (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร) และพระใส (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย) สองพระพุทธรูปที่สยามได้มาหลังการทำลายกรุงเวียงจันทน์ สมัยกบฎเจ้าอนุวงศ์ ว่าไม่คู่ควรกับบ้านเมืองกรุงเทพฯ

“เพราะพระพุทธรูปเป็นแต่ของหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ย่อมๆ ไม่เป็นที่เห็นเป็นประหลาดอัศจรรย์อะไรนักนั้นก็ไม่ควรแก่พระบารมีเลย พระพุทธรูปอย่างนี้ถึงอยู่ในกรุงเทพมหานครก็ไม่เป็นที่ออกอวดแขกบ้านแขกเมืองได้เหมือนพระแก้วมรกตและพระแก้วผลึก”

ติ๊กยังยกคำกล่าวของ สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์ ซึ่งปราฏตามบทความว่า “ในวงการนักสะสมพระพุทธรูปในเมืองไทยจะนิยมเรียกพระพุทธรูปที่ไม่งดงามหรือมีความอ่อนด้อยทางทักษะฝีมือ ว่าเป็นพระพุทธรูปลาว เช่นเรียกว่า พระเชียงแสนลาว หรือพระอยุธยาลาว ฯลฯ โดยทั้งหมดมีนัยยะที่มีพื้นฐานมาจากความมีอคติทางชาติพันธุ์จากคำว่าลาว ในฐานะลูกไล่ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่อยู่ในกลุ่มสายสกุลช่างพื้นบ้าน โดย สมเกียรติ โล่เพชรรัตน์ กล่าวต่ออีกว่า แท้จริงแล้วศิลปะพระพุทธรูปล้านช้างแบบช่างเมืองหลวงนั้นมีความสวยงาม ความประณีตไม่แพ้ศิลปะของประเทศใดในโลก เป็นความงามแบบอุดมคติและมีความเป็นเอกลักษณ์ลาวอย่างแท้จริง”

สำหรับพระพุทธรูปสกุลช่างพื้นบ้านของอีสานนั้น ติ๊กอธิบายว่า ช่างกลุ่มนี้เป็นช่างชาวบ้านที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านงานช่าง แต่เป็นกลุ่มชาวบ้านที่มีอาชีพหรืองานประจำทางการเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ไม่ใช่ช่างฝีมือที่มีทักษะทางการสร้างประติมากรรมโดยเฉพาะ ต่างจากกลุ่มช่างพื้นเมืองหรือช่างราษฎร์ที่ได้คนใหญ่คนโตระดับเจ้าเมืองชุบเลี้ยงจึงมีฝีมือในเชิงช่างที่สูงกว่าช่างพื้นบ้าน

แต่ติ๊กกล่าวว่า ความหยาบกระด้างไม่ได้สัดส่วนพุทธลักษณะของพระพุทธรูปที่สร้างโดยช่างพื้นบ้าน คือสิ่งที่สะท้อนถึงคุณค่าทางศิลปะพื้นบ้าน (Folk art) อย่างเต็มที่ พร้อมยกบทกวีของ วิโรฒ ศรีสุโร ประกอบว่า

“นั่งเลี้ยงควายหาไม้มาแซะแกะเป็นพระ ไม่สวยสะแต่สวยซื่อคือพระพุทธ แทนคุณค่าความดีความบริสุทธิ์ ใจผ่องผุดเกิดพุทธ…ปฏิมากร”

“…ฐานชุกชีมีพระไม้หลากหลายยิ่ง พระจริงๆ ใช่พระปลอมยอมยกให้ นั่งเลี้ยงควายแกะพระไว้ด้วยหัวใจ สมาธิใสศิลป์บริสุทธิ์วิมุตติธรรม”




พระเสริม พระพุทธรูปลาวซึ่งถูกอัญเชิญมาจากกรุงเวียงจันทน์
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
ภาพจากหนังสือ พระพุทธรูป มรดกล้ำค่าของเมืองไทย โดย ทศพล จังพานิชย์กุล

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.304 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 14:43:22