[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 04:07:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ล่องไพร นิยายป่า : ป่าช้าช้างและเจ้าแผ่นดิน ( น้อย อินทนนท์)  (อ่าน 185 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 94.0.4606.85 Chrome 94.0.4606.85


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 27 มกราคม 2566 17:12:46 »



ล่องไพร นิยายป่า : ป่าช้าช้างและเจ้าแผ่นดิน

<a href="https://www.youtube.com/v/kk6jqhI8_5o" target="_blank">https://www.youtube.com/v/kk6jqhI8_5o</a>

ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่ง ผู้มีศรัทธาต่อการใช้ชีวิตกลางแจ้ง โดยเหตุที่ว่า มันเป็นการศึกษา และอบรมในคนหนุ่มของเรา รู้จักค่าของชีวิต ที่มั่นคงแข็งแรงทั้งกายและใจ ชีวิตป่า ให้ความสำนึกถึงการเสียสละ ภารดรภาพและความเป็นไท อย่างชีวิตอื่นยากจะให้ได้


ล่องไพร โดย ครูมาลัย ชูพินิจ (นามปากกา น้อย อินทนนท์)


"ล่องไพร" คือนวนิยายแนวผจญภัยที่ผงาดขึ้นในบรรณพิภพของไทยเป็นเรื่องแรก จากปลายปากกาของ "น้อย อินทนนท์" นามปากกาของนักประพันธ์ชั้นครู "มาลัย ชูพินิจ ก่อนจะกำเนิด "ล่องไพร" ภาคนวนิยายนั้น ในปี ๒๔๙๗ ครูมาลัย ชูพินิจ ได้เขียนเป็นบทละครออกอากาศทางสถานีวิทยุของบริษัทไทยโทรทัศน์ก่อน กลายเป็นบทละครที่โด่งดัง มีผู้ฟังกันทั้งบ้านทั้งเมือง พอถึงเวลาออกอากาศ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ต้องแจ้นกันมานั่งเฝ้าวิทยุกันหน้าสลอน ถัดมาอีกหนึ่งปี คือ พ.ศ.๒๔๙๘ "ล่องไพร" ก็ปรากฏโฉมออกมาในรูปนวนิยาย กลายเป็นตำนานที่โลกวรรณกรรมไทยต้องจดจารเอาไว้ ด้วยว่า นวนิยายในยุคเดียวกันนั้นมีแต่เรื่องโรแมนติกเพ้อฝัน และพงศาวดารจีนเป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพราะถูกคุกคามจากอิทธิพลการเมืองในขณะนั้นด้วย "น้อย อินทนนท์" อาศัยประสบการณ์ส่วนตัวในการเข้าไปใช้ชีวิตในป่าเขาลำเนาไพร เรื่องเล่าปรัมปราจากวงสนทนาข้างกองไฟของพรานป่า จากคนเฒ่าคนแก่ มาผสมผสานกับจินตนาการ พาผู้อ่านท่องไปในป่าเขาลำเนาไพร พบเจอกับเหตุการณ์ลี้ลับ พิสดาร เต็มไปด้วยความสนุกสนานตื่นเต้นตลอดทั้งเรื่อง ผ่านมุมมองของตัวละครคือ ศักดิ์ สุริยัน อันเป็นภาพจำลองของผู้เขียนเอง


"ล่องไพร"
บทประพันธ์ของครูมาลัย ชูพินิจ แนวป่าดงพงไพร ในนามปากกา "น้อย อินทนนท์"

๑. อ้ายเก งาดำ
๒. มนุษย์นาคา แดนสมิง หุบผามฤตยู ครานี้ คณะของ ศักดิ์ สุริยันต์ ต้องเดินทางไปกับคณะของดร.สมิธ เพื่อนำทางไปสำรวจและค้นหาชาวนาคะ ชนเผ่ามนุษย์ในพงไพรติดชายแดนไทย-พม่า แต่ระหว่างการเดินทางนั้น ชาวคณะต้องผจญกับสัตว์ร้าย และหนทางอันหฤโหด

๓. ป่าช้าช้าง เจ้าแผ่นดินป่าช้าช้าง เป็นนวนิยายเกี่ยวกับป่าดงพงไพร ลำดับที่ 3 ในชุด ล่องไพร ของ น้อย อินทนนท์ ซึ่งสำนักพิมพ์กระท่อม ป.ล. ได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเสนอความอภิรมย์แก่ผู้อ่านทุกท่าน ในเล่มนี้ทางสำนักพิมพ์ได้นำล่องไพรตอนพิเศษคือ จ้าวแผ่นดิน มารวมไว้ด้วย เพื่อให้มีรูปเล่มขนาดเดียวกับสองเล่มแรก เป็นตอนที่เปิดโอกาสให้ ตาเกิ้น ได้แสดงความสามารถและเล่ห์เหลี่ยมของแกอย่างเต็มที่ สมกับเป็นมือขวาของ ศักดิ์ สุริยัน

๔. จามเทวี เล่มนี้ ศักดิ์ ตาเกิ้น ร.อ.เรือง ท่องป่าดงพญาไฟ และได้ยินเสียงเล่าขานถึงอภินิหารของพระนางจามเทวี และได้พบกับหมอเติมพันธ์โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นผู้ที่เคยพบนางจามเทวี และเคยไปจามนครมาแล้ว สร้างความประหลาดใจให้แก่คณะล่องไพรเป็นอย่างมาก ทำให้ศักดิ์ และคณะ ต้องเดินทางไปพิสูจน์คำบอกเล่าของหมอเติมพันธ์ ความจริงจะเป็นอย่างไร จามเทวี และจามนครจะมีจริงไหม ติดตามอ่านได้จาก ล่องไพร เล่ม 4 นี้

๕. จ้าวป่า “เจ้าป่า” เป็นลำดับที่ 5 ในชุด “ล่องไพร” เป็นตอนที่ศักดิ์ สุริยัน ได้รับการขอร้องจากแพทย์หญิงผู้หนึ่งให้ช่วยติดตามบิดาของเธอ ซึ่งหลงหายไปในป่าดงดิบระหว่างชายแดนไทย-พม่า หลายปีมาแล้ว
คณะล่องไพรได้เดินทางไปเผชิญกับความยากลำบากนานัปการ ทั้งจากสัตว์ร้าย และจากชาวป่า ซึ่งแตกต่างกับเขาโดยสิ้นเชิงทั้งด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
จากการบรรยายของ “น้อย อิทนนท์” ท่านจะได้กลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจของเอื้องจำปาขาว พันธุ์ไม้สำคัญซึ่งใช้ในพิธีบวงสรวงต่างๆ ของชาวป่าเหล่านั้น ท่านจะได้เห็นพิธีบูชายัญแก่ “สะแหล่ง”เทวรูปกระหายเลือดประจำเผ่า และสุดท้ายท่านจะได้รู้ว่า บางครั้ง...ความกตัญญูกตเวทีของชาวป่า ซึ่งชาวเมืองดูถูกกันหนักหนาว่าไร้อารยธรรมนั้น อาจจะบริสุทธิ์ผุดผ่องและเต็มไปด้วยการเสียสละแม้ชีวิตให้แก่ผู้ที่เคยมีพระคุณต่อเขา ยิ่งกว่าจะหาได้จากชาวเมืองด้วยซ้ำไป

๖. ตุ๊กตาผี เป็นสารนิยายชุด “ล่องไพร” ลำดับที่ 6 นอกจากท่านจะได้สนุกตื่นเต้นไปกับขบวนล่องไพรของ ศักดิ์ สุริยัน ซึ่งนำท่นผจญภัยไปในดินแดนมหัศจรรย์แห่งการชุบคนให้กลายเป็นตุ๊กตาหินแล้ว ยังมีบทสัมภาษณ์ผู้ที่เคยสวมบท “ตาเกิ้น” ในละครวิทยุ “ล่องไพร” อันลือลั่นเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ผู้นั้นคือ “ธนะ นาคพันธุ์” ซึ่งแฟนๆ ละครวิทยุล่องไพร รู้จักชื่อ “ตาเกิ้น” มากกว่าชื่อจริงเสียอีก

๗. มนุษย์หิมพานต์ ตอนนี้ ศักดิ์ สุริยัน และชาวคณะล่องไพร ต้องไปพิสูจน์เรื่องเหลือเชื่ออีกแล้ว ทั้งที่ก็เคยผ่านการตรากตรำ ในการฝ่าป่าดงพงพี และก็ได้พบเรื่องแปลกประหลาดต่างๆ เหมือนเช่นเดิม ศักดิ์ ไม่ใช่คนที่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะได้เห็นกับตาตัวเอง มาครานี้พรานป่าของเขาชาวลัวะ ได้ถูกยักษ์ใหญ่สองตน ลักพาตัวเข้าไปในป่าลึก จนคณะล่องไพรต้องตามไป มาทราบตอนหลังว่าเป็นมนุษย์หิมพานต์ ไม่ทำร้ายใคร แล้วซองปาหายไปได้อย่างไร เรื่องเริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ คณะล่องไพรยังได้เดินทางมาพบดินแดนสุวรรณคีรี ดินแดนที่คนเป็นอมตะที่ไม่มีใครไปถึง ชาวคณะล่องไพรจะตามเจอซองปาหรือไม่ แดนสุวรรณคีรีเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเล่มนี้

๘. เมืองลับแล มดแดง พรายตะเคียน คราวนี้ศักดิ์ สุริยัน และคณะล่องไพร ออกตามหาเมืองลับแลซึ่ง หายสาปสูญไปกว่าพันปี ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่ากะเหรี่ยงบ้านอุ้มปาต เมืองนี้มีชื่อว่า “สิเห” เมืองที่มีแม่หญิงเป็นผู้ครองนคร มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ ใครใคร่กิน...กิน ใครใคร่นอน...นอน ไม่มีลัก ไม่มีขโมย ไม่อิจฉาริษยาหรือเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่มีฆ่า ไม่มีทำร้ายกัน ใครอยากได้อะไรของใครก็เอาไป ไม่มีการหวงแหน หวงห้าม ไม่มีกฎหมาย ใครอยู่ใครพูดความจริง ความเท็จเป็นข้อเดียวที่อยู่ไม่ได้ในเมืองนั้น

๙. เทวรูปชาวอินคา เป็นชนเผ่าโบราณที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งอารยธรรมอันเก่าแก่ควรแก่การศึกษาค้นคว้า ความเจริญรุ่งเรืองแต่ครั้งอดีตกาลของชนชาติที่เชื่อกันว่าหายสาบสูญไปจากโลกนี้แล้ว ยังเป็นที่กล่าวขานถึงในหมู่นักโบราณคดี และนักมนุษยวิทยาทั่วโลก
ในเล่มนี้ ท่านจะได้เดินทางไปกับคณะล่องไพร สู่ดินแดนแห่งความลี้ลับมหัศจรรย์ของชาวอินคา ท่านจะได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าตื่นเต้น ซึ่งบางครั้ง แม้วงการวิทยาศาสตร์เองก็ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ภูมิประเทศอันงดงามของป่าดงดิบแถบอเมริกาใต้ ผสมผสานกับจินตนาการของ “น้อย อินทนนท์” จะทำให้ท่านได้เพลิดเพลินกับ “เทวรูปชาวอินคา” ตั้งแต่ต้นจนจบ

๑๐๑๐. เสือกึ่งพุทธกาล เป็นผลงานอันดับที่ 10 ของหนังสือผจญภัย ชุด ‘ล่องไพร’ ซึ่งตอนนี้เป็นการเดินทางตามล่าเสื่อไฟตัวใหญ่ มีเขี้ยวยาวรากับงาช้าง มีอายุเป็นพันๆ ปี หรือ ึ่งพุทธกาล ซึ่งออกอาละวาดกินคนในหมู่บ้าน ในจังหวัด กาญจนบุรี เมื่อศักดิ์ และเพื่อนๆ ตามรอยไปนั้น เกิดเรื่องประหลาด มหัศจรรย์มากมาย

ถ้าใครชอบดูหนังเรื่อง อินเดียนน่าโจนส์ละก็ ลองอ่านตอนนี้ดูละกัน

๑๑. ทางช้างเผือก ‘ทางช้างเผือก’ เป็นนวนิยายชุด ล่องไพร เล่มที่ 11 ของ น้อย อินทนนท์ ซึ่งยังเข้มข้นเหมือนเดิม กับการผจญภัยในป่าใหญ่ คราวนี้ ศักดิ์ สุริยัน ร.อ.เรือง และตาเกิ้น ออกตามล่าพลายช้างเผือกใหญ่มหึมา สีขาวทั้งตัว ที่วิ่งทำลายบ้านและผู้คน ตามหมู่บ้านต่างๆ ให้ได้รับความเดือดร้อน แต่เนื่องจากความสวยงามจนน่าที่จะเป็นช้างคู่บ้านคู่เมือง ความยากลำบากจึงเกิดขึ้น เพราะต้องจับเป็น และยิ่งเดินทาง เรื่องก็ยิ่งซับซ้อน อย่างน่าประหลาด
คิดว่า ‘ทางช้างเผือก’ น่าจะเป็นตอนที่สนุกตื่นเต้นที่สุดตอนหนึ่งของ ล่องไพร

๑๒. ผีตองเหลืองคนสุดท้าย  เป็นเล่มที่ 12 ของสารนิยายชุดล่องไพร เกิดจาการที่ “น้อย อินทนนท์” ได้เห็นชนเผ่าพันธุ์นี้ ซึ่งหลงเหลืออยู่บ้างตามยอดเขาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กำลับจะปรับเปลี่ยนสภาพดั้งเดิมตามภาวะแวดล้อมเกือบหมดสิ้น จึงได้นำมาผสมผสานกับจินตนาการเกิดเป็นหนังสือในมือท่านขณะนี้
ท่านผู้อ่านจะได้พบ “สีฟ้า” มาลาบรีสาวที่เกือบจะเหลืออยู่เพียงชื่อ ถ้าไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือให้พ้นภัยทั้งจากมนุษย์ด้วยกันเอง และจากสัตว์ร้ายในป่าทึบจากคณะของ “ศักดิ์ สุริยัน” และท่านก็จะได้รู้ว่างานด้านค้นคว้าเผ่าพันธุ์มนุษย์ของนักมนุษยวิทยา เช่น ดร.คาร์ล ฟลิกส์ และแวนดา ภรรยาสาวของเขานั้น ต้องเผชิญกับความยากลำบากเพียงใด กว่างานสักชิ้นจะสัมฤทธิ์ผล

๑๓. วิมานฉิมพลี (แบ่งเป็น ๒ เล่ม)
“วิมานฉิมพลี” เป็นลำดับที่ 13 หรือตอนสุดท้ายของ “ล่องไพร” ซึ่งศักดิ์ สุริยัน และคณะ ได้ร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจด้านมนุษยวิทยา สองสามีภรรยา... ดร.โทมัส และไมรา สมิธ นอกจากนี้ ยังมีนยทหารอเมริกันนอกราชการ คือพันตรีวิลเบอร์ โจนส์ ซึ่งได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย ให้ไปดำเนินการปราบนกอินทรีย์ยักษ์ ซึ่งรบกวนชาวนิวกินีมาเป็นเวลาช้านาน
ในเล่มนี้ ท่านจะเพลิดเพลินกับธรรมชาติอันงดงามของป่าดงดิบซึ่งน้อยคนจะเคยเห็น ท่านจะได้รับความรู้จากขนบธรรมเนียมประเพณีแปลกๆ ของชนพื้นเมืองซึ่งคณะล่องไพรได้ผ่านไปพบ และท่านจะสนุกสนานตื่นเต้นไปกับการผจญภัยนอกเมืองไทยเป็นครั้งแรกของศักดิ์ สุริยัน เสมือนท่านได้ร่วมขบวนไปกับคณะล่องไพรด้วย

มีอีกหลายเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLzY8zqnPk7RHawjeKAwwMbqvqNHynMYdb

https://youtube.com/playlist?list=PLNAnCJkO_8YAgTeBgLeBkFa4Wikc1lQan

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ล่องไพร นิยายป่า : จามเทวี ( น้อย อินทนนท์)
สุขใจ หนังสือแนะนำ
มดเอ๊ก 0 187 กระทู้ล่าสุด 27 มกราคม 2566 17:13:51
โดย มดเอ๊ก
ล่องไพร นิยายป่า : เจ้าป่า ( น้อย อินทนนท์)
สุขใจ หนังสือแนะนำ
มดเอ๊ก 0 259 กระทู้ล่าสุด 27 มกราคม 2566 17:15:23
โดย มดเอ๊ก
ล่องไพร นิยายป่า : ตุ๊กตาผี ( น้อย อินทนนท์)
สุขใจ หนังสือแนะนำ
มดเอ๊ก 0 204 กระทู้ล่าสุด 27 มกราคม 2566 17:16:39
โดย มดเอ๊ก
ล่องไพร นิยายป่า : มนุษย์หิมพานต์ ( น้อย อินทนนท์)
สุขใจ หนังสือแนะนำ
มดเอ๊ก 0 195 กระทู้ล่าสุด 27 มกราคม 2566 17:18:11
โดย มดเอ๊ก
ล่องไพร นิยายป่า : เทวรูปชาวอินคา ( น้อย อินทนนท์)
สุขใจ หนังสือแนะนำ
มดเอ๊ก 0 181 กระทู้ล่าสุด 27 มกราคม 2566 17:22:24
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.352 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มกราคม 2567 12:05:34