[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:30:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)  (อ่าน 197 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 เมษายน 2566 16:10:59 »




จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ อ.อุบลราชธานี

         ก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ได้ทำจิตทำใจให้สงบ การทำจิตทำใจให้สงบนั้นท่านกล่าวว่าเป็นวิตามินบำรุงจิตบำรุงใจ การบำรุงกายอาจจะเป็นการทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ เพื่อที่จะให้ร่างกายแข็งแรงแต่วิตามินบำรุงจิตบำรุงใจของเรานั้นท่านกล่าวว่าความสงบ ความสงบเป็นวิตามินบำรุงใจอย่างดีเยี่ยม

          ถ้าผู้ใดมีจิตใจสงบปัญญาจะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ผู้ใดมีจิตใจสงบบุคคลนั้นจะมีความเยือกเย็น ผู้ใดมีความสงบผู้นั้นจะมีความสุขุมคัมภีรภาพ ผู้ใดมีความสงบ ผู้นั้นจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ผู้ใดมีความสงบผู้นั้นก็จะมีเมตตาอารี ผู้ใดมีความสงบผู้นั้นก็จะมีความเสียสละ จาคะ สิ่งที่เป็นวัตถุต่างๆ หว่านไทยธรรมลงในพระพุทธศาสนาเกื้อกูลแก่ญาติโยมสาธุชนทั้งหลายทั้งปวงได้ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นมาจากความสงบ

          ถ้าผู้ใดมีความสงบมากขึ้นไปกว่านั้นอีกเกิดปัญญาขึ้นมา เรียกว่าสมถปัญญาก็ดีหรือว่าวิปัสสนาปัญญาก็ดี เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดวิปัสสนาญาณ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดมรรคเกิดผล เกิดพระนิพพาน ถึงที่สุดของพระศาสนาก็อาศัยเกิดขึ้นมาจากความสงบ ที่สุดของพระศาสนานั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาจากความวุ่นวาย ที่สุดของศาสนานั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาจากความโกรธ ความโลภ ความหลง มานะ ตัณหา อวิชชาต่างๆ

          แท้ที่จริงแล้วที่สุดของพระพุทธศาสนานั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า เกิดขึ้นมาจากความสงบ กายสงบ วาจาสงบ แล้วก็อุปธิวิเวก ความสงัดจากกิเลส ความสงบจากกิเลสก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เข้าถึงจุดสูงสุดของพระศาสนาก็คือ พระนิพพาน

          เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ที่รวมกัน เรามารวมกันเป็นคณะสงฆ์หมู่ใหญ่หกร้อยกว่า ก็มาจากหลายบ้านหลายตำบลหลายอำเภอ หลายจังหวัด หลายภาค บางครั้งก็มาจากต่างประเทศ นอกจากจะหลายจังหวัด หลายอำเภอ หลายภาค หลายประเทศ ยังหลายพ่อหลายแม่ นอกจากจะหลายพ่อหลายแม่แล้วก็ยังหลายครูบาอาจารย์ หลายความรู้หลากหลายวัฒนธรรมต่างๆ นอกจากจะหลายพ่อหลายแม่หลายครูบาอาจารย์ หลายวัฒนธรรมแล้วยังหลายกรรม บุพพกรรมต่างๆ เรียกว่า นานากรรม นานาบุพพกรรม คือบุพพกรรมต่างๆ กัน

          บางรูปก็ได้สั่งสมอบรมบุพพกรรมทางด้านสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานมามาก เป็นผู้มีจิตอ่อนโยน เป็นผู้ว่าง่ายกล่าวง่าย เรียกว่าเป็นสุวโจ เป็นผู้ว่าง่าย แต่บางครั้งบางคราวก็มาจากที่ไม่ได้อบรมพร่ำสอน บารมีต่างๆ ก็อบรมมาน้อยไม่เคยบำเพ็ญสมถะ ไม่เคยบำเพ็ญวิปัสสนามา ไม่เคยสั่งสมอบรมธรรมในภพก่อนชาติก่อนไว้มาก พอมาถึงการอบรมจริงๆ แล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความขัดข้องต่างๆ อันนี้ก็ถือว่าเป็นธรรมดาของคนจำนวนมาก

          แม้ในครั้งพุทธกาลโน้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปกครองคณะสงฆ์หมู่ใหญ่นั้นก็ถือว่าเป็นความลำบากเป็นเรื่องยาก ที่จะยังสงฆ์หมู่ใหญ่ทั้งปวงนั้นให้สงบ หรือว่าจะยังสงฆ์ทั่วทั้งมณฑลนั้นให้เกิดความสงบ เกิดความเยือกเย็น เกิดความผาสุกอยู่ด้วยกันโดยความเป็นธรรมนั้นหาได้ยาก ต้องอาศัยพระสติ พระปัญญาของพระองค์อย่างยิ่งยวด เพราะอะไร เพราะว่าสงฆ์ทั่วทั้งมณฑลนั้นมีความต่างๆ กันอย่างที่กระผมได้เรียนถวาย สรุปแล้วก็นานาบุพพกรรม ได้สร้างสมอบรมกรรมดีกรรมชั่วมาต่างกันมากมาย อุปนิสัยก็หยาบบ้าง ปานกลางบ้าง ประณีตบ้างอันนี้ก็ถือว่าเป็นธรรมดา เป็นธรรมอีกแบบหนึ่งที่ให้พวกเราทั้งหลายได้พิจารณา

          แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงยังสงฆ์ทั่วทั้งมณฑลนั้นให้เกิดความสงบ พระองค์ต้องใช้พระสติปัญญาเป็นอย่างมาก พระสติปัญญาที่พระองค์ทรงใช้ให้สงฆ์ทั่วทั้งมณฑลเกิดความสงบนั้นคืออะไร คณะครูบาอาจารย์ได้ลองพิจารณาดูว่าปัญญาที่พระองค์ทรงยังสงฆ์ทั่วทั้งมณฑลให้เกิดความสงบนั้นคืออะไร

          ปัญญาที่พระองค์ทรงยังสงฆ์ทั่วทั้งมณฑลให้เกิดความสงบนั้นประการเบื้องต้นก็คือพระวินัย คือระเบียบข้อห้ามต่างๆ ที่ให้พระภิกษุทั้งหลายที่เข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วต้องมีข้อวัตรปฏิบัติ ๒๒๗ ข้อนี้มาในพระปาฏิโมกข์ ปาฏิโมกข์คือสิ่งที่พระองค์ทรงบอกกล่าวตรัสห้าม นอกจากนั้นก็อนุโลมตามสิ่งที่ควรและสิ่งที่ไม่ควร ปรับอาบัติกันตามนั้น

          เพราะฉะนั้นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงพระองค์จึงทรงห้ามไว้เมื่อพระองค์ทรงห้ามแล้วก็เป็นอาณาเขตของพระภิกษุสงฆ์ที่จะก้าวล่วงไปได้ เหมือนกับเขตปริวาสที่คณะสงฆ์ได้กล่าวไว้ว่าเขตของปริวาสถึงไหนอาณาเขตของพระปริวาสก็ถึงนั่น พระปริวาสรูปใดที่ก้าวล่วงเขตไปพระปริวาสรูปนั้นก็ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตนไป

          อาณาเขตแห่งพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้จึงเป็นแนว เป็นเขต เป็นกำแพงเป็นรั้วของพระภิกษุทั้งหลายที่จะต้องอยู่ในกรอบในรั้ว อยู่ในแนวที่พระองค์ทรงตรัสไว้ เหมือนน้ำทะเลย่อมไม่ล้นฝั่งออกมา น้ำทะเลถึงจะมีมากขนาดไหนก็ตามก็จะไม่ล้นฝั่งขึ้นไป ข้อนี้ฉันใด พระภิกษุทั้งหลายที่บวชเข้ามาในพระธรรมวินัย ถึงจะมีมากขนาดไหนก็ตามก็ต้องอยู่ในระเบียบวินัย ๒๒๗ ข้อที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นสิ่งที่ทำให้สงฆ์นั้นอยู่เย็นเป็นสุข

          เพราะฉะนั้นพวกเราทั้งหลายที่ได้มาอยู่รวมกัน ถ้าพวกเราทั้งหลายต่างคนต่างเคารพในพระวินัย มีความเคารพกัน ความบริบูรณ์ ความสมบูรณ์ของพระธรรมวินัยนั้นเป็นที่น่าศรัทธา เป็นที่น่าเกิดความเลื่อมใสอย่างยิ่ง เพราะพระวินัยนั้นมีอาจริยวัตร มีอาคันตุกวัตร มีวัตรของปริวาส มีวัตรของภิกษุผู้เป็นปกติภิกษุ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีความสมบูรณ์ด้วยพระปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าพวกเราประพฤติตามระเบียบวินัยแล้วก็อยู่ด้วยกันด้วยความผาสุข

          นอกจากเรามีพระวินัยให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เกิดความบกพร่อง ในความเป็นอยู่ในความประพฤติวัตร พระวินัยนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องประพฤติเอง ไม่ใช่ว่าลูกวัดไปประพฤติแทนเจ้าอาวาส ไม่ใช่เจ้าอาวาสประพฤติแทนลูกวัดนั้นไม่ใช่ การประพฤติวัตรนั้นเป็นของเฉพาะตน ผู้ใดอยากบริสุทธิ์ ผู้ใดอยากทรมานทิฏฐิ ทรมานความโกรธ ความโลภ ความหลงของตนเอง อยากจะภาวนา อยากประพฤติปฏิบัติธรรมก็มาประพฤติวัตรเอง มาฝึกฝนอบรมกายวาจาใจของตนเอง หรือว่า สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน บุคคลอื่นจะมาทำให้บุคคลอื่นบริสุทธิ์นั้นไม่ได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ

          โดยเฉพาะผู้ที่จะมาสืบทอดการเข้าปริวาสกรรม การที่จะสืบทอดเข้าปริวาสกรรมให้โดยความบริบูรณ์แล้วบุคคลนั้นต้องเป็นผู้ตัดความสงสัยเสียก่อน คือบุคคลผู้จะเป็นเจ้าหมู่ก็ดี เป็นเจ้าคณะก็ดี เกี่ยวกับการประพฤติวัตรปฏิบัติเข้าปริวาสกรรมบุคคลนั้นควรเป็นผู้สมบูรณ์ คือตัดความสงสัยในเรื่องอะไรต่างๆ เสียก่อน

          แต่ถ้าผู้ใดมากด้วยวิตก มากด้วยวิจาร มากด้วยความวิกลจริตต่างๆ โอกาสที่จะปกครอง เผยแผ่ในเรื่องปริวาสกรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่ไม่หนักก็ทำให้หนัก สิ่งที่เบาอยู่แล้วก็ทำให้ยาก สิ่งที่ง่ายก็ทำให้ยากมากขึ้น เพราะอะไร เพราะตัดความสงสัยยังไม่ขาด ตัดความสงสัยยังไม่สิ้นยังมีวิจิกิจฉาอยู่ในใจ

          เพราะฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมเข้าปริวาสกรรมนั้นเราต้องยังความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นในขันธสันดาน ถ้าความบริสุทธิ์เกิดขึ้นในขันธสันดานบุคคลใดแล้ว บุคคลนั้นจะตัดความสงสัยได้เด็ดขาด แต่ถ้าบุคคลใดไม่ยังความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นแล้วจะตัดความสงสัยไม่ได้ จะเกิดความลังเลจะเกิดความสงสัย มันจะเป็นไหม มันจะบริสุทธิ์ดีไหม บริสุทธิ์แล้วมันเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้ว่า ใครเป็นผู้กล่าว พระองค์ทรงตรัสไว้ในที่ไหนอะไรทำนองนี้หาเหตุหาผลกันวุ่นวาย แต่ที่แท้จริงเราหาภายในเราหาที่ใจของเรา

          ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เราดูที่ไหน ดูที่ใจของเรา ไม่ใช่ดูที่ตาดูที่หูที่จมูกที่รูปที่เสียงที่กลิ่นที่รสที่สัมผัสที่อารมณ์ต่างๆ แต่ดูที่ใจของเรา นี้ความบริสุทธิ์นั้นที่แท้จริงดูที่ใจของเรา ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ใจเป็นนาย กายเป็นแหล่ง ใจเป็นผู้แต่ง กายเป็นผู้กระทำ กายเป็นผู้เดินจงกรม จิตเป็นผู้สงบแน่นิ่งเข้าสมาธิ กายเป็นผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ใจเป็นผู้เกิดวิปัสสนาญาณ กายเป็นที่เจริญกรรมฐานใจเป็นที่บรรลุมรรคผลนิพพาน อันนี้เราพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ที่แท้จริงเกิดขึ้นที่ใจ ไม่ได้เกิดขึ้นที่รูปที่เสียงที่กลิ่นที่รส

          เพราะฉะนั้นเราจะตัดความสงสัย เราก็ต้องตัดลงที่ใจของเรา ไม่ใช่ตัดที่รูปตัดที่เสียง ตัดที่กลิ่นที่รสที่สัมผัสอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้นเวลาประพฤติปฏิบัติธรรม บุคคลผู้จะสืบทอดในการปริวาสกรรมนั้นต้องตัดความสงสัยของตนเองให้ขาด เพราะว่าปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมาทุกวันๆ เราคิดว่าเรารอบคอบเรียบร้อยดีแล้วมันก็เกิดขึ้นมาอย่างนั้นแหละมันเป็นธรรมชาติ ตราบใดที่ร่างกายของเราเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ร่างกายของเรายังตั้งอยู่ ร่างกายของเรายังไม่แตกดับยังไม่ตายไปมันก็ต้องมีภาระมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ปวดหัวก็ตัวร้อน ไม่ตัวร้อนก็ปวดท้อง ไม่ปวดท้องก็เกิดเป็นโรคกลากโรคเกลื้อนเป็นแผลต่างๆ หรือไม่ก็เกิดโรคหิวต้องถ่ายหนักถ่ายเบาอะไรทำนองนี้มันจะมีปัญหาอยู่เรื่อย ถ้าร่างกายของเรายังครองขันธ์อยู่ ยังตั้งอยู่ก็ตามตราบใด ถ้าเรายังดำเนินวัตรของเราไปอยู่ตราบใดปัญหามันก็จะเกิดขึ้นตามลำดับไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

          ก็ขอให้พวกเราทั้งหลายนั้นพยายามเข้าใจปัญหาด้วยปัญญา พยายามแก้ไขปัญหาด้วยปัญญาจริงๆ อย่างเช่นพวกเราทั้งหลายมารับสมาทานวัตรก็ดี บอกวัตรก็ดี บางรูปบางท่านคิดว่าบริสุทธิ์หรือเปล่าหนอ เวลาต้องอาบัติจริงๆ แล้วเรามาปริวาสกรรมจะบริสุทธิ์หรือไม่หรือเปล่าหรืออย่างไรหนอ หรือเราประพฤติตามหนังสือตามแบบกล่าวเฉยๆ

          อย่าลืมว่าเราประพฤติตามหนังสือนั้นเราประพฤติตามโอวาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสเยี่ยงไรก็เป็นอย่างนั้น พระองค์ทรงเป็นสยัมภูเป็นผู้รู้แจ้งในโลกทั้งหลายทั้งปวง เพราะฉะนั้นพระองค์ทรงตรัสเช่นใดย่อมเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงเป็นประเภทยถาวาที ตถาการี พระองค์ทรงกล่าวอย่างไร พระองค์ก็ทรงประพฤติอย่างนั้น

          องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เหมือนบุคคลทั่วไป พระองค์ทรงเป็นยถาวาที ตถาการี พระองค์ทรงกล่าวสั่งสอนพุทธสาวก ภิกษุทั้งหลายอย่างไร พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้มีการตรัสการกระทำนั้นตรงกัน ไม่ตรัสอย่างหนึ่งแล้วก็ไพล่ไปทำอีกอย่างหนึ่งนั้นไม่ใช่ การที่พระองค์ทรงตรัสก็เป็นพุทธพจน์

          ท่านกล่าวว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พระวาจาของพระองค์นั้นตรัสอย่างไรแล้วต้องเป็นอย่างนั้น ตรัสว่าพระเทวทัตจะถูกแผ่นดินสูบในเมื่อทำสังฆเภทก็ถูกแผ่นดินสูบ พระเทวทัตจะไม่เห็นเราตถาคตตั้งแต่นี้ไปอีก เขาหามพระเทวทัตมาใกล้แล้วแต่ก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ก็ต้องถูกแผ่นดินสูบ เพราะว่าบุคคลผู้ถูกแผ่นดินสูบนั้นต้องเลยจักษุ เรียกว่าเลยคลองจักษุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเสียก่อน จะไม่อยู่ในครองจักษุของพระพุทธเจ้า พระเทวทัตก็เหมือนกันไม่เห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถูกแผ่นดินสูบเสียก่อน

          หรือว่าพระองค์ทรงตรัสว่าพระเจ้าสุปปพุทธะที่ขวางทางบิณฑบาตจะต้องถูกแผ่นดินสูบในวันที่ ๗ ตอนเช้า ในตอนที่ขวางทางบิณฑบาตนี้แหละ ทำบาปในเวลาใดบาปก็จะให้ผลในเวลานั้น พระเจ้าสุปปพุทธะขวางทางบิณฑบาตในเวลาเช้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงตรัสว่า “นับแต่นี้ไปอีก ๗ วันแผ่นดินจะสูบพระเจ้าสุปปพุทธะ ในเวลาที่ขวางทางบิณฑบาตเราตถาคต”

          พระเจ้าสุปปพุทธะได้ยินสั่งทหารไปสอดแนมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งตรัสกับพระอานนท์ก็พยายามป้องกันเด็ดขาดขึ้นไปอยู่ปราสาท ๗ ชั้น สั่งคนให้ล็อคประตูไว้ สั่งบุคคลผู้แข็งแรงกำยำเหมือนกับมวยปล้ำยืนอยู่ข้างหน้าประตูไว้ แล้วสั่งว่า ถ้าข้าพเจ้ามีความประสงค์จะลงมา ขอให้ท่านจงจับข้าพเจ้าโยนเข้าไปในห้อง อย่าให้ข้าพเจ้าลงไปในปราสาทได้ คำตรัสของพุทธเจ้าก็จะเป็นเท็จ จะไม่เป็นจริง

          แต่เมื่อผลของบุพพกรรมมันให้ผลจริงๆ แล้วแทนที่พระเจ้าสุปปพุทธะจะอยู่ในห้องโดยความสงบเมื่อวิบากกรรมมันให้ผลแล้ว ไม่มีใครสามารถที่จะต้านทานวิบากแห่งกรรมได้ ก็ต้องเดือดร้อนทุรนทุรายเมื่อได้ยินเสียงม้าที่เป็นที่ชื่นชอบของพระองค์เกิดความคึกคะนองก็เกิดทิฏฐิขึ้นมาว่า ม้าตัวนี้เมื่อคึกคะนองแล้วไม่มีใครสามารถที่จะสงบได้นอกจากเราคนเดียว เกิดทิฏฐิที่จะไปสยบม้าคู่ชีพของพระองค์ก็อยากจะลงมา เมื่ออยากจะลงมาแล้วบุรุษผู้ตกลงทำกฏิกาสัญญากันว่าจะจับโยนเข้าไปในห้อง แทนที่จะจับโยนลงไปในห้องก็กลับโยนลงมาข้างล่างอีก

          บุรุษคนที่อยู่ชั้นที่ ๗ ก็จับโยนลงมาในชั้นที่ ๖ บุรุษชั้นที่ ๖ ก็จับโยนลงมาในชั้นที่ ๕ บุรุษในชั้นที่ ๕ ก็จับโยนลงมาในชั้นที่ ๔ บุรุษชั้นที่ ๔ ก็จับโยนลงมาชั้นที่ ๓ บุรุษชั้นที่ ๓ ก็จับโยนลงมาชั้นที่ ๒ บุรุษคนที่อยู่ชั้นที่ ๒ ก็โยนลงมาในชั้นที่ ๑ บุรุษชั้นที่ ๑ ก็จับโยนออกไปนอกปราสาทถึงธรณีแห่งปราสาท พระเจ้าสุปปพุทธะก้าวขาไปนอกธรณีปราสาทแผ่นดินก็แยกออกจากกัน เปลวเพลิงอเวจีมหานรกก็ปรากฏขึ้นมา สูบเอาพระเจ้าสุปปพุทธะนั้นไปเกิดในอเวจีมหานรก พระองค์ทรงตรัสคำอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น

          เพราะฉะนั้นพระองค์ทรงตรัสว่าการเข้าปริวาสกรรมตามจริยวัตรที่พวกเราทั้งหลายประพฤติอยู่เป็นความบริสุทธิ์ แต่ว่าพวกเราทั้งหลายนั้นต้องประพฤติให้ถูกต้องตามหลักของปริวาสกรรม อย่างเช่นที่ภิกษุผู้ที่ยังไม่บอกปริวาสกรรมเราก็ต้องมาบอก มาบอกแล้ว ๑๕ วันมาบอกครั้งหนึ่งก็ไม่เป็นไร สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการบอกวัตรทุกวัน อนาโรจนาของมานัตต์ต้องบอกทุกวัน ไม่เหมือนอนาโรจนาของปริวาสกรรม อนาโรจนาของปริวาสกรรมนั้นบอกเพียงครั้งเดียว ๗ วัน ๑๕ วันบอกครั้งหนึ่ง วัตรของเราก็ยังบริสุทธิ์อยู่ แต่มานัตต์นั้นต้องบอกทุกวัน

          ไม่ใช่รู้ข้อวัตรแต่ลูกกรรมไม่ใช่ อาจารย์กรรมก็ต้องรู้ข้อวัตรด้วย ว่าคณะครูบาอาจารย์ที่มาประพฤติวัตรเป็นลูกกรรมนั้นจะประพฤติอย่างไรไม่ให้เกิดความลำบากแก่ลูกกรรมมาก ให้ลูกกรรมประพฤติให้สบายๆ แต่วัตรนั้นบริสุทธิ์บริบูรณ์ก็คือ ต่างคนก็ต่างรู้พระธรรมวินัยจะเกิดความสบาย แต่ถ้าอาจารย์กรรมไม่รู้แต่ลูกกรรมรู้ก็จะทำให้เกิดความลำบากเกิดขึ้นมา อาจารย์กรรมรู้ลูกกรรมไม่รู้ก็จะเกิดความลำบากขึ้นมา โดยเฉพาะจะเกิดความสงสัย

          อย่างเช่นเราเก็บวัตรทุกวันๆ ขณะที่ก่อนที่เราเก็บวัตรนั้นเราจำเป็นที่จะบอกวัตรอีกไหม บางรูปบางท่านเกิดความสงสัย อย่างเช่นพวกเราทั้งหลายประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมมาแล้ว บุคคลผู้ที่สว่างแล้วเราเก็บวัตร เมื่อเราเก็บวัตรแล้วภิกษุที่จะไปแรมคืนที่อื่นนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมาบอกวัตรอีก เพราะว่าเราเก็บแล้ว ในขณะนั้นก็ยังมีจุดว่างอีกมีช่องว่างอีก คือในขณะที่มันสว่างแล้วพระที่จะไปสู่แรมคืนที่อื่นไม่ได้มาบอกวัตร แต่ท่านอยู่วัดของเรานี้แหละ เมื่อนั้นเราก็เก็บวัตรก่อน เมื่อเราเก็บวัตรแล้วพระภิกษุรูปนั้นไปเลย ในลักษณะอย่างนี้วัตรของเราจะขาดไหม บางรูปบางท่านเกิดความสงสัยขึ้นมา ในกรณีเช่นนี้วัตรนั้นไม่ขาดเพราะอะไร เพราะว่าเราทำกติกาสัญญากันว่า ตอนเย็นหลังจากทำวัตร หลังจากฟังเทศน์เสร็จเราจึงจะบอก แล้วราตรีที่เราประพฤติดีแล้ว เป็นอันประพฤติดีแล้ว ปริวาสของบุคคลใดภิกษุใดประพฤติดีแล้วเป็นอันประพฤติดีแล้ว มานัตต์อันภิกษุใดประพฤติดีแล้วเป็นอันประพฤติดีแล้วจะไม่เสื่อมสิ้นไป เราประพฤติจนสว่างแล้วมานัตต์นั้นเป็นอันประพฤติดีแล้ว หลังจากที่เราเก็บวัตร ขณะนั้นท่านไม่มาบอก เราไม่มีจิตที่จะปกปิดเราประพฤติตามกฎกติกาของคณะสงฆ์ที่ให้ไว้

          เพราะว่าสังฆาทิเสส กรรมอันมีส่วนเหลือด้วยอำนาจของสงฆ์ที่พิจารณาเห็นสมควรที่จะให้อยู่ปริวาสอย่างไรกำหนดวัตรอย่างไร อันนี้เป็นสังฆาทิเสสกรรมที่เหลือด้วยอำนาจของสงฆ์ พระองค์ทรงมอบให้สงฆ์เห็นสมควร เมื่อสงฆ์สมมติกันว่าจะบอกวัตรตอนเย็นก็ถือว่า ถึงตอนเย็นเราบอกวัตรครั้งเดียว ในขณะที่สว่างแล้วภิกษุทั้งหลายทั้งปวงได้เก็บวัตรแล้ว ภิกษุรูปอื่นที่เป็นปกติภิกษุอยากจะไปทำภารกิจก็ไปได้ ไม่เป็นอาบัติ วัตรไม่ขาด

          บางรูปบางท่านเกิดความสงสัยว่ามันสว่างแล้วนะอาจารย์ สว่างแล้วทำไมไม่บอก ก็มันสว่างแล้วราตรีของเรามันสมบูรณ์แล้วกติกาของเรานั้นบอกตอนเย็นก็ถือว่าไม่ขาด ก็สมบูรณ์ เมื่อคณะครูบาอาจารย์เก็บวัตรแล้วกิจในการที่จะบอกนั้นไม่มีอีก เพราะฉะนั้นก็เป็นความบริสุทธิ์บริบูรณ์ของคณะครูบาอาจารย์ก็นับหนึ่งใหม่ก็คือ สมาทานวัตรตอนเย็น เวลาสมาทานวัตรตอนเย็นพระภิกษุที่เป็นปกติทุกรูปที่อยู่ในวัดนั้นต้องมารับบอกอีก นี้เป็นความบริบูรณ์ของการประพฤติมานัตต์ ต้องมาบอกเมื่อมาบอกแล้วหลังจากที่เราเก็บวัตรแล้ว เช้าแล้ว เมื่อเช้าแล้วเราเก็บวัตร ภิกษุที่มาบอกเมื่อคืนนี้ท่านจะไปไหนก็เป็นเรื่องของท่าน แต่เมื่อเราสมาทานแล้วภิกษุที่อยู่ในวัดที่เป็นปกติภิกษุนั้นต้องมารับบอกทุกรูป อันนี้ก็ถือว่าเป็นความบริบูรณ์

          ถ้าเราไม่ตัดความสงสัยจริงๆ แล้วเราเกิดความสงสัยลังเลอยู่เรื่อย ก็ขอถวายความรู้หลักความคิดให้คณะครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันเอาไปพิจารณา เมื่อมีโอกาสได้เกิดอธิกรณ์ขึ้นมาก็ขออภัยในความไม่สงบที่ทำให้คณะครูบาอาจารย์ได้เสียบรรยากาศในการไหว้พระทำวัตรสวดมนต์ ในการเข้าเฝ้าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่มันก็เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาเพราะว่าการเข้าปริวาสกรรมเป็นสิ่งที่ควรแก่สถานะของสังคมในยุคปัจจุบัน เรียกว่ายุคโลกาภิวัฒน์ ยุควัตถุเรืองอำนาจ เป็นยุคที่วัตถุครอบงำอารมณ์ของสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

          สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นถูกครอบคลุมอารมณ์ หมุนไปตามอารมณ์ คล้อยตามไปตามอารมณ์ แล้วก็หมุนไปตามวัตถุ คล้อยไปตามวัตถุ แล้วก็มีความปรารถนาวัตถุนั้นเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง คนทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นมาเราพิจารณาดูสิ คนทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นทาสของวัตถุ มีใครไม่เป็นทาสของวัตถุ พิจารณาดูซิ ญาติโยมทุกท่านญาติโยมทุกคนที่อยู่ทางโลก มีใครบ้างไม่เป็นทาสของวัตถุ ไม่ตกอยู่อำนาจของวัตถุ ไม่ทะเยอทะยานอยากในวัตถุนั้น มันเป็นสิ่งที่หาได้ยาก

          แม้แต่พระเราก็เหมือนกัน ถ้าประพฤติปฏิบัติธรรมไม่ถึงที่จริงๆ แล้ว การที่จะเสียสละจตุปัจจัยไทยธรรมทำบุญทำทานก็ยังยาก แม้แต่อาหารก็ยังตระหนี่ไม่เจือจานต่อลูกวัด แม้นมกล่องก็ไม่อยากแจกลูกวัด เพราะอะไร เพราะเราไม่สามารถที่จะสลัดความตระหนี่ได้ปล่อยให้วัตถุเหล่านี้มันครอบงำจิตใจของเรา

          ถ้าผู้ใดมีความตระหนี่อยู่วัตถุก็ต้องครอบงำจิตใจของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นการเข้าปริวาสกรรมจึงถือว่าเป็นภาวะที่เหมาะสมกับยุคที่วัตถุนั้นเรืองอำนาจที่สามารถจะครอบคลุมจิตใจของคนทั้งหลายทั้งปวงให้เป็นสัตว์ร้ายด้วยอำนาจของวัตถุนิยม

          วัตถุนิยมนั้นมีอำนาจทำให้จิตใจของคนทั้งหลายนั้นเป็นเปรต เป็นอสุรกายขึ้นมาได้ด้วยอำนาจของวัตถุนิยม ชื่นชอบในวัตถุนิยมจนลืมความเป็นมนุษย์ จนลืมความเป็นพระสงฆ์ สามเณร ปะขาว แม่ชี เพราะอะไร ก็เพราะวัตถุนิยม คนทั้งหลายทำบาปทำกรรมอดตาหลับขับตานอน ลำบาก หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน อาบเหงื่อต่างน้ำ สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาเพราะอะไร เพราะวัตถุนิยม อยากได้ในสิ่งที่คนอื่นเขาได้ อยากมีในสิ่งที่คนอื่นเขามี อยากสะดวกสบายตามที่โลกเขาสร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้นมา อันนี้เป็นลักษณะของวัตถุนิยม

          เพราะฉะนั้นก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้เข้าใจว่าวัตถุนิยม เทคโนโลยีต่างๆ นี้แหละ บางครั้งเทคโนโลยีก็เป็นความดีในการสนับสนุนพระพุทธศาสนา แต่บางครั้งบางคราวในมุมกลับ เทคโนโลยีก็ดี วัตถุนิยมก็ดี อาจจะกัดกินพระศาสนาของเราให้สิ้นซากไปโดยง่าย อาจจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อโรคอย่างดีที่กัดกินพระพุทธศาสนาได้โดยคนทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่รู้สึกตัว อันนี้ถ้าเราพิจารณาให้ดีๆ ศาสนาของเราบางครั้งเจริญเพราะเทคโนโลยีเพราะวัตถุ บางครั้งศาสนาของเราเสื่อมสิ้นถดถอยไปด้วยอำนาจของวัตถุเทคโนโลยี

          เราพิจารณาดูความสงบจะเกิดขึ้นแก่ใจของนักประพฤติปฏิบัติธรรม ญาติโยมอุบาสกอุบาสิกานั้นเป็นของยากมาก เพราะอะไร เพราะนั่งภาวนาไปไม่นาน ออกจากภาวนาแล้วโทรศัพท์ดังขึ้นมา เรื่องทางบ้านก็ดี เรื่องการค้าการขายก็ดีเข้ามาแล้วจิตใจปรุงแต่งวุ่นวายไปแล้ว มีความสงบแค่ช้างพัดหู งูแลบลิ้น ไก่ตบปีก แค่นั้นเองแล้วจะเกิดความรู้แจ้งในอริยสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างไร

          บางครั้งยังไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงเลยโทรศัพท์มาแล้ว เดินจงกรมก็ต้องรับโทรศัพท์อยู่ บอกว่าอย่ารับโทรศัพท์ในขณะที่เดินจงกรมนั่งภาวนาก็ไม่ฟัง บางครั้งบางคราวนั่งภาวนาอยู่ปิดเสียงไว้ไม่ปิดโทรศัพท์เปิดระบบสั่น เวลามาก็จิตใจกังวลโทรศัพท์มันสั่นก็กังวลก็ออกมารับอีก แล้วเราจะรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งมรรค ซึ่งผล ซึ่งพระนิพพานอย่างไร จิตใจของคนก็จะไม่สงบ

          บางครั้งบางคราวออกจากภาวนาแล้วจิตใจสงบดีๆ แต่เมื่อโทรศัพท์เข้ามาแล้วปรุงแต่งฟุ้งซ่าน เราจะพิจารณาเห็นร่างกายเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เราจะเกิดสติ เกิดปัญญา เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความคลายกำหนัด เกิดความสลัดออกจากรูปจากเสียงจากกลิ่นจากรสจากสัมผัสจากอารมณ์ต่างๆ นั้นได้อย่างไร นี้เป็นสิ่งที่เราน่าคิด พระศาสนาของเราก็จะเศร้าหมองถูกปกคลุมด้วยเทคโนโลยี ถูกปกคลุมด้วยวัตถุนิยม ถูกปกคลุมด้วยอำนาจของสภาวะสิ่งแวดล้อมโลกกำลังพัฒนาไป ถูกครอบคลุมด้วยสิ่งเหล่านี้ ถูกห่อหุ้มด้วยสิ่งเหล่านี้

          พระศาสนาของเราก็เปรียบเสมือนกับต้นไม้ที่ถูกถุงพลาสติก ถูกผ้าห่อหุ้ม ใบไม้นั้นไม่ถูกแสงแดดมันก็จะเหลืองเข้าๆๆ แล้วมันก็จะร่วงหล่นลงไปนานวันเข้ามันก็จะค่อยตายไปๆ ค่อยแขนลีบขาลีบค่อยหูหนวกค่อยตาบอด แต่ใจยังหายใจได้อยู่ คิดดูซิว่าอาการของต้นไม้มันจะทรมานขนาดไหน ตายทีละนิดทีละหน่อยมือลีบขาลีบ แขนขาค่อยเป็นพิกลพิการไป กินได้อยู่หัวใจยังหายใจได้อยู่แต่มันตายไปๆๆ ผลสุดท้ายต้นไม้มันก็ตายทั้งยืน

          พระศาสนาของเราก็เหมือนกันในที่สุดพระศาสนาของเราก็จะเหลือแต่ประเพณี เหลือแต่คำสอนที่เป็นปริยัติ ก็มุ่งถกเถียงกันอันนั้นถูกอันนี้ผิดเพราะปัญญาที่จะรู้แจ้งนั้นไม่มี เพราะอะไร เพราะวัตถุนั้นมันเรืองอำนาจ วัตถุนั้นครอบงำจิตใจทำลายมรรคทำลายผลอันควรจะเกิดขึ้นแก่จิตแก่ใจ ทำลายอุปนิสัยแห่งการตรัสรู้ซึ่งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ นี้ถ้าเรามองในมุมกลับ

          แม้แต่พระพุทธเจ้าในสมัยที่ไม่มีเทคโนโลยี อย่าว่าแต่โทรศัพท์ อย่าว่าแต่ไอแพด ไอโฟน อย่าว่าแต่ทีวีเลย พระองค์มีแค่ปราสาท มีแค่นางสนมกำนัล มีพิณดีดสีตีเป่า ขณะนั้นพระองค์ยังหลีกเร้นหลีกหนีไปไกลเพื่อที่จะทำจิตทำใจของพระองค์ให้เป็นธรรมชาติ เป็นบริสุทธิ์ อันนี้ขอให้คณะครูบาอาจารย์ญาติโยม เวลาประพฤติปฏิบัติธรรมก็ขอให้มีความจริงใจต่อพระธรรม อย่างน้อยๆ ก็ขอให้พวกเรานั้นได้เคารพในพระพุทธเจ้าบ้าง ขอให้พวกเราทั้งหลายได้เคารพในพระธรรมที่พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยแสนมหากัป เหนื่อยยากลำบากทนทุกข์ทรมานเพื่อที่จะยังแสงสว่างให้เกิดขึ้นแก่พวกเราทั้งหลาย พระองค์เป็นผู้เสียสละอย่างยิ่ง ไม่มีใครจะเสียสละเกินกว่าพระองค์ ก็ขอให้พวกเราได้เคารพในความเสียสละของพระองค์ ในธรรมะของพระองค์ อย่าทำการประพฤติปฏิบัติธรรมของพระองค์ให้เศร้าหมอง หรือว่าทำการประพฤติปฏิบัติของพระองค์นั้นให้เป็นโมฆะ

          เพราะฉะนั้นก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์เวลาประพฤติปฏิบัติธรรม ก็ขออย่าให้มีการรับโทรศัพท์ไปด้วย การคุยกันไปด้วย การพูดคุยกันโดยที่ไม่เคารพในการประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นบาปอย่างยิ่ง ลบหลู่พระพุทธเจ้ายังไม่พอ ยังลบหลู่ในพระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้อันประเสริฐแล้วยังไม่พอ ยังลบหลู่หมู่สงฆ์ที่กำลังเดินจงกรมนั่งภาวนากันอยู่ คุยกันเสียงดัง ลบหลู่พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์แล้วยังไม่พอ ยังลบหลู่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ยังลบหลู่ครูบาอาจารย์ที่กำลังแนะนำพร่ำสอนอยู่ ลบหลู่พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ลบหลู่ครูบาอาจารย์แล้วยังไม่พอ ยังลบหลู่ญาติโยมที่มาถวายภัตตาหารอีก เพราะว่าญาติโยมทั้งหลายมาถวายภัตตาหารก็คิดว่าพวกเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแต่ที่ไหนได้ คุยกัน คุยโทรศัพท์ คุยเรื่องโน้นเรื่องนี้ อันนี้ก็ถือว่าเป็นการลบหลู่ศรัทธา เป็นการทำศรัทธาของญาติโยมนั้นให้สูญสิ้นไป ทำอานิสงส์ของญาติของโยมนั้นให้เศร้าหมอง ทำอานิสงส์ของญาติของโยมนั้นให้ลดน้อยถอยลงไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 เมษายน 2566 16:12:26 »


จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ อ.อุบลราชธานี


          แทนที่เรานั่งภาวนาจิตใจมันสงบเป็นสมาธิ ขณิกสมาธิ เป็นอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ ญาติโยมมาถวายเป็นการถวายแก่ภิกษุผู้ออกจากฌานใหม่ๆ ถึงมันจะเข้าฌานแค่ช่วงเรากระพริบตาก็ดี ก็เหมือนกับว่าเราออกจากฌานชั่วกระพริบตา ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว ญาติโยมมาถวายทานก็ชื่อว่าถวายทานแก่ภิกษุผู้ออกจากฌาน แต่ถ้าเราไปคุยกันไปพูดเรื่องนี้เรื่องโน้น เรื่องแผ่นดินบ้าง เรื่องป่าไม้บ้าง เรื่องภูเขา เรื่องน้ำบ้าง มันก็ไปตามประสาของอารมณ์ แล้วเราไปทานข้าวของญาติของโยมในลักษณะอย่างนี้ก็ถือว่าเราทำอานิสงส์ของญาติโยมให้ลดน้อยถอยลงไป บาปกรรมก็ต้องตกที่เราไม่ได้ตกที่ญาติโยม

          เพราะฉะนั้นก็ขอให้ครูบาอาจารย์ทุกรูป โยมทุกท่านที่มาอยู่รวมกัน ถ้าเราอยู่รวมกันเป็นก็เกิดความสงบ แต่ถ้าเราอยู่รวมกันไม่เป็นมันก็เกิดความวุ่นวาย ถึงเราจะมีน้อยหรือมีมาก ถ้าอยู่รวมกันเป็นมันก็สงบ แต่ถ้าเราอยู่รวมกันไม่เป็นมีน้อยมีมากมันก็วุ่นวาย สองรูปเจ้าอาวาสกับรองเจ้าอาวาสยังทะเลาะกัน มีน้อยมีมากไม่สำคัญ แต่ขอให้เรามีระเบียบมีวินัย มีความเคารพในผู้หลักผู้ใหญ่ มีระเบียบเป็นเรือนใจ

          เหมือนกับตะขาบมันมีหลายเท้าหลายขาก็จริง แต่ความเป็นระเบียบในการเดินของมันมี แทนที่จะเกะกะเก้งก้าง กลับสะดวกรวดเร็ว สามารถวิ่งไล่ตามงูได้ งูเห่ามันวิ่งหนีตะขาบ ตะขาบวิ่งตามไล่ไปทันไปกัดสะดือตาย อันนี้ก็แปลกงูตัวยาวเป็นวา ตะขาบแค่คืบเดียวแต่วิ่งทันงูได้เพราะความสามัคคีของขาทั้งหลายทั้งปวง มันเกิดพลังอย่างนั้นถ้าเกิดความสามัคคีแล้ว เกิดพลัง เกิดอานุภาพในลักษณะอย่างนั้น

          เพราะฉะนั้นก็ขอให้พวกเราทั้งหลายได้เกิดความเป็นระเบียบ เกิดความเรียบร้อย เกิดความสวยงาม หมู่สงฆ์ที่อยู่ด้วยกัน ด้วยระเบียบ ด้วยวินัย ด้วยความเคารพอ่อนน้อมนั้นเป็นหมู่สงฆ์ที่สวยงามอย่างมาก เป็นทัศนานุตริยะ สิ่งที่ดูแล้วเป็นสิ่งประเสริฐ บุคคลใดดูพระสงฆ์ที่เป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ภาพที่บุคคลนั้นดูก็จะเป็นภาพแห่งบุญนิมิต ถ้าบุคคลนั้นก่อนที่จะตายระลึกถึงภาพนั้นก็สามารถมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ ด้วยอานุภาพบุญนั้นไปเกิดในสวรรค์ ภาพแห่งพระสงฆ์ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย บุคคลใดระลึกนึกถึงก่อนจะตายนั้นก็จะนำไปสู่สุคติ จะไม่นำไปสู่ทุคติอบายภูมิโดยเด็ดขาด ก็ถือว่าพวกเราทั้งหลายได้ช่วยส่งเสริมบุญแก่คนทั้งหลายด้วยความเป็นระเบียบแล้ว อานิสงส์มากมายสุดที่จะพรรณนา

          ที่กระผมได้กล่าวมาก็มากมาย ก็ไม่ขอพูดต่อไปให้มากมาย ก็ถึงเวลาอันสมควรแล้วก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ตลอดถึงญาติโยมทั้งหลายได้ขยับขยายคลายอิริยาบถ กำหนดออกจากการภาวนาเพื่อเตรียมตัวแผ่เมตตาเป็นลำดับสืบต่อไป.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
จิตเป็นนาย กายเ โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 801 กระทู้ล่าสุด 21 กันยายน 2564 16:05:49
โดย Maintenence
การปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลเร็ว - พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 756 กระทู้ล่าสุด 10 มีนาคม 2565 15:39:02
โดย Maintenence
นรก ๑๐ ขุม โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 807 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2565 16:04:06
โดย Maintenence
พระสัทธรรมกำลังจะเลือนหาย โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) จ.อุบลราชธานี[
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Maintenence 1 330 กระทู้ล่าสุด 07 มกราคม 2566 15:30:37
โดย Maintenence
พื้นฐานของการปฏิบัติธรรม โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
Maintenence 1 274 กระทู้ล่าสุด 13 มีนาคม 2566 16:05:59
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.75 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 02:13:05