[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 13:19:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของใบเสมา  (อ่าน 976 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0 Chrome 107.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2565 19:08:26 »



ใบเสมา วัดหนองหญ้านาง ต.หนองไผ่แบน อ.เมืองฯ จ.อุทัยธานี
แผ่นหินใบเสมาแกะสลักเป็นรูปตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ปี  ของพระมหากษัตริย์
แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ (รัชกาลที่ ๙)  เป็นตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหาพิชัยมงกุฎ
อยู่ด้านบน มีพานเครื่องสูง ๒ ชั้น มีช้าง ๒ เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้พระเศวตฉัตร

ความเป็นมาของใบเสมา

สีมา แปลว่า เขต, แดน, เครื่องหมายบอกเขต ใช้ว่า เสมา ก็มี

สีมา หมายถึงเขตหรือแดนที่กำหนดไว้สำหรับทำสังฆกรรมต่างๆ กำหนดเขตแดนด้วยเครื่องหมายบอกเขตที่เรียกว่า นิมิต ที่เหนือนิมิตนิยมสกัดหินเป็นแผ่นประดิษฐานไว้ในซุ้มที่สร้างครอบนิมิต ถือเป็นสัญลักษณ์แทนนิมิต เรียกแผ่นหินนั้นว่า ใบสีมา หรือ ใบเสมา เรียกซุ้มนั้นว่า ซุ้มสีมา หรือ ซุ้มเสมา

สีมา ยังหมายถึงอุโบสถได้ด้วย

พระไตรปิฎกฉบับหลวง ระบุว่า ใบเสมาคือนิมิต ในขณะที่พระไตรปิฏกแสดงว่าเสมาเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งซึ่งใช้กำหนดเขตพระอุโบสถอันเป็นที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์

ใบเสมา หรือ สีมา เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่ามีการสร้างอย่างแพร่หลายมาก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖  ซึ่งเป็นยุคที่วัฒนธรรมทวารวดีเจริญรุ่งเรื่องขึ้น การปักใบเสมาดังกล่าวอาจสืบเนื่องมาจากระบบคติความเชื่อ สันนิษฐานว่าอาจจะเกี่ยวกับ

- คติที่สืบทอดมาจากประเพณีการปักหินตั้ง (Megaliths) โดยเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษของชนพื้นเมืองในเอเชียอาคเนย์

 -คติการสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา เพื่อเป็นหลักเขตกำหนดบริเวณศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา

- เป็นตัวแทนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเคารพบูชา  ทำหน้าที่คล้ายสถูปเจดีย์หรือพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา


ลักษณะการปักใบเสมา
- ปักหลักเดียว เพื่อแสดงเขตหรือตำแหน่งของบริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

- ปักเป็นกลุ่ม พบว่ามีการปักล้อมรอบเนินดินหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีการกำหนดทิศทางแน่นอน

- ปักประจำทิศ มีตั้งแต่การปัก ๔ ทิศ ๘ ทิศ ไปจนถึง ๑๖ ทิศ โดยปักล้อมรอบเนินดินหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพื่อแสดงเขตของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจดีย์ พระธาตุ อุโบสถ พบว่ามีทั้งการปักใบเสมาเดี่ยว ปักเสมาคู่ หรือปักซ้อนกัน ๓ ใบ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤศจิกายน 2565 15:18:08 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0 Chrome 107.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2565 21:03:36 »





เสมาคู่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก
ทำด้วยแผ่นหิน (Slab Type) ที่มีการสกัด หรือถากโกลนให้เป็นแผ่น
มีการตกแต่งลวดลาย โดยการแกะสลักลวดลายแบบเรียบง่ายลงบนใบเสมา


เสมาคู่และเสมาเดี่ยวต่างกันอย่างไร

เสมาคู่และเสมาเดี่ยวต่างกันอย่างไร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

๑. เป็นเครื่องบอกว่าเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์   และจากบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ที่ได้เดินทางมาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยา ในตอนพรรณนาว่าด้วยวัด ไว้ว่า ถ้าเป็นวัดหลวงมีใบเสมาหินซ้อน ๒ ใบ ถ้าเป็นวัดราษฎร์ มีใบเสมาหินแต่ใบเดียว   พิจารณาดูใบเสมาวัดหลวง เช่นวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพน และวัดสุทัศนก็เป็น ๒ ใบซ้อนกันทุกวัด วัดราษฎร์นั้นได้เห็นก็เป็นเสมาใบเดียวจริงเหมือนเช่นว่า

๒. เกิดจากการที่สงฆ์มีหลายฝ่าย จึงมีเสมาคู่เพื่อให้แต่ละฝ่ายไม่รังเกียจในการร่วมสังฆกรรมด้วยกัน  ที่โบสถ์มีใบเสมาใบเดียวหรือหลายใบซ้อนกัน เห็นจะเป็นด้วยพระสงฆ์ต่างนิกายผูกพัทธสีมา นิกายไหนผูกก็ปักใบเสมาของนิกายนั้นไว้เป็นสำคัญ เพราะผูกหลายคราวใบเสมาจึงมีซ้อนกันเป็นหลายชั้น และ โบสถ์วัดหลวงทำใบเสมาซ้อน ๒ ใบมาจนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในทำเนียบพระสงฆ์เรียกเป็น ๒ ฝ่ายมาแต่โบราณ คือ พระสงฆ์คามวาสี แปลว่า อยู่ในละแวกบ้าน ฝ่ายหนึ่ง กับ พระสงฆ์อรัญวาสี แปลว่า อยู่ชายป่า ฝ่ายหนึ่ง

ในพระวินัยก็ได้มีการกล่าวถึงที่มาของการเว้นช่องว่างระหว่างสีมา (สีมันตริก) ว่า เนื่องจากพวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาทับสีมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ   พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติทับ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์จะสมมติสีมา เว้นช่องว่างในระหว่างสีมาแล้วจึงสมมติสีมา” ดังนั้นเสมาคู่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่โบราณคณาจารย์คิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่ามีช่องว่างระหว่างสีมาตรงตามพระวินัยก็เป็นได้


750-22
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤศจิกายน 2565 21:14:15 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2565 18:37:30 »




วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดที่มีมหาสีมา
เป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร ๘ เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง ๘ ทิศ

ขอบคุณเว็บไซต์ bloggang.com (ที่มาภาพประกอบ)

มหาสีมา และขัณฑสีมา

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงกำหนดสีมา (ตามแบบกัลยาณีสีมาของมอญ) ที่ครอบคลุมทั้งวัด นัยว่าเพื่อให้ตรงกับแบบในพระบาลีและเพื่อความสะดวกในการทำสังฆกรรมว่าจะทำตรงไหนในวัดก็ได้ ดังที่มีในจารึกวัดราชประดิษฐ์ซึ่งเป็นวัดที่มีมหาสีมาว่า
              สังฆกรรมทําได้ทั่ว ทั้งวัด
              แต่ว่าจําประฏิบัติ   ที่ถ้วน
              ชุมนุมภิกษุบรรพสัช    ให้หมด เจียวนา  
              ทวารทั่วทุกทิศล้วน        ปิดแล้วจึงกระทําฯ

อย่างไรก็ตาม มหาสีมานี้ ก็ยังมีความวุ่นวายอยู่มาก เนื่องจากจำเป็นต้องปิดประตูวัดทั้งหมดขณะทำสังฆกรรม เพื่อไม่ให้มีภิกษุอื่นเข้ามาในสีมาได้ นอกจากนี้แล้ว การทำสังฆกรรมก็จำเป็นต้องกระทำในโรงอุโบสถที่สงฆ์สมมติไว้แล้วอยู่ดี
ดังนั้นวัดที่มีมหาสีมาส่วนใหญ่ จึงมีการคลี่คลายเป็นแบบที่มีสีมา ๒ ชั้น

       ๑. ชั้นนอกรอบเขตวัด เรียก มหาสีมา
       ๒. ชั้นในรอบพระอุโบสถ เรียก ขัณฑสีมา

โดยมักจะทำสังฆกรรมในพระอุโบสถ แต่บางครั้งอาจทำนอกพระอุโบสถได้ถ้าต้องการพื้นที่มากขึ้น (เนื่องจากไม่ได้สมมติให้เป็นโรงอุโบสถแต่แรก แม้จะอ้างว่าจะอยู่ในมหาสีมาก็ตามที)

ในปัจจุบัน วัดที่มีมหาสีมา มีอยู่ไม่กี่วัดได้แก่
       ๑. วัดที่ลงท้ายด้วย “สถิตมหาสีมาราม” ได้แก่ วัดราชประดิษฐ์ (ร.๔), วัดราชบพิธ (ร.๕), วัดโพธินิมิตร (สมเด็จพระวันรัตน แดง สีลวฑฺฒโน)
       ๒. วัดอื่นๆที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้แก่ วัดโสมนัส, วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดบรมนิวาส
... ที่มาข้อมูล : ความหลากหลายของสีมาและใบเสมา “เสมาเดี่ยว เสมาคู่ มหาสีมาและขัณฑสีมา”  (เว็บไซต์ w2.med.cmu.ac.th)


เสมาแท่งหินขนาดสูงใหญ่ (สูงกว่า ๒ เมตร)  ปักไว้ตามทิศต่างๆ รอบเพิงหินธรรมชาติ เพื่อเป็นสัญลักษณ์
และแสดงขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา  บนเทือกเขาภูพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ที่ถูกดัดแปลงให้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในพุทธศาสนา ตั้งแต่ช่วงที่รับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรโบราณ
ปัจจุบัน ปรากฏมีร่องรอยเห็นได้อยู่ ๖ ทิศ
ภาพจาก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


เสมาแผ่นหินที่มีการสลักเสลาเป็นรูปกลีบบัวหรือใบเสมาชัดเจน (อยู่ด้านหลังเพิงหิน ทั้งด้านซ้ายและขวา)
ภาพจาก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


ความงามอย่างน่าอัศจรรย์ของเพิงหินธรรมชาติ บนเทือกเขาภูพาน
ที่สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา หรือบำเพ็ญเพียรวิปัสนามาแต่สมัยโบราณ

ภาพจาก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ธันวาคม 2565 18:41:15 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2565 20:30:31 »





เสมาคู่ วัดหนังราชวรวิหาร  เขตจอมทอง  กรุงเทพฯ
๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๕

750-22
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2565 21:11:06 »


ใบเสมาเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์






















ใบเสมาเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์

กลุ่มใบเสมาวัดเขาอังคาร บ้านเจริญสุข ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณพิกัด 48p 266674/1607582 หรือประมาณรุ้งที่ ๒๔ องศา ๓๒ ลิปดา ๑๔.๙ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๒ องศา ๕๐ ลิปดา ๑๔.๑๗ ฟิลิปดาตะวันออก เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ๓๒๑ เมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดเขาอังคาร มีการก่อสร้างพระอุโบสถใหม่และอาคารสมัยใหม่ต่างๆ โดยนำใบเสมาที่พบจากเขาอังคารมาปักไว้รอบโบสถ์ บางส่วนนำมาไว้ภายในอาคารพ่อปู่วิริยะเมฆ  ใบเสมามีลักษณะเป็นแผ่นหินแบน สลักรูปบุคคลบุรุษหรือสตรีสมัยทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ตามคติพุทธศาสนามหายาน พบทั้งสิ้นจำนวน ๑๖ แผ่น จึงเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม บริเวณโดยรอบไม่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างใดๆ  ดังนั้น ในกรณีการปักใบเสมาอย่างมีระเบียบแบบแผนล้อมรอบพื้นที่ว่าง เช่น วัดเขาอังคารในอดีตนั้น สันนิษฐานว่าเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงหลักเขตของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา

ในทางธรณีสัณฐานวิทยา เขาพระอังคารเป็นภูเขาไฟ หินบะซอลต์แบบลาวาโดม ดับสนิทแล้วมากว่าเจ็ดแสนปี มีรูปร่างกลมรี วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีช่องทางการไหลออกของลาวาหลายจุดตามไหล่เขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีปล่องปะทุอยู่ชัดเจน ตั้งโดดเด่นกลางพื้นที่ราบ ปากปล่องภูเขาไฟเกิดการทรุดถล่มเป็นแนวซ้อนกันหลายชั้น

ใบเสมาทั้งหมดสลักขึ้นจากหินบะซอลต์เนื้อละเอียด มีลักษณะเป็นแผ่นหินแบนๆ ลักษณะเด่นของใบเสมาที่เขาอังคารสลักเป็นภาพบุคคลคนเดียวยืนถือดอกบัวด้วยมือขวา ประทับอยู่ใต้ฉัตร ขนาบด้วยเครื่องสูง ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ บางใบสลักบุคคลเป็นภาพยักษ์ บางชิ้นสลักเป็นบุคคลสี่กรถือสิ่งของอยู่ในมือ สันนิษฐานว่าเป็นคัมภีร์ และลูกประคำ ทั้งหมดทรงผ้าแบบเดียวกัน ประทับยืนอยู่บนฐานดอกบัว มีอิทธิพลศิลปะเขมรแบบไพรกเมงผสมอยู่ บางใบมีการสลักลายเป็นภาพธรรมจักร สถูปหม้อน้ำที่ด้านหลังด้วย

แหล่งใบเสมาที่อยู่บนภูเขาเช่นที่เขาพระอังคาร เป็นแหล่งเดียวในจังหวัดบุรีรัมย์ที่พบในพื้นที่ภูเขาสูง ไม่พบแหล่งชุมชนที่บนเขาอังคารเลยจึงไม่สามารถบอกพื้นที่การใช้งานที่สัมพันธ์กับชุมชนได้ แต่จากลักษณะภาพสลักที่ปรากฏเป็นรูปบุคคลลักษณะเดียวกันทั้งหมด น่าจะเป็นพระโพธิสัตว์ในฝ่ายมหายาน ซึ่งไม่พบลักษณะเช่นนี้ในแหล่งโบราณคดีในสมัยทวารวดีในที่อื่นๆที่แม้จะเป็นภาพสลักบุคคลก็จะเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติหรือชาดกในฝ่ายเถรวาทเป็นหลัก การพบในพื้นที่ภูเขาสูงน่าจะเป็นลักษณะของแนวคิดภูเขาศักดิ์สิทธิ์แบบเดียวกับที่ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพุทธแบบเถรวาทก็อาจเป็นได้



ข้อมูลโดย
          - นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เว็บไซต์ กรมศิลปากร)
          - กมลวรรณ นิธินันทน์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร (นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๖๕ ฉบับที่ ๔ ก.ค.-ส.ค.๒๕๖๕ หน้า ๒๑)
750
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 มกราคม 2566 20:14:19 »



เสมาแบบสี่เหลี่ยมด้านเท่า วัดโพธาราม ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์


ใบเสมา ประดิษฐานภายในซุ้มครอบใบเสมา หรือเรียกว่า ซุ้มสีมา



เสมา วัดโพธาราม อ.เมือง จ.นครสวรรค์

750
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2566 19:53:42 »



ใบเสมาหินทราย วัดลาดสิงห์ ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ลักษณะเรียบ ไม่มีลวดลาย

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 09 มีนาคม 2567 14:34:20 »







เสมา ของวัดไทรอารีรักษ์
ตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ซึ่งเป็นวัดของชุมชนชาวมอญ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

850
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สถานที่ท่องเที่ยว ราชบุรี รวมมิตรสุดยอดที่เที่ยวน่าไป
สุขใจ ไปเที่ยว
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 9 7108 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2556 11:45:59
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
หลวงพ่อห้อง พุทธรักขิโต วัดช่องลม จ.ราชบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 852 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2563 12:54:41
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อหุ่น พุทธสโร วัดเจ็ดเสมียน ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 546 กระทู้ล่าสุด 16 พฤษภาคม 2564 14:12:24
โดย ใบบุญ
วัดขนอน(หนังใหญ่) อ.โพธาราม จ.ราชบุรี มรดกทางวัฒนธรรมโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 1134 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2565 13:32:20
โดย Kimleng
ชมเก๋งจีนในวิหาร วัดไทรอารีรักษ์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 55 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2567 18:59:11
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.287 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 19:48:09