[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 16:52:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประกาศเลิกใช้ธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ ยุคเงินเฟ้อ ใครถือไว้มีค่าแค่เป็นเงินฝาก  (อ่าน 195 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2566 19:08:56 »







ประกาศเลิกใช้ธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ ยุคเงินเฟ้อ! ใครถือไว้มีค่าแค่เป็นเงินฝาก!!

ไม่น่าเชื่อว่าในยุคแรกที่เราเริ่มใช้ธนบัตรสมัยรัชกาลที่ ๕ เรามีธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ บาทออกใช้กันแล้ว ซึ่ง ๑,๐๐๐ บาทในยุคนั้นนับว่ามีค่ามหาศาล เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๘ มีข้อมูลว่า ข้าราชการระดับอธิบดียังมีเงินเดือนเพียง ๖๐๐ บาทเท่านั้น และยังพิมพ์ใช้ตลอดมาทุกรัชกาลจนถึงปัจจุบัน แสดงว่าธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ บาทใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ไม่ใช่พิมพ์มาโชว์เล่นโก้ๆ

เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา “พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม ร.ศ.๑๒๑” ให้ธนบัตรใช้แทนเงินเพื่อสะดวกต่อการนับและพกพาของประชาชน โดยธนบัตรรุ่นแรกได้สั่งพิมพ์มาจากบริษัทโทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ มีราคา ๑, ๕, ๑๐, ๒๐, ๕๐, ๑๐๐ และ ๑,๐๐๐ บาท เป็นธนบัตรแบบพิมพ์หน้าเดียว เริ่มออกใช้ในวันที่ ๗ กันยายน ๒๔๕๕

จนในปี ๒๔๘๘ ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลได้ประกาศโดยไม่ให้เวลาตั้งตัวว่า ให้ยกเลิกการใช้ธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ บาท ไม่สามารถนำไปชำระหนี้ตามกฎหมายได้ต่อไป แต่ผู้ที่ครอบครองสามารถนำไปจดทะเบียนที่คลังทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อขอเปลี่ยนเป็น “พันธบัตรออมทรัพย์” มีดอกเบี้ยปลอบใจให้ร้อยละ ๑ ต่อปี และจะไถ่ถอนไม่ได้จนกว่าจะครบระยะเวลา ๑ ปี

ทั้งนี้ในระยะสงครามมหาเอเชียบูรพา ไทยต้องเผชิญปัญหาการเงินอย่างหนัก โดยญี่ปุ่นมหามิตรได้บังคับให้ประกาศลดค่าเงินบาทลงเท่ากับเงินเยน จากอัตราแลกเปลี่ยน ๑๕๕.๗๐ เยนต่อ ๑๐๐ บาท เหลือ ๑๐๐ เยนต่อ ๑๐๐ บาท ทำให้ค่าเงินบาทลดลงประมาณ ๓๖ เปอร์เซ็นต์ โดยญี่ปุ่นจะชดเชยลดค่าเงินเปียส์ของอินโดจีนซึ่งมีราคาสูงกว่าไทยให้เท่ากับเงินบาทด้วย ซึ่งก็เท่ากับลดค่าเงินเปียส์ให้เท่ากับเงินเยนแบบเงินบาทนั่นแหละ

อีกทั้งญี่ปุ่นจะขอพิมพ์ธนบัตรไทยเพื่อใช้ในการทหารเอง แต่ไทยไม่ยอม ขอเป็นพิมพ์เองแล้วให้ญี่ปุ่นกู้ ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพิมพ์ธนบัตรออกมาเพื่อชดเชยกับค่าเงินที่ลดลงไปแล้ว ยังต้องพิมพ์ธนบัตรให้ญี่ปุ่นใช้ในกิจการสงครามในประเทศไทยด้วย ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในระยะเวลาไม่ถึง ๓ ปี อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยพุ่งขึ้นถึง ๑๐ เท่า ราคาน้ำตาลทรายในปี ๒๔๘๘ สูงกว่าตอนก่อนเกิดสงครามถึง ๓๙ เท่า เหล็กกล้าสูงขึ้น ๖๙ เท่า ผ้าฝ้ายสูงขึ้น ๔๓ เท่า

ทั้งนี้เพราะสินค้าที่เคยมาจากยุโรปอเมริกามาไม่ได้เลย อีกทั้งสินค้าที่อยู่ในโกดังก็ถูกญี่ปุ่นยึดเอาไปหมด ถือเป็นทรัพย์สินของชาติศัตรู เครื่องอุปโภคบริโภคหลายอย่างจึงขาดตลาด ส่วนจังหวัดที่อยู่ห่างไกลออกไปยิ่งประสพปัญหาหนัก การขนส่งติดขัดเพราะญี่ปุ่นเอารถไฟไปขนทหารและยุทธปัจจัยหมด ทำให้สินค้าแพงกว่ากรุงเทพฯยิ่งขึ้นไปอีก อย่างในปี ๒๔๘๗ ราคาเกลือในกรุงเทพฯถังละ ๖ บาท แต่ที่ลำปางถังละ ๑๐๐-๑๒๐ บาท ซ้ำยังมีพ่อค้าฉวยโอกาสกักตุนสินค้าเพื่อขึ้นราคา รัฐบาลจึงใช้กฎหมายเข้าควบคุม กำหนดให้ผู้มีสิ่งของไว้เพื่อจำหน่ายจะต้องรายงานปริมาณสินค้าไปยังอำเภอ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาทหรือจำคุกไม่เกิน ๕ ปี แต่ก็ยังมีคนกล้าเสี่ยงหวังเป็นเศรษฐีสงคราม จึงต้องเพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน ๒๐ ปี หรือตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท แต่กระนั้นก็ยังไม่สามารถแก้ความทุกข์ยากให้ประชาชนได้ เพราะต้นเหตุของปัญหาอยู่ที่สงคราม

ในปลายสงคราม เมื่อกลุ่มเสรีไทยวางแผนโค่นจอมพล ป.พิบูลสงครามให้ได้ก่อนสงครามสงบ เพื่อไม่ให้ไทยต้องตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม และได้ชักชวน ส.ส.ที่เห็นแก่ประเทศชาติรวมหัวกันคว่ำพระราชกำหนดพุทธมณฑลบุรีที่รัฐบาลเสนอต่อสภา ทำให้จอมพล ป.ต้องลาออก นายควง อภัยวงศ์เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตอบกระทู้ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า “...ภาวะการเงินของเราเวลานี้ เปรียบเหมือนคนไข้หนัก การแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องใช้การผ่าตัด...”

การผ่าตัดครั้งนี้ก็คือยกเลิกการใช้ธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งเรียกว่าวิธี “แช่เย็นธนบัตร” ดึงเงินในมือประชาชนออกจากระบบไปเก็บไว้ได้ ๓๗๑.๕ ล้านบาท และยังยับยั้งการซื้อสินค้ากักตุนเพื่อเก็งกำไร เป็นผลให้ราคาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นมีราคาลดลงบ้าง แต่กระนั้นก็ยังไม่หมดปัญหา เพราะตราบที่สงครามยังไม่เลิก ก็ต้องพิมพ์ธนบัตรให้ญี่ปุ่นใช้จนเงินเฟ้อต่อไป

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ตรา “พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.๒๔๘๙” ให้รัฐบาลมีอำนาจเข้ากำกับการประกอบกิจธนาคารเป็นครั้งแรก กำหนดให้ทุกธนาคารจะต้องตั้งเงินสดสำรองไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของเงินฝาก และอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ต้องนำไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ป้องกันไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้ออกไปหมุนเวียนในระบบมากเกินไป

นี่ก็เป็นประวัติศาสตร์การแก้ปัญหาการเงินในยุคที่ย่ำแย่ที่สุดของไทย ก่อนที่จะกลับมาสู่ความมั่นคงทางการเงินในวันนี้


ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) : เพจ มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มิถุนายน 2566 19:14:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.261 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 09:24:47