[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 23:27:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขนมเบื้อง เกี่ยวเนื่องในพุทธประวัติอย่างไร?  (อ่าน 413 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 ตุลาคม 2565 19:37:05 »



นางสร้อยฟ้า นางศรีมาลา ละเลงขนมเบื้อง
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวในวรรณคดี "ขุนช้างขุนแผน" ที่วัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ขนมเบื้อง เกี่ยวเนื่องในพุทธประวัติอย่างไร?

ขนมเบื้องถือเป็นขนมอวดฝีมือของกุลสตรีไทยมาแต่โบราณ เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่เดิมนิยมรับประทานในฤดูที่มีกุ้งแม่น้ำชุกชุม คือฤดูหนาว  

ขนมเบื้องที่ดีต้องมีฝีมือในการละเลงให้บางและกรอบ  หน้าขนมเบื้องมี ๒ แบบ หน้าเค็มและหน้าหวาน แบบหน้าเค็มแต่เดิมใช้เนื้อกุ้งหลวง(กุ้งแม่น้ำ)ผสมมันกุ้ง สับละเอียดให้เข้ากัน ละเลงหน้ากุ้งบนแผ่นแป้ง เมื่อแป้งกรอบแล้วโรยมะพร้าวขูดทับบนกุ้ง ตามด้วยใบผักชี ใบหอมและใบมะกรูดที่ซอยละเอียด พริกไทยป่น ส่วนหน้าหวานทำจากไข่และน้ำตาลทรายขาวที่ตีจนขึ้นดี ละเลงบนแผ่นแป้ง โรยด้วยมะพร้าวขูด พับลงจานยกไปตั้งรับประทาน

ในสมัยพุทธกาลน่าจะมีการทำขนมเบื้องแล้ว ในหนังสือ "ธรรมบทเผด็จ" กล่าวถึงเศรษฐีโกสิยะซึ่งเป็นคนตระหนี่อยากกินขนมเบื้อง จึงให้ภรรยาขึ้นไปทำขนมเบื้องบนปราสาทชั้นเจ็ดเพื่อจะได้ไม่ต้องแบ่งให้ใคร

ในอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
(๕. เรื่องโกสิยเศรษฐผู้มีความตระหนี่)


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภเศรษฐีชื่อโกสิยะ ผู้มีความตระหนี่ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ" เป็นต้น  เรื่องตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.

ดังได้สดับมา ในที่ไม่ไกลแห่งกรุงราชคฤห์ ได้มีนิคมชื่อสักกระ, เศรษฐีคนหนึ่งชื่อโกสิยะ มีความตระหนี่ มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ประจำอยู่ในนิคมนั้น เขาไม่ให้แม้หยดน้ำมัน (สักหยดเดียว) ด้วยปลายหญ้าแก่คนเหล่าอื่น ทั้งไม่บริโภคด้วยตนเอง สมบัติของเขานั้นไม่อำนวยประโยชน์แก่ปิยชนทั้งหลาย มีบุตรและภรรยาเป็นต้น ไม่อำนวยประโยชน์แก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย คงเป็นของไม่ได้ใช้สอย ตั้งอยู่เหมือนสระโบกขรณี ที่ผีเสื้อน้ำหวงแหน ด้วยประการฉะนี้แล.

เวลาจวนสว่าง พระศาสดาเสด็จออกจากสมาบัติอันประกอบด้วยความกรุณาใหญ่ ทรงตรวจดูหมู่สัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ที่พอแนะนำในการตรัสรู้ได้ในสกลโลกธาตุ ได้ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของเศรษฐีพร้อมทั้งภรรยา ซึ่งอยู่ในที่สุดแห่งที่ ๔๕ โยชน์

วันหนึ่งเศรษฐีนั้นไปสู่พระราชมนเทียรเข้าเฝ้าพระเจ้ามคธ ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ได้เห็นชาวบ้านกำลังกินขนมกุมมาส (ขนมเบื้อง) จึงเกิดความกระหายในขนมนั้นเป็นอย่างยิ่ง ไปสู่เรือนของตนแล้ว คิดว่า "ถ้าเราบอกว่า ‘เราอยากกินขนมเบื้อง’ ไซร้, คนเป็นอันมากก็จักอยากกินกับเรา, เมื่อเป็นอย่างนั้น จะทำให้สิ้นเปลืองวัตถุในการทำเป็นอันมาก มีงา ข้าวสาร เนยใส น้ำอ้อยเป็นต้น  ดังนี้แล้ว จึงตัดสินใจอดกลั้นความหิวไม่บอกแก่ใคร เพราะกลัวเสียทรัพย์ เมื่อเวลาล่วงไปหลายวัน เขาก็ยังอยากกิน จนร่างกายผอมลง มีเส้นเอ็นปรากฏ แต่นั้น ไม่สามารถจะอดกลั้นความอยากไว้ได้ เข้าห้องแล้วนอน

ภรรยาเศรษฐีเห็นความเปลี่ยนแปลงของสามีแล้ว จึงเข้าไปถามเพื่อหาสาเหตุ ท้ายที่สุดเศรษฐีจึงบอกภรรยาว่าตนอยากกินขนมเบื้อง และให้ภรรยาทอดขนมเบื้องเพียงพอเฉพาะตนคนเดียวเท่านั้น เพราะไม่ต้องการแบ่งให้ผู้อื่นแม้แต่ภรรยาของตน แล้วให้ภรรยาใช้ข้าวสารหักและเชิงกรานและกระเบื้อง และจัดเตรียมน้ำนม เนยใส น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยหน่อยหนึ่ง  แล้วไล่ทาสีไป ให้เรียกเศรษฐีมา  

เศรษฐีนั้น ปิดประตูใส่ลิ่มและสลักประตูทุกประตูตั้งแต่ประตูแรก เมื่อขึ้นไปยังชั้นที่ ๗ ปิดประตูเพื่อไม่ให้ใครเห็น แล้วนั่ง ณ ชั้นนั้น. ฝ่ายภรรยาของเขาก็ติดไฟที่เชิงกราน ยกกระเบื้องขึ้นตั้ง แล้วเริ่มทอดขนม

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานเถระมาแต่เช้าตรู่ ตรัสให้พระมหาโมคคัลลานเถระไปกำราบเศรษฐีให้สิ้นพยศ ให้ทั้งสองผัวเมียถือขนมและน้ำนม เนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อย นำมายังพระเชตวันด้วยกำลังของพระเถระ วันนี้ เรากับภิกษุ ๕๐๐ รูป จักนั่งในวิหาร จักทำภัตกิจด้วยขนมเท่านั้น

พระเถระจึงไปยังบ้านเศรษฐีด้วยกำลังฤทธิ์ ยืนที่หน้าต่างของปราสาท เมื่อเศรษฐีเห็น จึงขับไล่ แต่พระเถระก็ยังไม่ไป พระโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ด้วยการเดินจงกรม นั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ มายืนที่ขอบหน้าต่าง บังหวนควันขึ้น จนเศรษฐีคิดว่าพระเถระอยากได้ขนมจริงๆ จึงบอกให้ภรรยาทอดขนมชิ้นเล็กๆ ชิ้นหนึ่งให้แก่พระเถระ แต่ขนมชิ้นเล็กเมื่อลงกระทะกลับกลายเป็นชิ้นใหญ่ เศรษฐีไม่พอใจ จึงลงมือทอดเอง แต่ยิ่งทอดขนมก็ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเขาเกิดความเบื่อหน่าย จึงให้ขนมแก่พระเถระหนึ่งชิ้น

แต่เมื่อหยิบขนมหนึ่งชิ้น ขนมทั้งหมดกลับติดกันเป็นชิ้นเดียว ทำเท่าไหร่ก็ไม่สามารถแยกขนมได้ จนเศรษฐีเหนื่อย ความหิวและความต้องการขนมได้หายไป จึงบอกให้ภรรยาถวายขนมทั้งหมดแก่พระเถระ

พระเถระแสดงธรรมแก่คนทั้งสอง กล่าวคุณพระรัตนตรัย แสดงผลของการให้ทานว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ย่อมมีผล ยัญที่บุคคลบูชา ย่อมมีผล จนเศรษฐีเกิดความเลื่อมใส

พระเถระได้พาเศรษฐีและภรรยาไปเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ณ พระเชตวัน ด้วยกำลังฤทธิ์ ทั้งสองได้ถวายทักษิโณทกแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ภรรยาใส่ขนมในบาตรของพระตถาคต ทั้งสองได้บริโภคขนมจนพอแก่ความต้องการ และแม้จะถวายขนมแก่ภิกษุทุกรูปในวิหาร ให้แก่คนอนาถาทั้งหลาย ขนมก็ไม่หมดสิ้นไป พระพุทธองค์จึงให้ทั้งสองทิ้งขนมบริเวณซุ้มประตูพระเชตวัน ซึ่งทุกวันนี้ที่นั้นก็ยังปรากฏชื่อว่า เงื้อมขนมเบื้อง

ในกาลจบอนุโมทนา สามีและภรรยาทั้งสองบรรลุโสดาปัตติผล  ถวายบังคมพระศาสดา ขึ้นบันไดที่ซุ้มประตูพระเชตวัน แล้วสถิตอยู่ที่ปราสาทของตน ตั้งแต่นั้นมาเศรษฐีได้บริจาคทรัพย์จำนวน ๘๐ โกฏิ ถวายในพระพุทธศาสนา.

ในวันรุ่งขึ้นพระศาสดาตรัสสรรเสริญพระโมคคัลลานะแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เป็นภิกษุผู้กำราบ ไม่กระทบกระทั่งศรัทธา ไม่กระทบโภคะ ไม่ให้สกุลชอกช้ำ ไม่เบียดเบียนสกุล เข้าไปหาสกุลแล้ว ควรให้รู้พุทธคุณ แล้วตรัสพระคาถาดังนี้ว่าา ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ   วณฺณวนฺตํ อเหฐยํ  ปเลติ รสมาทาย    เอวํคาเม มุนี จเร. มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้วบินไปฉะนั้

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

พระศาสดา ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว เพื่อจะประกาศคุณของพระเถระ แม้ให้ยิ่ง จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะทรมานเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่, แม้ในกาลก่อน เธอก็ทรมานเขาแล้ว ให้รู้ความเกี่ยวเนื่องกันแห่งกรรมและผลแห่งกรรมเหมือนกัน" เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ ทรงนำอดีตนิทาน (มาสาธก) ตรัสอิลลีสชาดก นี้ว่า  "คนทั้งสองเป็นคนกระจอก คนทั้งสองเป็นคนค่อม คนทั้งสองเป็นคนมีตาเหล่ คนทั้งสองมีต่อมบนศีรษะ, เราไม่รู้จักเศรษฐีชื่ออิลลีสะ (ว่า) คนไหน?" ดังนี้แล.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ตุลาคม 2565 19:42:19 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ขนมเบื้อง : "อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก" บททดสอบความเป็น "แม่ศรีเรือน"
เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
Kimleng 0 1453 กระทู้ล่าสุด 19 กุมภาพันธ์ 2563 15:19:03
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.306 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 12:30:05