[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 22:59:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “จันทน์เทศ” เครื่องเทศอันล้ำค่าและโด่งดังในอดีต  (อ่าน 209 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2322


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 มกราคม 2566 20:03:34 »



“จันทน์เทศ” เครื่องเทศอันล้ำค่าและโด่งดังในอดีต

ผู้เขียน - XIX มกรา
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม   วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ.2566


จันทน์เทศ (Nutmeg, Myristica fragrans) เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย พื้นที่ซึ่งเคยถูกขนานนามว่า “หมู่เกาะเครื่องเทศ” คริสต์ศตวรรษที่ 16 “บันดา” หมู่เกาะขนาดเล็กในกลุ่มหมู่เกาะโมลุกกะคือแหล่งผลิตเดียวที่ปลูกจันทน์เทศเพื่อการค้า มีพ่อค้าจากทั้งชาติเอเชียและชาวตะวันตกมารับซื้อไปทำกำไร กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลายพื้นที่จึงเริ่มปลูกจันทน์เทศเอง เช่น ปีนัง แคริบเบียน และอินเดีย

การใช้ประโยชน์จากจันทน์เทศได้จากส่วนที่เป็น เมล็ด และดอก ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของผลจันทน์เทศ ชาวบันดาพึ่งพาจันทน์เทศในการเลี้ยงชีพโดยขายมันเป็นเครื่องเทศแล้วนำรายได้ไปซื้อข้าวและสาคู (ไส้ของต้นสาคูคืออาหารหลักของคนท้องถิ่น) บางครั้งพวกเขาจะแล่นเรือที่บรรทุกผลจันทน์เทศไปยังเกาะชวา ขายเครื่องเทศกลิ่นหอมนี้ให้พ่อค้าท้องถิ่นและชาวต่างชาติที่มารอรับซื้อ ก่อนจะกว้านซื้อสินค้าจากเมืองท่าระหว่างทางกลับมายังบ้านเกิด

ในยุคที่ชาวยุโรปแล่นเรือหลายพันไมล์มาถึงหมู่เกาะโมลุกกะเพื่อซื้อจันทน์เทศ เครื่องเทศจากผลจันทน์เทศถูกนำไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบสำหรับปรุงแต่งอาหาร หลัก ๆ คือเพื่อดับกลิ่นและความคาวในเนื้อสัตว์

ผลจันทน์เทศมีลักษณะคล้ายมะนาวหรือลูกพลัม ต้นเต็มไปด้วยพุ่มใบแผ่เป็นทรงกรวยเขียวขจีดกหนา ผลสุกที่มีขนาดพอ ๆ กับลูกละมุดจะเปลี่ยนเป็นสีเนื้อจาง ๆ แล้วปริออก ก่อนจะร่วงหล่นลงพื้น เนื้อสีน้ำตาลอ่อนของผลจันทน์เทศก็สามารถบริโภคได้เช่นกัน ถัดจากเนื้อจันทน์เทศที่ปริเป็นร่องลึก เผยให้เห็นใยหุ้มสีแดงเข้มสดใสซึ่งเรียกว่า ดอกจันทน์เทศ (Mace) ดอกจันทน์เทศ จึงไม่ใช่ดอกไม้ แต่เป็นเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ด หรือรก ภายในเยื่อหุ้มนี้จะมีเมล็ดจันทน์เทศที่มีเปลือกสีดำเงาวับ เปลือกนี้แข็งแต่เปราะ ภายในเป็นเนื้อเมล็ดจันทน์เทศสีน้ำตาลอ่อนเรียกว่า ลูกจันทน์เทศ (Nutmeg)




ใบ ดอก และผลจันทน์เทศ (ภาพจาก Wikimedia Commons)

อย่างไรก็ตาม ชื่อเรียกดอกจันทน์เทศในภาษายุโรปหลาย ๆ ภาษา เช่น Fleur de muscade ในภาษาฝรั่งเศส หรือ Muskatblute ในภาษาเยอรมัน ล้วนบ่งชี้ว่าชาวยุโรปในอดีตเข้าใจผิดคิดว่า ดอกจันทน์เทศ คือ “ดอก” ของต้นจันทน์เทศจริง ๆ

มาร์โค โปโล นักเดินทางชาวเวนิสผู้เคยได้สำรวจดินแดนหมู่เกาะในทะเลจีนใต้และได้พบดอกจันทน์เทศก็เข้าใจว่าสิ่งนี้คือดอกไม้จริง ๆ เพราะมันเหมือนดอกไม้อื่น ๆ มาก คือเมื่อเริ่มแห้งเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดของผลจันทน์เทศจะให้กลิ่นหอมกว่าผลของมันเองเสียอีก ทั้งเปลี่ยนเป็นสีชมพูแกมส้มงดงาม

อาร์เจนซาโล นักประวัติศาสตร์สายอาณานิคมสเปน บรรยายเกี่ยวกับไม้ยืนต้นในตำนานชนิดนี้ในปี 1609 ทำให้เราเห็นมุมมองและภาพตราตรึงใจของชาวยุโรปต่อเครื่องเทศชนิดนี้ (เป็นฉบับแปลอังกฤษของปี 1708)

“มันเหมือนต้นแพร์ของชาวยุโรป ผลของมันคล้ายลูกแพร์ หรือออกจะกลมคล้ายกับเมโลโคโทน (ลูกพีช) เมื่อจันทน์เทศเริ่มสุก มันจะส่งกลิ่นหอมชื่นใจ ยิ่งสีเขียวดั้งเดิมตามแบบพืชผักจางหายไปมากเท่าใด ก็เริ่มสีฟ้าปะปนกับสีเทา สีแดงและสีทองจาง ๆ เหมือนสีของสายรุ้ง เพียงแต่ไม่ได้แยกสีเป็นแถบ ๆ ทว่ากระจายเป็นหย่อม ๆ เหมือนหินแจสปาร์ นกแก้วจำนวนนับไม่ถ้วน และนกชนิดต่าง ๆ มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่สวยงามน่าชม จะถูกกลิ่นหอมดึงดูดมาเกาะตามกิ่งก้านของต้นไม้ เมื่อผลจันทน์เทศเริ่มแห้ง มันจะผลัดเปลือกที่หุ้มอยู่ออก และภายในดอกจันทน์เทศจะมีลูกจันทน์เทศสีขาว ที่รสชาติไม่จัดจ้านเท่าเนื้อชั้นนอก

…ส่วนดอกจันทน์เทศซึ่งรสชาติร้อนแรงและแห้งอยู่เป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 ก็คือน้ำมันล้ำค่าที่ชาวบันดาทำขึ้นเพื่อใช้รักษาอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับเส้นประสาทและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากอาการไข้…พวกเขาใช้ (จันทน์เทศ) เพื่อระงับกลิ่นปาก ทำให้สายตาแจ่มชัด ช่วยให้กระเพาะ ตับ และม้ามรู้สึกสบายขึ้น และช่วยย่อยเนื้อสัตว์ จันทน์เทศเป็นยารักษาอาการต่าง ๆ ได้มากมายและใช้เพื่อให้ใบหน้าดูเปล่งปลั่ง”

อันที่จริงผลจันทน์เทศมีผลด้านหลอนประสาทจากสารเคมีที่เรียกว่า ไมริสทิซิน (Myristicin) หากกินในปริมาณน้อยจะช่วยกล่อมประสาท ช่วยให้หลับง่าย ซึ่งผลกระทบต่อระบบประสาทของเครื่องเทศนี้เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตแล้ว

ในแซนซิบาร์ หญิงพื้นเมืองเคี้ยวลูกจันทน์เทศแทนการสูบกัญชา เฟรอี เซบาสเตียน มานริเก้ นักสอนศาสนาชาวสเปน บันทึกว่าที่เบงกอลในช่วงต้นทศวรรษ 1600 มีพวกขี้ยาจะใช้ลูก-ดอกจันทน์เทศ และเครื่องเทศอื่น ๆ ผสมกับฝิ่นเพื่อให้มีฤทธิ์รุนแรงยิ่งขึ้น ปฏิกิริยาตอบสนองต่อฤทธิ์ของจันทน์เทศแตกต่างกัน บางคนรู้สึกว่าหลงลืมเวลาและสถานที่ บางคนถึงขั้นเกิดภาพหลอน โดยมีบันทึกในปี 1576 โดยโลบีลิอัส แพทย์ชาวเฟลมมิช เล่าถึงหญิงตั้งครรภ์ชาวอังกฤษที่มึนเมาจนคลุ้มคลั่งหลังจากบริโภคจันทน์เทศไปราว 10-12 ลูก เพราะต้องการให้เกิดการแท้งบุตร

สำหรับตำรายาไทย ลูกจันทน์เทศมีสรรพคุณเกี่ยวกับการบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ ขับลม แก้ท้องอืด ปวดท้อง ส่วนดอกจันทน์เทศมีสรรพคุณบำรุงโลหิตและบำรุงธาตุเช่นกัน น้ำมันระเหยจากดอกจันทน์เทศยังใช้ทาระงับปวดและช่วยขับประจำเดือนได้อีกด้วย




ลูกจันทน์เทศ (ภาพจาก Pixabay)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2566 20:09:21 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.293 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 10 มีนาคม 2567 04:49:32