[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 19:21:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ครกตำข้าวโบราณ  (อ่าน 272 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 มิถุนายน 2566 16:34:30 »



การตำข้าวเปลือกของคนในสมัยโบราณ
เมื่อตำข้าวจนเปลือกหลุดออกจากเมล็ดแล้ว นำไปใส่กระด้ง ฝัดเอาเปลือกออกให้เกลี้ยง เหลือแต่เมล็ดข้าวสารไว้หุงกิน

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ

ครกตำข้าวโบราณ

ครกตำข้าวโบราณเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารโดยวิธีการตำข้าววิธีการตำข้าวแบบเดิมของชาวบ้านนั้นเป็นการกะเทาะแยกเอาเปลือกหุ้มออกจากเมล็ดข้าว

ครกตำข้าวโบราณ หรือครกไม้ จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ครกซ้อมมือ ครกตำข้าว เป็นต้น ครกตำข้าวโบราณ ชาวบ้านจะใช้สำหรับตำข้าวเปลือก ตำงา ตำถั่ว ตำข้าวเม่า ตำขนมจีน แต่ส่วนใหญ่ในสมัยก่อนมุ่งใช้เพื่อตำข้าวเปลือกเป็นหลักเพราะในสมัยโบราณไม่มีโรงสีข้าวเหมือนในปัจจุบัน ชาวบ้านจึงต้องหาวิธีตำข้าวเปลือกให้เป็นเม็ดข้าวสารไว้สำหรับหุงกิน จึงคิดประดิษฐ์ครกที่ทำจากไม้ขึ้นมา


การทำครกตำข้าวโบราณ/ครกไม้
ชาวบ้านจะใช้ท่อนไม้ใหญ่ทั้งลำต้น ส่วนใหญ่จะเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้พะยอม ฯลฯ โดยจะตัดท่อนไม้ให้มีความยาวประมาณ ๑ เมตรหรือประมาณ ๘๐-๙๐ เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ตัดหัวตัดท้ายให้ผิวเรียบเสมอกันเพราะเมื่อเวลานำครกไปตั้งไว้ ครกจะได้ตั้งได้ตรงไม่กระดกเอียงไปมาได้ จากนั้นชาวบ้านจะเจาะส่วนตรงกลางด้านบนของท่อนไม้ โดยไม่ให้เว้าลึกลงไปเหมือนครกหิน การเจาะลึกจะใช้ขวานโยนและค่อยตกแต่งไปเรื่อยๆ ให้ปากครกกว้างส่วนก้นครกจะลึกสอบเข้าเป็นหลุมลึกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร บางพื้นที่จะใช้วิธีการเจาะตรงกลางเป็นร่องลึกโดยใช้ขวานฟันเอาแกลบใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผาส่วนกลางของท่อนไม้เผาเป็นโพรงให้มีขนาดลึกตามต้องการ เมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วจะทำการขัดภายในให้เกลี้ยงเกลาตัวครกมีสองขนาดคือครกขนาดใหญ่ และครกขนาดเล็ก

เมื่อทำครกเสร็จแล้ว จะต้องทำสากเพื่อใช้ในการตำ ซึ่งการทำสากจะทำได้ ๒ วิธี คือ
๑. สากมือ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีความยาวประมาณ ๒ เมตร ลักษณะปลายทั้งสองข้างโค้งมน หัวสากจะมนใหญ่ปลายสากจะมนเรียวเล็ก ตรงกลางลำตัวสากคอดกลมกลึงพอดีกับมือกำอย่างหลวม ปลายสากมีไว้ตำข้าวตำ หัวสากมีไว้ตำข้าวซ้อม ชาวภาคกลางเรียกสากของครกไม้นี้ว่า ตะลุมพุก
๒. สากชนิดใช้ไม้ ๒ ท่อนคือ ท่อนหนึ่งสำหรับตำ อีกท่อนหนึ่งเป็นมือจับ เรียกว่า สากโยนหรือสากมือ

การตำสิ่งของต่างๆ เช่น ตำข้าว ตำงา ตำพริก ตำแป้งขนมจีนและอื่นๆ อาจตำคนเดียว หรือ ๒ - ๓ คนก็ได้ ผู้ตำข้าวส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน ถ้าตำหลายคนต้องตำสลับกัน เมื่อตำสิ่งของละเอียดจะมีคนคอยใช้มือกลับไปกลับมาให้ตำทั่วถึงกัน


วิธีตำข้าวมีลำดับดังนี้
๑. นำข้าวที่จะตำไปผึ่งแดดหนึ่งวันเพื่อให้ข้าวแห้งจะบุบเปลือกง่ายขึ้น

๒. นำข้าวมาเทลงในครกจำนวนพอเหมาะ ใช้คนตำสองสามคน มีจังหวะการตำที่ไม่พร้อมกัน

๓. ใช้เวลาในการตำข้าวนานจนกว่าจะเหลือข้าวเปลือกจำนวนน้อยที่ปนอยู่ในข้าวสาร แล้วเก็บกากออก


ข้อดีของการตำข้าวด้วยครกไม้/ครกมือ คือ เลือกสถานที่และเคลื่อนย้ายที่ตำได้ตามต้องการ เพราะครกไม้/ครกมือไม่ได้ฝังลงในดิน นอกจากนี้ครกไม้/ครกมือใช้คนตำจำนวนน้อยประมาณ ๒-๓ คน

ข้อเสียของครกไม้/ครกมือ คือใช้เวลาการตำนาน ออกแรงมาก ทำให้เหนื่อยเร็วและได้ข้าวจำนวนน้อย ในสมัยก่อนครกตำข้าวโบราณหรือครกไม้เป็นเครื่องใช้ที่มีแทบทุกครัวเรือน โดยชาวบ้านนิยมทำไว้ข้างยุ้งข้าวเพื่อความสะดวกโดยมุงหลังคายื่นออกมากันแดดกันฝนเรียกว่าเพิงมอง ถ้าบ้านใต้ถุนสูงจะตั้งครกไว้ใต้ถุนบ้าน

ปัจจุบัน ครกดังกล่าวนี้นับวันจะหมดไป เพราะความไม่สะดวกในการใช้และเนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถอำนวยความสะดวกสบายเข้ามาใช้ในพื้นที่ แต่ก็ยังมีใช้อยู่บ้างตามแถวชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ


ที่มา :
       - "ครกตำข้าวโบราณ" ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
       - "เครื่องมือของใช้ล้านนา - ครกไม้" เว็บไซต์ openbase.in.th/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.271 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 25 เมษายน 2567 00:03:46