[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 20:14:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้าหยางตี้ กับตำนานเสวยสุขลากนางในเข้าศาลาเมื่อมีอารมณ์ ยุคเสื่อมราชวงศ์สุย  (อ่าน 194 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2327


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2566 12:46:01 »



ภาพเขียนพระเจ้าหยางตี้ โดย Yen Li-pen (600-673) ประกอบกับฉากหลังตกแต่งเพิ่มเติม

“พระเจ้าหยางตี้” กับตำนานเสวยสุขลากนางในเข้าศาลาเมื่อมีอารมณ์ ยุคเสื่อมราชวงศ์สุย

ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2566



ในสมัยราชวงศ์สุยของจีนถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่มีผลต่อการวางระบบในราชวงศ์ต่อมา อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยของ “พระเจ้าหยางตี้” จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ พระองค์กลับเป็นที่จดจำว่าเป็นองค์จักรพรรดิที่มัวเมาในสุรานารี ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและกลายเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่เริ่มต้นความรุนแรงจนนำมาสู่จุดสิ้นสุดของราชวงศ์สุย

ราชวงศ์สุยครองอำนาจในจีนระหว่างคริสต์ศักราช 581-618 ดำเนินการสืบทอดนโยบายของบรรพบุรุษ และยังมีส่วนบุกเบิกเส้นทางในอนาคตของจีนอีกราชวงศ์หนึ่ง ในช่วงต้นราชวงศ์ค่อนข้างมั่นคง เศรษฐกิจรุ่งเรืองในระดับหนึ่ง แต่ในช่วงปลายของรัชสมัยพระเจ้าเหวินตี้ แผ่นดินเริ่มวุ่นวายและนำมาสู่การขึ้นครองราชย์ของหยางกว่าง พระราชโอรสองค์ที่ 2 ของพระองค์ กลายมาเป็นพระเจ้าหยางตี้ ช่วงเวลานั้นถูกนักประวัติศาสตร์มองว่าเป็นอีกช่วงหนึ่งที่นำมาสู่ความขัดแย้งและจุดจบของราชวงศ์ในที่สุด

รัชสมัยพระเจ้าเหวินตี้ พระนางตู๋กูฮองเฮาให้กำเนิดโอรส 5 พระองค์ องค์โตคือหยางหย่ง องค์รองคือหยางกว่าง หยางหย่งเป็นรัชทายาทจากที่เป็นโอรสที่เกิดจากพระมเหสี และได้เข้าร่วมบริหารประเทศ ประกอบความดีความชอบหลายประการ แต่หลี่เฉวียน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จีนชี้ว่า หยางหย่งมีข้อเสียคือ เอาแต่ใจ หรูหราฟุ่มเฟือย และลุ่มหลงกับนางสนม

ส่วนหยางกว่างเป็นเจ้าครองแคว้นจิ้น เป็นคนที่รูปลักษณ์ภายนอกดี และเงียบขรึม ซึ่งอาจมองได้ว่าเขาเป็นนักวางแผน โดยหลี่เฉวี่ยน บรรยายว่า หยางกว่างแสร้งทำเป็นสุภาพบุรุษผู้ขยันขันแข็ง ไม่ชอบสุรานารี หยางกว่างจึงเป็นที่โปรดปรานของพระบิดาและพระมารดา เมื่อครั้งนำทัพไปปราบราชวงศ์เฉินทางตอนใต้ ก็ฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองไว้ด้วย

ในช่วงศักราชเหรินโซ่วปีที่ 4 พระเจ้าสุยเหวินตี้ประชวรหนักและสิ้นพระชนม์ ในเวลานั้นมีเพียงคนสนิทของหยางกว่างปรนนิบัติรับใช้ในห้องที่ประทับของพระเจ้าเหวินตี้ในวังเพียงลำพังหลังจากที่เขาขับไล่ขันทีและนางสนมกำนัลไปจนหมด แม้สาเหตุของการสิ้นพระชนม์ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจน แต่ว่ากันว่าหยางกว่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสิ้นพระชนม์ด้วย ไม่นานหลังพระเจ้าเหวินตี้สิ้นพระชนม์ หยางกว่างขึ้นเป็นจักรพรรดิ กลายเป็นพระเจ้าหยางตี้

ส่วนชะตากรรมขององค์ชายคนโตนั้น หลี่เฉวียน นักเขียนที่ศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์จีนบรรยายว่า หยางกว่างปลอมแปลงราชโองการของพระเจ้าเหวินตี้ และให้ประหารหยางหย่งด้วยการแขวนคอ

ชาร์ลส ฮูมานา และหวังอู่ ผู้เขียนหนังสือ “ความลับเรื่องเซ็กซ์ของชาวจีน” (Chinese Sex Secrets) บรรยายว่า หลังจากขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าหยางตี้ทรงกำจัดเชื้อพระวงศ์และคนใกล้ชิดที่เข้าข่ายเป็นผู้สามารถแย่งชิงบัลลังก์ของพระองค์จนหมด เมื่อทรงยึดครองบัลลังก์อย่างมั่นคงแล้ว พระองค์เริ่มหันมาสนใจการปกครองและสร้างสิ่งก่อสร้าง

ช่วงต้นของรัชสมัยพระเจ้าหยางตี้ พระองค์ปฏิรูประบบต่างๆ ตามรากฐานเดิมที่พระเจ้าเหวินตี้วางไว้ อาทิ ระบบขุนนาง การทหาร การเก็บภาษีและเกณฑ์แรงงาน หลี่เฉวียน อธิบายว่า ระบบ 3 กระทรวง 6 ฝ่ายและระบบการสอบขุนนางเคอจวี่ที่วางไว้นั้นก็มั่นคงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงในระบบเป็นแค่ช่วงเวลาตั้งต้นเท่านั้น และมาสูญเปล่าจากความวุ่นวายทางการเมือง

นอกเหนือจากการวางระบบการปกครองแล้ว พระเจ้าหยางตี้ก็เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ริเริ่มสร้างที่ประทับอันยิ่งใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานจำนวนมากทั้งชายและหญิง สิ่งก่อสร้างนี้ถูกเรียกว่า “พระราชวังมังกร” (Dragon Palace) พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ในสวนที่มีกำแพงล้อมรอบ กินพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 100 ตารางไมล์ ใจกลางของพระราชวังมีทะเลสาบที่ใช้แรงงานขุดสร้างขึ้นเอง กว้าง 5 ลี้ (ประมาณ 2 ไมล์) ขณะที่ 2 ฝั่งของทะเลสาบปลูกสร้างด้วยอาคาร 16 หลังเพื่อเป็นที่พักของขันทีและนางกำนัล

ชาร์ลส ฮูมานา และหวังอู่ บรรยายเรื่องหลังฉากที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ระหว่างที่พระองค์เสด็จออกจากที่ประทับในพระราชวัง ไม่ว่าจะด้วยทรงม้าหรือเกี้ยว พระเจ้าหยางตี้ต้องมีนางสนมกำนัลคนรับใช้ติดตามไปด้วยราวพันราย

ตำนานเรื่องการเสวยสุขของพระองค์เล่ากันมาว่า เมื่อพระองค์ถูกจู่โจมด้วยอารมณ์ทางเพศที่ไม่สามารถควบคุมได้แบบเร่งด่วน เมื่อนั้น พื้นที่ซุ้มหรือศาลาที่ล้อมรอบด้วยรั้วปลายแหลมจะถูกจำกัดบริเวณให้เป็นที่ส่วนพระองค์ภายในระยะ 2 ลี้

เมื่อถอนพระองค์จากขบวน พระองค์จะมีผู้ติดตามเป็นสตรีที่ได้รับคัดเลือกจำนวนหนึ่งเข้าไปในซุ้มเล็กๆ ด้วย ผู้ติดตามที่เหลือจะตั้งขบวนพิเศษขึ้นภายนอก และเริ่มขับกล่อมร้องและบรรเลงเพลงที่พระองค์ทรงโปรดปราน นักประวัติศาสตร์ทราบกันดีว่า พระองค์ทรงสามารถด้านการประพันธ์ เชี่ยวชาญด้านการดนตรี

เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนผ่านภาพเขียนในศตวรรษที่ 19 ชิ้นหนึ่งที่อยู่ในการครอบครองของมหาวิทยาลัยอินเดียนา ซึ่งสะท้อนเรื่องราว จักรพรรดิ “ผู้ไม่เหน็ดเหนื่อย” พระองค์ทรงยืนหันเข้าหาม้านั่งสูงที่มีหญิงสาวนอนอยู่บนม้านั่ง 2 นาง ด้านข้างพระองค์รายล้อมด้วยสตรีที่ช่วยเหลือพระองค์ ด้านหนึ่งปลดฉลองพระองค์และอีกข้างหนึ่งใช้มือพยุง “แท่งมรกต” ในช่วงเวลาแห่งการเสวยสุขกับสตรี

หลังจากที่สร้างพระราชวังเสร็จสิ้นแล้ว พระองค์ทรงใช้กำลังคนจำนวนมหาศาลเพื่อขุดคลองทงจี้ อันเป็นเส้นทางให้พระองค์เสด็จท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว ระหว่างการขุดคลอง หลี่เฉวียน บรรยายว่า มีแรงงานเหนื่อยจนเสียชีวิตจำนวนมาก

ระหว่างการขุดคลอง พระเจ้าหยางตี้มีรับสั่งให้สร้างเรือหลายประเภทที่ใช้เดินทางลงไปทางใต้ เรือที่หรูหราที่สุดเป็นเรือมังกรซึ่งว่ากันว่า ยาว 300 ฟุต สูง 4 ชั้น แบ่งดาดฟ้าเรือออกเป็น 4 จุด ภายในเรือตกแต่งด้วยหยกและทอง เครื่องตกแต่งภายในปกคลุมด้วยหนังเสือ หมี และเสือดาว

เรือมังกรนี้ถูกบรรยายว่า จัดเตรียมบรรทุกขันที นารี นักดนตรี และนักแสดงไปจำนวนมาก อีกทั้งยังบรรทุกทรัพย์สินมีค่าของราชวงศ์อีกไม่น้อยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นพระราชวังลอยน้ำก็ว่าได้ การท่องเที่ยวทางเรือของพระองค์เอิกเกริกอย่างมาก

ว่ากันว่า พระเจ้าสุยหยางตี้รับสั่งให้เมืองและอำเภอต่างๆ ที่อยู่เลียบ 2 ฝั่งคลองในระยะ 500 ลี้ต้องถวายอาหารให้ เมื่อพระองค์เสวยไม่หมดก็จำเป็นต้องโยนทิ้ง บรรดาขุนนางท้องถิ่นก็พยายามสรรหาอาหารมาถวายเพื่อเอาใจ

การเดินทางท่องเที่ยวของพระองค์เป็นไปอย่าง “เอ้อระเหย” ใช้เวลากับการเสวยสุขอย่างเต็มที่ พระองค์เดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองเจียงตูถึง 3 ครั้ง การใช้ชีวิตอย่างสุขสบายของพระองค์สวนทางกับการเกณฑ์แรงงานและเก็บภาษีที่เข้มข้น ซึ่งทำให้ประชาชนเริ่มแค้นเคืองในพระองค์

สถานการณ์ทางภาคเหนือก็ไม่สู้ดี เมื่อมีกบฏเกิดขึ้นหลายแห่ง เหล่าทหารองครักษ์ของพระองค์ร้อนใจและเป็นห่วงบ้าน หลี่เฉวียน บรรยายว่า หลักฐานทางประวัติศาตร์บันทึกว่า วันที่ 17 เดือน 3 ศักราชต้าเย่ปีที่ 14 (คริสต์ศักราช 618) นายพลตำแหน่งโย่วทุนเว่ยก่อการกบฏ บุกเข้าโจมตีพระตำหนัก ทหารใช้ผ้าแพรรัดคอพระเจ้าหยางตี้ ชะตากรรมของโอรสและพระราชนัดดาของพระองค์ก็ไม่พ้นเคราะห์ นอกจากฝังช่วงเวลาเสวยสุขขององค์จักรพรรดิไปแล้ว ยังเป็นการสิ้นสุดความเป็นเอกภาพทางการเมืองของราชวงศ์สุยด้วย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2566 12:53:13 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.332 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 13:28:04