[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 00:58:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กบฏนายสิบ (พ.ศ.๒๔๗๘) - กบฏหลังการปฏิวัติการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕  (อ่าน 182 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 เมษายน 2566 17:16:16 »



เว็บไซท์ วิกีพีเดีย (ที่มาภาพประกอบ)

กบฏนายสิบ (พ.ศ.๒๔๗๘)

กบฏนายสิบ เป็นความพยายามของคณะทหารชั้นประทวน ส่วนใหญ่เป็นนายสิบทหารบก ที่จะโค่นอำนาจรัฐบาลคณะราษฎรของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) โดยวางแผนจะดำเนินงานในวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๘  แต่รัฐบาลรู้ข่าวจึงจับกุมคณะนายสิบได้ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการเพียง ๒ วัน

หลังจากนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒ ของไทย เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๖ แล้ว อีก ๔ เดือนต่อมาก็ได้เกิดกบฏวรเดชระหว่างวันที่ ๑๑-๒๔ ตุลาคม ๒๔๗๖ ซึ่งกองทหารฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายกบฏได้เป็นผลสำเร็จ ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๗๖ ปีเดียวกันนั้น (ขณะนั้นถือว่าเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกของปีพุทธศักราช) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และต่อมาก็ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗

เหตุการณ์ยุ่งยากทางการเมืองดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดในกลุ่มบุคคลต่างๆ กลุ่มนายสิบไม่พอใจรัฐบาลคณะราษฎรว่า ไม่พยายามประนีประนอมกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เท่าที่ควร รวมทั้งไม่พอใจที่นายพันอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) ผู้อำนวยการปาบปรามกบฏวรเดช ก้าวขึ้นสู่อำนาจอย่างรวดเร็วเกินหน้านายทหารชั้นผู้ใหญ่คนอื่นๆ ในกองทัพ และไม่พอใจนายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส (บัตร พึ่งพระคุณ) นายทหารร่วมรุ่นกับนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ที่รัฐบาลคณะราษฎรส่งไปประจำกรมตำรวจตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ เพื่อสอดส่องควบคุมฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมืองกับคณะราษฎร จึงรวมตัวกันวางแผนที่จะโค่นอำนาจรัฐบาลของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา แล้วจะเชิญผู้มีคุณวุฒิและความสามารถมาจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะข้าราชการและนายทหารจำนวนมากที่ถูกจับกุมตัวในกรณีกบฏวรเดช จะถูกปล่อยตัวมาช่วยบริหารบ้านเมือง

ผู้คิดก่อการยึดอำนาจในครั้งนี้มีแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากข่าวหนังสือพิมพ์เรื่องการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในคิวบา ที่เรียกว่า “การปฏิวัตินายสิบ” โดยนายสิบ ๖ คน นำโดยสิบเอก ฟูเกนเชียว บาติสตา (Fungencio Batista) ยึดอำนาจเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๖ และได้รับชัยชนะ เลื่อนยศให้กลุ่มของตนเองเป็นนายพล และปกครองคิวบาต่อมา  ดังนั้น กลุ่มนายสิบกลุ่มหนึ่งจึงได้คิดการที่จะก่อการเช่นเดียวกัน ผู้ที่เป็นต้นคิดดำเนินการคือ สิบเอก ถม เกตุอำไพ ซึ่งได้ชักชวนให้นายสิบคนอื่นอีก ๗ คนเข้าร่วม คือ สิบเอก เข็ม เฉลยทิศ  สิบเอก แช่ม บัวปลื้ม  สิบเอก ตะเข็บ สายสุวรรณ  สิบเอก เท้ง แซ่ซิ้ม  สิบเอก กวย สินธุวงศ์  สิบโท ม.ล.ทวีวงศ์ วัชรีวงศ์ และ สิบโท แผ้ว แสงส่งสูง  นายสิบที่คิดดำเนินการทั้งหมดนี้เป็นทหารประจำกองพันทหารราบที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ที่วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก กองพันนี้มี นายพันตรี หลวงประหารริปูราบ (ชื่น โหระกุล) เป็นผู้บังคับบัญชา

ต่อมา กลุ่มนายสิบได้ขยายความคิดไปยังกองพันทหารราบที่ ๓ โดยชักชวนจ่านายสิบ สาคร ภูมิทัต และสิบเอก สวัสดิ์ มะหะหมัด เข้าร่วม และได้ชักจูงนายสิบในกรมกองอื่น เช่น สิบโท สาสน์ คชกุล แห่งแผนกทะเบียนพล กระทรวงกลาโหม  สิบโท เลียบ คหินทพงษ์ แห่งกองพันทหารราบที่ ๕  และนายนุ่ม ณ พัทลุง อดีตหัวหน้าสถานีรถไฟกุดจิกซึ่งถูกปลดหลังกรณีกบฏวรเดชให้เข้าร่วมด้วย  นอกจากนี้ คณะนายสิบเหล่านี้ยังได้พยายามชักชวนนายสิบจากกรมทหารม้า ที่คุมรถรบเข้าร่วมเพื่อหวังจะใช้รถรบเป็นเครื่องมือในการยึดอำนาจรัฐบาล

กลุ่มนายสิบวางแผนว่า จะลงมือดำเนินการในคืนวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๘ โดยจะใช้กำลังของฝ่ายนายสิบเปลี่ยนเวรประจำการในคืนนั้นเข้ายึดอำนาจในกองพันทหารราบที่ ๒ กองพันทหารราบที่ ๓ และกรมทหารม้า โดยจับกุมตัวนายทหารบังคับบัญชาและนายทหารทั้งหมดที่บ้านพักในเวลา ๐๓.๐๐ น.  เป้าหมายบุคคลที่คณะนายสิบจะจับกุมเป็นตัวประกัน คือ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีและหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนบุคคลที่จะจับตาย ได้แก่ นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส (บัตร พึ่งพระคุณ) รองอธิบดีกรมตำรวจ  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ เหตุผลที่จะต้องจับตายเจ้านายทั้ง ๒ พระองค์นี้ เพราะคณะนายสิบเห็นว่า เป็นเจ้านายที่ทรงหันไปร่วมมือกับคณะราษฎร  ส่วนผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบที่ ๒ คือ นายพันตรี หลวงประหารริปูราบ และผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบที่ ๓ คือ นายพันตรี หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลชีวิน) ถ้าหากขัดขวางก็จะจับตายเช่นกัน

ปรากฏว่าข่าวได้รั่วไปถึงนายทหารฝ่ายรัฐบาล เพราะนายสิบฝ่ายรถรบ ๒ คน ได้แก่ สิบตรี เอื้อม ภาระการมย์ และสิบตรี หรั่ง นนทสุตร ซึ่งในระยะแรกเข้าร่วมกับฝ่ายนายสิบ แต่ต่อมาเกิดเปลี่ยนใจแล้วนำเอาเรื่องไปแจ้งกับ นายพันตรี ทวน วิชัยขัทคะ ผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ ๑ ซึ่งเป็นฝ่ายคณะราษฎร ในวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๘  นายทหารฝ่ายรัฐบาลจึงเข้าจับกุมนายสิบผู้ต้องหาก่อการกบฏคนสำคัญได้ทั้งหมด จากนั้นก็ได้มีการจับกุมเพิ่มเติมอีกหลายคน เช่น จ่านายสิบ สวัสดิ์ ภักดี  และสิบเอก สวัสดิ์ ดิษยบุตร จากกองพันทหารราบที่ ๑ สิบโท ชื้น ชะเอมพันธุ์ และสิบโท ปลอด พุ่มวัน จากกองพันทหารราบที่ ๓ และจ่านายสิบ แฉ่ง ฉลาดรบ  จ่านายสิบ ริ้ว รัตนกุล  สิบเอก เกิด สีเขียว  สิบโท เหมือน พงษ์เผือก  พลทหาร จินดา พันธุ์เอี่ยว และพลทหาร ฮก เซ่ง จากกองพันทหารราบที่ ๒  ผู้ถูกจับกุมทั้งหมดถูกขังเดี่ยว ห้ามเยี่ยม ที่กระทรวงกลาโหม

รัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาคดี โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศาลพิเศษ พ.ศ.๒๔๗๖ ที่ใช้กับกบฏวรเดช มาใช้อีกครั้งหนึ่ง การดำเนินการสอบสวนสั่งฟ้องเป็นไปโดยรวดเร็วมาก คือได้ส่งฟ้องทั้งหมด ๑๔ คน เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๘ คือ จ่านายสิบ สาคร ภูมิทัต  สิบเอก ถม เกตุอำไพ  สิบเอก แช่ม บัวปลื้ม  สิบเอก เท้ง แซ่ซิ้ม  สิบเอก สวัสดิ์ มะหะหมัด  สิบเอก กวย สินธุวงศ์  สิบเอก เข็ม เฉลยทิศ  สิบเอก ตะเข็บ สายสุวรรณ  สิบเอก แช่ม บัวปลื้ม  สิบโท ม.ล.ทวีวงศ์ วัชรีวงศ์  สิบโท แผ้ว แสงส่งสูง  สิบโท สาสน์ คชกุล  สิบโท เลียบ คหินทพงษ์  และนายนุ่ม ณ พัทลุง ที่เหลือนอกนั้นถูกกันไว้เป็นพยาน  จำเลยทุกคนรับสารภาพ นอกจากสิบเอก สวัสดิ์ มะหะหมัด คนเดียวที่ไม่สารภาพและขอสู้คดี ปรากฏว่าศาลพิเศษพิจารณาคดีเสร็จภายใน ๑ สัปดาห์ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๘  ศาลอ่านคำพิพากษาให้ประหารชีวิต ๑ คน คือ สิบเอก สวัสดิ์ มะหะหมัด นอกจากนั้น ให้จำคุกตลอดชีวิต ๘ คน  จำคุก ๒๐ ปี ๓ คน และจำคุก ๑๖ ปี ๑ คน

ศาลพิเศษเป็นศาลพิจารณาเพียงศาลเดียว ไม่มีการอุทธรณ์  สิบเอก สวัสดิ์ มะหะหมัด ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ไม่เป็นผล จึงถูกถอดยศนายสิบแล้วนำตัวไปประหารด้วยการยิงเป้าที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๘ นับเป็นนักโทษการเมืองคนแรกที่ถูกประหารชีวิตหลังการปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕ ส่วนผู้ที่ได้รับโทษคนอื่นๆ ต่อมาได้รับการปล่อยตัว เมื่อรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ได้ออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปลดปล่อยนักโทษการเมืองทุกรุ่น ซึ่งต้องพิจารณาโดยศาลพิเศษตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ ให้เป็นอิสระ พ้นจากความผิด.



ที่มา - กบฏนายสิบ (พ.ศ.๒๔๗๘) สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์เผยแพร่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.302 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 15:04:00