[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 18:08:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิหารวัดบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ - ควรแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพุทธศาสนา  (อ่าน 453 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0 Chrome 107.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 ตุลาคม 2565 19:47:44 »




ราวบันใดด้านหน้าวิหารหลวงทำเป็นรูปมกรคายนาค
ที่มีปากเหมือนจะงอยปากพญาครุฑ (หรือ ปากนกแก้ว) ดังนั้น ราวบันไดที่วัดบวกครกหลวงจึงได้ชื่อว่าแตกต่างจากวัดแห่งอื่นๆ
ซึ่งงดงามแปลกตามากและมีอยู่แห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นของดั้งเดิมมาแต่โบราณ เป็นการใช้ศิลปะสื่อคุณธรรมสามัคคี
แม้แต่นาคและครุฑที่เป็นปรปักษ์กัน เมื่อถึงคราวปฏิบัติศาสนกิจที่ตนปวารณาตนไว้แล้ว ก็ต้องละทิฏฐิเดิมเพื่อความสำเร็จในการ
ประกอบกิจกับพระศาสนา


วัดบวกครกหลวง - Wat Buak Krok Luang
ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดบวกครกหลวง เป็นวัดเก่าแก่ขนาดเล็ก ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔ บ้านบวกครกหลวง หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๔๙๗ วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏการก่อสร้างในเอกสารตำนานและพงศาวดารใดๆ แต่จากการสืบประวัติภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏพอจะประมาณได้ว่าอายุของวิหารนี้ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ปี และมีประวัติการปฏิสังขรณ์วิหาร ว่า มีการบูรณะหลายครั้งในช่วงสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๙  โดยเฉพาะในคราวที่เจ้าราชภาคิไนย (เจ้าน้อยสุริยฆาฏ) บิดาของเจ้าจามรีราชเทวี ชายาของเจ้าแก้วนวรัฐ ทำการบูรณะวิหารครั้งใหญ่ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่หน้าบัน ระบุปี พ.ศ.๒๔๖๘ และมีการบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๙๘ มีการทำพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน โดยซ่อมเสาวิหารซึ่งเป็นเสาไม้ขนาดคนโอบไม่รอบ ซึ่งผุและมีปลวกมากัดกิน จึงได้ตัดเสาที่ติดกับพื้นซีเมนต์แล้วเทปูนทับเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ และได้เจาะผนังเพื่อทำเป็นช่องลมและหน้าต่าง ทำให้ภาพจิตรกรรมขาดหายไปบางส่วน

จากตำนานประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ กล่าวถึงลักษณะที่ตั้งของชุมชนบวกครกหลวงว่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเวียงเชียงใหม่ ระหว่างแอ่งที่ลุ่มลำน้ำปิงกับลำน้ำแม่คาว จนกลายเป็นที่มาของชื่อชุมชนและชื่อวัดในเวลาต่อมา แม้จะปรากฏหลักฐานจากคำบอกเล่าว่า เดิมชื่อของวัดแห่งนี้คือ “วัดม่วงคำ” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็มักนิยมเรียกชื่อของวัดว่า “วัดบวกครกหลวง”  

ส่วนชื่อที่ว่า บวกครกหลวง นี้เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า “บวกครก” แปลว่า หลุม  คำว่า “หลวง” แปลว่า ใหญ่ จึงอาจแปลได้ว่า วัดหลุมใหญ่  การตั้งชื่อวัดนั้นอาจจะตั้งตามชื่อหมู่บ้าน และชื่อหมู่บ้านก็อาจมีที่มาจากสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชนที่มีลักษณะเป็นแอ่งอยู่ริมน้ำปิงและน้ำแม่คาวนั่นเอง  หรืออีกนัยหนึ่ง ก่อน พ.ศ.๒๔๙๗ พระภิกษุที่จำพรรษาอยู่และพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญวัดแห่งนี้ จะใช้พระอุโบสถหลังเก่าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับที่ตั้งของวัดในการทำสังฆกรรมของสงฆ์ หรือแม้แต่การอุปสมบทพระภิกษุก็ตาม กระทั่งการพัฒนาทางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ชาวล้านนาสมัยนั้นเริ่มใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางมากขึ้น เจ้านายผู้ปกครองบ้านเมืองจึงได้สร้างถนนสายเชียงใหม่สันกำแพง จึงทำให้ผืนแผ่นดินที่บรรจบกันระหว่างบริเวณฝั่งที่ตั้งของวัดและบริเวณฝั่งที่ตั้งของอุโบสถแบ่งจากกันอยู่อีกฝั่งของถนนที่ตัดผ่าน เป็นเหตุให้พระภิกษุที่อยู่ฝั่งที่ตั้งของวัดและพุทธศาสนิกชนที่สูงอายุที่อยู่ฝั่งที่ตั้งของอุโบสถมีความลำบากในการเดินทางไปทำสังฆกรรมของสงฆ์และการบำเพ็ญบุญที่วัด  จึงทำให้ต้องถอนพัทธสีมาที่อุโบสถแห่งนั้นมาสร้างในอาณาบริเวณของวัด และขอพระราชทานวิสุงคามสีมาอีกครั้ง โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๔๙๗

ส่วนพุทธศาสนิกชนอีกฝั่งหนึ่งนั้น ก็ร่วมกันคิดสร้างวัดขึ้นมาอีก ๑ วัด เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงขนานนาม ครั้นจะตั้งชื่ออื่นก็ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก จึงอิงชื่อนามของวัดบวกครก วัดเดิมที่เคยร่วมทำนุบำรุงเมื่อกาลก่อน มาเป็นชื่ออารามใหม่ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยให้วัดบวกครกเดิมนั้นเป็น “วัดบวกครกหลวง” และอารามใหม่ที่สร้างเป็น “วัดบวกครกน้อย” ดังที่เรียกขานกันในกาลปัจจุบัน

ความโดดเด่นของวัดบวกครกหลวงอยู่ที่วิหารทรงล้านนา ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไม้ และภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร


วิหาร มีลักษณะเป็นอาคารทึบแบบพื้นเมืองล้านนา ตกแต่งหลังคาด้วยช่อฟ้าและนาคสะดุ้งในรูปแบบมกรคายนาคด้วยกระจกสีอย่างสวยงาม ส่วนหน้าบันหน้าแหนบ โก่งคิ้ว และปีกนก แกะสลักรูปเทพพนมนั่งเหนือเมฆ เสาเขียนลายคำ ลูกกรงแต่งเป็นรูปเจดีย์ นาคทัณฑ์ที่ตกแต่งด้านหน้าทั้งสองข้างทำเป็นรูปหนุมานเหยียบเมฆ ส่วนอื่นๆ ตกแต่งเป็นลายเมฆไหล บันไดด้านหน้าประดับราวบันไดด้วยปูนปั้นรูปมกรคายนาค  นาคนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ปากงุ้มเหมือนจะงอยปากนกแก้วหรือจะงอยปากครุฑ

ภายในวิหารยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง (หรือ ฮูปแต้ม ในภาษาพื้นเมืองเหนือ) ที่งดงามและยังคงสภาพดี เขียนโดยฝีมือช่างไต ชาวล้านนา เขียนเล่าเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาต จำนวน ๑๔ ห้องภาพ และมีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ จิตรกรรมฝาผนังในวัดบวกครกหลวง ไม่พบการเขียนทศชาติครบทั้งสิบพระชาติ แต่จะมีการเลือกมาเฉพาะตอนที่นิยมจำนวน ๖ พระชาติ คือ เตมิยชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิฑูรชาดก และเวสสันดรชาดก ความสวยงามของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงได้รับการยกย่องจาก น. ณ ปากน้ำว่าเป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดใสจัดจ้าน ท่าทีการใช้แปรงเหมือนกับภาพเขียนของอัครศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อย่างแวนโก๊ะ จิตรกรแนวอิมเพรสชั่น ชาวดัตซ์



สันนิษฐานว่าวัดและเสนาสนะวัดบวกครกหลวง อันได้แก่ วิหาร เป็นต้น น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาลงไป  ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓ และหลังจากนั้นได้บูรณปฏิสังขรณ์มาเรื่อยๆ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากช่างได้วาดภาพเล่าถึงเรื่องราวของความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยนั้น ดังเช่น ภาพผนังที่ ๑๔ ในวิหารจะเห็นลักษณะการแต่งกาย การนุ่งห่มที่ถ่ายทอดมาเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง  จะอยู่ในช่วงสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ระหว่างรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕)



ธรรมาสน์ทรงปราสาท แม่เจ้าจามรีราชเทวี ชายาในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙
เป็นผู้สร้างถวายจากเงินที่แม่เจ้าให้นางคนใช้นำดอกไม้ในสวนหลวงมาร้อยเป็นมาลัย

ภายในวิหารมีธรรมมาสน์เทศน์ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามมาก ลักษณะเป็นรูปทรงปราสาทวิมานทองชาดก ธรรมาสน์หลังนี้แม่เจ้าจามรีราชเทวี ชายาในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ เป็นผู้สร้างถวายจากเงินที่แม่เจ้าให้นางคนใช้นำดอกไม้ในสวนหลวงมาร้อยเป็นมาลัย แล้วนำไปขาย พอได้เงินมาแม่เจ้าก็เก็บสะสมไว้จนพอที่จะให้ช่างไม้สร้างธรรมาสน์ได้ ธรรมมาสน์หลังนี้เป็นเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์ขึ้นเทศนาธรรมแก่ญาติโยม มีลักษณะที่ปกปิดมิดชิดเพื่อไม่ให้โยมเห็นอากัปกิริยาต่างๆ ของพระสงฆ์ขณะเทศน์ เพราะการเทศน์แบบล้านนาใช้พลังเสียงในการเทศน์สูงมาก จึงต้องมีเทคนิคในการเรียกพลังเสียงเฉพาะตนของพระ บางครั้งเป็นอาการที่ไม่สำรวมจึงมีการสร้างธรรมาสน์เทศน์แบบปกปิดมิดชิด หรืออีกนัยหนึ่งเพื่อป้องกันอาการอันไม่สำรวมของพระภิกษุ เพราะธรรมมาสน์อยู่ในระดับสูงมาก หากไม่มีฝาปิดกั้นอาจทำให้เห็นอาการของผู้ฟังเทศน์หรืออุบาสิกาที่ไม่สำรวมบางอย่าง ปัจจุบัน พระสงฆ์สามเณรภายในวัดยังใช้ธรรมาสน์หลังนี้เทศในช่วงฤดูกาลเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี


ความงดงามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ของวิหารวัดบวกครกหลวง ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพระพุทธศาสนายิ่ง




มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืนบนไหล่เทวดา

องค์ประกอบของวิหาร
ปั้นลมเป็นนาคลำยอง หางหงส์ทำเป็นหัวนาค หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายก้านขดปิดทองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายฝาปะกน  
มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืน เครื่องบนของเพดานเปิดให้เป็นโครงสร้างไม้และเสารับน้ำหนักของหลังคา ผนังก่ออิฐถือปูน
สูงถึงคอสอง วิหารนี้มีประตูด้านข้างทำเป็นมุขยื่นออกมา ด้านหน้าวิหารทำประตูไม้แกะสลักปิดทอง  




บันได นาคปากครุฑ
บันไดนาค ลักษณะราวบันใดที่ด้านหน้าวิหารหลวง โบราณสำคัญภายในวัด ทำเป็นรูปมกรคายนาค ที่มีปากเหมือนจะงอยปากพญาครุฑ (บ้างเรียกว่า ปากนกแก้ว) ดังนั้น ราวบันไดที่วัดบวกครกหลวงจึงได้ชื่อว่าแตกต่างจากวัดแห่งอื่นๆ ซึ่งงดงามแปลกตามาก
และมีอยู่แห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นของดั้งเดิมแต่โบราณมา

คำอธิบายเพิ่มเติม
มกร หมายถึง งูใหญ่, สัตว์ในเทพนิยายของชาวจีน
พญานาค หมายถึง พญางูใหญ่ลักษณะลำตัวเป็นเกล็ดและมีหงอน บางตำรากล่าวว่าเป็นพวกกายทิพย์ สามารถกลับเพศเป็นมนุษย์ได้
พญาครุฑ หมายถึง พญานกใหญ่ บางตำนานกล่าวว่าเป็นพวกกายทิพย์ สามารถกลับเพศเป็นมนุษย์ได้ มักกินสัตว์เลื้อยคลานเป็นอาหาร  

การสร้างนาคที่ราวบันใดวัดบวกครกหลวงนี้ เป็นการใช้ศิลปะสื่อคุณธรรมสามัคคี แม้แต่นาคและครุฑที่เป็นปรปักษ์กัน เมื่อถึงคราวปฏิบัติศาสนกิจที่ตนปวารณาตนไว้แล้ว ก็ต้องละทิฏฐิเดิมเพื่อความสำเร็จในการประกอบกิจกับพระศาสนาดังที่เห็นรูปนาคปากครุฑ (ปากนกแก้ว) ราวบันไดในปัจจุบัน



หอไตร
ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวิหาร ลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารไม้ รูปแบบเป็นทรงสถาปัตยกรรมล้านนา
บูรณะครั้งล่าสุด พ.ศ.๒๕๔๕ ใช้เป็นสถานที่จัดเก็บ รวบรวมคัมภีร์ใบลาน ปกิณะธรรม พระสูตรและชาดกต่างๆ ที่อรรถกถาจารย์ในอดีตได้รจนาไว้
อีกส่วนหนึ่งเป็นคัมภีร์ใบลานจารึกเรื่องราวต่างๆ



อุโบสถ
ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวิหาร รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างขึ้นก่อน พ.ศ.๒๔๙๓ หลังจากถอนพัทธสีมาอุโบสถหลังเก่าที่อยู่อีกฝั่งตรงข้ามถนน
เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีอุปสมบทพระภิกษุให้แก่กุลบุตรผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและใช้สำหรับทำสังฆกรรมของคณะสงฆ์ภายในวัด เช่น
สวดปาฏิโมกข์ในช่วงฤดูเข้าพรรษา และกรานกฐิน (สวดให้ผ้ากฐินหลังจากรับกฐินแล้ว)





ผนังเต็มห้อง พุทธประวัติ ตอนเจ้าชายสิทธัตถะพบเทวทูตทั้งสี่ ตอนการสละอันยิ่งใหญ่ และตอนออกมหาภิเนษกรมณ์


เจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบข่าวว่า พระนางยโสธราพิมพาประสูติพระราชโอรส คือพระราหุล
พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยออกบวชเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นในคืนนั้น



ความวิจิตรบรรจงของศิลปินผู้วาดภาพ มีการใช้สีทองแต่งแต้มลวดลาย ทำให้ภาพทรงค่ายื่ง
ภาพแสดงให้เห็นความเกี่ยวเนื่องของชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ไทใหญ่หรือไต จีน ที่อยู่ในล้านนาในขณะนั้น



ภาพแสดงให้เห็นความเกี่ยวเนื่องของชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ไทใหญ่หรือไต จีน ที่อยู่ในล้านนาในขณะนั้น


ภาพแสดงให้เห็นความเกี่ยวเนื่องของชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ไทใหญ่หรือไต จีน ที่อยู่ในล้านนาในขณะนั้น


การซ่อมแซมเสาวิหารซึ่งเป็นเสาไม้ขนาดคนโอบไม่รอบ ต่อมาได้ผุและมีปลวกมากัดกิน
จึงได้ตัดเสาที่ติดกับพื้นซีเมนต์แล้วเทปูนทับเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ







ที่มาข้อมูล :-
     - ประวัติและตำนานวัดบวกครกหลวง วัดบวกครกหลวงจัดพิมพ์เผยแพร่ เนื่องในโอกาสฉลองสมโภชอุโบสถวัดบวกครกหลวง ๑-๔ มีนาคม ๒๕๕๐
     - วัดบวกครกหลวง โดย กรมศิลปากร
     - วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ตุลาคม 2565 20:35:53 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
wondermay 4 8467 กระทู้ล่าสุด 22 เมษายน 2554 22:23:27
โดย หมีงงในพงหญ้า
งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 11286 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2557 16:13:39
โดย Kimleng
พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 2656 กระทู้ล่าสุด 24 ตุลาคม 2563 16:49:14
โดย Kimleng
พระเทพวิสุทธิคุณ (กุศล คันธวโร) วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 884 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2561 15:07:29
โดย ใบบุญ
วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1253 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2563 13:48:24
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.581 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้