[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 19:54:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กบฏพระยารามเดโช (พ.ศ.๒๒๓๕-๒๒๓๗) ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา  (อ่าน 272 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 เมษายน 2566 16:59:43 »



พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม (PITERA TJAY Rex Siam)
ฝีมือชาวตะวันตกโดย Gaspar Bouttats ช่างพิมพ์และช่างแกะสลักชาวเฟลมิชยุคบาโรก เมื่อ ค.ศ.๑๖๙๐

wikipedia.org (ที่มาภาพประกอบ)

กบฏพระยารามเดโช (พ.ศ.๒๒๓๕-๒๒๓๗)

กบฏพระยารามเดโช เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชกระด้างกระเดื่องไม่ยอมมาเฝ้าและถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สมเด็จพระเพทราชาจึงทรงส่งกองทัพบกและกองทัพเรือไปปราบ แต่พระยารามเดโชหนีไปได้

พระยารามเดโชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อสมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชสมบัติใหม่ๆ มีพระบรมราชโองการให้ขุนนางในหัวเมืองทั้งหลายมาเฝ้าและถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แต่พระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและพระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมา ไม่ยอมมาเฝ้า เพราะถือว่าสมเด็จพระเพทราชาโค่นล้มราชวงศ์เก่า สมเด็จพระเพทราชาจึงโปรดให้ปราบพระยายมราชก่อน หลังจากที่กองทัพกรุงศรีอยุธยาปราบกบฏพระยายมราชที่เมืองนครราชสีมา (พ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕) ลงได้ระยะหนึ่งแล้ว สมเด็จพระเพทราชาจึงโปรดให้จัดกองทัพไปปราบพระยารามเดโชที่เมืองนครศรีธรรมราช เพราะกรมการเมืองไชยารายงานเข้ามากราบบังคมทูลว่า พระยารามเดโชได้ซ่องสุมผู้คนและอาวุธเป็นจำนวนมาก คาดว่าเพื่อตีหัวเมืองปักษ์ใต้ และถ้าเป็นผลสำเร็จก็คงยกมาโจมตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป  นอกจากนี้ พระยายมราช (สังข์) ที่เป็นกบฏยังหลบหนีไปรวบรวมผู้คนที่ชายแดนเมืองนครศรีธรรมราชและไชยา สมเด็จพระเพทราชาทรงเห็นว่า ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายใหญ่ขึ้นมาได้ ควรปราบให้หมดสิ้น

กองทัพที่สมเด็จพระเพทราชาโปรดให้ยกไปปราบพระยารามเดโชและพระยายมราช (สังข์) มีทั้งทัพบกและทัพเรือ ทัพบกมีพระยาสุรสงครามเป็นแม่ทัพหลวงคุมพล ๑๐,๐๐๐ คน ส่วนทัพเรือมีพระยาราชบังสันเป็นนายกองคุมเรือรบ ๑๐๐ ลำ ทหาร ๕,๐๐๐ คน กองทัพทั้ง ๒ ส่วน นัดพบกันที่เมืองไชยา  พระยาสุรสงครามได้ให้กองทัพเรือยกทัพล่วงหน้าไปยังเมืองนครศรีธรรมราชก่อน ส่วนทัพบกได้เกณฑ์กำลังจากเมืองใกล้เคียงเพิ่มเติมอีก แล้วยกไปโจมตีกำลังของพระยายมราช (สังข์) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม  พระยายมราช (สังข์) เสียชีวิตในการสู้รบ จากนั้น จึงยกไปสมทบกับทัพเรือที่เมืองนครศรีธรรมราช

พระยารามเดโชได้เตรียมการป้องกันเมืองนครศรีธรรมราชอย่างเข้มแข็ง โดยระดมกำลังทั้งทัพบกและทัพเรือ ตกแต่งป้อมค่าย ปักขวากหนาม อพยพผู้คนเข้าไว้ในเมือง และเตรียมเสบียงอาหารให้พร้อม

ทัพเรือของพระยาราชบังสันยกไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชก่อน และได้สู้รบกับทัพเรือของเมืองนครศรีธรรมราชที่ส่งไปสกัด แต่ยังไม่สามารถเอาชนะได้ เมื่อทัพบกยกไปถึงได้สู้รบกับทัพเมืองนครศรีธรรมราชที่ยกมาสกัดเช่นกัน มีการสู้รบอย่างหนักถึงระยะประชิด ทัพเมืองนครศรีธรรมราชสู้ไม่ได้จึงแตกพ่ายหนีเข้าเมือง เมื่อทัพบกทราบว่าทัพเรือยังสู้รบกับทัพเรือของเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ จึงยกไปช่วยกระหนาบ ทัพเรือนครศรีธรรมราชสู้ไม่ได้จึงแตกพ่ายไป ทัพกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๒ ทัพจึงเข้าล้อมเมืองนครศรีธรรมราชไว้ พระยารามเดโชได้จัดทหารป้องกันเมืองไว้เต็มกำลัง บางครั้งยังแต่งทัพออกมาสู้รบกับทัพกรุงศรีอยุธยาด้วย ทั้ง ๒ ฝ่ายสู้รบขับเคี่ยวกันเช่นนี้เป็นเวลาถึง ๓ ปี ไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ดี ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เปรียบที่มีเสบียงอาหารส่งมาเพิ่มเติมอยู่เสมอๆ ส่วนในเมืองนครศรีธรรมราชขาดแคลนเสบียงอาหารลงเรื่อยๆ จนทหารและชาวเมืองต่างได้รับความอดอยากเป็นอันมาก แต่กระนั้นขุนนางและกรมการเมืองทั้งหลายยังจงรักภักดีต่อพระยารามเดโชอยู่ พระยารามเดโชเห็นว่า ถ้าสถานการณ์ยังเป็นไปในลักษณะนี้ก็คงรักษาเมืองไม่ได้ จึงเขียนจดหมายลับไปถึงพระราชบังสัน ในฐานะที่เป็นขุนนางเก่าของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และมีเชื้อชาติแขกด้วยกัน ขอให้เปิดทางและเตรียมเรือไว้ให้เพื่อหลบหนี พระยาราชบังสันเห็นแก่เพื่อนจึงรับปาก เมื่อถึงเวลานัดหมาย พระยารามเดโชจึงตีฝ่าทัพกรุงศรีอยุธยาด้านพระยาราชบังสันออกมาและลงเรือหลบหนีไปได้

ข่าวการตีฝ่าหลบหนีของพระยารามเดโชทราบถึงพระยาสุรสงครามแม่ทัพหลวง จึงให้สอบสวนได้ความจริงว่า พระยาราชบังสันรู้เห็นเป็นใจด้วย จึงให้จำพระยาราชบังสันไว้ แล้วกราบทูลให้สมเด็จพระเพทราชาทรงทราบ มีรับสั่งให้ประหารชีวิตพระยาราชบังสันกับพวก และให้จัดขุนนางที่มีความสามารถปกครองเมืองนครศรีธรรมราชให้เรียบร้อย ครั้นพระยาสุรสงครามจัดการทุกอย่างเสร็จสิ้น จึงถอนทัพกลับกรุงศรีอยุธยาพร้อมด้วยผู้คน ทรัพย์สมบัติ ศัสตราวุธ และช้างม้า.



ที่มา - กบฏพระยารามเดโช (พ.ศ.๒๒๓๕-๒๒๓๗)สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์เผยแพร่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.353 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 เมษายน 2567 02:49:49