[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 15:59:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผางประทีป : เครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย  (อ่าน 260 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 ธันวาคม 2565 13:43:47 »



ผางประทีป
ภาพจาก : วัดมเหยงคณ์ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ผางประทีป
ภาพจาก : วัดมเหยงคณ์ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผางประทีป
เครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย

ผางประทีป หรือ ผางประทีส เป็นเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย เพื่อหวังอานิสงค์ของการถวายทานเพื่อความสุขในภพภูมิหน้า

ผาง หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป ลักษณะคล้ายถ้วยหรืออ่างขนาดเล็ก ทำด้วยดินเผา

ประทีป หมายถึง แสงไฟ รวมความผางประทีป คือ ถ้วยดินเผาสำหรับจุดตามไฟ เป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบชาตาอายุ หรืออีกนัยหนึ่ง คือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้จุดแทนเทียนในเวลากลางคืน

ผางประทีปจะมีรูปลักษณะแตกต่างกันตามฝีมือช่างแต่ละยุคสมัย ผางประทีปแบบเก่าที่พบหลายแห่งมีขนาดใหญ่เท่าชามแกงขนาดย่อม ซึ่งผางประทีปที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ก็เพื่อบรรจุเชื้อเพลิงได้มากสำหรับให้แสงสว่างเป็นเวลานาน ส่วนผางประทีปที่ทำขายสำเร็จรูป มักมีขนาดกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร สูงประมาณ ๓ เซนติเมตร และขนาดใหญ่ คือ ประมาณ ๑๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๔ เซนติเมตร

นอกจากถ้วยประทีปแล้ว สิ่งที่สำคัญคู่กันก็คือ น้ำมัน และตีนกาหรือสีสาย ปัจจุบันนิยมใช้ขี้ผึ้ง (พาราฟีน) แทนน้ำมัน ส่วน สีสาย ซึ่งอาจอ่านเป็น “สี้สาย” หรืออ่านเคลื่อนเป็น “ขี้สาย” นั้น ทำจากด้ายฟั่นให้เป็นเชือกสองเกลียวยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร แล้วดึงแยกเกลียวทั้งสองออกจากกันโดยเว้นระยะจากปลายเชือกประมาณ ๑๐ เซนติเมตร เมื่อปล่อยมือเชือกเกลียวแต่ละเกลียวก็จะพันกันกลับเป็นเชือกอีกทีหนึ่ง จัดแต่งเชือกทั้ง ๔ ชายให้เข้ากัน โดยจัดสามชายแยกออกจากกันเป็นสามแฉก เหมือนตีนกา และอีกชายหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของทั้งสามชาย ก็จะได้ตีนกา หรือสีสายตามต้องการ

ในล้านนา มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของตีนกาที่ใช้เป็นไส้จุดประทีปหรือดังปรากฏในคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ผางประทีป อันสืบเนื่องมาจากตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร ที่พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้ถือกำเนิดจากแม่กาเผือก

ตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์มีแม่กาเผือกกำลังกกไข่อยู่บนต้นไม้ใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง แต่แล้วเกิดมีลมพายุพัดรังกระจัดกระจาย ไข่ก็ตกลงไปในแม่น้ำแล้วไหลไป แม่กาก็พลัดไปอีกทางหนึ่ง พอลมสงบแม่กาหาไข่ไม่พบก็ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ ส่วนไข่ ๕ ฟองที่ถูกน้ำพัดไป ถูกเก็บได้โดยแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ เอาไข่ไปฟักตัวละฟอง ต่อมาไข่ก็แตกออกมาเป็นคน พอโตขึ้นต่างก็ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่า วันหนึ่งฤาษีทั้ง ๕ มาพบกัน ต่างก็ถามถึงความเป็นมาของกันและกัน แต่ก็ไม่มีใครรู้จักแม่ที่แท้จริงของตนเลย จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ของตน ท้าวพกาพรหมจึงต้องลงมาพบเล่าเรื่องอดีตให้ฟังและบอกว่า ถ้าคิดถึงแม่ให้เอาด้ายดิบทำเป็นรูปตีนกาแล้วจุดไฟในประทีปในวันยี่เป็ง คือวันเพ็ญเดือน ๑๒
 
จากเรื่องเล่าดังกล่าวจึงมีการบูชาประทีปในเทศกาลยี่เป็ง ชาวบ้านจะนำผางประทีปไปจุดตามวัดและฟังพระธรรมเทศนาอานิสงส์ และยังมีการตามประทีปและจุดบูชาตามรอบรั้วบ้าน หัวบันไดบ้าน บ่อน้ำ ครัวไฟ บันได เป็นต้น โดยการจุดผางประทีบเป็นการบูชาเพื่อตอบแทนผู้มีพระคุณ เพื่อสักการะต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ และยังเป็นการบูชาแสงสว่างโดยเชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และมีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลอีกด้วย

หลักพุทธธรรมในการถวายทานประทีป
๑. หลักบูชา ซึ่งเป็นอามิสบูชา คือการถวายทานประทีปหรือแสงสว่างต่อปูชนียบุคคล คือการบูชาบุคคลที่ควรบูชา เช่น การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า การบูชาคุณพระธรรม และยังบูชาต่อปูชนียวัตถุ ผ่านประเพณีที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา
๒. หลักกตัญญูกตเวที มีความสอดคล้องและปรากฏหลักความกตัญญูตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อยู่สองประเภทด้วยกัน กล่าวคือ การกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า และกตัญญูต่อบิดามารดา ผ่านกระบวนการบูชาผางประทีป ซึ่งมีหลักธรรมเรื่องความกตัญญูสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาธรรม และถูกถ่ายทอดออกมารุ่นสู่รุ่น ด้วยกระบวนการทำให้ดู ปฏิบัติให้เห็น
๓. หลักศรัทธา ซึ่งแฝงอยู่ในการถวายทานประทีป เป็นความศรัทธาในคัมภีร์ธัมม์ ๓ เรื่อง คือ เวสสันดร ชาดก ๑๓ กัณฑ์ ธัมม์แม่กาเผือก และธัมม์อานิสงค์ผางประทีป ซึ่งความเชื่อความศรัทธาที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องให้ เกิดการถวายทานประทีปของชาวล้านนา และมีการยึดถือ สืบทอด และอนุรักษ์ไว้ตราบจนปัจจุบัน


ขอบคุณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่ (ที่มาข้อมูล)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.331 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 16:48:28