[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 15:01:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กบฏเสนาธิการ (พ.ศ.๒๔๙๑)  (อ่าน 252 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 เมษายน 2566 20:42:00 »



กองกำลังทหารและตำรวจอยู่ท่ามกลางฝูงชน

กบฏเสนาธิการ (พ.ศ.๒๔๙๑)
กบฏเสนาธิการ หรือที่เรียกว่า กบฏนายพล เป็นการต่อต้านคณะรัฐประหาร พ.ศ.๒๔๙๐ ที่เกิดขึ้นในกองทัพบก โดยคณะทหารเสนาธิการได้เตรียมยึดอำนาจในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๑ แต่ปรากฏว่าคณะทหารทั้งหมดถูกจับกุมเสียก่อน  กบฏเสนาธิการครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากจอมพล ป.  พิบูลสงครามเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ ๒ เพียง ๖ เดือน

การกบฏครั้งนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการจัดระบบในกองทัพบกหลังการรัฐประหาร วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ เนื่องจากนายทหารฝ่ายคณะรัฐประหารได้เข้าควบคุมตำแหน่งสำคัญส่วนใหญ่ในกองทัพบก เช่น พลโท ผิน ชุณหะวัน ผู้นำคณะรัฐประหาร ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๑ และพลโท กาจ กาจสงคราม ได้เลื่อนขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารบกและแม่ทัพกองทัพที่ ๑  พลตรี สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑  พลตรี สวัสดิ์  ส.สวัสดิเกียรติ รับตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก  พันเอก บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑  พันเอก ก้าน จำนงภูมิเวท เป็นเจ้ากรมสวัสดิการทหาร  พันเอก ศิลป์ รัตนพิบูลชัย เป็นเจ้ากรมการรักษาดินแดน

กลุ่มผู้นำคณะทหารเสนาธิการที่เริ่มคิดยึดอำนาจโค่นคณะรัฐประหาร คือ พลตรี สมบูรณ์ ศรานุชิต (หลวงศรานุชิต) รองเสนาธิการกลาโหม  พลตรี เนตร เขมะโยธิน รองเสนาธิการทหารบก  และ พลตรี หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสูตร) นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก ส่วนคนอื่นๆ มักจะเป็นครูหรือนักเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหาร เช่น พันเอก กิตติ ทัตตานนท์  พันเอก จรูญ สิทธิเดชะ  พันเอก สงบ บุญเกยานนท์  และยังมีนายทหารอื่นๆ เข้าร่วมด้วย เช่น พันเอก หลวงจิตรโยธี (จาด รัตนสถิตย์)  พันเอก  หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ)  พันโท โพยม จุลานนท์  บุคคลเหล่านี้มีความเห็นตรงกันว่า นายทหารที่ดีควรวางตนเป็นทหารอาชีพ ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และไม่ควรอาศัยช่องทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเห็นว่าการทำรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นการกระทำที่ขัดต่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

บุคคลที่น่าสนใจ คือ พลตรี สมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรี เนตร เขมะโยธิน ผู้นำของกบฏเสนาธิการ ทั้ง ๒ คนจบจากโรงเรียนเสนาธิการทหารที่ประเทศฝรั่งเศส  พลตรี เนตร เขมะโยธิน อดีตเสรีไทยในประเทศ ถือได้ว่าเป็น “ดาวรุ่ง” ในวงการทหาร เพราะได้รับยศพลตรีตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๙ เมื่ออายุ ๓๗ ปี นับเป็นนายพลที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และยังได้รับมอบหมายให้เป็นผู้วางแผนปฏิรูปกองทัพบกในระยะก่อนการรัฐประหาร พ.ศ.๒๔๙๐ ส่วน พลตรี สมบูรณ์ ศรานุชิต ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเสนาธิการทหารบกตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๖ ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง ๔๒ ปี และยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเสนาธิการทหารบกตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๙ อีกด้วย

ในกลุ่มขบวนการทหารเสนาธิการนี้ ได้มีทหารบางคนที่เคยช่วยเหลือคณะรัฐประหาร พ.ศ.๒๔๙๐ มาเข้าร่วมด้วย เช่น พันเอก หลวงจิตรโยธี ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกกลาง กองทัพบก และพันโท โพยม จุลานนท์ เคยเป็นโฆษกของกองบัญชาการทหารแห่งประเทศไทยเมื่อครั้งรัฐประหาร ส่วนคนอื่นๆ เช่น พันเอก สมบูรณ์ สุนทรเกตุ  พันโท ประสพ ฐิติวร ก็สนับสนุนการรัฐประหาร  พันโท โพยม จุลานนท์ นั้นเป็นนายทหารที่ศรัทธาในหลักการประชาธิปไตยมาก ถึงขนาดยอมลาออกจากราชการเพื่อไปรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกตั้งมาจากจังหวัดเพชรบุรี แต่ปรากฏว่า นายทหารกลุ่มนี้ผิดหวังที่คณะรัฐประหารชั้นผู้ใหญ่ใช้วิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยบังคับให้รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๑ ซึ่งขณะนั้น พันโท โพยม จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีของพลโท หลวงชาตินักรบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ เมื่อจอมพล ป.  พิบูลสงคราม ตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว แม้ว่า พลโท หลวงชาตินักรบ จะได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต่อไป  พันโท พโยม จุลานนท์ ก็ปฏิเสธไม่รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีอีก

เป้าหมายของฝ่ายคณะเสนาธิการ นอกจากจะโค่นคณะรัฐประหารลงแล้ว ยังมุ่งที่จะตั้งรัฐบาลพลเรือนตามระบอบประชาธิปไตยขึ้น โดยพลตรี เนตร เขมะโยธิน และนายทหารอีก ๒ คนได้ไปพบนายทวี บุณยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตเสรีไทยในประเทศ และกล่าวเป็นทำนองทาบทามให้มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  นายทวี บุณยเกตุ ได้เล่าว่า พลตรี เนตร เขมะโยธิน และนายทหารอีก ๒ คน แสดงความไม่พอใจสภาพความเป็นไปในกองทัพบกขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่พอใจพลโท กาจ กาจสงคราม ผู้ก่อให้เกิดความยุ่งยากภายในกองทัพด้วยการโยกย้ายบุคคลที่มีความสามารถจากตำแหน่งจนเกิดการเสียขวัญในหมู่ทหารทั่วไป

แผนการของฝ่ายคณะเสนาธิการนั้น จะลงมือยึดอำนาจในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ซึ่งจะเป็นวันมงคลสมรสระหว่างพลตรี สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับนางสาววิจิตรา ชลทรัพย์  คนสำคัญในคณะรัฐประหารจะมารวมตัวกันในงาน ตามแผนการนี้จะแบ่งกำลังออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่ลงมือบุกทำเนียบรัฐบาลซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีมงคลสมรส  พันโท พโยม  จุลานนท์ จะเป็นผู้ควบคุมตัวจอมพล ป.  พิบูลสงคราม  พลโท ผิน ชุณหะวัณ  พลโท กาจ กาจสงคราม ที่อยู่ในงานมงคลสมรส และจะคุมตัวพลตรี สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เองด้วย  นอกจากนี้ก็จะจับกุมตัวพลตรี หลวงสถิตยุทธการ (สถิต ประสังสิต) เสนาธิการกองทัพที่ ๑ และพันเอก บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑   และกำลังอีกส่วนหนึ่ง  นำโดย พันเอก กิตติ ทัตตานนท์ จะบุกเข้ายึดกระทรวงกลาโหมเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการในการยึดอำนาจ โดยจะลงมือพร้อมกันเมื่อเวลา ๒๐.๐๐ น.

ปรากฏว่าแผนการรั่วไหลเสียก่อน รัฐบาลจึงได้ส่งกำลังไปจับกุมพันเอก กิตติ ทัตตานนท์ และกำลังส่วนใหญ่ของฝ่ายคณะเสนาธิการได้ที่กระทรวงกลาโหม เมื่อคืนวันที่ ๓๐ กันยายน ก่อนเวลาลงมือปฏิบัติการ และเช้าวันรุ่งขึ้นได้จับกุมตัวพลตรี หลวงรณกรรมโกวิท และพลตรี สมบูรณ์ ศรานุชิต นอกจากนี้ยังได้ส่งกำลังไปจับกุมพันเอก หลวงศรีสิงหสงคราม นายทหารนอกราชการ อดีตเจ้ากรมพาหนะทหารบกได้ที่บ้าน แต่พลตรี เนตร เขมะโยธิน และพันโท พโยม จุลานนท์ หลบหนีรอดไปได้   ต่อมา พลตรี เนตร เขมะโยธิน จึงเข้ามอบตัวกับรัฐบาล

วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๑ กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งปลดประจำการนายทหารถึง ๓๗ คน ซึ่งนอกจากการปลดนายทหารฝ่ายเสนาธิการแล้ว ยังถือโอกาสปลดนายทหารที่คณะรัฐประหารไม่ไว้วางใจ เช่น พันโท รวย อภัยวงศ์  อดีตนายทหารติดตามสมัยรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์  พลโท เรือง เรืองวีรยุทธ  จเรทหารบก  พลตรี วีรวัฒน์ วีรวัฒน์โยธิน รองเสนาธิการทหารบก  พลตรี สุรจิตร จารุเศรณี รองจเรทหารบก  คดีนี้ได้ถูกนำขึ้นฟ้องศาล ๒๐ ราย และศาลลงโทษจำคุก ๓ ปี ๘ ราย คือ พลตรี เนตร เขมะโยธิน  พันเอก กิตติ ทัตตานนท์  พันเอก หลวงจิตรโยธี  พันเอก หลวงศรีสิงหสงคราม  พันตรี ชิน หงส์รัตน์  ร้อยเอก หิรัญ สมัครเสวี  ร้อยเอก สุรพันธ์ อิงคุลานนท์  ร้อยโท บุญช่วย ศรีทองเกิด ส่วนที่เหลือได้ปล่อยตัวไป.
 



ที่มา - กบฏเสนาธิการ (พ.ศ.๒๔๙๑) สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์เผยแพร่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.344 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 19:41:03