[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 08:23:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไม้กวาดและอานิสงส์ของการกวาด  (อ่าน 345 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 ตุลาคม 2565 19:50:31 »





พระราชปัญญาวิสารัท (หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม)
ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ฝ่ายธรรมยุต) วัดกระดึงทอง อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

หยาดเหงื่อพระผู้เฒ่า พระราชาคณะผู้เป็นแบบอย่างในการดำรงข้อวัตร มิได้ถือตัวตนว่าเป็นท่านเจ้าคุณ
ด้วยอายุย่างเข้า ๘๙ ปี ท่านยังคงทำหน้าที่ของพระสงฆ์เป็นแบบอย่างให้พระลูกพระหลานวัยรุ่นวัยหนุ่ม
ได้สำนึกตน ว่าไม่ควรปล่อยกายปล่อยใจ ให้สุขสบายไปตามกระแสกิเลส มิเช่นนั้นจะกลายเป็นศิษย์ผิด
แนวอาจารย์ พระหนุ่มเณรน้อยภายในวัดก็ปัดกวาดเช่นเดียวกับหลวงปู่ เนื่องด้วยการปัดกวาดเสนาสนะ
เป็นกิจวัตร ๑๐ ประการของพระ หลวงปู่ท่านจึงไม่ยอมบกพร่องในการรักษากิจวัตรขององค์ท่าน
ที่มา : board.postjung.com/

ไม้กวาดและอานิสงส์ของการกวาด


ไม้กวาด หรือไม้ตาดนั้นตรงกับคำในภาษาบาลีว่า “สมฺมชฺชนี” เป็นการประยุกต์เอาวัสดุธรรมชาติรอบๆ ตัวมาดัดแปลงเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาด  โดยพระภิกษุตามต่างจังหวัดหรือที่มักเรียกกันว่า พระสายวัดป่านั้นจะเรียนรู้ที่จะทำไม้กวาดไว้ใช้เอง

การถักไม้กวาดนั้น คือการนำเอาก้านมะพร้าวบ้างมาเหลาและถักเข้ากับก้านไม้รวก ในบางครั้งหากหาทางมะพร้าวไม่ได้ก็อาจประยุกต์ใช้ก้านไม้ชนิดอื่นแทน เช่น ก้านต้นชกมาเหลาและใช้แทนได้เช่นกัน ดังปรากฏวินัยของพระในเรื่องของการทำความสะอาดอย่างละเอียด เป็นข้อวัตรที่สัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ หรืออันเตวาสิกพึงปฏิบัติอาจารย์ ทั้งการดูแลที่ฉันภัตตาหารและเสนาสนะที่พักอาศัยว่า “โส เทโส อุกฺลาโป โหติ โส เทโส สมฺมชฺชิตพฺโพ” แปลว่า “ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย”

วินัยในเรื่องของความสะอาดนั้นยังให้รายละเอียดและขั้นตอนของการทำความสะอาดไว้ความละเอียดลออ ดังเช่น

ถ้าจะปัดกวาดในที่พักอาศัยให้พึงขนบาตร จีวร ที่หลับที่นอนออกไปก่อน เตียงตั่งหากยกออกให้ยกต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ถ้ามีหยากไย่ให้กวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมันหรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสียถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย

แต่ในขณะเดียวกันหากสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเกิดอาพาธป่วยไข้ขึ้นมา อุปัชฌาย์อาจารย์เหล่านั้นก็ต้องลงมาดูแลปัดกวาดเสนาสนะให้กับลูกศิษย์ของตนเช่นเดียวกัน  นับเป็นความงดงามในการดูแลซึ่งกันและกันของหมู่สงฆ์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

นอกจากนี้ บริเวณวัดอื่นๆ ทั้งซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ หรือห้องน้ำหากมีความสกปรกขึ้น ก็มีพระวินัยระบุให้พึงปัดกวาดเสียให้เรียบร้อย  ดังที่ครั้งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงกวาดโรงอุโบสถ พระพุทธองค์จึงทรงมีพุทธานุญาตให้พระเถระสามารถสั่งพระนวกภิกษุได้ หากพระนวกภิกษุรูปใดไม่ยอมกวาด หากภิกษุนั้นมิได้อาพาธ ต้องอาบัติทุกกฏ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าข้อวัตรเรื่องการดูแลเสนาสนะทั้งส่วนตนและส่วนรวมที่ของที่พึงเกิดขึ้นในตนเอง จนมักเรียกกันว่าข้อวัตร เป็นสิ่งที่พึงทำตลอดจนเป็นกิจวัตรเป็นนิสัย  รู้จักดูแลช่วยเหลือส่วนรวม ซึ่งก็คือหมู่สงฆ์ที่อยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นศีลระดับเบื้องต้นที่พระทุกรูปพึงมี หากแม้พระรูปใดมิได้ช่วยกิจการข้อนี้แก่หมู่สงฆ์เลย ก็คงไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องสมาธิภาวนา เพราะย่อมไม่เกิดผลเช่นกัน เพราะในเมื่อศีลในระดับเบื้องต้นยังไม่เกิดขึ้น จะปรากฏอะไรกับภาวนาอันเป็นเหตุเบื้องปลายในอนาคต

นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ทรงกล่าวถึงอานิสงส์ของการกวาด ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก ปริวาร ดังนี้

การกวาดมีอานิสงส์ ๕ คือ
      ๑.จิตของตนเลื่อมใส
      ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส
      ๓. เทวดาชื่นชม
      ๔. สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส
      ๕. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑

การกวาดมีอานิสงส์แม้อื่นอีก ๕ คือ
      ๑. จิตของตนเลื่อมใส
      ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส
      ๓. เทวดาชื่นชม
      ๔. เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
      ๕. ชุมชนมีในภายหลังถือเป็นทิฏฐานุคติ

ด้วยพระภิกษุผู้ทำข้อวัตรเหล่านั้น ย่อมขัดเกลาตนเอง ยังให้เห็นความดีในตน เกิดความชื่นชมในตนเอง และผู้พบเห็นก็เกิดความเลื่อมใสชื่นชมด้วยเช่นกัน แม้เทวดาบนฟ้าหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่พบเห็นก็ชื่นชมด้วยกัน ด้วยเป็นการทำข้อวัตรตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เป็นแบบอย่างแก่พระนวกภิกษุผู้บวชใหม่ต่อไป กุศลกรรมครั้งนี้จึงบันดาลให้เกิดในสุคติภพได้ด้วยเช่นกัน


ที่มา : เพจ เล่าเรื่องวัดบวรฯ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.259 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 เมษายน 2567 04:32:35