[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 19:08:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทราปตี นางผู้เลอโฉมในเรื่อง “มหาภารตยุทธ”  (อ่าน 268 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 มกราคม 2566 14:10:50 »


เทราปตี
ภาพ : ครูเหม เวชกร


เทราปตี

นาม “เทราปตี” ไม่คุ้นหูเราเหมือนนางงามในวรรณคดีคนอื่นๆ ที่ท่านได้ชมมาแล้ว อาจเป็นเพราะเรื่องราวของนางไม่ค่อยจะแพร่หลายนักในหมู่คนไทยเราก็ได้ แต่ชื่อเสียงของนางเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวภารตะทั้งหลาย

เทราปตี เป็นนางงามผู้เลอโฉมในเรื่อง “มหาภารตยุทธ” อันเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมเรื่องหนึ่งของอินเดีย คู่กับเรื่อง “รามายณะ” หรือรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นวรรณคดีเก่าแก่ลายคราม เป็นอมตะมานานแล้ว  และจะคงเป็นอมตะตลอดไป มหาภารตยุทธเป็นกาพยคดี ภาษาสันสกฤต มีกาพย์ถึง ๘ หมื่นบท เป็นตำนานของชนชาติอินเดีย กล่าวถึงการสงครามครั้งใหญ่ระหว่างญาติด้วยกัน ณ ทุ่งกุรุเกษตร ในอินเดียตอนเหนือ ราว ๘๐๐ - ๙๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล และลงเอยด้วยธรรมะย่อมชนะอธรรม

เนื่องจากมหาภารตยุทธเป็นกาพย์ภาษาสันสกฤต จึงหาคนที่อ่านเข้าใจแตกฉานได้ยาก ประตาปจันทรรอย ปราชญ์อินเดีย ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ แบบคำต่อคำ แต่ก็อ่านเข้าใจยาก ต่อมาฐากูรราเชนทรสิงห์ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษแบบความเรียง ซึ่งหลวงบวรบรรณรักษ์ (นิยม รักไทย) ได้แปลเป็นภาษาไทย และพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ นี่เอง

เรื่องย่อมีว่า ท้าววิจิตรวีรัย กษัตริย์ผู้ครองกรุงหัสดินปุระ มีโอรส ๒ องค์ ทรงพระนามว่า ธฤตราษฎร์ ซึ่งตาบอดแต่กำเนิด และปาณฑุ เมื่อท้าวเธอทิวงคต ปาณฑุก็ได้ครองราชย์ แต่พระองค์ทรงพอพระทัยในความสงบ จึงอพยพพาพระมเหสีเสด็จไปพำนักยังอาศรมในป่า จนมีพระโอรสกับพระมเหสี ๕ องค์ ทรงพระนามว่า ยุธิษฐิร ผู้ยึดมั่นในสัจจะ ภีม ผู้ทรงพลัง อรชุน รบเก่ง นกุลและสหเทพ เป็นน้องฝาแฝดสุดท้อง

เมื่อท้าวปาณฑุทิวงคต พระมเหสีก็พาโอรสกลับเข้าเมือง มาอยู่ในวังของธฤตราษฎร์ พระปิตุลา เมื่อเจริญวัยขึ้น ทุรโยธน์โอรสของธฤตราษฎร์ ริษยาในความเก่งกล้าสามารถของทั้ง ๕ ภราดา เพราะมีฝีมือรบดีกว่าเธอ ก็วางแผนการประหาร แต่ทั้ง ๕ ภราดาทราบเรื่องเสียก่อน จึงพาพระราชมารดาหนีข้ามแม่น้ำคงคาไปจนถึงปัญจาลนคร

เทราปตี เป็นราชธิดาผู้ทรงโฉมของท้าวทุรบท ผู้ครองปัญจาลราชธานี ท้าวเธอเคยได้ทราบถึงความห้าวหาญในการณรงค์ ของปาณฑุ ภราดาทั้ง ๕ พระองค์ ก็อยากจะยกราชธิดาให้แก่อรชุนผู้แกว่นกล้า จึงทรงจัดพิธีเลือกคู่ให้แก่ธิดาวิธีหนึ่ง โดยมั่นในหฤทัยว่าจะทำได้ก็แต่อรชุนองค์เดียว คือได้ทรงสร้างธนูใหญ่คันหนึ่งขึ้นไว้ สร้างปลาทองตัวใหญ่ แขวนไว้ที่ยอดเสาสูง มีจักรหมุนเวียนโดยเร็วภายใต้ตัวปลาทองนั้น และข้อสัญญามีอยู่ว่า “ผู้ที่จะเป็นเนื้อคู่ของพระราชธิดา ต้องเป็นผู้สามารถโก่งธนูนั้นขึ้นได้ด้วยกำลัง และลั่นลูกธนูนั้นลอดใบจักรไปถูกตาปลา ให้ปลานั้นตกลงมายังพื้นดิน อนุญาตให้ผู้ที่ทำการประกวดฝีมือทุกคนใช้ลูกธนูเพียง ๕ ลูกเท่านั้น”

การประลองฝีมือเพื่อชิงนางครั้งนี้ มีกษัตริย์และเจ้าชายทั้งหลายมาชุมนุมกันคับคั่ง รวมทั้งปาณฑุ ๕ ภราดานั้นด้วย แต่ปลอมเป็นพราหมณ์มา  บังเอิญโชคดี อรชุนได้รับชัยชนะงดงาม และบุพเพสันนิวาดลใจให้เทราปตีผู้หาที่เปรียบมิได้รู้สึกปฏิพัทธ์ในพราหมณ์หนุ่มมากกว่าราชาทั้งหลาย “นางยิ้มด้วยอารมณ์ชื่น พลางย่างเยื้องว่องไวออกไปหาผู้มีชัย เอาพวงมาลัยเจ้าสาวสวมคอให้” เมื่อท้าวทุรบทได้ทรงทราบความเป็นจริงของพราหมณ์หนุ่มแล้ว พิธีอาวาหมงคลก็ได้จัดขึ้นอย่างสมศักดิ์แห่งขัตติยราชธิดาทุกประการ

ครั้นท้าวธฤตราษฎร์ทรงทราบเรื่องราวของ ๕ ภราดา ก็เชิญให้กลับหัสดินปุระ ทรงแบ่งดินแดนให้ครึ่งหนึ่ง พระราชินีและสตรีผู้สูงศักดิ์ต่างๆ “พากันวิ่งไปต้อนรับเทราปตี กิริยามารยาทและรูปโฉมของนางสมพระราชหฤทัยพระญาติหญิงยิ่งนัก พระประยูรญาติทุกองค์ก็รักและชมเชยนางอย่างปลื้มใจ” ทั้ง ๕ ภราดาได้ไปสร้างเมืองอยู่ใหม่ ชื่อ อินทรปัสถ์ แต่ภายหลังแพ้ทุรโยธน์ในการพนันสกา ต้องเสียเมือง และถูกเนรเทศให้ไปเดินป่า ๑๒ ปี พร้อมทั้งเทราปตี ทั้ง ๖ องค์ปลอมเป็นราษฎรสามัญไปของานทำในราชสำนักพระเจ้ากรุงวิราฎ เทราปตีได้เป็นนางกำนัลของพระราชินี พระนางทรงพิศวงในความงามของเธอ ถึงกับอุทานว่า “ฉันนึกประหลาดใจว่าทําไมหนอ รูปราศีของหล่อนจึงไม่ปัดเป่าอุปัทวภัยให้คลาดแคล้วไป”

เทราปตี ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อพระสวามียิ่งนัก น้ำใจเด็ดเดี่ยว ฉลาดเฉลียว สมเป็นยอดหญิง ภาพนี้เป็นตอนทุรโยธน์ทำทุราจาร นางเทราปตี ในท้องพระโรง ขณะพวกภราดาแพ้สกา


700

ที่มา - มูลนิธิเหม เวชกร
นางงามในวรรณคดี ไทยวัฒนาพานิช ๒๕๐๗
บรรยายภาพ - บำรุง กลัดเจริญ
ภาพวาด - ครูเหม เวชกร
เรียบเรียง - Niramol Niramol

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.285 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้