[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 00:02:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “แกงเทโพ” ใส่หมูสามชั้น เกี่ยวข้องอย่างไรกับ “ปลาเทโพ” ?  (อ่าน 317 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0 Chrome 107.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2565 15:51:34 »



แกงเทโพ (ภาพจาก อุรุดา โควินท์: มติชนสุดสัปดาห์, 2562)

“แกงเทโพ” ใส่หมูสามชั้น เกี่ยวข้องอย่างไรกับ “ปลาเทโพ” ?

ผู้เขียน - เด็กชายผักอีเลิด
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2565


เมื่อเอ่ยถึงชื่อเมนู “แกงเทโพ” หลายท่านต้องนึกภาพของแกงรสเข้มที่ใส่กะทิกับพริกแกงจนได้น้ำแกงสีแดง-ส้มข้น ๆ มีหมูสามชั้นชิ้นโตและผักบุ้งหรือผักทอดยอดไทยเป็นวัตถุดิบหลัก ปรุงเปรี้ยวด้วยมะกรูด ได้รสชาติเปรี้ยว หวาน เผ็ด กลมกล่อมตามสไตล์แกงกะทิของคนไทยภาคกลาง

แล้วเหตุใดแกงสำรับนี้จึงได้ชื่อว่า “เทโพ” ซึ่งเป็นชื่อของปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่คนไทยรู้จักกันดีอย่าง “ปลาเทโพ” หรือแท้จริงแล้วเมนูนี้เคยใช้เนื้อปลาเทโพเป็นหลักมาก่อนหมูสามชั้น? กฤช เหลือลมัย ได้บอกเล่าและอธิบายที่มา ข้อสันนิษฐาน และหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ในงานเขียนเชิงสารคดี “แกง (หมู) เทโพ ร่องรอยของรูปและนาม” จากหนังสือ ต้นสาย ปลายจวัก (มติชน, 2563) ซึ่งน่าจะช่วยไขข้อข้องใจว่าด้วยที่มาของชื่อเมนูนี้ได้ไม่น้อย ดังนี้
 

แกง (หมู) เทโพ ร่องรอยของรูปและนาม
พูดถึง “แกงเทโพ” ครั้งใด คนไทยย่อมต้องนึกถึง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 บทนั้นเสมอ

          “เทโพพื้นเนื้อท้อง   เป็นมันย่องล่องลอยมัน
          น่าซดรสครามครัน   ของสวรรค์เสวยรมย์”

กลอนในพระอภัยมณี ก็ยังมีบทหนึ่งว่า “แกงปลาไหลไก่พะแนงแกงเทโพ   ผัดปลาแห้งแตงโมฉู่ฉี่มี”

แล้วก็แน่นอนว่า ส่วนใหญ่เราย่อมนึกถึงกระทิข้นมัน ใส่ผักบุ้งไทยทอดยอดในน้ำ ต้นอวบสีเขียวอ่อน เปรี้ยวด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำมะกรูด ใส่ใบและลูกมะกรูด คนที่เคยกิน “แกงปลาเทโพ” จริง ๆ ก็จะเล่าได้ยืดยาวถึงความอร่อย ความมัน โดยเฉพาะเนื้อพื้นท้องมันย่อง แล้วถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงต้องเพิ่มสรรพคุณว่ามันอุดมด้วยโอเมก้า 3 ที่ทั้งช่วยลดไขมันตัวร้ายและสำคัญต่อการยืดหยุ่นหล่อลื่นระบบหลอดเลือดในร่างกายเข้าไปด้วย

อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ คนที่ได้กินแกงเทโพย่อมพบว่าเกือบทั้งหมดแกงด้วยหมูสามชั้น เป็นแกงกะทิสีแดง ๆ ค่อนข้างแตกมัน คุณสิริยากร พุกกะเวส เขียนไว้ในหนังสือ เรื่องเล่าหน้าเตาถ่าน ตำราอาหารบ้านอุ้ม (พ.ศ.2551) ของเธอว่า คุณยายมักจะบอกว่า “แกงหมูเทโพ” นี้ “แต่ก่อน คนโบราณเขาแกงแล้วใส่ปลาเทพโพลงไปจริง ๆ แต่ตอนหลังมาปลาเทโพหายาก แล้วบางคนก็อาจจะเหม็นคาว ถึงได้เปลี่ยนมาใช้หมูสามชั้นที่หนึบ ๆ มัน ๆ พอกันแทน” ในตำรากับข้าวร่วมสมัยทุกวันนี้ เราก็จะพบว่าแกงเทโพมีหน้าตา เครื่องปรุง และวิธีปรุงเหมือนกันหมดทุกเล่ม ดังที่ได้บรรยายไว้ข้างต้น

แต่ตำราโบราณเมื่อศตวรรษที่แล้วทิ้งร่องลอย “แกงปลาเทโพ” ไว้ต่างออกไป

ทั้ง ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ (พ.ศ.2452) และ ปะทานุกรม การทำของคาวของหวานอย่างฝรั่งแลสยาม (พ.ศ. 2441) อธิบายแกงปลาเทโพไว้คล้ายคลึงกัน คือเป็นแกงเผ็ดที่ต้องทอดชิ้นปลาในน้ำมันกระเทียมเจียวก่อนซักครู่แล้วใส่พริกแกงลงไปผัดเคล้า เติมน้ำ ผักบุ้ง ปรุงน้ำปลา ต้ำตาล นำคั้นมะขามเปียก น้ำมะกรูด ใบมะกรูด และผิวมะกรูดฝานคั้นจนหมดน้ำมันฉุนขม เป็นแกงผัดน้ำมันที่ไม่ใส่กระทิเลยนะครับ พริกแกงก็ไม่ใส่เครื่องเทศจำพวกลูกชี ยี่หร่า ถ้าเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ สำหรับสมัยนี้ก็คงเรียกพริกแกงคั่วนั่นเอง แต่จะต้องต้มเนื้อส่วนหางปลาเทโพใส่ตำไปปนกับพริกในครกก่อนด้วย

ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ยังบอกสูตรแกงนี้ไว้ถึงสามสูตรด้วยกัน แกงปลาเทโพกับผักทอดยอด แกงปลาเทโพกับบอน และแกงปลาเทโพกับมะดันดอง ปรุงด้วยวิธีเดียวกันหมดทุกสูตร

อย่างไรก็ดี อาจจะไม่ใช่อย่างที่เข้าใจกันว่า “ตอนหลังมา ปลาเทโพหายากฯ” จึงได้เปลี่ยนมาใช้หมูสามชั้น เพราะในสูตรพริกแกงของหนังสือ ตำรับสายเยาวภา ของสายปัญญาสมาคมก็มีสูตรตำ “พริกแกงหมูเทโพ” ด้วย บ่งถึงว่ามีการแกง (หมู) เทโพมาตั้งแต่ก่อนพุทธทศวรรษ 2470 แล้วอย่างแน่นอน แถมพริกแกงสูตรนี้ของหม่อมราชวงศ์เตื้อง สนิทวงศ์ ยังใส่รากผักชีและยี่หร่าด้วย เพียงแต่ไม่ทราบว่าลักษณะจะเป็นแกงเผ็ดน้ำมันแบบแกงปลาเทโพสูตรโบราณหรือไม่เท่านั้นเอง

ผมคิดว่า ความยากอีกอย่างหนึ่งคือการทำปลาเทโพสดให้พร้อมปรุงกับข้าวได้นั่นเองครับ ปลาเพโพ หรือปลาปึ่ง (Pangasius Larnaudii) เป็นปลาที่แข็งแรง ขึ้นฮุบเหยื่อได้เร็วชอบสะบัดหางตีผิวน้ำแรง ๆ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายหลัก มันกินทั้งเมล็ดพืช ปอย ปลาเล็ก สัตว์น้ำอื่น ๆ ตลอดจนแมลงเล็ก ๆ เป็นอาหาร เรียกว่าเป็นปลานักล่าเลยทีเดียว เพื่อนรุ่นน้องผมคนหนึ่งซึ่งเป็นนักตกปลาบอกว่า ด้วยเหตุนี้ เนื้อปลาเทโพจึงมีความหนึบแน่นกินอร่อยกว่าปลาที่คล้าย ๆ กันอย่างปลาสวาย

ในตำราเก่า ๆ เช่น ตำรับสายเสาวภานั้น เมื่อจะอธิบายตัวอย่างเนื้อปลาชนิดที่ “เนื้อเป็นสีนวลสีชมภูเรื่อ ๆ หรือสีอื่น ๆ มีมันมาก” ก็ยกปลาเทโพขึ้นมาเป็นอันดับแรกทีเดียว แสดงถึงความนิยมที่อยู่ในอันดับต้น ๆ แต่การทำปลาเทโพนั้นไม่ใช่ของง่ายนัก ปะทานุกรม การทำของคาวของหวานฯ บอกว่า ต้อง “เอาน้ำส้มมะขามกะเกลือถูตัวปลาให้สะอาด ตัดเปนท่อน ๆ เนื้อที่ตรงหูดำนั้นตัดทิ้งเสีย เอาไม้พันมวกที่หูออกให้หมด แหวะท้องลอกเยื่อยางที่พื้นท้องออกเสียด้วย” เมื่อหั่นเป็นชิ้นแล้วนั้น “มีเส้นขาวอยู่ในเนื้อปลาท่อนละสองเส้น ชักออกทิ้งเสียให้หมด แลตัดสดือที่ท้องทิ้งเสียด้วย จึ่งจะไม่มีกลิ่นสาบคาว“

นับว่าใครตัดสินใจแกงหมูสามชิ้นแทนก็ง่ายกว่ามากทีเดียวสำหรับมื้อนั้น ๆ

หากเราแกงหมูเทโพแบบขนบนิยมกินสักหม้อก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงยกหม้อหางกะทิตั้งไฟให้เดือด เติมเกลือนิดหน่อย ใส่หมูสามชั้นหั่นชิ้นลงเคี่ยวไฟกลางไปราวสี่สิบนาที จนเนื้อและหนังหมูเริ่มนุ่มจึงใส่พริกแกงคั่วลงไปเคี่ยวต่อ ตามด้วยผักบุ้งไทยล้างหั่นท่อน ใบมะกรูดฉีก ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน ด้วยน้ำคั้นมะขามเปียกและน้ำมะกรูด น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ใส่เปลือกลูกมะกรูดที่ผ่าครึ่งบีบน้ำแล้วสักหลายชิ้นตามแต่ชอบ แล้วเติมหัวและหางกะทิที่เหลือ ให้ได้ความข้นมันของน้ำแกงอย่างที่ต้องการ ราวยี่สิบนาที พอหมูและผักบุ้งสุกนุ่มและแกงได้รสชาติเข้าเนื้อดีแล้วก็ยกลง กินได้เลย

แกงปลาเทโพจะเปลี่ยนวิธีมาทำเป็นแกงกะทิตามแบบขนบนิยมนี้เมื่อใดก็ไม่ทราบ พอ ๆ กับไม่ทราบว่าเหตุใดจึงเริ่มมาเรียกแกงกะทิรสเปรี้ยวที่ใส่ลูกมะกรูด ใบมะกรูด และผักบุ้งไทยแบบนี้อย่างตายตัวชัดเจนว่าแกง “เทโพ” เพราะแกงลักษณะนี้ ในครัวไทยภาคกลางก็มีนิยามเรียกกันอยู่ก่อนแล้วว่า “แกงคั่วส้ม” ตามลักษณะวิธีการปรุง คือ “คั่ว” พริกแกงในน้ำกะทิโดยไม่ต้องผัดกับหัวกะทิก่อนและปรุงให้มีรสเปรี้ยว (ส้ม) ซึ่งโดยมากก็โดยน้ำคั้นมะขามเปียกและน้ำมะกรูดเป็นหลัก ดังเช่น “แกงคั่วส้มปลาสวายกับผักทอดยอด” ใน ตำราอาหารชุดจัดสำรับ ชุด 2 ของคุณจิตต์สมาน โกมลฐิติ (พ.ศ.2519)

ทั้งนิยามและคำเรียกสำรับอาหารใด ๆ จึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้าถือตามแนวคิดแบบมานุษยวิิทยาก็คือ เราไม่มีทางรู้ด้วยซ้ำว่ากว่าจะมาถึงรุ่นเรานี้ อะไร ๆ ที่เราเห็น เราเรียก เราทำ และเรากินอยู่ทุกวันนี้ มันเคยเปลี่ยนมาแล้วกี่ครั้ง

อนึ่ง นอกจากหมูสามชั้น คนยังนิยมแกงเทโพแบบแกงคั่วกะทินี้กับปลาเค็มย่างชิ้นใหญ่ ๆ โดยใช้ปลาเนื้อแน่น ๆ รสชาติดี อย่างปลาสละ ปลาเลียวเซียว หรือปลาสีเสียดกันด้วยครับ



แกงเทโพหมูสามชั้นปลาเค็ม (ภาพจาก มติชนสุดสัปดาห์, 2560)


สำรวจสำรับ
1. ยกหม้อหางกะทิตั้งไฟให้เดือด เติมเกลือนิดหน่อย ใส่หมูสามชั้น หั่นชิ้นลงเคี่ยวไฟกลางไปราว 40 นาที

2. เมื่อเนื้อและหนังหมูเริ่มนุ่มให้ใส่พริกแกงคั่วลงไปเคี่ยวต่อ ตามด้วยผักบุ้งไทยล้างหั่นท่อน ใบมะกรูดฉีก

3. ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน ด้วยน้ำคั้นมะขามเปียกและน้ำมะกรูด น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ใส่เปลือกลูกมะกรูดที่ผ่านครึ่งบีบน้ำแล้วสักหลายชิ้นตามแต่ชอบ

4. เติมหัวและหางกะทิที่เหลือ ให้ความข้นมันของน้ำแกงอย่างที่ต้องการ ราว 20 นาที พอหมูและผักบุ้งสุกนุ่มและแกงได้รสชาติน้ำเข้าเนื้อดีแล้วก็ยกลง กินได้เลย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
แกงเทโพ อาหารคุ้นเคยที่ทำจากปลาเทโพ ความอร่อยที่ ร.2 พระราชนิพนธ์ถึง
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 462 กระทู้ล่าสุด 08 พฤศจิกายน 2564 11:24:31
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.328 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 18:36:58