[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 20:35:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักฐานจีนชี้ชัด! ชุดไทยแบบโขน มีมาตั้งแต่ยุคอังกอร์ เขมรแต่งกายเหมือนอินเดีย  (อ่าน 403 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.210 Chrome 90.0.4430.210


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2566 19:54:49 »



หลักฐานจีนชี้ชัด! ชุดไทยแบบโขน มีมาตั้งแต่ยุคอังกอร์ ผู้นำเขมรแต่งกายเหมือนอินเดีย

ล่าสุด ข้อสงสัยที่ว่า มีความชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าข้อมูลหลายอย่าง จะเป็นข้อมูลที่มีการนำเสนอในประเทศกัมพูชาเองเมื่อหลายปีก่อนแล้วด้วย แต่ในขณะนั้น ข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้รับความสนใจมากนัก อาจจะเพราะทางฝั่งไทยเอง ก็ยังไม่ได้รู้สึกถึงการละเมิดสิทธิ์จากทางกัมพูชา นั่นจึงทำให้ข้อมูลที่่น่าสนใจหลายอย่าง ถูกนำเสนอออกมาอย่างตรงไปตรงมา จากทางฝั่งของสื่อกัมพูชาเอง

อย่างไรก็ตาม เพจ Asian SEA Story ได้โพสต์ภาพวาดชาวอังกอร์และสยาม ในยุคเดียวกัน เมื่อช่วงศตวรรษที่ 14 ที่ถูกวาดขึ้นโดยชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นการวาดภาพบนวัสดุพอร์สเลนในปราสาทเยว่เจียง ที่ถูกวาดขึ้นใหม่ในปี 2001 ซึ่งเป็นภาพที่ลอกเลียนมาจากภาพวาดต้นแบบ บนผนังในโถงพระราชวัง ตามพระราชโองการของกษัตริย์จีน ในราชวงค์หมิง ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ที่จีนมีความสัมพันธ์ทางการฑูต ในช่วงศตวรรษที่ 14-15 ซึ่งในช่วงนั้น ถือว่าเป็นยุคปลายของนครวัด และคาดว่าสยาม ได้เริ่มเข้าไปมีส่วนในการปกครองเขมร โดยเรื่องราวนี้ ได้ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสื่อดังกัมพูชา Phnom Penh Post ในปี 2013 โดยนักข่าวชาวกัมพูชาเอง ซึ่งสื่อดังกล่าว ได้ถูกซื้อโดยนักธุรกิจชาวมาเลเซียไปแล้ว แต่ก็ยังทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียง ให้กับรัฐบาลกัมพูชาอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยผู้เขียนที่ชื่อโมนเนียน ได้บอกว่า ในปี 2010 เขาได้มีโอกาสไปร่วมงานประชุม ที่จัดขึ้นมหาวิทยาลัยชื่อดังของจีนอย่างฟู่ตั้น ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์นานจิง ซึ่งที่นี่เอง เขาได้พบงานศิลปะดังกล่าว โดยเป็นภาพที่มีความสูง 12.8 เมตร กว้าง 8 เมตร ซึ่ง 6 จากทั้งหมด 12 ภาพ เกี่ยวข้องกับกัมพูชาในสมัยอังกอร์ ที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเขมรในยุคนั้น ทั้งการทำนา หาปลา ล่าจระเข้ ค้าขาย งานศิลปะ รวมถึงการแต่งกาย และรูปร่างหน้าตาของชาวเขมรในสมัยนั้น นอกจากนั้นยังมีการวาดภาพของชนชาติอื่นๆ อย่าง อินเดีย อียิปต์ มองโกเลีย ธิเบต แต่กลับไม่พูดถึงภาพวาดของชาวสยาม ตามที่ชาวกัมพูชา มักจะหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด เพื่อปิดกั้นข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพลของไทยต่อกัมพูชา ซึ่งเรื่องในลักษณะเดียวกันนี้ ก็เพิ่งเกิดขึ้นกับการค้นพบจารึกตัวอักษรไทย จีน และญี่ปุ่น บนกำแพงนครวัด ซึ่งนักโบราณคดีของกัมพูชาเอง ก็ออกมายืนยันว่า เป็นตัวอักษรที่มีขึ้นมานานแล้ว ในช่วงที่ประเทศต่างๆเหล่านี้ มีการค้าขายกัน ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยว แต่สื่อกัมพูชา ก็หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง โดยเน้นไปที่การนำเสนอ เฉพาะเรื่องของจารึกตัวอักษรจีนและญี่ปุ่นเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เพจ Asian SEA Story ได้นำข้อมูลและภาพ ของชาวสยาม จากภาพวาดชุดเดียว มานำเสนอเพิ่มเติม ประเด็นสำคัญที่เราสนใจก็คือ ภาพการแต่งกายของชาวสยาม ที่แทบจะถอดแบบมาจากการแต่งกายในละครโขนของไทย คือมีการสวมชฎา การนุ่งโจงกระเบน การพาดสไบ และการใส่ผ้าถุง ที่ดูวิจิตรตระการตาเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากการแต่งกายของเจ้าครองนครวัดอย่างสิ้นเชิง ที่เหมือนเป็นการแต่งกายของกษัตริย์จากอินเดียมากกว่า ในขณะที่ประชาชนทั้งชายและหญิงชาวเขมร มีการเปลือยท่อนบน และมีผ้าปกปิดส่วนล่างอย่างง่ายๆเอาไว้เท่านั้น ตามที่เรามักจะเห็นได้ จากภาพแกะสลักบนผนังของนครวัด นั่นหมายความว่า การแต่งกายของชาวกัมพูชา ที่เหมือนกับของไทยในยุคปัจจุบัน ซึ่งมักจะมีการอ้างว่า เป็นการแต่งกายที่มีมาตั้งแต่ยุคอังกอร์ จึงไม่เป็นความจริง และไม่มีช่วงเวลาใดที่บ่งบอกว่า มีการแต่งกายที่เหมือนกับชาวสยาม มาตั้งแต่โบราณกาล อีกทั้งภาพถ่ายต่างๆเมื่อราว 100 ปีก่อน ก็ยังแสดงให้เห็นการแต่งกายในลักษณะเดียวกันนี้ของชาวกัมพูชา อยู่เช่นเดิม เพราะในยุคเดียวกันกับภาพวาดโบราณนี้เอง สยามได้เริ่มเข้าไปปกครอง และถ่ายทอดสิ่งต่างๆให้กับชาวเขมรโบราณมาโดยตลอด จนถึงยุคกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ที่มีการนำเอากษัตริย์เขมรมาชุบเลี้ยง และให้การศึกษา ด้วยเหตุผลทางการเมือง รวมถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างเข้มข้น ให้กับราชวงศ์กัมพูชาตั้งแต่นั้นมา และนั่นก็ยังเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมงานสถาปัตยกรรมของนครวัด จึงแตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมของกัมพูชาสมัยใหม่อย่างสิ้นเชิง ข้อสังเกตอีกอย่างก็คือ สีผิวของชาวสยามและเขมรในยุคนั้น ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นไปได้ว่า ชาวเขมรเหล่านั้น มักจะทำงานในที่โล่งแจ้งจนผิวคล้ำ หรือเป็นชนชาติจากอินเดียตอนใต้หรือชวามาก่อน ตามบางสมมติฐาน หรืออาจจะเป็นชนชาติท้องถิ่น ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแรงงาน มาตั้งแต่ยุคที่เริ่มมีการก่อสร้างนครวัด ซึ่งการแต่งกายที่เรียบง่าย ทำให้มีความเป็นไปได้มากว่า สังคมโดยรวมของชาว เขมรโบราณในสมัยนั้น ยังไม่มีวัฒนธรรมการแต่งกายที่ซับซ้อนเป็นของตัวเอง เหมือนอย่างของไทย ในขณะที่การแต่งกายของชนชั้นปกครองเขมร ก็แตกต่างไปจากการแต่งกายของชาวสยามอย่างสิ้นเชิง สรุปได้ว่า ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน การแต่งกายประจำชาติของไทยและกัมพูชา ไม่มีความเป็นไปได้เลย ที่จะเหมือนกันมาตั้งแต่อดีต จากในยุคที่อาณาจักรเขมร มีความรุ่งเรืองมากที่สุด มาจนถึงยุคปัจจุบัน เว้นเสียแต่ว่า มีการถ่ายทอดสิ่งต่างๆเหล่านี้จากไทย มาสู่กัมพูชาในภายหลัง และยังมีความเป็นไปได้สูงอีกว่า ศิลปวัฒนธรรม และงานสถาปัตยกรรมต่างๆของไทย ก็ถูกถ่ายทอดไปสู่กัมพูชา มาตั้งแต่หลังยุคอังกอร์มาโดยตลอด ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆ ที่เราได้เคยเห็นกันมาก่อนแล้ว

#thailand #cambodia #ประเทศไทย #fudan #nanjing #angkor #angkorwat

ที่มา: https://www.facebook.com/AsianSEAStory

<a href="https://www.youtube.com/v//BC-IjWQk1g8" target="_blank">https://www.youtube.com/v//BC-IjWQk1g8</a> 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.263 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 เมษายน 2567 05:18:38