[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 ธันวาคม 2567 06:56:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สิกขา3 สิ่ง ที่ควรศึกษาในชีวิต 3ประการ  (อ่าน 13764 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 กันยายน 2554 16:09:58 »





สิกขา3 สิ่ง ที่ควรศึกษาในชีวิต 3ประการ
ศีล สมาธิ ปัญญา : แนวคิดและความสัมพันธ์


จากพระคาถาพยากรณ์ที่เป็นบทตั้งของวิสุทธิมรรค
กล่าวถึงการตั้งอยู่ในศีลด้วยบทว่า
สีเล ปติฏฺฐาย หมายถึง ภิกษุผู้ทำศีลให้บริบูรณ์ชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในศีล
นโร สปญฺโญ หมายถึง ผู้มีปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาที่มีมาพร้อมกับปฏิสนธิ
จิตตํ ปัญฺฺญญฺจภาวยํ หมายถึง การยังสมาธิ และวิปัสสนาให้เจริญอยู่
ทรงแสดงถึงสมาธิ ด้วยหัวข้อว่าจิต
ส่วนวิปัสสนาทรงแสดงโดยชื่อว่า ปัญญา หรือปญฺญญฺจ

อาตาปี หมายถึง ผู้มีความเพียร เป็นเหตุเผากิเลสให้เร่าร้อน
นิปโก หมายถึง ปัญญาอีกชนิดหนึ่ง ทรงแสดงถึงปาริหาริกปัญญา
ภิกฺฺขุ หมายถึง ผู้ใดเห็นภัยในสงสาร เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ภิกษุ
ในบทท้าย คือ โส อิมํ วิชฏฺฺเย ชฏํ เป็นการสรุปสภาวธรรมข้างต้นว่า



“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ ด้วยศีล ด้วยสมาธิ (หรือจิต) ด้วยปัญญา 3 ลักษณะ (ไตรเหตุปฏิสนธิ, วิปัสสนาปัญญา และปาริหาริกปัญญา) และด้วยความเพียรเผากิเลสนี้ เมื่อยืนอยู่บนแผ่นดินคือศีลแล้ว ยกศัสตรา คือ วิปัสสนาปัญญา ที่ลับด้วยศิลาคือสมาธิ อยู่ในมือคือปาริหาริกปัญญา ที่มีกำลังวิริยะ พึงถาง ตัด ทำลาย ซึ่งชัฏ คือ ตัณหา อันตกอยู่ในสันดานของตนทั้งหมดได้ เปรียบเหมือนบุรุษยืนบนแผ่นดิน ยกศัสตราที่ลับดีแล้ว ถางกอไผ่ใหญ่ฉะนั้น”

“ก็ในขณะแห่งมรรค ภิกษุนี้ชื่อว่า กำลังถางชัฏนั้นอยู่
ในขณะแห่งผล ชื่อว่าถางชัฏเสร็จแล้ว
ย่อมเป็นอัครทักขิไณยของ (มนุษย์) โลก กับทั้งเทวโลก ทั้งหลาย”

การเจริญไตรสิกขาในที่นี้ ทรงหมายเอา ศีล สมาธิ และวิปัสสนาปัญญา ที่กำลังเกิดพร้อมในอารมณ์อันเดียวกันเท่านั้น มิใช่เจริญไปคนละขณะ เพราะ ศีล - สมาธิ - ปัญญา ที่เกิดในอารมณ์ต่างกัน จะไม่สามารถเป็นบาทฐานแก่กันได้เลย ศีลมีลักษณะเหมือนกับพื้นที่ สมาธิเหมือนกับผู้คอยประคองให้มีความมั่นคง ส่วนปัญญามีหน้าที่พิสูจน์ดูความจริง

ถ้าจะมีแต่เฉพาะศีล โดยที่ไม่ต้องมีสมาธิและปัญญาร่วมด้วยก็อาจมีได้ เช่น พระภิกษุที่บวชกันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าท่านไม่ได้ทำสมาธิหรือวิปัสสนาแต่อย่างใด ก็จะมีเฉพาะศีลเท่านั้น ไม่มีสติกับปัญญาเกิดร่วมด้วย บางครั้งมีศีลและสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาในขณะนั้นก็อาจมีได้เช่นกัน เช่น ภิกษุที่กำลังทำสมาธิเพ่งกสินต่าง ๆ เป็นต้น ขณะนั้นมีศีล มีความตั้งมั่นเป็นสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาร่วม เพราะไม่ได้มีการพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของรูปนาม เป็นเพียงการข่มจิตให้นิ่งด้วยอารมณ์ภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

แต่ถ้าผู้ใดกำลังเจริญวิปัสสนาปัญญาอย่างถูกต้องแล้ว จะต้องมีศีลและสมาธิอยู่ในที่นั้นด้วยเสมอ การทำลายกิเลสในส่วนลึกให้หมดไป จำเป็นต้องมีพร้อมทั้ง ศีล-สมาธิ-ปัญญา โดยศีลมีหน้าที่ทำลายกิเลสอย่างหยาบที่แสดงออกทางกาย วาจา เป็นต้น สมาธิมีหน้าที่ทำลายกิเลสอย่างกลาง ได้แก่ ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ส่วนปัญญามีหน้าที่ทำลายกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยต่าง ๆ แม้ในอนุสัย 2 อย่าง (อารัมมณานุสัย และสันตานานุสัย) นั้น วิปัสสนาปัญญาจะละได้ก็เพียงอารัมมณานุสัยเท่านั้น อำนาจวิปัสสนาปัญญาสามารถละความรัก ความชัง ที่เกิดจากการได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส รับสัมผัสที่ดีและไม่ดีได้ ส่วนสันตานานุสัยนั้น เป็นอนุสัยที่ลึกและมั่นคงกว่า ต้องอาศัยมรรคจิตที่เป็นอรหัตตมรรคเท่านั้น จึงจะละสันตานานุสัยได้เด็ดขาด


(พระมหาแสวง โชติปาโล 2536 : 79)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2554 16:55:50 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 17:30:54 »



                 

ศีล สมาธิ และปัญญา แม้จะเกิดในขณะจิตเดียวหรือรับอารมณ์เดียวกัน แต่มีหน้าที่ต่างกัน เป็นคนละส่วนกัน ทั้งนี้ก็เพื่ออุดหนุนกัน เจริญเป็นทางแห่งวิสุทธิเพื่อการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา อานุภาพแห่งความบริสุทธิ์ของศีล สมาธิ ปัญญา จะมีขีดจำกัดเฉพาะตัว ในวิสุทธิมรรคกล่าวถึงองค์คุณของศีล สมาธิ ปัญญา และขีดจำกัดในการอุดหนุนกันแยกเป็น 9 ประการ ได้แก่

1. สิกขา 3
2. ศาสนามีความงาม 3
3. อุปนิสัยแห่งคุณวิเศษ มีความเป็นผู้ได้วิชชา 3 เป็นต้น
4. การเว้นที่สุดโต่ง 2 อย่าง และการเสพข้อปฏิบัติสายกลาง
5. อุบายที่เป็นเครื่องพ้นจากคติมีอบาย

6. การละกิเลสด้วยอาการ 3
7. ธรรมอันเป็นปฏิบัติต่อกิเลส มีวิติกกมะ
8. การชำระสังกิเลส 3
9. เหตุแห่งความเป็นพระอริยบุคคล มีพระโสดาบัน

ตารางต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างของศีล สมาธิ ปัญญา ตามลักษณะ 9 ประการข้างต้น ทั้งนี้ยังมีคุณที่เป็นหมวด 3 อื่น ๆ อีกมาก เช่น วิเวก 3 กุศลมูล 3 เป็นต้น ที่สามารถแจกตามศีล สมาธิ ปัญญา เช่นกัน แต่จะไม่กล่าวถึงในที่นี้

ตารางที่ 7 การจำแนกองค์คุณ 9 ประการ โดยระดับแห่งศีล สมาธิ ปัญญา องค์คุณ
ศีล
สมาธิ
ปัญญา

1. สิกขา 3
อธิศีลสิกขา
อธิจิตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา

2. ศาสนามีความงาม 3
ความงาม ในเบื้องต้น (การไม่ทำบาปทั้งสิ้น)
ความงาม ในท่ามกลาง (ยังกุศลให้ถึงพร้อม)
ความงาม ในที่สุด(การทำจิตให้ผ่องแผ้ว)

3. อุปนิสัยแห่ง คุณวิเศษ
เป็นผู้ได้ วิชชา 3
เป็นผู้ได้ อภิญญา 6
เป็นผู้แตกฉาน ในปฏิสัมภิทา 4

4. การเว้นความสุดโต่ง 2 อย่าง
เว้นจาก กามสุขัลลิกานุโยค
เว้นจาก อัตตกิลมถานุโยค
มีการเสพข้อปฏิบัติสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา

5. อุบายเป็นเครื่องพ้น
อุบายก้าวพ้น จากคติ
อุบายก้าวพ้น จากอบาย
อุบายก้าวพ้น จากกามธาตุ
อุบายก้าวพ้น จากภพทั้งปวง

6. การละกิเลส ด้วยอาการ 3 (ชนิดของการละ)
ละโดย ตทังคปหาน
ละโดย วิกขัมตนปหาน
ละโดย สมุจเฉทปหาน

7. ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส (ชนิดของกิเลส)
ละกิเลสชนิดวิติกกมะ (ที่จะออกทางกาย วาจา)
ละกิเลสชนิดปริยุฏฐาน (นิวรณ์ที่กลุ้มรุมจิต)
ละกิเลสชนิดอนุสัย (ที่อยู่ในสันดาน)

8. การชำระสังกิเลส 3
ชำระสังกิเลส ที่เป็นทุจริต
ชำระสังกิเลส ที่เป็นตัณหา
ชำระสังกิเลส ที่เป็นทิฏฐิ

9. เหตุแห่งความเป็นพระอริยบุคคล
พระโสดาบันบุคคล
พระสกทาคามีบุคคล
พระอนาคามีบุคคล
พระอรหันต์บุคคล


ศีล สมาธิ ปัญญา : แนวคิดและความสัมพันธ์ ::
ปัญญานิเทศ :: เปรียบเทียบคัมภีร์พระไตรปิฎกกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค




Credit by :http://nitipatth.blogspot.com/2011/03/3-3.html
:http://agaligohome.com/index.php?topic=4850.new#new
Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ...

บันทึกการเข้า
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 14.0.835.186 Chrome 14.0.835.186


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 กันยายน 2554 18:52:06 »



ศีล สมาธิ ปัญญา


รักสะอาด - สว่าง - สงบ



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม 3 - หน้าที่ 437


ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ ๕



{๓๗๖}กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่าน

พระราธะว่า ดูก่อนราธะ


เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด

ความเพลิน ความทะยานอยาก

ความเข้าถึง ความยึดมั่น

อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ที่อาศัยแห่งจิต ในรูปเสีย

ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็นของอันเธอละได้แล้ว

ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี

ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด

ความเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง

ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิต ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ

เสียด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้น จักเป็นธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว

ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด

อีกต่อไปเป็นธรรมดา




ถึงแม้ว่าจะมีความสุขชั่วครั้งชั่วคราว
  
ความสุขนั้นก็ไม่เที่ยง
  
ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง อุเบกขาก็ไม่เที่ยง
  
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนไม่เที่ยงทั้งสิ้น
  
ไม่มีอะไรเลยในชีวิตที่จะเป็นสุขอย่างมั่นคงแท้จริง
  
ต้องอบรมปัญญาให้เห็นชีวิตตามความเป็นจริง คือ
  
เห็นการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมทั้งหลายที่ปรากฏ
  
ตามความเป็นจริง


<a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" target="_blank">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma</a>

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2554 19:03:59 โดย 時々Sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 กันยายน 2554 10:44:27 »





อนุโมทนาสาธุ ที่ให้ธรรมะเป็นทานนะคะน้อง 時々Sometime
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิค่ะ



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 กันยายน 2554 10:46:02 »



              

07993 เราอยู่ในโลกของความคิด

            ถ้าฟังสิ่งที่ถูกต้อง  ปัญญารู้ถูกต้อง นั่นคือปัญญา  ความรู้ถูกต้องเกิดขึ้นเมื่อไร
เมื่อนั้นคือปัญญา  และต้องเจริญขึ้นมากกว่านี้มากมาย  ถึงจะรู้ความจริงของสภาพธรรม
ซึ่งเราไม่เคยรู้มาก่อน  และทั้งหมดนี้มีในพระไตรปิฎก     เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่
ตรัสรู้ความจริง  และทุกคนพิสูจน์ได้ทุกกาลสมัย  มีตา  ไม่ใช่เห็นชาตินี้ชาติเดียว  ชาติ
ก่อนเป็นใครก็ไม่ทราบ ก็เห็นอย่างนี้แหละ และก็สุขทุกข์ไปตามเรื่องของชาติก่อน  และ
อีกไม่นานเราก็จะจากโลกนี้ แต่เราก็จะเห็นอีก แล้วเราก็เปลี่ยนสุขเปลี่ยนทุกข์ใหม่ ตาม
เรื่องใหม่ที่เราเห็น

เพราะฉะนั้นเราก็อยู่ใน โลกของความคิด ถึงสิ่งที่กระทบตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง
นี่เป็นปัญญาหรือยังคะ ที่เข้าใจ ไม่ใช่เราเลย เป็นปัญญา ขณะที่เข้าใจก็เป็นปัญญา
พอหลงลืมสติ ไม่ระลึกให้ถูกต้อง ไม่เข้าใจอย่างนี้ ก็หายไปอีกแล้ว ปัญญาก็หมดไป

            นี่คือ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

            เข้าใจเรื่องที่ต้องเจริญขึ้นแล้วใช่ไหมคะว่า นิดเดียวแค่นี้ไม่พอ ถ้าเข้าใจแล้ว
เอาอะไรมาแลกกับปัญญาก็ไม่เอา จะให้กลับเป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย ก็คงไม่เอา ใช่ไหม
คะ

          ที่จริงก็คงไม่ยากเกินไปนะคะ เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่มีปรากฏ เพียงแต่ว่าเราไม่
เคยฟัง เราก็เลยไม่เคยคิดในแนวของธรรม  เราก็ไปคิดเอาเอง เป็นตัวตน เป็นเรื่องราว
ตลอดไปตั้งแต่เกิดจนตาย   ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ ทั้งๆที่เรื่องราวต่างๆ ไม่มีเลย ก็
คิดเอา พอถึงชาติหน้าก็ลืมหมด เสียเวลา  จริงๆแล้วก็ไม่ต้องคอยจนถึงชาติหน้า เพียง
แค่คืนนี้
เดี๋ยวเราก็ลืมหมด  วันนี้เรามานั่งที่นี่  ฟังอะไร  ตอนที่เราหลับสนิท เราเป็นใคร
ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ก็หมดเลย พอตื่นมาก็ต่อเรื่องเก่า คือจำไว้ ตราบใดที่ยังเป็นคนนี้ก็จำ
เรื่องของโลกนี้ พอเป็นคนใหม่ ชาติหน้าเราก็ลืมเรื่องนี้สนิท ใครจะมาบอกอะไร เราก็ไม่
มีทางที่จะจำได้


           คนที่เราจากเขามาจากโลกก่อน ป่านนี้เขาก็อาจจะยังคิดถึงเรา ร้องไห้ เป็นลูก
เป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย แต่เราก็ไม่รู้  ไปเห็นเขากำลังนั่งร้องไห้คิดถึงใคร  เราก็ไม่รู้อีกว่า
อาจจะเป็นเราก็ได้ จำไม่ได้เลย หมด
แล้วคืนนี้ก็คืออย่างนี้ ทุกคืนๆ


           เพราะฉะนั้นก่อนที่จะต้องทุกข์ไป  สุขไปในวันหนึ่งๆ  ชั่วระหว่างที่ยังไม่หลับ ก็
ให้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้ว เดี๋ยวก็ลืมหมด

            เพราะฉะนั้นก็ไม่มีอะไรสำคัญมากมายที่เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน       สิ่งที่
สำคัญ   คือ   การอบรมเจริญปัญญาให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง   ไม่ถูกใครหลอก
เอาสิ่งที่ไม่จริงมาบอกว่าจริง ซึ่งในพระธรรมได้อุปมาไว้ไพเราะมากว่า


            คนตาบอดแสวงหาผ้าขาว ก็มีคนหนึ่งที่เอาผ้าดำไปให้เขา แล้วบอกว่า ผ้าขาว
คนตาบอดนั้นก็แสนจะดีใจ คิดว่าตัวได้ผ้าขาว ความจริงก็เป็นผ้าดำ

            เพราะฉะนั้นคำสอนที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง  แล้วเราหลงเชื่อ เราก็คิดว่า สิ่ง
ที่เราเชื่อเป็นความถูกต้อง หรือว่าเป็นพระธรรมที่ทรงแสดง แต่ต่อเมื่อใดที่เราตาดี เราก็
รู้ว่า นี่ผ้าดำ ไม่ใช่ผ้าขาว ใช่ไหมคะ   เราก็รู้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นไม่ถูก แต่
ต้องอาศัยการฟัง เพราะว่าคำว่า “สาวก” คือ  ผู้ฟัง สาวโก คือ ผู้ฟัง ถ้าไม่ฟัง ไม่มีทางที่
เราจะคิดเองได้


คลิ๊กเพื่อฟัง..
เสียงบรรยายธรรมะตอนนี้โดย ท่านอ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ...

: http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7993

suggestions อ่าน-ฟัง หัวข้อธรรมอื่นๆ
   ขันธ์ ๕ ได้แก่ปรมัตถธรรม ๓
    ต้องค่อยๆรู้ขึ้น
    ไม่มีเจตนาฆ่า ไม่ล่วงกรรมบท
    กรรมเหมือนต้นไม้
    คิด ไม่่ใช่วิบาก
    เราอยู่ในโลกของความคิด ๑
    เห็นจริงๆ เห็นอะไร
    ส่งเสริมศาสนาคือเข้าใจศาสนา
    ปัญญาต้องรู้สิ่งที่มีจริงๆ
    ชื่อเปลี่ยนได้แต่ลักษณะไม่เปลี่ยน


กราบอนุโมทนาสาธุ.. ธรรมบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์..
ขอบพระคุณลิ้งค์ที่มา.. จากที่น้อง 時々Sometime เคยให้ไว้ค่ะ
และกราบอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กันยายน 2554 10:48:26 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 กันยายน 2554 14:30:07 »



07992 เราอยู่ในโลกของความคิด ๑

สุ.        เวลาฝัน เห็นอะไรคะ
ผู้ฟัง     เห็นเป็นรูปร่าง สมมติว่าฝันว่าลอยน้ำ ก็เห็นน้ำ

สุ.        จริงๆแล้ว  ไม่เห็นเลย ถูกไหมคะ ในฝันไม่เห็น  จำเรื่อง คิดเรื่อง คิดถึงเรื่อง คิด
ถึงสิ่งที่เคยเห็นเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่เห็นอย่างนี้ ใช่ไหมคะ   นี่เป็นสิ่งที่เราแยกได้ว่า ฝัน
คือ ไม่ใช่เห็นเดี๋ยวนี้ เราฝันหรือเปล่าคะ เวลานี้
ผู้ฟัง     เวลานี้เป็นความจริง

สุ.        เวลานี้เป็นความจริง เพราะว่ามีสีสันวรรณะกระทบตา  เราก็เลยบอกว่า เวลานี้ 
จริง ไม่ใช่ฝัน แต่เวลาที่เราฝัน สีสันวัณณะไม่ได้กระทบตา   เรานอนหลับตาเลย แต่ใจ
เรานึก เหมือนเห็น แต่เป็นเพียงนึก
            เพราะฉะนั้นขณะนี้ก็เหมือนกัน ต่างกันกับฝัน  คือ  มีสิ่งที่ปรากฏจริงๆให้เรารู้ว่า
เราไม่ได้ฝัน   เพราะว่ามีจริงๆปรากฏ   เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องจริงที่ปัญญาจะค่อยๆรู้
ความจริงว่า เราอยู่ในโลกของความคิดนึกตลอด สิ่งที่มากระทบตา เราจะคิดก็ได้ ไม่คิด
ก็ได้ เราคิดถึงเรื่องอื่นก็ได้

            นี่แสดงให้เห็นว่าเราอยู่ในโลกของความคิด  และสิ่งที่ปรากฏ   เราจะคิดว่าเป็น
คนนั้นคนนี้  แล้วเกิดโกรธในกิริยาอาการนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เหมือนเราดูรูปภาพใน
โทรทัศน์

            นี่แสดงให้เห็นว่า   สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นของจริงอย่างหนึ่ง  ส่วนความคิดนั้น
เป็นอีกอย่างหนึ่ง
  อีกขณะหนึ่ง  เราอยู่ในโลกของความคิด โดยอาศัยสิ่งกระทบตา แล้ว
เราก็คิดแต่เรื่องนั้น  จำแต่เรื่องนั้น  หมกมุ่นอยู่ในเรื่องนั้น  พอเสียงมากระทบหู เราก็คิด
แต่เรื่องของเสียงที่กระทบหู  เป็นเสียงสูงๆต่ำๆ แต่สร้างเรื่องมหาศาล สุขทุกข์ก็มาจาก
การที่เรา
ไปปรุงแต่งจากสิ่งที่กระทบหูแล้วก็หมดไป


            เพราะฉะนั้นปัญญาของเราจะเริ่มรู้ปรมัตถธรรม  คือสิ่งที่มีจริง  ไม่ต้องเรียกชื่อก็
ได้ เรียกก็ได้ แต่สิ่งนั้นมีจริง  และก็รู้ด้วยว่า เราอยู่ในโลกของความคิด และสภาพที่เป็น
ปรมัตถธรรมนั้นเราไม่ต้องคิด  อย่างสิ่งที่ปรากฏทางตา  เราคิดไม่ได้  ใช่ไหมคะ มีจริงๆ
กระทบตา เราไม่ต้องคิดเลย  อย่างเสียง  เราก็คิดไม่ได้ ใครจะไปคิดเสียงขึ้นมาได้  แต่
เสียงมีจริงๆ ปรากฏจริงๆ   แต่เราคิดเรื่องเสียงหลังจากที่เสียงปรากฏ  เราก็คิดถึงความ
หมาย
ของเสียง

           เพราะฉะนั้นเราอยู่ในโลกของความคิดของเราเอง เป็นโลกใบหนึ่ง  คนหนึ่งๆ ก็
อยู่ในโลกของตัวเอง
แล้วแต่ว่าอะไรจะมากระทบตาก็คิดเรื่องตาเห็น อะไรมากระทบหู ก็
คิดถึงเรื่องหู เวลาที่สิ่งเหล่านี้ไม่มี เราก็จำเอาไว้ วันนั้น คนนั้นทำอย่างนี้ ๒๐ ปีก่อน คน
นั้นทำอย่างนั้น ก็เป็นแต่เพียงความคิดของเราเอง  ถ้าทราบว่า  เราเหมือนเล่นกับความ
คิดของเรา ปรุงแต่งคิดไปต่างๆนานาให้สุข ให้ทุกข์จะเห็นว่าไม่มีใครทำอะไรเราได้เลย
นอกจากความคิดของเราอย่างเดียว จะคิดสุขก็ได้   จะคิดทุกข์ก็ได้ จะคิดให้คนนี้รักเรา
คนนี้เกลียดชังเรา ก็แล้วแต่เราจะคิดไป ทั้งๆที่
คนนั้นอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นเลยก็ได้

คลิ๊กเพื่อฟัง.. http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7992
เสียงบรรยายธรรมะตอนนี้โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ...
กราบอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย...

บันทึกการเข้า
คำค้น: ศีล สมาธิ ปัญญา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.485 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 11 นาทีที่แล้ว